ควรทราบว่าสามเณรมีสิกขาบท ๑๐ คือ
๑. เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป.
๒. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้.
๓. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.
๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ.
๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล.
๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็นข้าศึก.
๘ เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้
อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
๙. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่.
๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน.
เมื่อสามเณรก้าวล่วงสิกขาบท ข้อที่ ๑ ถึง ข้อที่ ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อนั้นย่อมขาด
จากความเป็นสามเณรทันที (เหมือนปาราชิกของพระภิกษุ) ย่อมควรแก่การนาสนะ
คือขับไล่ออกจากวัด แต่เมื่อก้าวล่วงสิกขาบท ๕ ข้อหลัง ควรแก่การลงโทษบางอย่าง
ตามสมควรแก่พระวินัย แต่สามเณรที่ขาดจากความเป็นบรรพชิตแล้ว เมื่อกลับตัว
กลับใจ เห็นโทษโดยความเป็นโทษ พระภิกษุท่านให้สรณะและศีลใหม่ ความเป็น
สามเณรก็ยังคงเหมือนเดิมเมื่ออายุครบก็บวชเป็นพระภิกษุได้ ซึ่งต่างจากพระที่ว่า
เมื่อปาราชิกแล้ว จะกลับมาบวชเป็นพระภิกษุใหม่อีกไม่ได้
สรุปคือปาราชิกของสามเณรกับปาราชิกของพระภิกษุไม่เหมือนกัน อนึ่งสามเณร
มีปาราชิก ๒ ประเภท คือ ประเภทแรกที่กล่าวไป กลับมาบวชใหม่ได้ แต่ปาราชิก
อีกประเภทหนึ่งบวชใหม่อีกไม่ได้ เช่น สามเณรข่มขืนพระภิกษุณี หรือฆ่าพระอรหันต์
เป็นต้น กลับมาบวชเป็นสามเณร หรือพระภิกษุอีกไม่ได้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
....คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ สามเณรํ นาเสตุ นี้
เพราะเหตุนั้น ในกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น สามเณรใด
ย่อมทำกรรม แม้อย่างหนึ่ง สามเณรนั้น อันภิกษุพึงให้พินาส ด้วย
ลิงคนาสนาเหมือนอย่างว่า ภิกษุทั้งหลาย่อมเป็นอาบัติ ต่าง ๆ กัน
ในเพราะกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นฉันใด,สามเณรทั้งหลาย
จะได้เป็นฉันนั้นหามิได้. เพราะว่าสามเณรยังมดดำมดแดงให้ตายก็ดี
บี้ไข่เรือดก็ดี ย่อมถึงความเป็นผู้ควรให้พินาสทีเดียว. สรณคมน์
การถืออุปัชฌาย์ และการถือเสนาสนะของเธอ ย่อมระงับทันที. เธอย่อม
ไม่ได้ลาภสงฆ์, คงเหลืออยู่สิ่งเดียว เพียงเพศเท่านั้น, ถ้าเธอเป็นผู้มีโทษ
ซับซ้อน จะไม่ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป พึงกำจัดออกเสีย ถ้าเธอผิดพลาดพลั้งไป
