ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ที่จะไม่มีการเกิดอีกเลยนั้น คือ พระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้ที่
ห่างไกลจากกิเลส ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด (เมื่อท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว
ในขณะที่ยังไม่ปรินิพพาน จิตของท่านมีเพียง ๒ ชาติเท่านั้น คือ เป็นกิริยา กับ
วิบากเท่านั้น จะไม่มีจิตชาติกุศล และ อกุศล เลย) เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ยังไม่ใช่พระ
อรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ปุถุชน จึงยังต้องมีการเกิดอยู่ร่ำไป สังสารวัฏฏ์ ยังไม่
จบสิ้น มีการกระทำที่เป็นบาปบ้าง เป็นบุญบ้าง ตามการสะสม การเกิดมาเป็น
มนุษย์จะมีชีวิตที่สะดวกสบาย มีโภคทรัพย์ หรือ ขัดสน ยากจนนั้น ขึ้นอยู่กับเหตุที่
ได้กระทำแล้วเป็นสำคัญ กล่าวคือ เพราะมีการให้ทาน จึงเป็นเหตุทำให้ไม่ขัดสน
ไม่ยากจน ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่ตระหนี่ ไม่ให้ทาน จึงให้เกิดมาเป็นคนยากจน
ขัดสน ไม่มีโภคทรัพย์ ตามข้อความในพระไตรปิฎกที่ยกมา การเกิดในสกุลต่ำ ยากจนขัดสน ไร้ทรัพย์ เพราะอกุศลกรรม มีพระสูตรหลายสูตร
แสดงว่าเพราะชาติก่อนมีความตระหนี่ ไม่ได้ให้ทานแก่ผู้ที่ควรให้ ดังข้อความในพระ
สูตรว่า ...
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
ข้อความบางตอนจาก ..
จูฬกัมมวิภังคสูตร [๕๙๐] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ไห้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไป จะเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน
ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์.
[๕๙๑] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไป
จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ
ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะ
มากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน
ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์. คนที่ให้ทานไม่ได้ เพราะความตระหนี่กับความประมาท
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
[๘๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่-
ได้ ภัยนั้นนั่นแล ย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่
ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและ
ความกระหายใด ความหิวและความกระ-
หายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแล ผู้
เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น
บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็น
สนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย
ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า. บทว่า และก็เมื่อเป็นเช่นนั้น คือเมื่อ
ความปรารถนาอย่างนั้นแม้มีอยู่. บทว่า มีริษยาและความตระหนี่เป็น
เครื่องประกอบเข้าไว้ คือ ความริษยามีความสิ้นไปแห่งสมบัติของอื่นเป็น
ลักษณะ และความตระหนี่อันมีความทนไม่ได้ต่อความที่สมบัติของตนเป็นของ
ทั่วไปกับพวกคนเหล่าอื่นเป็นลักษณะ. ชื่อว่า ผู้มีความริษยาและความตระหนี่
เป็นเครื่องประกอบเข้าไว้ เพราะความริษยาและความตระหนี่เป็นเครื่อง
ประกอบเข้าไว้ของพวกเขา. นี้เป็นความย่อในที่นี้ . ส่วนควาษริษยาและความ
ตระหนี่อย่างพิสดาร ได้กล่าวไว้เสร็จแล้วในอภิธรรม.
