ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อรัญญวัคคที่ ๔ อรัญญกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ๕
จำพวกเป็นไฉน คือ ...
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงามงาย ๑
มีปรารถนาลามกถูกความอยากครอบงำจึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๑
ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้าเพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑
ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่ง
พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑
ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปราถนาน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ๑
ข้อความต่อไปมีว่า ....
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสัน-
โดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงาม
เช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็น
วัตร ๕ พวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิด
จากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลก
ย่อมกล่าวว่าเป็นยอดในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้นฉันใด บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่า
เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความ
ปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้อง
การด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นเลิศ ประเสริฐ เป็นประธานสูงสุดและดีกว่า
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
จบสูตรที่ ๑
ทำไมจึงมีภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงม
งาย บางท่านคิดว่าอยู่ป่าแล้วก็จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างนั้นเป็น
ผู้อยู่ป่าเพราะโง่เขลาหรือเพราะงมงายหรือไม่ ? ถ้าเข้าใจเหตุผลแล้วจะเห็นว่า
ไม่มีชีวิตใดที่ประเสริฐยิ่งกว่าบรรพชิตผู้สละชีวิตฆราวาส ไปสู่สำนักของพระผู้มี
พระภาค ซึ่งไม่ใช่การไปสู่สำนักปฏิบัติเพียงชั่วครู่ชั่วยาม เพื่อต้องการบรรลุ
มัคค์ผล เพราะคิดว่าการไปทำวิปัสสนาที่สำนักปฏิบัติซึ่งไม่ใช่อัธยาศัยจริง ๆ
นั้นจะเป็นเหตุให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ซึ่ งถ้าเป็นจริงเช่นนั้น คฤหหัสภ์ที่ไปทำ
วิปัสสนาที่สำนักปฏิบัติก็ควรแก่การสรรเสริญยิ่งกว่าพระภิกษุในสำนักของพระผู้
มีพระภาค ซึ่งท่านมีชีวิตตามปรกติธรรมดาตามพระวินัยบัญญัติ คือ บิณฑบาต
ฟังธรรม สนทนาธรรม และกระทำกิจต่างๆ ของสงฆ์ด้วย อันนี้ต้องพิจารณาเหตุผลให้ถูกต้อง มีพระภิกษุจำนวนมากที
เดียวที่ไม่ได้อยู่ป่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงบังคับให้เจริญสติปัฏฐานในป่า หรือ
ในห้อง หรือในสถานที่ที่ไม่ให้ทำกิจอะไรเลย พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการ
อยู่ป่า ทรงสรรเสริญการไม่คลุกคลี ทรงสรรเสริญทุกอย่างที่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิด
โลภะ โทสะ โมหะ แต่มิได้ทรงบังคับ มิได้ทรงวางกฏเกณฑ์ในการอบรมเจริญ
ปัญญา เพราะพระองค์ทรงรู้อัธยาศัยของสัตว์โลก พระองค์ทรงแสดงธรรมให้
พุทธบริษัทเข้าใจสภาพธรรมถูกต้อง เพื่อขัดเกลากิเลสที่มีอยู่ ตามปรกติ ตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเจริญสติปัฏฐานตามเพศของบรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อ
