ภวังคจิต เป็นจิต โดยชาติ เป็นวิบากชาติ ไม่ใช่กรรม แต่เจตนาที่เกิดร่วมกับ
วิบากจิต เป็นสหชาตกรรม
วิญญาณคือจิต จิตคือวิญญาณ และนอกจากนี้จิตยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น มโน
มานัส หทัย ปัณฑระ เป็นต้น
ภวังคจิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริง คือ เป็นจิต ที่เกิดขึ้นทำกิจดำรงภพชาติความ
เป็นบุคคลนี้ไว้, ในชีวิตประจำวัน ก็มีวิถีจิต (จิตที่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้นทางกาย และทางใจ) กับ ภวังคจิต เกิดขึ้นเป็นไป จนกว่าจะถึงขณะสุดท้าย
ของภพนี้ คือ ขณะที่จุติจิตเกิดขึ้น ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในภพนี้
สภาพธรรมแต่ละอย่าง ๆ ก็เป็นแต่ละอย่าง ๆ มีลักษณะเฉพาะของตน ๆ จะไม่
ปะปนกันอย่างเด็ดขาด, "จิต" เป็นจิต ไม่ใช่กรรม เพราะสภาพธรรมที่เป็นกรรม
ได้แก่ เจตนาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต แต่ไม่ใช่จิต ครับ
- วิญญาณ กับ จิต เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง
อารมณ์ มีพยัญชนะหลายประการที่หมายถึงจิต เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะ
ของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน (วิญญาณไม่มี
การล่องลอย ไม่มีรูปร่าง)
การเกิดขึ้นของจิต นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงจิตเท่านั้น ยังมีเจตสิก(สภาพธรรมที่เกิด
ร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และอาศัยที่เกิดที่เดียวกันกับจิต)
เกิดร่วมด้วย ตามสมควรแก่ประเภทของจิตประเภทนั้น ๆ จะไม่มีจิตแม้แต่ประเภทใด
เลยที่เกิดโดยไม่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เช่น จักขุวิญญาณ (จิตเห็น ก็มีเจตสิก ๗
ประเภทเกิดร่วมด้วย คือ ผัสสเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก
เอกัคคตาเจตสิก ชีวิตินทริยเจตสิก และ มนสิการเจตสิก) เป็นต้น ครับ.
เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวงนั้นถูกต้องครับ
เจตนาก็คือกรรมอันนี้ก็ถูกนัยหนึ่ง แต่ที่คุณมุ่งหมายคงหมายถึง เป็นกรรมที่ทำแล้วให้
ผล เช่น เจตนาที่เป็นไปในการฆ่าสัตว์ก็ให้ผลเกิดในนรก เป็นต้น จิตเมื่อเกิดขึ้นก็ต้อง
มีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ได้หมายความว่าเมื่อมีเจตนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
แล้วจะต้องให้ผล แต่ถามว่าเป็นกรรมไหม เป็นครับแต่เป็นกรรมโดยนัย ที่เกิดร่วมกันกับ
สภาพธรรมอื่นๆ ที่เรียกว่าสหชาตกัมมปัจจัย
เจตนาเจตสิกที่เกิดกับภวังคจิต เจตนาเจตสิกนั้นก็ต้องเป็นประเภทวิบาก(ผลของ
กรรม) เช่นเดียวกับประเภทของจิตเพราะภวังคจิตเป็นประเภทวิบาก เมื่อเจตนาเจตสิก
เป็นชาติวิบาก เป็นกรรมเป็นกรรมโดยนัย สหชาตกัมมปัจจัย แต่ไม่มีผลของกรรมเพราะ
เป็นจิตประเภทวิบาก(ผลของกรรม) ไม่ใช่จิตประเภทกุศลและอกุศลครับ
เจตนาเจตสิกที่เกิดกับภวังคจิต จึงไม่ใช่กรรมที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม ที่ทำ
ให้ต้องได้รับผลของกรรมครับ เช่นเดียวกับ เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตเห็น จิตเห็นเป็น
จิตประเภทวิบาก(ผลของกรรม) เจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยจึงเป็นชาติวิบาก เป็น
กรรมโดยนัย สหชาต กัมมปัจจัยคือเกิดพร้อมกับเจตสิกอื่นๆนั่นเอง แต่ไม่ได้เป็น
กรรมที่เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จะต้องให้ผลครับ
เพราะฉะนั้นจะเป็นกรรมที่จะมีผลของกรรม ต้องเป็นจิตประเภทที่เป็นกุศลกรรมหรือ
อกุศลกรรม เช่น การฆ่าสัตว์ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นจิตประเภท วิบาก(ผลของกรรม) เช่น
จิตเห็น ภวังคจิต เหล่านี้เป็นจิตประเภทวิบากคือเป็นผลของกรรม เป็นผล ไม่ใช่ตัวเหตุ
ก็จะไม่ก่อให้เกิดผลครับ เพียงแต่เจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตประเภทวิบาก มีภวังคจิต
เป็นต้น แค่เกิดพร้อมกันกับกับจิตและเจตสิกอื่นๆเท่านั้นครับ(สหชาตกัมมปัจจัย) ไม่ได้
มีผลของกรรมอะไร แต่ถ้าเป็นจิตอื่นหรือวิญญาณอื่น เช่น จิตหรือวิญญาณประเภท
อกุศลจิตที่เป็นไปในการฆ่าสัตว์ วิญญาณหรือจิตนี้สามารถให้ผลของกรรมได้ครับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ -
ในคำว่า มุสาวาทํ ปหาย นี้ คำว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือ
กายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.
ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อน
ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาด
เคลื่อน ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คำว่า
วาท ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่อง
จริง เรื่องแท้. ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้
ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย มีโทษมาก
เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า
ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย ที่เป็นพยาน
กล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาท
ที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์ เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้าน
ไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือ
เนยใสมาน้อย มีโทษน้อย แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็น
แล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ
๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่แท้
๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน
๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น
๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.
มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึง
เห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำ
กิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อม
ผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว. ก็เพราะ
เหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้ว
โยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึง
รู้อย่างนี้ ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วย
กายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวร-
ประโยค ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้มา
ในอรรถกถาทั้งหลาย จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 107
[๒๑๑] อีกนัยหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไป
โดยนัยเป็นต้นว่า "ไม่มี" เพราะไม่ประสงค์จะให้ของ ๆ ตน ชื่อว่า
มีโทษน้อย, มุสาวาทที่มุสาวาทีบุคคลเป็นพยาน กล่าวเพื่อหักราน
ประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที
เป็นไปโดยปูรณกถานัย เป็นต้นว่า "วันนี้น้ำมันในบ้านไหลไปดุจ
แม้น้ำ" เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้
หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย, แต่มุสาวาทของพวกเธอ ผู้กล่าวสิ่ง
ที่ตนมิได้เห็นนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า "ข้าพเจ้าเห็น" ชื่อว่า
มีโทษมาก. กถาที่เป็นไปด้วยสามารถการทำเรื่องที่ยังพร่องเพราะ
น้อยให้เต็ม ชื่อว่าปูรณกถา. วจีเภทที่เป็นไปด้วยไม่ประสงค์จะให้
ของ ๆ ตนก็ดี ด้วยปูรณกถานัยก็ดี ชื่อว่ามุสาวาท ของมุสาวาที-
บุคคลผู้มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นเบื้องหน้า ก็จริง, ถึงอย่างนั้น
เจตนาในมุสาวาทนั้น ย่อมไม่มีกำลัง เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
มีโทษน้อย.
มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ เรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าว
ให้คลาดเคลื่อน ๑ ความพยายามเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตชฺโช คือสมควรแก่จิตนั้น,
อธิบายว่า สมควรแก่การกล่าวให้คลาดเคลื่อน. ด้วยบทว่า วายาโม
ท่านกล่าว (มุ่ง) ถึงประโยค ด้วยยกวายามะเป็นประธาน. ท่านกล่าว
ว่าผู้อื่นรู้เรื่องนั้น เป็นองค์อันหนึ่ง เพราะแม้เมื่อมุสาวาทีบุคคล ทำ
ความพยายามด้วยประสงค์ในอันกล่าวให้คลาดเคลื่อน, แต่เมื่อผู้อื่น
ไม่รู้เรื่องนั้น การกล่าวให้คลาดเคลื่อนก็ไม่สำเร็จ. ส่วนอาจารย์
บางพวกกล่าวว่า "มุสวาทมีองค์ ๓ คือ คำไม่จริง ๑ จิตคิดจะ
กล่าวให้คลาดเคลื่อน ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 105
วจีกรรม
[มุสาวาท]
[๒๐๙] วจีประโยคหรือกายประโยค อันหักรานประโยชน์ของ
ผู้มุ่งกล่าวให้คลาดเคลื่อนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่ามุสา.
ในคำเหล่านั้น คำว่า อันหักรานประโยชน์ ท่านกล่าวเพื่อแสดง
มุสาวาทที่ถึงความเป็นกรรมบถ. ท่านแสดงความที่สุสาศัพท์เป็น
ประธานแห่งกิริยา ด้วยศัพท์มีวจีประโยคศัพท์เป็นต้น. เจตนาของ
เขา อันยังกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งเป็นเครื่องกล่าวให้คลาด
เคลื่อนต่อผู้อื่นให้ตั้งขึ้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่า
มุสาวาท เพราะวิเคราะห์ว่า "บุคคลย่อมกล่าวมุสา อันเป็นประโยค
ตามที่กล่าวแล้ว คือให้ผู้อื่นรู้แจ้งมุสา (นั้น) หรือยังมุสา (นั้น)
ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนานั่น." ก็แลความประสงค์ในอันกล่าวให้คลาดเคลื่อน
ย่อมได้ ทั้งในขณะเบื้องต้น (คือก่อนแต่จะพูด) ทั้งในขณะนั้น
(คือกำลังพูด). จริงอยู่ พระอุบาลีเถระกล่าวคำนี้ไว้ว่า "ก่อน
(แต่จะพูด) ภิกษุย่อมมีความรู้ตัวว่า 'เราจะพูดมุสา' เมื่อกำลัง
พูด ย่อมมีความรู้ตัวว่า 'เราพูดมุสาอยู่. ดังนี้. ความรู้ตัวทั้ง ๒
นั่นแล เป็นองค์, ส่วนนอกนี้จะมีก็ตาม ไม่มีก็ตาม' ข้อนั้นไม่เป็น
เหตุ.
[๒๑๐] อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่จริงไม่แท้ ชื่อว่ามุสา. การ
ยังผู้อื่นให้ทราบเรื่องนั้น โดยความเป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ ชื่อว่าวาทะ.
ก็เจตนาที่ยังวิญญัติ (การเปล่งถ้อยคำ) อย่างนั้นให้ตั้งขึ้น ของ
บุคคลผู้ประสงค์จะยังผู้อื่นให้ทราบเรื่องอันไม่จริง โดยความเป็น
เรื่องจริง ชื่อว่ามุสาวาท เพราะวิเคราะห์ว่า "คำเท็จ อันบุคคลย่อม
กล่าว คือ ย่อมพูด ด้วยเจตนานั่น." ก็ในอธิการแห่งมุสาวาทนั้นพึง
เห็นสันนิษฐานว่า "ท่านกล่าวนัยที่ ๒ ไว้ เพื่อแสดงลักษณะนั้นให้
บริบูรณ์ เพราะลักษณะมุสาวาทในนัยก่อนยังไม่แจ่มแจ้งพอ และเพราะ
มีความที่มุสาศัพท์เป็นศัพท์บอกความที่จะพึงกล่าวให้คลาดเคลื่อน."
[โทษของมุสาวาท]
มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่มุสาวาที-
บุคคลสหักรานน้อย, ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่มุสาวาที-
บุคคลหักรานมาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่
มุสาวาทีบุคคลหักรานประโยชน์นั้น มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก
เพราะผู้นั้นมีคุณมาก. ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสอ่อน ชื่อว่า
มีโทษมาก เพราะกิเลสแรงกล้า.
วันนี้ได้ศึกษาการรักษาโรค เมื่อคืนนี้ได้
ให้อภัยทานและเกิบทุกคืนที่ต้องให้อภัย
แก่เพื่อนบ้านที่เสียงดังตอนดึกทุกวัน
ทำให้นอนไม่หลับก็เลยต้องให้อภัย
และวันนี้ได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา
ให้ธรรมะเป็นทาน กรวดน้ำอุทิศบุญกุศล
และวันนี้ตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบ ทั้ง 10 อย่าง
และวันี้ได้อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
และได้อนุโมทนากับเด็กนักเรียนที่ได้สวดมนต์ตอนเช้า
ประมาณ 1000 คน และวันนี้ตั้งใจว่า
จะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย
เจริญสมถะกรรมฐาน ศึกษาธรรม ฟังธรรม
ศึกษาการรักษาโรค และให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง (ทางน้ำ) ณ คลองอัมพวา
อัมพวา เป็นชุมชนที่ผูกพันกับสายน้ำ การดำรงชีวิตยังคงพึ่งพาแม่น้ำลำคลอง บ้านเรือนและวัดวาอาราม ล้วนปลูกสร้างอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลองเป็นจำนวนมาก และอัมพวายังเป็นชุมชนที่รักษาเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมน้ำดั้งเดิมของไทยไว้ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จังหวัดสมุทรสงคราม จึงจัด “โครงการรวมใจใส่บาตร(ทางน้ำ)...รวมน้ำใจช่วยเด็กยากไร้” ขึ้น ณ บริเวณคลองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
นางสาวอังคณา พุ่มผกา ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสมุทรสงคราม ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมกันสืบสานประเพณีที่ดีงาม โดยร่วมกันใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง แด่พระสงฆ์ที่พายเรือมารับบิณฑบาตจากญาติโยม ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยว ในทุกเช้าของวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ตลอดคลอง อัมพวา ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ร่วมกันรักษาขนบธรรมเนียมที่ดีงามของชาวพุทธ แล้วยังได้ช่วยเหลือเด็กยากไร้อีกด้วย เพราะข้าวสารอาหารแห้งที่ได้รับจากการใส่บาตรนี้จะรวบรวมมอบแก่เด็กกำพร้าและเด็กยากไร้ต่อไป จึงถือเป็นการทำบุญถึงสองต่อ ดังนั้นหากนักท่องเที่ยวตื่นแต่เช้ากันสักหน่อย จะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนชาวอัมพวาอย่างแท้จริง