ถ้าคนเราได้ฟังพระสัทธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดปัญญาเข้าใจถูก
ตามความเป็นจริง เขาย่อมเห็นคุณของกุศลธรรม เห็นโทษของอกุศลธรรม ย่อมเป็น
ผู้เว้นกรรมชั่ว กระทำแต่กรรมดี เป็นผู้ขวนขวายในคุณความดีอยู่เนื่องๆ จะเป็นคนดี
ยิ่งๆขึ้นไป ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา.. เมื่อ เกิดปัญญาที่ทำให้รู้แจ้งใน อริยะสัจจธรรมแล้ว
จิตใจจะละคลายจากสิ่งที่เคยยึดเกาะไว้ทั้งหมดในทันที
แล้วจะเสมือนมี กำแพงใหญ่ๆ มากั้นกระแสกิเลสไว้ ไม่ให้มาประทะจิตเราโดยตรง
กำแพงนี้จะเป็นสติ คือรู้ทันกิเลสในทันที่ ...แต่เพราะว่า ยังมีกิเลสภายในอยู่อีกพอ
สมควร จึงอาจเผลอปล่อยกิเลสบางส่วน ให้ข้ามกำแพงเข้ามาได้อีก หากไม่ได้เจริญ
สติปัฏฐานอยู่เป็นนิจ
แล้วเมื่อพิจารณาด้วยปัญญาต่อเนื่องเรื่อยๆไป ก็จะเกิดความปล่อยวางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เป็นลำดับขั้น ...จะเกิดสภาพ โปร่ง โล่ง สบาย ...โดยไร้ซึ่งสิ่งใดจะมาเปรียบ หรือ
อธิบายความรู้สึกนี้ได้เลย
ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น กับจิต เป็นนามธรรม จึงไม่อาจล่วงรู้ด้วยการมองจากภายนอก
ได้เลย
แล้วก็ไม่ใช่ว่า ร่างกายจะต้องผ่องใสขึ้น ผิวพรรณสวยงาม โรคร้ายหายไป มีแสงออร่า
หรือเกิดพลังอะไรพวกนั้นเลยครับ ( ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด อาจจะมีเหล่านี้ได้ ก็ต้องเป็น
พระอรหันต์แล้วเท่านั้น ) ...ภายนอก จะเป็นอย่างไร ก็เป็นแบบเดิมอยู่อย่างนั้น พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๐๘
อนุตตริยสูตร
ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม ๖
[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ
เป็นไฉน คือ ทัสสนานุตริยะ ๑ สวนานุตริยะ ๑ ลาภานุตริยะ ๑
สิกขานุตริยะ ๑ ปาริจริยานุตริยะ ๑ อนุสตานุตริยะ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตริยะเป็นไฉน ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้ว
บ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่
ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ
คลายกำหนัด เพื่อความดับเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวก
พระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความ
บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความ
ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวก
ของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่าทัสสนานุตริยะ.
ทัสสนานุตริยะเป็นดังนี้.
ก็สวนานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง
หรือเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า
การฟังนี้นั้นเป็นกิจแล้ว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรม
ของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้ง
หลายย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคต
หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตริยะ.
ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ลาภานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง
น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็น
ของเลว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือ
สาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไป
พร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือ
สาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ลาภานุตริยะ.
ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็สิกขานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง
หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด
ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี
ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี
ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง
ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลายย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง
อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่าสิกขา-
นุตริยะ.
ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.
ก็ปาริจริยานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง
บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้
นั้นเป็นการบำรุงที่เลว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มี
ความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระ
ตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้ง
หลาย. ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้
แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า ปาริจริยานุตริยะ.
ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ ปาริจริยานุตริยะ
เป็นดังนี้.
ก็อนุสตานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน
ในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้
มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็น
กิจเลว . . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธา ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือ
สาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย
ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก
และความร่ำไรเพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น
มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวก
ของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้แล.
