จุดประสงค์ของการฟังพระธรรม เพื่อเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ฟังให้เข้าใจสิ่งที่
กำลังฟัง ไม่ควรคิดเองหรือคิดเรื่องอื่น การศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจพระธรรม
เข้าใจตามความเป็นจริง สิ่งที่มีอยู่จริงสามารถที่จะให้รู้ได้ ทุกขณะที่เกิดขึ้น เพียงเกิด
ปรากฏและดับไปแต่ก็ยังไม่รู้ความจริง ก็ยึดสภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้นการศึก
ษาพระธรรมก็เพื่อเข้าใจพระธรรม ไม่ใช่จุดประสงค์อย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อลาภ สักการะ
สรรเสริญใด ๆ ทั้งนั้น เปรียบเหมือนการหุงข้าวต้มเพื่อได้ข้าวต้ม ไม่ใช่เพื่อได้สิ่งอื่น
มนุษย์ทั้ง ๔ ทวีป คือ ๑. ปุพพวิเทหทวีป ๒.อมรโคยานทวีป ๓.ชมพูทวีป(โลกนี้) ๔. อุตตรกุรุทวีป รายละเอียดขอเชิญศึกษาได้จากพระอภิธรรมมัตถสังคหะปริเฉทที่ ๕
ถ้าไปเกิดในทวีปอื่น นอกจากชมพูทวีปไม่มีโอกาสได้ฟังพระธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 790
สัตตาวาสวรรคที่ ๓
๑. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่เทวดามนุษย์ประเสริฐกว่ากัน
[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป ประเสริฐ
กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓
ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือไม่มีทุกข์ ๑ ไม่มีความหวงแหน ๑
มีอายุแน่นอน ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป
ประเสริฐกว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป
ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวก
มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ
๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อายุทิพย์ ๑ วรรณทิพย์ ๑
สุขทิพย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่า
พวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ
๓ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวก
มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
๓ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ เป็นผู้อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาว-
ชมพูทวีปประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกเทวดา
ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.
จบ ฐานสูตรที่ ๑
การฟังพระธรรมนั้นเป็นสิ่งหาได้ยากยิ่งเพราะพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นได้ยาก ที่สำคัญ
พระพุทธเจ้าย่อมอุบัติในชมพูทวีปเท่านั้น
ดังนั้นการฟังธรรมและการอยู่ประพฤติ-
พรหมจรรย์(การอบรมสติปัฏฐาน)ย่อมมีในชมพูทวีป ไม่ใช่ทวีปอื่น
ดังข้อความใน
อรรถกถาอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 791 อรรถกถาฐานสูตร
บทว่า อิธ พฺรหฺมจริยวาโส ความว่า แม้การอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ประกอบ
ด้วยองค์แปด ( อริยมรรค มีองค์ ๘ ) ย่อมมีในที่นี้เท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าและ
พระปัจเจกพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในชมพูทวีป. เทวดาในทวีปอื่นสามารถมาฟังธรรมได้ครับ ดังเช่นในมหาสมัยสูตรที่เทวดาในทวีป
ต่างๆมาประชุมกันและมีโอกาสได้ฟังธรรม
สิ่งที่หาได้ยากในโลก
1. การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
2. การได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
3. การได้เกิดเป็นมนุษย์
4. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เราได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว ได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อย่าได้ประมาท
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
[๑๐๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่งต้นหว้า
โลกกล่าวว่าเป็นยอดแห่งต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นเพราะเป็นไปเพื่อ
ความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
ทวีปนี้เรียกว่าชมพูทวีป เพราะมีต้นหว้าใหญ่นั้น. อนึ่งในทวีปนี้ ต้นหว้าตั้งอยู่ชั่วกัป
ฉันใด แม้ต้นไม้เหล่านี้คือต้นกระทุ่มในอมรโคยานทวีปต้นกัลปพฤกษ์ ในอุตตรกุรุทวีป
ต้นซีก ในบุพพวิเทหทวีป ต้นแคฝอยของพวกอสูร ต้นงิ้วของพวกครุฑ ต้นปาริชาต
ของพวกเทวดา ก็ตั้งอยู่ชั่วกัปเหมือนกัน ฉันนั้น
ยังไม่พบหลักฐานว่า พระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวก ไปแสดงพระธรรมแก่
มนุษย์ในทวีปอื่นๆ นอกจากชมพูทวีปคือโลกมนุษย์ ส่วนสวรรค์และพรหมโลก
มีหลักฐานปรากฏว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมที่นั่น
ดังข้อความในพระไตรปิฎกดังนี้
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
๔. พกสูตร ว่าด้วยพระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม [๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะ
แห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา
ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอัน
ยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.
[๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่ง
ใจของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏ
ในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือ.
คู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.
พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้น
แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จง
เสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลก
นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่
มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
ก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.
[๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้
กะพกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าว
ฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของ
ไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อ
กัน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหม
ที่เป็นของความเคลื่อนไหวเป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็น
ธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด แก่ ตาย เป็นที่จุติและ
อุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ
ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้.
ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
เทวบุตรนั้นเห็นเงาในกระจกแล้วจึงทราบความที่ตนเป็นผู้จุติแล้ว
ได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนเพราะสมบัติ ด้วยอันคิดว่า เราทำสมณธรรมมิได้
ปรารถนาฐานะเช่นนี้ เราปรารถนาพระอรหัตอันเป็นอุดมประโยชน์ ดังนี้.
เทวบุตรนั้น พิจารณาดูแผ่นผ้าดังสีทอง จึงคิดว่า ชื่อว่า สมบัติในสวรรค์นี้
เป็นของหาได้ง่าย ความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยาก ราวกะ
นักมวยปล้ำหยั่งลงสู่ที่ที่รบกัน (ย่อมต้องการของมีค่า) แต่กลับได้กำแห่งหัวมัน
ดังนี้ จึงมิได้เข้าไปสู่วิมานเลย ผู้อันหมู่แห่งนางอัปสรแวดล้อมแล้ว ด้วยทั้ง
ศีลยังมิได้ทำลายนั่นแหละมาสู่สำนักของพระทศพล ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มนุษย์ที่ไม่ใช่ชมพูทวีป ไม่มีการอบรมปัญญาหรือสติปัฏฐาน มีแต่เฉพาะ ชมพูทวีป เท่านั้นแต่มีเทวดาที่มาจากทวีปอื่นมาที่ชมพูทวีปมาฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุ
ก็มี ดังนั้น ชมพูทวีปจึงเป็นทวีปที่เลิศในการศึกษาพระธรรม
เรื่อง การอบรมปัญญาศึกษาธรรมหรือสติปัฏฐาน
มีในเฉพาะมนุษย์ชาวชมพูทวีปเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 790 ข้อความบางตอนจาก ฐานสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวก
มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
๓ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ เป็นผู้อยู่
ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม(อบรมสติปัฏฐานหรือมรรค 8 ) ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป
และพวกเทวดา ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.
จบ ฐานสูตรที่ ๑
อรรถกถาฐานสูตร
บทว่า อิธ พฺรหฺมจริยวาโส ความว่า แม้การอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์
ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมมีในที่นี้(ชมพูทวีป)เท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าและ
พระปัจเจกพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในชมพูทวีป. เรื่อง เทวดาจากทวีปอื่นมาฟังพระธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
ข้อความบางตอนจาก มหาสมัยสูตร
เล่ากันมาว่า เหล่าเทวดาโดยรอบป่าใหญ่เคลื่อนไหวแล้ว ทำเสียงดัง
ว่า มาเถิดผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก การฟัง
พระธรรมมีอุปการะมาก การเห็นหมู่ภิกษุมีอุปการะมาก มา มาเถิด พวกเรา
แล้วก็พากันมานมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า และเหล่าพระขีณาสพผู้บรรลุ
พระอรหัต เมื่อครู่นั้น แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. โดยอุบายนี้นั่นแหละ
พึงทราบว่า ทวยเทพทั้งหลายในแสนจักรวาลมาประชุมกัน เพราะฟังเสียงเทวดา
เหล่านั้น ๆ โดยลำดับ คือ เทวดาผู้อยู่ในจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในสกลชมพู
ทวีป ปุพพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป เรื่อง การเจริญอบรมปัญญา มรรค 8
มีในมนุษย์ที่เป็นชมพูทวีปเท่านั้น
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 298
ปัญหาว่า การประพฤติพรหมจรรย์มีอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ ?
