Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

โกหก

พุธ 24 ก.พ. 2010 5:18 pm

:lol: พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 194

ในคำว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

วาจาที่เป็นเหตุทำคนเป็นที่รักในใจของผู้ที่คนพูดด้วย และเป็น

เหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.

อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้ง

หยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา.

วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป.

แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่าปิสุณา-

วาจา เป็นต้นไปด้วย. ก็ในที่นี้ ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ.

ในบรรดาวาจาทั้ง ๓ อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง

อันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อต้องการ

ทำคนให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า มีคุณน้อย เพราะ

ผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน

๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่าง

กัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็น

ที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้ว่างใจ ด้วยอุบายอย่างนี้

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามที่เกิดแต่ความมุ่งให้เขาแตกกันนั้น

๔. ตสฺส ตทตฺถวิชานนํ ผู้นั้นรู้เรื่องนั้น.

บทว่า อิเมสํ เภทาย ความว่า ฟังในสำนักของคนเหล่าใดที่ตรัส

ไว้ว่า จากข้างนี้ เพื่อให้คนเหล่านั้นแตกกัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

เรื่องวาจาหยาบ แต่ใจไม่หยาบ

ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคําของมารดาไปป่า มารดาไม่

สามารถให้เด็กนั้นกลับได้ จึงได้ด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุจงไล่มึง ทันใด

นั้น แม่กระบือป่าได้ปรากฏแก่เด็กนั้น เหมือนอย่างมารดาว่าทีเดียว เด็ก

นั้นได้กระทําสัจจกิริยาว่า สิ่งที่มารดาของเราพูดด้วยปาก จงอย่ามี สิ่งที่

มารดาคิดด้วยใจ จงมีเถิด แม่กระบือได้ยืนอยู่เหมือนถูกผูกไว้ในป่านั้นเอง.

ประโยคแม้ตัดความรักอย่างนี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาจา เพราะมีจิตอ่อน

โยน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมกล่าวกะลูกน้อย ๆ ถึงอย่างนี้ว่า

พวกโจรจงห้ําหั่นพวกเจ้าเป็นชิ้น ๆ ดังนี้ แต่ก็ไม่ปรารถนาแม้ให้กลีบบัว

ตกเบื้องบนของลูกน้อย ๆ เหล่านั้น อนึ่ง อาจารย์และอุปัชฌาย์ บางคราว

ก็กล่าวกะพวกศิษย์อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่มียางอาย ไม่เกรงกลัว คุยอะไร

กัน จงไล่มันไปเสีย ก็แต่ว่า ย่อมปรารถนาให้ศิษย์เหล่านั้นสําเร็จการ

ศึกษา และบรรลุมรรคผล. เหมือนอย่างว่า วาจาไม่เป็นผรุสวาจา เพราะ

คําอ่อนหวานก็หาไม่. ด้วยว่าผู้ต้องการจะฆ่า พูดว่า จงให้ผู้นี้นอนให้

สบาย ดังนี้ จะไม่เป็นผรุสวาจาก็หาไม่. ก็วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว

เพราะมีจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น มีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนพูดหมายถึงนั้น

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

มีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ ๓ คือ

๑. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า

๒. กุปิตจิตฺตํ จิตโกรธ

๓. อกฺโกสนา การด่า
การจะเป็นกุศลหรืออกุศลที่แสดงออกมาทางกาย หรือวาจา ขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ

ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ดังเช่น พระปิลินทวัชชะที่กล่าวว่า คนถ่อยเป็นประจำ ท่านเป็น

พระอรหันต์แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่วาจาหยาบเลยเพราะกล่าวด้วยจิตที่ไม่มีกิเลส จึงขึ้น

อยู่กับจิตเป็นสำคัญ มิใช่ถ้อยคำเป็นสำคัญครับซึ่งเรื่องนี้ ก็คงจะได้ฟังกันบ้างแล้ว จะ

ขอยกเรื่องที่อาจจะไม่ค่อยได้ฟัง เรื่องที่มีบุคคล(เป็นอุปัฏฐากพระเทวทัต)ไปเฝ้า

พระพุทธเจ้า เพื่อต้องการเสียดสีพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัส คำบางคำแต่

บุคคลนั้นหาว่าพระพุทธเจ้า ติเตียนด้วยกิเลสแต่จริงๆแล้วพระพุทธองค์ทรงดับกิเลส

แล้วจึงไม่เป็นคำหยาบเลย ลองอ่านดูนะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 461

