เมื่อมีการระลึก และ รู้ชัด ในลักษณะของสภาพธรรม เพิ่มขึ้น
ความเห็นผิด ว่า เป็นตัวตน....ก็จะน้อยลง.
เป็นปัจจัยให้คิดถึงตัวเองน้อยลง....ว่า
เรา เป็น "คนดี หรือ คนเลว"
สภาพธรรมที่เป็น "อกุศล" และ "กุศล"
เกิดขึ้นเพราะ "เหตุปัจจัย"
เมื่อคลายความยึดมั่น
ว่า เป็นตัวตนที่เห็น ที่ได้ยิน ที่เป็น "คนดี หรือ คนเลว" แล้ว
ก็ย่อมเป็นประโยชน์.
เมื่อปัญญาเจริญขึ้น
ก็จะเห็นคุณค่าของการรู้สภาพธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง มากขึ้น.
"ความเชื่อมั่นในพระธรรม"
เป็นปัจจัยที่ส่งสริมให้มีการอบรมเจริญปัญญาต่อไป มากขึ้น ๆ
และเมื่อปัญญาเจริญขึ้น ตามเหตุปัจจัย
ก็จะเชื่อใน "พรหมลิขิต" น้อยลง.
เมื่อคุณเข้าใจจริง ๆ ว่า "ความอยาก" ขัดขวางการเจริญของปัญญา
ก็จะเป็น "ปัจจัย" ให้ เลิกอยากที่จะได้ผล.
"ปัญญาที่เข้าใจพระธรรม" จากการฟัง การอ่าน การพิจารณา
และ การสนทนาธรรม เป็น "ปัจจัยปรุงแต่ง"
ให้เกิด "ปัญญาที่ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้"
และ ขณะต่อ ๆ ไป.
เมื่อไม่ลืมว่า "สติและปัญญา" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
เพราะมี "ปัจจัยปรุงแต่ง"
ไม่ลืม ว่า ไม่มีตัวตน ที่จะทำให้ สติและปัญญา เกิดขึ้นมาได้
ก็จะมีความอดทนมากขึ้น
และ มีกำลังใจในการที่จะเริ่มต้นใหม่ต่อไป เรื่อย ๆ
เพื่อ "รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้"
ให้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง มากขึ้น.
"มิลินทปัญหา"
เป็นคัมภีร์ชั้นหลังจากพระไตรปิฎก (ประมาณปีพุทธศักราช ๕๐๐)
รจนาขึ้น เพื่อชี้แจงข้อธรรม และ หลักธรรมต่าง ๆ ให้ชัดเจน แจ่มแจ้ง
โดยอาศัยเรื่องราวในอดีตที่พระนาคเสน แก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์
เป็น "เรื่องของธรรมะ"
ที่อธิบายข้อธรรม และ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
.
แม้จะแต่งขึ้นหลังพุทธกาล แต่ก็เป็นที่ยอมรับและยกย่องกันทั่วไป
ว่า "มิลินทปัญหา" อธิบายพระธรรมวินัยได้อย่างลึกซึ้ง และ กระจ่างชัด
เป็นการวินิจฉัย และ นำเสนอพระธรรมวินัย
เพื่อให้เกิด "ความเข้าใจสภาพธรรม"
โดยการอุปมา.
.
ผู้เรียบเรียงได้อ้างอิงมาจาก หนังสือต่าง ๆ
อาทิ เช่น
"มิลินทปัญหา"
ฉบับแปล ของมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พ.ศ. ๒๕๑๕)
หนังสือ "มิลินทปัญหา" ฉบับแปลจากภาษามคธ
(จัดอยู่ในหมวดขุททกนิกาย พระไตรปิฎกฉบับของพม่า พ.ศ. ๒๕๓๘)
ฯลฯ
.
นอกจากนี้ พระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยในลังกา ราวปีพุทธศักราช ๑๐๐๐
และเป็นผู้รจนาอรรถกถา ตลอดจนคัมภีร์มากมาย
ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการอธิบายความ ในพระไตรปิฎก
เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้ด้อ้างถึง "มิลินทปัญหา"
เป็นหลักในการวินิจฉัยความในอรรถกถาของท่าน หลายแห่ง.
"มิลินทปัญหา"
เป็นเรื่องราวของการสนทนาระหว่างพระเจ้ามิลินท์ และพระนาคเสน
โดยพระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้เสนอคำถาม และ พระนาคเสน เป็นผู้ตอบ
ซึ่งส่วนใหญ่....อยู่ในลักษณะ "การอุปมา"
.
พระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander)
เป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งเมือง สาคละ (Sangal or Sangal)
ปกครองแคว้นแบกเตรีย (Bactria)
ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน.
.
ราชวงค์ของพระเจ้ามิลินท์ สืบเชื้อสายมาจากแม่ทัพกรีก
ที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ให้ดูแลดินแดนซึ่งตกเป็นของพระองค์
เมื่อครั้งที่พระองค์ยกทัพมาทำสงครามกับแว่นแคว้นบางส่วนของอินเดีย
ในราว ๒๐๐ ปี หลังพุทธกาล.
.
เล่ากันว่า
พระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้ที่พอพระทัยในการใฝ่หาความรู้
และ สนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
รวมทั้งไล่เลียง โต้เถียงปัญหา
กับนักปราชญ์ของลัทธิต่าง ๆ ทั่วไป ในยุคนั้น.
.
ฝ่ายพระนาคเสน มีการเล่าว่า ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์
ณ กชังคลคาม ริมเขาหิมพานต์
ตั้งแต่เยาว์วัย ท่านได้เล่าเรียนศิลปวิทยา
รวมทั้งคัมภีร์สำคัญ ๆ ของศาสนาพราหมณ์จนจบ
ต่อจากนั้น จึงบังเกิดความเบื่อหน่าย.
.
อยู่มาวันหนึ่ง พระโรหณะเถระ พระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ได้เดินทางผ่านมายังบ้านของพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของ
นาคเสนกุมาร เมื่อได้เห็นพระภิกษุ นุ่งห่มแปลกตา
จึงได้ซักถาม สนทนากับท่านพระโรหณะเถระในเรื่องต่าง ๆ
จนบังเกิดความเลื่อมใส และขอบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา
ท่านได้เล่าเรียนพระไตรปิฎก จนแตกฉาน
ครั้นอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
ผู้ซึ่งชาวบ้านโจษขานกันทั่วไปว่า เป็นผู้รอบรู้ในพระธรรมวินัย
และ มีปัญญาอันเฉียบคม.
.
ในระหว่างนั้น
พระเจ้ามิลินท์ ได้เที่ยวไปท้าถามปัญหา กับบรรดานักปราชญ์ต่าง ๆ
ครั้งหนึ่ง ได้เสด็จไปทรงซักถามปัญหากับท่านพระอายุปาลเถระ
ซึ่งเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
เมื่อพระอายุปาลเถระ ถวายวิสัชชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้
บรรดาอำมาตย์จึงกล่าวถึงพระนาคเสน
ซึ่งกล่าวขานกันว่า เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย.
.
เมื่อได้ยินชื่อ "พระนาคเสน" พระเจ้ามิลินท์ ก็ให้นึกหวั่นพระราชหฤทัย
ด้วยในอดีตชาติ เมื่อครั้งพระกัสสปสัมมสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพ
ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ในชาตินี้ บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา
ในสำนักของพระภิกษุ ผู้ซึ่งเกิดมาเป็นพระนาคเสน ในชาตินี้.
.
วันหนึ่ง พระภิกษุรูปนั้น
เรียกให้สามเณร มาขนหยากใย่ที่ตนกวาดรวมไว้
แต่สามเณรแกล้งทำไม่ได้ยิน พระภิกษุจึงหยิบไม้กวาดตีสามเณร
สามเณรจึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ด้วยบุญของการขนหยากใย่นี้
ชาติต่อไป ขอให้ตนมีปัญญาเฉียบแหลมกว่าคนทั้งปวง
ฝ่ายพระภิกษุ ล่วงรู้ความปรารถนาของสามเณร
จึงตั้งอฐิษฐานว่า ด้วยบุญกุศลของการกวาดหยากใย่นี้
ขอให้ชาติต่อไป มีปฏิภาณว่องไว
สามารถโต้ตอบปัญหาของสามเณรได้.
.
แม้ความสืบเนื่องจากอดีตชาติ
จะทำให้พระเจ้ามิลินท์หวั่นพระราชราชหฤทัย
แต่ด้วยประสงค์จะไต่ถามข้อธรรม
จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของพระนาคเสน
พร้อมด้วยปวงอำมาตย์ และ ฝูงชน.
สังสารวัฏฏ์ ก็มีอาการหมุนเวียน เช่นนั้น
คือ นับตั้งแต่เกิดมา...เป็น นาม และ รูป
ก็มีการบ่มเพาะ (สั่งสม) ความดี และ ความชั่ว
หรือ บุญ และ บาป
ซึ่งเป็นตัว "เหตุ"
แล้วก็ต้องรับผลของบุญ และ บาป นั้น
ซึ่งการให้ผลของบุญ และ บาป....จะช้า หรือ เร็ว
ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้บุญ และ บาป นั้น ให้ผล.
