รูปธรรม
(รูปปรมัตถ์)
.
รูปแต่ละรูป ไม่เกิดตามลำพัง.
เพราะฉะนั้น
รูปหนึ่งกลุ่มที่เล็กที่สุด
จะต้องมีรูปเเกิดร่วมกันอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป ซึ่งเกิดร่วมกัน
ภาษาบาลี เรียกว่า
อวินิพโภครูป ๘
ได้แก่
มหาภูตรูป ๔ รูป และ อุปาทายรูป ๔ รูป.
.
อุปาทายรูป
อุป ( เข้าไป ) + อาทาย ( ถือเอา , อาศัย ) + รูป ( รูป )
( รูป ที่เข้าไปอาศัยมหาภูตรูป )
หมายถึง รูป ๒๔ รูป นอกเหนือจากมหาภูตรูป ๔
ซึ่ง ไม่สามารถเกิดขึ้นเองตามลำพังได้
เพราะจะต้องอาศัยมหาภูตรูปในการเกิดขึ้น พร้อมกัน.
มหาภูตรูป ๔ จึงเป็นที่อาศัยของ อุปาทายรูป ๒๔
เปรียบเหมือนกับแผ่นดิน อันเป็นที่อาศัยรองรับต้นไม้ หรือบ้านเรือน.
อุปาทายรูป ๒๔ จะเกิดไม่พร้อมกันทั้งหมด
เพราะว่า ขึ้นอยู่กับสมุฏฐานที่เป็น "ปัจจัย" ให้เกิด
และขึ้นอยู่กับว่า อุปาทายรูปนั้นเกิดในกลาปไหน.
แต่ที่แน่นอน คือ อวินิพโภครูป ๘ รูป ต้องเกิด-ดับ พร้อมกัน
และมีอยู่เป็นพื้นฐานในกลุ่มของรูป ทุกกลุ่ม.
รูปที่เป็น อุปาทายรูป ได้แก่
จักขุปสาท โสตประสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท
และ รูปที่เป็นอารมณ์ ได้แก่ สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น.
(ทั้งหมดมี ๒๔ ประเภท)
.
อวินิพโภครูป ๘
ประกอบด้วย มหาภูตรูป ๔ และ อุปทายรูป ๔
มหาภูตรูป
(รูปที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน) ๔ รูป
ได้แก่
ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นรูปที่มีลักษณะอ่อนหรือแข็ง
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เป็นรูปที่มีลักษณะเอิบอาบหรือเกาะกุม
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นรูปที่มีลักษณะร้อนหรือเย็น
วาโยธาตุ (ธาตุลม) เป็นรูปที่มีลักษณะไหวหรือตึง
มหาภูตรูป ๔ นี้ ต้องอาศัยกันเกิดขึ้น จึงแยกกันไม่ได้เลย
และมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็น "ปัจจัย" โดยเป็นที่อาศัยเกิดของรูปอีก ๔ รูป.
รูปอีก ๔ รูป ที่เกิด-ดับพร้อมกับมหาภูตรูป ในกลาปเดียวกัน
คือ อุปาทายรูป ๔
.
อุปาทายรูป ๔
ได้แก่
วัณโณ (แสงสี) เป็นรูปที่ปรากฏได้เฉพาะทางตา เท่านั้น
คันโธ ( กลิ่น) เป็นรูปที่ปรากฏได้ทางจมูก เท่านั้น
รโส (รส) เป็นรูปที่ปรากฏได้ทางลิ้น เท่านั้น
โอชา (อาหาร) เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปประเภทอื่น
รูป ๘ รูปนี้ แยกกันไม่ได้เลย
และเป็นกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด
ที่เกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกันอย่างรวดเร็ว
และจะมีแต่มหาภูตรูป ๔ เกิดขึ้น
โดยไม่มี อุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) ๔ รูปนี้ ไม่ได้เลย.!
.
ลักษณะต่าง ๆ ของรูปธรรม
สามารถรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
.
รูปธรรม เป็นสภาพธรรม คือ สิ่งที่มีจริง
เพราะว่า "มีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้"
.
มีการบัญญัติ (สมมติ) เรียก รูปธรรมต่าง ๆ มากมาย
เช่น ร่างกาย หรือ โต๊ะ เป็นต้น.
แต่ว่า ทั้งร่างกาย และ โต๊ะ มีลักษณะแข็ง
ซึ่งปรากฏให้รู้ได้ ด้วยการกระทบสัมผัสทางกาย.
ลักษณะแข็ง หรือสภาพธรรมที่แข็งนั้น เหมือนกัน
และ เป็นปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง ๆ
แต่ "ร่างกาย" และ "โต๊ะ" เป็นต้น นั้น ไม่มีจริง
ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เพราะว่า เป็นสมมติบัญญัติ.
.
ตามปกติ เราเข้าใจว่า ร่างกายดำรงอยู่
และ ยึดถือว่าเป็นร่างกายของเรา เป็นตัวตนของเรา
ความจริงแล้ว ที่เรียกว่า "ร่างกาย" นั้น
เป็นเพียงรูปต่าง ๆ ที่มาประชุมรวมกัน และเกิดดับอยู่ตลอดเวลา.
.
การที่จะประจักษ์แจ้ง "ลักษณะของรูป" ตามความเป็นจริงได้
ก็ต่อเมื่อ จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมกัน เกิดขึ้น
และมีการรู้ "ลักษณะที่ต่างกันของรูป" ประเภทต่าง ๆ
ในขณะที่รูป ประเภทใด ประเภทหนึ่ง กำลังปรากฏ.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน สวดมนต์ เดินจงกรม อาราธนาศีลอาชีวัฐมกะศีล และนั้งสมาธิ กรวดน้ำ กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระบรมสารีริกธาตุ เก็บของของผู้อื่นที่ทำตกไว้ให้แก่เจ้าหน้าที่ ได้แนะนำทางให้คนหลงทาง และเมื่อวานนี้คุณแม่ได้ซื้อดอกไม้มาประดิษฐาน บูชาพระธาตุ และวันนี้ตั้งใจว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ กำหนดอิริยาบทย่อย และวันนี้ได้ให้ธรรมะเป็นทานด้วย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|