ข้อความบางตอนจากอุปกสูตร

พระพุทธองค์ทรงโต้วาทะกับอุปกมัณฑิกาบุตร

[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรเข้าไฝเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามี

วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวติเตียนผู้อื่น ผู้นั้นทั้งหมดย่อม

ไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้

ถูกครหาติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปกะ ถ้าบุคคล. กล่าว

ติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าวติเตียนผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้

เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียนไซร้ ดูก่อนอุปกะ

ท่านนั่นแหละกล่าวติเตียนผู้อื่นย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจ

ให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน.
ทางแห่งถ้อยคำ ที่บุคคลอื่นพึงจะกล่าวกะท่าน มีอยู่

1. กล่าวโดยกาล อันสมควรหรือไม่สมควร

2. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง

3. กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย

4. กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์

5. มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ ๒ คือ

๑. นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา มุ่งกล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์ มีเรื่อง

ภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น.

๒. ตถารูปีกถากถนํ กล่าวเรื่องเช่นนั้น


มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๒ - หน้าที่ 112

[สัมผัปปลาป]

[๒๑๗] อกุศลเจตนาที่ยังกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งเป็น

เครื่องยังผู้อื่นให้รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่าสัมผัปปลาป

เพราะวิเคราะห์ว่า "สัมผัปปลาปีบุคคล ย่อมเจรจาคำเพ้อเจ้อ หา

ประโยชน์มิได้ ด้วยเจตนาธรรมนั่น."

[โทษของสัมผัปปลาป]

สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะอาเสวนะน้อย ชื่อว่า

มีโทษมาก เพราะอาเสวนะมาก. การอบรม การทำให้มาก ชื่อว่า

อาเสวนะ. อีกอย่างหนึ่ง สัมผัปปลาปนั้น อันสัมผัปปลาปีบุคคลให้

เป็นไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใดถือเอา เมื่อผู้นั้นไม่ถือเอา ชื่อว่ามีโทษน้อย

เมื่อผู้นั้นถือเอา ชื่อว่ามีโทษมาก, อนึ่ง สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่ามี

โทษน้อยและมีโทษมาก ในเพราะความแตกต่างกันแห่งความที่กิเลส

อ่อนและแรงกล้า.

[องค์ของสัมผัปปลาป]

สัมผัปปลาปนั้น มีองค์ ๒ คือ ความเป็นผู้มุ่งพูดเรื่องอันหา

ประโยชน์มิได้ มีเรื่องภารตยุทธ์และเรื่องนำนางสีดา๒มาเป็นต้น เป็น

เบื้องหน้า ๑ การพูดเรื่องเห็นปานนั้น ๑. เมื่อผู้อื่นยังไม่ถือเอาเรื่อง

นั้นอยู่ กรรมบถยังไม่ขาด เมื่อเขาถือเอาเท่านั้น จึงขาด.

ในฎีกาสัมมาทิฏฐิสูตร ท่านกล่าวว่า "ก็สัมผัปปลาปทุกอย่าง

ย่อมสำเร็จด้วยองค์ ๒."
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ธรรมชาติที่เพ่งเล็ง ชื่อว่า อภิชฌา. อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งต่อสิ่งของของ

ผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่สมบัติของผู้อื่น อภิชฌานั้น มีการ

เพ่งเล่งภัณฑะของบุคคลอื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอหนอ สิ่งนี้พึงเป็นของเรา


ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อยและโทษมากเหมือนอทินนาทาน.

อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ ...

ปรภณฺฑํ (สิ่งของของบุคคลอื่น) ๑.

อตฺตโน ปริณามนญฺจ (น้อมมาเพื่อตน) ๑.

ที่จริง เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของผู้อื่น แม้เกิดแล้ว กรรมบถยังไม่

แตกไปก่อน จนกว่า เขาน้อมมาเพื่อตน ด้วยคำว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็น

ของเรา ดังนี้.

สภาวธรรมที่ยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุข ให้พินาศไป ชื่อว่า

พยาบาท. พยาบาทนั้นมีความมุ่งร้ายเพื่อให้ผู้อื่นพินาศเป็นลักษณะ มีโทษ

น้อยและมีโทษมากเหมือนผรุสวาจา.

พยาบาทนั้นมีองค์ ๒ คือ ...

ปรสตฺโต (สัตว์อื่น) ๑.

