ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สถานที่ควรเห็น
ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่งนี้
๔ แห่งเป็นไฉน ? พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้ พระตถาคตทรง ประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ที่นี้
พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต
เล่ม ๒ - หน้าที่ 315 สังเวชนียสูตร
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในโลกนี้หรือในโลกอื่น
หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์
ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย
พุทธรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
ข้อความบางตอนจาก... รัตนสูตร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่
พระโสมาเถรีกล่าวว่า
เมื่อจิตตั้งมั่นดี เมื่อญาณเป็นไปอยู่
เมื่อเราเห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยชอบ
ความเป็นหญิงจะทำอะไรได้
เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวงแล้ว
ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้
ดูก่อนมาร ผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านถูกเรากำจัดแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา
เล่ม ๒ ภาค ๔ - หน้าที่ 111 โสมาเถรีคาถา
ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ ชั้นไตรทศ
ได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่า
ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้
ไทยธรรม(ของที่ให้)ที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว
ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก
เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า
หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณาไม่ชื่อว่าน้อยเลย
มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลาย
ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคต
ให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ
เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383 ปีตวิมาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะหลอกลวงชน
ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน
ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ
ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วยอาการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ที่แท้พรหมจรรย์นี้
ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติเพื่อการสำรวมและเพื่อการละ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก
เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 207 ปฐมนกุหนาสูตร
"...เราแสวงหานายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา
เมื่อไม่พบ ก็ต้อง ท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้สร้างเรือนคือตัณหา เราพบท่านแล้ว
ท่านจักสร้างเรือนแก่เราไม่ได้แล้ว โครงสร้างเรือนของท่าน เราก็หักหมดแล้ว
ยอดเรือนคืออวิชชา เราก็รื้อเสียแล้ว จิตเราถึงวิสังขาร
ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว..."
(พระพุทธอุทาน หลังจากที่ทรงตรัสรู้ ณ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์)
พระมูลคันธกุฎี ตั้งอยู่บนยอดเขา อากาศเย็นสบายและไม่สูงนัก พอที่พระพุทธองค์
จะทรงเสด็จพระดำเนินขึ้นสบายๆ
พระเจ้าพิมพิสาร โปรดให้สร้างทางเป็นขั้นบันไดเพื่อทรงพุทธดำเนินได้โดยสะดวก
และ พระองค์เองก็เสด็จขึ้นไปเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์บ่อยๆเช่นกัน
"...จงเริ่มพยายามขวนขวายในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดเสนาของมัจจุมาร
เหมือนกุญชรช้างประเสริฐ ย่ำยีเรือนไม้อ้อฉะนั้น
ผู้ใดไม่ประมาท เห็นแจ้งในพระธรรมวินัยนี้
ผู้นั้นจักละชาติสงสาร จักทำที่สุดทุกข์ได้..."
"...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้าง ขึ้นไปบนอากาศแล้ว
บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี
บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี
บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด
สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์คืออวิชชา
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ
ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี
บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้น เหมือนกัน
ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔..."
นาลันทา อยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ ๑๖ ก.ม. เป็นบ้านเกิดของ ท่านพระสารีบุตร
และ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กับทั้งท่านพระสารีบุตร
ยังได้กลับมาปรินิพพานที่บ้านเกิดของท่านอีกด้วย
นาลันทา เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เคยรุ่งเรืองที่สุดในโลก
มีนักศึกษาที่เป็นภิกษุจำนวนนับหมื่นรูป และมีอาจารย์สอนถึงราว ๑,๔๐๐ ท่าน
แต่ถูกทำลายโดยกองทัพชาวมุสลิม คณาจารย์และนักศึกษาถูกฆ่าจนหมดสิ้น
อาคารต่างๆถูกเผาทำลายทั้งหมด ปัจจุบันเหลือเพียงซากปรักหักพัง
สะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต ที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้
เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับพระอัครสาวกทั้งสองท่าน คือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
และ ท่านพระสารีบุตร
"...เมื่อหมอที่จะเยียวยาความเจ็บป่วยมีอยู่
ถ้าไม่แสวงหาหมอนั้น ไม่ยอมให้หมอนั้นเยียวยาความเจ็บป่วย
นั่นไม่ใช่ความผิดของหมอ
เป็นความผิดของบุรุษนั้นแต่ผู้เดียว ฉันใด
ก็ผู้ใดถูกความเจ็บป่วย คือ กิเลสบีบคั้นหนัก
ไม่แสวงหาศาสดาผู้ฉลาดในทางระงับกิเลสซึ่งมีอยู่
ก็เป็นความผิดของบุรุษผู้นั้นผู้เดียว
ไม่ใช่ความผิดของศาสดา
ผู้ขจัดความเจ็บป่วยคือกิเลส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน..."