ภิกษุเหล่าใดได้ ทัสสนานุตริยะ
สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ ยินดีใน
สิกขานุตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญ
อนุสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษม
ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประ-
มาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล
ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับ-
ทุกข์ โดยกาลอันควร.
จบอนุตตริยสูตรที่ ๑๐
จบอนุตตริยวรรคที่ ๓ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๖๑๒
อรรถกถาอนุตตริยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุจฺจาวจํ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง (ไปเพื่อฟัง) เสียงใหญ่น้อย
อย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ.
บทว่า หีนํ แปลว่า เลว.
บทว่า คมฺมํ ความว่า เป็นการดูของชาวบ้าน.
บทว่า โปถุชฺชนิกานํ ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งปุถุชน.
บทว่า อนริยํ ความว่า ไม่ประเสริฐ คือไม่สูงสุด ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์.
บทว่า อนตฺถสญฺหิตํ ความว่า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า มิใช่เพื่อประโยชน์ แก่ความเบื่อหน่ายใน
วัฏฏะ.
บทว่า น วิราคาย ความว่า มิใช่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การสำรอกราคะ
เป็นต้น.
บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่ใช่เป็นไปเพื่อดับความไม่เป็นไป แห่ง
กิเลสมีราคะเป็นต้น.
บทว่า น อุปสมาย คือ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลสมีราคะเป็นต้น.
บทว่า น อภิญฺญาย ความว่า มิใช่เป็นไป เพื่อต้องการรู้ยิ่ง.
บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า มิใช่เพื่อต้องการแทงตลอด มัคคญาณ
ทั้ง ๔ กล่าวคือ สัมโพธิญาณ.
บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า ไม่ใช่เป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระ-
นิพพาน.
บทว่า นิวิฏฺฐสทฺโธ ความว่า ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว.
บทว่า นิวิฏฺฐเปโม ความว่า ได้แก่มีความรักตั้งมั่นแล้ว.
บทว่า เอกนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดยอด อธิบายว่า มีศรัทธาไม่คลอน-
แคลน.
บทว่า อภิปฺปสนฺโน ความว่า เลื่อมใสเหลือเกิน.
บทว่า เอตทานุตฺตริยํ ความว่า การเห็นนี้เป็นการเห็นที่ไม่มีการเห็นอย่าง
อื่นเยี่ยมกว่า.
บทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขติ ความว่า ศึกษาหัตถิศิลปะที่มีช้าง เป็นนิมิตที่
จะต้องศึกษา. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุจฺจาวจํ ได้แก่ ศึกษาศิลปะใหญ่น้อย.
บทว่า อุปฏฐิตา ปาริจริเย ความว่า บำรุงด้วยการปรนนิบัติ.
บทว่า ภาวยนฺติ อนุสฺสตึ ความว่า เจริญอนุสติอันยอดเยี่ยม.
บทว่า วิเวกปฺปฏิสํยุตฺตํ ความว่า กระทำให้อาศัยพระนิพพาน.
บทว่า เขมํ ได้แก่ ปราศจากอุปัทวันตราย.
บทว่า อมตคามินํ ความว่า ให้ถึงพระนิพพาน อธิบายว่า บำเพ็ญ
อริยมรรค.
บทว่า อปฺปมาเท ปโมทิตา ความว่า บันเทิงทั่วในความไม่ประมาท
กล่าวคือ การไม่อยู่ปราศจากสติ.
บทว่า นิปกา ความว่า ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน.
บทว่า สีลสํวุตา ความว่า สังวร คือปิดกั้นไว้ด้วยศีล.
บทว่า เต เว กาเลน ปจฺจนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้(เหตุ
ที่ดับทุกข์) ตามกาลที่เหมาะสม.
บทว่า ยตฺถทุกฺขํ นิรุชฺฌติ มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมรู้ฐานะ
เป็นที่ดับวัฏทุกข์ทั้งสิ้น คืออมตมหานิพพาน.
