Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

พระนาคเสน

พุธ 30 ธ.ค. 2009 12:35 pm

พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามว่า


ดูก่อน พระนาคเสน


คำที่พระคุณเจ้าว่า ผู้ที่กระทำบาปกรรมเรื่อยมา แม้ตั้ง ๑๐๐ ปี

แต่ถ้าขณะก่อนตาย...เกิดสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้

ก็ย่อมไปสู่สุคติ

ส่วนผู้ที่ก่อนตาย...เผลอระลึกถึงบาป

ที่ตนได้กระทำแล้วในอดีต แม้เพียงครั้งเดียวในชีวิต

ก็ย่อมไปเกิดในนรกได้นั้น....ดูไม่สมเหตุสมผล

ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย.


.


พระนาคเสน ทูลตอบว่า


ขอถวายพระพร

ศิลา แม้ก้อนเล็ก โดยลำพังแล้ว.....จะลอยน้ำได้หรือไม่.?



ม.


ไม่ได้.



น.


ถ้าหากศิลา ๑๐๐ เล่มเกวียน แต่อยู่ในเรือ.!

ศิลานั้น จะลอยน้ำได้หรือไม่.?



ม.


ย่อมได้สิ.



น.


ขอถวายพระพร

เปรียบ "บุญกุศล"......เสมือน "เรือ"

เปรียบ "บาปกรรม"...เสมือน "ศิลา"


บุคคลผู้กระทำบาปอยู่เสมอมาตลอดชีวิต

เมื่อใกล้ตาย...มิได้มี "ปัจจัย" ให้จิตระลึกถึงบาปกรรมที่ตนได้กระทำแล้ว

แต่ มี "ปัจจัย" ให้จิตระลึกถึงกุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

เช่น จิต แน่วแน่อยู่ในการระลึกถึงพระพุทธคุณ เป็นต้น

ถ้าบุคคลนั้น ตายลงในขณะจิตที่เป็นกุศลนั้น ก็เป็นอันหวังสุคติได้.


เปรียบเหมือน ศิลา ซึ่งมี เรือ ทานน้ำหนักไว้...มิให้จม.!


ส่วนบุคคลผู้กระทำบาป...ที่สุด แม้เพียงครั้งเดียวในชาตินั้น

เมื่อใกล้ตาย...เพียงแต่จิตหวนระลึกถึงบาปกรรม

ที่ตนได้กระทำแล้วในอดีต แม้เพียงครั้งเดียวนั้น

ถ้าบุคคลนั้นตายลงในขณะจิตที่เป็นอกุศลนั้น

ก็หนักพอที่จะถ่วงให้ไปเกิดในนรกได้.


เปรียบเหมือน ศิลา ที่โยนลงน้ำ

แม้ก้อนเล็ก...ก็ต้องจมลงเช่นเดียวกัน.



ม.


ฟังสมเหตุสมผล.
พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามว่า


ดูก่อน พระนาคเสน

การทำบุญ แล้วอุทิศกุศลให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว

ญาติมิตร จะได้รับผลแห่งบุญกุศลนั้น หรือไม่.?


.


พระนาคเสน ทูลตอบว่า


ขอถวายพระพร

ไม่ทุกคน.!

ได้รับเฉพาะญาติมิตรที่ไปเกิดเป็นเปรต (หรือ เทวดา) บางจำพวก เท่านั้น.



ม.


ถ้าญาติมิตร มิได้รับ...ผลแห่งบุญนั้นจะมิสูญหรือ.?



น.


ไม่สูญ.



ม.


ถ้าไม่สูญ...ใครจะได้รับ.?



น.


ก็ผู้ที่อุทิศบุญกุศลนั้นเอง ย่อมได้รับ.!

อุปมาดังเจ้าของบ้าน เตรียมอาหารไว้ให้แขก ถ้าแขกไม่บริโภค

อาหารนั้น จะพึงเป็นของใคร.?



ม.


ก็เป็นของเจ้าของบ้านสิ พระคุณเจ้า.



