Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

บทสนทนา

เสาร์ 30 ม.ค. 2010 9:07 am

บทสนทนาธรรม
ถาม เเล้วเราจะป้องกันเพื่อมิให้ศีลทั้งหลายขาดได้อย่างไรละครับก็ในเมื่อญาติโยมมีศรัทธา

ถวายมาเนี้ยะครับในสมัยนี้สิ่งรุมเร้ามันมากเลยนะครับไงก็ขอให้พี่ทั้งหลายที่เชี่ยวชาญ

เรื่องพระวินัยวิสัชนาชี้เเจงเเสดงอรรถให้พอเป็นวิธีเเนวทางเเห่งการศึกษาเเละนำไป

ปฎิบัติสืบต่อไปนะครับ

ตอบ เริ่มต้นด้วยการศึกษาให้เข้าใจว่าสิ่งไหนควรและไม่ควร

ไม่ใช่ว่าญาติโยมเขาถวายอะไรก็รับได้หมด โยมเขาไม่ศึกษาโดยละเอียด

สิ่งใดที่ไม่ถูกต้องตามธรรมวินัย เราก็ปฏิเสธ คือไม่รับของนั้น และอธิบายให้เขา

เข้าใจ การปฏิเสธไม่รับ ไม่ผิดศีล ถ้ารับสิ่งของที่ขัดกับพระวินัยศีลขาดครับ

ต้องขออภัยด้วย ข้อความที่เสริมจาเมื่อวานนี้เพราะเมื่อวานนี้คอม มีปัญหาครับพิมพ์อะไรไม่ได้เลยต้องขออภัยด้วยเชิญอ่านได้ครับ

ในสมัยครั้งพุทธกาลส่วนมากผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต เพราะท่านรู้จักตนเอง ตาม

ความเป็นจริง เพราะท่านได้สะสมอุปนิสัยในการเห็นประโยชน์ของกุศล เห็นโทษของ

กิเลส เห็นโทษของการครองเรือน จึงออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ในเพศบรรพชิต

ท่านเหล่านั้นท่านแสวงหาความจริงเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏฏะ คือท่านบวชเพื่อตัวท่าน

จะหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์ ไม่ใช่บวชเพื่อผู้อื่น แต่การทำบุญเพื่ออุทิสให้แกบุพการี

สามารถทำได้หลายประเภทคือทั้งทาน ศีล ภาวนา ก็อุทิศได้จึงไม่จำเป็นต้องบวชก็ได้

แต่บางท่านที่บวชเข้าไปแล้ว ถ้าไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย การบวชนั้นย่อมมีโทษ

ต่อผู้บวช และไม่มีกุศลจะอุทิศให้แก่บุพการี การบวชนั้นก็ช่วยบุพการีไม่ได้
การตอบแทนพระคุณท่าน มิใช่ด้วยการบวชแต่ให้ท่านเข้าใจพระรรม ชื่อว่าตอบ

แทนจริงๆ ครับ และควรเข้าใจจุดประสงค์ในการบวชที่ถูกต้องครับ ดังแสดงดังต่อไป

นี้ ลองอ่านดูนะ เรื่องการตอบแทนพระคุณมารดา บิดาที่แท้จริง



บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 357

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์

ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น

ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้

แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน

ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-

สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า

อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.




เรื่องจุดประสงค์ของการบวชที่ถูกต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔- หน้าที่ 73

ข้อความบางตอนจาก รัฐปาลเถรคาถา

จริงอยู่ กามทั้งหลายวิจิตรด้วยรูปเป็นต้น คือมีรูปแปลก ๆ โดย

เป็นรูปสีเขียวเป็นต้น. กามทั้งหลายแสดงความชอบใจโดยประการนั้นๆ

ด้วยรูปแปลก ๆ นั้นอย่างนี้แล้ว ย่อมย่ำยีจิต คือไม่ให้ยินดีในการบรรพชา

เพราะเหตุนั้น เราเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย โดยมีความยินดีน้อยมีทุกข์

มากเป็นต้น เพราะฉะนั้น คือเพราะการเห็นโทษในกามคุณนั้น เราจึงบวช
บวช เป็นภาษาบาลี มาจาก ป (ทั่ว) + วช (เว้น) ดังนั้นจึงแปลว่าเว้นทั่ว เว้นจาก

คิหิสัญโญชน์ เว้นจากกามทั้งปวง เว้นความประพฤติที่ไม่เหมาะสมตามสิกขาบท

ที่ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย ดังนั้น กุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต

ควรตั้งปุพพเจตนาเพื่อขัดเกลาอกุสลธรรมให้เบาบางลง และเจริญกุสลอันเป็น

ฝ่ายวิวัฏฏะ อันจะนำไปสู่อุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่สุด