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุตริยะ ๖ คละกันไปฉะนี้แล.
จบอนุตตริยสูตรที่ ๑๐ ฏีกาอนุตตริยสูตร ที่ ๑๐
(ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย)
อนุตตริยสูตรที่ ๑๐ มีอธิบาย ดังนี้
ข้อความว่า นิหีนํ ทัสสนะนี้ เป็นกิจที่เลว ได้แก่ เป็นกิจที่ต่ำต้อย หรือ ที่หม่นหมอง ฯ
ข้อความว่า คามวาสิกานํ ของชาวบ้าน ได้แก่ ของคนเขลา
คำว่า โปถุชฺชนิกํ มีคำจำกัดความ ว่า การเห็นนี้ ของเหล่าปุถุชน
ฉะนั้น จึงเรียกการเห็นนั้นว่า โปถุชชนิกะ เพราะเหตุนั้น ในอรรถกถา ท่านจึงใช้ข้อความว่า
ปุถุชฺชนานํ สนฺตกํ การเห็นที่เป็นของมีอยู่แห่งปุถุชน. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า การเห็นเป็นต้น
เป็นของมีอยู่ของเหล่าปุถุชนนั้น เพราะพวกเขาใช้เป็นประจำ ฯ (หมายเหตุ ท่านใช้ศัพท์ว่า
เสวิตพฺพ แปลโดยคำศัพท์ ได้แก่ เสพ ซึ่งในหลักฐานที่อื่น อธิบายคำว่า เสวิตพฺพ ว่า
วลญฺเชตพฺพ ใช้สอย บ้าง อนุยุญชิตพฺพ ประกอบหรือทำบ่อย ๆ บ้าง นอกจากนี้ ในภาษา
ไทยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้คำจำกัดความว่า คบ เช่น ซ่อง
เสพ ดังนั้น ในที่นี้เพื่อจะชี้ชัดลงไปว่า ทัสสนะเช่นนั้น เป็นกิจที่พวกปุถุชนใช้สอยหรือทำอยู่
บ่อย ๆ จึงใช้คำแปลว่า ทำเป็นประจำ ซึ่งก็ตรงกับคำว่า เสพ ในภาษาไทยนั่นเอง- Spob )
ข้อความว่า อนริยํ ไม่ประเสริฐ หมายถึง ปราศจากโทษก็หามิได้ ฯ แท้จริงแล้ว ความ
หมายว่าไม่มีโทษ เป็นความหมายของความประเสริฐ (อริยะ) ฯ เพราะฉะนั้น ในอรรถกถา จึงมี
ข้อความว่า น อุตฺตมํ น ปริสุทฺธํ ไม่สูงสุด ไม่บริสุทธิ์ ฯ
หรืออีกนัยหนึ่ง ที่ว่า อนริยะ ไม่ประเสริฐ ก็คือ เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทั้งหลายไม่ใช้เป็น
ประจำ ฯ
ข้อความว่า อนตฺถสํหิตํ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หมายความว่า ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์มากประการ เช่น ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์และสัมปรายิกัตถประโยชน์ ฯ
อนึ่ง สิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ที่เห็นได้อย่างนั้น ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ในอรรถกถาจึง
อธิบายข้อความนี้ว่า น อตฺถสนฺนิสฺสิตํ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ฯ
น วฏฺเฏ นิพฺพินฺทนตฺถาย การเห็นเป็นต้นอย่างนั้น ไม่เป็นไปประโยชน์แก่ความเบื่อ
หน่ายในวัฏฏะ เพราะไม่มีสัจจะสี่เป็นกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐาน ในที่นี้หมายถึงเป็นการภาวนา คือ
การเจริญสติปัฏฐาน อันเป็นบุพพภาคของแทงตลอดสัจจะ ๔ - spob) ฯ
อนึ่ง ถ้าไม่มีการเบื่อหน่ายในวัฏฏะ ก็จะไม่มีวิราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า น วิราคาย ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ เป็นต้น