น.


ฉันใด ก็ฉันนั้น

แม้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จะได้รับ (รับรู้ และ อนุโมทนา)

ผู้ที่กระทำบุญกุศลนั้น ก็ย่อมได้รับผลของบุญนั้น

การอุทิศกุศลที่กระทำแล้ว

จึงเป็นการการเพิ่มพูนบุญกุศลของผู้ที่อุทิศอีกส่วนหนึ่งด้วย

เพราะบุญกุศลที่อุทิศนั้น...ไม่มีวันสูญหาย.



. . .



ม.


บุญกุศล อุทิศให้กันได้.

ถ้าอย่างนั้น บาป...จะอุทิศให้กันได้หรือไม่.?



น.


ไม่ได้.

เพราะบาป มีผลบีบคั้นหัวใจ ทำให้จิตใจหดหู่

เมื่อเป็นเช่นนี้ บาปก็มีวงอันแคบ มีผลอันจำกัด

แบ่งให้ผู้อื่นทั่วไปไม่ได้

ผู้ใดกระทำ...ก็ได้รับผลเฉพาะผู้นั้น.



ม.


พระคุณเจ้าจงยกตัวอย่างมาให้ฟัง.



น.


หยดน้ำอันน้อย....หยดลงที่พื้นดิน.

ขอถวายพระพร

หยดน้ำนั้น จะทำให้พื้นดินซึมซาบได้ทั่ว หรือไม่.?



ม.


ย่อมไม่ได้

หยดที่ไหน...ก็ซึมซาบเฉพาะที่นั่น

เพราะ หยดน้ำนั้น.....มีน้ำอยู่น้อย.



น.


ฉันใด ก็ฉันนั้น

บาป มีลักษณะไม่ซึมซาบ...เหมือนหยดน้ำอันน้อย

จึงอุทิศให้ผู้อื่นไม่ได้

บุญ มีลักษณะเหมือนน้ำฝน คือ มีผลเอิบอาบซาบซึม

หล่อเลี้ยงจิตใจให้ชุ่มชื่นอยู่ทุกเวลา

จึงสามารถอุทิศบุญให้กันได้.



ม.


เพราะเหตุใด บาปและบุญ จึงต่างกันเช่นนี้.?



น.


เพราะบาป มีผลเป็นความทุกข์ระทมใจ ไม่ชวนให้กระทำต่อไปอีก

ทำให้มีผลอันจำกัด ขยายตัวออกไปได้น้อย.


แต่ บุญ มีผลเป็นความสุข ร่มเย็น

ผู้กระทำแล้ว ได้รับผลเป็นความเอิบอิ่มใจ

กล่าวคือ...ขณะก่อนกระทำ จิตก็เป็นกุศล

ขณะที่กระทำอยู่........จิตก็เป็นกุศล

ขณะที่ได้กระทำแล้ว...จิตก็เป็นกุศล

และทุกขณะ ที่ระลึกถึงบุญที่ได้กระทำแล้ว...จิตก็เป็นกุศล

บุญ จึงมีผลที่ขยายออกได้เสมอ เช่นนี้.


ขอถวายพระพร

เนื่องด้วยมีเหตุ มีผล เช่นนี้

บุญ และ บาป จึงอุทิศได้ หรือไม่ได้ ต่างกันเช่นนี้.



ม.


พระคุณเจ้าว่าอย่างนี้...ชอบแล้ว.




(เปตอุททิสสผลปัญหา--กุสลากุสลมหันตภาวปัญหา)
อนุสัยกิเลส

อนุ ( น้อย , ภาพหลัง , ตาม ) + สย ( นอน ) + กิเลส ( เครื่องเศร้าหมอง )


เครื่องเศร้าหมองที่นอนตาม หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่ตามนอนเนื่องอยู่ในจิต

ไม่ปรากฏตัวออกมา หรือเป็นกิเลสที่มีกำลังที่ยังละไม่ได้ จะละได้ด้วยกุศลขั้นปัญญา

เท่านั้น ( วิปัสสนาภาวนา )


วีติกมกิเลส และ ปริยุฏฐานกิเลส เกิดขึ้นปรากฏได้ เพราะมีอนุสัยกิเลส

เมื่อโลกุตรมรรคประหาณอนุสัยกิเลสเป็นสมุจเฉท ตามลำดับแล้ว กิเลสขั้น

หยาบและกิเลสขั้นกลางจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกเลย

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

โลภะ เป็นไฉน ?

ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี

ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก

แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ

ผู้ยังสัตว์ให้เกิดธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ

อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง

ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความ

เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง

ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส

ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร

ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบ

ยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ

ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความ

กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ

ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่

สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ . รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์

เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์

ความปรารถนา วัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด

แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ

ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา

อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.
เรื่อง โลภะและความอยาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาจตุจักกสูตร

บทว่า อิจฺฉาโลภ นี้พระผู้มี-พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมอันหนึ่งนี้แหละ ชื่อว่า

โลภะ เพราะอรรถว่าปรารถนา เพราะอรรถว่าความอยากและความต้องการ. อีก

อย่างหนึ่ง ความอยากมีกำลังทรามเกิดขึ้นครั้งแรก ความโลภมีกำลังเกิดขึ้นในเวลา

ต่อ ๆ มา. อีกอย่างหนึ่ง ความปรารถนาในวัตถุอันตนยังไม่ได้ ชื่อว่า ความ

อยาก ความยินดีในวัตถุอันตนได้แล้ว ชื่อว่า ความโลภ.
เรื่อง โลภะ และ ราคะ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

สภาวะที่ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า อยากได้. อาการที่โลภ ชื่อว่า

ลุพภนา (กิริยาที่โลภ) จิตที่สัมปยุตด้วยโลภะ หรือบุคคลผู้ประกอบด้วย

ความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตะ ภาวะแห่งจิตที่สัมปยุตด้วยโลภะหรือแห่งบุคคลผู้

ประกอบด้วยความโลภ ชื่อว่า ลุพภิตัตตะ (ความโลภ) ที่ชื่อว่า สาราคะ

(ความกำหนัด) เพราะย่อมกำหนัดนัก. อาการแห่งความกำหนัดนัก ชื่อว่า

สารัชชนา (กิริยาที่กำหนัดนัก). ภาวะแห่งจิตที่กำหนัดนักชื่อว่า สารัชชิ-

ตัตตะ (ความกำหนัด). ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่าเพ่งเล็ง.

ตัณหา กามเปรียบเหมือนคบเพลิง เพราะตามเผาผลาญเร่าร้อน กามเปรียบเหมือน

ชิ้นเนื้อ เพราะทั่วไปแก่คนจำนวนมาก กามเปรียบเหมือนของขอยืม เพราะอยู่ได้ชั่ว

คราว กามเปรียบเหมือนหอกและหลาว เพราะทิ่มแทง ฯลฯ
ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำ ดังนั้นในขณะที่โกรธก็มีความใคร่ที่จะโกรธ ซึ่ง

ไม่ได้หมายถึงความหมายพอใจในอารมณ์อย่างเดียวครับ เพราะฉะนั้นเมื่อโกรธเกิดขึ้น

ไม่ว่ากรณีใดก็ต้องมีฉันทเจตสิกเกิดร่วมด้วยกับโทสเจตสิกเสมอ ไม่มียกเว้นคือเป็นผู้

ใคร่ที่จะโกรธแล้วในขณะที่โกรธและพอใจที่จะโกรธแล้วในขณะนั้นครับ ส่วนเจตสิก

อื่นๆที่เป็นปกิณณกเจตสิก(วิตก วิจาร วิโมกข์ ปิติ วิริยะ ฉันทะ) ก็เกิดร่วมด้วยแต่ไม่