แล้ว ยอมรับว่า ความชั่วข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะทั้งอยู่ในสังวร
อีก กิจคือลิงคนาสนาย่อมไม่มี, พึงให้สรณะทั้งหลาย พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอ
ซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิมทีเดียว, ส่วนสิกขาบททั้งหลาย่อมสำเร็จด้วยสรณคมน์
นั่นเอง, จริงอยู่ สรณคมน์ของสามเณรทั้งหลายเป็นเช่นกับกรรมวาจาใน
อุปสมบทของภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ศีล ๑๐ เป็นอันสามเณรแม้นี้
สมาทานแล้วแท้ เหมือนจตุปาริสุทธิศีลอันภิกษุสมาทานแล้วฉะนั้น, แม้เป็น
เช่นนี้ ศีล ๑๐ ก็ควรให้อีก เพื่อทำให้มั่นคง คือเพื่อยังเธอให้ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป
สามเณรย่อมเป็นผู้มีใช่สมณะ คือย่อมถึงความเป็นผู้ควรนาสนาเสีย
ในเพราะอทินนาทาน ด้วยวัตถุแม้เพียงหญ้าเส้น ๑ ในเพราะอพรหรมจรรย์
ด้วยปฏิบัติผิดในมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๓ มรรคในเพราะมุสาวาท เมื่อตนกล่าว
เท็จ แม้ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะหัวเราะเล่น ส่วนในเพราะดื่มน้ำเมา เป็น
อาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แม้ไม่รู้ดื่มน้ำเมาจำเดิมแต่ส่า. ฝ่ายสามเณร ต้องรู้
แล้วดื่ม จึงต้องศีลเภท ไม่รู้ไม่ต้อง. ส่วน ๕ สิกขาบทนอกนี้เหล่าใด ของ
สามเณรนั้นบรรดามี ครั้นเมื่อสิกขาบทเหล่านั้นทำลายแล้ว เธออันภิกษุไม่พึง
นาสนา พึงลงทัณฑกรรม. แลเมื่อสิกขาบทอันภิกษุได้ให้อีกก็ดี ยังมิได้ให้ก็
ดี จะลงทัณฑกรรม ย่อมควร. แต่ว่าพึงปราบด้วยทัณฑกรรมแล้ว จึงค่อย
ให้สิกขาบท เพื่อประโยชน์แก่ความคงอยู่ในสังวรต่อไป. การดื่มน้ำเมาของ
เหล่าสามเณร เป็นสจิตตกะ จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก... ควรทราบว่ากิจของปัญญาคือ รู้ทั่ว รู้ตามความเป็นจริง
โดยปกติปุถุชนผู้ทรามปัญญา ไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะไม่รู้ตามเป็นจริงจึง
ยึดมั่นถือมั่น ติดข้อง ในขันธ์ทั้งหลาย เมื่อยึดมั่น ติดข้อง ย่อมไม่หลุดพ้น ย่อม
ทำกรรมที่ไม่สมควร ที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมเกิดในอบาย แต่ผู้มีปัญญาหาเป็น
เช่นนั้นไม่ เพราะท่านรู้แจ้งตามความเป็นจริง จึงไม่ถือมั่น ไม่ติดข้อง เมื่อไม่ยึดถือ
มั่นในขันธ์ จึงหลุดพ้นจากทุกข์ ดังนั้นปัญญาขั้นสูงเป็นอย่างนี้ แต่ปัญญาขั้นต้น
ยังไม่สามารถทำให้หลุดพ้นได้ เมื่ออบรมเจริญจนปัญญาคมกล้าสูงยิ่งขึ้นไป ปัญญา
นั่นเองย่อมเป็นแสงสว่างนำทางที่ถูกต้อง ปัญญาย่อมทำหน้าที่ดับกิเลส ปัญญา
ย่อมทำให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้..
ในขณะปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น มีกลุ่มของรูปเกิดขึ้นพร้อมกัน ๓ กลุ่ม คือ
หทยทสก ๑ ภาวทสก ๑ กายทสก ๑
หทยรูป เป็นรูปที่เป็นที่เกิดของจิตและเจตสิก(หทยวัตถุ)
ภาวรูป คือ ความเป็นหญิง ความเป็นชาย
ชีวิตรูป คือ รูปที่รักษากัมมชรูป พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 59
จริงอยู่ขันธ์ ๕ ของพวกคัพภไสยกสัตว์ย่อมปรากฏพร้อมกันไม่หลังไม่
ก่อนกันในขณะปฏิสนธิ. ข้อนี้ท่านกล่าวว่า ความสืบต่อแห่งรูป กล่าวคือ
กลละที่ปรากฏในขณะนั้น เป็นของนิดหน่อยมีเพียงแมลงวันตัวน้อยจะพึงดื่มได้
ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น ฯลฯ
ในสันตติรูปเล็กน้อยอย่างนี้ ยังมีสันตติรูปที่เป็นประธาน ๓ กลุ่ม คือ
วัตถุทสกะ ๑ กายทสกะ ๑ ภาวทสกะด้วยอำนาจอิตถินทรีย์ของหญิงและ
ด้วยอำนาจปุริสินทรีย์ของชาย ๑ บรรดาสันตติรูปทั้ง ๓ กลุ่มเหล่านั้น รูปนี้
คือวัตถุรูป ๑ มหาภูติรูป ๔ เป็นที่อาศัยของวัตถุรูปนั้น และวรรณะ คันธะ รสะ
โอชา รวม ๔ ที่อาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า วัตถุทสกะ รูปนี้
คือ กายประสาท ๑ มหาภูตรูป ๔ ซึ่งเป็นที่อาศัยของกายประสาทนั้น
วรรณะคันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูปนั้น และชีวิตรูป ๑ ชื่อว่า กาย
ทสกะ รูปนี้คือ อิตถีภาวะ ของหญิง และปุริสภาวะของชาย ๑ มหาภูตรูป ๔
ซึ่งเป็นที่อาศัยภาวรูปนั้น วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูตรูป
นั้น และชีวิต อาศัยภาวรูปนั้น วรรณะ คันธะ รสะ โอชา ๔ ซึ่งอาศัยมหาภูต
รูปนั้น และชีวิต รูป ๑ ชื่อว่า ภาวทสกะ. กรรมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) ใน
ปฏิสนธิของคัพภไสยกสัตว์ กำหนดโดยสูงสุดมี ๓๐ ถ้วน ชื่อว่า รูปขันธ์
ด้วยประการฉะนี้ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 276 อธิบายภาวรูปและหทัยวัตถุ
รูปทั้ง ๒ ชื่อว่าภาวรูป เพราะทำวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุให้เรียก
ว่าหญิงและให้รู้ว่าหญิงเป็นต้น ฯ ก็ภาวรูปนี้นั้น แผ่ไปอยู่ทั่วสรีระทั้ง
สิ้น เหมือนกายินทรีย์ ฯ ดวงหทัยนั่นแล เป็นที่อยู่ด้วย เพราะเป็นที่
อาศัยแห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าหทัย-
วัตถุ ฯ จริงอย่างนั้น หทัยวัตถุนั้น มีความเป็นที่อาศัยแห่งธาตุทั้ง ๒
เป็นลักษณะ ฯ ก็หทัยวัตถุนั้น อาศัยโลหิตในภายในกล่องดวงหทัยมี ประมาณซองมือเป็นไป ฯ บัณฑิตพึงทราบว่า หทัยวัตถุนั้น แม้พระ
ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสไว้ในรูปกัณฑ์ ก็ชื่อว่ามีอยู่โดยปกรณ์ (อาคม)
และโดยยุกติ ฯ ในปกรณ์และยุกติทั้ง ๒ นั้น คำในปัฏฐานซึ่งมาแล้ว
อย่างนี้ว่า รูปที่มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุอาศัยเป็นไปนั้น เป็นปัจจัย
โดยความเป็นนิสัยปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอัน
สัมปยุตด้วยธาตุคู่นั้น ชื่อว่า ปกรณ์ (อาคม) ฯ ส่วนยุกติพึงทราบ
อย่างนี้
อธิบายชีวิตรูป
ที่ชื่อว่าชีวิตรูป เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเป็นอยู่แห่งสหชาต-
ธรรม ฯ ชีวิตนั้นนั่นแล ชื่อว่าเป็นใหญ่ เพราะประกอบด้วยความ
เป็นใหญ่ในการเลี้ยงดูกัมมชรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าชีวิตนทรีย์ ฯ
จริงอย่างนั้น ชีวิตนทรีย์นี้ มีการเลี้ยงดูกัมมชรูปเป็นลักษณะ ฯ ก็