คำว่า อนุตตริยะ ก็คือ ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงอธิบายคำนี้ว่า
เอตํ อนุตฺตรํ ไม่มีสิ่งที่อื่นที่เยี่ยมกว่า ฯ
สฺมึ วิภัตติ ที่อยู่ในบทพระบาลีว่า หตฺถิสฺมึ (หตฺถิ + สฺมึ) ใช้ในอรรถว่า นิมิต (ซึ่งมี
ความหมายเท่ากับว่า เป็นเหตุ จึงต้องแปล หตฺถิสฺมึ ในพระบาลีว่า เพราะช้าง ) เพราะฉะนั้น
ท่านจึงแก้บทว่า หตฺถิสฺมึ ว่า หตฺถินิมิตฺตํ สิกฺขิตพฺพํ ศึกษาหัตถิศิลปะที่มีช้างเป็นนิมิตที่จะ
ต้องศึกษา (คือมีช้างเป็นเหตุให้ศึกษา)
คำว่า หตฺถี หมายถึง หตฺถิสิปฺปํ ศิลปะว่าด้วยช้าง ก็เพราะมีช้างเป็นเนื้อเรื่องให้ศึกษา
และต้องอาศัยช้าง จึงเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขติ ย่อมศึกษาแม้
เพราะช้าง ฯ เพราะฉะนั้น จึงควรทราบความหมายในคำนี้อย่างนี้ว่าศึกษาในศิลปะว่าด้วยช้าง ฯ
(หมายเหตุ ในพระบาลีท่านแปลบทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขติ ว่า ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยว
กับช้างบ้าง นั้น เพราะเป็นการแปลแบบรวบรัดให้ได้ใจความ แต่ในฏีกา ท่านมุ่งจะอธิบายเกี่ยว
กับคำศัพท์ ดังนั้น ในที่นี้จึงแปลแบบนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการอธิบายของท่าน – spob)
แม้ในข้อความที่เหลือในสิกขานุตตริยะ ก็เป็นแบบนี้ทั้งสิ้น ฯ
ข้อความในพระบาลีที่ว่า ปาริจริเย เป็นการใช้ไม่ตรงลิงค์และวิภัตติ ดังนั้น พระอรรถ-
กถาจารย์จึงอธิบายว่า ปาริจริยาย ปจฺจุปฏฺฐิตา บำรุงด้วยการปรนนิบัติ ฯ
ข้อความที่เหลือในพระสูตรและอรรถกถานี้ เข้าใจได้ง่ายแล้ว ฯ
จบ อนุตตริยสูตร ที่ ๑๐
ในอังคุตรนิกาย ฉักกนิบาต ฯ ในอังุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ก็ปรากฏพระสูตรชื่อนี้เหมือนกัน คือ อนุตตริยสูตร แต่มี
เนื้อความที่สังเขป ในที่นี้จะไม่นำเนื้อความพระสูตรและอรรถกถามาไว้ เพราะมีเนื้อความซ้ำกับ
ในสูตรที่ ๑๐ ของฉักกนิบาตนี้. แต่เนื้อความในฏีกา กลับมีเนื้อความที่ขยายความเพิ่มเติมจาก
ฉักกนิบาตอยู่บ้าง จึงนำเฉพาะข้อความในฏีกามาลงไว้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์สืบไป
ฏีกาอนุตตริยสูตรที่ ๘
(อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต)
ในอนุตตริยสูตรที่ ๘ นี้มีคำอธิบายดังนี้ ฯ
คำว่า อนุตตระ มีคำจำกัดความว่า ไม่มี สิ่งที่ยอดเยี่ยม หรือ พิเศษสุดของการเห็นเป็น
ต้นเหล่านี้ ฯ อนุตตระ และ อนุตตริยะ มีความหมายเท่ากัน เหมือนอย่างที่ อนันตระ และ
อนันตริยะ มีความหมายเท่ากัน ฉะนั้น ในอรรถกถาจึงอธิบายคำว่า อนุตตริยะ ว่า นิรุตฺตรานิ
ไม่มีสิ่งอื่นที่เยี่ยมกว่า ฯ
การเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ทัสสนานุตริยะ เพราะนำผลอันพิเศษมาให้ ฯ ใน
ทัสสนานุตริยะที่เหลือก็มีนัยนี้ ฯ
ข้อความว่า สตฺตวิธอริยธนลาโภ การได้อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ การได้ทรัพย์ที่เป็น