สติระลึกรู้พิจารณาศึกษาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละ
น้อยนั้น ก็จะสังเกตได้ว่าค่อยๆ ละนิสัยเก่าที่เคยเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ ด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ไปทีละน้อย เป็นอัธยาศัยจริงๆ ไม่ใช่ฮวบฮาบ
เป็นพักๆ ไม่ใช่อย่างที่บางท่านกล่าวว่า สถานที่ปฏิบัตินั้นไม่ควรทาสีเพราะ
ทำให้เกิดโลภะ แต่พอกลับบ้านก็ทาสีบ้าน ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ตามอัธยาศัยแท้
จริงที่สะสมมา
พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมซึ่ง
เป็นสัจจธรรม เป็นความจริงเพี่อให้เกิดความเห็นถูกในเหตุและผลของสภาพ
ธรรมทั้งหลาย ทรงแสดงการอบรมเจริญปัญญาด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เพื่อละ
คลายอนุสัยกิเลสที่ประจำอยู่ในจิต ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันมาในอดีตอนันตชาติ
จนถึงขณะนี้ อวิชชาความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม และความเห็นผิดที่ยึดถือ
สภาพธรรมว่าเป็นตัวตนนั้นเป็นอนุสัยกิเลส ไม่ว่าจะเห็นขณะใด ได้ยินขณะใด
ลิ้มรส รู้โผฐฐัพพะ คิดนึก สุข ทุกข์ ขณะใด ก็ยึดถือว่าเป็นตัวตนทั้งสิ้น
ฉะนั้น ทางเดียวที่จะละอนุสัยกิเลสได้ ก็คือ เจริญสติ พิจารณารู้
ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ และรู้ชัดขึ้นเป็นลำดับจนถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่
๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ที่ประจักษ์แจ้ง
ลักษณะต่างกันของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น
การอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่การพยายามสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นด้วย
การนั่ง นอน ยืน เดินนานๆ เพื่อให้เกิดทุกขเวทนา แต่เป็นการระลึกรู้พิจารณา
ศึกษาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ ตามปรกติ ตามความจริง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วตามเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็
ตาม
การอยู่ป่าเป็นวัตร การสมาธานธุดงค์หรือข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อการขัดเกลา ผู้ที่
ทำด้วยจิตเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ครับ เพราะว่าผู้ที่ประพฤติตามข้อปฏิบัติเหล่านั้นด้วย
เหตุแห่งลาภ สักการะ สรรเสริญก็มี ทำกิริยามารยาทเรียบร้อย สมาธานธุดงค์ อยู่ป่า
เป็นวัตรด้วยเหตุแห่งลาภ เป็นต้น จิตเป็นอกุศลแน่นอนและย่อมมีอบายไปเบื้องหน้า
ส่วนผู้ที่อยู่ป่าเป็นวัตร สมาธานธุดงค์หรือประพฤติข้อปฏิบัติทีขัดเกลาเพื่อเหตุเพื่อละ
กิเลส รู้แจ้งอริยสัจจธรรมจิตย่อมเป็นกุศลในขณะนั้นครับ จะเห็นได้ว่าข้อปฏิบัติเพื่อ
ลาภและข้อปฏิบัติเพื่อนิพพานนั้นต่างกันถึงแม้ดูภายนอกจะเหมือนกันก็ตามครับ จิตจึง
ต่างกันแม้การกระทำเหมือนกัน สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 280
"ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น,
ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น
(คนละอย่าง). ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน สักการะ พึงตามเจริญวิเวก."
