การจะอยู่ในเพศไหนขึ้นอยู่ที่อัธยาศัยและการสะสม แต่ละท่านมีความเห็นต่างกัน
ลองอ่านข้อความบางตอนจากพระสูตรและอรรถกถานี้ดูครับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309
..........คฤหบดี บุตรคฤหบดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้
ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาส
คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้
ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์
ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาว-
พัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ...
.....บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส ความว่า แม้ถ้าว่าผัวเมียอยู่ใน
เรือน ๖๐ ศอก หรือแม้ในที่ระหว่างร้อยโยชน์แม้อย่างนั้น การครองเรือน
ก็คับแคบอยู่นั้นเอง เพราะอรรถว่า เขาเหล่านั้นมีกังวลห่วงใย.
บทว่า รชาปโถ ในมหาอรรถกถาแก้ว่า ที่เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งธุลีมี
ราคะเป็นต้น . บางท่านกล่าวว่า อาคมปโถ ทางเป็นที่มา ดังนี้ก็มี.
ชื่อว่า อพฺโภกาโส ด้วยอรรถว่า เป็นเหมือนกลางแจ้ง เพราะ
อรรถว่า ไม่ติดขัด.
จริงอยู่ บรรพชิตแม้อยู่ในที่ปกปิดมีเรือนยอดปราสาทแก้วและเทพ
วิมานเป็นต้น ซึ่งมีประตูหน้าต่างปิดมิดชิด ก็ไม่เกี่ยวไม่ต้อง ไม่พัวพัน...
อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาสชื่อว่าคับแคบ เพราะไม่มีโอกาสทำกุศล ชื่อ
ว่าเป็นทางมาแห่งธุลี เพราะเป็นที่ประชุมแห่งธุลีคือกิเกส ดุจกองหยากเยื่อ
ที่ไม่ได้รักษา เป็นที่รวมแห่งธุลีฉะนั้น. บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง
เพราะมีโอกาสทำกุศลตามสบาย...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 449
๕. วัจฉนขชาดก
ว่าด้วยดาบสผู้มีเล็บงาม
[๓๑๙] ข้าแต่ท่านวัจฉนขะ เรือนทั้งหลายที่มีเงินและโภชนาหาร
บริบูรณ์ เป็นเรือนมีความสุขท่านบริโภคและดื่มในเรือนใด ไม่ต้องขวนขวายก็ได้
นอน.
[๓๒๐] บุคคลผู้เป็นฆราวาส ไม่มีมานะทำการ งานก็ดี ไม่กล่าวคำ
มุสาก็ดี...ไม่ใช้อำนาจลงโทษ ผู้อื่น การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ใคร
เล่าจะครอบครองเรือนไม่ให้บกพร่อง ให้เกิดความยินดีได้แสนยากเล่า.
จบ วัจฉนขชาดกที่ ๕ อวิชชา" คือ โมหะ
ถ้าแปลเป็นไทย ก็คือ ความไม่รู้ ความโง่ ความหลง
ซึ่งท่านเปรียบเหมือนความมืด
ส่วนธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้ามกับ "อวิชชา" คือ "วิชชา"
ซึ่งเปรียบเหมือนแสงสว่าง.
ผู้ที่จะหมดอวิชชา หรือ ดับอวิชชาได้ นั้น
จะต้องมีการอบรม ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือ เป็นข้าศึกของ อวิชชา
ซึ่งหมายถึง การอบรมเจริญ "วิชชา"
คำว่า "วิชชา" เป็นชื่อหนึ่งของ "ปัญญา" คือ ความรู้
ความรู้มีหลายขั้น หลายระดับ เช่นเดียวกับ "บุญ"
"บุญ" มีตั้งแต่ขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นภาวนา
แม้บุญขั้นทาน (ขั้นศีล) ก็มีหลายระดับ เช่นกัน.
เพราะฉะนั้น ปัญญา เริ่มตั้งแต่ขั้นการฟัง
ขั้นความเข้าใจ ขั้นพิจารณา จนกระทั่งถึงขั้นประจักษ์แจ้งแทงตลอด
สามารถดับอวิชชาได้ คือ การดับกิเลสประเภทอวิชชา หรือ โมหะ ตามลำดับขั้น
ซึ่งต้องอาศัยการสั่งสม การอบรมทีละเล็กทีละน้อย ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป.
จากการศึกษาพระพุทธประวัติ และ ประวัติของพระสาวก จะเห็นได้ว่า
กว่าที่ท่านจะดับกิเลสได้...ต้องอาศัยการสะสมความเข้าใจมาเป็นเวลาที่นานมาก
ไม่ใช่แค่ชาติเดียว หรือ ๒ ชาติ หรือ ๑๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ...ไม่ใช่แค่นั้น
แต่เป็นกัปป์ เป็นแสนกัปป์ เป็นอสงขัยแสนกัปป์
และพระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงหนทางเพื่อดับอวิชชา คือ ความไม่รู้
หนทางที่ทรงแสดง คือ อริยมัคค์มีองค์ ๘
อันเป็นหนทางเพื่อดับอวิชชา หรือ อมิตรภายใน ศัตรูภายใน
ส่วน บุญ และ กุศลธรรมทั้งหลาย เป็นมิตรภายใน
เป็นผู้มีอุปการะคุณที่จะทำให้ผู้ที่เป็นมิตร พ้นจากอันตรายได้โดยตลอด.