บุคคลที่จะรู้จริตและอัธยาศัยของสัตว์อย่างแท้จริงอันประกอบด้วยพระญาณต่างๆ

คือ พระพุทธเจ้า พระองค์มิได้บังคับให้ใครบวชหรือไม่บวช แต่พระองค์ทรงทราบว่าใคร

ควรบวช แม้ตอนแรกจุดประสงค์จะไม่ถูก แต่เข้ามีอุปนิสัยในเพศบรรพชิต ใครรู้ พระ

พุทธเจ้ารู้ ดังเช่นพระวังคีสะ เรียนมนต์ ทำนายกะโหลกคนตายว่า จะไปเกิดที่ไหน

พระองค์ตรัสว่าถ้าต้องการเรียนมนต์กับเรา ก็ต้องบวช เพราะพระวังคีสะ มีอุปนิสัย จน

ถึงพระอรหันต์ นั่นเอง ถามว่าใครรู้ ก็พระพุทธเจ้ารู้ ถามว่าทำไม พระพุทธเจ้าไม่ให้

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี บวช ก็ท่านไม่ได้มีอุปนิสัย ที่จะละเพศฆราวาส และได้เป็น

ถึงพระอรหันต์ ดังนั้น การจะให้บุคคลใดบวชแม้เพื่อเรียนมนต์ ก็ด้วยพระญาณของพระ

พุทธเจ้าที่ทรงรู้ว่าเขามีอุปนิสัย แต่ปัจจุบันมิใช่ใครอยากบวชก็บวช โดยไม่เข้าใจจุด

ประสงค์ที่แท้จริงในการบวช และความเข้าใจพระธรรม ถ้าอัธยาศัยเป็นอย่างนั้นก็ไม่

เป็นไร และคำว่า มีอัธยาศัยอย่างนั้น คำว่าอัธยาศัย คือ ไม่ยินดีในการครองเรือน และ

วัตถุกาม ไม่มีใครบังคับแต่ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง


เรื่อง เมื่อฟังธรรมจนเข้าใจแล้วจึงบวช

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

ข้อความบางตอนจาก ฆฏิการสูตร

[๔๑๑] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

กัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อและโชติ-

ปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เพลิดเพลินชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มี

พระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจาก

อาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๔๑๒] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามฆฏิการะช่าง

หม้อว่า เพื่อนฆฏิการะ เมื่อท่านฟังธรรมนี้อยู่ และเมื่อเช่นนั้น ท่านจะออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตหรือหนอ.

ฆ. เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็น

คนตาบอดผู้ชราแล้วมิใช่หรือ.

โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.



ฆฏิการช่างหม้อ เป็นพระอนาคามี ทำไมไม่บวช

โชติปาล ฟังธรรมจนเข้าใจจึงบวช
ในพระไตรปิฎกมีข้อความว่า ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิตนั้น

เพราะเห็นว่าชีวิตของฆราวาสคับแคบ ไม่ สามารถเจริญกุศลได้เต็มที่ตลอดเวลา

ชีวิตบรรพชิต ไม่มีกิจธุระที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง หรือวิตกกังวลมากอย่างชีวิตฆราวาส

บรรพชิตนั้นตั้งแต่เช้าก็มีแต่เรื่องของกุศลจิต มีการสวดมนต์ระลึกถึงพระพุทธคุณ

การออกบิณฑบาตร ซึ่งเป็นการเจริญกุศลทั้งผู้ให้และผู้รับ



มีการศึกษาธรรม สนทนาธรรม ปฏิบัติธรรม



ซึ่งเป็นชีวิตที่บำเพ็ญประโยชน์ตั้งแต่ตื่นจนหลับ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ




ฉะนั้น จุดประสงค์ที่แท้จริงของการบรรพชา อุปสมบทนั้น

ก็เพื่ออบรมเจริญกุศลยิ่งขึ้น จนกระทั่ง ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์

แต่ถ้าบรรพชาอุปสมบทแล้วไม่ได้ประพฤติธรรม ไม่ได้ขัดเกลากิเลส

เมื่อสึกออกมาแล้วก็อาจจะเป็นบุคคล ที่ประพฤติไม่ดี

แต่สำหรับผู้ที่บวชและได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระอริยบุคคลแล้วนั้นจะไม่สึกเลย

เพราะการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้นั้น ต้องอบรมเจริญปัญญานานมาก

