ทุก ๆ คนที่ได้เกิดมาสะสมความไม่รู้มาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ไม่เคยรู้ความจริง
ของสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ซึ่งเป็นธรรมที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน ขณะเห็น ขณะได้ยิน
ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นเพียงนามธรรม และ
รูปธรรมแต่ละชนิดแต่ละทาง ขณะเห็นเป็นเพียงนามธรรม เป็นจิตที่เกิดขึ้นทำกิจเพียง
เห็นเท่านั้น ส่วนสิ่งที่ถูกจิตเห็นเป็นรูปธรรม เพราะความไม่รู้ไม่เคยฟังพระธรรมให้เข้า
ใจสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่จริงทุก ๆขณะที่เกิดขึ้นแล้วดับไปสืบต่อไม่เคยเว้น เกิดขึ้นตามเหตุ
ปัจจัย ความรู้ความจริงจึงต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจค่อย ๆ ละความไม่รู้ทีละน้อย
กว่าที่จะค่อย ๆ เข้าใจว่าแต่ละทาง ไม่ว่าทางตา ทางหู...เป็นแต่เพียงรูปธรรม และ
นามธรรม ต้องเป็นผู้ที่อดทนฟังมาก ๆ พิจารณามาก ๆ จนกว่าจะค่อย ๆ เข้าใจขึ้น ๆ
ค่อย ๆละคลายความไม่รู้ทีละน้อย การฟังและพิจารณาสิ่งที่มีจริงที่ปรากฏในชีวิต
ประจำวันให้เข้าใจถึงตัวธรรมะบ่อย ๆจึงเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญ ให้สังขารขันธ์
ปรุงแต่ง(ธรรมะปฏิบัติธรรมะ)ให้สติปัฏฐานเกิดรู้ตรงลักษณะนามธรรม หรือรูป-
ธรรมตามความเป็นจริง ต้องมั่นคงในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ไม่มีตัวตนที่
ไปจัดการให้สภาพธรรมใดเกิดได้ แม้สติก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งเป็นอนัตตา เกิดขึ้นตาม
เหตุปัจจัย ไม่ใช่มีแต่ความอยากให้สติเกิดหรือมีตัวเราที่จะไประลึก...โดยไม่ได้
อบรมเหตุ
ควรทราบว่าผู้ที่ประจักษ์แจ้งความเกิดดับของนามรูปแต่ละขณะ ผู้นั้นต้องมี
ปัญญาระดับวิปัสสนาญาณตั้งแต่สัมมสนญาณขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีญาณขั้นนี้ไม่
สามารถประจักษ์แจ้งได้ แต่ในขั้นศึกษาตามพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ก็จะค่อยๆ
เข้าใจได้ว่าทรงแสดงจิตไว้หลายประเภท แต่ละประเภทก็ไม่ใช่ขณะเดียวกัน
จิตเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขอให้ท่านใจเย็นๆ
เพราะปัญญาจะค่อยๆเจริญขึ้นเป็นไปตามลำดับครับ ความเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ว่าใครบอกให้ปฏิบัติหรือ
ทำอะไรก็ทำโดยที่ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังธรรม ใช้คำว่าฟังธรรมก็
ต้องเป็นความเข้าใจของตัวเองที่มาจากการฟัง ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดและรู้ว่า
สามารถที่จะเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นผู้ที่ไม่
ข้าม เช่น คำว่า “ธรรมะ” ฟังธรรม สนทนาธรรม แต่ธรรมคืออะไร ถ้ายังไม่
รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย เหมือนเรากำลังจะพูดเรื่องยาว
มาก แต่ยังไม่รู้ว่าเรื่องนั้นคืออะไร ก็พูดไปโดยไม่รู้ เพราะฉะนั้นก็เป็นผู้ที่
เมื่อรู้ว่ายังไม่ได้รู้ธรรม จึงฟังธรรม ถ้ารู้แล้วก็ไม่ต้องฟัง
เพราะฉะนั้นเริ่มต้นจากการที่เข้าใจถูกต้องว่า ธรรมคืออะไร ธรรม
มีจริงไหม ต้องไปหาที่ไหนหรือเปล่า แล้วทำอย่างไรจึงจะเจอธรรม ถ้าไม่
เข้าใจธรรมก็วุ่นวาย อย่างคนที่เขาไปเที่ยวหาธรรมในที่ต่างๆ เพราะไม่รู้ว่า