"...อยู่ไปโดยไม่รู้ว่าวันไหน จะมีความทุกข์อย่างมาก
จะป่วยเจ็บไข้อย่างหนัก จะพิการ จะสูญสิ้นทรัพย์สมบัติหมด
เมื่อไม่รู้สาเหตุ ความทุกข์ก็ย่อมมาก
ถ้าสามารถเข้าใจธรรมซึ่งเป็นเหตุเป็นผล
จะเห็นพระคุณของพระธรรม..."
สถานที่ต่อไปคือ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน พระพุทธองค์เคยเสด็จมาที่เวสาลี หลายครั้ง
แต่ละครั้งจะทรงประทับที่ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เป็นส่วนใหญ่ พระสูตรหลาย
พระสูตรเกิดขึ้นที่เมืองแห่งนี้ และที่กูฏาคารศาลานี่เอง ที่เป็นที่ ๆ พระพุทธองค์
ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระน้านางของพระพุทธองค์
สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้เป็นรูปแรกในโลก พร้อมทั้งบริวาร
"...ได้ยินว่า พระมหาจุนทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การฟังดีเป็นเหตุให้การฟังเจริญ การฟังเป็นเหตุให้เจริญปัญญา
บุคคลจะรู้ประโยชน์ก็เพราะปัญญา
ประโยชน์ที่บุคคลรู้แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
ภิกษุควรซ่องเสพเสนาสนะอันสงัด
ควรประพฤติธรรมอันเป็นเหตุ ให้จิตหลุดพ้นจากสังโยชน์
ถ้ายังไม่ได้ประสบความยินดี ในเสนาสนะอันสงัดและธรรมนั้น
ก็ควรเป็นผู้มีสติรักษาตน อยู่ในหมู่สงฆ์. ฯลฯ..."
หวลคิดพิจารณาในพระพุทธดำรัสกับท่านพระอานนท์ที่ว่า
".........ดูก่อนอานนท์
ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายยัง
พระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต.แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของ ทิพย์
แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์...แม้ดนตรีอ้นเป็นทิพย์เล่า...แม้
สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ดูก่อนอานนท์
พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่อง
สักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา
ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่
ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุ
นั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่..."
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ 306-307 อีกพระพุทธดำรัสหนึ่งที่ควรค่าแก่การระลึกถึง.... (๑๔๑) ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า
ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดา ล่วง
แล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี
วินัยก็ดีอันใดเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัย
อันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑-หน้าที่ 320 พระปัจฉิมวาจา
(๑๔๓) ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด. นี้เป็นพระ
ปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑-หน้าที่ 322 "...ในกาลบางครั้งบางคราว การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากในโลก
ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล
ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้..."
