พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119
ข้อความบางตอนจากอรรถกถา อัจฉราสังฆาตวรรค
.......ไม่พึงอาจละฐานะได้ แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น จะ
พึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิด
ความสังเวช ละฐานะ. ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐
ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ บางพวกเป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกบังเกิด
ในเทวโลก. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก
ด้วยอาการอย่างนี้. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนา
กัณฑ์นี้ไซร้ เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง
ปาราชิกบ้าง ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า พระ
พุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญ
ข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้ จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม
จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์. ชนเหล่านั้น
ตั้งอยู่ในสรณะ ๓ รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม บางพวก
เป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี
บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล. ฯลฯ การถวายเงินกับพระสงฆ์เป็นการกระทำที่ไม่สมควร พระพุทธองค์ทรงตำหนิทั้งผู้รับและ
ผู้ให้คือ สำหรับผู้รับทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งเงิน
ก่อนจึงปลงอาบัติได้ ส่วนผู้ถวายทรงแสดงเรื่องการให้ทานแบบอสัตบุรุษคือผู้ไม่ฉลาด
ย่อมถวายของที่เป็นอกัปปิยะ คือ ของที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต ส่วนพระสงฆ์แม้รับเพื่อผู้
อื่นก็เป็นอาบัติและการพัฒนาหรือช่วยเหลือสังคมไม่ใช่กิจของสงฆ์
บุญหรือกุศลจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากครับ บางขณะเป็นการให้ด้วยการสละออก
บางขณะก็หวังได้บุญเป็นผลตอบแทนกลายเป็นความติดข้องต้องการไป จิตเกิดดับ
สลับอย่างรวดเร็วมาก ลองพิจารณาตามความจริง การถวายเงินทองแก่พระภิกษุสงฆ์
เป็นการร่วมกระทำผิดวินัยแล้ว เรากำลังช่วยให้ท่านได้มีโอกาสเจริญโลภะหรือว่าขัด
เกลากันแน่ การใช้จ่ายเงินทองส่วนมากเป็นไปในการสนองความต้องการใช่ไหม บาง
ทีถวายสิบบาทยี่สิบบาท แล้วต้องผิดวินัยสงฆ์จะคุ้มกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ ขันธ์
ขนฺธ ธาตุ ( ในความเคี้ยวกิน ) + ธ ปัจจัย
ขนฺธ = หมวด หมู่ กอง คณะ หมายถึง สภาพที่ถูกชาติ ชรา มรณเคี้ยวกิน ได้แก่
สภาพธรรมที่เป็นไปโดยอาการ ๑๑ อย่าง คือ
๑. อดีต ๒. อนาคต ๓. ปัจจุบัน ๔. ภายใน ๕. ภายนอก
๖. หยาบ ๗. ละเอียด ๘. ทราม ๙. ประณีต ๑๐. ไกล ๑๑. ใกล้
ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ( กองรูป ) ได้แก่ รูป ๒๘ ๒. เวทนาขันธ์ ( กองเวทนา ) ได้แก่ เวทนาเจตสิก ๑
๓. สัญญาขันธ์ ( กองสัญญา ) ได้แก่ สัญญาเจตสิก ๑
๔. สังขารขันธ์ ( กองสังขาร ) ได้แก่ เจตสิกที่เหลือ ๕๐
๕. วิญญาณขันธ์ ( กองวิญญาณ ) ได้แก่ จิต ๘๙ ธาตุ ๑๘
อฏฺฐารส ( สิบแปด ) + ธาตุ ( สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน )
สภาพที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ๑๘ อย่าง หมายถึง สภาพนามธรรมและรูปธรรม คือ
ปรมัตถธรรม ๔ ซึ่งจำแนกโดยนัยของธาตุ ๑๘ ได้แก่
ปสาทรูป ๕ เป็นรูปธาตุ ๕
๑. จักขุธาตุ ( จักขุปสาท )
๒. โสตธาตุ ( โสตปสาท )
๓. ฆานธาตุ ( ฆานปสาท )
๔. ชิวหาธาตุ ( ชิวหาปสาท )
๕. กายธาตุ ( กายปสาท )
วิสยรูป ๗ เป็นรูปธาตุ ๕
๖. รูปธาตุ ( สี )
๗. สัททธาตุ ( เสียง )
๘. คันธธาตุ ( กลิ่น )
๙. รสธาตุ ( รส )
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ ( ดิน ไฟ ลม )
จิต ๘๙ เป้นวิญญาณธาตุ ๗
๑๑. จักขุวิญญาณธาตุ ( จักขุวิญญาณ ๒ ดวง )
๑๒. โสตวิญญาณธาตุ ( โสตวิญญาณ ๒ ดวง )
๑๓. ฆานวิญญาณธาตุ ( ฆานวิญญาณ ๒ ดวง )
๑๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ ( ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง )
๑๕. กายวิญญาณธาตุ ( กายวิญญาณ ๒ ดวง )
๑๖. มโนธาตุ ( สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ )
๑๗. มโนวิญญาณธาตุ ( จิต ๗๖ ดวง )
ธัมมธาตุมีทั้งนามทั้งรูป
๑๘. ธัมมธาตุ ( เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน )
อายตนะ ๑๒
ทฺวาทส ( สิบสอง ) + อายตน ( เครื่องต่อ , บ่อเกิด ฯ. )
เครื่องต่อหรือบ่อเกิด ๑๒ อย่าง หมายถึง ปรมัตถธรรม ๔ ที่ทรงแสดงโดยนัยที่
เป็นเครื่องต่อ หรือบ่อเกิด หรือเหตุให้เกิดจิตและเจตสิก ได้แก่ ...
อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖
๑. จักขวายตนะ ( จักขปสาทรูป ) ๒. รูปายตนะ ( รูปสี )
๓. โสตายตนะ ( โสตปสาทรูป ) ๔. สัททายตนะ ( รูปเสียง )
๕. ฆานายตนะ ( ฆานปสาทรูป ) ๖. คันธายนะ ( รูปกลิ่น )
๗. ชิวหายตนะ ( ชิวหาปสาทรูป ) ๘. รสายตนะ ( รูปรส )
๙. กายายตนะ ( กายปสาทรูป ) ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ ( ดิน ไฟ ลม )
๑๑. มนายตนะ ( จิต ๘๙ ) ๑๒. ธัมมายตนะ ( สุขุมรูป ๑๖ เจตสิก ๕๒
นิพพาน ) พระธรรมที่แสดง เรื่อง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ มีทั่วไปในพระไตรปิฎก
ถ้าเป็นพระสูตร ท่านจะแยกกันไว้ต่างหมวด เช่น ขันธ์ อยู่ในขันธวารวรรค
เรื่องอายตนะ อยู่ในสฬายตนวรรค แต่ในพระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์วิภังค์
ท่านรวมการจำแนก ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อยู่ในเล่มเดียวกัน คือเล่มที่ ๗๗ (มมร.)
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเบื้องต้นที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ที่..
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าสังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นใจ,
สังขารแม้อย่างหนึ่งที่เที่ยงนั้น ไม่มีเลย จะเห็นได้ว่า ชีวิตของแต่ละบุคคลก็
ไม่พ้นจากสังขารเลย ทุกขณะของชีวิตเป็นสังขาร (จิต เจตสิก รูป) บุคคลใน
ยุคต่าง ๆ ในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ บุคคลเหล่านั้นได้ กระทำกาละไป
หมดแล้ว (ตาย) แล้วบุคคลเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ? ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้ง
ปวงได้อย่างเด็ดขาด แน่นอนต้องเกิด มีจิต เจตสิก และรูป เกิดขึ้นเป็นไป ใน
ภพต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรา หรือ เป็นใคร คนใดคนหนึ่ง ที่อยู่ที่นี่ในขณะนี้ก็ได้...
ดังนั้น ประโยชน์สูงสุดของการเกิดมาในแต่ละภพ แต่ละชาตินั้น ก็คือ มีโอกาส
ได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา (ความเข้าใจถูก ความเห็นถูก) ไปตาม
ลำดับ จนกว่าจะมีมากขึ้น เจริญขึ้น ถึงขั้นดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด บรรลุ
ถึงความเป็นพระอรหันต์. สังสารวัฏฏ์จึงเป็นอันจบสิ้น...
อกุศลย่อมเสียดแทงจิต ทำให้จิตเน่าเสีย อกุศลเกิดเมื่อไหร่ก็ทำให้จิตเน่าเสีย
ไม่เป็นประโยชน์....ไม่ใช่แค่เพียง โลภะ เท่านั้นที่ทำให้จิตเน่าเหม็น แต่หมายรวมถึง
โทสะ โมหะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ กิเลสทุกชนิดเสียดแทงจิตให้เน่าเหม็น.....การ
ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ให้มีความรู้ถูกต้องในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้เป็น
หนทางเดียวที่จะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้จิตถูกเสียดแทงด้วยอกุศล ฉะนั้น ปัญญาที่
อบรมดีแล้วย่อมนำไปสู่การพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ได้ในที่สุด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า๑๖๕
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า
"ฝน ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด, ราคะ
ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ ฉันนั้น
ฝน ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด, ราคะ
ก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น"
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารํ คือ ซึ่งเรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ทุจฺฉนฺนํ คือ ที่เขามุงห่าง ๆ มีช่องเล็กช่องน้อย.
บทว่า สมติวิชฺฌติ คือ เม็ดฝนย่อมรั่วรดได้.
บทว่า อภาวิตํ เป็นต้น ความว่า ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ชื่อว่าไม่ได้อบรม
เพราะเป็นธรรมชาติเหินห่างภาวนา ราวกะว่าฝน (รั่วรด)เรือนนั้นได้ฉะนั้น, ใช่แต่
ราคะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้, กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโทสะ โมหะ และมานะ
เป็นต้น ก็เสียดแทงจิตเห็นปานนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่ ที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา;
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่อาจเสียดแทงจิตเห็นปานนั้นได้ ราวกะว่าฝน
ไม่อาจรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วได้ฉะนั้น.
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานเจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญอนุสติ 8 อย่าง ให้อภัยทาน อฐิษฐานจิตได้อนุโมทนากับ ผู้ใส่บาตรตามถนนหนทางหลายสาย สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป สวดมนต์ ได้สร้างบารมีครบ 10 อย่าง และตั้งใจว่าจะสวดมนต์นั้งสมาธิ เดินจงกรม ฟังธรรม ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค เมื่อวานนี้ได้ทำความสะอาดที่สาธารณะด้วย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมสร้างห้องน้ำ และร่วมบุญหล่อพระประธาน “พระพุทธรัตนสัมมาสัมโพธิญาณ” หน้าตัก ๔ ศอก วัดโพธิญาณรังสี ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ โทร.081-9979093
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|