คำตอบรับรอง หมายเอาชาวชมพูทวีปผู้เจริญ. พระสุตตันตปิฏก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ หน้า ๔๕๓
ปฐมเสทกสูตร
บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น
บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน... ควรพิจารณาเนือง ๆ
สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ เจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม
เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่ กับครอบครัว ได้เจริญวิปัสสนา
ได้กำหนดอิริยาบทย่อย และตั้งใจว่าจะศึกษาธรรมมะ ฟังธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ กำหนดอิริยาบทย่อยต่อไป สักการะพระธาตุ และวันนี้ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ได้กราบไหว้ผู้ใหญ่ และวันนี้มีงานบวชมีผู้คนไปร่วมงานกันเยอะกับนาคบวชใหม่และ ก็ได้อนุโมทนา กับการบวชพระครั้งนี้ และวันนี้ก็ได้ให้ธรรมะเป็นทาน ได้บอกบุญ และจะเจริญกายคตาสติ และอนุสติอีก 7 อย่าง
พร้อมกับกำหนดอิริยาบทย่อย และตั้งใจว่าจะสนทนาธรรม ด้วย และวันนี้จะไป
ทำความสะอาดที่สาธารณะ และที่ วัดอาราม และได้รักษาศีล ด้วย วันนี้ได้บุญกิริยาวัตถุครบ 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญกราบนมัสการพระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลศิรนาถ, ชลบุรี
ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระตั้งอยู่บนถนนวชิรปราการห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 500 เมตร พระพุทธสิหิงค์องค์นี้เป็นองค์จำลองขององค์จริง ซึ่งประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติทำด้วยเงินบริสุทธิ์งดงามด้วยพุทธลักษณะและมีขนาดเท่าองค์จริงทุกประการมีพิธีหล่อเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2503 ประดิษฐานที่หอพระเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2504 สมเด็จพระสังฆราชกิตติโสภณมหาเถระ วัดเบญจมบพิตร ถวายพระนามว่า "พระพุทธสิหิงค์มิ่งมงคลศิรินาถ พุทธบริษัทราษฎร์กุศล สามัคคีปูชนียบพิตร" ตั้งอยู่บนถนนวชิรปราการ ในตัวเมือง ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง (องค์จริงประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) ทำด้วยเงินบริสุทธิ์ มีพุทธลักษณะงดงาม และมีขนาดเท่าองค์จริงทุกประการ หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้สักการะทุกวัน ระหว่างเวลา 8.00–16.00 น. ในวันสงกรานต์จะอัญเชิญองค์พระแห่รอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคล ประวัติความเป็นมา ประดิษฐานอยู่ ณ หอพระ ตั้งอยู่บนถนนวชิรปราการห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร พระพุทธสิหิงค์องค์นี้เป็นองค์จำลองขององค์จริง ซึ่งประดิษฐานที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรค์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทำด้วยเงินบริสุทธ์งดงามด้วยพุทธลักษณะ และมีขนาดเท่าองค์จริงทุกประการ มีพิธีหล่อเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2504 ประดิษฐานที่หอพระ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2504 สมเด็จพระสังฆราชกิตติโสภณมหาเถระ วัดเบญจบพิตร ถวายพระนามว่า “พระพุทธสิหิงค์มิ่งงมงคลศิรนาถพุทธบริษัทราษฎร์กุศล สามัคคีชลบุรีปูชยบพิตร” โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดชฯสยามมินทรธิราชบรมนาถบพิตร พระมหากัษตริย์ แห่งประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเปิดหอพระนี้ เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2509 ตรงกับแรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็งจุลศักราช 1327 จนถึงปัจจุบันนี้ หอพระได้เป็นที่เคารพ มาของชาวจังหวัดชลบุรี และจังหวัดอื่นๆ โยเฉพาะช่วงงานประจำปีชลบุรี จะมีผู้คนมาเที่ยวงานได้แวะเข้าไปนมัสการพระพุทธสิหิงค์ เป็นจำนวนมาก
ความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ 1. เป็นโบราณสถานที่สำคัญ 2. เป็นสถานที่เคารพสักการะของประชาชนชาวชลบุรี 3. เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าทางด้านศาสนา 4. เป็นสถานที่ที่ชาวจังหวัดชลบุรีใช้ทำพิธีที่สำคัญ 5. รอบๆ บริเวณหอพระ จังหวัดชลบุรีใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันขึ้นปีใหม่ วันลอยกระทง อยู่ที่ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
|