ธรรมคืออะไร
เพราะฉะนั้นแม้แต่คำเดียวก็ข้ามไม่ได้ คือ ต้องมีความเข้าใจที่ถูก
ต้อง แสวงหาธรรม อยากเข้าใจธรรม รู้เรื่องธรรม ปฏิบัติธรรม ต้องเข้าใจว่า
ธรรมคืออะไร ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็เริ่มฟังให้เข้าใจ ถ้ายังตอบไม่ได้ หาไม่
เจอ ไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร ก็ยังไม่ต้องไปไหน ไม่ต้องทำอะไรด้วย จนกว่าจะ
มีความเข้าใจว่าธรรมคืออะไร ตอนนี้พอจะทราบไหมว่าธรรมคืออะไร การฟังธรรม คือ การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การศึกษา
พระธรรมให้เข้าใจมีประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเป็นอย่างมาก เป็นทรัพย์อันประเสริฐอย่าง
หนึ่ง คือ สุตะ การฟังพระธรรม ทำให้เข้าใจความจริง ทำให้เข้าใจหนทางปฏิบัติที่ถูก
ต้อง ไม่หลงทำสิ่งที่ผิด รู้สิ่งใดผิดสิ่งใดถูก รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร การฟังธรรมเป็นกุศล
ขั้นภาวนา การปฏิบัติธรรม โดยมากในพระไตรปิฎกท่านหมายถึงการเจริญสมถภาวนา
และการเจริญวิปัสสนาภาวนา (สมณธรรม) ถ้าขาดการศึกษาพระธรรมอย่างถูกต้องแล้ว
การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องย่อมมีไม่ได้ เพราะการปฏิบัติมี ๒ อย่าง คือ ปฏิบัติผิด ๑
ปฏิบัติถูก ๑ อนึ่งการปฏิบัติธรรมของผู้ที่เป็นฆราวาส ไม่จำเป็นต้องเข้าป่าหรือนั่งใน
ห้องแคบๆ แต่ถ้าเข้าใจถูกต้องแล้ว แม้ในชีวิตประจำวัน สติปัฏฐานย่อมเกิดได้ สติขั้น
สมถภาวนาย่อมเกิดได้ และกุศลจิตที่กระทำกิจหน้าที่ เช่น ดูแลมารดาบิดา เป็นต้น ก็
เกิดได้ ดังนั้น ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่ควรรีบปฏิบัติอะไร จนกว่าจะเข้า
ใจจริงๆว่า คืออะไร รู้อะไร เพื่ออะไร .. คำว่า "เวร " ในอรรถกถาท่านอธิบายว่า หมายถึงอกุศลธรรม และ
บุคคลที่ผูกเวร ผูกพยาบาท เป็นคู่เวรกัน
โดยสรุปก็คือสิ่งที่จะนำทุกข์มาให้ ขณะที่ทำอกุศลกรรม ชื่อว่า มีเวร
ระคนด้วยเวร เป็นเหตุนำความทุกข์มาให้
บทว่า เวรานิ ได้แก่ อกุศลเวรบ้าง บุคคลเวรบ้าง... การนึกได้ การระลึกได้ ในภาษาชาวบ้านทั่วไป ดูคล้ายกัน แต่สภาพธรรมที่
กระทำกิจต่างกัน คือการระลึกได้ เป็นสติ ต้องเป็นไปกับกุศล การนึกได้ที่ไม่
เป็นไปกับกุศล ไม่ใช่สติ มิจฉาสติ
มิจฺฉา ( ผิด , เท็จ ) + สติ ( การระลึก )
การระลึกผิด หมายถึง โลภมูลจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ซึ่งสนใจในอารมณ์ใด
อารมณ์หนึ่ง แล้วเข้าใจว่าขณะนั้นเป็นการปฏิบัติธรรม เช่น ขณะที่จดจ้องต้องการรู้
รูปใดรูปหนึ่ง หรือนามใดนามหนึ่ง โดยที่สภาพธรรมไม่ได้ปรากฏเองด้วยความเป็น
อนัตตา ขณะนั้นเหมือนกับเป็นการระลึกได้ แต่สติเจตสิกเป็นโสภณธรรมไม่เกิดร่วม
กับโลภมูลจิต อาการที่ปรากฏเช่นนี้จึงเป็นมิจฉาสติ
บุคคลผู้จะรักษาศีล ๕ ครบบริบูรณ์ทุกข้อ ไม่ขาดเลยนั้น ต้องเป็นพระอริยบุคคล
ขั้นพระโสดาบัน ขึ้นไป แต่สำหรับปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลสแล้ว บางครั้งก็ล่วง
ศีล มีฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เป็นต้น เนื่องจากว่ามีเหตุปัจจัย
ให้ล่วง ก็ย่อมจะล่วงศีลข้อใดข้อหนึ่งได้ เหตุปัจจัยดังกล่าวนั้น ก็คือ กิเลสที่สะสมมา