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔
[๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้
ในกาลที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
พวกภิกษุเหล่านี้นั้น ที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา
จักเป็นผู้เลิศ
จาก จุนทสูตร (ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร)
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๓๐ หน้า ๔๒๓-๔๔๒
พระธรรมเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ยังมีอยู่ ควรศึกษาและไตร่ตรองให้เข้าใจตรงตามพระ
ธรรมด้วยความเคารพ โดยไม่คิดเอาเอง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มี
ธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ จึงควรเริ่มจากการเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่
กำลังปรากฏขณะนี้ให้เข้าใจ จนกว่าปัญญาจะค่อยๆเจริญขึ้นรู้ลักษณะสภาพธรรมที่
กำลังปรากฏตรงตามความเป็นจริง ที่พึ่งจริงๆ คือ ปัญญา ปัญญาที่เริ่มจากความ
เห็นถูกในสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริง
ธรรมที่เป็นเกาะเป็นที่พึ่ง(ไม่ใช่เกราะที่เป็นเครื่องป้องกัน)
หมายถึงธรรมที่เป็นที่พึ่งดุจเกาะที่อยู่กลางมหาสมุทร..เป็นที่พึ่งที่ทำ
ให้ไม่จมในมหาสมุทรคือกิเลสทั้งหลาย...ธรรมนั้นคือสติปัฏฐาน4
ค้นในหลายพระสูตร เช่นเจลสูตร คิลานสูตร กล่าวถึงแต่สติปัฏฐาน4เท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 397 [๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น
ที่พึ่งอยู่. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาอยู่. . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. . . ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็น
ที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น
เป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนั้นแล. [๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วง
ไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่าใดเป็น
ผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ. จบคิลานสูตรที่ ๙
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี
ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข
"...ชีวิตของแต่ละท่านก็ผ่านมาตั้งแต่เด็กจนถึงขณะนี้
ก่อนจะถึงวัยนี้ ก็ไม่รู้ว่าถึงวัยนี้ในลักษณะใด
สำหรับพรุ่งนี้ก็มืดสนิท ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดบ้างแน่นอน
ถ้าศึกษาพระธรรมก็จะเริ่มเข้าใจทุกอย่าง
ตรงตามความเป็นจริง
รู้เหตุของความทุกข์ สุข จนกระทั่งสามารถที่จะดับ
เหตุของความทุกข์ สุขนั้น ได้ตามพระธรรม
นี่คือ..ประโยชน์ของการฟังพระธรรม แล้วค่อย ๆ เข้าใจขึ้น..."
ท่านจงดูปัญญานี้ ของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
ดังไฟอันรุ่งเรืองในเวลาพลบค่ำ
พระตถาคตเหล่าใด
ย่อมกำจัดความสงสัยของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย
ผู้มาเฝ้าถึงสำนักของพระองค์
พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมชื่อว่า
เป็นผู้ให้แสงสว่าง เป็นผู้ให้ดวงตา.
กังขาเรวตเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา
เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 63
พระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระปัญจวัคคีย์ว่า ยมฺปนานิจฺจํ ทุกฺขํ วิปริณามธฺมมํ กลฺลํ นุ ตํ สมนุปสฺสิตํ เอตํ มม เอโสหมสฺมิ เอโส เม อตฺตาติ แปลว่า สิ่งใดไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นเป็นเรา เราเป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นเป็นตัวตนของเรา
พระปัญจวัคคีย์กราบทูลตอบว่า ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ทั้งนี้หมายความว่า สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความปรวนแปรไปเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมเป็นอนัตตา และโดยกลับกัน สิ่งใดเที่ยง ไม่มีทุกข์ ไม่ปรวนแปรเป็นอย่างอื่น สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอัตตาในพระศาสนานี้.
หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิ่งใดสามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นย่อมเป็นอัตตา และ สิ่งใดไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็นอนัตตา.
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระนิพพาน ได้แก่ จิตที่ได้ฝึกฝน บังคับ ชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็นวิราคจิต เป็นอมตธรรม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน,อยู่ที่เดียวกัน และแยกจากกันไม่ได้ เพียงแต่สมมุติเรียกชื่อแตกต่างกันโดยคำพูด เท่านั้น.
