นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พุธ 29 ม.ค. 2025 3:58 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: อินทรีย์ 5
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 23 ธ.ค. 2009 7:10 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4816
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

๑. สุทธิกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

พุทธพจน์นี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบสุทธิกสูตรที่ ๑



พลสังยุต ว่าด้วยพละ ๕



[๑๐๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล.

[๑๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้

มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่ง

พละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ...

สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม

ไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ

๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.



โพชฌงคสังยุต หิมวันตสุตร

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่

ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ . . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติ

สัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัมโพชณงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗

กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม

ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ -

ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของ

ผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ

เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ

ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะ

หลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฎฐานะ

ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร

ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉท-

ทิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส

ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็น

โลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม

ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำ

นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗

ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์

แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า

ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนา

และองค์แห่งรถเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้.

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี



อินทรีย์ 5 และ พละ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ พละ คือ ความไม่หวั่นไหว

อินทรีย์ 5 มีศรัทธา คือสัทธินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในสภาพธัมมะของตนคือ น้อมใจ

เชื่อ วิริยินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการประคองไว้ สตินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการ

ระลึก สมาธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ใน

การเห็นตามความเป็นจริง

พละ 5 สัทธาพละ มีความไม่หวั่นไหวในการไม่มีศรัทธา วิริยะพละมีความไม่หวั่นไหว

ในการเกียจคร้าน สติพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่ประมาท สมาธิพละมีความไม่

หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่รู้พละ5 และ

อินทรีย์ 5 เหมือนกัน โดยองค์ธรรมแล้วเหมือนกัน เพียงแต่อธิบายคนละนัย คือ ความ

เป้นใหญ่และความไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือน แม่น้ำ มีเกาะอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่า

แม่น้ำสองสาย ที่แบ่งโดยเกาะตรงกลาง ก็เป็นสายน้ำเดียวกันและก็ย่อมบรรจบกัน ดัง

เช่น อินทรีย์ 5 และพละ 5ครับ ประการที่สำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ อินทรีย์ 5 และพละ 5

ก็คือการอบรมเจริญปัญญาเพื่อบรรลุมรรคผล ในขณะที่อบรมสติปัฏฐาน ก็ชื่อว่าอบรม

อินทรีย์ 5 และพละ 5 ด้วย ดังนั้นกิจที่สำคัญคือ เข้าใจเรื่องการอบรมปัญญคือ

การเจริญสติปัฏฐาน

โพชฌงค์ 7 เป็น ธรรมเครื่องตรัสรู้ หมายความว่า ถ้าจะบรรลุธรรม นั้นก็ต้องประกอบ

ด้วยธรรม เจ็ดประการนี้ ซึ่งการอบรมสติปัฏฐานที่บริบูรณ์ก็ย่อมทำให้ โพชฌงค์ 7

บริบูรณ์ ดังนั้นสิ่งที่ควรตระหนักคือ เข้าใจหนทางคือการเจริญสติปัฏฐานที่ถูกต้อง

เรื่อง โพชฌงค์ อินทรีย์ และ พละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 773

ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวีริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประ-

คองไว้ ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่า

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าสงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัม-

โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบขาสัมโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวีริยพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ. เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

ชื่อว่าวีริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะ

อรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า

ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่

ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะ

อรรถว่านำออก



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

๑. สุทธิกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

พุทธพจน์นี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบสุทธิกสูตรที่ ๑



พลสังยุต ว่าด้วยพละ ๕



[๑๐๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล.

[๑๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้

มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่ง

พละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ...

สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม

ไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ

๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.



โพชฌงคสังยุต หิมวันตสุตร

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่

ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ . . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติ

สัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัมโพชณงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗

กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม

ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ -

ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของ

ผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ

เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ

ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะ

หลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฎฐานะ

ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร

ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉท-

ทิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส

ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็น

โลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม

ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำ

นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗

ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์

แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า

ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนา

และองค์แห่งรถเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้.

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี.



