นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 2:24 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: เหตุ
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 09 ม.ค. 2010 7:41 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
ตามหลักพระอภิธรรม คำว่า เหตุ อเหตุกะ สเหตุกะ มีความหมายดังนี้

เหตุ ได้แก่ธรรม ๖ ประเภท คือ โลภ โทส โมห อโลภ อโทส อโมห

อเหตุกะ หมายถึงธรรมที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ได้แก่ อเหตุกจิต ๑๘ และเจตสิกที่

ประกอบ รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑

สเหตุกะ หมายถึงธรรมที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ได้แก่สเหตุกจิต ๗๑ และเจตสิกที่

ประกอบ ในชีวิตประจำวันของเราขณะใดที่จิตเห็น ได้ยิน เป็นต้น ขณะนั้นชื่อว่าอเหตุ

กะในขณะที่จิตเป็นอกุศล หรือเป็นกุศล นามธรรมที่เกิดขณะนั้นเป็นสเหตุกะ

รูปธรรมทั้งหมดและพระนิพพาน ไม่มีเหตุเกิดสัมปยุตด้วย เป็นอเหตุกะ
จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรุ้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นอเหตุกจิต

เพราะไม่มีเหตุ 6 เ้กิดร่วมด้วย ขณะที่ให้ทาน ขณะนั้นจิตเป็นกุศลมีอโลภเจตสิก

อโทสเจตสิก หรืออาจจะมีอโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตนั้นจึงเป็นสเหตุกจิต
ปัญญามีหลายระดับ ตั้งแต่ขั้นการฟัง การศึกษา ปัญญาจะค่อย ๆ เจริญขึ้น เมื่อเรา

ฟังแล้วเข้าใจจรดกระดูก เข้าถึงสภาพธรรมะ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะไม่ใช่

สัตว์ บุคคล ตัวตน ต้องเป็นปัญญาของคนนั้นที่จะรู้เองว่าเป็นขั้นคิดนึกหรือประจักษ์

หรือเป็นความเข้าใจ
เมื่อกล่าวโดยเหตุ ธรรมทั้งหลายจำแนกได้เป็น ๒ หมวด คือ เหตุ

และนเหตุ สเหตุกะและอเหตุกะได้ ดังนี้ คือ

นิพพาน และ รูป เป็น นเหตุ และอเหตุกะ

จิต เป็น นเหตุ และบางดวงเป็นสเหตุกะ บางดวงเป็นอเหตุกะ

เจตสิก ๔๖ เป็น นเหตุ และบางดวงเป็นสเหตุกะ บางดวงเป็นอเหตุกะ

เจตสิก ๖ คือ ... โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก อโลภเจตสิก อโทส

เจตสิก ปัญญาเจตสิก เป็นเหตุ และเป็นสเหตุกะ เว้น

โมหเจตสิกที่เกิดกับโมหมูลจิต เพราะโมหเจตสิกที่เกิดกับ

โมหมูลจิตเป็นอเหตุกะ

โลภเจตสิก เป็นสเหตุกะ เพราะต้องมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง

ถ้าโมหเจตสิกไม่เกิด โลภเจตสิกก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้น โลภ-

เจตสิกจึงเป็นสเหตุกะ เพราะมีโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วยทุก

ครั้ง

โทสเจตสิก ก็เป็นสเหตุกะ โดยนัยเดียวกับโลภเจตสิก

โมหเจตสิก ที่เกิดกับโลภเจตสิกในโลภมูลจิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโลภ

เจตสิกซึ่งเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย

โมหเจตสิก ที่เกิดกับโทสเจตสิกในโทสมูลจิตเป็นสเหตุกะ เพราะมีโทส

เจตสิกเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย

โมหเจตสิก ที่เกิดกับโมหมูลจิตเป็นอเหตุกะ เพราะไม่มีโลภเจตสิกและ

โทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ผัสสเจตสิก เป็นนเหตุ แต่ผัสสเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ถ้าจิตดวงใด

เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุหนึ่งเหตุใดในเหตุ ๖ ผัสสเจต-

สิกนั้นก็เป็นสเหตุกะ ถ้าจิตดวงใดเป็นอเหตุกะ คือ ไม่มี

เจตสิก ๖ ซึ่งเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย ผัสสเจตสิกซึ่งเกิดกับ

อเหตุกจิตนั้นก็เป็นอเหตุกะด้วย ฉะนั้น ผัสสเจตสิกจึงเป็น

นเหตุ และบางขณะก็เป็นสเหตุกะ บางขณะก็เป็นอเหตุกะ



สเหตุกจิต

สเหตุก ( มีเหตุประกอบ ) + จิตฺต ( จิต )

จิตที่มีเหตุประกอบ หมายถึง จิต ๗๑ ดวง ที่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย มีทั้ง ๔ ชาติ

คือ อกุศลจิต ๑๒ ดวง เป็นอกุศลชาติ ได้แก่ ...

โลภมูลจิต ๘ ดวง มีอกุศลเหตุ ๒ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ

โทสมูลจิต ๒ ดวง มีอกุศลเหตุ ๒ คือ โทสเหตุ โมหเหตุ

โมหมูลจิต ๒ ดวง มีอกุศลเหตุ ๑ คือ โมหเหตุ

กุศลจิต ๒๑ ดวง เป็นกุศลชาติ ได้แก่

มหากุศลจิต ๘ ดวง คือ ...

ญาณวิปปยุตต์ ๔ ดวง มีเหตุ ๒ คือ อโลภะ อโทสะ

ญาณสัมปยุตต์ ๔ ดวง มีเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ


รูปาวจรกุศลจิต ๕ ดวง มีเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ดวง มีเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

โลกุตรกุศลจิต ๔ ดวง มีเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ


สเหตุกวิบากจิต ๒๑ ดวง เป็นวิบากชาติ ( ดูสเหตุวิบากจิต )

สเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ดวง เป็นกิริยาชาติ ( ดูสเหตุกิริยาจิต )
อเหตุกจิต

อเหตุก ( ไม่มีเหตุประกอบ ) + จิตฺต ( จิต )

จิตที่ไม่มีเหตุเจตสิกประกอบ หมายถึง จิต ๑๘ ดวง ที่ไม่มีเหตุเจตสิก ๖ เกิด

ร่วมด้วย มี ๒ ชาติ คือ อเหตุกวิบากจิต ๑๕ ดวง และ อเหตุกกิริยา ๓ ดวง ( ดู

อเหตุวิบากจิต , อเหตุกกิริยาจิต )
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ

อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

ที่ ท่านพระอานนท์ กล่าวนี้ ตรงกับ พระพุทธองค์ หรือไม่ และ ในประการที่๔ ...ใจของภิกษุ ปราศจากอุทัจจะในธรรม...... เป็นการเจริญวิปัสสนา หรือ เปล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ?

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพ

ไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ

จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนา

มีสมถะเป็นเบื้องต้น.



[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ?

วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดย

ความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลายที่

เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

เป็นสมาธิด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 455


ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย

ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑

ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมสงบ ๑ ด้วยความ

เป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความ

เป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่าง

เปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกัน

และกัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑.



ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร.

เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน

มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน

เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน

จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์.

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯลฯ คำ

ว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้

ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนา

คู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ อย่างนี้.

ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 403

อรรถกถายุคนัทธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็น

ปุเรจาริก. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า โส ตํ มคฺคํ. ความว่า ชื่อว่าอาเสวนะ เป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอัน

เป็นไปในขณะจิตเดียว. แต่เมือยังมรรคที่ ๒ ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวว่า เธอ

ส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล. บทว่า วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคมํ

ได้แก่ ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก บทว่า สมถํ ภาเวติ

ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น.

