นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 3:35 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ชวนจิต
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 08 ธ.ค. 2009 9:18 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
ต้องขออภัยล่วงหน้าบางครั้งอาจจะใช้ภาษาที่เป็นกันเองเกินไป ต้องขออภัยด้วย

ชวนจิต ๕๒ ประเภท ซึ่งมี "ฉันทะ" เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยบ้าง

มี "วิริยะ" เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยบ้าง

หรือมี "วิมังสะ" คือ "ปัญญา" เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยบ้าง

โดยชาติ (การเกิดของจิต) ๔ คือ กุศล อกุศล วิบาก กริยา

ขอกล่าวถึงโดยลำดับนะ.


.


กามาวจรกุศลจิต เป็นกุศลจิต ซึ่งมีปรากฏอยู่ทั่วไป

เพราะฉะนั้น มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า "มหากุศลจิต"

หมายถึง "กุศลที่เป็นไปมากมาย"

ไม่ว่าจะเป็นไปในเรื่องของ ทาน ในเรื่องของ ศีล

ในเรื่องของ การอบรมเจริญความสงบ (สมถภาวนา)

หรือ ในเรื่องของ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน (วิปัสสนาภาวนา)

ทั้งหมดนี้ เป็นจิตระดับขั้น "กามาวจรกุศลจิต" ทั้งสิ้น.


เพราะเหตุว่า

ยังไม่ใช่ "รูปาวจรกุศลจิต" ยังไม่ใช่ "อรูปาวจรกุศลจิต"

และ ยังไม่ใช่ "โลกุตตรกุศลจิต"


เมื่อกามาวจรกุศลจิต เป็นไปมากมาย

ทั้งในทาน ศีล ภาวนา ประเภทต่างๆ

เพราะฉะนั้น

จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "มหากุศลจิต"


ซึ่งท่านผู้ฟังจะเห็นได้นะว่า ในการกระทำกุศลแต่ละครั้งนั้น

แต่ละท่านนี้ มีฉันทะต่างกัน มีวิริยะต่างกัน

แล้วก็มีปัญญาในระดับขั้นที่ต่าง ๆ กันด้วย.


ถ้าจะกล่าวถึงกุศลกรรม ที่แต่ละท่านกระทำในวันหนึ่ง ๆ

ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีฉันทะในกุศลนั้น ๆ แล้ว

จะกระทำกุศลกรรมประเภทนั้นมั้ย.?

ท่านผู้ฟังชอบทำกุศลอะไร...นึกออกมั้ย.?


"ไม่ใช่ตัวตน" แต่ เพราะสภาพธรรม คือ "ฉันทะ" (ความพอใจ)

คือ "สภาพของเจตสิก" ซึ่งพอใจที่จะกระทำกุศลประเภทนั้น

ฉันทเจตสิก กำลังเป็นอธิปดี โดยเป็น สหชาตาธิปติปัจจัย

ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้กุศลกรรมนั้นเกิดขึ้น.


เช่น บางท่าน เป็นผู้ที่มีฉันทะในการเผยแพร่พระธรรม

พยายามขวนขวายหาสถานีวิทยุ

เพื่อให้มีการออกอากาศรายการบรรยายธรรม




บางท่านก็มี ฉันทะ คือมีความพอใจที่จะช่วยเหลือในการจัดหาอุปกรณ์

ในการศึกษา หรือว่าในการเผยแพร่พระธรรม


บางท่านก็เป็นผู้ที่มีฉันทะในการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่น

ในการรักษาพยาบาล หรือกระทำกิจธุระของเพื่อนฝูง มิตรสหาย


หรือแม้แต่ช่วยรักษาพยาบาลสุนัขขาหัก....

คนที่ไม่มีฉันทะ ทำได้มั้ย.?...เห็นสุนัขขาหัก ก็ผ่านไป

ถ้าไม่มีฉันทะ ก็ช่วยไม่ได้ใช่มั้ย.?