โลกุตระ ๗ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น ฯ
ข้อความว่า สิกฺขาตฺตยสฺส ปูรณํ การบำเพ็ญสิกขา ๓ ได้แก่ การทำสิกขา ๓ มีอธิศีล
สิกขาเป็นต้นให้บริบูรณ์. ในเรื่องนั้น ควรทราบว่า การทำให้สิกขาสามบริบูรณ์ ได้แก่ พระ-
อเสกขบุคคล โดยตรง. แต่บุคคลนอกนี้ จับแต่กัลยาณปุถุชนไปจนถึงพระเสกขะอีก ๗ ก็ชื่อว่า
ทำสิกขาสาม ให้บริบูรณ์ ได้ ฯ พระอรหันต์เท่านั้น ได้ชื่อว่า ผู้มีสิกขาบริบูรณ์ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุตตริยะเหล่านี้ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการดังนี้ ฯ
จบ ฏีกาอนุตตริยสูตร ที่ ๘
ปัญจกนิบาต อังคุตรนิกาย
ในอังุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ก็ปรากฏพระสูตรชื่อนี้เหมือนกัน คือ อนุตตริยสูตร แต่มีเนื้อ
ความที่สังเขป ในที่นี้จะไม่นำเนื้อความพระสูตรและอรรถกถามาไว้ เพราะมีเนื้อความซ้ำกับใน
สูตรที่ ๑๐ ของฉักกนิบาตนี้. แต่เนื้อความในฏีกา กลับมีเนื้อความที่ขยายความเพิ่มเติมจาก
ฉักกนิบาตอยู่บ้าง จึงนำเฉพาะข้อความในฏีกามาลงไว้ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์สืบไป
ฏีกา อนุตตริยสูตรที่ ๘
(อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต)
ในอนุตตริยสูตรที่ ๘ นี้มีคำอธิบายดังนี้ ฯ
คำว่า อนุตตระ มีคำจำกัดความว่า ไม่มี สิ่งที่ยอดเยี่ยม หรือ พิเศษสุดของการเห็นเป็น
ต้นเหล่านี้ ฯ อนุตตระ และ อนุตตริยะ มีความหมายเท่ากัน เหมือนอย่างที่ อนันตระ และ
อนันตริยะ มีความหมายเท่ากัน ฉะนั้น ในอรรถกถาจึงอธิบายคำว่า อนุตตริยะ ว่า นิรุตฺตรานิ
ไม่มีสิ่งอื่นที่เยี่ยมกว่า ฯ
การเห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ทัสสนานุตริยะ เพราะนำผลอันพิเศษมาให้ ฯ ใน
ทัสสนานุตริยะที่เหลือก็มีนัยนี้ ฯ
ข้อความว่า สตฺตวิธอริยธนลาโภ การได้อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ การได้ทรัพย์ที่เป็น
โลกุตระ ๗ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น ฯ
ข้อความว่า สิกฺขาตฺตยสฺส ปูรณํ การบำเพ็ญสิกขา ๓ ได้แก่ การทำสิกขา ๓ มีอธิศีล-
สิกขาเป็นต้นให้บริบูรณ์. ในเรื่องนั้น ควรทราบว่า การทำให้สิกขาสามบริบูรณ์ ได้แก่ พระ-
อเสกขบุคคล โดยตรง. ด้วยว่า บุคคลทั้งหลาย เริ่มแต่กัลยาณปุถุชนไป จนถึงพระเสขะ ๗ ชื่อ
ว่า กำลังทำสิกขาสาม ให้บริบูรณ์ ฯ พระอรหันต์ เป็นผู้ชื่อว่า มีสิกขาบริบูรณ์ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสอนุตตริยะเหล่านี้ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการดังนี้ ฯ
จบ ฏีกาอนุตตริยสูตร ที่ ๘
ปัญจกนิบาต อังคุตรนิกาย มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ โดยที่ไม่รู้ความจริงของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ...
