Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

การที่จะ

พุธ 17 ก.พ. 2010 9:38 am

:geek: การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นต้องมีความอดทนเป็นหลัก
เพราะว่าถ้าไม่มีความอดทนแล้วก็จะไม่สามารถเผชิญกับสิ่งต่างๆ
ได้ความอดทนนั้นส่วนมากมักมีความพากเพียรเป็นตัวประกอบหลัก
เพราะฉะนั้นการปฏิบัติวิปัสสนาก็เหมือนกัน และวิปัสสนานั้นก็ได้บารมีครบทั้ง
10 อย่าง


ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกครับ

๑. พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 300

ข้อความบางตอนจากเกสีสุตร

พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควร

ฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อม

ทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

ดูก่อนเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝีกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

นี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริย.


๒. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒

ข้อความบางตอนจากสิงคาลกสูตร

คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม

โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ

ออกเป็น ๔ ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้

สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ

งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย

หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.

เหตุกปฏิสนธิ

ติ ( สาม ) + เหตุก ( ประกอบด้วยเหตุ ) + ปฏิสนธิ ( เชื่อมต่อภพ , การเกิด )
อปุญญาภิสังขารเป็นปัจจัยในปวัตติกาลของวิบากจิต ๔ ดวง ในรูปภพ คือ

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต
ผู้ที่ปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา และปฏิสนธิ

จิตมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยนั้น เป็นติเหตุกบุคคล เพราะมีเหตุ ๓ คือ มี

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก และปัญญา(อโมห)เจตสิกเกิดร่วมด้วย บุคคลนั้น

เมื่อได้ฟังพระธรรมก็สามารถพิจารณาเข้าใจพระธรรม และสามารถอบรมเจริญ

ปัญญาจนบรรลุฌานจิต หรือ รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ๔ บรรลุมัคค์ ผล นิพพานเป็น

พระอริยบุคคลในชาตินี้ได้ตามควรแก่การสะสมของเหตุปัจจัย

แต่ก็ไม่ควรประมาทเพราะบางท่านเป็นผู้ที่มีสติปัญญา ปฏิสนธิจิต

เป็นติเหตุกะก็จริง แต่ถ้าประมาทการเจริญกุศล ประมาทการฟังพระธรรม ก็จะ

เป็นผู้ที่ฉลาดแต่ในทางโลก ในวิชาการต่างๆ แต่ไม่อบรมเจริญปัญญาในทาง

ธรรมจึงไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
การเกิดพร้อมด้วยเหตุ ๓ หมายถึง ปฏิสนธิจิตที่ประกอบด้วยอโลภเจตสิก อโทส

เจตสิกและปัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมที่เป็นญาณสัมปยุตต์ ถ้าสะสม

อุปนิสัยปัจัจยมาเพียงพอ ก็สามารถอบรมปัญญาจนบรรลุฌานจิต หรือมรรคผล

นิพพานได้

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความที่กุศลจิตที่เป็นโสมนัสสสหคตะ เป็นธรรม

สัมปยุตด้วยญาณในที่นี้ด้วยเหตุเหล่านั้น คือ โดยกรรม โดยความเกิดขึ้น

โดยความแก่รอบแห่งอินทรีย์ และความเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส.

จริงอยู่ บุคคลใดแนะนำธรรมแก่ชนเหล่าอื่น คือ ให้ศึกษาสิปปายตนะ

(คือวิชาขี่ช้าง ขี่ม้า และขับรถเป็นต้น) กัมมายตนะ (คือวิชากสิกรรม

พาณิชยกรรม และหัตถกรรมเป็นต้น) และวิชชัฏฐาน (คือ ดาราศาสตร์

โหราศาสตร์ แพทยศาสตร์ และไสยศาสตร์) อันไม่มีโทษ ถวายเครื่องสักการะ

อาราธนาพระธรรมกถึกให้แสดงธรรม ดังความปรารถนาว่าในกาลต่อไปข้าพเจ้า

จักเป็นผู้มีปัญญาดังนี้ แล้วถวายทานมีประการต่าง ๆ กุศลที่เป็นญาณสัมปยุต

เมื่อเกิดแก่บุคคลนั้นเข้าไปอาศัยกรรมเห็นปานนี้ แล้วย่อมเกิดขึ้นอีกอย่าง

หนึ่ง ถ้าบุคคลนั้นเกิดในโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน บทแห่งธรรมที่ง่ายย่อม

ปรากฏแก่เขาในที่นั้น.

กุศลจิตญาณสัมปยุต เมื่อเกิดก็อาศัยความเกิดขึ้น โดยนัยนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นแห่งสติช้า แต่ว่า สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วน

แห่งคุณวิเศษเร็วพลัน ดังนี้.

อนึ่ง กุศลญาณสัมปยุตจิต เมื่อเกิดแม้เพราะอาศัยความแก่รอบแห่ง

อินทรีย์ของบุคคลผู้ประกอบ คือ การแก่รอบแห่งอินทรีย์ของบุคคลผู้บรรลุ

หมวด ๑๐ แห่งปัญญา (วิปัสสนาญาณ ๑๐) เกิดขึ้น.

ก็กิเลสทั้งหลายอันบุคคลใดข่มไว้แล้ว กุศลญาณสัมปยุตจิตของบุคคล

นั้น เมื่อเกิดก็อาศัยความที่คนเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลสเกิดขึ้น.

ได้ตื่นแต่เช้ามาได้ตื่นแต่ดึกเพราะว่าเพื่อนบ้านเสียงดัง
ได้ให้อภัยทานแก่เพื่อนบ้านหลายครั้ง และได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา
ให้ธรรมะเป็นทานทุกวัน อฐิษฐานจิตได้อนูดมทนากับผู้
ใส่บาตรตามถนนหนทาง อนุโมทนากับนักเรียนที่สวดมนต์ตอนเช้า
ประมาณ 1000 คน และตั้งใจว่าจะสวดมนต์
นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ศึกษาธรรม
ฟังธรรม ศึกษาการรักษาโรค สร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง
เจริญสมถะกรรมฐาน
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย





ขอเชิญร่วมงานฝังลูกนิมิตร ณ วัดสะพาน 12 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 แขวงบางขุนพรม เขตตลิ่งชัน จ.กรุงเทพ

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้