อินทรีย์ 5 และ พละ 5 ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

อินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ พละ คือ ความไม่หวั่นไหว

อินทรีย์ 5 มีศรัทธา คือสัทธินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในสภาพธัมมะของตนคือ น้อมใจ

เชื่อ วิริยินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการประคองไว้ สตินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการ

ระลึก สมาธินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ในการไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ มีความเป็นใหญ่ใน

การเห็นตามความเป็นจริง

พละ 5 สัทธาพละ มีความไม่หวั่นไหวในการไม่มีศรัทธา วิริยะพละมีความไม่หวั่นไหว

ในการเกียจคร้าน สติพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่ประมาท สมาธิพละมีความไม่

หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ มีความไม่หวั่นไหวในความไม่รู้พละ5 และ

อินทรีย์ 5 เหมือนกัน โดยองค์ธรรมแล้วเหมือนกัน เพียงแต่อธิบายคนละนัย คือ ความ

เป้นใหญ่และความไม่หวั่นไหว เปรียบเหมือน แม่น้ำ มีเกาะอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่า

แม่น้ำสองสาย ที่แบ่งโดยเกาะตรงกลาง ก็เป็นสายน้ำเดียวกันและก็ย่อมบรรจบกัน ดัง

เช่น อินทรีย์ 5 และพละ 5

เรื่อง โพชฌงค์ อินทรีย์ และ พละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 773

ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวีริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประ-

คองไว้ ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่า

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าสงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัม-

โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบขาสัมโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหว เพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวีริยพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ. เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า

ไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ

ชื่อว่าวีริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะ

อรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า

ปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่

ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะ

อรรถว่านำออก



ฉันทะเป็นความพอใจ ใคร่ที่จะทำ ฉันทะเกิดกับจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ ผู้ที่มี

ความปรารถนาในตำแหน่งที่เลิศ ด้วยฉันทะที่เป็นไปในกุศล ไม่ใช่ฉันทะที่เป็นไปใน

อกุศลที่เป็นความติดข้อง เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้หมายความว่าหากมีความพอใจ ใคร่ที่จะ

ทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วสิ่งนั้นจะต้องเป็นอกุศล จะต้องเป็นความติดข้อง และก็ไม่ได้

สิ่งใดที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว นำกลับคืนมาใหม่ไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังมีสิ่งดีๆ

หมายความว่าหากมีความพอใจ ใคร่ที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสิ่งนั้นจะต้องเป็นกุศล แต่ขึ้น

อยู่กับว่า ฉันทะความพอใจนั้นเกิดกับจิตที่เป็นกุศลหรืออกุศล ซึ่งจากในกรณีผู้ที่มี

ความปรารถนาตำแหน่งที่เลิศสูงสุด เช่น การเป็นพระพุทธเจ้า จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อตัว

เอง แต่เป็นไปเพื่อช่วยผู้อื่นดังนั้น ความพอใจใคร่ที่ทำที่เป็นฉันทะจึงเกิดกับจิตที่เป็น

กุศลด้วยหวังช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่ความติดข้องที่เป็นตัณหาแต่

อย่างใด

ที่ต้องทำอีกมาก บุคคลในสมัยครั้งพุทธกาลเมื่อกระทำผิดพลาดในทางไม่ดี

ท่านก็กระทำการขอขมา ขออดโทษต่อท่าน ด้วยตั้งใจว่าจะไม่กระทำอย่างนี้อีก

แล้วสำรวมระวังต่อไป ย่อมทำให้เป็นผู้เจริญในธรรมวินัยนี้ได้ ดังนั้นการสะสม

คุณความดีบ่อยๆ อบรมเจริญปัญญาให้เจริญขึ้น ย่อมละความเดือดร้อนใจลง

ได้ ชีวิตคือการสะสมและสืบต่อ ทุกชีวิตมีการสะสมทั้งความดีและความไม่ดีมา

แล้วในอดีต ซึ่งสิ่งที่เคยสะสมไว้ในอดีตนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นเหตุให้เราทำความดี

และความไม่ดีในปัจจุบัน และการกระทำในปัจจุบันนี้ก็สะสมต่อไปเป็นปัจจัยต่อการ

กระทำในอนาคต เป็นวัฏฐจักรที่ไม่รู้จบ ซึ่งนำเราไปสู่สุขติบ้าง สู่อบายบ้าง

อดีตนั้นผ่านไปแล้ว หมดไปแล้ว เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้เลย และการ