สำหรับในเรื่องความตระหนี่นี้ เพราะความตระหนี่ที่อยู่ สัตว์ไม่ว่า
เป็นยักษ์หรือเป็นเปรตต่างก็เที่ยวใช้ศีรษะทูนขยะของที่อยู่นั้นเอง เพราะความ
ตระหนี่ตระกูล เมื่อบุคคลเห็นผู้ที่กำลังทำทานเป็นต้นแก่ผู้อื่นในตระกูลนั้น
ก็คิดว่า ตระกูลของเรานี้แตกแล้วหนอ ถึงกับกระอักเลือดบ้าง ถ่ายท้องบ้าง
ไส้ขาดเป็นท่อนน้อยใหญ่ทะลักออกมาบ้าง. เพราะความตระหนี่ลาภ ผู้เกิด
ตระหนี่ในลาภของสงฆ์หรือของหมู่ บริโภคเหมือนบริโภคของส่วนบุคคล
เกิดเป็นยักษ์บ้าง เปรตบ้าง งูเหลือมขนาดใหญ่บ้าง. ก็เพราะความตระหนี่
วรรณแห่งสรีระและวรรณแห่งคุณ และเพราะความตระหนี่การศึกษาเล่าเรียน
บุคคลจะกล่าวชมแต่คุณของตัวเองเท่านั้น หากล่าวชมคุณของคนเหล่าอื่นไม่
กล่าวอยู่แต่โทษนั้นๆ ว่า คนนี้ มีดีอะไร และจะไม่ให้การศึกษาเล่าเรียนอะไรๆ
แก่ใคร ๆ พูดแต่โทษว่า คนนี้ขี้เหร่ และบ้าบอ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยความ
ตระหนี่ที่อยู่ เขาย่อมไหม้ในเรือนโลหะ. ด้วยความตระหนี่ตระกูล เขาย่อม
เป็นผู้มีลาภน้อย. ด้วยความตระหนี่ลาภ เขาย่อมเกิดในคูถนรก. ด้วยความ
ตระหนี่วรรณ เมื่อเกิดในภพ จะไม่มีวรรณ. ด้วยความตระหนี่ธรรม เขา
ย่อมเกิดในนรกขี้เถ้า. เรื่อง คนตระหนี่กลัวภัยใด............
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
ข้อความบางตอนจาก... มัจฉริสูตร
[๘๗] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เพราะความตระหนี่ และความประ-
มาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคล
ผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้. [๘๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่-
ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่
ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและ
ความกระหายใด ความหิวและความกระ-
หายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้
เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็น สนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย
ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ ทั้งหลายในโลกหน้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 506
ข้อความบางตอนจาก... ๗. มัลลิกสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง
ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคือง
และความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ยวดยาน
ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ
แก่สมณะหรือพราหมณ์ และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ
ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น เกียดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา
ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใด ๆ
ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์
สมบัติและต่ำศักดิ์. ส่วนอีกนัยหนึ่ง..สำหรับบุคคลที่เกิดในสกุลต่ำเพราะกรรมคือเป็นคนเย่อหยิ่ง
มีมานะ ไม่เคารพ กราบไหว้ เป็นต้น ดังข้อความในพระไตรปิฎก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
ข้อความบางตอนจาก...
จูฬกัมมวิภังคสูตร
[๕๙๐] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ไห้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไป จะเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน
ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์.
เจตนาเจตสิกทุกดวง แต่ไมได้หมายความว่า เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทั้งหมด
จะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมครับ เพราะจิตมี 4 ชาติ คือกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต
และกิริยาจิต เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตชาติวิบาก ไม่ใช่กุศลกรรม(ทำกรรมดี) ไม่ใช่
อกุศลกรรม(ทำกรรมไม่ดี) เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตของพระอรหันต์ ที่ไม่ใช่วิบาก ท่าน
ไม่เป็นกุศลหรืออกุศลเลยแต่เป็นกิริยาจิต เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็ไม่เรียกว่าเป็นกรรมดี
(กุศลกรรม)และไม่ใช่เรียกว่ากรรมไม่ดี(อกุศกรรม) พระอรหันต์จึงไม่ได้ทำกรรมใหม่แล้ว
ผู้ที่จะไม่เป็นบุญเป็นบาปอีกก็คือพระอรหันต์ "...บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร ?
ในบริษัทใด ภิกษุทั้งหลาย พร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน
ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)
เป็นประหนึ่งว่านมประสมกับน้ำ
มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ (คือ สายตาของคนที่รักใคร่กัน)
บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 482 ปริสาสูตร..." " มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว "
ได้ยินแล้วคิดว่า ควรฟังพระธรรมให้เข้าใจเพื่อน้อมประพฤติปฎิบัติ
ตามเพื่อที่จะขัดเกลากิเลส เพื่อไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพื่อจะ
ไปสู่ทางที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท เพื่อไปสู่พระนิพพาน เพื่อเป็นผู้มี
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
(เอกีภาวะ หรือ เอกีภาพ)
ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม พิจารณาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เพื่อความ
เข้าใจถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง พร้อมทั้ง
ขัดเกลากิเลสของตนเองในชีวิตประจำวัน เมื่อเห็นหรือทราบข่าวว่าเพื่อนผู้ศึกษา-
ธรรมร่วมกันมีความประพฤติที่ดีงาม มีศีล มีความเข้าใจธรรม และมีจิตใจที่ประกอบ
ด้วยเมตตา คอยเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ผู้อื่นให้ได้มีความเข้าใจธรรมตามแนวทางที่ถูกต้อง
พร้อมทั้งคอยพร่ำสอนผู้อื่นให้มีการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม อยู่เสมอ ๆ
เป็นต้น ก็มีจิตใจชื่นชม สรรเสริญ ในคุณความดีของผู้ศึกษาธรรมร่วมกันท่านนั้น
พร้อมทั้งน้อมพิจารณาประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ดีงามดังกล่าวนั้น นี้ก็เป็นธรรมที่เป็น
ไปเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่นเดียวกัน สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ๖ อย่าง
รัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้มี ๖ อย่าง ๖ อย่างเป็นไฉน
[๖๕] ดูก่อนอานนท์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความ
(๑) ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีกายกรรมประกอบด้วย
เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมพระพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี้
คือธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไป
เพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน ประการหนึ่ง.