บทว่า ยุคนทฺธํ ภเวติ ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป. ใน

ข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติ แล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแล

พิจารณาสังขารได้. แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใด ย่อมพิจารณาสังขาร

เพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติเพียงนั้น. ถามว่า อย่างไร.

ตอบว่า ภิกษุเข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย

ครั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว เข้าทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญา

ยตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว พิจารณา

สังขารทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนี้ชื่อว่าเจริญปฐมวิปัสสนาให้เป็นคู่

ติดกันไป.
ธรรมที่พระอริยสาวกทั้งหลายแสดง ย่อมตรงกับพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรง

แสดง ส่วนประการที่ ๔ ในพระสูตรนี้ ภิกษุเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
สติปัฏฐาน ๔ มีทั้งสมถะและวิปัสสนา

ดังนั้น แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

บางท่านวิปัสสนาล้วนๆก็มี

บางท่านมีทั้งสมถและวิปัสสนาก็มี

"สังขารขันธ์"

คือ "เจตสิก ๕๐ ประเภท"

(เว้นเวทนาเจตสิก และ สัญญาเจตสิก)



สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก

ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง.



สามารถรู้ว่าสังขารขันธ์มีจริง ในขณะต่าง ๆ

เช่น ลักษณะของ "โสภณเจตสิก" ปรากฏ

เมื่อสติ ระลึก รู้ ลักษณะของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ความเมตตา กรุณา เป็นต้น.



หรือ ขณะที่มี "อกุศลจิตเจตสิก" เกิดกับจิต

เช่น ลักษณะของโทสเจตสิก มัจฉริยะ เป็นต้น.



สังขารขันธ์

เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัย แล้วดับไป

ดังนั้น สังขารขันธ์

จึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา.



.
.
.



"วิญญาณขันธ์"

หมายถึง "จิตทุกประเภท"

คือ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท (โดยพิศดาร)



จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

สามารถรู้ว่า จิต มีจริง.......

เมื่อมีการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย

และ มีการคิดนึก.



วิญญาณขันธ์ หรือ จิตทุกประเภท

เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะมีปัจจัย แล้วดับไป

ดังนั้น วิญญาณขันธ์

จึงเป็นภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา.



.
.
.



เพราะฉะนั้น

สังขารขันธ์ และ วิญญาณขันธ์

(รวมอยู่ในขันธ์ ๕)

เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย แล้วดับไป

จึงเป็นสภาพธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และ เป็นอนัตตา.



.
.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญิปัสสนาให้ธรรมะเป็นทาน เมื่อเช้าได้อนุโมทนากับผู้
ที่ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง ได้เป็นสักการะพระพุทธสิหิงค์ หลวงพ่อโสธร
ไปทัวร์บุญที่สมุทรปราการทั้งครอบครัว ทั้งครอบครัวได้ไปที่เมืองโบราณ
ได้นมัสการสัการะวัดต่างๆ รวมทั้งรอยพระพุทธบาทขอบอกบุญไปในตัวว่า
ไปเที่ยวที่เมืองโบราณกันเถอะเพราะว่ามีพระพุทธรูปหลายองค์ และวัดหลายแห่งทั่วประเทศไทยมารวมอยู่ที่เดียวกัน ได้ทำบุญที่เมืองโบราณหลายแห่ง และวันนี้ตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุผลนิพพานเทอญ


ขอเชิญ ร่วมบริจาค
เพื่อสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย
หรือ โรงพยาบาลสังฆทานโอสถ
ซึ่งอยู่ในระหว่างก่อสร้างใกล้จะเสร็จ

ร่วมบริจาคได้ที่


สำนักงานวัดสังฆทาน FAX: 02 496 1243
โทร. 02 496 1240 - 2::ต่อ 101
***********************************
(ยกเลิกโทรศัพท์เบอร์เดิมดังนี้::02 447 0799, 02 447 0800)


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO