ถ้าความเห็นนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง ชื่อว่า เ ห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) เพราะ
ความจริง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีปัจจัยหลายอย่าง แม้แต่รูปยังมีสมุฏฐานให้เกิดถึง
สี่ประเภท คือ เกิดจากกรรมก็มี เกิดจากอุตุก็มี เกิดจากจิตก็มี เกิดจากอาหาร
ก็มี ส่วนนามธรรมก็มีปัจจัยเป็นจำนวนมากทำให้เกิดขึ้น เช่น เหตุปัจจัย อารัม-
ณปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย เป็นต้น ยังไม่มีตัวอย่างในขณะนี้ครับ แต่ถ้าพิจารณา
แล้วก็รู้ได้ว่า เห็นไม่ตรงตามความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างทีมีจริงเกิดจากเหตุหลายประการ ไม่ใช่เกิดจากผลของกรรมเท่านั้น อย่างเช่น กิเลสที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดจากผลของกรรมแต่เกิดจากกิเลสที่มีอยู่ ทำให้มี เหตุให้กิเลสเหล่านั้นเกิดขึ้น รูปบางอย่างเกิดจากผลของกรรมก็มี(ประสาทตา ประสาท หู เป็นต้น) รูปบางอย่างเกิดจากอุตุก็ได้ เช่น ต้นไม้ เป็นต้น ดังนั้นต้องเข้าใจว่าขณะ ไหนเป็นผลของกรรม ผลของกรรมคืออะ ไร ดังนั้นสิ่งที่ประสบพบเจอจะเป็นผลของ กรรมคือขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นต้น เป็นผลของกรรม แต่ขณะอื่นๆที่เป็นกุศลหรือออกุศลไม่ใช่ผลของกรรม ซึ่งหากเข้าใจว่าขณะที่เห็น ได้ยิน...เป็นวิบาก อันนี้ไม่ผิด แต่ถ้าเข้ใจว่าเป้นผลของกรรมที่ทำมาในอดีตทั้งหมด ตรงนี้ไม่ใช่ อาจเกิดจากกรรมในปัจจุบันก็ได้ ถ้าเชื่อกรรมและผลของกรรมมีจริง เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ ทุกขณะที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ลิ้มรส ที่กระทบสัมผัส เป็นผลของกรรม ปัจจัยทั้งหมด มี 24 ปัจจัย ตราบใดที่ยังมีกิเลสก็ยังมีเหตุมีปัจจัยให้เกิดอวิชชา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุมีปัจจัย ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นมาลอย ๆ, เป็นความ
จริงที่ว่า กรรม ที่ได้กระทำไปแล้ว สำเร็จไปแล้ว เมื่อถึงคราวให้ผล ไม่มีใครหนีพ้น
ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอากาศ อยู่ในซอกเขา หรือ อยู่ในน้ำก็ตาม ถ้าศึกษาให้ละเอียด ก็จะ
เข้าใจได้ว่า ขณะใดบ้างในชีวิตที่เป็นผลของกรรม เริ่มต้นตั้งแต่เกิดมาในภพนี้ แรกที่
เกิด ก็เป็นผลของกรรมแล้ว ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
ก็เป็นผลของกรรม แต่ นอกจากนั้นแล้วยังมีสภาพธรรมอื่น ๆ อีกที่ไม่ใช่ผลของกรรม
อย่างเช่น ขณะที่เกิดโลภะหรือโทสะ ก็มีปัจจัยที่จะเกิด (ขณะที่โลภะ หรือ โทสะ เกิด
ไม่ใช่ผลของกรรม) เป็นไปตามการสะสม เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงควรทราบว่า สภาพธรรมใดก็ตามที่จะเกิด ก็เพราะมีเหตุมีปัจจัยจึง