ไม่ใช่เพียงหนึ่งชาติ แสนชาติ

ดังนั้น เมื่ออบรมเจริญปัญญาในสภาพฐานะของ บรรพชิต

จนได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมในเพศบรรพชิตแล้ว

จะไม่หวนกลับมาสู่การเป็นคฤหัสถ์อีกเลย

ตัวชี้วัดว่าศาสนาจะอันตรธาน คือ ปริยัติ ถ้าขาดปริยัติ พระพุทธศาสนาก็ชื่อว่า

อันตรธานเช่นกัน ส่วน เพศ ก็มีกำหนด อันตรธาน เช่นกัน มิใช่ อยู่ต่อไปไม่มีกำหนด

เมื่อใด ภิกษุทุศีลไม่เห็นสาระ จึงทิ้งท่อนผ้า ชื่อว่า เพศอันตรธาน จึงมีกำหนดครับ

สำหรับเพศ และเพศ มิใช่ เครื่องวัดว่า ศาสนาจะอันตรธาน ปริยัติครับเป็นตัวชี้วัด

ศาสนาอันตรธาน ขอยกข้อความที่ เพศมีกำหนดอันตรธาน และ ปริยัติ อันตรธาน ชื่อ

ว่าศาสนาอันตรธานครับ ลองอ่านดูนะ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 171

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์

ในอนาคตกาล จักมีโคตรภูบุคคลผู้มีผ้ากาสายพันคอ เป็นผู้ทุศีล

เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลายให้ทาน ในคนผู้ทุศีล

ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้น อุทิศสงฆ์ อานนท์ในกาลนั้น เรากล่าวว่า

ทักษิณาไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้ประมาณไม่ได้. แต่นั้น

เมื่อกาลล่วงไป ๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า

พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยน

ไปเสียในงา. ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป.ได้ยินว่า การห่มผ้าขาวเที่ยว

ไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่า

การอันตรธานไปแห่งเพศ.



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 172

การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕

อย่างนี้ ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่าง คือ อธิคมอันตรธาน

อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธานอันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑

ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑

ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑.



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 175

เมื่อปริยัติ ยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธานไป ฉันนั้น

เหมือนกันแล.

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐

เพศแห่งบรรพชิตอันตรธานแน่ แต่ที่บอกว่าอยู่ต่อไปไม่มีกำหนดนั้น ไม่ใช่ว่าจะอยู่

ตลอดจนถึงแสนๆ กัปป์ หมายความว่าท่านไม่ได้ระบุแน่นอนว่ากี่พันปีกันแน่ เพศแห่ง

บรรพชิตถึงจะอันตรธานไป ระบุเพียงแต่ว่าพระอริยบุคคลยุคสุดท้ายเท่านั้น ถ้าหากว่า

มีข้อความในพระไตรปิฎก กล่าวว่า กี่พันปีเพศแห่งบรรพชิตหรือภิกษุอันตรธานแน่นอน

โปรดระบุมาด้วยถึงจะเกิน พ.ศ.5000 เพศแห่งภิกษุก็ยังมีอยู่ แต่ระบุไม่ได้ว่ากี่พันปี

เท่านั้น ถึงจะหมดสิ้น นี่คือความหมายส่วนปริยัติก็ยังคงพอมีอยู่ แต่ทีหมดแน่คือ ไม่มี

ผู้บรรลุมรรค ผล แล้ว
เรื่อง เพศ ดำรงอยู่ได้ ห้าพันปี เท่านั้น เพราะปริยัติอันตรธาน เพศก็แปร

เปลี่ยนไปมิใช่ภิกษุ และกำหนดอายุ เพศ 5000 ปี ก็อันตรธาน เพราะ

อันตรธานแห่งปริยัติเป็นเหตุ ปริยัติก็อันตรธาน 5000 ปี ครับ



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 554

ข้อความบางตอนจาก อรรถกถาโคตมีสูตร

ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง

ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี

๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน

ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้

แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ

เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม

ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว

เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.



เรื่อง เมื่อ ปริยัติ อันตรธาน เพศก็อันตรธานด้วย

ดังนั้น เพศจึงดำรงได้ 5000 ปีเท่านั้น ตามปริยัติที่อันตรธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 172

การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕ อย่างนี้ ชื่อว่า

อันตรธานมี ๕ อย่าง คือ อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑

ปฏิปัตติอันตรธานอันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธาน

แห่งปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตรธาน

แห่งธาตุ ๑.


เรื่อง เพศเปลี่ยนไป ชื่อว่าดำรงศาสนาไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ข้อความบางตอนจาก สัมปสาทนียสูตร

แต่วงศ์ของสมณะผู้นุ่งผ้าขาว ไม่สามารถจะดำรงศาสนาไว้ได้ตั้งแต่

กาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามกว่ากัสสปะ.


เรื่อง เพศเปลี่ยนไป เช่น นุ่งผ้าขาว ก็ไม่ใช่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 171

แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไปๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า

พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยน

ไปเสียในงา. ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป. ได้ยินว่า การห่มผ้าขาวเที่ยว

ไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่า

การอันตรธานไปแห่งเพศ.



