ต้องขออภัยด้วยนี้เป็นบทความนี้ไม่ได้จงใจที่จะกล่าวกระทบใครไม่มีวัตถุปรสงค์ใดๆ แต่เพื่อที่จะเผยแพร่คำสอนถ้ากระทบกระเทือนต่อพระคุณเจ้าต้องขออภัยด้วย การถวายเงินกับพระสงฆ์เป็นการกระทำที่ไม่สมควร พระพุทธองค์ทรงตำหนิทั้งผู้รับและ
ผู้ให้คือ สำหรับผู้รับทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งเงิน
ก่อนจึงปลงอาบัติได้ ส่วนผู้ถวายทรงแสดงเรื่องการให้ทานแบบอสัตบุรุษคือผู้ไม่ฉลาด
ย่อมถวายของที่เป็นอกัปปิยะ คือ ของที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต ส่วนพระสงฆ์แม้รับเพื่อผู้
อื่นก็เป็นอาบัติและการพัฒนาหรือช่วยเหลือสังคมไม่ใช่กิจของสงฆ์
เงิน ทอง ( สิ่งอื่น ๆ ที่ใช้แทนเงินทอง) ไม่ใช่ปัจจัย4 ของพระภิกษุ เพราะปัจจัย 4
ของพระภิกษุ ได้แก่ อาหารบิณฑบาตร 1 จีวร 1 ที่อยู่ 1 ยารักษาโรค 1 เท่านั้น
ธุระของพระภิกษุ ก็มีเพียง 2 อย่าง คือ
1 คันถธุระ คือ ศึกษาพระธรรม ( จากพระไตรปิฎก หรือจากผู้รู้พระไตรปิฎก )
2 วิปัสสนาธุระ คือ อบรมเจริญวิปัสสนาเพื่อความเป็นพระอรหันต์ บุญหรือกุศลจิตเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากครับ บางขณะเป็นการให้ด้วยการสละออก
บางขณะก็หวังได้บุญเป็นผลตอบแทนกลายเป็นความติดข้องต้องการไป จิตเกิดดับ สลับอย่างรวดเร็วมาก ลองพิจารณาตามความจริง การถวายเงินทองแก่พระภิกษุสงฆ์
เป็นการร่วมกระทำผิด
วินัยแล้ว เรากำลังช่วยให้ท่านได้มีโอกาสเจริญโลภะหรือว่าขัด
เกลากันแน่ การใช้จ่ายเงินทองส่วนมากเป็นไปในการสนองความต้องการใช่ไหม บาง
ทีถวายสิบบาทยี่สิบบาท แล้วต้องผิดวินัยสงฆ์จะคุ้มกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผู้ที่บวชเป็นภิกษุ เป็นผู้ที่ละอาคารบ้านเรือน เพื่อขัดเกลากิเลส และศึกษาพระ
ธรรม ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรม
วินัยโดยเคร่งครัด
ผู้ที่ใส่บาตรด้วยเงิน และพระภิกษุที่รับเงิน ชื่อว่าไม่เคารพในวินัย ไม่เคารพในผู้
บัญญัติวินัยด้วย
ในการรับเอง หรือใช้ให้รับนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเองหรือ
ใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียวในบรรดาภัณฑะ คือ เงินทองทั้งกหาปณะและมาสก ถ้าแม้นว่า
ภิกษุรับเอง หรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ ฯลฯ
ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา แต่ปฏิเสธว่านี้
ไม่ควรไม่เป็นอาบัติ.. บรรดาไตรทวารอันภิกษุ ห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่งย่อม
เป็นอันห้ามแล้วแท้ แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกายวาจารับอยู่ด้วยจิตต้องอาบัติ ไม่ควรถวายเงินกับพระภิกษุ ไม่ว่าเวลาไหนๆ
การถวายเงินขัดกับพระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้า ควรทราบว่า การออกจากอาบัติที่เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์นั้น ไม่ใช่เพียงการปลงอาบัติ
เท่านั้นคือ ต้องสละวัตถุนั้นเสียก่อนจึงจะปลงอาบัติได้ ถ้ายังครอบครองเงินทองอยู่
แม้ว่าจะปลงอาบัติตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง ก็ไม่ชื่อว่าปลงอาบัติ คือการปลงอาบัตินั้นใช้ไม่
ได้ ชื่อว่ายังมีอาบัติอยู่ อนึ่งท่านแสดงว่า อาบัติทั้งหมดแม้เล็กน้อย เป็นเครื่องกั้นทั้ง
หมด ดังนั้นอย่างอื่นบริสุทธิ์หมด แต่มีอาบัติ ๑ ข้อ ก็ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์นั่นเอง ทุคติพึง
หวังได้ ไม่ต้องสงสัย
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๙๔๗ เช่นเดียวกัน จะเขียนว่าอย่างไร หากพระรับ หรือยินดีก็ต้องอาบัติแล้วครับ จึงไม่
สมควรถวายเงินกับพระภิกษุเลย เพราะเงินทองเป็นของคฤหัสถ์ ส่วนบรรพชิต สละ ทุกอย่างแล้ว เงินทอง จึงไม่สมควรกับบรรพชิตเลย ไม่ว่ากรณีใดๆ ดังนั้น การเป็น อุบาสก อุบาสิกาที่ดีจึงควรให้ของที่เหมาะสม เช่น ปัจจัย 4 มี อาหาร จีวร เสนาสนะ
ยารักษาโรค เป็นต้น อันไม่ทำให้ท่านต้องอาบัติด้วย เป็นการรักษาท่านด้วยครับ และเกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาครับ ส่วนเงินที่จะให้บำรุงวัดควรให้ทางมัคคทายก ไวยาวัจกรเป็นคนจัดการครับ ไม่ใช่มอบให้พระภิกษุ ขออนุโมทนาครับ พระภิกษุเป็นนักบวช เป็นบรรพชิต เป็นผู้สละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อการละกิเลส
เพื่อการเป็นพระอรหันต์ บรรพชิตเป็นผู้ที่ไม่มีเครื่องกังวล มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข ถ้า
บรรพชิตมีเงินทอง จะทำให้เป็นเครื่องกังวล เป็นห่วงต้องคอยเก็บรักษา เงินทอง
เป็นที่ต้องการของคนทั่วไปรวมทั้งโจรด้วย เพราะทรงเห็นโทษของการมีสิ่งของที่มี
ค่า จะทำให้บรรพชิตอยู่อย่างมีความสุข จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้เพื่อประโยชน์
๑๐ ประการ
โปรดอ่านต้นบัญญัติและประโยชน์ ๑๐ ประการ จากพระวินัยปิฎกโดยตรง ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 938