เป็นไปอย่างนั้น ซึ่งจะต้องเป็นกิจหน้าที่ของปัญญา เท่านั้น ที่จะรู้ความจริงได้ ไม่มีทางเป็นความจริงได้ เพราะอดีตก็ล่วงไปแล้ว ดับไปหมดแล้ว ส่วนอนาคตก็ยังไม่เกิดขึ้น ขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏให้ศึกษา ให้พิสูจน์ ว่า เป็นเพียงธัมมะอย่างหนึ่งเท่านั้น ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ หมายถึงให้อยู่กับขณะปัจจุบัน ไม่คิด ถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว หรือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาคือการเจริญสติปัฏฐาน สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป ไม่กลับมาอีก เห็นขณะนี้ดับไปแล้ว สภาพธรรมอื่นๆ เกิดใหม่ตลอดเวลา ไม่สามารถย้อนกลับไปสู่สภาพธรรมเก่าที่ดับไปแล้วได้ ได้แต่นึก ถึงเรื่องราวของสภาพธรรมที่ดับไปแล้ว แต่ตัวจริงที่มีลักษณะให้รู้ในขณะนั้น ย่อมไม่ สามารถไปรู้ได้ ไม่มีใครย้อนเวลาได้ เพราะเวลาก็เกิดจากสภาพธรรมที่จิตเกิดดับทีละ ขณะจึงมีเวลาเกิดขึ้น เป็นวินาที นาที วัน เดือน ปี สภาพธรรมเกิดดับใหม่ตลอดเวลา จึงไม่มีคำว่าย้อนเวลา แต่มีแต่เดินหน้าตามสภาพธรรมที่เกิดดับ อนาคตยังไม่มาถึง ขณะนี้กำลังมีสภาพธรรมในปัจจุบัน เมื่ออนาคตยังไม่มาถึงก็ไม่มีลักษณะตัวจริงให้รู้ เวลาของทุกท่านกำลังเดินหน้า ไปทีละขณะจิตให้เหลือในการอบรมปัญญาในชาตินี้ อีกไม่นานเลย อย่าประมาทกับเวลาที่เสียไป กิเลส คือ อกุศลธรรม ที่ไม่มีคุณประโยชน์อะไรเลย
กิเลสให้โทษกับตัวเราและผู้อื่น...ไม่ช้า ก็เร็ว
เช่น
ความเกลียดชัง เป็น อกุศล
เมื่อเกิดความเกลียดชัง...ขณะนั้นกำลังทำร้ายตัวเองและผู้อื่นด้วย
เพราะขณะนั้น จิตใจไม่สงบ และ มีแต่ความดุร้าย. ขณะที่กำลังเกิดความเกลียด ขณะนั้นจิตใจกระสับกระส่าย ไม่สงบ
ขณะที่กำลังโกรธ ก็อาจจะกระทำสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียใจในภายหลัง ความโกรธ เป็น กุศล
ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะอะไรก็ตาม.
ความโกรธ ให้โทษแก่ตัวเองและคนอื่น
แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณจะแข็งกับคนอื่นไม่ได้
"เพื่อประโยชน์"แก่คนอื่น
แต่ ความเกลียด และ ความโกรธ เป็น อกุศล เสมอ
เพราะว่า ขณะที่กำลังโกรธ......
ขณะนั้น คุณมีจิตใจที่ไม่เที่ยงตรง ขาดเหตุผล
ไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า การกระทำของคุณถูกหรือผิด
เพราะคุณกำลังสับสน
ขณะที่คุณโกรธ...คุณจะไม่มีเหตุผลเลย.? มี "อกุศลธรรม" หลายอย่าง
อกุศลธรรม ๓ อย่าง ซึ่งเป็นต้นเหตุของ อกุศลธรรมอื่น ๆ
ซึ่งก็คือ
"อกุศลเหตุ ๓"
ได้แก่
โลภะ โทสะ โมหะ.
เราควร "เข้าใจ" ชีวิตประจำวันของเราจริง ๆ
เราควรดำเนินชีวิต ตามปกติ
เพื่อที่จะได้เห็น "อัธยาศัย" และ "กิเลส" ของเรา.
เราควรเห็น "โลภะ" และ "โทสะ"ของเรา
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ.
เราสนุกสนาน และมีความสุขกับสิ่งที่เราชอบได้
แต่ก็สามารถที่จะ "เข้าใจสภาพธรรม"
ในชีวิตประจำวันของเรา ได้มากยิ่งขึ้น.
การเข้าใจสภาพธรรมที่เกิดขึ้น
ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน
จะเป็น "ปัจจัย" ที่ทำให้เรา "เข้าใจถึงลักษณะ" ของ โลภะ โทสะ
เมตตา ความสุข และ ความทุกข์ ฯลฯ
ที่เกิดขึ้น ตามปกติ ตามความป็นจริง
ในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น.
"ผู้มีปัญญา"
(ซึ่งความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง)
จะมีชีวิตที่เป็นสุข พร้อมทั้งมี "การเข้าใจสภาพธรรม"
ตามปกติ ตามความเป็นจริง
ในชีวิตประจำวันด้วย. โลภะ และ โทสะ มีหลายระดับ.!