ตสฺส จ วินาสจินฺตา (ความคิดที่ให้สัตว์นั้นพินาศไป) ๑.

ที่จริง เมื่อความโกรธมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งแม้เกิดขึ้นแล้ว กรรมบถยังไม่แตก

ไปก่อน ตราบจนกว่าจะคิดยังสัตว์ให้พินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้พึงขาดสูญพึง

พินาศดังนี้.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ธรรมชาติที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิดโดยความ

ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีความเห็นวิปริตเป็นลักษณะโดย

นัยเป็นอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อย และ

มีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ อีกอย่างหนึ่ง อนิยตฉาทิฏฐิมีโทษน้อย

นิยตมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก . องค์ของมิจฉาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ วตฺถุโน จ

คหิตาการวิปรีตตา (เรื่องทั้งหลายวิปริตจากอาการที่ถือเอา) ๑. ยถา จ ตํ

คณฺหาติ ตถาภาเวน ตสฺสูปฏฺฐานํ (ความปรากฏแห่งเรื่องนั้นโดยความ

ไม่เป็นจริงตามที่ยึดถือ) ๑. บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น กรรมบถย่อมแตกไป

เพราะนัตถิกทิฏฐิ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิเท่านั้น กรรมบถย่อมไม่แตกไป

เพราะทิฏฐิอื่น ๆ.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

[๒๙๑] มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็น

เป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ

ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิ

เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาสในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า

มิจฉาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

คำว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด.

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมา

แต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเอง

หรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น.

มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโย-

นิโส อภินิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา)

มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความ

ไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน-

กามตาทิปทฏฺฐานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง.
"ภัยในสังสารวัฏฏ์"


"ภัย"

คือ สิ่งที่ไม่เที่ยง เพราะมีปัจจัยให้เกิด...ก็ต้องเกิด

เกิดแล้วก็ต้องดับไป...ไม่กลับมาอีกเลย

ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิด หรือไม่เกิด ก็ไม่มีใครยับยั้ง หรือบังคับบัญชาได้

เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ในแต่ละภพ แต่ละชาติ

ถ้าเป็นชาติที่เกิดในสุคติภูมิ เช่น เกิดเป็นมนุษย์

ก็ต้องมีทั้งเวลาที่สุข และเวลาที่ทุกข์

เมื่อได้กระทำ "เหตุ" ที่จะได้รับ "ผล" อย่างไร...วันไหน...ขณะไหน

ก็ต้องเป็นไปอย่างนั้น...ตาม"เหตุ"

และความจริง ก็ไม่มีใคร

เพราะเป็น "ธรรมะ" ซึ่งเป็น จิต เจตสิก และ รูป.


"สังสาระ"

คือ การเกิดดับ-สืบต่อ-ไม่มีระหว่างคั่น

นานแสนนาน.......จนกระทั่งถึง บัดนี้.!


"สังสารวัฏฏ์"

คือ การเกิดดับ ๆ สืบต่อ เปลี่ยนแปลงไป ทุกภพทุกชาติ ไม่มีความยั่งยืน

จากภพชาตินี้ ไปสู่ภพชาติต่อ ๆ ไป โดย "กรรมที่ได้กระทำแล้ว" นั่นเอง

ที่เป็น "ปัจจัย" ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น และเป็นไปตาม"ผลของกรรม"

ทั้งในชาตินี้ และ ชาติต่อ ๆ ไป.


ในชาตินี้ ในขณะนี้...ก็กำลังเป็น "การให้ผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว"

ซึ่งมีทั้งผลของ กุศลกรรม และ ผลของ อกุศลกรรม

และยังเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลกรรม และ อกุศลกรรม ต่อไปอีก.


แต่ "กรรมที่ประเสริฐสุด" คือ "ความเห็นถูก"


ความเห็นถูก ในสิ่งที่มีจริง ๆ....ความเห็นถูกใน "ธรรมะ"

ซึ่งในสังสารวัฏฏ์ ที่ผ่านมานั้น...ได้ฟังมาแล้ว แค่ไหน

และ มีความเข้าใจ ในสิ่งที่กำลังฟัง แค่ไหน.!


นี่คือสิ่งที่สำคัญ และ มีประโยชน์....เพื่อที่จะได้ไม่เป็น "ผู้ที่ประมาท"


เมื่อได้ฟังคำว่า "ภัยในสังสารวัฏฏ์" แล้ว

เข้าใจคำว่า "สังสารวัฏฏ์" และ คำว่า "ภัย" เพิ่มขึ้นหรือเปล่าคะ.?