จำเป็นต้องครบทั้ง 6 ดวง ก็แล้วแต่ประเภทของจิต
ขออธิบายเพิ่มเติมคำว่า ฉันทะ ซึ่งฉันทะใช้ได้หลายความหมายเพื่อความเข้าใจที่

ถูกต้อง ฉันทะจึงเป็นไปในฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีก็ได้ หมายถึงคำที่ใช้ว่าฉันทะ อาจจะ

หมายถึง ความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำที่เป็นไปในทางกุศล อบรมปัญญา ประการหนึ่ง หรือ

เป็นฉันทะที่เป็นโลภเจตสิก(กามฉันทะ) ฉันทะหมายถึงความเพียรก็มี(วิริยเจตสิก)

ฉันทะหมายถึงความเห็นผิดก็มี(ทิฏฐิ) ซึ่งใช้คำว่าฉันทะเหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้ว

ถ้ามุ่งที่ตัวปรมัตถธรรมคือฉันทเจตสิก อันเป็นความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำและพอใจใน

อารมณ์นั้น

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่ เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ให้ธรรมะเป็นทาน
มาตลอด และเมื่อเช้าตื่นแต่เช้าได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เสร็จแล้วก็เจริญอนุสติ
หลายอย่าง และได้อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทางหลายสาย
และเมื่อวานนี้ได้ร่วมบริจาคเงินให้ทานแก่สุนัขเร่ร่อนหลายร้อยตัว และได้
พิมพ์ปฏิทินปฏิบัติธรรมวัดเขาพุทธโคดมแจกจำนวน 30 ใบ เพื่อชักชวนให้มาปฏิบัติธรรม
และวันนี้ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ และวันนี้ตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ
เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ตลอดการเดินทางวันนี้จะเดินทางทัวร์
ทำบุญไปไหว้หลวงพ่อโสธร และจะกลับไปไหว้คุณพ่อ คุณแม่ และพรุ่งนี้ก็เป็นวันเกิด
ด้วย เกิดวันที่ 31 ธันวาคมพอดีก็ตั้งใจว่าจะเจริญกรรมฐานแบบเต็มรูปแบบ
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญท่องเที่ยววัดที่มีพระอุโบสถทำจากศิลาแลง
วัดเนรมิตวิปัสสนา อ.ด่านซ้าย จ.เลย

อยู่ห่างอำเภอด่านซ้าย ๑ กิโลเมตร เป็นวัดที่มีพระอุโบสถทำจากศิลาแลงที่สวยงาม ที่สุดภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธราชชินราชจำลอง และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างเขียน ชาวด่านซ้าย วัดนี้สร้างด้วยทุนทรัพย์มหาศาล ซึ่งก่อสร้างได้เพราะบุญบารมีของ พระครูภาวนาวิสุทธิญาน (หลวงพ่อมหาพัน) ที่มรณภาพไปแล้ว เป็นสถานที่ที่ใครเดินทางมาถึงด่านซ้าย ไม่ลืมแวะไปนมัสการและเที่ยวชม

ตั้งอยู่สูงเด่นอยู่เนินเขา ห่างจากพระธาตุศรีสองรักษ์เพียงเล็กน้อย พระอุโบสถ และเจดีย์ภายในวัดก่อสร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง ที่เกิดจากจินตนาการสร้างสรรค์ ออกแบบโดยพระและเณร ภายในพระอุโบสถตกแต่งไว้ตามแบบศิลปะ ส่วนกลาง มีพระพุทธชินราช จำลองเป็นพระประธานและมีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงพ่อมหาพันธ์ สีลวิสุทโธ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม และได้มรณภาพแล้ว ประดิษฐานอยู่และมีภาพจิตกรรมที่สวยงาม ประดับอยู่โดยรอบพระอุโบสถ นอกจากนี้บริเวณพื้นที่โดยรอบมีการจัดแต่งสวนต้นไม้ที่ร่มรื่นสวยงาม และมีต้นไม้ที่ สำคัญทางพุทธศาสนา คือ " ต้นสาละ" เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ
ตอบกระทู้