จิตเห็นเกิดขึ้นแล้วดับไป... จิตได้ยินเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป... แต่ละขณะเกิดขึ้นและ
ดับไป ไม่เหลืออะไรเลย ไม่กลับมาอีก ในแต่ละวันเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส
กระทบสัมผัส และก็คิดนึก ไม่เคยรู้ความจริง จะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกันในแต่ละภพ
ชาติ เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดโดยไม่รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพียงปรากฏ
ให้ได้เห็น เพียงปรากฏให้ได้ยิน...แล้วดับไปหมด ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วตามเหต
ปัจจัย อยู่มาแล้วนานแสนนานในสังสารวัฏฏ์ก็ไม่รู้ความจริง จึงต้องเกิดขึ้นมาเห็นอีก
ได้ยินอีก..ไม่มีวันสิ้นสุด ชีวิตที่ประเสริฐคือ มีชีวิตอยู่เพื่อความรู้สิ่งที่มีจริงที่กำลัง
ปรากฏ ความเห็นถูกเข้าใจถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ในหนึ่งชาติ ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้อะไร แต่ถ้าไม่ได้ฟังคำสอน
จะไม่ได้รู้คุณค่าเลยว่า สิ่งที่มีค่าเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือปัญญา ความ
เห็นถูกความเข้าใจถูก ซึ่งบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธ
เจ้า ไม่สามารถที่จะแสดงให้บุคคลอื่นเกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่มี
จริงๆ ที่กำลังปรากฏ เป็นแต่ละขณะในชีวิตนี้ได้เลย
เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นประโยชน์อย่างนี้ ทุกคนก็คงจะมีความมั่นคง
ที่จะรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต ไม่ใช่ลาภซึ่งเสื่อมได้ ไม่ใช่ยศซึ่ง
เสื่อมได้ ไม่ใช่สรรเสริญซึ่งก็เปลี่ยนเป็นนินทาได้ ไม่ใช่สุขซึ่งเปลี่ยน
เป็นทุกข์ได้ ซึ่งเป็นสิ่งประจำโลก ซึ่งทุกคนก็ได้รู้ได้เห็นด้วยตัวเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง
ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย
รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประกอบด้วยล้อคือธรรม
หิริเป็นฝาของรถนั้น สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น
เรากล่าวธรรม มี สัมมาทิฏฐิ นำหน้าว่าเป็นสารถี
ยานชนิดนี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม
เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วยยานนี้แหละ วิปัสสนาญาณ ที่มาในพระบาลีโดยมาก ท่านเริ่มตั้งแต่สัมมสนญาณ ปัญญา
เห็นไตรลักษณ์แต่ในอรรถกถาทั้งหลายเริ่มที่วิปัสสนาญาณที่ ๑ นามรูปปริเฉทญาณ
หรือนามรูปววัฏฐาน ในวิสุทธิมรรคภาคที่ ๓ ตอนจบและอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคก็
เริ่มตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ การบำรุงมารดาบิดาเป็นหน้าที่ของบุตรที่ควรกระทำเพราะท่านเป็นทิศเบื้องหน้า
อันบุตรควรกระทำก่อน
บางครั้งมีหน้าที่อย่างอื่นที่ต้องกระทำก็ทำตามหน้าที่ แต่เมื่อมีโอกาสควรทำการ
ตอบแทนพระคุณของมารดาบิดา เพราะท่านเป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย
การบำรุงมารดาบิดาเป็นกิจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
พรหมสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ ๔๕ หน้า ๖๖๘