ชีวิตนทรีย์นั้น เลี้ยงดูสหชาตธรรมทั้งหลาย แม้ที่ตั้งอยู่ชั่วขณะตามปัจจัย
ของตน โดยความเป็นเหตุแห่งความเป็นไปทีเดียว ฯ กรรมเท่านั้น
จะเป็นเหตุตั้งอยู่แห่งสหชาตธรรมเหล่านั้น ดุจอาหารเป็นต้นเป็นเหตุ
ตั้งอยู่แห่งรูปที่เกิดแต่อาหารเป็นต้นหามิได้เลย เพราะกรรมไม่มีในขณะ
นั้น ฯ ไฟกับแต่ชีวิตนทรีย์นี้ที่ยังอาหารให้ย่อมซึมซาบไปทั่วร่างกายที่มี
ใจครองตลอดหมด ฯ พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ตาเปรียบด้วยงู
ประสาทรูปเหล่านี้ เปรียบเหมือนสัตว์มีงูเป็นต้น เหมือนอย่างว่า
ขึ้นชื่อว่างู ย่อมไม่ชอบใจในที่ชื้นแฉะและราบเรียบในภายนอก จึงเข้าไปที่
ต้นไม้ ใบหญ้าชัฏ และจอมปลวกนั่นแหละ ย่อมชอบใจในเวลานอน ย่อม
ถึงความเป็นสัตว์มีจิตสงบ ฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีความพอใจ
ในสิ่งไม่ราบเรียบ ย่อมไม่พอใจไม่ปรารถนาแม้จะแลดูในที่มีฝาทองคำเป็น
ต้นที่เรียบร้อย แต่ย่อมชอบในที่มีลวดลายหลากสีด้วยรูป ดอกไม้ และเครือ
เถาเป็นต้นทีเดียว เพราะในที่เช่นนั้น เมื่อตายังไม่เพียงพอ คนทั้งหลายก็
ยังอ้าปากอยากมอง พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
๑๐. ฉัปปาณสูตร (นำมาเพียงบางส่วน)
...[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างไร. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม
ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณ
น้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดชึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ
แห่ง อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ
เป็นจริง....
[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด
ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจร (ที่หากิน) ต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว
ครั้นแล้วพึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป. ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นแล
สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกันเหล่านั้น พึงดึงกันและกัน
เข้าหาเหยื่อและอารมณ์ของตน ๆ ...
ข้อความบางตอนจากอรรถกถามีว่า
....พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ
พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ
ทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนา
จะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.
แต่เมื่อว่า โดยการแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ จึงเป็นอัปปนา
ดังนี้. ธรรมดาว่างูนี้ ไม่ชอบอยู่ในที่เย็นและที่เตียน ในภายนอก.... บางท่านถามว่า รับประทานข้าวหมาก...ผิดศีลหรือไม่.?
เป็นเรื่องของความสงสัย และ ไม่เข้าใจ.?
ถ้าเป็นความเข้าใจจริง ๆ ในเรื่องของ"ศีล" ก็จะไม่สงสัยเลย
ว่า ทำไม...จึงมีการรักษาศีล เช่น ทำไมจึงควรเว้นการดื่มสุรา
ทำไมสิ่งอื่นรับประทานได้
และ ตามความเป็นจริง ไม่ได้เป็นข้อบังคับด้วย.!
แล้วแต่บุคคลนั้นเอง ว่าจะวิรัติ หรือ งดเว้นการดื่มสุราหรือไม่
เรากลัวเพียงแต่ "ผิดศีล" หรือเปล่า.? คือ กลัวว่าทำอย่างนี้ แล้วจะผิดศีล
แต่ ไม่เข้าใจ ว่า ศีลคืออะไร
และโทษของการผิดศีลแต่ละข้อ คืออะไร
และ เพราเหตุใด จึงควรเว้น
เพราะฉะนั้น ควรที่จะเป็น "ความเข้าใจ" ของตนเอง
แล้วไม่ต้องถามใคร....จะดีไหม.?
