ศุกร์ 26 ก.พ. 2010 3:18 pm
ถ้าตอนนี้ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องอยู่(วิหารธรรม) ระหว่างนั้น หลงไปคิด แล้วตามรู้
และกลับมาอยู่กับลมหายใจได้อีก ก็ไม่น่าจะมีอะไรผิดปกติ
เพราะการมีเครื่องอยู่ เช่นกรณีนี้คือลมหายใจ แม้เราหลงไป ก็ไม่นานนัก
แต่ถ้าเราไม่มีเครื่องอยู่ บางทีก็ทำให้เราหลงไปนาน
ถ้ายังใช้ลมหายใจเป็นเครื่องอยู่ ก็ไม่น่าหลงไปนานนัก
แต่ถ้าพอจิตหลงไปคิดนาน กลับมารู้แล้วไม่พอใจ หรือไม่เป็นกลาง
ก็ให้เท่าทันใจที่ไม่เป็นกลางนั้นต่อไป อย่าเสียเวลากับการหาวิธีแก้ไม่ให้หลงนะ
เพราะปกติพวกเราก็ยังหลงกันอยู่ได้เรื่อยๆ
เรารู้ทันความยึดมั่นถือมั่นว่ามีเรา เป็นเรา ก็ไม่น่าห่วง
ที่จะเรียกว่าสะสมอัตตาได้ ก็น่าจะเป็นก่อนหน้าที่เราไม่รู้วิธีปฏิบัติ
ตอนนี้เราเริ่มรู้ทางแล้วก็มีเพียงตามรู้ไปเรื่อย
อัตตาที่ว่าคงเป็นอัตตาตามภาษาไทย
ถ้าภาษาแขกน่าจะเป็น มานะ(ความถือตัว) มากกว่า
ตัวนี้เป็นสภาวะที่มีเกิดดับไปเหมือนกับสภาวะอื่นๆ
บางเรื่องก็เกิดมานะตัวโต บางเรื่องเกิดมานะตัวเล็ก
พอรู้สึกมีสภาวะนี้ก็หัดดูไปตามปกตินะครับ
อย่าเพิ่งคาดหวังว่ามันจะหายไปในเร็ววัน
เพราะตัวมานะนี้ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถละออกไปได้หมด
อย่างเราๆคงได้แค่ หัดดูตัวมานะนี้ไปเพื่อใช้เป็นเครื่องเจริญสติปัญญา
จนกว่าจะละได้หมดครับ
การมีสติหัดดูสภาวะอะไรก็ตาม ไม่ได้เป็นการสะสมสภาวะนั้นหรอกครับ
แต่เป็นการถอดถอนความเห็นผิด ถอดถอนความยึดมั่นครับ
ในทางพระพุทธศาสนา มีการบำเพ็ญบารมี 2 แนวทางหลัก คือ
1. พุทธภูมิ
คือ ผู้บำเพ็ญบารมี เพื่อปรารถนาสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต
(หรือ เรียกว่า บำเพ็ญบารมีแบบโพธิสัตว์)
2. สาวกภูมิ
คือ ผู้บำเพ็ญบารมี เพื่อปรารถนาสำเร็จเป็นพระอรหันต์สาวก
การสนทนาธรรม โดยทั่วไป ส่วนมากเป็นในแนวทางสาวกภูมิ
เพราะ มีจำนวน ผู้ปรารถนาสาวกภูมิ มากกว่า พุทธภูมิ อย่างมากๆ
แต่การบำเพ็ญบารมีของพุทธภูมินั้น
ก็มีธรรมะหลายประการ ที่น่าสนใจศึกษา
เช่น นิทานชาดกอดีตชาติของพระพุทธเจ้า, บารมี 30 ทัศ, อัธยาศัยพระโพธิสัตว์ ฯลฯ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ แก่ ทั้งท่าน พุทธภูมิ และ สาวกภูมิ
ความหมาย และ คุณลักษณะ ของพระโพธิสัตว์ (พุทธภูมิ)
ในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นพระโพธิสัตว์(พุทธภูมิ) คือ
บุคคลผู้บำเพ็ญบารมีธรรมอุทิศตนช่วยเหลือสัตว์ผู้มีความทุกข์ยากและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์และได้เข้าถึงพระนิพพาน
พุทธศาสนาฝ่ายมหายานเรียกบุคคลเช่นนี้ว่า
เป็นผู้มีพลังหรืออำนาจมุ่งสู่โพธิญาณ (Dayal, 1987: 7)
เป็นผู้บำเพ็ญความดีหรือที่เรียกว่า บารมีธรรมอย่างยิ่งยวดเพื่อการบรรลุถึงพระโพธิญาณ
การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์
เป็นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อตนและเป็นการเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน
การกระทำทุกอย่างนี้ดำเนินไปได้ด้วยความรักความปรารถนาในพระพุทธภาวะ
อันเป็นความหมายของพระโพธิสัตว์
ด้วยความรักในพระโพธิญาณพระโพธิสัตว์จึงสามารถกระทำได้ทุกอย่าง
เบื้องต้นแต่สละได้ซึ่งสิ่งของภายนอกจนถึงชีวิตและสิ่งเสมอด้วยชีวิตคือบุตรและภรรยาของตน
ดังตัวอย่างพุทธดำรัสที่ตรัสในขณะเสวยพระ ชาติเป็นพระโพธิสัตว์
ความว่า
เมื่อเราจะให้ทานก็ดี กำลังให้ทานก็ดี ให้ทานแล้วก็ดีจิต ของเราไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