อาจจะเบาบาง หรือ อาจจะแรงกล้า
จนทำให้เกิด "อกุศลกรรม" ได้.
เราอาจจะชอบมาก จนอยากจะเอามาเป็นของเรา
ซึ่งเห็นได้ชัดว่า นั่นเป็น "อกุศลจิต"
แต่......แม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่เป็นประโยชน์แล้ว
เพราะไม่ใช่ "กุศลจิต"
เมื่อเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว
หรือ รู้อารมณ์ทางทวารอื่น ๆ ที่น่าพอใจแล้ว
ก็มักจะเกิด "โลภะ" บ่อย ๆ
ซึ่งเราอาจจะไม่ได้สังเกตเลย.?
เราติดข้องอยู่กับ "ทุกสิ่งที่ปรากฏทางทวารต่าง ๆ"
ซึ่ง ความติดข้อง เป็น "ปัจจัย"ให้ "โลภะ" เกิดขึ้น.
ขณะที่ "โลภะ" เกิดขึ้น
ขณะนั้น มีความเห็นแก่ตัว มีความตระหนี่ ฯ
และ เมื่อ "โลภะ" เกิดขึ้นอีก
จึงมีการ "สะสมโลภะ" มากขึ้นเรื่อย ๆ
และ "โทสะ" ซึ่งมีลักษณะประทุษร้าย
ก็โดยนัยเดียวกัน...คือ มีหลายระดับ.
ซึ่งทำให้เห็นได้ชัดว่า โลภะ และ โทสะ เป็น "อกุศล"
ซึ่งเมื่อยังมี "กำลังอ่อน"
ก็เป็นเหตุให้เกิดความไม่สบายใจ และ หงุดหงิด ไม่สงบ.
ขณะที่ไม่สบายใจ......
ขณะนั้น เป็น "สภาพธรรมตามความจริงของโทสะ"
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า
โลภะ โทสะ โมหะ เป็น "อกุศลเหตุ ๓"
ซึ่งเป็น "เหตุ" ที่ทำให้เกิด "อกุศลจิต"
. จิต เจตสิก รูป
ซึ่งเป็น สังขารธรรม จำแนกได้อีกนัยหนึ่ง
คือ
โดยความเป็น "ขันธ์ ๕"
ซึ่งหมายถึง
กลุ่ม หรือ กอง.
.
"ขันธ์ ๕"
คือ
"รูปขันธ์"
ได้แก่ รูป ทุก รูป.
.
"เวทนาขันธ์"
ได้แก่ ความรู้สึก
(เวทนาเจตสิก)
.
"สัญญาขันธ์"
ได้แก่ ความจำ (สัญญาเจตสิก)
.
"สังขารขันธ์"
ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ประเภท
(เว้น เวทนาเจตสิก และ สัญญาเจตสิก)
.
"วิญญาณขันธ์"
ได้แก่ จิตทุกประเภท.
.
เจตสิก ทุกประเภท จำแนกเป็น "ขันธ์ ๓"
คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
หมายความว่า
เวทนาเจตสิก คือ "เวทนาขันธ์"
สัญญาเจตสิก คือ "สัญญาขันธ์"
เจตสิกที่เหลือ ๕๐ ประเภท
คือ
"สังขารขันธ์"
เช่น
เจตนา โลภะ โทสะ โมหะ
เมตตา อโลภะ อโทสะ ปัญญา
เป็นต้น.
ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ
"สังขารขันธ์"
หมายถึงสภาพธรรม ซึ่ง "กระทำ"
หรือ "นามธรรมที่ปรุงแต่งจิต"
.
สำหรับ "จิตปรมัตถ์" นั้น
คือ
"วิญญาณขันธ์"
ในภาษาบาลี.........คำว่า วิญญาณ มโน จิต ฯลฯ
เป็นคำที่หมายความถึง สภาพธรรมอย่างเดียวกัน
คือ
สภาพธรรม ที่มีลักษณะ "รู้อารมณ์"
เมื่อจำแนกจิต โดยนัยของ "ขันธ์"
ก็ใช้ คำว่า "วิญญาณขันธ์"
.