(๒) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีวจีกรรมประกอบด้วย
เมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไป
เพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน.
(๓) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีมโนกรรมประกอบ
ด้วยเมตตา ปรากฏในเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่
ลับ นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ
เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 87
(๔) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุมีลาภใด ๆ เกิดโดย
ธรรม ได้โดยธรรม ที่สุดแม้เพียงอาหารติดบาตร เป็นผู้ไม่แย่งกันเอาลาภ
เห็นปานนั้น ไว้บริโภคแต่เฉพาะผู้เดียว ย่อมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ยทั่วไปกับเพื่อน
ร่วมพระพฤติพรหมจรรย์ผู้มีศีล นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำ
ความรัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
(๕) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอ
กันโดยศีล ในศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท
อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แตะต้อง เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ
เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ
นี้ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความรัก ทำความเคารพ เป็น
ไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน.
(๖) ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุถึงความเป็นผู้เสมอ
กันโดยทิฏฐิ ในทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะ อันนำออก ชักนำผู้กระทำตามเพื่อ
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ เห็นปานนั้น กับเพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ นี่ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำความ
รัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อความ
พร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ดูก่อนอานนท์ นี้แล ธรรม ๖ อย่าง เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน
ทำความรัก ทำความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 88
[๖๖] ดูก่อนอานนท์ ถ้าพวกเธอพึงสมาทานสาราณียธรรมทั้ง ๖
อย่างนี้ ประพฤติอยู่ พวกเธอจะยังเห็นทางว่ากล่าวพวกเราได้ น้อยก็ตาม
มากก็ตาม ซึ่งจะอดกลั้นไว้ไม่ได้ละหรือ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงสมาทานสาราณีย-
ธรรมทั้ง ๖ อย่างนี้ ประพฤติเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความ-
สุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ สามคามสูตรที่ ๔ ก็บุคคล พึงรู้แจ้งธรรมจากบุคคลใด พึงบูชาบุคคลนั้น
เหมือนเทวดา บูชาพระอินทร์ ฉะนั้น.
. . .
การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด จะมีความนอบน้อมเคารพ ในครูอาจารย์
หรือ ผู้ที่ให้ความเข้าใจเรื่องพระธรรมนั้น ก็ต้องกระทำ ในฐานะที่สมควรด้วย.
. . .
เพราะเหตุว่า ในบางครั้ง ท่านผู้นั้น
เคารพครูอาจารย์ จนเกินพระรัตนตรัย....ต้องขออภัยที่ใช้คำนี้
เพราะเหตุว่า บางท่าน ไม่สนใจที่จะสอบทานเทียบเคียงกับพระธรรมวินัย
แล้วแต่ว่า ผู้ที่เป็นครูอาจารย์ท่านนั้น จะกล่าวว่าอย่างไร
ก็พอใจในเหตุผล ของครูอาจารย์นั้น โดยไม่เทียบเคียงเหตุผล
ไม่สอบทานกับพระธรรมวินัย.....ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง.
. . .
เพราะการเคารพบุคคล ที่เป็นครูอาจารย์นั้น ก็ต้องเคารพ ในส่วนที่เป็นครูอาจารย์
แต่ไม่เหนือไปกว่า การเคารพพระรัตนตรัย นั่นคือ
การเคารพ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์.