จักษุทั้งสอง เป็นที่น่าเกลียดชังสำหรับเราก็หาไม่ แม้ตัว เราเองจะเป็นที่เกลียดชังก็หาไม่ แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็น ที่รักของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงได้ให้จักษุ ฉะนี้แล
เราตามรักษาศีลของเรา มิใช่รักษาชีวิตของเรา เพราะใน กาลนั้นเราเป็นผู้รักษาศีล เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม คำว่าพระโพธิสัตว์มาจากศัพท์สองศัพท์ประกอบกันคือ
คำว่าโพธิ ที่แปลว่าความตรัสรู้
กับสัตตะ ที่แปลว่า สัตว์ในคำที่เรียกว่าสัตว์โลก (วัดบวรนิเวศวิหาร, ๒๕๓๒: ๒๙)
อันมีความหมายครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน
ซึ่งจะเห็นได้จากอดีตชาติของพระพุทธเจ้า กล่าวคือ
นอกเหนือจากที่พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นมนุษย์แล้ว
บางพระชาติพระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพญาวานร เสวยพระชาติเป็นช้าง เสวยพระชาติ เป็นนาคราชเป็นต้น
ดังพระพุทธดำรัสต่อไปนี้
ในภพที่เราเป็นพญาวานร ช้างฉัททันต์ และช้างเลี้ยงมารดาเป็นศีลบารมี
ในภพที่เราเป็นพญาไก่ป่า สีลวนาค และพญากระต่ายเป็นทานปรมัตถบารมี
(ขุ.จริยา. ๓๓ / ๑๒๒ / ๗๗๖)
พระโพธิสัตว์ไม่ว่าจะครองสภาวะความเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน
ก็บำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อพระโพธิญาณเป็นเป้าหมาย
เพราะคำว่า "โพธิสัตว์" หมายถึงผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ คือ
การตรัสรู้ โดยไม่ได้มีเป้าหมายเป็นอย่างอื่น
เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่ความรู้แจ้งโลก ซึ่งหมายรวมถึงโลก ทั้ง ๓ คือ
- สัตว์โลก อันได้แก่ หมู่สัตว์ ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเทวดา มนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน
- โอกาสโลก อันได้แก่ โลกคือที่อยู่อาศัย หมายถึง ระบบจักรวาล และดวงดาวต่าง ๆ
- สังขารโลก อันได้แก่ โลกคือสังขารที่เกิดจากการปรุงแต่ง สรุปให้แคบเข้า ได้แก่ นามรูป นั่นเอง
(บรรจบ บรรณรุจิ, ๒๕๒๙:๙-๑๐)
การที่บุคคลได้บรรลุถึงพระโพธิญาณ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นได้ยาก (กิจโฉ พุทธานมุปปาโท)
ดังนั้น บุคคลผู้จะบรรลุ พระโพธิญาณได้นั้นจึงจำต้องบำเพ็ญบารมีธรรมเป็นเวลานานยิ่ง
เมื่อบุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ นั้นหมายความว่า
เขาย่อมต้องประสบกับความลำบากในชีวิตนานับประการ
นับตั้งแต่การต้องจำยอมสละทรัพย์สินภายนอกร่างกายเป็นเบื้องต้น
จนถึงการยอมสละชีวิตของตนเข้าแลกเป็นที่สุด
และการปฏิบัติเช่นนั้นก็ต้องประกอบไปด้วยความเต็มใจของตน
หากไม่สามารถปฎิบัติได้ ความหมายของคำว่าพระโพธิสัตว์ในตัวบุคคลนั้นก็ไม่สามารถเกิดขึ้นตามมา
แม้พระโพธิสัตว์จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องแลกด้วยชีวิตแต่พระโพธิสัตว์ก็ใช่ว่าจะหวาดหวั่นต่อสถานการณ์เช่นนั้นไม่
ตรงกันข้ามพระโพธิสัตว์กลับมีใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่ประสบอย่างเต็มใจ
และยินดีด้วยมุ่งมั่นที่จะอุทิศตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยหวังให้คุณธรรมความดีที่บำเพ็ญนั้นเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณในกาลเบื้องหน้า
คุณลักษณะของพระโพธิสัตว์ (ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ)
พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในข่ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นมีองค์ประกอบสำคัญอันเป็นคุณลักษณะเฉพาะตน ๔ ประการ คือ