เพราะว่า ถ้าตราบใดที่ยังถาม ก็หมายความว่า ยังไม่เข้าใจ
เมื่อกล่าวถึง ศีลข้อ ๑ ควรพิจารณาว่า การฆ่าสัตว์ การทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั้น
เป็นสิ่งที่ดี หรือ เป็นประโยชน์หรือไม่ ควรที่จะละเว้นหรือไม่
ศีลข้ออื่น ๆ ที่ทรงบัญญัติไว้ ว่าควรละเว้น ก็โดยนัยเดียวกัน
คือ สิ่งที่ดี ก็ควรประพฤติปฏิบัติ
ซึ่ง ควรเป็น"ความเข้าใจที่ถูกต้อง"ในเรื่องของ "ศีล"
เพราะถ้าไม่เข้าใจจริง ๆ เราจะสับสนว่า ศีลคืออะไร ศีลสำหรับใคร
และ รักษาศีล เพื่อจุดประสงค์อะไร.!
โดยมาก เพียงได้ยินคำว่า "ศีล" แล้วก็จะไปรักษาศีล
อยากรู้เพียงว่าผิดศีลหรือไม่ ทำได้หรือเปล่า ล่วงศีลหรือเปล่า
โดยที่ไม่เข้าใจ "ความหมายที่แท้จริง" ของคำว่า "ศีล" เลย.!
ควรทราบว่า บุคคลผู้ที่รักษาศีล นั้น....มีเจตนาที่จะวิรัติ (งดเว้น) หรือไม่
ถ้ามีเจตนา มีความตั้งใจที่จะงดเว้น แล้วไม่ทำตามที่เจตนาไว้
ก็คือ ผิดจากเจตนา.
"ศีล" คือ "ปกติ"
ถ้าเป็น "อกุศลศีล" เช่น บุคคลผู้ "มีปกติ" ดื่มสุราเป็นประจำ
และ บุคคลนั้น ไม่ได้ตั้งใจ-สมาทาน-วิรัติ-รักษาศีล
เพราะเป็น "อุปนิสัย-ปกติ" ของบุคคลนั้น ใช่ไหม.? สำหรับบุคคลที่ "สมาทาน" (ถือเอา-ตั้งใจ-เจตนา)
เช่น สมาทาน ว่า จะงดเว้นการดื่มสุรา....แต่ก็ยังดื่มสุรา
ก็หมายความว่า ได้กระทำสิ่งที่ผิดไปจากความตั้งใจและเจตนาที่สมาทานไว้
ว่า จะวิรัติ คือ งดเว้นจากการดื่มสุรา.
เพราะฉะนั้น "การล่วง"
จึงหมายความว่า "มีเจตนาที่จะวิรัติ-งดเว้น แต่ไม่ได้ประพฤติตามที่ตั้งใจไว้"
และ "ศีล" ก็มีหลายระดับด้วย.!
เช่น ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในเพศบรรพชิต เป็นพระภิกษุ
ก็ต้อง "สมาทาน-รักษาศีลของพระภิกษุ" ซึ่งพระผู้มีพระภาคฯ ทรงบัญญัติไว้
ไม่ใช่เพียงแค่ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ หรือ ศีล ๑๐
เพราะบุคคลผู้ที่เป็นเพศบรรพชิตนั้น
"มีเจตนา" ที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เพื่อ "การละทั่ว"
ฉะนั้น ขณะใดที่พระภิกษุ ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยที่ทรงบัญญัติไว้ ว่า
"ภิกษุ...ไม่พึงประพฤติอย่างนั้น"
ขณะนั้น ก็หมายความว่า ภิกษุรูปนั้นได้กระทำผิดไปจากเจตนา
ที่ตั้งใจไว้ว่า จะวิรัติ และ รักษา "ศีลของบรรพชิต"
เพราะฉะนั้น ควรที่จะเป็น "ความเข้าใจ" จริง ๆ ในเรื่องของศีล
และ ควรเข้าใจจริง ๆ ว่า "ศีล" คือ อะไร.?
"ศีล" ของใคร.?
มีเจตนาที่จะวิรัติ-งดเว้น หรือไม่.?
และ มีการ "สมาทาน" ไว้ หรือไม่.?