ฉะนั้น
"ขันธ์ ๕"
จึงเป็น "รูปขันธ์" ๑ ประเภท
เป็น "นามขันธ์" ๔ ประเภท
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
และโดยนัยของ "นามขันธ์ ๓"
ได้แก่
เจตสิก ๕๒ ประเภท
(เวทนา สัญญา สังขาร)
โดยนัยของ "นามขันธ์ ๑"
ได้แก่
จิต ๘๙ ประเภท
หรือโดยละเอียด คือ จิต ๑๒๑ ประเภท.
โมหะ"
เป็น "เหตุ" ของ อกุศลธรรม ทั้งหมด.!
อกุศลจิตทุกชนิด จะต้องมี "โมหะ" เกิดร่วมด้วย.
ขณะที่จิตเป็นโมหะ
ขณะนั้น....ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกุศล...ไม่รู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์
และ ไม่รู้ว่า อะไร เป็นอกุศล เพราะ โมหะ.!
ฉะนั้น จึงไม่รู้ว่า อะไร คือ "ความจริง"
และ อะไร เป็นเพียง "ความคิดนึก"
"โมหะ"
เป็น "ปัจจัย" ให้เห็นสภาพธรรม "ผิดไปจากความเป็นจริง"
ซึ่งเป็น "ความเห็นผิด"
เช่น
ขณะที่มีความเห็นว่า ร่างกาย และ จิตใจ เป็นสิ่งที่เที่ยงและยั่งยืน
ขณะนั้น...เป็น "ความเห็นผิด"
สิ่งที่เราเรียกว่า "ใจ" นั้น
ความจริง คือ กระแสของจิตที่เกิด-ดับ-สืบต่อ ทีละขณะ ๆ
ซึ่งไม่ยั่งยืนเลย.!
สิ่งที่เราเรียกว่า "ร่างกาย"
ก็เป็นอณูที่ไม่คงที่ (เกิด-ดับ-สืบต่อ) ตลอดเวลา.
"ธาตุ" ทั้งหลาย....ไม่ยั่งยืน.
ขณะที่เราเห็นว่า จิตใจ และ ร่างกาย
"เป็นของเรา" หรือ "เป็นเรา"
ขณะนั้น....เป็น"ความเห็นผิด"
และ
"ความเห็นผิด"
เป็น "ปัจจัย" ที่ทำให้เกิด "อกุศลธรรม" ทั้งหลาย.
อัสมิมานะคือ มานะ ความสำคัญตน ความถือตัวว่าเรามีอยู่ ความถือตัวว่าเป็นเรา
อามิส คือเหยื่อ ส่วนใหญ่จะหมายถึงกามคุณ แต่ในบางแห่งหมายถึงวัฏฏะทั้งสิ้น
" คำว่า กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน ... ท่านมุ่งหมายธาตุถายในกายของเรา ที่รู้ได้
สัมผัสถูกต้องได้... พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
อุทัยสูตร [๖๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อย ๆ ฝนย่อม ตกบ่อย ๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อย ๆ แว่น แคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อย ๆ ยา จกย่อมขอบ่อย ๆ ทานบดีก็ให้บ่อย ๆ ทานบดีให้บ่อย ๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์ บ่อย ๆ ผู้ต้องการน้ำนม ย่อมรีดนมบ่อย ๆ ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อย ๆ บุคคล ย่อม ลำบากและดินรนบ่อย ๆ คนเขลาย่อมเข้า ถึงครรภ์บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและตายบ่อยๆ บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้า บ่อย ๆ ส่วนผู้มีปัญญาถึงจะเกิดบ่อย ๆ ก็ เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก ดังนี้.
ทายกย่อมแสวงหาบุญญเขตต ครั้นพบแล้ว ย่อมถวายทานบ่อยๆ เขานั่งใกล้บัณฑิตแล้วย่อมได้ฟังพระสัทธรรมบ่อยๆ ....... เขาย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ด้วยอุบายอย่างนี้ การเห็นสิ่งต่างว่า สวย งาม เป็น ขณะนั้นเป็นโลภะ โลภะเป็นสังขารขันธ์ ขณะที่โลภะ
เกิดขึ้นก็มี เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เกิดพร้อมกันเมื่ออบรมเจริญปัญญารู้
แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง จนบรรลุเป็นพระอนาคามีความเห็นว่างามก็จะดับ
ได้ ผู้ที่เห็นซากศพ แม้จะทำการผ่าตัดเนืองๆ แต่จิตเป็นอกุศลเพราะยังมีกิเลส
เพราะไม่พิจารณาโดยแยบคาย จึงยังเห็นกายว่างามอยู่ ส่วนผู้ที่เจริญอสุภกรรมฐาน
เนืองๆ เพราะพิจารณากายโดยแยบคาย จึงเห็นกายตามความเป็นจริงว่าไม่งาม ความเห็นว่างามนี้สร้างความเดือดร้อนไม่น้อยเลย ถ้าลดละได้จะมีความสุขมากขึ้น
ปัญหาลดลงได้มาก สำหรับผมมันละเอียดมากจับตัวได้อยากกว่าความโกรธ เหมือน
ความโกรธพอสอดส่อง ก็พอจะเห็นตัว แต่่ความเห็นว่างามนี้ พอจะละ ก็ละได้ยาก
ควานหาตัวไม่พบ มีสภาพเหมือนไฟที่สุมอยู่ภายใน ลุกโพลงบ้าง รุมๆใต้เถ้าบ้าง รอ
เวลาลุกโพลงเมื่อได้เชื้อไฟ และปัจจุบันการโหมค้าความงามก็เหมือนโหมกองไฟ ให้
ร้อนแรง
วิธีอื่นนอกจากมานั่งพิจารณาแล้ว ก็คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 จนมองเห็นความเป็นจริงได้ด้วยจิตครับ จิตตามจิตทัน เห็นจิต รู้เท่าทัน พบว่าไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นตน เกิดภาวนามยปัญญา (ไม่ใช่ที่เกิดจากการคิดนะครับ ปัญญาที่เกิดจากการคิดก็ต้องมานั่งคิดจริงๆ คิดไม่ทันก็หลุดได้) จะไม่กลับมาเห็นความสวยงามอีกครับ ปิดประตูราคะไปเลย (ถ้าถึงระดับอนาคามี) ไม่ต้องมานั่งดับด้วย อสุภนิมิต เป็นครั้งๆไป หรือคอยทำมากๆไว้ อีกด้วย สังขารขันธ์ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี เช่น โลภะ โทสะ โมหะ เป็นสังขาร ขันธ์ เป็นอกุศล ศรัทธา หิริ ฯลฯ เป็นสังขารขันธ์ เป็นกุศล ต้องอาศัยการ ศึกษาธรรมะจนกว่าจะรู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น โลภะ เป็นดังเพื่อนสนิท ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่ (ผมก็มีและยังแยะอยู่) พยายามต่อไป ขณะนี้ถือว่าดีแล้วที่รู้ว่ามี เพื่อนสนิท(โลภะ) ความจริงมีอยู่และคงสัจจะของความจริงนั้น ๆ อยู่อย่างนั้น สิ่งที่ไม่งาม สกปรก ไม่น่ายินดี มีความเสื่อมอยู่เบื้องหน้า ย่อมไม่งาม สกปรก ไม่น่ายินดี มีความเสื่อมอยู่เบื้องหน้า อยู่อย่างนั้น เหลือเพียงแต่ว่าปัญญาจะสามารถเข้าถึงความจริงในสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด เมื่อเข้าถึงย่อมประกาศตามความเป็นจริงถึงลักษณะที่เเท้จริงในสิ่งนั้นได้ นอกเหนือจากนี้ หากเป็นมีความเห็นว่า สิ่งที่ไม่งาม สกปรก ไม่น่ายินดี มีความเสื่อมอยู่เบื้องหน้า เป็นสิ่งที่งาม สะอาด น่ายินดี เป็นสิ่งที่มีความรุ่งเรืองอยู่อย่างมั่นคง ย่อมเป็นความเห็นผิด ความจริงมีอยู่อย่างนั้น อย่างไร ปัญญาเท่านั้นที่มองเห็น นอกนั้นคือความเห็นผิด ร่างกายไม่น่ายินดีอย่างไร ปัญญาเท่านั้นที่มองเห็น นอกเหนือนนั้นคือความเห็นผิดทั้งหมด ที่อบรมเจริญอสุภะจนจิตมั่นคงมีกำลัง ท่านอยู่มีปกติเห็นร่างกายทั้งของตน
และกายของผู้อื่นว่าเป็นอสุภะ แต่เมื่อยังไม่ได้ดับกามราคะ ความยินดีพอในก็
ย่อมเกิดขึ้นได้อีก ถ้าประมาท สำหรับพระอริยบุคคลระดับพระอนาคามี พระอรหันต์
ท่านย่อมเห็นตามเป็นจริงในกายนี้ว่าไม่งาม ย่อมไม่มีกามราคะเกิดขึ้นอีก ส่วนความ
เห็นถูกต้องก็มีหลายระดับ เห็นว่าไม่งาม ขั้นฟัง ขั้นพิจารณา ขั้นสมถะ ขั้นวิปัสสนา
และขั้นอริยะ ย่อมต่างกัน เราต้องพิจารณาให้ละเอียด ว่า ที่เราเรียกว่า "ความรัก" นั้น
เป็น "สภาพธรรม" อะไร.?
