พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 05 ก.พ. 2010 6:26 pm
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
๒. มหาราหุโลวาทสูตร
ทรงโอวาทพระราหุล
[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ยังนครสาวัตถี เวลาเช้า แม้ท่านพระราหุลก็ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตร
และจีวรตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงผินพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่งเป็นอดีต เป็นอนาคตและเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก
ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้
ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น
ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.
พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่
พระสุคตเจ้า รูปเท่านั้นหรือ.
พ. ดูก่อนราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.
[๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงโอวาท ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อ
บิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้วนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ
ไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลผู้
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า
อานาปานสติภาวนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์
มาก.
ธาตุ ๕
[๑๓๕] ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด
ไต ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม
และกิเลสเข้าไปยึดมั่น อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม
ก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้น ก็เป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุ
นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วย
ปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลาย
กำหนัดในปฐวีธาตุ
[๑๓๖] ดูก่อนราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน อาโปธาตุเป็นภายในก็มี
เป็นภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน
เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด
หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรหรือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน ก็อาโปธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตน
ของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง
อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
[๑๓๗] ดูก่อนราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน เตโชธาตุเป็นภายในก็มี
เป็นภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัย
ตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยัง
กายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และ
ไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรม
และกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็น
ภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน
เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่
ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นเตโช-
ธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ
จิตย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
[๑๓๘] ดูก่อนราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน วาโยธาตุเป็นภายในก็มี
เป็นภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัด
ขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะ
น้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่า วาโยธาตุ
เป็นภายใน ก็วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้น
เป็นวาโยธาตุเหมือนกัน วาโยธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อม
เบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
[๑๓๙] ดูก่อนราหุล ก็อากาศธาตุเป็นไฉน อากาศธาตุเป็นภายใน
ก็มี เป็นภายนอกก็มี อากาศธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน
อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ
ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว
ที่ลิ้ม ช่องท้องสำหรับเก็บอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับ
ถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
อื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
ไม่ทึบ เป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาศธาตุ เป็นภายใน ก็อากาศ
ธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อากาศธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุ
เหมือนกัน อากาศธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคล
เห็นอากาศธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย
ในอากาศธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอากาศธาตุ…..
ข้อความบางตอนจากวัมมิกสูตร มีเนื้อหาเหมือนกันดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
....... ปัญหาข้อว่า อย่างไรชื่อว่าพ่นควันในกลางคืนนั้น ดูก่อนภิกษุ ได้แก่
การที่บุคคลขมักเขม้นการงานในกลางวัน แล้วตรึกถึงตรองถึงในกลางคืน
นี้ชื่อว่าพ่นควันในกลางคืน. ปัญหาข้อว่า อย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวันนั้น
ดูก่อนภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลตรึกถึงตรองถึง (การงาน) ในกลางคืน แล้วย่อม
ประกอบการงานในกลางวัน ด้วยกาย ด้วยวาจา นี้ชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน...
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
ชื่อว่าเป็นวิตกจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ ด้วยความวิตกด้วยความตรึก.
วิตกจริต หมายถึงลักษณะของจิตที่คิด ถ้าคิดในทางกุศลเรียกว่ากุศลวิตก..หากคิดใน
ทางอกุศลเรียกว่าอกุศลวิตก..
กลางคืนเป็นควันกลางวันเป็นเปลว หมายถึงเวลากลางคืนไม่ใช่เวลาในการประกอบ
การงานส่วนใหญ่จึงเป็นไปกับความนึกคิดและความคิดนั้นมักเป็นไปไปในทางอกุศล
เหมือนความร้อนที่ครุกลุ่นเป็นควันไฟที่สุมขอนไม้พร้อมจะลุกเป็นเปลวไฟ..............