เพราะฉะนั้น ในห้าคน หกคน สิบคนซึ่งผ่านไป

ถ้ามีท่านผู้หนึ่งผู้ใดช่วยเหลือ ก็แสดงว่าท่านผู้นั้น

มีฉันทะในการที่จะกระทำกุศลประเภทนั้น


หรือบางท่าน ก็มีฉันทะในการช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน

บางท่านก็ดูแลทุกข์สุข ความป่วยไข้ของคนในบ้าน

รวมทั้งนอกบ้าน จนถึงทหารชายแดน

หรือว่าบรรดาผู้ที่มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ในแหล่งเสื่อมโทรม

บางท่านก็มีความเห็นใจในความทุกข์ยากของผู้อื่น

ด้วยการขับรถนำข้าวสารไปแจกให้ผู้ที่ขัดสน


บางท่าน ก็สร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียน

บางท่าน ก็ไม่ทำอย่างอื่น นอกจากบวชพระ

คือ ไม่ว่าจะมีใครที่มีศรัทธาในการที่จะอุปสมบท ท่านผู้นั้นก็รับอุปสมบทให้

นี้ก็เป็น "ฉันทะของแต่ละบุคคล" ในการกระทำกุศลประเภทต่าง ๆ



ซึ่งท่านผู้ฟัง ก็พิจารณาตัวของท่านได้

ว่าท่านมี "ฉันทะ" ในกุศลประเภทใด.!




ในเรื่องของทาน ศีล ความสงบของจิต

และ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นกุศลธรรมในชีวิตประจำวัน


เพราะฉะนั้น สำหรับกามาวจรกุศลจิต ที่เป็นไปในทานบ้าง

เป็นไปในศีลบ้าง เป็นไปในการเจริญสมถะ (คือความสงบของจิต) บ้าง

หรือเป็นไปในการเจริญสติปัฏฐานบ้าง

บางครั้ง มีฉันทะเป็นอธิปดี บางครั้ง มีวิริยะเป็นอธิปดี

บางครั้ง มีปัญญาเป็นอธิปดี..................


แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกครั้งต้องเป็น.!


ในชีวิตประจำวัน เช่น ในขณะที่กำลังสวดมนต์

ท่านสามารถที่จะทราบได้หรือเปล่า ว่า

ในขณะนั้น....มีอะไรเป็น อธิปดี.?



ผ่านไปแล้ว....และก็จะผ่านไปอีกเรื่อย ๆ

ถ้าสติไม่เกิด ไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ก็จะไม่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นโดยถูกต้อง.



พอที่จะนึกออกมั้ย.......เพราะต่อไป ก็จะเกิดอีก

ขณะที่กำลังสวดมนต์นี้ จำได้ตลอดหมดมั้ย.?

แล้วแต่บุคคล......?



เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังสวดมนต์

ขอเรียนถามว่า จำได้ตลอดหมดมั้ย.?

หรือบางครั้งก็ติด ๆ ที่จะต้องนึก.....เพราะยังไม่คล่อง

ในขณะนั้น ถ้าขณะที่กำลังนึก เพื่อที่จะให้จำได้

ในขณะที่ยังไม่คล่อง....ต้องอาศัย "วิริยะ"หรือเปล่า.?



พอที่จะสังเกต และ รู้ลักษณะของสภาพธรรม

ที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน.?



และบางท่าน ก็เป็นผู้ที่มีฉันทะในการสวดมนต์เสียจริง ๆ

สวดมนต์ได้ยาวมาก สวดมนต์ได้ตลอดหมด

บางท่านสามารถที่จะสวดมหาสติปัฏฐานสูตรได้ทั้งสูตร

และมีฉันทะ มีความพอใจที่จะสวดมนต์ด้วย

ขณะที่ท่านสวดมนต์ ท่านก็รู้สึกว่าเป็นเวลาที่ท่านมีความสงบใจ มีความสุข

ในขณะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ฉันทะเป็นอธิปดี.


แต่ท่านอื่น บางท่านสวดมนต์ได้ไม่ยาวเลย

หมายความว่า มีฉันทะ หรือ ไม่มีฉันทะในการสวดมนต์....?


คือ สวดมนต์ได้เท่าที่จะสวดได้

และบางครั้ง ก็ต้องอาศัย "วิริยะ" เพราะว่า สวดมนต์ก็ไม่คล่อง และต้องนึก

ในขณะนั้น ก็จะเห็น "ลักษณะของวิริยะ"

ว่าต้องอาศัยวิริยะ การสวดมนต์จึงจะสำเร็จลงไปได้.