มีพระบาลียืนยันไว้ชัดเจนดังนี้คือ อตฺตา นาม จิตฺตํ, สกโล วา อตฺตภาโว แปลว่า จิตนี้แหละได้ชื่อว่าเป็นอัตตา,แต่ว่าได้ยึดเอาสกลกายนี้,เป็นอัตภาพไปด้วย
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด และควรทราบว่าพยัญชนะแต่ละแห่ง
หมายถึงอะไร จริงอยู่ในพระไตรปิฎกมีคำว่า อัตตา, ตน อยู่มาก ควรพิจารณา
ว่า อัตตา หรือ ตน ในที่นั้นหมายถึงอะไร เช่น ในมงคลสูตร แสดงว่า ตั้งตนไว้ชอบ
ท่านก็แก้ไว้ว่า ตน หรือ บาลีว่า อตฺตา ในที่นี้หมายถึงจิต แต่มิได้หมายความว่า
จิตเป็นอัตตา ครับ
ข้อความบางตอนจากมงคลสูตร
การอยู่ในประเทศอันเหมาะ ความเป็นผู้ทำบุญไว้แต่ก่อน
การตั้งตนไว้ชอบ นี่ก็เป็นมงคลอุดม.
ข้อความจากอรรถกถา
คนบางตนในโลกนี้ ย่อมทำตนที่ทุศีลให้ตั้งอยู่ในสุศีล
ตนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ในสัทธาสัมปทา ตนที่ตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคสัมปทา
การตั้งตนดังกล่าว ชื่อว่า ตั้งตนไว้ชอบ. การตั้งตนไว้ชอบนี้ เรียกว่า อัตต-
สัมนาปณิธิ. อัตตสัมมาปณิธินี้แลเป็นมงคล. เพราะเหตุไร. เพราะเป็นเหตุ
ละเวรที่เป็นไปในปัจจุบันและภายภาคหน้าและประสบอานิสงส์ต่าง ๆ อย่าง.
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑ - หน้าที่ 173
กถาว่าด้วยการตั้งตนไว้ชอบ
[๑๐๖] จิต ชื่อว่า ตน, อีกนัยภาพทั้งหมด ชื่อว่า
ตน. จริงอยู่ จิตและอัตภาพทั้ง ๒ นั้น เรียกว่า ตน เพราะอรรถ
ว่าไป ได้แก่ แล่นไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ถึง คือประสบทุกข์ในสงสาร
ต่างโดยชาติและชราเป็นต้นติดต่อกัน. อตฺต ธาตุ เป็นไปในความ
ไปโดยความติดต่อ, ความไปไม่ขาดระยะ ชื่อว่า ความไปโดยความ
ติดต่อ.
อนึ่ง ด้วยสามารถความอื่น จิตและอัตภาพทั้ง ๒ นั้น เรียก
ว่าตน เพราะอรรถว่า มานะว่า เรา ตั้งลงแล้วในอัตภาพนี้ และ
เพราะอรรถว่า กิน ได้แก่ เสวยสุขและทุกข์.
จะกล่าวชื่อความตั้งตนไว้ชอบ. บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังตน
ผู้ทุศีลให้ตั้งอยู่ในศีล ยังตนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ในความถึงพร้อม
ด้วยศรัทธา ยังตนผู้ตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในความถึงพร้อมด้วยการบริจาค
นี้เรียกว่า การตั้งตนไว้ชอบ.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
เดินจงกรมหลายชั่วโมง นั่งสมาธิ อนุโมทนากับผ๔ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง ถวายข้าวพระพุทธรูป และได้ไปไหว้หลวงพ่อโสธร อนูโมทนากับผู้มาไหว้หลวงพ่อโสธร หลายพันคน ได้สักการะพระพุทธสิหิงค์
หลวงพ่อทวารวดี และวันนี้ได้ทำบุญผ้าขาวห่อศพ โรงศพ
และได้ไปกราบไหว้บิดามารดา และวันนี้ตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ
เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ให้อภัยทาน อฐิษฐานจิต
ทำบารมี 10 ให้ครบทุกบารมี ทำความสะอาดวัดและที่สาธารณะ
สนทนาธรรม ศึกษาธรรม ศึกษษตำราการรักษาโรค
สักการะพระธาตุ และวันนี้ได้อนุโมทนาป้ายบอกบุญระหว่างทาง
และได้เจริญอนุสติหลายอย่าง กรวดน้ำอุทิศบุญขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญสักการะหลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” อนุโลมตามชื่อวัด ตามตำนานกล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชำนะมารแบบประยุกต์ หลวงพ่อวัดไร่ขิงมีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี มีขนาดกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้ว สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้ว
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|