ทั้งนี้.....ผลที่เราได้รับจากบุญ และ บาป นั้น
อาจจูงใจให้เกิดการบ่มเพาะ (สั่งสม) "เหตุ"
ซึ่งจะทำให้เกิด "ผล" ต่อ ๆ ไปอีก.
เปรียบเหมือนคนที่รับประทานผลมะม่วง
แล้วนำเมล็ดมะม่วง ไปเพาะ ให้เป็นต้นมะม่วง
หมุนเวียนต่อไป...ไม่รู้จบ. เหตุ ที่ทำให้ นาม-รูป เกิดต่อไปอีกนาน.....
ก็คือ ความไม่รู้แจ้งเห็นจริง ในอริยสัจจ์ ๔.
กล่าวคือ.................................
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นทุกข์
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นความดับทุกข์
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์.
แม้จะรู้ถึงสิ่งเหล่านี้...........โดยการพิจารณา
ก็รู้ เพียงชั่วขณะหนึ่ง ๆ ยังไม่เรียกว่า รู้จริง
เพราะความรู้นั้น มิได้ประจำจิตอยู่ตลอดเวลา.
เมื่อยังไม่รู้แจ้ง ในอริยสัจจ์ ๔
คนทั้งหลายจึงกระทำบุญ และ บาป
อันเป็นเหตุ นำมาซึ่งการเกิด คือ ปฏิสนธิวิญญาณจิต.
เปรียบเหมือนรากแก้วของต้นไม้
ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิด นาม-รูป...ซึ่งแตกกิ่งก้าน
เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทำหน้าที่เป็นประตู เปิดรับอารมณ์ทั้ง ๖.
นอกจากนี้....เมื่อยังไม่รู้แจ้ง ในอริยสัจจ์ ๔
ก็เป็นเหตุให้เกิดการยึดถือสิ่งต่าง ๆ ว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา
เมื่อประสบกับสิ่งที่ชอบใจ....รู้สึกยินดี ก็เกิดความติดใจ
เมื่อประสบกับสิ่งที่แสลงใจ............รู้สึกทุกข์ใจ
ก็เกิดความปรารถนาที่จะหลีกหนีให้พ้นไป.......
ซึ่งสภาพธรรมเหล่านี้
เป็นเหตุให้เกิดการดิ้นรน แสวงหา
รวมทั้งยึดถือในอุบายที่จะช่วยให้ตนสมประสงค์
ในการได้มา และ การหลีกหนีไป
ซึ่งก่อให้เกิด กุศลธรรม และ อกุศลธรรม
หนุนเนื่องให้เกิด นาม-รูป ต่อไปอีก.
ขอถวายพระพร
ตราบเท่าที่ยังไม่รู้แจ้ง ในอริยสัจจ์ ๔...........
ตราบนั้น นาม-รูป ก็ยังคงปรากฏมีอยู่เช่นนี้
โดยการเกิดดับ-สืบต่อ ของนาม-รูปที่ล่วง ๆ มาแล้ว นั่นเอง.
นาน....จนเบื้องต้น ไม่ปรากฏ.!