๑. อุสสาหะ คือ ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคง
๒. อุมมังคะ คือ ประกอบไปด้วยปัญญาอันเชี่ยวชาญหาญกล้า
๓. อวัตถานะ คือ ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงมิได้หวั่นไหว
๔. หิตจริยา คือ ประกอบไปด้วยเมตตาแก่สัตว์เป็นเบื้องหน้า
(พระนันทาจารย์, ม.ป.ป.:๑๑)
คุณลักษณะหรือเรียกว่าคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้เป็นอุปกรณ์หรือวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งที่พระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติตามอย่างมั่นคงจนกว่าจะบรรลุถึงจุดมุ่งหมายขั้นสูงสุดคือพระโพธิญาณ
ข้อที่ ๑ อุสสาหะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยความเพียรอันมั่นคง
ไม่ย่อท้อต่อความลำบากที่เกิดขึ้นในวัตรปฎิบัติของตน เป็นผู้ซื่อตรงมั่นคงต่อเป้าหมายสูงสุด ด้วยความรักความปรารถนาต่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือพระโพธิญาณจึงทำให้พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความอุสสาหะ ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยคุณธรรมเฉพาะตน ไม่มีจิตคิดสยบต่อมารคือกิเลสเป็นต้น อันเป็นความชั่วที่คอยยั่วยุหรือขัดขวางไม่ให้บำเพ็ญความดีอย่างเต็มที่ เป็นผู้ข้ามพ้นปัญหาต่าง ๆ ด้วยความอุสสาหะยิ่ง
และเพราะการจะบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ได้โดยยาก แต่หากพระโพธิสัตว์สามารถข้ามพ้นความยากลำบากนั้นไปได้ด้วยความมุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ พระโพธิสัตว์ก็สามารถบรรลุถึงความสำเร็จคือความเป็นพระพุทธเจ้าได้อย่างแน่นอน
ดังคำอุปมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการที่จะได้บรรลุถึงพุทธภาวะที่ปรากฎในอรรถกถาตอนหนึ่งที่ว่า
"ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนว่ายข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นอันเป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้"
(ขุ.ชา.อ. ๓ / ๒๕)
ข้อที่ ๒ อุมมังคะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยปัญญา
อันเชี่ยวชาญหาญกล้ารู้จักไตร่ตรองคิดหาเหตุผล อย่างรวดเร็วมีศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลที่ดี ตลอดทั้งรู้จักแยกแยะความดี ความชั่ว ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ถ้าไม่ทำจะมีผลดี ชั่ว มากน้อยแค่ไหน ทำแล้วจะเกิดผลดี เลว ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นผู้มีความกล้าหาญ ตัดสินปัญหา ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมากที่สุด
ข้อที่ ๓ อวัตถานะ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบไปด้วยพระอธิษฐานอันมั่งคงไม่หวั่นไหว
คือเป็นผู้มีจิตอันแน่วแน่มั่นคงในสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่คิดละเลิกในสิ่งที่ทำเสียกลางคัน ตราบใดที่ภารกิจอันนั้นยังไม่ถึงที่สุด คือ ความสำเร็จก็ไม่ละทิ้งให้เสียการ
อธิษฐานธรรมนี้ย่อมมาพร้อมกับธรรมอีก ๓ ประการ คือ วิริยะ ขันติ และสัจจะ ทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นธรรมะที่มีประกอบกันอยู่ เมื่อยกขึ้นข้อหนึ่งก็ย่อมมีอีก ๓ ข้อประกอบอยู่ด้วยเสมอ (วัดบวรนิเวศวิหาร, ๒๕๓๒: ๑๙๙)
เมื่อมีความตั้งมั่นในกิจอันใดอันหนึ่งอย่างมั่นคงแล้ว จำต้องกระทำด้วยความมีวิริยะ และอดทนทั้งอดทนต่อการกระทำกิจอันนั้นและอดทนต่อสิ่งยั่วยุต่าง ๆ ที่อาจเป็นตัวขัดขวางไม่ให้กิจที่กระทำดำเนินไปได้อย่างสะดวก สุดท้ายคือ มีความจริงใจที่จะกระทำกิจให้ลุล่วงจนถึงที่สุด กิจนั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้