ข้อปฏิบัติ ๒ อย่าง
"อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนั้นเป็นอย่างอื่น,
ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึง พระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ก็อบาย ๔ มีประตูอันเปิด
แล้วนั้นแลดังอยู่ เพื่อภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ ด้วยสามารถแห่งการ
สมาทานธุดงค์ มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยหวังว่า เราจักได้ลาภด้วยการปฏิบัติอย่างนี้'
ส่วนภิกษุผู้ละลาภและสักการะอันเกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติ อันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน
แล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่ ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้" อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ของพระอริยะ หรือทรัพย์อันประเสริฐ เป็นทรัพย์ที่เป็นที่พึ่ง
ได้ในโลกหน้า เป็นทรัพย์ที่ทำให้พ้นจากทุกข์ เป็นทรัพย์ที่ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป
โจรลักไปไม่ได้ ไฟก็ไหม้ไม่ได้ น้ำพัดไปไม่ได้ ฯ
อริยทรัพย์ในบางแห่งแสดงไว้ ๕ ในบางแห่งแสดงไว้ ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. ศีล
๓. หิริ ๔.โอตตัปปะ ๕. สุตะ ๖.จาคะ ๗. ปัญญา อริยทรัพย์เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้อง
อาศัยการฟังธรรมะของพระอริยะ บุคคลผู้ฟังธรรมะของพระอริยะจึงเกิดศรัทธา เป็นต้น
ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - อริยทรัพย์ ๗
๑. สัทธาธนัง ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒. สีลธนัง ทรัพย์ คือ ศีล
๓. หิริธนัง ทรัพย์ คือ หิริ
๔. โอตตัปปธนัง ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕. สุตธนัง ทรัพย์ คือ สุตะ
๖. จาคธนัง ทรัพย์ คือ จาคะ
๗. ปัญญาธนัง ทรัพย์ คือ ปัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา
ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดา
อริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะ
ว่า สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บำเพ็ญ จริต ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐
ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์
คือปัญญา เพราะเป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งสมบัติเหล่านี้. ก็อริยทรัพย์
แม้ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า เจือด้วยโลกิยะ และโลกุตตระ
ทีเดียว. พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ -
๗. ธนสูตร ว่าด้วยทรัพย์ ๕ ประการ
[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ทรัพย์ คือ ศีล ๑ ทรัพย์ คือ สุตะ ๑
ทรัพย์ คือ จาคะ ๑ ทรัพย์ คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์
คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ
พระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์
คือ ศรัทธา. ก็ทรัพย์ คือ ศีลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุรา
และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล.
ก็ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ สุตะ.
ก็ทรัพย์ คือ จาคะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว
มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการ
จำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ. ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย
ปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ปัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล.
ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะ
ชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสใน
พระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน
ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ
เหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบ
ศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรม
เนือง ๆ เถิด.
จบธนสูตรที่ ๗ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 504
บุคคลใด ไม่เลือกว่าจะเป็นหญิงหรือชาย มี ทรัพย์ ๗ อย่างคือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล
ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ
ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา บัณฑิตเรียก
บุคคลนั้นว่าไม่เข็ญใจ และชีวิตของเขาไม่เปล่า. เรื่อง เป็นคนจนเพราะไม่มีอริยทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 665
ข้อความบางตอนจาก อิณสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริ
ในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มี
ปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระ-
อริยเจ้า เรื่อง เมื่อมีอริยทรัพย์ย่อมไปสู่สุคติ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
ข้อความบางตอนจาก ทฬิททสูตร
[๙๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทวดา
ชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่า-
อัศจรรย์นัก ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยังไม่เคยมีมาเลย เทพบุตรผู้นี้เมื่อ
ยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์
ยากไร้ เมื่อแตกกายตายแล้ว เขาอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหาย
ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ายกโทษต่อเทพบุตรนี้เลย
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เทพบุตรนี้แล เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง
ประกาศแล้ว ครั้นยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัย
ที่พระตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายลง จึงอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ ถึง
ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรื่องล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมี
และยศ. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
ข้อความบางตอนจาก ทฬิททสูตร
[๙๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อ
จะทรงพลอยยินดีกะพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลใด มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ในพระตถาคต มีศีลงามที่พระอริยะเจ้า พอใจสรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระ-
สงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลาย
เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิต
ของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ
เหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึง
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง
ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความ
เลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด สมบัติภายนอก ได้แก่ ลาภ ยศ เงิน ทอง บ้านที่ดิน ร่างกาย ฯลฯ บางครั้งก็นำมาซึ่งความสุข แต่บาง
ครั้งก็นำมาซึ่งความทุกข์ความกังวลใจ เป็นประโยชน์แก่เราได้ในช่วงที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่อริยทรัพย์นำ
มาซึ่งความสุขเพียงสถานเดียว เป็นที่พึ่งได้ทั้งโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนถึงนิพพาน เป็นสมบัติส่วนตัว
จริงๆที่ไม่วิบัติด้วยภัยอันได้แก่ อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย โจรภัย เป็นต้น ผู้มีปัญญาเป็นผู้ไม่ประมาทพึง
แสวงหาและสะสมอริยทรัพย์ทั้ง ๗ นี้แล
ขณะที่ฟังธรรมแล้วเกิดความเข้าใจ ขณะนั้นเพิ่มอริยทรัพย์ อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ของพระอริยะ หรือทรัพย์อันประเสริฐ เป็นทรัพย์ที่เป็นที่พึ่งได้
ในโลกหน้า เป็นทรัพย์ที่ทำให้พ้นจากทุกข์ เป็นทรัพย์ที่ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป
โจรลักไปไม่ได้ ไฟก็ไหม้ไม่ได้ น้ำพัดไปไม่ได้ เป็นทรัพย์ภายใน อริยทรัพย์ภาย
นอกไม่มี อริยทรัพย์ในบางแห่งแสดงไว้ ๕ ในบางแห่งแสดงไว้ ๗ คือ
๑. ศรัทธา ๒. ศีล ๓. หิริ ๔.โอตตัปปะ ๕. สุตะ ๖.จาคะ ๗. ปัญญา อริยทรัพย์
เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการฟังธรรมะของพระอริยะ บุคคลผู้ฟังธรรมะของพระ
อริยะจึงเกิดศรัทธา เป็นต้นได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - อริยทรัพย์ ๗
๑. สัทธาธนัง ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒. สีลธนัง ทรัพย์ คือ ศีล
๓. หิริธนัง ทรัพย์ คือ หิริ
๔. โอตตัปปธนัง ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕. สุตธนัง ทรัพย์ คือ สุตะ
๖. จาคธนัง ทรัพย์ คือ จาคะ
