ตามหลักพระวินัยมีว่า พระภิกษุบวชใหม่ ต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์
คือถือนิสัยอยู่ในการดูแลของท่านอย่างน้อย ๕ พรรษา เมื่อพ้น ๕ พรรษาแล้ว ถ้า
ไม่สามารถดูแลตัวเอง คือ ทรงจำพระธรรมวินัย พระปาฏิโมกข์ไม่ได้ ก็ต้องถือ
นิสัยอยู่กับพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์ไปเรื่อยๆ จนตลอดชีวิต ถ้าไม่ถือนิสัย
ต้องอาบัติ ส่วนเรื่องของธุดงค์นั้น ก็ควรเข้าใจก่อนว่า ธุดงค์คืออะไร มีกี่ข้อ ทำไม
ต้องธุดงค์ อยู่ที่อารามรักษาธุดงค์ได้ไหม รักษาได้กี่ข้อ การเดินป่าเป็นธุดงค์หรือ..
ถ้าอยู่กับพระอุปัชฌาย์ รักษาธุดงค์ไม่ได้หรือ...
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 274 พระพุทธานุญาตให้ถือสัย
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้า
มูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ ถือนิสัยอยู่ ๕ พรรษา
และให้ภิกษุผู้ไม่ฉลาดถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิต....
องค์ ๕ แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ
นิสัยอยู่ ไม่ได้ คือ:-
๑. ไม่รู้จักอาบัติ.
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก และ
๕. เธอจำปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดี โดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี
ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล จะไม่ถือนิสัย
อยู่ ไม่ได้.
องค์ ๖ แห่งภิกษุต้องถือนิสัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ แม้อื่นอีก จะไม่ถือ
นิสัยอยู่ไม่ได้ คือ:-
๑. ไม่รู้จักอาบัติ.
๒. ไม่รู้จักอนาบัติ.
๓. ไม่รู้จักอาบัติเบา.
๔. ไม่รู้จักอาบัติหนัก.
๕. เธอจาปาติโมกข์ทั้งสองไม่ได้ดี โดยพิสดาร จำแนกไม่ได้ด้วยดี
ไม่คล่องแคล่วดี วินิจฉัยไม่เรียบร้อย โดยสุ คะ โดยอนุพยัญชนะ
๖. มีพรรษาหย่อน ๕.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล จะไม่ถือนิสัย
อยู่ ไม่ได้. .. เพื่อ ความเข้าใจ "สภาพธรรมตามความเป็นจริง"
ว่า "เป็นธรรมะ-แต่ละลักษณะ-ซึ่งกำลังเกิด-ปรากฏ-ตามปกติ-ขณะนี้"
และ ไม่สามารถที่จะรู้ถึงความลึกซึ้งของ "ธรรมะ" ใด ๆ ได้เลย
ถ้า "ขณะนี้"....ไม่เข้าใจ ว่า "ความเข้าใจธรรมะ" มี ๓ ขั้น.
ขั้นปริยัติ คือ ความรอบรู้-ในสิ่งที่ได้ฟัง
ไม่ได้หมายความว่า
รู้-เรื่องราว-อรรถะ-พยัญชนะ-โวหาระ-ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหมด
แต่ หมายความว่า
แม้แต่คำว่า "ธรรมะ" เพียงคำเดียว ที่ส่องถึง"ลักษณะที่มีจริง-ของธรรมะ"
แม้จะเข้าใจจากการฟัง ว่า เป็น "ธรรมะ" ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ
มีลักษณะเกิด-ดับอยู่ทุกขณะ....ก็ยังยากที่จะรู้ได้.?
เพราะฉะนั้น
"การฟัง" ก็เพื่อ "ละความไม่รู้"
ไม่ใช่ฟังแล้ว-อยากเข้าใจทั้งหมดเลยทุกอย่าง-ที่ได้ฟัง
ซึ่งเป็นไปไม่ได้.!
แม้แต่คำว่า "ธรรมะ"....ก็ได้ฟังแล้วตั้งหลายครั้งว่า "ธรรมะ-ไม่ใช่เรา"
ขณะที่ฟัง และ มีสภาพธรรม-กำลังปรากฏ เช่น ขณะนี้-มีการเห็น....?
เพราะฉะนั้น "การฟัง" ที่เป็นประโยชน์
ก็คือ ในขณะที่ฟัง-ฟัง"เรื่องสิ่งที่มีจริงในขณะนั้น" แล้วเริ่มเข้าใจ"ความจริง"
"ความจริง" ที่เข้าใจได้ คือ "ลักษณะจริง ๆ-ของสิ่งที่มีจริง ๆ"
ในขณะที่กำลังฟังนั่นเอง.!