นี่คือ ความละเอียด นะคะ

เพราะการศึกษาพระธรรม ไม่ใช่เพียงจำคำ หรือ จำเรื่องราว.!


"สาระ" จากการศึกษาพระธรรม

คือ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในสิ่งที่ได้ฟัง.
ในสมัยครั้งพุทธกาลพุทธบริษัททั้งหลายเรียกพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

บ้าง หรือ เรียก พระตถาคต พระทศพล พระศาสดา พระสัพพัญญู พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า พระโลกนาถ พระมเหสี พระอังคีรส พระธรรมราชา เป็นต้น

ดังนั้นคนในยุคนี้ก็เรียกตามพุทธบริษัทในสมัยก่อนย่อมสมควรครับ
คำว่า พระมเหสี เป็นอีกพระนามหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง ผู้แสวงหา

คุณอันยิ่งใหญ่ ครับ

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศ ผู้ประเสริฐที่สุดใน

โลก กว่าที่พระองค์จะได้ตรัสรู้นั้น ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาตลอดระยะเวลา สี่อสงไขย

แสนกัปป์ ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก พระคุณของพระองค์นั้นมีมากมาย ดังที่ปรากฏใน

บทสรรเสริญพระพุทธคุณที่ว่า

อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น)

อรหัง (ทรงเป็นพระอรหันต์ ผู้ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง)

สัมมาสัมพุทโธ (ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ไม่มีใครเป็นครูอาจารย์)

วิชชาจรณสัมปันโน (ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา(ความรู้แจ้ง) และ จรณะ

(จรณะ หมายถึง เครื่องดำเนิน มี ๑๕ ประการ คือ ถึงพร้อมด้วยศีล, สำรวม

อินทรีย์, มีความเพียร, รู้จักประมาณในโภชนะ, ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ

ได้แก่ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ (สดับตรับฟังพระธรรม) วิริยะ สติ ปัญญา,

รูปฌาน ๔) ที่สูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)

สุคโต (ทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว)

โลกวิทู (ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง)

อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ (ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึก อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า)

สัตถา เทวมนุสสานัง (ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)

พุทโธ (ทรงเป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว)

ภควา (ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์)

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบุคคลที่เสมอกับบุคคลที่ไม่มีใคร

เสมอ นั่นก็คือ ทรงเสมอกันกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ พระคุณของพระองค์ ซึ่งเมื่อ

ประมวลแล้วสรุปรวมลงใน ๓ ประการ คือ

พระบริสุทธิคุณ (ทรงดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด ทรงมีความ

บริสุทธิ์ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ)

พระปัญญาคุณ (ทรงมีพระปัญญาที่รู้สภาพธรรมทุกอย่างไม่มีเหลือ)

พระมหากรุณาคุณ (ทรงมีพระทัยประกอบด้วยเมตตาเกื้อกูลสัตว์โลก ด้วยการแสดง

พระธรรม, ในแต่ละวัน พระองค์ทรงพักผ่อนน้อยมาก ส่วนใหญ่แล้วเป็นการบำเพ็ญ

ประโยชน์ต่อสัตว์โลกทั้งปวง)

บุคคลผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง จึงมีการฟัง มีการศึกษา

สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ เมื่อศึกษาเข้าใจความจริงแล้ว ย่อมจะมีความซาบซึ้ง

มากขึ้นในพระคุณของพระพุทธองค์ ทั้งพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และ พระมหา

กรุณาคุณ ตามปัญญาของตนเอง, พระนามของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้า นั้น มีมากมาย (ดังที่อาจารย์ประเชิญได้ยกมา) ไม่มีใครตั้งให้ แต่เป็นพระ

นามตามพระคุณของพระองค์ตามความเป็นจริง เมื่อจะเรียกหรือกล่าว ก็เรียกตามชื่อที่

ปรากฏแล้ว ครับ

สำหรับการเรียกชื่อของพระพุทธเจ้านั้น เรียกเพราะพระคุณของพระองค์ ไม่มีใคร

ตั้งให้ ไม่มีใครจะกำหนดให้ว่าเราพอใจอย่างนี้ เราก็เรียกอย่างนี้ แต่เพราะพระคุณของ

พระองค์ ชื่อของพระพุทเจ้าจึงเป็นไปตามพระคุณของพระองค์ครับ เช่น ตถาคต ผู้

เสด็จไปอย่างนั้น ก็จะมีคำอธิบายตามพระคุณของพระองค์ว่าเป็นอย่างไร

ผู้ที่มีความเข้าใจพระธรรมก็ย่อมเข้าใจถึงพระคุณของพระองค์ตามความเป็นจริง จึง

ใช้คำให้เหมาะสมกับพระคุณของพระองค์ อันเป็นบุคคลผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้

การศึกษาพระธรรมประโยชน์คือความเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อย่างอื่น ไม่ใช่เพื่อได้ แต่เป็นไป

เพื่อละ เมื่อความเข้าใจเจริญขึ้น ปัญญาเจริญขึ้น แม้ได้ยินชื่อขงพระพุทธเจ้า เช่น คำ

ว่าพุทโธ ก็มีความปีติ ซาบซึ้งอันเกิดจากความเข้าใจพระธรรมมาครับ ชื่อของบุคคลผู้

เลิศจึงเกิดจากรพระคุณของพระองค์เองครับ ไม่ควรคิดเองเพราะความเข้าใจพระธรรม

ของเรายังไม่พอครับ

มเหสี ความหมายคือ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ คือ พระองค์ทรงแสวงหาคุณคือศีล

สมาธิ ปัญญาอันยิ่งใหญ่ เป็นต้น เพราะการเป็นพระพุทธเจ้าก็ต้องประกอบด้วยคุณอัน

ใหญ่ นั่นก็ไม่พ้นไปจาการการเจริญ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นไปเพื่อถึงความหลุด

พ้นอันยิ่งใหญ่ และการรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เป็นต้น
มเหสี ความหมายคือ พระองค์ทรงเป้นผู้เสาะ แสวงหาแล้วซึ่งการทำลาย ความไม่รุ้

อวิชชา ทำลายกิเลสประการต่างๆและพระองค์ทรงเสาะแสวงหาคุณธรรมประการต่างๆ

ด้วยพระองค์เองอันเป็นไปเพื่อดับกิเลสคือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 สัมปธาน 4 อิทธิ-

บาท 4 และทรงเสาะแสวงหาแล้วด้วยพระองค์เองด้วยปรมัตอย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน

ด้วยพระองค์เองครับ พระองค์จึงเป็นพระมเหสีเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่อย่างแท้จริง
มเหสี ความหมายคือ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ มีเทวดา เช่น พระอินทร์ พระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่

ต่างก็เสาะ แสวงหาพระพุทธเจ้าว่าทรงประทับที่ไหน แม้เหตุนี้พระองค์ก็ชื่อว่าเป็นพระ

มเหสีเจ้า เพราะผู้มีศักดิ์ใหญ่ต่างก็เสาะ แสวงหาพระองค์(พระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 125

[๑๗๓] คำว่า มเหสี ในอุเทศว่า มเหสี ธมฺมมุตฺตม ดังนี้

ความว่า ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่ากระไร . ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหาซึ่งศีลขันธ์ใหญ่ ซึ่งสมาธิ-

ขันธ์ใหญ่ ซึ่งปัญญาขันธ์ใหญ่ ซึ่งวิมุตติขันธ์ใหญ่ ซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ

ขันธ์ใหญ่.

ชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา

ค้นหาแล้วซึ่งความทำลายกองมืดใหญ่ ซึ่งความทำลายวิปลาสใหญ่ ซึ่ง

ความถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่ ซึ่งความตัดความสืบต่อทิฏฐิใหญ่ ซึ่งความ

ให้มานะเป็นเช่นธงใหญ่ตกไป ซึ่งความระงับอภิสังขารใหญ่ ซึ่งความสละ

โอฆะใหญ่ ซึ่งความปลงภาระใหญ่ ซึ่งความตัดสังสารวัฏใหญ่ ซึ่งการให้

ความเร่าร้อนใหญ่ดับไป ซึ่งความสงบระงับความเดือดร้อนใหญ่ ซึ่งความ

ยกขึ้นซึ่งธรรมเป็นดังว่าธงใหญ่ ซึ่งสติปัฏฐานใหญ่ ซึ่งสัมมัปปธานใหญ่

ซึ่งอิทธิบาทใหญ่ ซึ่งอินทรีย์ใหญ่ซึ่งพละใหญ่ ซึ่งโพชฌงค์ใหญ่ ซึ่ง

อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ใหญ่ซึ่งอมตนิพพานอันเป็นปรมัตถ์ใหญ่.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า มเหสี เพราะอรรถว่าอันสัตว์

ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่แสวงหา เสาะหา สืบหาว่า พระพุทธเจ้าประทับ ณ

ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเทวดา

ล่วงเทวดาประทับ ณ ที่ไหน พระนราสภประทับ ณ ที่ไหน.