. . .
การเคารพครูอาจารย์ ในความเมตตา ที่ท่านอนุเคราะห์แสดงธรรม
อุปการะ เกื้อกูลให้ได้เข้าใจพระธรรม
ต้องมีการสอบทานธรรมที่แสดงนั้น กับพระธรรมวินัย จนกระทั่งได้เหตุผล
แต่ไม่ใช่ว่าจะไปลบหลู่ ครูบาอาจารย์
แม้การแสดงธรรมนั้น จะคลาดเคลื่อนจากพระธรรมวินัย ที่ได้สอบทานแล้ว.
. . .
ผู้ที่เคารพครูบาอาจารย์ ย่อมมีความดี เปรียบได้กับเทวดา
ส่วนครูอาจารย์ ที่ให้ความรู้ในทางธรรมนั้น
เปรียบได้กับพระอินทร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าของเทวดา
แต่ไม่ใช่สูงกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.
. . .
ข้อความต่อไป มีว่า
บุคคลซึ่งพึงเป็นที่เคารพบูชานั้น บุคคลนั้นเป็นพหูสูต
ผู้อันเตวาสิกบูชาแล้ว มีจิตเลื่อมใสในอันเตวาสิกนั้น
ย่อมชี้แจงธรรม ให้แจ่มแจ้ง.
. . .
นี่ต้องเป็นเรื่องของทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งผู้ชี้แจงแสดงธรรม และผู้รับฟังธรรม
ผู้ที่ได้รับการนอบน้อมในฐานะครูอาจารย์
ก็ต้องมีจิตเลื่อมใส ในศรัทธาของผู้รับฟังธรรมด้วย
พร้อมทั้งอนุเคราะห์ ชี้แจงธรรมให้แจ่มแจ้ง แก่ผู้รับฟังธรรมด้วย.
. . .
ข้อความต่อไป มีว่า
บุรุษ ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คบบุคคล ผู้เป็นพหูสูต เช่นนั้น
กระทำธรรมนั้น ให้มีประโยชน์ ใคร่ครวญแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ย่อมเป็นผู้แจ่มแจ้งแสดงธรรม และ เป็นผู้ละเอียด.
. . .
พยัญชนะในพระไตรปิฎกละเอียดมาก เมื่อแสดงธรรมข้อใด
ก็ควรแสดงอรรถพยัญชนะ ให้สมบูรณ์ ในข้อความนั้น
แม้แต่ผู้ที่มีปัญญา ก็ไม่ประมาท...เมื่อคบบุคคลผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น
ก็ต้องกระทำธรรมนั้นให้มีประโยชน์ และการที่จะกระทำธรรมนั้นให้มีประโยชน์
ก็คือ ใคร่ครวญแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ย่อมเป็นผู้รู้แจ่มแจ้งเพื่อแสดงธรรมแก่บุคคลอื่น และต้องเป็นผู้ที่ละเอียด.
. . .
บุคคลผู้เป็นครู อาจารย์...เมื่อรู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว
ก็ไม่พึงเป็นผู้ไม่แสดงธรรมนั้นแก่ผู้อื่น...แต่ควรที่จะแสดงธรรมที่ได้ศึกษา
ได้ใคร่ครวญ ได้พิจารณา ได้เข้าใจแล้วนั้นต่อ ๆไป ด้วยความเป็นผู้ละเอียด
อย่าเป็นผู้ที่ฟังเผิน ๆ หรือว่าจับข้อความจากธรรมเพียงเผิน ๆ
โดยไม่ใคร่ควรญ พิจารณาธรรม ให้รอบคอบก่อน...แล้วแสดงธรรมแก่ผู้อื่น
ถ้าผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิด เห็นผิด ปฏิบัติผิด ตามไปด้วย
ก็เป็นอันตราย มากทีเดียว.
. . .
ข้อความต่อไป มีว่า
อันเตวาสิก ส้องเสพอาจารย์ ผู้ประกอบด้วยธรรมน้อย เป็นคนโง่เขลา
ผู้ยังไม่บรรลุประโยชน์ และริษยา ไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งในศาสนานี้ทีเดียว
ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ย่อมเข้าถึงความตาย.
. . .
นี่คืออันตรายอย่างยิ่ง....................
เพราะว่า ธรรมนั้น ไม่สามารถที่จะอุปการะ ให้พ้นจากความตาย
คือ ให้พ้นจากการที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏฏะต่อไปได้
แต่......ถ้าครู อาจารย์ ผู้นั้น ไม่เป็นผู้เขลา ไม่เป็นผู้มีธรรมน้อย
ก็ย่อมสามารถอุปการะ ให้อันเตวาสิก ผู้เป็นลูกศิษย์นั้น
บรรลุประโยชน์ และพ้นจากความตายได้ (พ้นจากวัฏฏะ)
. . .
ข้อความต่อไป มีว่า
บุคคล ไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งแล้ว
ไม่ใคร่ครวญเนื้อความ ในสำนักแห่งบุคคล ผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย
ไม่รู้ด้วยตนเอง ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ จะสามารถให้ผู้อื่นเพ่งพินิจได้อย่างไร
เหมือนคนข้ามกระแสน้ำ ที่มีน้ำมาก มีกระแสไหลเชี่ยว
ถูกน้ำพัดลอยไป ตามกระแสน้ำ
จะสามารถช่วยให้ผู้อื่นข้ามได้อย่างไร ฉันนั้น.
. . .
ผู้ใดขึ้นสู่เรือที่มั่นคง มีพายและถ่อพร้อมมูล ผู้นั้นรู้อุบายในเรือนั้น
เป็นผู้ฉลาดมีสติ...พึงช่วยผู้อื่นแม้มีจำนวนมากในเรือนั้นให้ข้ามฝั่งได้ แม้ฉันใด
ผู้ใดไปด้วยมรรคญาณทั้ง ๔...อบรม เป็นพหูสูต ไม่มีความหวั่นไหวเป็นธรรมดา
ผู้นั้นแล...รู้ชัดอยู่ พึงยังผู้อื่น...ผู้ตั้งใจสดับ
และสมบูรณ์ด้วยธรรม อันเป็นอุปนิสัย...ให้เพ่งพินิจได้ ก็ฉันนั้น.
. . .
เพราะเหตุนั้นแล บุคคลพึงคบสัตบุรุษผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต
บุคคล ผู้คบบุคคลเช่นนั้น รู้ชัดเนื้อความนั้นแล้ว ปฏิบัติอยู่
รู้แจ้งธรรมแล้ว พึงได้ความสุข.
. . .
ข้อความนี้ เตือนใจให้ท่านพิจารณาและใคร่ครวญในพระธรรม
เพราะอุปมา เหมือนคนข้ามแม่น้ำที่มีน้ำมาก มีกระแสไหลเชี่ยว
ถูกน้ำพัดลอยไปตามกระแสน้ำ ย่อมไม่สามารถช่วยผู้อื่นข้ามได้
แต่ผู้ใดขึ้นสู่เรือที่มั่นคง มีพายและถ่อพร้อมมูล ผู้นั้นย่อมรู้อุบายในเรือนั้น.
. . .
ถึงแม้จะฟังว่า การที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้นั้น จะต้องเจริญสติปัฏฐาน
จึงต้องเป็นผู้อบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘.
แต่ถ้าไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองมรรค ๘ นั้น ให้ถูกต้อง ด้วยความแยบคาย
คือ ด้วยความสมบูรณ์พร้อม ด้วยเหตุและผล
ก็เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่รู้อุบายในเรือ...คือ มีเรือจริง มีของหลายอย่างในเรือ
แต่ไม่ทราบว่า....ของนั้น มีไว้เพื่อประโยชน์อะไร
ก็ไม่สามารถใช้เรือนั้น ให้เป็นประโยชน์ได้ ฉันใด.
. . .
ในเรื่องมรรคมีองค์ ๘ ก็เช่นเดียวกัน
จะต้องมีการศึกษา ให้เข้าใจในเรื่องมรรคมีองค์ ๘
ไม่ให้คลาดเคลื่อน ไขว้เขว แล้วจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้อุบายในเรือนั้น
และสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเรือนั้น เพื่อพาไปให้ถึงฝั่งได้.
. . .
ฉะนั้น ไม่ว่าท่านจะฟังธรรมจากใคร ก็ควรที่จะได้มีการพิจารณา
ใคร่ครวญ สอบทานกับพระธรรมวินัย จนกระทั่งได้เหตุผลที่สมบูรณ์
ไม่ว่าท่านข้องใจเรื่องอะไร ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ก็มีข้อความอธิบายไว้แล้ว อย่างละเอียด.
. . .
จะเห็นได้ว่าผู้ที่ศึกษาธรรม เข้าใจธรรมแล้ว จะไม่เห็นว่า ตนเองนั้นสำคัญ
แต่สิ่งที่สำคัญ คือ พระรัตนตรัย
ท่านเหล่านั้น จะไม่คิดว่า ตนเองเป็นใหญ่
ไม่คิดว่าจะให้ใครๆ มากราบไหว้นับถือ เป็นครูบาอาจารย์
ไม่คิดว่า เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องมีศิษย์ หรือมีผู้มาฟังธรรม เป็นจำนวนมากๆ
ท่านเหล่านั้น จะไม่คิดถึงตัวท่านเลย แต่จะคิดถึง พระธรรมวินัย
และคิดถึง พระรัตนตรัย เป็นใหญ่. การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด จะมีความนอบน้อมเคารพ ในครูอาจารย์
หรือ ผู้ที่ให้ความเข้าใจเรื่องพระธรรมนั้น ก็ต้องกระทำ ในฐานะที่สมควรด้วย.
. . .
เพราะเหตุว่า ในบางครั้ง ท่านผู้นั้น
เคารพครูอาจารย์ จนเกินพระรัตนตรัย....ต้องขออภัยที่ใช้คำนี้
เพราะเหตุว่า บางท่าน ไม่สนใจที่จะสอบทานเทียบเคียงกับพระธรรมวินัย
แล้วแต่ว่า ผู้ที่เป็นครูอาจารย์ท่านนั้น จะกล่าวว่าอย่างไร
ก็พอใจในเหตุผล ของครูอาจารย์นั้น โดยไม่เทียบเคียงเหตุผล
ไม่สอบทานกับพระธรรมวินัย.....ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔-หน้าที่ 445 " บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด,พึงนอบน้อมอาจารย์นั้น
โดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงอยู่ฉะนั้น." ควรทราบว่า บัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะ บัญญัติเป็นเพียงเรื่อง หรือชื่อ
ของ ปรมัตถธรรม เพราะมีปรมัตถธรรม ชื่อ หรือคำบัญญัติจึงมี
บัญญัติ เป็นเหมือนเงาของปรมัตถธรรม... บัญญัติอารมณ์
ปญฺญตฺติ ( ให้รู้โดยประการต่างๆ , การแต่งตั้ง ) + อารมฺมณ ( สภาพที่ยึดหน่วงจิต ,
สิ่งที่ถูกจิตรู้ )
อารมณ์ที่จิตแต่งตั้งขึ้น หมายถึง ธัมมารมณ์อย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่สิ่งที่มีจริงโดย
ปรมัตถ์ แต่เป็นสิ่งที่ปรากฏแก่จิต เพราะจิตคิดนึกขึ้นจากสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น
บัญญัติอารมณ์จึงเป็นสัณฐาน เรื่องราวของจิตเจตสิก รูป จึงกล่าวได้ว่า บัญญัติ
เป็นเงาของอรรถ คือส่วนเปรียบของปรมัตถ์ ปรมัตถธรรมคือสภาพธรรมที่มีจริง มี จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติ
และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของปรมัตถธรรมเพราะบัญญัติไม่มีลักษณะให้รู้ ไม่มีจริง
เพราะไม่มีลักษณะ แต่เพราะมีปรมัตถธรรมนั่นแหละจึงมีบัญญัติธรรม เพราะมีขันธ์ 5
จิต เจตสิก รูปจึงบัญญัติว่าเป็นคนนั้น คนนี้ สัตว์ตัวนั้น ตัวนี้ เมือ่ไม่มีปรมัตถธรรมที่
เป็น จิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีการสมมุติเรียกว่าเป็นบุคคลนั้น สิ่งนั้น สิ่งนี้ เพระไม่มีสิ่งที่มี
จริงให้รู้ได้นั่นเอง จิต เจตสิก รูป ไม่ต้องเรียกชื่อแต่ก็มีลักษณะใหรู้ แสดงถึงความมีจริง เช่น แข็งเมื่อ
เราลองเอามือจับที่เก้าอี้ ลักษณะปรากฏคือความแข็ง ขณะนั้นเราไม่ต้องไปพูดว่านี่
แข็งน ะ แต่ลักษณะแข็งก็ปรากฏแล้ว และเพราะอาศัยลักษณะแข็งที่มีจริงนั่นแหละจึง
บัญญัติเรียกชื่อว่า แข็ง ชื่อที่เรียกว่าแข็งเป็นบัญญัติ ลักษณะแข็งเป็นปรมัตถ์เพราะมี
ลักษณะให้รู้ได้จริงๆ เพราะอาศัยปรมัตถ์ บัญญัติจึงมี
ขณะนี้เห็น เห็นอะไร ต้องเห็นเพียงสี สีมีจริง แต่จิตคิดนึกต่อหลังจากเห็นแล้ว เป็น
เรื่อง เป็นรูปร่างสัณฐานเป็นสัตว์ บุคคล (บัญญัติ) เพราะอาศัยปรมัตถ์คือ สีและการ
เห็น จึงมีบัญญัติเรื่องราวต่างๆ แต่บัญญัติไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปรมัตถ์ เพราะไม่มีจริง
เพราะไม่มีลักษณะให้รู้ คำว่า วิญญาณ ตามนัยของปฏิจจสมุปบาท หมายถึง โลกียวิบาก ๓๒
ไม่รวมวิญญาณอื่น (กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต โลกกุตรวิบาก)
คำว่า นามรูป ที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม หมายถึง เจตสิกที่เกิดร่วมกับ
โลกียวิบาก รูป หมายถึง กัมมชรูป คือรูปที่เกิดจากกรรมเท่านั้น
สรุปคือ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทต่างจากวิญญาณขันธ์ เพราะวิญญาณขันธ์ท่าน
หมายรวมจิตทุกประเภท และรูปก็เช่นกัน รูปขันธ์คือรูปทั้งหมด แต่ในปฏิจจสมุปบาท
หมายเอา กัมมชรูปเท่านั้น ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบความหมายขององค์ปฏิจจสมุปบาทแต่ละองค์ก่อน
คือ วิญญาณ หมายถึงจิต (วิบากจิต)
นาม หมายถึง เจตสิก
รูป หมายถึง กัมมชรูป
ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยกันเกิดขึ้น โดยปัจจัจหลายปัจจัย เช่น
เมื่อมีปฏิสนธิวิญญาณ เป็นปัจจัย นามคือ เจตสิก และกัมมชรูป จึงเกิดขึ้น..
ปาเจราจริยา โหนตุ คุณุตรานุศาสการ
ข้าขอประณตน้อมสักการ์ บุรพคณาจารย์
ผู้ก่อนเกิดประโยชน์ศึกษา อีกทั้งผู้ประสาทวิชา
อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา
อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติ เป็นศรี
ประโยชน์ทวี แก่ชาติ และ ประเทศไทยเทอญ
แม้ปัจจุบัน บทกลอนนี้จะเลือนหายไป ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ แต่เนื่องในวัน
ครูนี้ ขอนำบทกลอนนี้มากล่าวอีกครั้ง เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อครู
อาจารย์ทุกท่านที่ได้ประสิทธิประสาสน์วิชาทางโลก
คำว่าจุลโสดาบัน หมายถึง พระโสดาบันน้อย คือยังไม่ถึงความเป็นพระโสดาบัน
แต่ได้วิปัสสนาญาณขั้นที่ ๒ คือ ปัจจยปริคหญาณ พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ 99
ภิกษุนั้น ใคร่ครวญอยู่ว่า นามรูปนี้ เกิดขึ้นเพราะไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัยหามิได้ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุ มีปัจจัย ก็อะไรเล่า เป็น
เหตุ เป็นปัจจัยของนามรูปนั้น จึงกำหนดปัจจัยแห่งนามรูปนั้นว่า นาม
รูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะตัณหาเป็นปัจจัย เพราะ
กรรมเป็นปัจจัย เพราะอาหารเป็นปัจจัย ดังนี้แล้ว ย่อมก้าวล่วงความ
สงสัยในกาลทั้ง ๓ ว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ในกาลบัดนี้
(คือปัจจุบัน) ก็ดี ปัจจัยทั้งหลาย และธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นอกจากนี้แล้ว หามีสัตว์หรือบุคคลไม่ มี
แต่กองสังขารล้วน ๆ เท่านั้น ดังนี้. ก็วิปัสสนานี้ มีสังขารเป็นเครื่อง
กำหนด จึงชื่อว่า ญาตปริญญา. เมื่อภิกษุกำหนดสังขารแล้วดำรงอยู่อย่างนี้
รากฐานในศาสนาแห่งพระทศพลของเธอ ชื่อว่าหยั่งลงแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่งแล้ว
ภิกษุนั้น เป็นผู้ชื่อว่า พระจุลโสดาบันผู้มีคติแน่นอน. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้าที่ 323 ด้วยคำว่า เยสํมยํ สทฺธามตฺตํ เปมมตฺตํ นี้ท่านประสงค์เอาเหล่าบุคคล
ผู้เจริญวิปัสสนาที่ไม่มีอริยธรรมอย่างอื่น แต่มีเพียงความเชื่อ เพียงความรัก
ในพระตถาคตเท่านั้น. จริงอยู่ เหล่าภิกษุผู้นั่งเริ่มวิปัสสนาเกิดความเชื่อ
อย่างหนึ่ง ความรักอย่างหนึ่งในพระทศพล เธอก็เป็นเสมือนความเชื่อนั้น
ความรักนั้น จับมือไปวางไว้ในสวรรค์. นัยว่า ภิกษุเหล่านั้น มีคติที่แน่นอน.
ส่วนเหล่าพระเถระเก่า ๆ เรียกภิกษุเหล่านั้นว่า พระจุลลโสดาบัน.
คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอลคัททูปสูตรที่ ๒ เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ตื่นแต่เช้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ฟังธรรม เจริญอนุสติหลายอย่างเช่น พุทธานุสติ เทวตานุสติ สีลานุสติ มรณานุสติ วันนี้ได้ถวายสังฆทานยาอีก 1 ชุด และได้กรวดน้ำ ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ เจริญอนุสติหลายอย่าง ฟังธรรม ศึกษาธรรม ทำความสะอาดที่สาธารณะ และเมื่อวันก่อนนั้นได้ร่วมบุญถวายดอกไม้ บูชาพระ และได้สละเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของตนเองให้กับเพื่อนโดที่ตนเองไม่มีใส่ก็สามารถสละได้ และไปเจอะงูเขียวในห้องน้ำก็มีสติ แผ่เมตตาให้งูเขียวสักพักงูเขียวก็เลื้อยหนีไป โดยที่งูนั้นไม่ได้ทำอันตรายให้ และเมื่อเจิสุนัขตามถนนหนทางที่ดุร้ายเมื่อเดินผ่านก็ใช้บทแผ่เมตตาให้กับสุนัขสักพักสุนัขนั้นก็ไม่ทำอันตราย และได้เขียนจดหมายไปหาหลวงพ่อจรัญ เมื่อเขียนเสร็จก็ฝันเห็นหลวงพ่อจรัญและหลวงพ่อจรัญก็ให้คาถาในฝันคือ ให้ใช้บทแผ่เมตตา และอุทิศบุญ เพราะว่าการเจริญวิปัสสนานั้นเมื่อบารมีมากขึ้นเจ้ากรรมนายเวรก็จะเริ่มทวงและหลวงพ่อจรัญก็มาหาในฝันอีกหลายหนก็พยายามเตือนเรา ก็ขอขอบพระคุณหลวงพ่อมากที่มีความเมตตามาหาในฝักขนาดเขียนจดหมายไปหาท่านท่านก็มาในฝันได้ และเมื่อมีอาการปวด หรือร้อนตอนเจริญวิปัสสนาก็ใช้หลักการ แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวร อาการป่วยต่างๆก็หายไป และตั้งใจว่าจะกำหนดอิริยาบทย่อย และสนทนาธรรมกับผู้รู้เรื่องของอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานเพื่อที่จะได้ฝึกวิปัสสนาต่อไป ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมงานนมัสการหลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโสธรเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ มีประชาชนพุทธบริษัททั้งใกล้และไกลเป็นที่นับถือ และที่ผู้ไปนมัสการไม่ขาด ทางวัดจึงจัดให้มีงานเทศกาลฉลององค์หลวงพ่อปีหนึ่งมีสองครั้ง คือ 1. งานเดือน 5 เรียกว่างานกลางเดือน 5 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 14-15 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน 2. งานเดือน 12 เรียกว่างานกลางเดือน 12 เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรผลนิพพานเทอญ
|