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ฯลฯ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เราแล้วหรือ
บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว
อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา
บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเองแล้วเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะ
เหมือนพวกเรา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้
มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า แล้วกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ฯลฯ
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่
เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะ
เล่า การกระทำของเธอนั่น ไมเป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของ
ชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมัก
มาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา
ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก-
ปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความ
สำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็น
ที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิด
ในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระ-
วินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขา
เก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
พุทธบริษัทในครั้งพุทธกาล ส่วนมาก เข้าใจพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
และ เข้าใจถึงอัธยาศัยของตนเองว่า ควรประพฤติ ปฏิบัติธรรมในเพศใด เช่น
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้จะบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ท่านก็ไม่ได้บวช ยังเป็น ฆราวาสทำธุรกิจการงานของฆราวาสต่อไป แต่ผู้ที่บวช เพราะฟังธรรมแล้ว รู้ตน เองว่าไม่มีอัธยาศัยในการเป็นฆราวาสต่อไป ไม่ต้องการคลุกคลีกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย เช่น ท่านรัฐปาละ พ่อ แม่ ของท่านขนทรัพย์สมบัติมากองให้ท่าน มากมายสูงท่วมหัว ท่านได้บอกว่า นำไปทิ้งแม่น้ำคงคาให้หมด เพราะทรัพย์นั้น แหละจะทำให้ผู้ติดข้องในทรัพย์นั้น เป็นทุกข์ คือ บวชทิ้งเงิน นะครับ ไม่ใช่บวช รับเงิน เงินและทองคู่ควรกับผู้ใด รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็คู่ควรกับผู้นั้น ถวายเป็นสิ่งของที่เหมาะสมกับพระภิกษุดีกว่า เพราะไม่ทำให้ท่านต้องอาบัติ ไม่
ทำให้พระท่านผิดวินัย ไม่ทำให้พระท่านเศร้าหมอง ถ้าถวายเป็นสิ่งของที่จำเป็น เช่น
ผงซักฟอก สบู่ ยาสีฟัน และ ยารักษาโรค ท่านสามารถนำไปใช้ส่วนตัวได้ เพราะ
พระภิกษุท่านเป็นตัวแทนของสงฆ์มารับวัตถุทาน ของนั้นก็ตกเป็นของภิกษุผู้รับ ถ้า
เราคิดว่าที่วัดท่านมีสิ่งของเหล่านี้มากแล้ว แต่ไม่มีใครถวายเลย ท่านก็ไม่มีใช้ การ
ถวายสิ่งของ ไม่ทำให้ท่านต้องอาบัติ แต่การถวายเงินทำให้พระท่านต้องอาบัติ ชื่อว่า
เรามีส่วนในการทำลายพระวินัยด้วย
ผู้ที่เป็นพระภิกษุ ได้สมัญญาว่า เป็นสมณะ เป็นบรรพชิต เป็นนักบวช
ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่เป็นนักบวชมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
ท่านมีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนคฤหัสถ์ คือ เว้นจากการงานของคฤหัสถ์ทั้งหมด
การเกี่ยวข้องกับเงินทองเป็นกิจของคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม บรรพชิตท่านไม่เกี่ยว
ข้องกับเงินทอง เพราะเงินทอง เป็นเครื่องเศร้าหมองของบรรพชิต ฉะนั้น ตาม
พระวินัยถ้าพระภิกษุเกี่ยวข้องกับเงินทองจึงมีโทษ เป็นอาบัติ ทั้งรับเอง ใช้ให้
ผู้อื่นรับ รับเพื่อผู้อื่น เป็นอาบัติทั้งสิ้น
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ข้อความบางตอนจาก มณิจูฬกสูตร
[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่าน
พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำ
ไม่จริง และ พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ คล้อย
ตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้. เพราะว่าทองและเงิน
ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณ
ศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน. ดูก่อนนายคามณี
ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณควร
แก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูก่อนนายคามณีท่านพึงทรงจำความ
ที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่
ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวง
หาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน
ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี
พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย. ฯลฯ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 938
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
ฯลฯ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระ
อุปนันทศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือท่านพระอุป
นันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ไม่ควรทำ
ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๓๗. ๘ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดี
ทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
๑๐. มณิจูฬกสูตร
ฯลฯ
[๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่าน
พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำ
ไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ คล้อย
ตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะว่าทองและเงิน
ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณ
ศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน ดูก่อนนายคามณี
ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณควร
แก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูก่อนนายคามณีท่านพึงทรงจำความ
ที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่
ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวง
หาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน
ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี
พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย.
จบ มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 940 โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :- พระบัญญัติ
๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ
ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖] บทว่า อนึ่ง...ใด ฯลฯ วิธีเสียสละรูปิยะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ฯลฯ องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
องค์ ๕ นั้น คือ ฯลฯ วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ
พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน ฯลฯ
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ฯลฯ
ทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี ภิกษุหยิบยก
เองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด ผู้นั้น
จักนำไปดังนี้ ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
เภสัชชขันธกะ
เมณฑกานุญาต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ
กลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุ
ไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ
ภิกษุต้องการข้าวสารพึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียวพึงแสวงหาถั่วเขียว
ต้องการถั่วราชมาสพึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือพึงแสวงหาเกลือ ต้อง
การน้ำอ้อยพึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมันพึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนย
ใสก็พึงแสวงหาเนยใส มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขา
มอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้าขอท่านจง
ถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจาก
กัปปิยภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดย
ปริยายไร ๆ เลย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด
[๘๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้า
งอกงาม บิณฑบาตก็หาง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือ
บาตรแสวงหาก็ทำได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับหลีกเร้นอยู่ใน
ที่สงัดทรงพระปริวิตกอย่างนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อคราวอัตคัดอาหารมีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บ
ไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหาร
ที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑
อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑
ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ ?
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้น แล้ว
รับสั่งถามพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้ง
หลาย เมื่อคราวอัตคัตอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คือ
อาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้ม
เอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่
นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิด
ในสระบัว ๑ ภัตตาหาร เหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ ?