อย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ นั่นเอง เพราะมีกิเลส ยังมีความห่วงใยในชีวิต ยังมี
ความติดข้องยินดีพอใจในลาภ ในยศ ในญาติ ในอวัยวะ เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้มีการ
ล่วงศีล เนื่องจากภาวะของปุถุชนไม่มั่นคงเหมือนกับความเป็นพระอริยบุคคล
เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งได้จริง ๆ ก็คือ ปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูก ที่เกิด
จากการฟัง การศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เท่านั้น ปัญญา นี้เองที่
จะทำให้รักษาศีลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้มีความประพฤติทางกาย ทางวาจา ดียิ่งขึ้น ทำให้
เป็นผู้มีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอกุศล มากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องไปรับจากพระ
ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เลย
ดังนั้น ปัญญา จึงมีคุณมากเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีปัญญาแล้ว กุศลธรรมประการต่าง ๆ
ก็ย่อมจะเจริญขึ้นตามระดับขั้นของปัญญาด้วย และเมื่อมีการอบรมเจริญปัญญา สะสม
ปัญญาไปตามลำดับ จนได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเมื่อใด เมื่อนั้นก็จะไม่ล่วงศีล ๕
อีกเลย ครับ ในพระวินัยแสดงเรื่องการลาสิกขา ของพระภิกษุไว้ชัดเจนว่า ต้องลาสิกขากับมนุษย์
ผู้รู้ความ จะลาสิกขากับต้นไม้ หรืออมนุษย์ หรือมนุษย์ผู้ไม่รู้ความหมาย ไม่ได้ ไม่เป็น
อันลาสิกขา เมื่อกระทำผิด ย่อมต้องโทษตามพระวินัย ส่วนวินัยของสามเณรเรื่องนี้
ในอรรถกถามหาวรรคมีว่า สามเณรอยากเป็นคฤหัสถ์ เปลี่ยนเครื่องนุ่งห่มเป็นเสื้อผ้า
ของคฤหัสถ์ ชื่อว่าพ้นจากความเป็นสามเณร จะกลับเป็นสามเณรอีกต้องบวชใหม่ ถ้า
กลับใส่ชุดของบรรพชิตเอง ชื่อว่า เถยยสังวาสก์
ดังข้อความต่อไปนี้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 318
ถ้าสามเณรปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ จึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ ทำผ้า
กาสายะโจงกระเบนก็ดี ด้วยอาการอย่างอื่นก็ดี เพื่อลองดูว่า เพศคฤหัสถ์
ของเราสวยหรือไม่สวย ยังรักษาอยู่ก่อน, แต่ยอมรับว่าสวยแล้วกลับยินดีเพศอีก
ย่อมเป็นคนเถยยสังวาสก์. แม้ในการนุ่งขาวลองดูและยอมรับ ก็มีนัยเหมือนกัน
นั่นแล.
และถ้านุ่งขาวทับผ้ากาสายะที่นุ่งอยู่แล้ว ลองดูก็ตาม ยอมรับก็ตาม
ยังรักษาอยู่แท้. ...
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อฐิษฐานจิต ตื่นตั้งแต่ตี 2 มาฟังธรรม ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค เจริญอนุสติ 8 อย่าง กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง อนุโมทนากับนักเรียน 1000 คนที่ สวดมนต์เช้า ได้นั่งสมาธิ เดินจงกรม ซึ่งวันนี้เหนื่อยมาก แต่ก็มีความเพียร และตั้งใจว่า จะศึกษาการรักษาโรค ศึกษาธรรม ฟังธรรม กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เจริญสมถะภาวนา และวันนี้ได้สร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมบุญทอดผ้าป่าสามัคคี เบอร์ติดต่อ 082-1647-449,089-5472-723,084-5761-852 เพื่อสร้างพระประธานพุทธลีลา ณ.วัดบึงบ่าง จ.พิจิตร
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|