มารดาบิดา ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ เป็น
อาหุเนยยบุคคลของบุตร เป็นผู้อนุเคราะห์ บุตรเพราะ
ฉะนั้น บัณฑิตพึงนอบน้อม และพึงสักการะมารดา
บิดานั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การให้
อาบน้ำและล้างเท้า. เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดา
นั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละ
โลกไปแล้ว ยังบรรเทิงในสวรรค์. ทิศเบื้องหน้า
[๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า
อันบุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยง
เรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑
จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์
มรดก ๑ เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย เล่มที่ ๑๖ ในกาลบางครั้งบางคราว
การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากในโลก
ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล
ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย อัฏฐกนิบาต
เล่ม ๔ - หน้าที่ ๔๕๔
ปปัญจธรรม คือ กิเลสอันเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า โดยมากทรงแสดงไว้ ๓ ประเภท
คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าเป็น ปปัญจธรรม แต่ในบางแห่งแสดงไว้มากกว่า ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 357 ขณะใดที่มีความต้องการ อยากจะรู้เร็วๆ อยากจะให้สติเกิด ขณะนั้นก็เป็นธัมมะ
เครื่องเนิ่นช้า เพราะเป็นโลภะที่มีความต้องการ ซึ่งโลภะไม่เป็นเหตุให้มีความเข้าใจ
ธัมมะเพิ่มขึ้น หรือให้สติเกิด แต่ทำให้เนิ่นช้าที่จะเข้าใจธัมมะและสติเกิดครับ หรือ
ขณะใดที่เป็นอกุศล (ราคะ โทสะ โมหะ และตัณหา มานะ ทิฏฐิ) เกิดขณะใด ก็เป็น
เครื่องเนิ่นช้าที่จะอบรมเจริญปัญญา ที่สำคัญ ทิฏฐิหรือความเห็นผิด ย่อมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า เพราะเข้าใจหนทางผิดว่าเป็นหนทางถูก ย่อมเนิ่นช้าที่จะไปสู่หนทาง
ดับกิเลสครับ
ปปัญจธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องเนิ่นช้า เช่น ตัณหาความติดข้อง
ในกามคุณ 5 ทำให้ภพชาติยิ่งยาวออกไป มานะ ความสำคัญตนว่าเก่งกว่าเขา
ทิฎฐิความเห็นผิด ทำให้ภพชาติที่ยาวอยู่แล้วยิ่งยาวออกไปอีก
อกุศลทั้งหลายเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 315
บทว่า ปปญฺจสงฺฆาตทุ ขาธิราหินึ ความว่า ชื่อว่า ปปัญจะ
เพราะอรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสงสารให้ชักช้า คือ
ให้ยืดยาว ได้แก่ ราคะ เป็นต้น และได้แก่มานะ เป็นต้น.
ปปัญจธรรมทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่า สังฆาตา เพราะ
อรรถว่า รวบรวมทุกข์ที่เกิดขึ้นไว้, และชื่อว่าทุกข์ เพราะ
มีสภาวะกระวนกระวายและเร่าร้อน เหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปปัญจสังฆาตทุขาธิวาหินี เพราะนำมาเฉพาะ คือ เพราะ
เกิดความทุกข์ที่ รวบรวมไว้ซึ่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า
ตณฺห ปหนฺตฺวาน ได้แก่ ตัดได้เด็ดขาดซึ่งตัณหานั้น ด้วย
อริยมรรค.
.....................................................................
ปปัญจะ เพราะ
อรรถว่า ทำความสืบต่อแห่งสัตว์ในสงสารให้ชักช้า
คือให้ยืดยาวได้แก่ราคะเป็นต้น และได้แก่มานะเป็นต้น.