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ยังฉัน อยู่พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้า-
มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าว
กล้าน้อยบิณฑบาตได้ฝืดเคือง คือ อาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุง
ต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคน
ใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุ
เรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้าม
จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป
ความจริงควรทำให้ถูกต้องตามพระวินัย จึงจะถูกต้อง คือ บริจาคผ่านไวยาวัจกร
ตามพระวินัยพระภิกษุรับเงินเพื่อตนต้องอาบัตินิสสัคคีย์ แต่รับเพื่อเพื่อผู้อื่น เพื่อสร้าง
อุโบสถ พระเจดีย์ เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ คือ เบากว่ารับเพื่อตนเอง สรุปคือ ไม่พ้น
อาบัติ
ถ้าให้ถูกต้องตู้รับบริจาค ควรเป็นหน้าที่ของคฤหัสถ์เป็นผู้ดูแล จึงควรหยอดเงิน
ควรถามหาไวยาวัจกร หรือคนวัด หรือใครก็ได้ที่เป็นคฤหัสถ์ที่อยู่บริเวณนั้น แล้ว คำว่า มาสก เป็นคำเรียกเงินตราที่ใช้ในอินเดียสมัยครั้งพุทธกาล
มอบเงินเพื่อสร้างอุโบสถผ่านคฤหัสถ์จึงจะถูกต้องตามพระวินัย ที่จริงแล้วพระภิกษุมีหน้าที่สองอย่างเท่านั้นคือ
ศึกษาธรรมและ ปฏิบัติธรรมอย่างเดียว ส่วนเรื่องการก่อสร้างต่างๆนั้นเป็นของคฤหัสเป็นคนจัดการ
แม้แต่การสร้างพระพุทธรูป หรือสร้างอุโบสถหรืองานต่างๆก็ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน
เป็นหน้าที่ของคฤหัส ดูอย่างท่านอนาฐบิณทิกเศรษฐี
ในพระวินัยปิฎก อทินนาทานสิกขาบท ทรงปรับอาบัติปาราชิก แก่พระภิกษุที่ขโมย
สิ่งของมูลค่า ตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไป ซึ่งคำว่า 5 มาสกในยุดนั้น มีมูลค่าเท่าไหร่
ก็เป็นปัญหาของพระวินัยธร ที่ยากจะวินิฉัยว่าเป็นเงินกี่บาทในยุคนี้ ซึ่งในอรรถกถา
และฎีกา ท่านก็มีหลักเทียบดังนี้ มูลค่าทองคำ น้ำหนักเท่ากับ 20 เมล็ดข้าวเปลือก
ซึ่งมูลค่าของทองคำในแต่ละยุคย่อมเปลี่ยนไปตามราคาตลาดที่เขาซื้อขายกัน
ณ ปัจจุบัน(8 กพ.2553)ทองคำบริสุทธิ์ 99.99% ราคากรัมละ 1,177.848 บาท
ข้าวเปลือก 20 เมล็ด มีน้ำหนัก 0.56 กรัม ทองคำ0.56 กรัม มีมูลค่า 659.59 บาท
ดังนั้นมูลค่าเงิน 5 มาสกในยุคนี้อันเป็นวัตถุแห่งอาบัติปาราชิก เป็นจำนวนเงิน
659.59 บาท การตีความดังกล่าวนี้อาศัยหลักของอรรถกถาและฎีกา ที่ท่านสืบทอด
พระวินัยมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาลครับ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าสังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นใจ,
สังขารแม้อย่างหนึ่งที่เที่ยงนั้น ไม่มีเลย จะเห็นได้ว่า ชีวิตของแต่ละบุคคลก็ ไม่พ้นจากสังขารเลย ทุกขณะของชีวิตเป็นสังขาร (จิต เจตสิก รูป) บุคคลใน ยุคต่าง ๆ ในสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ บุคคลเหล่านั้นได้ กระทำกาละไป หมดแล้ว (ตาย) แล้วบุคคลเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ? ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสทั้ง ปวงได้อย่างเด็ดขาด แน่นอนต้องเกิด มีจิต เจตสิก และรูป เกิดขึ้นเป็นไป ใน ภพต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเรา หรือ เป็นใคร คนใดคนหนึ่ง ที่อยู่ที่นี่ในขณะนี้ก็ได้... ดังนั้น ประโยชน์สูงสุดของการเกิดมาในแต่ละภพ แต่ละชาตินั้น ก็คือ มีโอกาส ได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา (ความเข้าใจถูก ความเห็นถูก) ไปตาม ลำดับ จนกว่าจะมีมากขึ้น เจริญขึ้น ถึงขั้นดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด บรรลุ ถึงความเป็นพระอรหันต์. สังสารวัฏฏ์จึงเป็นอันจบสิ้น... อกุศลย่อมเสียดแทงจิต ทำให้จิตเน่าเสีย อกุศลเกิดเมื่อไหร่ก็ทำให้จิตเน่าเสีย ไม่เป็นประโยชน์....