คำว่า อัตตวินิบาตกรรม หมายถึง การมีเจตนาฆ่าตัวตาย
การกระทำใดๆเพื่อให้ตนเองตาย ชื่อว่า ฆ่าตัวตาย
โดยความละเอียดแล้วขึ้นอยู่ที่เจตนา ตามตัวอย่างที่ท่านยกมาเราไม่ทราบจริงๆ
ว่าผู้ป่วยเขาคิดอย่างไร.. ผู้เจ็บป่วยในระยะสุดท้าย ย่อมทุกข์ทรมาณ จึงอาจคิดที่จะ ต้องการตายให้พ้นๆจาก
ความทุกข์ทรมาณ
ผู้เป็นหมอ หรือพยาบาล ย่อมรู้ดีว่า การให้ยาบรรเทาอาการปวดนั้น ควรให้ขนาดเท่า
ไหร่ จึงบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ เมื่อ คนหายเจ็บปวดแล้ว คงไม่คิดอยากตาย หาก
คนไม่เจ็บปวดแล้วยังคงให้ยาอีก ก็ เป็นอันตรายอย่างแน่นอน ดังนั้น แพทย์ จึงควรให้
ยาบรรเทาปวดในเวลาปวดเท่านั้น คงต้องรักษากันต่อไปจนกว่าจะสิ้นกรรมของคนๆนั้น
ถ้าเป็นตามที่ว่า ก็ไม่ต้องมาถามว่าเป็น อัตตวินิบาตกรรม หรือเปล่า (ทั้งในแง่ศีลธรรม
และกฏหมาย) ผู้ที่ศึกษาพระธรรมจนเข้าใจระดับหนึ่งแล้ว เริ่มศึกษาตัวสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
แต่ยังไม่แล้ว คือ ต้องค่อยๆสะสมอบรมความเข้าใจ สะสมสติสัมปชัญญะไปเรื่อยๆ
จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์ จนถึงความเป็นพระอริยะขั้นพระอรหันต์ ซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่
ร้อย อีกกี่พัน อีกกี่แสนชาติ หรืออีกกี่กัป ก็ยังไม่ทราบ ดังนั้นการศึกษา การฟังก็ต้อง
มีต่อไปเรื่อยๆ ครับ ถ้าท่านเข้าใจคำว่าวิญญาณตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่มีคำว่าวิญญาณ
ล่องลอย เพราะวิญญาณก็คือจิต ทุกขณะในชีวิตประจำวันมีวิญญาณตลอดเวลา
คือ ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกรู้กลิ่น ทางลิ้นรู้รส ทางกายกระทบโผฏฐัพพะ
ทางใจคิดนึก ทั้งหมดเป็นวิญญาณคือสภาพรู้ ส่วนที่เค้าเห็นกันเป็นรูปร่างต่างๆ
นั้น ก็เป็นไปได้ว่าเป็นอมนุษย์ก็ได้ แต่ความจริงแล้วสิ่งใดที่ตาเห็นได้ เป็นเพียงรูป
ประเภทหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลใดๆเลย..