แต่บางท่าน อาจจะสวดมนต์น้อย...ก็จริง

แต่ว่าสวดมนต์ด้วยความซาบซึ้ง และเข้าใจในพระพุทธคุณในบทสวดมนต์นั้น

ขณะนั้น ถ้ามีความเข้าใจจริง ๆ ซาบซึ้งจริง ๆ

หมายความว่าในขณะนั้น "วิมังสะ" หรือ "ปัญญา" เป็นอธิปดี

(คือ ปัญญา เป็น สหชาตาธิปติปัจจัย)





เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวัน.....แม้สักเรื่องหนึ่ง เช่น การสวดมนต์

ถ้าท่านสามารถมีสติ ระลึกรู้ในขณะนั้น ก็จะทราบได้ว่า เป็นกุศลจิตประเภทไหน

และ กุศลจิตนั้น ประกอบด้วยปัญญา หรือว่า ไม่ประกอบด้วยปัญญา

และมีอะไรเป็นอธิปดี...ซึ่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ทั้งนั้น.



หรือบางท่าน ก็ฟังธรรมะ...แต่ก็เพียงฟัง

ขณะนั้น เป็นกุศลประเภทไหน.?

มีศรัทธาเป็นกุศลจิตที่จะฟัง

แต่ว่าเป็นญาณวิปปยุต คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญา.



แต่ในขณะใดก็ตามนะ ที่ฟังแล้วพิจารณา แล้วก็เข้าใจ

ในขณะนั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเลย

แต่เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก

เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต.



แล้วแต่ว่า ในขณะนั้น มีฉันทะเป็นอธิปดี หรือว่า มีวิริยะเป็นอธิปดี

ถ้าขณะนั้น มีฉันทะ คือ ความพอใจที่จะฟัง เป็นอธิปดี

หมายความว่า ในขณะนั้น จิต และ เจตสิกอื่น ที่เกิดร่วมด้วย

เป็นอธิปติปัจจัยไม่ได้ คือ เป็นหัวหน้าเป็นใหญ่ในขณะนั้นไม่ได้

เพราะเหตุว่า ขณะนั้นมีฉันทะเป็นอธิปติแล้ว



นอกจากชีวิตของท่านเองแล้ว

ก็ยังมีชีวิตของมิตรสหาย เพื่อนฝูงที่สนใจธรรมะด้วยกัน

หรือว่า ญาติพี่น้องทั่ว ๆไป

ก็จะเห็นความต่างกันของฉันทะในกุศลจิตของแต่ละบุคคล

เช่น บางท่าน มีฉันทะที่จะสร้างโรงเรียน

บางท่าน มีฉันทะที่จะสร้างโรงพยาบาล

บางท่าน มีฉันทะที่จะถวายอาหารบิณฑบาตร

บางท่าน ก็มีฉันทะที่จะศึกษาธรรมะ อบรมเจริญปัญญา.


เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้นะคะว่า ในชีวิตประจำวันของแต่ะบุคคล

ย่อมมี "ฉันทะ" แตกต่างกันไป ตามการสั่งสม.



แต่ว่า ขณะใดที่ท่านไม่ได้มีฉันทะที่จะกระทำกุศลกรรมอย่างนั้น

แต่ท่านก็พลอยกระทำกุศลกรรมนั้นไปด้วย....

ก็จะรู้ได้ว่า ในขณะนั้น ฉันทะไม่ได้เป็นอธิปดี คือ ไม่เป็นอธิปติปัจจัย.

เพราะฉะนั้น

ต่อไปนี้ ทุกท่านทราบได้ใช่มั้ย ว่า

กุศลธรรมขณะใด มีฉันทะเป็นอธิปดี

หรือในขณะใด มีวิริยะเป็นอธิปดี

ขณะใดมีปัญญาเป็นอธิปดี......?



มีข้อสงสัยอะไรบ้างมั้ย........?

ในเรื่องของสหชาตาธิปติปัจจัย.

มีปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัย ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

เช่น "อุปนิสสยปัจจัย" เป็นต้น.


.


"อุปนิสสยปัจจัย"

หมายถึง ที่อาศัยที่มีกำลัง

ที่จะให้สภาพธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้น-เป็นไปในขณะนั้น.


เช่น อกุศล...ไม่มีใครชอบ

แต่ทำไมเกิดขึ้นมาได้ ใช่มั้ย.?
ถ้าไม่มีการสะสมของอกุศลธรรมมาแล้วในอดีต...............