ข้อที่ ๔ หิตจริยา พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยเมตตาสัตว์เป็นเบื้องหน้า
เป็นผู้ประพฤติประโยชน์ด้วยคำนึงถึงผู้อื่นเสมอโดยไม่เลือกชนิดผู้รับประโยชน์ พระโพธิสัตว์ถือว่าการบำเพ็ญการช่วยเหลือแก่ผู้อื่นนั้นคือภารกิจที่ต้องกระทำตามหน้าที่ คือเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรม
คุณลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการ การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เป็นการสละตนเองเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นทุกชีวิตอย่างเสมอหน้าเท่าเทียมกันเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย คือ ความบริบูรณ์ด้วยปัญญาอันเป็น
โลกุตตรสมบัติ คือ พระสัพพัญญุตญาณ
คุณลักษณะที่สำคัญของพระโพธิสัตว์อาจสรุปได้เป็น ๒ ประการ คือ
๑. การบำเพ็ญตนช่วยเหลือสรรพสัตว์ อย่างไร้ขอบเขตหรือประโยชน์ผู้อื่น (ปรัตถะ)
๒. การบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อการบรรลุพระโพธิญาณในอนาคตหรือประโยชน์ตนเอง (อัตตัตถะ)
การดำเนินชีวิตของพระโพธิสัตว์มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์อยู่กับภาระที่จะพึงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์ ๒ ประการข้างต้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พระโพธิสัตว์ทุกองค์ต้องมีและประโยชน์ทั้งสองนั้นก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
กล่าวคือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างไร้ขอบเขตก็คือ การได้ชื่อว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ตรงกันข้ามการบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อตนเอง ก็คือการได้มีโอกาสอุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่มวลสัตว์ทั้งปวงเช่นเดียวกัน
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ได้อนุโมทนาบุญ
กับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง ได้กรวดน้ำอุทิศบุญ
ให้อภัยทาน และตั้งใจว่าจะฟังธรรม ศึกษาธรรม ศึกษษการรักษาโรค
เมื่อวานนี้ก็ได้ฟังธรรม และศึกษาธรรม และตั้งใจว่าจะเจริญวิปัสสนา
เจริญสมถะกรรมฐาน วันนี้ตอนเช้าได้เจริญเมตตา
แก่สุนัขที่ดุร้าย เมื่อเดินผ่านก็ใช้บทแผ่เมตตาสุนัขก็เลิกเห่า
ทันที และจากความดุร้ายก็เหมือนว่าสุนัขกลุ่มนั้นจาหยอกเรา
นี่แหละผลแห่งความเมตตา และได้อฐิษฐานจิต
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมงานบุญ
วัดบวรนิเวศวิหาร จัดงานบำเพ็ญกุศล ครบ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร จัดงานบำเพ็ญกุศล ครบ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสในวันจันทร์ที่๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ (ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๓)ณ ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร มีกำหนดการโดยสังเขป ดังนี้
วันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๑๖.๐๐ น. พระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดพระพุทธมนต์พระสงฆ์ ๑๕๐ รูป สดับปกรณ์
วันจันทร์ที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
เวลา ๐๙.๓๐ น. มีพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑
เวลา ๑๐๓๐ น. พระสงฆ์ ๒๐ รูป เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสามเณรอีกประมาณ ๒๐๐ รูป
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