ถ้าได้ศึกษาพระอภิธรรม จิตเกิดที่ไหนดับที่นั้น ถ้าเกิดในภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ จิตเกิดดับที่รูป จิตไม่ล่อง
ลอย จิต เจตสิก และรูป เป็นสังขารธรรม เป็นธรรมที่เกิดแล้วดับไป ไม่เที่ยง เป็น
ทุกข์ เป็นอนัตตา วิญญาณไม่ปรากฏทางตา ไม่ใช่รูปารมณ์หรือรูปที่ปรากฏทางตา
จึงไม่สามารถเห็นวิญญาณล่องลอยได้ นอกจากสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วคิดต่อทาง
ใจ เพราะการเกิดดับสืบต่อของรูปที่ปรากฏทางตา ทำให้เห็นเป็นนิมิต รูปร่าง
สัณฐาน เป็นเรื่องราวให้รู้ได้ ตามที่จิตทางใจจะปรุงแต่งและสัญญาที่เคยจำคลาด
เคลื่อนจากความเป็นจริง ขณะนี้ก็มีจิตเห็นทางตา จิตคิดนึกต่อทางใจ จิตเกิดดับ
สืบต่อกันรวดเร็วมาก เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นธรรม เมื่อจุติจิตดับ สิ้นสุดความเป็นบุคคลในชาติก่อน ปฏิสนธิจิตชาติ
นี้ ก็เกิดสืบต่อจากจุติจิตชาติก่อน ทำให้เป็นบุคคลใหม่ทันที ปฏิสนธิจิตเป็น
วิบาก คือ ผลของกรรมหนึ่งที่ได้กระทำแล้วในสังสารวัฏฏ์ กรรมนั้นเป็น
ชนกกรรม คือ เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิ และ กรรมชรูป (รูปซึ่งเกิดเพราะ
กรรมเป็นปัจจัย) เกิดขึ้นพร้อมกันในขณะปฏิสนธิจิตเกิด
ด้วยเหตุนี้ แต่ละคนจึงต่างกันทั้งในรูปร่างและลักษณะ อุปนิสัยใจ
คอ ความคิดนึกตามการสะสมของจิต บางคนก็มีโลภะมาก บางคนก็มี
โทสะมาก เมื่อปฏิสนธิจิตสืบต่อจากจุติจิตนั้น ไม่ได้นำจิตของชาติก่อน
ตามมาด้วย ไม่ได้นำรูปของชาติก่อนตามมาด้วย เพราะจิต เจตสิก รูปใด
ดับไปแล้ว ก็ดับหมดสิ้นไปเลย แต่การดับไปของจิตขณะสุดท้ายของ
ชาติก่อน เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตชาตินี้ เกิดขึ้นพร้อมกับรูป ซึ่งเกิด
เพราะกรรมหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นบุคคลนี้ เมื่อจุติจิตในชาตินี้เกิดขึ้น และดับ
ไปแล้ว กรรมหนึ่งก็ทำให้ปฏิสนธิจิต และกัมมชรูปเกิดต่อเป็นบุคคลใหม่ใน
ชาติต่อไป สิ้นสภาพความเป็นบุคคลในชาตินี้โดยสิ้นเชิง จุติจิต
จุติ ( เคลื่อน , ตาย ) + จิตฺต ( จิต )
จิตที่ทำกิจเคลื่อนจากภพ หมายถึง วิบากจิต ๑๙ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง ในขณะที่ทำ
จุติกิจ เป็นการแสดงถึงความสิ้นสุดของกรรมที่ทำให้เป็นบุคคลนั้น ที่สามารถบัญญัติได้ว่า
คนตาย สัตว์ตาย ก็เพราะมีจุติจิตเกิดขึ้นทำจุติกิจ
จุติจิตจะเกิดเมื่อใดก็ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท
ควรศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ ...
พระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรงแสดงว่า
เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบประณีต ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยการตรึก
ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าว จึงจำต้อง
ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ ทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะ เพื่อให้สามารถหยั่งรู้ธรรมทั้งหลาย
ตามความเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ
ธรรมะไม่ใช้เรื่องที่ใครจะคิดเอาเอง แต่เป็นการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถ้าทราบว่าจุติจิตอาจเกิดเดี๋ยวนี้ก็ได้ ก็ไม่พึงประมาทในพระธรรม ..