ซึ่ง พร้อมที่เป็นปัจจัยทำให้ อกุศลธรรมในขณะนี้ เกิดขึ้น

อกุศลธรรมในขณะนี้ ก็เกิดขึ้นไม่ได้.


เพราะฉะนั้น

อกุศลธรรม ที่เคยเกิดขึ้น-เป็นไปในอดีต ไม่ได้สูญหายไปไหน

แต่ สะสมและมีกำลัง

จนกระทั่งเป็น "อุปนิสสยปัจจัย" ที่ทำให้ อกุศลในขณะนี้ เกิดขึ้น ฉันใด

กุศลธรรม ก็เช่นเดียวกัน.


เพราะฉะนั้น...ถึงแม้ว่าจะไม่มี "อธิปติปัจจัย"

แต่ก็มีปัจจัยอื่น (เช่น อุปนิสสยปัจจัย)

ที่ทำให้กุศลธรรมนั้น ๆ เกิดขึ้นได้.


.


สำหรับเรื่องของกุศลธรรม

ซึ่ง มีฉันทะบ้าง วิริยะบ้างหรือ จิตบ้าง หรือปัญญาบ้าง

เป็น "อธิปติปัจจัย" เกิดร่วมด้วย

ยกตัวอย่างเรื่องที่ว่า จิต เป็น อธิปติปัจจัย.


.




หมายความว่า

ขณะนั้น...ไม่ใช่ฉันทะ ไม่ใช่วิริยะ และ ไม่ใช่ปัญญา

แต่ก็มี จิต ที่เกิดขึ้น เป็นไปในขณะนั้น.


.




เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล ก็ได้.?


.





....เช่น อย่างบางท่านนี้

ท่านมีความมั่นคงในการที่จะเจริญกุศล

แต่ว่า ไม่ใช่เพราะเหตุว่า ท่านมีฉันทะ หรือ มีวิริยะ

หรือว่า มีปัญญา เป็นอธิปติปัจจัย ในขณะนั้น

แต่เป็นเพราะว่า มีความมั่นคงในการที่จะเจริญกุศล

ถ้ากล่าวถึงฝ่ายกุศลธรรม.

ท่านก็มีความมั่นคงที่จะไม่พูดมุสาเลย

ในขณะที่มีความมั่นคงที่จะไม่พูดมุสา

ในขณะนั้น ไม่เห็นลักษณะของฉันทะ

หรือว่า ไม่มีลักษณะของปัญญา ที่ปรากฏให้รู้ได้

หรือว่า ไม่มีลักษณะของวิริยะ ที่ปรากฏเป็นอธิปติปัจจัย

แต่ว่าเป็นสภาพของ "จิต" ที่มั่นคงในกุศล.


เช่น ขณะที่ท่านขวนขวาย ฟังพระธรรม หรือ ศึกษาพระธรรมนี้น่ะค่ะ

ในขณะนั้น....ลักษณะของ อธิปติปัจจัย อื่น ๆ

เช่น ฉันทะ หรือวิริยะ หรือปัญญา...ไม่ปรากฏ.


แต่ว่าไม่มีใครสามารถที่จะไปยับยั้งความมั่นคงของท่าน

ในการที่จะศึกษาพระธรรม หรือ พิจารณาพระธรรม

ในขณะนั้น เป็นเพราะ "จิตตะ" เป็น อธิปติปัจจัย.


เพราะว่า บางท่าน กุศลไม่มั่นคงเลย...ใช่มั้ย.?

ชักชวนง่ายที่สุด ที่จะให้เป็นอกุศล.


เช่น คิดว่าจะมาฟังพระธรรม แต่ว่ามีเพื่อนฝูง

หรือว่าญาติพี่น้องชักชวนนิดเดียว ก็ไปแล้ว.!

ก็หมายความว่า ในขณะนั้น........

ไม่มีสภาพธรรมใด ที่จะเป็นอธิปติปัจจัยทางฝ่ายกุศล.


แต่ถ้ายังไง ๆ ก็ไม่ยอม (ที่จะไม่ไปฟังพระธรรม)

ก็หมายความว่า ขณะนั้นไม่มีลักษณะของฉันทะ หรือวิริยะ

หรือปัญญา ปรากฏเป็นอธิปติปัจจัย

แต่ว่าขณะนั้น จิต มั่นคงที่จะเป็นในกุศล

ก็เป็นเพราะ "จิตตะ" เป็นอธิปติปัจจัย.