นึกถึงอดีตด้วยจิตใจที่เศร้าหมองก็เป็นโทษ ซึ่งเราก็บังคับความคิดจิตใจไม่ได้เลย

เพราะอะไร? ........... ก็เพราะเคยสะสมที่จะคิดเช่นนั้นมาแล้ว

ส่วนอนาคตนั้น ยังไม่มาถึง ยังไม่แน่นอน ซึ่งจะเป็นเช่นไรต่อไปเรารู้ไม่ได้

เพราะขึ้นอยู่กับเหตุที่เคยสะสมแล้ว และปัจจัยอื่นๆที่จะมีอยู่ในขณะนั้น

ดังนั้น การทำให้สิ่งต่างๆดีขึ้น ก็ด้วยการกระทำในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่มีประโยชน์

มากคือการสอบถาม และขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้ ว่าควรทำอะไร และทำอย่างไร เพื่อ

บรรเทาผลเสียจากการกระทำในอดีต (ดังเช่นในความคิดเห็นที่ ๑) ส่วนประโยชน์

อย่างยิ่งคือการศึกษาพระธรรม เพราะว่าความเข้าใจจากการศึกษานี้ เป็นความดีที่มี

กำลังมากพอที่จะช่วยบรรเทาการสะสมที่ไม่ดีที่เคยทำมาแล้ว เช่น การนึกถึงอดีตด้วย

ใจที่เศร้าหมอง และประโยชน์สูงที่สุดคือการนำออกจากการเวียนว่ายในวัฏฏะอัน

ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งไม่แน่นอนว่าต่อไปจะนำเราไปสู่ความตกต่ำขนาดไหน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า ๒๑๐

ภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

" ผู้มีปัญญาไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

ไม่ควรหวังถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง

สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละไปแล้ว

สิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ได้มาถึง

บุคคลใดมาเห็นแจ้งซึ่งธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ

บุคคลนั้นได้รู้ธรรมนั้นแล้ว

ควรเจริญไว้เนืองๆ อย่าให้ง่อนแง่นคลอนแคลน

ความเพียรเผากิเลสทำวันนี้แหละ

ใครเล่าพึงรู้ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้

เพราะความผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

มุนีผู้สงบ ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้

ผู้มีความเพียรเผากิเลส ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ "



เอาบุญมาฝากได้เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายสังฆทาน ให้ธรรมะเป็นทาน

นั่งสมาธิ เดืนจงกรม สวดมนต์ เจริญ พุทธานุสติ ธัมานุสติ สังฆานุสติ เทวตานุสติ สีลานุสติ

จาคานุสติ มรณานุสติ กายคตาสติ และให้อภัยทาน ถวายข้าวพระพุทธรูป

สักการะพระธาตุ ให้ทานแก่สัตว์ข้างถนนทุกวัน

อาราธนาศีล รักษาศีล

และตั้งใจว่าจะฟังธรรม กำหนดอิริยาบทย่อย

ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม

ปฏิทินปฏิบัติธรรม วัดเขาพุทธโคดม ปี ๒๕๕๓

ปฏิทินปฏิบัติธรรม วิปัสสนากรรมฐาน ณวัดเขาพุทธโคดม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓



ทำตามแนวคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย

ณ ศาลาธรรมสันติ วัดเขาพุทธโคดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

เบอร์โทรศัพท์ ๐-๓๘๗๗-๒๑๓๒ , ๐-๓๘๗๗-๒๙๔๔ , ๐-๓๘๓๑-๒๖๐๘

คุณบุญเลิศ เปรมจิต , คุณสุรชัย แซ่อิง ผู้ขออนุญาต-รับผิดชอบ ดำเนินงานและประสานงาน

คำค้น "ปฏิทินปฏิบัติธรรม" "เขาพุทธโคดม" "ต้นโพธิ์ต้นไทร"



วัน..... เดือน.................. วิทยากร

๓๐ ธค.๕๒-๑ มค.๕๓(๓วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ

๘ -. ๑๐ มค. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา และคณะ (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)

๑๕ - ๑๗ มค. ๒๕๕๓(๓วัน) พระอาจารย์คเชนทร์ สุนฺทโร (ยุวพุทธศูนย์๓)

๕ - ๗ กพ. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา และคณะ (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)

๒๐ - ๒๔ กพ. ๒๕๕๓(๕วัน) พญ.ผกา วราชิต (วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔)

๒๖ - ๒๘ กพ. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.อนงค์นุช กิมทอง , อ.มยุริญ ผ่องผุดพันธุ์

๔ - ๗ มีค.๒๕๕๓(๔วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์ วันแรกเริ่มเวลา ๑๗.๐๐น.)