ธรรมที่ได้ฟังหรืออ่านทั้ง ๓ ปิฎก รวมทั้งอรรกถาและฎีกา ก็เพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้นรู้สภาพ
ธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามปรกติตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะฟังมาก เรียนมาก สนทนา
ธรรมมาก ตรึกตรองธรรมมากสักเท่าไรก็เพื่อเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง ให้สติเกิดระลึกศึกษา
พิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทาง
ใจในขณะนี้
แม้ว่าจะได้ยินได้ฟังอย่างนี้ ครั้งแล้วครั้งเล่าก็จะต้องพิจารณาให้เข้าใจลักษณะของ
สภาพธรรมแต่ละอย่างที่กำลังปรากฏจริงๆ ซึ่งสติจะต้องระลึกรู้ มิฉะนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่
จะศึกษาพิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตาในแต่ละวันที่ผ่านไปๆ ซึ่งก็เป็น
นามธรรม และรูปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทุกขณะไม่มีอะไรเหลือเลยสักขณะเดียว ทุกคนรู้
ว่า อดีตที่สนุกสนานหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ดับหมดไปแล้วคงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันขณะนี้ขณะ
เดียว เพียงขณะเดียวจริงๆ ซึ่งจะต้องศึกษาให้เข้าใจลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล
นี่เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจ ให้ชัดเจนจริง ๆ ในเรื่องของจิต (ซึ่งจะใช้ คำว่า
วิญญาณก็ได้ เพราะ จิต หรือ วิญญาณเป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน) และ
เจตสิกซึ่งเป็นนามธรรมว่า เป็นสภาพธรรมที่ต่างกับรูปโดยสิ้นเชิง จิต เจตสิก
ไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสันวัณณะ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส รูปธรรมตามความหมายใน
พระพุทธศาสนา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่สภาพรู้ รสหวาน
รสขมมีจริง ไม่ใช่สภาพรู้ รสเป็นรูป แม้ว่ามองไม่เห็น เสียงมีจริง กำลัง
ปรากฏ เสียงไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่จิตได้ยิน เสียงเป็นรูปธรรมที่ปรากฏเมื่อ
กระทบกับหู ไม่ว่าเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงเบา เสียงทุ้ม เสียงห้าว เสียงต่าง
กัน เพราะ รูปธรรมที่ทำให้เกิดเสียงต่างกัน ตามจำนวนคนในโลก และวัตถุ
ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงนั้น ๆ ซึ่งทุกเสียง ก็เป็นรูปธรรม ที่มองไม่เห็น แต่
ปรากฏทางหู แล้วก็ดับไป ฉะนั้น วิญญาณจึงต่างกับรูปธรรม เพราะวิญญาณ
เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปใด ๆ เลย ที่ถามว่าวิญญาณที่ออกจากตัว
คนตายมีรูปร่างลักษณะอย่างไรหรือไม่ วิญญาณไม่มีขา ไม่มีปีก ไม่มีแขนที่
จะออกจากตัวคนตาย วิญญาณเป็นธาตุรู้ซึ่งเกิดขึ้นทำกิจเฉพาะของวิญญาณ
คือจิตนั้น ๆ แล้วก็ดับไปทันที ขณะที่เห็นในขณะนี้ วิญญาณ คือ จิตเห็นเกิด
แล้วก็ดับไปทันที แล้วจิตอื่นก็เกิดสืบต่อไปทันที แล้วก็ดับไปทันที จิตแต่ละ
ขณะที่เกิดขึ้นนั้นเมื่อดับไปแล้วก็ดับไปเลย ไม่มีที่ไป เหมือนไฟ ไม่ใช่ว่าไฟ
ดับจากที่นี่แล้วไปที่อื่น จิตก็เช่นเดียวกันคือเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น จิตเห็น เห็น
ที่จักขุปสาท เกิดที่จักขุปสาทแล้วก็ดับที่จักขุปสาท จิตได้ยินเสียง เกิดขึ้นที่
โสตปสาท ได้ยินที่โสตปสาท ดับที่โสตปสาท อย่างรวดเร็วที่สุด ฉะนั้นจึงไม่
ใช่ว่าวิญญาณเป็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่ออกจากตัวคนตายไปได้
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ฟังธรรม ให้ธรรมะเป็นทาน ตื่นแต่เช้าอ่านการรักษาโรค และได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย อุทิศบุญกุศล อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจว่าจะศึกษาธรรม ฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เจริญอนุสติหลายอย่าง วันนี้ไลเมื่อวานนี้ด้ให้อภัยทานด้วย และอฐิษฐานจิต และวันนี้ได้บำเพ็ญบารมี ครบ 10 ทัศ 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญปิดทองฝังลูกนิมิต 9 วัดเดินทางวันเดียวคือวันเสาร์ที่ 13 กพ. 2553กับ สทท สัญจร สนใจติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ 022592751, 0891431422
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|