๗. ปัญญาธนัง ทรัพย์ คือ ปัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือ ศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา
ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดา
อริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะ
ว่า สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บำเพ็ญ จริต ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐
ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์
คือปัญญา เพราะเป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งสมบัติเหล่านี้. ก็อริยทรัพย์
แม้ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า เจือด้วยโลกิยะ และโลกุตตระ
ทีเดียว. อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์อันประเสริฐ แก้วแหวน เงินทอง เป็นอริยทรัพย์ไหม ประเสริฐ
หรือเปล่า ทำให้พ้นทุกข์ได้ไหม หรือทำให้ทุกข์มากขึ้น เมื่อว่าโดยอภิธรรมแล้ว แก้ว
แหวน เงินทอง สิ่งต่างที่เป็นทรัพย์ภายนอกตัวก็คือ รูปธรรม สภาพธัมมะที่ไม่รู้อะไร
รูปธรรม ไม่สามารถทำให้ถึงฐานะอันประเสริฐ คือ การดับกิเลส การละคลายกิเลส
และนิพพานได้ จึงไม่ชื่อว่าประเสริฐ (อริย) เพราะสิ่งที่ประเสริฐ คือ เป็นสิ่งที่ทำให้รู้
ความจริง(ปัญญา) ทำให้ดับกิเลสได้ ประเสริฐเพราะไม่ต้องทุกข์ ทุกข์เพราะมีกิเลส
มีกิเลสจึงต้องเกิด ดังนั้น สิ่งที่ประเสริฐตามที่กล่าวมา คือ สิ่งๆหนึ่งที่ทำให้ขัดเกลา
และดับกิเลสได้ นั่นก็คือ เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า นามธรรม นามธรรม เท่านั้น
ที่ดับกิเลสได้และเป็นที่พึ่งที่แท้จริงของเรา นามธรรม มีมาก โลภะก็เป็น นามธรรม
โทสะก็เป็น จิต ก็เป็น แต่ถามว่า โลภะ(นามธรรมชนิดหนึ่ง) ดับกิเลสได้ไหม ไม่ได้
แน่นอน ดังนั้น นามธรรมที่ประเสริฐก็คือ ศรัทธา...ปัญญา เป็นธรรมที่เป็นที่พึ่ง คือ
ให้ผลที่ดี(วิบาก) และทำให้ดับกิเลสได้ครับ จึงประเสริฐ ดังนั้น ควรพิจารณาด้วย
ปัญญาว่า สิ่งใดกันแน่ประเสริฐ ทรัพย์สิน เงินทอง(นำมาซึ่งทุกข์) หรือ อริยทรัพย์
และอยากจะสะสมอะไรมากกว่ากันตามความเป็นจริง ด้วยความเป็นผู้ตรง ผู้ใดมีอริยทรัพย์ 7 ประการไม่ว่าเป็นหญิงหรือชายผู้นั้นชื่อว่าไม่จน ส่วนทรัพย์ภายนอก
เป็นทรัพย์ที่สาธารณะกับคนทั่วไป ตายไปทรัพย์สมบัติก็ตกเป็นของคนอื่น โจรปล้นก็ได้
ไฟไหม้ก็ได้ ฯลฯ อริยทรัพย์ 7 นำมาซึ่งความสุข ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า ไม่สูญหาย
ไปไหน แต่ทรัพย์ภายนอก เป็นทรัพย์ที่ไม่เที่ยง ถ้าเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งทุกข์ โทมนัส
ฯลฯ อริย แปลว่า ประเสริฐ เลิศ สูงสุด อริยทรัพย์จึงหมายถึง ทรัพย์ ๗ ประการเท่านั้น ซึ่งเป็น
ทรัพย์ภายในที่ทำให้ถึงความเป็นพระอริยะ ทรัพย์อื่นใดทั้งหมดไม่ใช่อริยทรัพย์ จึงไม่มี
อริยทรัพย์ภายนอก "ธรรม...ไม่ใช่เรา"
"ศึกษาธรรมะต้องเป็นผู้ตรง"
มีใครบ้างอยากเป็นคนจน ลำบากด้วยเรื่องปัจจัย๔ ไม่มีโอกาสแม้แต่จะให้ทาน.
การหาทรัพย์ ใช้ทรัพย์ รักษาทรัพย์สมบัติ เพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น พระพุทธเจ้าตรัส
ไว้โดยละเอียดในพระไตรปิฏก.
คนรวยดูหมิ่นคนจน....เป็นอกุศล(ธรรม)
คนจนอิจฉาคนรวย.....เป็นอกุศล(ธรรม)
บางคนเกิดมาก็รวยเลยไม่ต้องทำงาน
บางคนทำงานทั้งชาติก็ไม่รวย
เพราะอะไร....เพราะเหตุปัจจัย.
แต่สาระสำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าจะรวย จน แต่ไม่ศึกษาพระธรรมก็ไม่มีประโยชน์ที่ได้เกิด
เป็นมนุษย์ ที่มีโอกาสสะสม "อริยทรัพย์" คือ ปัญญา
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ตื่นแต่เช้าสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดนจงกรม ฟังธรรม อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตาม ถนนหนทางหลายสาย ถวายข้าวพระพุทธรูก สักการะพระบรมสารีริกธาตุ กำหนดอิริยาบทย่อย กรวดน้ำ เมื่อเช้านี้ได้มีงานใส่บาตรที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้เห็นนักเรียนทั้งโรงเรียนใส่ประมาณหลายพันคน และของก็เต็มคันรถกระบะ ก็อนุโมทนา และได้เห็นเด็กนักสวดมนต์อีกก็อนุโมทนา และเมื่อวานนี้ได้ บริจาคสื่อการเรียนการสอน และได้ชวนให้บอกบุญบุคคลทั่วไป ให้มาจุดเทียนชัยถวายพระพร และได้บำเพ็ญจิตภาวนามีผู้มาร่วมงาน ประมาณ 500 คน ซึ่งบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อเป็นพระราชกุศล และตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|