สำหรับจิตตะก็ดี ฉันทะก็ดี วิริยะก็ดี วิมังสะ (ปัญญา) ก็ดี

ที่จะเป็นอธิปติปัจจัย ได้นะ ไม่ใช่ในขณะที่เป็นวิบากจิต

แต่ต้องเป็นในขณะที่เป็นชวนจิตเท่านั้น

และก็ต้องเว้นขณะจิตที่อ่อน

เช่น จิตที่ประกอบด้วยเหตุเดียว

ที่ไม่สามารถจะมีธรรมะใด เป็นอธิปติปัจจัยได้.



ขณะที่ วิมังสาเป็นอธิปดี (อธิปติปัจจัย)

ขณะนั้น ต้องเกิดกับมหากุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์

และถ้าเป็นการอบรมเจริญสมถภาวนา หรือ การอบรมเจริญสติปัฏฐานแล้ว

ขณะนั้นเป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ เมื่อยังไม่ถึงฌาณจิตหรือโลกุตตรจิต

ต้องเป็นขณะที่จิตประกอบด้วยปัญญาซึ่งมีกำลังเท่านั้น

ปัญญา หรือ วิมังสา จึงจะเป็นอธิปดี (คือ เป็นอธิปติปัจจัยได้)




แต่ถึงแม้ว่าเป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ แต่ไม่มีกำลัง

เช่น ในขณะที่กำลังฟังพระธรรม และมีความเข้าใจไปเรื่อย ๆ

ยังไม่มีลักษณะของปัญญาที่ปรากฏเป็นอธิปดี หรือเป็นหัวหน้า

ขณะนั้น เป็นมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ แต่ว่าปัญญายังไม่เป็นอธิปดี

เพราะฉะนั้น

เมื่อ "ปัญญาเป็นอธิปดี" เมื่อนั้น "สติสัมปชัญญะ" ก็จะรู้ว่า

กุศลจิตในขณะนั้น มีปัญญาเป็นอธิปดี.


.





ขณะที่ความโลภเกิดขึ้น

และจิตก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นโลภะ

ขณะนั้น ปัญญาเป็นอธิปดีหรือยัง

เป็นญาณสัมปปยุตตจิตหรือยัง

คนอื่นไม่สามารถจะบอกได้เลย ถึงลักษณะของอธิปติปัจจัยในขณะนั้น

ว่า ขณะนั้นมีปัญญาเป็นอธิปติปัจจัย หรือ

เพราะต้องเป็นสติสัมปชัญญะของบุคคลนั้นเอง ที่จะทราบได้

คนอื่นไม่สามารถที่จะทราบได้

เป็นขณะซึ่งบุคคลนั้นเองเท่านั้นที่จะรู้ได้ พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ

คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ

จึงจะสามารถรู้ได้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง.


.




สภาพธรรมที่เป็นอธิปติปัจจัย มีเพียง ๔ เท่านั้น

คือ ฉันทเจตสิก วิริยเจตสิก จิต และ ปัญญาเจตสิก (วิมังสะ)


โดยที่ต้องรู้ความละเอียดนะ ว่า

จิตขณะไหน จิตประเภทไหน ที่จะเป็นอธิปติปัจจัยได้.


สำหรับกุศลจิตทั้งหมด เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยได้

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นทุกครั้ง.


สำหรับ ฉันทะในอกุศล

ทุกท่านสามารถที่จะทราบตามความเป็นจริง ว่าท่านชอบทำอะไรในวันหนึ่งๆ

ซึ่งถ้าสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้นะ

จะเห็นสภาพที่กำลังพอใจอย่างยิ่ง ในขณะที่กำลังเพลิดเพลิน

หรือกำลังยินดี ในสิ่งที่ท่านกำลังกระทำ.


เพราะเหตุว่า บางท่านชอบดูภาพยนต์...ซึ่งยับยั้งไม่ได้.?

สนุกเพลินเพลินเหลือเกิน ในการขณะที่ดู.?