ธรรมะ คือ ทุกอย่างที่มีอยู่จริง จิตเห็นเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรมะอย่างหนึ่ง
สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรมะหรือเปล่า ? จิตเห็นเกิดขึ้นเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริงเป็นธรรมะอีกอย่างหนึ่ง ได้ยินก็เป็นธรรมะอีก
อย่างหนึ่ง เสียงมีจริงเป็นธรรมะ เสียงไม่ใช่ได้ยิน ความโกรธ ความอิจฉาก็เป็น
ธรรมะเป็นสิ่งที่มีจริง ธรรมะแต่ละอย่างมีลักษณะของตนของตน ธรรมะเปลี่ยนแปลง
ลักษณะไม่ได้เลย จิตเห็นก็ไม่ใช่จิตที่คิด เสียงก็ไม่ใช่ได้ยิน เมื่อมีความเข้าใจใน
ความจริงของธรรมะแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น มั่นคงในความจริงของสภาพธรรมแต่ละอย่าง
ว่าเป็นธรรม เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา อบรมเจริญปัญญาจนกว่าจะรู้ความจริง
ว่าสัตว์บุคคลตัวตนนั้นไม่มี มีแต่สภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นและดับไป
ทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรมะทั้งหมด กำลังเผชิญหน้ากับสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
อยู่ขณะนี้ก็ยังไม่รู้ ก็เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก เพราะความไม่รู้ในสภาพธรรมที่
เกิดขึ้น แล้วก็ดับไปสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ก็ยึดสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นสัตว์
เป็นบุคคล จึงควรเริ่มจากการฟังให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟังเพื่อรู้ความจริงของสิ่งที่มีอยู่
จริง รู้ความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมะ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตาม
ปัจจัย พระพุทธองค์ทรงแสดงทุกอย่างที่มีจริงว่าเป็นธรรมะทั้งหมด ฟังธรรมด้วย
ความเคารพเพราะเป็นคำจริงทุกคำ เป็นสัจจธรรม
การศึกษาพระธรรมให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริงว่าเป็นเพียงสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วดับ
ไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีเรา ไม่มีคนที่เรารัก ไม่มีคนที่เราชัง แต่เพราะความไม่รู้ใน
ความจริง จึงยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ความไม่รู้และตัณหา
เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์มากมาย การศึกษาพระธรรมต้องเข้าใจตามลำดับในสิ่งที่มี
จริงในชีวืตประจำวัน ขั้นการฟังเข้าใจถูกต้องในสิ่งที่มีจริง แล้วค่อยๆเข้าใจในสิ่งที่
กำลังปรากฏ จนกว่าจะรู้จะประจักษ์แจ้งในความจริงนั้น ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาเมื่อมี
ความเข้าใจมากขึ้นเห็นโทษของอกุศล จึงเป็นเหตุให้อกุศลลดน้อยลงตามกำลังของ
ปัญญาที่อบรมขึ้น พระธรรมมีแต่คุณประโยชน์ เพราะฉะนั้น การเข้าใจธรรมเสียหาย
ตรงไหน ผู้ที่ไม่เคยศึกษาพระธรรม มีความสุข มีทรัทย์สินเงินทอง เมื่อมาศึกษาพระ-
ธรรมแล้วก็มีแต่ได้ไม่มีเสีย การเข้าใจพระธรรมจึงเป็นลาภอันประเสริฐ เมื่อมีความเข้า
ใจพระธรรมมากขึ้น ในชีวิตประจำวันจึงมีการงดเว้นจากอกุศลกรรมมากขึ้น แล้วกระทำ
กุศลกรรมเพิ่มขึ้น ทุกคนสามารถเห็นคุณค่าของพระธรรม สามารถรู้ได้ด้วยตัวเองว่า
ก่อนฟังพระธรรมและหลังฟังพระธรรมมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ยิ่งศึกษาพระธรรม
เกิดความเห็นถูกเข้าใจถูกเพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มเห็นพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่ว่าคนจน คนร่ำรวย ขณะนี้เป็นขณะที่หาได้ยาก อย่าได้ล่วงขณะนี้ไปเลย
ขณะของการได้เข้าใจพระธรรม จึงเป็นลาภอันประเสริฐ
ล่วงเลยขณะไปหรือเปล่า ?
เมื่อล่วงเลยขณะของการฟังพระธรรม
ก็ล่วงเลยขณะของการได้พิจารณาพระธรรมซึ่งเป็นจินตามยปัญญา
และ ล่วงเลยขณะของการรู้แจ้งสภาพธรรมซึ่งเป็นภาวนามยปัญญา
ประมาทหรือเปล่าที่จะไม่ฟังพระธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เพราะขณะนี้เป็นขณะที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้น,
เป็นขณะที่ได้เกิดในประเทศอันสมควร, เป็นขณะที่ได้มีความเห็นถูก (สัมมา-
ทิฏฐิ) และยังเป็นขณะที่มีอวัยวะครบทั้ง ๖ อย่าปล่อยให้ขณะล่วงเลยไปเลย
เพราะบุคคลที่ปล่อยให้ขณะล่วงเลยไป บุคคลเหล่านั้นก็จะเกิดยัดเยียดอยู่
ในนรก ขณะนี้ควรที่จะฟังพระธรรมให้เข้าใจ อย่ามัวแต่เพลิดเพลินไปตาม
อำนาจของกิเลสคือ โลภะ โทสะและความไม่รู้ที่มีอยู่มากมายในชีวิตประจำวัน
ขณะนี้เป็นขณะที่หาได้ยาก ควรศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ขณะที่
ได้ฟังพระธรรมได้พิจารณาไตร่ตรองพระธรรม ก็จะสะสมเป็นปัจจัยให้รู้แจ้ง
ธรรมได้ในที่สุด...