ไม่ใช่แค่เพียง โลภะ เท่านั้นที่ทำให้จิตเน่าเหม็น แต่หมายรวมถึง โทสะ โมหะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ กิเลสทุกชนิดเสียดแทงจิตให้เน่าเหม็น.....การ ฟังพระธรรมให้เข้าใจ ให้มีความรู้ถูกต้องในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้เป็น หนทางเดียวที่จะเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้จิตถูกเสียดแทงด้วยอกุศล ฉะนั้น ปัญญาที่ อบรมดีแล้วย่อมนำไปสู่การพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ได้ในที่สุด พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้า๑๖๕ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระคาถานี้ว่า "ฝน ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ ฉันใด, ราคะ
ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ ฉันนั้น
ฝน ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ ฉันใด, ราคะ
ก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ ฉันนั้น" แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารํ คือ ซึ่งเรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ทุจฺฉนฺนํ คือ ที่เขามุงห่าง ๆ มีช่องเล็กช่องน้อย.
บทว่า สมติวิชฺฌติ คือ เม็ดฝนย่อมรั่วรดได้.
บทว่า อภาวิตํ เป็นต้น ความว่า ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ชื่อว่าไม่ได้อบรม
เพราะเป็นธรรมชาติเหินห่างภาวนา ราวกะว่าฝน (รั่วรด)เรือนนั้นได้ฉะนั้น, ใช่แต่
ราคะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้, กิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโทสะ โมหะ และมานะ
เป็นต้น ก็เสียดแทงจิตเห็นปานนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สุภาวิตํ ได้แก่ ที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา;
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่อาจเสียดแทงจิตเห็นปานนั้นได้ ราวกะว่าฝน
ไม่อาจรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วได้ฉะนั้น.
การบวชเป็นสามเณร สำเร็จได้โดยถึงไตรสรณคมณ์และศีล ๑๐ ข้อ
แต่ถ้าพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ถ้าเขาไปบวชให้สามเณร
การบวชนั้นจะใช้ได้หรือไม่ ยังไม่พบกรณีนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาครับ
ส่วนสามเณรขโมยเงินเพียงเล็กน้อย คือ หนึ่งสลึง ก็ขาดจากความเป็นสามเณรทันที
ไม่ต้องถึง ๕ มาสกครับ ต้องขอสรณะและศีลใหม่ จากพระภิกษุ แล้วตั้งอยู่ในสังวรต่อ
ไป ย่อมมีหวังเจริญในพระธรรมวินัยนี้ได้ครับ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนาให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง ได้ถวายสังฆานกับคุณแม่และ วันนี้มีการรวมญาติทำบุญถวายอาหารเพลพระทั้งวัด และวันนี้ได้รักษาอาการป่วยของแม่ และตั้งใจว่าจะบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 อย่างให้ครบ ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเฃิญท่องเที่ยวหอพระพุทธอังคีรส เป็นอาคารทรงไทย หลังคาจัตุรมุข อันเป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธอังคีรส” ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองระยอง ตั้งอยู่ในบริเวณสวนศรีเมือง ชาวเมืองนิยมเรียกว่า “เกาะกลาง” ตั้งอยู่กลางเมือง ด้านหลังที่ทำการเทศบาลนครระยอง มีเนื้อที่ประมาณ 70 ไร่ เป็นที่ตั้งของสวนสาธารณะ และสวนสุขภาพสำหรับประชาชน
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|