การที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังสารวัฏฏ์นี้ได้
ก็ต้องอาศัย "การสั่งสมคุณความดี" เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะถึงความสวัสดี
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคฯ จึงทรงแสดงบุญ ซึ่งเป็นมิตรภายใน
ในเรื่องของการที่จะไปถึงฝั่ง (นิพพาน) คือ ความสวัสดีจริง ๆ นั้น
ต้องอาศัย "บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ" คือ "บารมี" "บุญที่ประกอบด้วยปัญญา คือ บารมี"
ทานที่ทำแล้วหวังผล เช่น เพื่อความร่ำรวย เป็นต้น...ไม่ใช่ ทานบารมี
การรักษาศีลเพื่อผล คือ ความสวยงามหรือการเกิดในสวรรค์ เป็นต้น...ไม่ใช่ ศีลบารมี
เมื่อไม่ใช่บารมี ก็ไม่ใช่มิตรที่แท้จริง ที่จะทำให้ถึงฝั่งโดยสวัสดิภาพ.
เพราะฉะนั้น มิตรที่แท้จริง จึงหมายถึง บุญ หรือ กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
และก่อนที่จะถึง "โลกุตตรปัญญา" ก็ต้องอาศัย "บุญที่ประกอบด้วยปัญญา"
ซึ่งหมายถึง บุญขั้นภาวนา คือ การเจริญสติปัฏฐาน
เพราะปัญญาเพียงขั้นทาน ขั้นศีล (ขั้นสมถะ)
ยังไม่สามารถที่จะทำให้ถึงฝั่ง คือ พระนิพพาน ได้
เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า"บุญ" จึงต้องแสดงโดยหลายนัย จึงจะเข้าใจ
เรื่องของบุญที่จะทำลาย "อวิชชา" หรือ ความไม่รู้ หรือ โมหะ นั้น
ต้องอาศัยบุญที่เป็นปฏิปักษ์ หรือ เป็นข้าศึกของอวิชชา
คือ "บุญที่ประกอบด้วยปัญญา" เพราะฉะนั้น ก็คงไม่ต้องเลือกนะครับ...เพราะธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ แต่ปัจจัย
ถ้าเข้าใจพระธรรมจริง ๆ...ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด ตำแหน่งใด
ก็สามารถเป็นคนดี และ อบรมเจริญปัญญาได้
และที่สำคัญ การที่มีโอกาสเป็นผู้นำ และ มีโอกาสทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
อันนั้น ก็ถือเป็นการเจริญเมตตา และ เป็นมิตรได้อีกทางหนึ่งเลยนะครับ.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานโดยได้ใส่บาตรโดยท่องคำถวายสังฆทาน ได้ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญอนุสติกรรมฐาน 8 อย่าง ได้ทำความสะอาดที่สาธารณะ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ศึกษาพระธรรม ฟังธรรม ศึกษาตำราการรักษาโรค เมื่อวานนี้ได้รักษาผู้ ป่วยฟรีโดยไม่คิดเงิน ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ กรวดน้ำอุทิศบุญ และวันนี้รักษาสัจจะอย่างยิ่งโดยถ้าว่าไปแล้วยอมสละแม้แต่ทรัพย์สินก็สละได้ คือว่าได้นัดกับเพื่อนไว้และได้ขับรถซึ่งระหว่างทางมีหลุมตามถนน ขณะขับรถนั้นก็ได้เจริญวิปัสสนากำหนดอิริยาบทย่อยไปด้วยถึงจะรีบก็ตาม เพื่อไม่ให้ผิดสัจจะก็ยอมสละรถ รถที่ขับไปนั้นล้อไม่ค่อยดีถึงจะเสียเงินไปเยอะก็ยอม กับคำสัจที่ได้ตั้งไว้ เมื่อไปถึงเพื่อนที่นัดได้ผิดนัดไม่ได้มาก็ไม่เจอะเพื่อนก็ไม่โกรธก็ให้อภัย เป็นอภัยทานแก่เพื่อน และได้อาราธนาศีล 2 ครั้งเพื่อป้องกันศีลขาก ทะลุ ด่าง รักษาศีล และตั้งใจว่าจะฟังธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย สนทนาธรรม ให้อภัยทาน และวันี้ได้อฐิษฐานจิตเป็นอฐิษฐานบารมี และวันนี้ได้มีผู้มา ต่อว่าและเราก็อุเบกขาวางเฉยไม่โกรธ และให้อภัยทานแก่บุคลนั้น และวันนี้ได้แผ่เมตตา และวันนี้เป็นวันที่ได้บำเพ็ญบารมี ครบ 10 อย่าง ตั้งแต่ทานบารมี ถึงอุเบกขาบารมี ครบ 10 อย่าง และได้ทำบุญกิริยาครบ 10 อย่าง และทุกวันก็ได้บำเพ็ญบารมีครบ 10 อย่าง แต่วันนี้พิเศษกว่าวันอื่น ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมเข้าคอร์สสมาธิ ตามหลักสติปัฏฐานสี่ ณ บ้านสว่างใจ วัดถ้ำกฤษณาธรรมมาราม ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา . ซึ่งจัดเป็นประจำทุกเสาร์ต้นเดือน . ท่านที่มีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมคอร์สสมาธิที่เขาใหญ่
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานวัดสังฆทาน โทร 02-496-1240-42 และ Fax 0-2496-1243
มีรถรับ - ส่งที่วัดสังฆทาน เวลา 11.30 น. สำรองที่นั่งบนรถ
ขอให้สรรพสัตว์ทึ้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|