ขณะนี้ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พร้อมทั้งได้เกิดในถิ่นที่ยังมีพระธรรมคำสอนของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ดำรงอยู่ และในขณะเดียวกัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่บกพร่อง
พร้อมที่จะรองรับพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ได้ ก็ควรที่จะ
ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้สภาพธรรม คือ นามธรรมและ
รูปธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพราะเหตุว่าเวลาของแต่ละบุคคล เหลือน้อย
เต็มทีแล้ว จะจากโลกนี้ไปเมื่อใด ไม่มีใครทราบได้ จึงไม่ควรที่จะล่วงเลยขณะอันมี
ค่าและหาได้ยาก อย่างนี้ ลูกศร คือ กิเลสของแต่ละคนที่ปักอยู่ที่ใจ กิเลส ก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ
เป็นลูกศรที่มองไม่เห็นซึ่งเป็นกิเลสที่สะสมอยู่ภายในของจิต ทุกคนกำลังพล่านไป
ด้วยลูกศรที่ปักอยู่ตามกำลังของกิเลส เมื่อถูกกิเลสเสียดแทงก็เต็มไปด้วยทุกข์ต่าง ๆ
นา ๆ ตราบใดที่ยังไม่ได้ถอนลูกศร ความทุกข์ก็จะตามมาไม่รู้จบ ต้องทนทุกข์อยู่ใน
สังสารวัฏฏ์ มีทางใดที่จะถอนลูกศรคือกิเลสออกไปได้ ก็มีแค่หนทางเดียวคือการอบ-
รมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงค่อย ๆ ดับกิเลสที่อยู่ภายใน
จนหมดสิ้นเป็นสมุจเฉท พ้นจากทุกข์ทั้งปวง
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน ฟังธรรมตั้งแต่เช้ามืดจนเช้า ได้เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดอิริยาบทย่อย ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทานอาราธนาศีล สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป และอนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหลายสาย กรวดน้ำ ได้ไปปิดทางที่วัดเครือวัญย์ และได้ถวายดอกไม้ ธูป เทียนพระพุทธรูปและเติมน้ำมันตะเกียง ได้ทำความสะอาดจัด สถานที่สาธารณะให้เรียนร้อย ได้สักการะรอยพระพุทธบาทที่ปราจีนบุรี และได้บอกบุญและได้สักการะสังเวชนียสถานจำลอง ที่วัดชมโพธยาราม ฉะเชิงเทรา และไหว้หลวงพ่อโสธรที่แปดริ้วและได้กราบไหว้บิดามารดา และวันนี้ตั้งใจว่า จะสนทนาธรรม ศึกษาธรรมะ กำหนดอิริยาบทย่อยวันนี้เป็นวันที่ทำยุญกิริยาวัตถุ 10 ครบทุกอย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วม countdown ส่งท้ายปีเก่า ปฏิบัติธรรมต้อนรับปีใหม่ ณ วัดมเหยงค์ ตำบลหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 31 ธ.ค.52-4ม.ค.53 ติดต่อสอบถามรายละเอียดการปฏิบัติได้ที่ สำนักงานวัดมเหยงคณ์ โทร 035-881601-2 รับบวชทุกวัน เวลา 09.00 น. ลาสิกขาบท เวลา 06.00 น.
หลังทำวัดเช้า หากบวชช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น เข้าพรรณษา จะมีประมาณ 3 รอบ
*** หากจะบวชภายในวันที่ไป ต้องงดอาหารหลังเที่ยง ไม่งั้นต้องรอบวชวันต่อไป เมื่อเดินทางมาถึงวัด ให้ติดต่อที่ฝ่ายทะเบียนของวัด ลงทะเบียนเพื่อจะได้จัดเตรียมอาหารได้เพียงพอ รับบัตรที่พักจากเจ้าหน้าที่ จะแจ้งว่าให้เรานอนที่ไหน
การเดินทาง
1) นั่งรถตู้ฝั่งเซ็นเตอร์วัน อนุสาวรีย์สมรภูมิ ตรง 7 Eleven ค่ารถตู้คนละ 65 บาท
2) ไปลงตรงวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม พอเข้าเขตอยุธยา จะมีเจดีย์อยู่ตรงสี่แยกลงตรงนั้น
3) นั่งมอเตอร์ไซด์ไปวัดมเหยงคณ์ 15-20 บาท มาจากถึงวงเวียนเจดีย์เลี้ยวขวา
** ขอแนะนำว่า เมื่อลาสิกขาแล้ว ถ้ามีเวลาก็ควรแวะไปไหว้พระที่วัดใหญ่ชัยมงคล นั่งมอเตอร์ไซด์ไป 15-20 บาท
|