๑๒ - ๑๔ มีค. ๒๕๕๓(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม

๒๓ - ๒๙ มีค. ๒๕๕๓(๗วัน) พระครูภาวนาปัญญาสาร และคณะ

๑๐ - ๑๓ เมย. ๒๕๕๓(๔วัน) อ.สุรชัย แซ่อิง , อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์

๑๘ - ๒๐ เมย. ๒๕๕๓(๓วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ

๒๓ - ๒๖ เมย. ๒๕๕๓(๔วัน) รศ.จำเนียร ช่วงโชติ (รับไม่เกิน๖๐คน,อายุ๑๗ขึ้นไป,ต้องอยู่ครบ๔วัน)

๒๐ - ๒๓ พค. ๒๕๕๓(๔วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์ วันแรกเริ่มเวลา ๑๗.๐๐น.)

๒๖ พค. - ๔ มิย. ๒๕๕๓(๑๐วัน) พญ.ผกา วราชิต (พระครูปลัดประจาก และคณะ เป็นวิปัสสนาจารย์)

รับเฉพาะผู้ส่งใบสมัครล่วงหน้า-และมีใบตอบรับจากพ.ญ.ผกา เท่านั้น , ดูหมายเหตุ๒ **

๕ - ๑๒ มิย. ๒๕๕๓(๘วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ

๑๘ - ๒๐ มิย. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา และคณะ (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)

๒๕ - ๒๗ มิย. ๒๕๕๓(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม (คุณเกียรติศักดิ์ ตั้งเจริญกุล และครอบครัว เจ้าภาพอาหาร)



๒ - ๘ กค. ๒๕๕๓(๗วัน) อ.วรพล ฝ่ายอุประ ,แม่ชีนราศรี จตุพร ,อ.สุทธิวัสส์ คำภา

๑๖ - ๑๘ กค. ๒๕๕๓(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม (พระภัทรศักดิ์ และครอบครัวจตุพร ลพบุรี เจ้าภาพอาหาร

๒๔ - ๒๖ กค. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ และคณะ (การอบรมพัฒนาจิต ให้เกิดปัญญาและสันติสุข)

๖ - ๘ สค. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา และคณะ (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)

๑๒ - ๑๕ สค. ๒๕๕๓(๔วัน) อ.สุรชัย แซ่อิง , อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ (วันแม่)

๒๑ - ๒๔ สค. ๒๕๕๓(๔วัน) รศ.จำเนียร ช่วงโชติ (รับไม่เกิน๖๐คน,อายุ๑๗ขึ้นไป,ต้องอยู่ครบ๔วัน)

๒ - ๕ กย. ๒๕๕๓(๔วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์ วันแรกเริ่มเวลา ๑๗.๐๐น.)

๑๐ - ๑๒ กย. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.ทิพย์รัตน์ เผ่าวิจารณ์ , อ.มยุริญ ผ่องผุดพันธุ์

๑๘ - ๒๒ กย. ๒๕๕๓(๕วัน) พญ.ผกา วราชิต (วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔)

๑๖ - ๑๙ ตค. ๒๕๕๓(๔วัน) รศ.จำเนียร ช่วงโชติ (รับไม่เกิน๖๐คน,อายุ๑๗ขึ้นไป,ต้องอยู่ครบ๔วัน)

๒๒ - ๒๔ ตค. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.วันทิพย์ ภาธีรโรจน์ และคณะ (การอบรมพัฒนาจิต ให้เกิดปัญญาและสันติสุข)

๒๗ - ๓๑ ตค. ๒๕๕๓(๕วัน) พระอาจารย์คเชนทร์ สุนฺทโร (ยุวพุทธศูนย์๓)

๕ - ๗ พย. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.วรพล ฝ่ายอุประ ,แม่ชีนราศรี จตุพร ,อ.สุทธิวัสส์ คำภา

๑๒ - ๑๔ พย. ๒๕๕๓(๓วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม (ผาแดงตรวจสภาพ ศรีราชา คุณธนวรรณ อินทวงศ์ เจ้าภาพอาหาร)

๑๙ - ๒๑ พย. ๒๕๕๓(๓วัน) อ.สุทธิวัสส์ คำภา (กรรมฐานประยุกต์ และธรรมชาติบำบัดโรค)

๒๔ - ๓๐ พย. ๒๕๕๓(๗วัน) อ.วัลลภ ชวนะปัญโญ , อ.ภัทรนิธิ์ วิสุทธิศักดิ์ (วิปัสสนาโดยปรมัตถ์ วันแรกเริ่มเวลา ๙.๐๐น.)

๓ - ๕ ธค. ๒๕๕๓(๓วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ

๑๐ - ๑๖ ธค. ๒๕๕๓(๗วัน) คณะศิษย์วัดเขาพุทธโคดม (รับ๕๐คน ปฏิบัติเข้ม)

๓๐ ธค.๕๓ - ๑ มค.๕๔(๓วัน) คุณแม่ชื่นจิต กาญจนากาศ และคณะ

ปฏิทินนี้ อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสม





หมายเหตุ ๑ ทุกรายการ เข้าปฏิบัติได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ห้ามบอกบุญเรี่ยไร ใครใคร่จะทำบุญให้ไปทำด้วยตนเองที่กุฏิธุรการ

หมายเหตุ ๒ **ผู้ที่จะเข้าอบรมรายการวันที่ ๒๖ พค.- ๔ มิย. ๒๕๕๓(๑๐วัน) พญ.ผกา วราชิต ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑ รับเฉพาะผู้ที่อยู่ได้ครบทั้ง ๑๐วัน

๒ ต้องส่งใบสมัครก่อน ที่โทรสาร ๐-๒๕๘๕-๕๐๘๔(เฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา ๑๙-๒๑ น.)

หรือทางไปรษณีย์ที่ พญ.ผกา วราชิต ๒๗๓/๑๕ ซ.พงษ์เพชรนิเวศน์ ถ.ประชาชื่น จตุจักร กทม. ๑๐๙๐๐

ใบสมัครให้บอก ชื่อ-นามสกุล, อายุ, ที่อยู่ที่ชัดเจน+รหัสไปรษณีย์, เบอร์โทรศัพท์, เบอร์โทรสาร(ถ้ามี)

จะมีใบตอบรับส่งไปให้ ให้นำใบตอบรับไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ในวันเริ่มปฏิบัติธรรม(๒๖พค.)

ผู้ที่ไม่สะดวกอยู่ครบ ๑๐วัน ให้ไปเข้าคอร์สของพญ.ผกาฯ แบบ ๕ วันในคอร์สอื่นก่อน

หมายเหตุ ๓ ผู้ที่จะเข้าอบรมรายการของ รศ. จำเนียร ช่วงโชติ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑ สมัครล่วงหน้าก่อนก็ดี เพราะรับจำนวนแค่ ๖๐ คน โดยสมัครทางโทรศัพท์ตามเบอร์โทรศัพท์ด้านบน

๒ ต้องมีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปีขึ้นไป

๓ ต้องอยู่ครบ ๔ วัน (วันแรกเริ่ม ๐๘.๓๐ น. วันสุดท้ายเลิก ๑๖.๓๐ น.

หมายเหตุ ๔ วิปัสสนาโดยปรมัตถ์ อาจารย์วัลลภ ชวนะปัญโญ

เน้นการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

เพื่อประโยชน์สูงสุด ควรอยู่ครบ





คำแนะนำ~การเดินทาง~อื่นๆ



กรรมฐาน ประยุกต์และธรรมชาติบำบัดโรคตามธรรมชาติ โดย อ. สุทธิวัสส์ คำภา ~ เพื่อประโยชน์สูงสุดควรอยู่ครบ ๓ วัน

การเจริญสติ-สมาธิ เพื่อพัฒนาตนและงาน โดย รศ.จำเนียร ช่วงโชติ ~ รับจำกัดเพียง ๖๐ท่าน , ควรสมัครล่วงหน้า , อายุ๑๗ปีขึ้นไป , ต้องอยู่ครบ ๔ วัน , วันแรกเริ่ม ๐๘.๓๐ น. , ผู้หญิงให้สวมกางเกง , หากมาสาย อยู่ไม่ครบ ๔ วัน ต้องไปปฏิบัติกับอาจารย์ท่านอื่นที่อื่นแทน

การอบรม วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฎฐาน ๔ โดย พญ. ผกา วราชิต ~ สามารถอยู่ปฏิบัติธรรมได้ ๑๐ วัน ๙ คืน ,มีความตั้งใจ มีสัจจะ มีความเพียรในการปฏิบัติโดยไม่เลิกกลางคัน ,เดินจงกรม นั่งสมาธิบัลลังก์ละ ๑ ชั่วโมง ,เปิดใจน้อมรับวิธีที่พระวิปัสสนาจารย์สอน โดยไม่ใช้วิธีอื่นตลอดการอบรม , งดพูดตลอดการอบรม



ควรเตรียมชุดขาวมาเท่าจำนวนวัน หากไม่มีชุดไม่เป็นไร วัดมีชุดขาวซักสะอาดให้ยืม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผู้หญิงใส่กางเกงได้

ควรอยู่ปฏิบัติให้ครบทุกวัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวท่านเอง

มาพักก่อนวันปฏิบัติได้ แต่ควรแจ้งล่วงหน้า / ควรมาถึงก่อน ๙.๐๐ น. ของวันเริ่มปฏิบัติ

ทรัพย์สินมีค่า ติดตัวมาเท่าที่จำเป็น ต้องใช้ ระวังคนจะมายืมใช้โดยไม่บอกกล่าว



วัดเขาพุทธโคดม อยู่ถนนสุขุมวิท กม.ที่ ๑๑๙+๑๐๐ ม.(เสา กม.มองยาก) ฝั่งซ้าย ขาออกจาก กทม. เลยค่ายลูกเสือวชิราวุธประมาณ ๒ กิโลเมตร ,เลยโรบินสันศรีราชาไฟแดงที่สามพอดี หรือ เลยตึกคอมศรีราชา ประมาณ ๕๐๐ เมตร หน้าวัดมีปั้มน้ำมันESSOและปั้มปตท.(JETเก่า)ประกบอยู่ ทางเข้าวัดอยู่กลาง มีสัญญาณไฟหน้าวัด

เลี้ยวซ้าย เข้าวัด ตรงมาประมาณ ๑๐๐ เมตร เลี้ยวขวาตามถนน ขึ้นเขา ประมาณ ๓๐๐ เมตร พบลานจอดรถ จอดรถได้เลย ไปกุฏิธุรการ เพื่อลงทะเบียนต่อไป (ดูแผนผังประกอบ)

รถทัวร์ปรับอากาศ ชั้น๑ (ป.๑) มีทั้งจากหมอชิต เอกมัย และสายใต้ ค่ารถประมาณ ๑๐๐ บาท ไม่แนะนำให้นั่ง ป.๒ เพราะช้า จอดนานน่ารำคาญ นั่งรถผ่านชลบุรี หนองมน บางพระ ลงรถที่ตึกคอม ศรีราชา นั่งสามล้อ ๔๐ บาท บอกให้ไปส่งวัดเขาพุทธโคดม ”””ด้านบนเขา””” อย่าลืมบอกไม่งั้นเดินเมื่อยล่ะ

หากนั่งรถตู้มาจากกรุงเทพ ต้องนั่งรถตู้ปลายทางแหลมฉะบัง , พัทยา หรือสัตหีบ บอกลง “วัดเขาพุทธโคดม ศรีราชา” รถตู้จะส่งถึงหน้าวัดเลย

หน้าวัดมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างจอดอยู่ฝั่งตรงข้ามวัด เรียกมาให้ไปส่งบนเขาที่ปฏิบัติธรรมได้



เครื่องนอนพร้อม อาหารเลี้ยงฟรี เป็นมังสวิรัติ แต่รสดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ผู้ใดมีปัญหาสุขภาพรับศีล ๘ ไม่ได้ให้บอก รับศีล ๕ แทน จะได้เตรียมอาหารเย็นไว้ให้

ห้ามบอกบุญเรี่ยไรใดๆทั้งสิ้น จะทำบุญให้ไปที่กุฏิธุรการเท่านั้น, ห้ามทรงเจ้าเข้าผี,งดพูดมาก

สอนตามแนวทาง คุณแม่ สิริ กรินชัย

ทำเพื่อการกุศลอย่างแท้จริงไม่มีธุรกิจใดๆแอบแฝง*


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: อินทรีย์ 5
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 24 ธ.ค. 2009 3:05 am 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
สาธุ....ขอบคุณครับ

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO