Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ข้อความ

อังคาร 19 ม.ค. 2010 8:53 am

ข้อความบางตอนจากอรรถกถามีว่า

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในปฏิจจสมุปบาทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสอวิชชาไว้แต่ต้น แม้อวิชชาก็ไม่มีอะไรเป็นเหตุ เป็นเหตุเดิมของโลก

เหมือนความคงที่ของพวกปกติวาทีหรือ ?

ตอบว่า อวิชชา มิใช่ไม่มีเหตุ เหตุแห่งอวิชชา พระองค์ตรัสว่า

อาวสมุทยา อวิชฺชาสมุทโย (อวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาสวเกิดขึ้น) ดังนี้.

(อวิชชาเกิดขึ้น เพราะอาสวเกิดขึ้น) ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 197

ข้อความบางตอนจาก อวิชชาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ

ไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความ

ไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ใน

ใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์

ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่

บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์

ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง

นิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์

อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.


อวิชชาสวะ เป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาสวะ เป็นการ

สั่งสม การหมักดองความไม่รู้มานานแสนนาน ไม่รู้เบื้องต้นและเบื้องปลาย เป็นเหตุ

ให้เราวนเวียนอยู่ในวัฏฏะ
อกุศลศีล หมายถึง ศีลที่เป็นอกุศล (อกุศลจิต) ในความหมายศีลที่แปลว่า ปกติ

กุศลศีล หมายถึง ศีลที่เป็นกุศล (กุศลจิต)

และกุศลศีลมีหลายนัย บางนัยท่านแสดงสติปัฏฐาน เป็นกุศลศีล

ดังข้อความในพระสูตรต่อไปนี้



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

[๗๖๙] อา. ดูก่อนท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

ดูก่อน. ท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว

ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ ...............



พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

อนึ่ง บทว่า อกุสลสีลํ นี้พึงทราบว่าเป็นชื่อของบุคคลทุศีลบ้าง

เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอกุศลบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

ศีลมีเท่าไร ? ศีลมี ๓ คือ กุศลศีล อกุศลศีล อัพยากตศีล.

ในการแก้ปัญหาว่า กติ สีลานิ - ศีลมีเท่าไร เพราะปกติของ

สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ในโลก ท่านกล่าวว่า สีลํ ไว้ในบทนี้ว่า

กุสลสีลํ - กุศลเป็นศีล อกุสลสีลํ - อกุศลเป็นศีล อพฺยากตสีลํ -

อัพยากฤตเป็นศีล, อาจารย์ทั้งหลายกล่าวหมายถึงศีลว่า นี้เป็น สุขศีล

- ความสุขเป็นศีล นี้เป็น ทุกขศีล - ความทุกข์เป็นศีล นี้เป็น

กลหศีล - การทะเลาะกันเป็นศีล นี้เป็น มัณฑนศีล - การตบแต่ง

เป็นศีล. ฉะนั้นโดยปริยายนั้น แม้ อกุสลศีล ท่านก็กล่าวว่าเป็นศีล

ด้วยการยกเอาความขึ้น แต่ศีลที่ท่านประสงค์เอาในที่นี้ไม่มีเพราะบาลี

ว่า สุตฺวาน สํวเร ปญฺญา - ปัญญาในการฟังแล้วสำรวม ดังนี้.

อนึ่ง เพราะจิตที่สัมปยุต เป็นสมุฏฐานของศีลอันเป็นประเภท

มีเจตนาเป็นต้น, ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า กุสลจิตต-

สมุฏฺฐานํ กุสลสีลํ - กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน..

คำว่า ศีล แปลได้หลายความหมาย เช่น ปกติ ศรีษะ มูลราก เย็น หรือ เกษม

ดังข้อความในวิสุทธิมรรคดังนี้

วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 15

[ อรรถแห่งศีล ]

จะแก้ในปัญหาที่เหลือ (ต่อไป) ปัญหาข้อว่า "ที่เรียกว่าศีล

เพราะอรรถว่ากระไร ?" แก้ว่า " ที่เรียกว่าศีลเพราะอรรถว่าเป็น

สีลนะ (คือเป็นมูลราก) ชื่อว่าสีลนะนี้เป็นอย่างไร ? ชื่อว่าสีลนะ

นี้ คือ กิริยาที่รวมเอาไว้อย่างดี หมายความที่กรรมในทวาร

มีกายกรรมเป็นต้น ไม่กระจัดกระจาย โดยความมีระเบียบอันดีอย่าง ๑

คือความเข้าไปรับไว้ หมายความเป็นที่รองรับ โดยความเป็น

ที่ตั้งอาศัยแห่งกุศลธรรมทั้งหลายอย่าง ๑ ก็อาจารย์ผู้รู้ลักษณะแห่ง

ศัพท์ทั้งหลาย เห็นชอบด้วยอรรถ ๒ อย่างนี้เท่านั้น ในสีลศัพท์นี้

ส่วนอาจารย์อื่น ๆ พรรณนาอรรถในสีลศัพท์นี้ไว้ โดยนัย (ต่าง ๆ)

เช่นว่า สีลศัพท์มีอรรถว่าสิระ มีอรรถว่าสีสะ มีอรรถว่าสีตละ (เย็น)

มีอรรถว่าสิวะ (เกษม) ดังนี้เป็นอาทิ.

"เพราะจิตที่สัมปยุต เป็นสมุฏฐานของศีลอันเป็นประเภทมีเจตนาเป็นต้น,

ฉะนั้นพระสารีบุตรจึงกล่าวบทมีอาทิว่า กุสลจิตต-สมุฏฺฐานํ กุสลสีลํ -

กุศลศีลมีกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน."

ในอรูปพรหม มี ฉัฏฐายนะ คือ อายตนะที่ ๖ ได้แก่ มนายตนะ

แม้อสัญญสัตตาพรหมภูมิ ก็ยังไม่พ้นวัฏฏะ ยังมีภพอยู่ ก็ไม่พ้นจาก

ชาติ ชรา มรณะ...

ในพระไตรปิฎกใช้คำว่า อสัญญสัตตาพรหม มีแต่รูป ไม่มีนาม
อรูปพรหมภูมิ มีแต่นาม ไม่มีรูป
พรหมทั้ง ๒ ไม่มีทุกขเวทนา แต่เป็นทุกข์เพราะไม่เที่ยง ต้องตายจากภพนั้น
อรูปพรหม มีสังขาร มีอวิชชา ส่วนอสัญญสัตตา อกุศลธรรม และนามธรรม

ไม่เกิด แต่มิได้หมายความว่า ดับได้แล้ว เมื่อจุติจากภพนั้นก็มี อวิชชา สังขาร

เกิดขึ้นอีก
เมื่อเอ่ยถึงประเทศศรีลังกา หลายท่านก็คงพอทราบได้ว่าเป็นประเทศที่นับถือพระ-

พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธ

ศาสนาในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้หมาย

ความถึง จำนวนวัดวาอารามหรือศาสนวัตถุต่างๆ แต่หมายถึงจิตใจของบุคคลที่มีความ

เข้าใจพระธรรม คำสั่งสอนอันเป็นเหตุให้บรรลุธรรม ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นใน

อนาคตกาลว่า พระศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองที่ประเทศศรีลังกาอันหมายถึงมีบุคคลต่างๆ

มากมายมีศรัทธาอันประกอบด้วยปัญญา ที่เข้าใจพระธรรมจนมีผู้ที่บรรลุธรรมนั่นเอง

ซึ่งหากเราได้เข้าใจประวัติของประเทศศรีลังกาอย่างแท้จริงแล้ว ตามที่พระธรรมที่

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ก็จะทำให้เราซาบซึ้งเมื่อได้ไปประเทศศรีลังกา หรืออยากที่

จะไปศรีลังกาเพราะได้เข้าใจประวัติศรีลังกานั่นเอง ข้าพเจ้าจึงขอนำประวัติศรีลังกา

อันเป็นพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นการบูชาคุณพระรัตนตรัยให้สัตว์ทั้ง-

หลาย ได้เจริญในอริยทรัพย์มีศรัทธาและปัญญา เป็นต้น

ประวัติความเจริญในพระพุทธศาสนาประเทศศรีลังกา

ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชาผู้ปกครองประเทศอินเดีย พระเจ้าอโศกได้

นับถือพระพุทธศาสนา มีศรัทธาอย่างมาก ได้ถวายพระวิหารแด่พระภิกษุสงฆ์แปดหมื่น

สี่พันหลังและได้ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาคือ พระมหินทกุมารและพระนางสังฆ-

มิตตาออกบวช ซึ่งพระมหินทเถระได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะที่อุปสมบทนั่นเอง

ต่อมาก็มีผู้มีศรัทธาออกบวชมากมาย ลาภสักการะเจริญขึ้นกับพระพุทธศาสนา แต่พวก

นอกศาสนาเสื่อมลาภ สักการะ เพราะเหตุนั้นพวกอัญญเดียรถีย์จึงปลอมบวชเป็นพระ

ภิกษุ จนเป็นเหตุให้มีการสังคายนาครั้งที่สามและเมื่อเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้วก็ได้มี

การตั้งพระภิกษุเผยแพร่พระศาสนาในที่ต่างๆ รวมทั้งที่เกาะตัมพปัณณิทวีป(ศรีลังกา)

ซึ่งทางคณะสงฆ์ได้ตั้งพระมหินเถระ (พะราชโอรสของพระเจ้าอโศก)ไปประกาศพระ-

ศาสนาที่ศรีลังกา
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

[พระมหินทเถระไปประกาศพระศาสนาที่เกาะลังกา]

ส่วนพระมหินทเถระ ผู้อันพระอุปัชฌายะ และภิกษุสงฆ์เชื้อเชิญว่า

ขอท่านจงไปประดิษฐานพระศาสนายังเกาะตัมพปัณณิทวีปเถิด ดังนี้ จึง

ดำริว่า เป็นกาลที่เราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือยังหนอ ? ครั้งนั้น

เมื่อท่านใคร่ควรอยู่ ก็ได้มีความเห็นว่า ยังไม่ใช่กาลที่ควรจะไปก่อน.

ถามว่า ก็พระเถระนั้น ได้มีความเห็นดังนี้ เพราะเห็นเหตุการณ์อะไร ?

แก้ว่า เพราะเห็นว่า พระเจ้ามุฏสีวะ ทรงพระชราภาพมาก.

.บัดนี้ เป็นเวลาที่ควรจะไปยังเกาะลังกาหรือยังหนอแล. ลำดับนั้น ท่าน

ดำริว่า ขอให้พระราชกุมารพระนามว่า เทวนัมปิยดิส เสวยอภิเษก ที่

พระชนกของเราทรงส่งไปถวายเสียก่อน, ขอให้ได้สดับคุณพระรัตนตรัย

และเสด็จออกไปจากพระนคร เสด็จขึ้นสู่มิสสกบรรพตมีมหรสพเป็นเครื่อง

หมาย, เวลานั้น เรา จักพบพระองค์ท่านในที่นั้น. พระเถระ ก็สำเร็จ

การพักอยู่ที่เวทิสคิรีมหาวิหารนั้นและ สิ้นเดือนหนึ่งต่อไปอีก.

ก็โดยล่วงไปเดือนหนึ่ง คณะสงฆ์และอุบาสกแม้ทั้งหมด ซึ่งประชุม

กันอยู่ในวันอุโบสถ ในดิถีเพ็ญแห่งเดือนแปดต้น (คือวันเพ็ญเดือน ๗)

ได้ปรึกษากันว่า เป็นกาลสมควรที่พวกเราจะไปยังเกาะตัมพปัณณิทวีปหรือ

ยังหนอ ? เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวว่า

ในกาลนั้น ได้มีพระสังฆเถระ

ชื่อมหินท์โดยนาม ๑ พระอิฏฏิยเถระ ๑ พระ-

อุตติยเถระ๑ พระภัททสาลเถระ ๑ พระสัมพล

เถระ ๑ สุมนสามเณร ผู้ได้ฉฬภิญญา มี

ฤทธิ์มาก ๑ ภัณฑกอุบาสก ผู้ได้เห็นสัจจะ

เป็นที่ ๗ แห่งพระเถระเหล่านั้น ๑, ท่าน

มหานาคเหล่านั้นนั่นแล พักอยู่ในที่เงียบ-

สงัด ได้ปรึกษากันแล้ว ด้วยประการฉะ

นี้แล.

[พระอินทร์ทรงเล่าเรื่องพุทธพยากรณ์ถวายให้พระมหินท์ทราบ]


เวลานั้น ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพ เสด็จเข้าไปหาพระมหินทเถระ

แล้วได้ตรัสคำนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! พระเจ้ามุฏสีวะ สวรรคต


แล้ว, บัดนี้ พระเจ้าเทวานัมปิยดิสมหาราชเสวยราชย์แล้ว, และสมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงพยากรณ์องค์ท่านไว้แล้วว่า ในอนาคต ภิกษุ

ชื่อมหินท์ จักยังชาวเกาะตัมพปัณณิทวีปให้เสื่อมใส ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้

เจริญ !เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐ

แล้ว แม้ กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย.


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจึงได้ตรัสอย่างนั้น ?


แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

ที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติแห่งเกาะนี้ในอนาคต

จึงได้ตรัสบอกความนั่นแก่ท้าวสักกะนั้น และทรงสั่งบังคับไว้ด้วยว่า ในเวลา

นั้น ถึงบพิตรก็ควรร่วมเป็นสหายด้วย, ดังนี้ ฉะนั้น ท้าวสักกะ จึงได้ตรัส

อย่างนั้น.


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานภัทตราหาร ได้เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน รักษาศีล
สวดมนต์ เดินจงกรม เจริญ อนุสติ 8 อย่าง ตั้งแต่พุทธานุสติถึง อุปสมานุสสติ
และมรณานุสติ กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ อาราธนาศีล
เมื่อวานนี้ได้รักษาผู้ป่วยฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และวันนี้ตั้งใจว่าจะสวดมนต์
นั้งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย เจริญอนุสติหลายอย่าง ศึกษาการรักษาโรค
ศึกษาธรรม ฟังธรรม และวันนี้ได้ให้อภัยทานด้วย เมื่อวานนี้ได้ให้อภัยอีก
และได้อฐิษฐานจิตเป็นอฐิษฐานบารมี ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมบวชเนกขัมมะบารมี และทอดผ้าป่าสามัคคี

เนื่องในวันกองทัพไทย ประจำปี 2553

เพื่ออุทิศบุญกุศลถวายแด่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

และวีรบุรุษนักรบไทย

ณ สำนักสงฆ์ธรรมสิริมงคล (วัดสนามชัย)

ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ในวันพุธที่ 27 มกราคม 2553 ถึงวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553

ในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม 2553 หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ

เมตตาเป็นองค์แสดงธรรม และรับผ้าป่าสามัคคี

สอบถามรายละเอียด : โทร. 081 - 981 - 4664


ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้