เมื่อเป็นดังข้อความที่พระไตรปิฎกกล่าวมาทั้งหมด เมื่ออ่านแล้ว แสดงให้เห็นว่า

พระพุทธศาสนา จะดำรงอยู่เพียง 5000 ปี เท่านั้น เพราะ ปริยัติ อันตรธาน 5,000 ปี

เมื่อปริยัติอันตรธาน อีก 4 ก็อันตรธาน รวมทั้งเพศด้วย ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ


ผมเห็นด้วยว่า ถ้าออกบวชด้วย ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว

การบวชจะเป็นชีวิตที่ประเสริฐ และผู้บวชจะได้รับประโยชน์มาก แต่ถ้าบวชเพื่อ

เลี้ยงชีวิต ทำให้พระศาสนาเสื่อม ก็เป็นโทษแก่ผู้กระทำมากเช่นกัน

สำหรับการออกบวชด้วยศรัทธานั้น เนื่องจาก พรหมจรรย์นี้มีการศึกษาไป

โดยลำดับ มีการกระทำไปโดยลำดับ ผมจึงขอเสนอให้ผู้ที่ประสงค์จะออกบวช

ได้ทดสอบตนเองว่า ยินดีพอใจในการออกบวช จริงหรือไม่ และความยินดีพอใจนั้น

ยั่งยืนยาวนานเพียงใด ดังต่อไปนี้

ให้ทดลองรักษาอุโบสถศีล ในวันอุโบสถ ถ้ามีใจผ่องใส ยินดีในการรักษา

อุโบสถศีลนั้น ( โดยปกติของตนเอง ) ก็ขยายระยะเวลาการอยู่ในอุโบสถศีลนั้น

ออกไปให้มากยิ่งขึ้น ถ้ารักษาอุโบสถศีลตลอดกาลเป็นนิตย์แล้วยังยินดียิ่งอยู่

ก็รักษาศีล 10 ของสามเณร และค่อยๆขยายระยะเวลาออกไป โดยนัยเดียวกัน

ถ้ารักษาศึลตลอดกาลเป็นนิตย์ แล้วยังยินดียิ่งอยู่ ก็ขอเชิญ ศึกษา

พระปาฏิโมกข์ และเตรียม อัฏฐบริขาร ไว้ได้เลยครับ .................... สาธุ



ปล.1.ระยะเวลาทดลองรักษาศีล ตั้งแต่เริ่มทดสอบ จน เสร็จการทดสอบ

ประมาณ 2 ปี ( ไม่ควรต่ำกว่า 1 ปี ) และในช่วงที่ทดลองรักษาศีลของ

สามเณร นั้น ถ้าละบ้านเรื่อนไปอาศัยในวัดด้วย ก็จะใกล้เคียงการ

ออกบวชยิ่งขึ้น

2. พระอุปัชฌาย์/อาจารย์ มีความสำคัญ แก่การออกบวชมาก

ต้องใส่ใจแสวงหา เพราะ มิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น





พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 205

๙. มหาอัสสปุรสูตร

[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่เจ้าอังคะ

ในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อมรู้จักพวกเธอ

ว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็นอะไร ก็

ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอนั้น

มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก

สมาทานประพฤติกรรม ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็นพราหมณ์ด้วย

เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเราก็จักเป็นความจริงแท้

ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลายนั้น ของทายกเหล่านั้น

ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา

อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.

เอาบุญมาฝากตื่นแต่เช้ามึดได้ถวายสังฆทานโดยท่องคาถาถวายสังฆทาน
ตอนที่ใส่บาตร เจริญวิปัสสนา
ให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์
นั่งสมาธิ เดินจงกรม เจริญอนุสติกรรมฐาน 8 อย่าง
กรวดน้ำอุทิศบุญ อาราธนาศีล รักษาศีล อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ให้อภัยทานโดยกล่าวคาถาอโหสิกรรม
อฐิษฐานจิต วันนี้ได้สร้างทำบารมี 10 ครบ ทุกบารมี
และตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย
ฟังธรรม ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค เมื่อวันก่อนได้
รักษาผู้ป่วยโดยไม่คิดเงิน และตั้งใจว่าจะสักการะพระธาตุ
เจริญอนุสติ 8 อย่าง
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญทัวร์ทำบุญกราบสักการะเจดีย์ 500 ยอด
วัดป่าสว่างบุญ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 บ้านคลองไผ่ ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์เทพพิธากร และเจดีย์ห้าร้อยยอด นอกจากนี้ ภายในวัดยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปฏิบัติธรรม เนื่องจากมีร่มไม้ที่ปกคลุมให้ความร่มรื่นโดยทั่วไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พระอาจารย์สมชาย ปุญญมโน เจ้าอาวาสวัดป่าสว่างบุญ 08 1916 5338

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้