พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 19 ก.พ. 2010 8:38 am
เรื่องอาหาร ๔ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ถ้าท่านไม่ศึกษาพระธรรมส่วนอื่นก็ไม่สามารถ
เข้าใจได้ โดยศัพท์ หมายถึง นำมา คือ เป็นปัจจัย
มโนสัญเจตนาหาร หมายถึง กรรม(เจตนา) ทั้งกุศลกรรม และอกุศลกรรม ย่อมนำมา
ซึ่งปฏิสนธิวิญญาณ ขณะที่กระทำกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ หรือให้ทาน รักษาศีล
เป็นต้นย่อมเป็นปัจจัยให้ วิบาก คือการปฏิสนธิเกิดขึ้นตามสมควรแก่กรรมนั้นๆ
วิญญาณาหาร หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ ย่อมนำมาซึ่งนามรูป
เมื่อปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป.. โดยนัยของปฏิจจสมุปบาท
อักโกสกสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าไม่รับคำด่าของพราหมณ์
[๖๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
อักโกสกภารทวาชพรหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณภารทวาช-
โคตรออกจากเรือบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้
ก็โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษ
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ.
[๖๓๒] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน
ย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก
ของท่าน ย่อมมาบ้างไหม.
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและ
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและ
อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่.
อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของ
ดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบาง
คราว.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก
เหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร.
อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขก
เหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระ-
อย่างเดิม.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่าน
โกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการ
ด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่าน
ผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้ว
ตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้
โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า
ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมการทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบ
ด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้
เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว.
อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้
ว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ
จึงยังโกรธอยู่เล่า.
[๖๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็น
อยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็น
ผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการ
โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธแล้ว ชื่อว่า ย่อมชนะสงครามอัน
บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ
แล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม
ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ แก่
ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษา
ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและ
ของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดใน
ธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา
ดังนี้.
[๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเจ้าอย่างนี้แล้ว อักโกสกภาร-
ทาวชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ
ส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปฉฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอ
ถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์
พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้ว ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีก
ไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็
กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตรทั้ง
หลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็น
เครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
แล กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็
แหละ ท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.
ข้อความโดยสรุป
อักโกสกสูตร (ว่าด้วยพระพุทธเจ้าไม่รับคำด่าของพราหมณ์)
------------------------------
อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ เกิดความโกรธ ขัดใจ ไม่พอใจ เมื่อได้ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังพราหมณ์ภารทวาชโคตร ผู้เป็นพี่ชายของตนให้บวช จึงได้
เข้าไปด่าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ด้วยถ้อยคำอันหยาบคาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสนทนากับพราหมณ์ เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ว่า เมื่อมี
แขกมาเยี่ยมที่บ้านของตน ผู้เป็นเจ้าของบ้านย่อมทำการต้อนรับด้วยวัตถุต่าง ๆ ทั้ง
ของเคี้ยวของบริโภคและเครื่องดื่ม ถ้าหากแขกไม่รับสิ่งของเหล่านั้น สิ่งของเหล่านั้น
ย่อม(ตก)เป็นของเจ้าของบ้าน ฉันใด เมื่อพราหมณ์ด่าพระองค์ด้วยถ้อยคำอันหยาบ-
คายอย่างนี้ พระองค์ไม่รับคำด่าของพราหมณ์ คำด่าดังกล่าวเป็นของพราหมณ์
เพียงคนเดียวเท่านั้น ฉันนั้น ...
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้จะถูกด่า ถูกว่า พระองค์ก็ไม่ทรงโกรธตอบ พร้อมทั้งทรงเป็น
ที่พึ่งให้กับอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ด้วย ซึ่งในที่สุดอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ก็
เกิดความเลื่อมใส ขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา ในกาลต่อมาท่านก็ได้บรรลุเป็น
พระอรหันต์.
บุคคลไม่โกรธตอบ
บุคคลผู้โกรธแล้ว
ชื่อว่าย่อมชนะสงคราม
อันบุคคลชนะได้โดยยาก .....
ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกครับ
๑. พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 300
ข้อความบางตอนจากเกสีสุตร
พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควร
ฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อม
ทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
ดูก่อนเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝีกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน
นี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริย.
๒. พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒
ข้อความบางตอนจากสิงคาลกสูตร
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม
โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ
ออกเป็น ๔ ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้
สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ
งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย
หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 93
มุณฑราชวรรคที่ ๕
๑. อาทิยสูตร
ว่าด้วยหลักการใช้โภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ๕ อย่าง
[๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อน คฤหบดีประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่
โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คืออริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้
จ่ายโภคทรัพย์ ที่ตนหามาได้นั้นด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน
อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหาร
ตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ
เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ
นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ ด้วยความหมั่น
ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรมได้มาโดยธรรม
เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่
จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ ด้วยความหมั่น
ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรมได้มาโดยธรรม
ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำ
ตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่ โภคทรัพย์ข้อที่ ๓.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ ด้วยความหมั่น
ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
ทำพลี ๕ อย่าง คือ
๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]
๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]
๓. ปุพพเปตพลี [ทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย]
๔. ราชพลี [บริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]
๕. เทวตาพลี [ทำบุญอุทิศให้เทวดา]
นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ ด้วยความหมั่น
ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้
เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติ และ
โสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว นี้เป็นประโยชน์ที่
จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕.
ดูก่อนคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้าเมื่ออริย-
สาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์หมดสิ้นไป อริย-
สาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นั้นแล้ว และ
โภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความเดือดร้อน ฯลฯ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง สวดมนต์ อฐิษฐานจิต
สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป เมื่อวานนี้ได้รักษาผู้ป่วยฟรี
โดยไม่คิดเงิน และวันนี้ตั้งใจว่าจะฟังธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
กำหนดอิริยาบทย่อย เจริญสมถะ ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบ 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วม สร้างศาลาพระประธานวัดป่าเทพประสิทธิ์ธรรม
ต.หนองกุง อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม
โทร.080-7786745
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.