ซึ่งยากมากที่จะประจักษ์ "ความจริง" นั้นได้....?
เพราะว่า สะสมความไม่รู้สภาพธรรม-ตามความเป็นจริง-มานานมาก.!
สีเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรมคือเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร
สีไม่ดี ไม่ชั่วเพราะไม่ใช่นามธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล
บุคคลจะประเสริฐหรือไม่ประเสริฐไม่ใช่ขึ้นอยู่กับสี แต่ขึ้นอยู่กับจิต
บุคคลจะประเสริฐได้เพราะจิตที่บริสุทธิ์
จิตจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการอบรมปัญญา คืออริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งก็ไม่พ้นจากการที่สติ
ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราครับ
สีจึงไม่เป็นประมาณให้บุคคลบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ครับ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 11 ๔. พราหมณสูตร
[๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์
ออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยรถเทียมม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว
เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามปฏักขาว ร่ม
ขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวัชนีที่ด้ามพัดก็ขาว ชน
เห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ
รูปของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.
[๑๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว
เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
เวลาเช้าข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี
ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน
ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถ
ขาว เชือกขาว ด้ามปฏักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้า
ขาว พัดวาลวัชนีที่ด้ามก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
[๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อาจบัญญัติได้
คำว่ายานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียก
กันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงความอันยอดเยี่ยมบ้าง.
[๑๕] ดูก่อนอานนท์ สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[๑๖] ดูก่อนอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด
โมหะเป็นสุด.
[๑๗] ดูก่อนอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[๑๘] ดูก่อนอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด
โมหะเป็นที่สุด.
[๑๙] ดูก่อนอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด.
[๒๐] ดูก่อนอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้
มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด
โมหะเป็นที่สุด.
[๒๑] ดูก่อนอานนท์สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
[๒๒] ดูก่อนอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด. [๒๓] ดูก่อนอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริย-
มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง
รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง นั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๒๔] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธา
กับปัญญาเป็นแอก มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริ
เป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถี
ผู้ควบคุม รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มี
ฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มี
อุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้
เป็นประทุน กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท
ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ มี
ความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ พรหม
ยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของ
บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนัก-
ปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดยความแน่
ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.
จบพราหมณสูตรที่ ๔ เรื่อง บุคคลจะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วอยู่ที่จิตไม่ใช่ที่รูป
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 345
ข้อความบางตอนจาก คัททูลสูตร
สัตว์เศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมอง
บทว่า จิตฺตสงฺกิเลสา ความว่า ก็สัตว์ทั้งหลายแม้อาบน้ำดีแล้ว
ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมองนั่นแล แต่ว่าแม้ร่างกายจะ
สกปรกก็ชื่อว่าผ่องแผ้วได้เพราะจิตผ่องแผ้ว.
ด้วยเหตุนั้น โบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหาพระคุณ
อันยิ่งใหญ่มิได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมอง สัตว์ ทั้งหลายจึงชื่อว่า เศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์ สัตว์
ทั้งหลายจึงชื่อว่า บริสุทธิ์.
(แต่) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงแสวงหา
พระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อจิตเศร้าหมอง
สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าเศร้าหมอง เมื่อจิตบริสุทธิ์
สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่าบริสุทธิ์ด้วย
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อุทิศบุญกุศล ตื่นแต่ดึกมาศึกษาธรรม ฟังธรรม สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง และวันนี้คุณแม่กับพี่สาวได้ไปปฏิบัติธรรม 8 วัน 7 คืน อบรมวิปัสสนากรรมฐาน และววันี้ตั้งใจว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ กำหนดอิริยาบทย่อย ศึกษาการรักษาโรค ศึกษาธรรม ฟังธรรม เจริญสมถะภาวนา และสร้างบารมีให้ครบ ทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่าสร้างอาคารเรียน ณ โรงเรียนชุมชนบ้านเกาะสมอ ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กำหนดการในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
เวลา 9.00 น.ตั้งกองผ้าป่า เวลา11.00น. ถวายภัตราหารเพล เวลา 11.30 น.ถวายผ้าป่า เวลา 12.00น. รับประทานอาหารร่วมกัน
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|