"ความรัก" อาจจะเป็น "ความเมตตา" ที่มีต่อผู้อื่น
ซึ่งเกิดขึ้น เมื่อเราคิดถึงทุกข์สุขของเขา.
อย่างไรก็ดี....................
"ความรัก" ก็เป็น "อกุศลธรรมประเภทหนึ่ง" ได้
เมื่อเรา "ผูกพัน" กับใคร.!
เพราะว่า ความจริงแล้ว
ขณะนั้น เราคิดถึง "ความสุขของตัวเอง"
ซึ่งหมายความว่า
ขณะที่เราคิดถึงความสุขของตัวเอง
ขณะนั้น เป็น "อกุศลจิต"
และ เมื่อเราต้องพลัดพรากจาก "ผู้ที่เรารัก"
"ความผูกพัน" นั้นเอง
ที่เป็น "เหตุ"ทำให้เราเกิดความทุกข์ โทมนัส.
แต่ ขณะที่ไม่มี "ความเห็นแก่ตัว"
และ "ความเมตตา" เกิดขึ้น.........
คุณจะไม่คิดถึง"ความสุขของตัวเอง" ไม่ใช่เรื่องควร หรือ ไม่ควร
คุณก็เป็น อย่างที่คุณเป็น.!
จะอย่างไรก็ตาม..."ปัญญา"
(ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง)
ก็รู้ถูกต้อง "ตามความเป็นจริง" ได้ ว่า...............
"ความเมตตา-เอื้ออาทร" ต่อผู้อื่น...เป็นอย่างไร.?
และ
"ความผูกพัน-ความรัก"
ซึ่งมีลักษณะที่เห็นแก่ตัวนั้น...เป็นอย่างไร.?
เราควรเห็น "ความแตกต่าง"
ระหว่าง
"ความเมตตา" และ "ความรักที่เห็นแก่ตัว"
"ความเมตตา"
เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะ "ห่วงใยในทุกข์สุขของบุคคลอื่น"
แต่ "โลภะ" หรือ "ความผูกพัน-ติดข้อง(ความรัก)" นั้น........
เป็นไปเพื่อ ความสุขของตนเอง.!
เอาบุญมาฝากได้เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ถวายสังฆทาน
ชุดใหญ่ และถวายหลอดไฟประมาณ 40 หลอด ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ที่ผ่านมาให้อภัยแก่เพื่อน และวันนี้ได้กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม และเจริญอนุสติหลายอย่าง อาราธนาศีล รักษาศีล และวันนี้ตั้งใจว่า
จะรักษาศีล กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
ฟังธรรม และจะศึกษาธรรมทั้งวัน ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญสักการะพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ ณ. วัดบางพลีใหญ่กลาง ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ริมคลองสำโรง ตำบลบางพลีใหญ่ เวลาทำการ: ทุกวัน ค่าเข้าชม: ฟรี
วัดบางพลีใหญ่กลาง ตั้งอยู่บริเวณคลองสำโรงฝั่งเหนือ ตำบลบางพลีใหญ่ ห่างจากวัดบางพลีใหญ่เล็กน้อย สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2367 ชาวบ้านเรียก ว่า วัดกลาง ต่อมาเปลี่ยนเป็น วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็นวัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นที่ประดิษฐานสมเด็จพระศากยมุณีศรีสุเมธบพิตร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ยาว 53 เมตร ภายในพระนอนมีห้องปฏิบัติธรรม ภาพเขียนเรื่องราวของเทวดา นรก และมีห้องหัวใจพระซึ่งประชาชนนิยมมาปิดทองเพื่อเป็นศิริมงคล การเดินทาง จากแยกบางนา ใช้เส้นทางถนนบางนา-ตราดมุ่งหน้าไปทางจังหวัดชลบุรีถึงกิโลเมตรที่ 12 ให้กลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางถนนบางพลี-กิ่งแก้ว ประมาณ 3 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายถนนทางเข้าที่ว่าการอำเภอบางพลีไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงวัดบางพลีใหญ่กลาง
|