ความพอใจ ความปรารถนา ความต้องการของท่านที่มีอยู่ในสิ่งใด

ก็สิ่งที่เคยนำความสุข ความพอใจมาให้แก่ท่านนั่นแหละ

จะเป็นสิ่งที่นำความทุกข์โทมนัสมาให้ท่าน

เมื่อถึงคราวที่ต้องเปลี่ยนแปลง วิบัติ และ เสื่อมสลาย

ดัง "พุทธภาษิต" บทหนึ่ง ที่ว่า

"ทุกข์ โศก และ ภัย....ย่อมเกิดจากความรัก

ปราศจากเสียซึ่งความรัก....ทุกข์ โศก และ ภัย จะมีมาแต่ที่ใดเล่า"


แสดงว่า ความรัก ความพอใจ มีอยู่ในสิ่งใด

ก็ย่อมมีความ "ยึดมั่นในสิ่งนั้น"

ปรารถนาความสุข ความเที่ยงแท้แน่นอนในสิ่งนั้น

"ความยึดมั่นถือมั่น" นี่เอง ที่เป็นภัยบั่นทอนชีวิตประการหนึ่ง.


เมื่อมี "ความยึดมั่น" ก็ย่อมมี "ความกลัว"

ตราบใดที่ชีวิตนี้....ยังเป็นที่รัก

ตราบนั้น...."ความรู้สึกกลัวภัย" ที่จะเกิดแก่ชีวิตของปุถุชน

ก็ไม่หมดสิ้นไปได้เลย.

ผู้รักชีวิต ย่อมกลัวภัย คือ ความยากจน ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ

ถูกนินทา เป็นทุกข์.


พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นประดุจ "ธรรมโอสถที่รักษาใจ"....แม้กระทั่ง "โรคกลัวภัยต่าง ๆ"


พระองค์ทรงแสดง "กฏของแห่งกรรม" ว่า

"ทำดี ได้ดี....ทำชั่ว ได้ชั่ว"


ซึ่งผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม....ก็เป็นที่แน่นอนว่า

จะไม่เดือดร้อนใจเลย ว่า ทำดี....แล้วจะไม่ได้ดี.


แต่ตรงกันข้าม

"เหตุ" ที่คนส่วนมากต้อง"เดือดร้อนใจ" กันทุกวันนี้

ก็เพราะว่า ตนไม่กระทำความดี แต่ ปรารถนาจะได้ดี

หรือ ตนได้กระทำชั่ว แล้วไม่ปรารถนาจะได้รับผลของกรรมชั่วนั้น.


ในเรื่องของกรรม คือ การกระทำนั้น

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงสอนให้ "ดำรงชีวิตอยู่-ด้วยสัมมาอาชีวะ"

คือ "การเลี้ยงชีพชอบ"

เพื่อขจัดภัย คือ ความกลัว-อันเป็นผลจากการเลี้ยงชีพไม่ชอบ (มิจฉาชีพ)


และ พระองค์ทรงสอนให้เจริญกุศลทุกประการ

ตามความสามารถ และ อัธยาศัย ของแต่ละบุคคลด้วย.



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริยวิปัสสนา ศึกษาการรักษาโรค
และได้ให้ธรรมะเป็นทาน และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง
และจะศึกษาการรักษาโรคต่อไป และวันนี้ได้กรวดน้ำ
ให้อภัยทาน ถวายข้าวพระพุทธรูป อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
อนุโทนากับนักเรียนที่สวดมนต์ตอนเช้าประมาณ 1000 คนขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
.
ขอเชิญร่วมพิธี เททองหล่อพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ สวดสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เสริมบารมี พลิกดวง แก้กรรม ค้ำคุณหนุนดวง พระสงฆ์ 109 รูป เจริญพุทธมนต์คาถา
ณ วัดทุ่งเศรษฐี ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วันที่ 23 ก.พ. 2553 เริ่มพิธีเวลา 18.00
โทร 083-6963086, 083-9937715 :oops:
ตอบกระทู้