เท่าที่ทราบมา ปปัญจธรรมหมายถึง ตัณหา มานะ และ ทิฎฐิ
แต่ตามข้อความนี้ ปปัญจธรรม กล่าวไว้แค่
ตัณหาและมานะ เท่านั้น กรุณาช่วยกันค้นหาหลักฐาน เรื่องนี้
ด้วยนะครับ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
ข้อคงามบางตอนจาก...
อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตร
อัจฉริยัพภูตสูตร* มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่า
อัศจรรย์ อธิบายว่า พระตถาคตพระองค์ใด. ที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม ในบทว่า
ฉินฺนปปญฺเจ นี้ ได้เเก่ กิเลส ๓ อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีในความเนิ่นช้านั้น เพราะฉะนั้น ความเนิ่นช้านั้น จึง
ชื่อว่า อาราโม เป็นที่มายินดี. ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดีของบุคคลนั้น เพราะ
ฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจาราโม แปลว่าผู้มีความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี.
ความยินดีในความเนิ่นช้าของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺ
จรตี ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า. บทว่า ปปญฺโจ นั้น เป็นชื่อของตัณหา ทิฏฐิ และ
มานะอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นอาการของผู้มัวเมาและผู้ประมาทแล้ว อรรถกถาปปัญจขยสูตร
ปปัญจขยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปปญฺจสญฺญาสงฺขาปหานํ ความว่า กิเลสชื่อว่าธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้า เพราะเป็นที่เกิดขึ้นเอง ทำให้เนิ่นช้า คือขยายความสืบต่อ
นั้นให้กว้างขวาง ได้แก่ ให้ตั้งอยู่นาน โดยพิเศษ ได้แก่ ราคะ โทสะ
โมหะ ทิฏฐิ และมานะ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเป็นเครื่อง
เนิ่นช้า คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ. อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมมีอรรถว่าเศร้าหมอง ชื่อว่าอรรถแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า ธรรมมีอรรถดุจ
หยากเหยื่อ ชื่อว่าอรรถแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า.ฯลฯ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานโดยใส่บาตรแล้วท่องคำถวายสังฆทาน ได้กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์ น เจริญวิปัสสนา เจริญอนุสติกรรมฐาน กรวดน้ำอุทิศบุญ สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง ให้อภัยทาน ให้ธรรมะเป็นทาน อฐิษฐานจิต อารธานาศีล รักษาศีล ตื่นแต่เช้าฟังธรรม และวันนี้คุณลุงได้ถวายหนังสือเรียนให้แก่นักเรียนนักศึกษา ประมาณ 50 คน และวันนี้เพื่อนของเราก็ได้ให้ขนมเป็นทานแก่เด็ก ประมาณ 50 คน และเราก็ได้อนุโมทนาบุญด้วย และวันนี้ได้บอกบุญ อฐิษฐานจิต และบำเพ็ญบารมี 10 อย่างครบ และตั้งใจว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ และวันนี้ได้รักษาผู้ป่วยฟรี โดยไม่คิดเงิน ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขณะนี้ได้นำเมล็ดโพธิ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา ประเทศอินเดียมาเพาะที่วัดสังฆทาน เป็นจำนวนมาก ขณะนี้ต้นโพธิ์งอกงามและสมบูรณ์ทุกต้น
วัด สถานที่ปฏิบัติธรรม โรงเรียน หรือ ส่วนราชการต่างๆที่ต้องการต้นโพธิ์ จากต้นศรีมหาโพธิ์ไปปลูก ติดต่อรับได้ทุกวัน ที่สถานีโทรทัศน์พุทธภูมิ SBBTV
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-496-1160-69
ขอให้สรรพสัตว์ ทั้ง 31 ภพภูมิจงได้มรรคผลนิพพานเทอญ
|