ตอนกลางวันเป็นเวลา..ประกอบการงาน..ดังน้นการกระทำใดๆตอนกลางวันที่เป็น
อกุศลกรรมที่มาจากความคิดที่เป็นอกุศลจิตในตอนกลางคืน..จึงเรียกว่ากลางคืน
การขอขมาโทษ ที่มีแสดงไว้ในพระไตรปิฎก หมายถึง เมื่อมีการล่วงเกินกันและกัน
ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ เพื่อให้มีการสำรวมระวังในกาลต่อไป จึงขอขมาโทษ
คือเป็นการกล่าวถึงความเป็นไปที่พอจำกันได้ในชาติเดียวเท่านั้น ไม่มีกล่าวถึงข้ามภพ
ข้ามชาติ การขออดโทษแก่ผู้ที่เราล่วงเกินด้วยทางกายวาจาที่ไม่สมควร ย่อมช่วยทำ
ให้ผู้ที่กระทำได้สบายใจในระดับหนึ่ง ส่วนการกระทำที่เป็นอกุศลกรรมย่อมมีวิบากใน
อนาคต ตราบจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ดับขันธปรินิพพาน จึงเรียกว่าสิ้นกรรมจริงๆ
ส่วนคำว่า การขอขมากรรม ไม่มีในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 78
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชก
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษที่ข้าพระ-
องค์เป็นคนโง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าว
กะพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงยกโทษแก่ข้า
พระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความผิดที่ท่านผู้เป็นคน
โง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว เธอจึงได้กล่าวกะเราอย่างนั้น
เพราะเธอเห็นโทษแล้วจึงยอมรับผิด เรายกโทษแก่เธอ ผู้ใดเห็นโทษ
สารภาพโทษตามความเป็นจริง ถือความสังวรต่อไป นี้เป็นความเจริญใน
พระวินัยของพระอริยเจ้า นิโครธะ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้รู้ ไม่
โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
แสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน
บวชโดยชอบเพื่อประโยชน์อันใด จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันนั้น
อันมีพรหมจรรย์เป็นที่สุดอย่างยิ่ง ด้วยความรู้ยิ่งของตนเอง ในทิฏฐธรรม
เข้าถึงอยู่ตลอด ๗ ปี นิโครธะ เจ็ดปี จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด
ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกปี...ห้าปี...สี่ปี...สามปี...สองปี...ปีหนึ่ง นิโครธะ
ปีหนึ่งจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดเดือน
นิโครธเจ็ดเดือนจงยกไว้ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกเดือน...ห้าเดือน...สี่
เดือน...สามเดือน...สองเดือน...หนึ่งเดือน...กึ่งเดือน นิโครธะ กึ่งเดือน
จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดวัน
ฯลฯ
เอาบุญมาฝากเมื่อวานนี้ได้ไปทัวร์ทำบุญทั้ง 3 จังหวัด
ซึ่งมีหลายอย่างหลายประการและมีผู้มาร่วมงาน
ประมาณ 200-300คน เริมทัว์ตั้งแต่
ตีห้าถึงเที่ยวคืนซึ่งต้องใช้วิริยะบารมีและขันติ
บารมีเป็นอันมากและวันนี้ได้ถวายสังฆทาน
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญสมถะกรรมฐาน
ให้อภัยทาน อาราธนาศีล รักษาศีล
ฟังธรรม ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค
เมื่อวานและวันนี้ได้สร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญท่องเที่ยววัดบางกะพ้อมเป็นวัดโบราณ
สิ่งที่น่าสนใจ
วิหารวัดบางกะพ้อม
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีอิทธิพลของสถาปัตยของสถาปัตยกรรมจีน ตามแบบศิลปะพระราชนิยมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าปั้นเป็นลายปูนปั้นแบบจีน ประตูทางเข้าเป็นทรงกลม มีปูนปั้นเป็นรูปทหารฝรั่งยืนเฝ้า 2 ข้างประตู ภายในวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังนูน ที่สวยงามแปลกตา เป็นอย่างยิ่ง โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 กล่าวถึงพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง ที่ประดิษฐาน ณ สุวัณเณมาลิก, ภูเขาสุวรรณบรรพต, ภูเขาสุมนกูฏ, เมื่องโยนกและรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐาน ณ แม่น้ำนัมมทานที
ด้านที่ 2 เป็นภาพพระพุทธประวัติ วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพาน
ด้านที่ 3 เป็นภาพที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ได้นำพระศพของพระพุทธเจ้า ขึ้นตั้งบำเพ็ญกุศล
ด้านที่ 4 เป็นภาพพุทธประวัติรวมๆ คือ ภาพตอนตรัสรู้ ภาพตอนได้อัครสาวกซ้ายขวา
วิหารหลวงพ่อคง, วิหารหลวงพ่อ 6 องค์, วิหารหลวงพ่อดำ
วิหารหลวงพ่อคง เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อคง อตีดเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดสมุทรสงคราม, วิหารหลวงพ่อ 6 องค์, วิหารหลวงพ่อดำ ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดแห่งนี้
การเดินทาง
ทางรถยนต์
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 325 (แม่กลอง-อัมพวา) ประมาณ 5 กม. (ยังไม่ถึงตลาดอัมพวา) ให้สังเกตทางซ้ายมือ จะมีทางแยกเข้าวัด
รถประจำทาง
จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ที่สถานีขนส่งจังหวัดสมุทรสงคราม นั่งรถโดยสาร สายแม่กลอง-บางนกแขวก (สาย 333) หรือสายแม่กลอง-ดำเนินฯ (สาย467) รถจะผ่านทางเข้าวัด
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