แต่บางท่านชอบดูกีฬา บางก็ท่านชอบแต่งตัว

บางท่านชอบไปเที่ยวต่างจังหวัด บางท่านชอบฟังดนตรี

บางท่านชอบทำอาหาร บางท่านก็ชอบปลูกต้นไม้ดอกไม้

บางท่านก็ชอบสะสมวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ฯลฯ
ขณะที่กำลังเพลิดเพลินยินดีพอใจอย่างยิ่ง

ในขณะนั้น ฉันทะเป็นอธิปดี.


แต่ไม่ใช่เฉพาะฉันทะ เท่านั้น

แม้ในเรื่องของกุศล บางครั้งก็เป็น วิริยะ (ความเพียร) เป็นอธิปดี

เพราะเหตุว่า ไม่ใช่ทำด้วยความพอใจ

แต่อาจจะเห็นว่าประโยชน์ หรือว่าถูกชักชวน จึงกระทำกุศลกรรมนั้น ๆ

หรือว่าท่านสามารถที่จะช่วยเหลือในกิจการกุศลนั้นได้

แม้ว่าท่านจะไม่มีฉันทะในการกุศลนั้นจริง แต่ก็เพราะวิริยะ (ความเพียร)

จึงทำให้สงเคราะห์ช่วยเหลือในการกุศลนั้น

จนกระทั่งการกุศลนั้น สำเร็จได้.


และทางฝ่ายอกุศล ก็เช่นเดียวกัน

บางขณะก็ไม่ใช่เพราะฉันทะ แต่ว่าเป็นเพราะวิริยะก็ได้

อย่างเช่น บางท่านที่ไม่ชอบทำอาหาร

แต่เมื่อเป็นไปในการกุศล ท่านก็ช่วยเหลือได้

ในขณะนั้น ฉันทะ ไม่ได้เป็นอธิปดี แต่วิริยะ เป็นอธิปดี.



สำหรับอกุศลจิต

วิมังสะ คือ ปัญญา ไม่เป็นอธิปดี

เพราะเหตุว่า ปัญญาจะเกิดกับโสภณจิตเท่านั้น

เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา

คือ กุศลจิตญาณสัมปยุตต์เท่านั้น

ที่วิมังสะคือปัญญาจะเป็นอธิปดีได้.


ขณะที่มีความเห็นผิด หรือ ปฏิบัติผิด

ขณะนั้น ให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย.


เช่นเดียวกับในขณะที่เกิดปัญญา ความเห็นถูก

ในขณะนั้นก็ให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย.


ในขณะที่เป็นฌาณจิต ให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย.


ในขณะที่เป็นโลกุตตรจิต ให้ทราบว่า ต้องมีสหชาตาธิปติปัจจัย

เพราะเหตุว่า

ฌาณจิตทั้งหมด และโลกุตตรจิตทั้งหมด เป็นจิตที่มีกำลัง

ถ้าไม่มีสภาพธรรมที่เป็นอธิปติปัจจัย

ฌานจิตและโลกุตตรจิต ก็เกิดไม่ได้.


แต่สำหรับมหากุศลจิต กามาวจรกุศลจิต หรือ อกุศลจิตนั้น

บางครั้งก็ไม่มีอธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วยเลย

แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกครั้งที่เป็นโลภมูลจิต โทสมูลจิต หรือ กุศลจิต

จะต้องมีอธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วยเสมอไป.


โดยนัยของสหชาตาธิปติปัจจัย

สำหรับกุศลจิต และ อกุศลจิต ซึ่งมีสหชาตธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วย

เรื่องกุศลจิต และ อกุศลจิตนี้

รู้สึกว่าลักษณะไม่ค่อยจะปรากฏเลย บางครั้งก็จะต้องอาศัยเดาเอา

ถ้าไม่เดา ก็ไม่รู้เรื่องอีกเหมือนกัน

ตามที่เราศึกษามา ก็บอกว่าขณะที่ฟังพระธรรม หรือศึกษาพระธรรมแล้วเข้าใจ

ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา


แต่ทีนี้บางครั้ง เรากำลังศึกษาพระธรรม

เช่น กำลังอ่านพระไตรปิฎก แล้วก็เข้าใจเนื้อความในพระไตรปิฎก

แต่ว่าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็คิดว่าขณะนั้นเป็นกุศล

แล้วบางทีเรากำลังอ่านหนังสืออื่น เช่น อ่านหนังสือพวกจิตวิทยา

เราก็ต้องใช้ความพยายามอ่าน ถึงจะเข้าใจ

ในขณะที่เข้าใจหนังสือประเภทอื่น เช่น หนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยา

กับการอ่านพระไตรปิฎกแล้วก็เข้าใจเนื้อความในพระไตรปิฎก

ก็ต้องอาศัยเดาเท่านั้นล่ะ

ว่าขณะที่อ่านพระไตรปิฎกแล้วเข้าใจเนื้อความ ขณะนั้นเป็น กุศล

ถ้าอ่านหนังสือประเภทอื่นแล้วเข้าใจเนื้อความในนั้น ขณะนั้นก็เป็น อกุศล

โดยขณะที่สติปัฏฐานไม่เกิด เป็นอย่างนี้ทุกทีหรือเปล่า

ขณะที่มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์เกิดขึ้น

ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นขั้นสติปัฏฐานทุกครั้ง

ในขณะที่กำลังฟังพระธรรม

แล้วเข้าใจเรื่องราวของพระธรรม ที่ได้ยินได้ฟัง

ขณะนั้นเป็น "มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์" ที่กำลังเข้าใจ

ซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา.

มนุษย์ที่ตายแล้วไปเกิดในกำเนิดโอปปาติกะ คือเป็นพรหม เทวดา สัตว์นรก เปรต ฯ

บุคคลเหล่านั้นย่อมจำชาติก่อนได้ว่า เคยก่อนเป็นใคร ทำกรรมอะไรมา จึงมาเกิดใน

ที่นี้ เพราะช่วงเวลาระหว่างบุคคลใหม่ กับบุคคลเก่าต่อเนื่องกันทันที เหมือนหลับ

แล้วตื่นขึ้นฉะนั้น และถ้าเป็นพระพรหมสามารถระชาติก่อนได้หลายชาติ แต่บุคคล

อื่นได้เพียงชาติเดียว หรือมากกว่านั้นบ้าง

ควรทราบว่า คำว่ากัปป์ มีหลายความหมาย คือหมายถึงมหากัปป์บ้าง อายุกัปป์บ้าง

แต่ในเรื่อง หมายถึงอายุกัปป์ ในครั้งพุทธกาลอายุกัปป์โดยเฉลี่ยประมาณ ๑๐๐ ปี

แต่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ก่อน เพราะเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่าน

จะดำรงอยู่ประมาณ ๓ ใน ๔ ของอายุกัปป์ และมีเหตุผลอื่นๆอีก


เอาบุญมาฝากได้เจริญวิปัสสนาให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายข้าวพระพุทธรูป เมื่อวานนี้เดินจงกรม

อย่างเดียวเฉลี่ยแล้วประมาณ 5-6 ชั่วโมง และก็ไปนั่งสมาธิอีกนานพอสมควร เมื่อคืนนี้แม่ได้สวดมนต์ และอนุโมทนาบุญในการเจริญวิปัสสนาของเรา และเมื่อเช้าได้ถวายสังฆทาน กับหลาน และเพือนบ้าน และวันนี้ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง ได้สักการะพระธาตุ

บูชาข้าวพระพุทธรูปถวายโภชนาหารพระพุทธรูป

กำหนดอิริยาบทย่อย เมื่อวันที่ 6 ได้มีงานปล่อยเต่า

จำนวน หลายร้อยตัว พร้อมกันนั้นก็มีการปล่อยปลาประมาณ พันตัว มีผู้มาร่วมงานเยอะมาก

และได้รักษาศีล และตั้งใจว่าจะสวดมนต์

เดินจงกรม เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย

นั่งสมาธิ ศึกษาธรรม และเมื่อวานนี้ได้มีโอกาสฟังธรรมด้วย

และวันนี้ก็จะฟังธรรมอีก พร้อมกับศึกษาตำรายาเพื่อทีจะไปรักษาคุณพ่อคุณแม่ พระภิกษุสงฆ์ และบุคคลทั่วไป

และได้ทำงานช่วยพ่อแม่ และได้แผ่กุศลให้สรรพสัตว์อีก

และเมื่อวานนี้ได้เจริญอนุสติกรรมฐานอีก

วันนี้ก็จะเจริญอนุสติกรรมฐาน

และทุกๆวันได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทาน

และก็จำกำหนดอิริยาบทย่อย

และจะเดินจงกรมอีกหลายชั่วโมง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO