นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 3:54 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: อิทธิบาท
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 27 ก.พ. 2010 2:33 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นหนทางเพื่อการดับทุกข์ ไม่มีทางอื่นครับ

การเจริญสติปัฏฐานเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การดับทุกข์ ดับกิเลสหมด ต้องมี
ความข้าใจในสภาพธรรมที่มีจริง ๆ เช่น เห็นมีจริง ได้ยินมีจริง ๆ ฯลฯ เป็นธรรมะ
ต้องฟังมาก พิจารณามาก จนกว่าจะเป็นความมั่นคงของปัญญาที่รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
เป็นธรรมะ เป็นอนัตตา ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ ไม่มีเราเขา มีแต่นามธรรมและรูปธรรม
การพิจารณาความเป็นจริงจึงต้องพิจารณาตัวสภาพธรรมทีละขณะ ไม่ใช่เรื่อราวตาม
สมมติ ตามสถานการณ์ที่เป็นเรื่อราวที่ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง ขณะนี้กำลังมีคนที่เกิด
ทุกขเวทนาทางกาย ไม่ต้องรอวันหรือช่วงเวลาอันตราย ขณะนี้กำลังมีคนตาย ไม่ต้อง
รอวันหรือช่วงเวลาอันตรายเพราะฉะนั้นจึงควรเป็นผู้มั่นคงในเรื่องของกรรม เมื่อกรรม
ให้ผลก็ไม่พ้นไปจากผลของกรรมได้ ปราสาท ซอกเขาหรือบ้านที่เราอยู่นั่นคือความ
เข้าใจว่าเป็นสถานที่ปลอดภัยแต่ไม่มีสถานที่ใดที่ความตายหรือผลของกรรมจะไม่ให้
ผลไม่มี สถานที่ที่สมมติว่าอันตราย หากอกุกรรมไม่ให้ผลก็ไม่มีทางได้รับสิ่งที่ไม่ดี
ดังนั้นความอันตรายอยู่ที่ไหน หากพิจารณาเป็นเรื่อราว ไม่ใช่พิจารณาสภาพธรรมทีละ
ขณะ ก็จะหลงไปตามโลกสมมติว่ามีวันอันตราย มีช่วงเวลาอันตราย
การที่บุคคลได้รับสิ่งที่ไม่ดีเพราะอกุศลกรรมนั้นให้ผล เพราะทำเหตุคืออกุศลกรรม
ผลที่ไม่ดีจึงมี ช่วงเวลาอันตรายที่แท้จริงคือขณะที่ทำอกุศลกรรมเพราะกำลังสร้างเหตุ
ที่ไม่ดีเพื่อได้รับผลที่ไมด่ครับ ช่วงเวลาที่ดีคือเวลาที่ทำกุศลกรรม นั่นเป็นช่วงเวลาที่ดี
และที่สำคัญคงไม่มีอะไรประเสริฐกว่าช่วงเวลาที่เข้าใจสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

เพราะขณะนั้นจะทำให้เข้าใจความจริงและไม่หลงไปตามโลกสมมติ ประโยชน์ของ
พระธรรมคือทำให้เป็นผู้มีความเห็นถูกตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อละควาไม่รู้และขัด-
เกลากิเลสครับ ความเห็นถูกก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 59
คนจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ไม่พ้นจากกรรมชั่ว

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ทูลพระศาสดาว่า " ความพ้นย่อมไม่มีแก่
สัตว์ที่ทำกรรมเป็นบาปแล้ว ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี แล่นไปสู่สมุทร
ก็ดี เข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขาก็ดี หรือ ? พระเจ้าข้า."
พระศาสดา ตรัสบอกว่า " อย่างนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย แม้ใน
ที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น ประเทศแม้สักส่วนหนึ่งที่บุคคลอยู่แล้ว
พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ไม่มี " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัส
พระคาถานี้ว่า

" บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็
ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหา-
สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอก
แห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, (เพราะ) เขา
อยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรม
ชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่."
แก้อรรถ
ความแห่งพระคาถานั้นว่า " ก็หากว่า คนบางคนคิดว่า 'เราจัก
พ้นจากกรรมชั่วด้วยอุบายนี้ พึงนั่งในอากาศก็ดี. พึงเข้าไปสู่มหาสมุทร
อันลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ก็ดี พึงนั่งในซอกแห่งภูเขาก็ดี. เข้าไม่พึงพ้น
จากกรรมชั่วได้เลย. ' ด้วยว่า ในส่วนแห่งแผ่นดินคือภาคแห่งปฐพีมี
ปุรัตถิมทิศเป็นต้น โอกาสแม้ประมาณเท่าปลายขนทรายที่บุคคลอยู่แล้ว
พึงอาจพ้นจากกรรมชั่วได้ หามีไม่. "

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591

๑๐. สุปุพพัณหสูตร

ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี

[๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น

สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลากลางวัน เวลา

กลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดพระพฤติสุจริตด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.

(นิคมคาถา)

กายกรรม วาจากรรม มโนกรรม

ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ

เป็นฤกษ์ดี มงคลดี แจ้งดี รุ่งดี

ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีใน

พรหมจารีทั้งหลาย คนทำกรรมอันเป็น

ประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อันเป็น

ประทักษิณ ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มี

ประโยชน์อันได้แล้ว ถึงซึ่งความสุข งอก

งามในพระพุทธศาสนา เป็นผู้หาโรคมิได้

สำราญกายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งปวง เทอญ.

จบสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐




คำว่า อนัตตา เพราะอรรถว่า สูญจากสัตว์บุคคล ไม่มีเจ้าของ บังคับไม่ได้ ปฏิเสธ

กับอัตตา ผู้ที่เข้าถึงลักษณะอนัตตาจริงๆ ผู้นั้นต้องมีปัญญาขั้นสูงคือวิปัสสนาปัญญา

สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา อาจเข้าใจได้ในระดับหนึ่งตามระดับปัญญาของแต่ละท่าน ใน

ชีวิตประจำวันของเราทุกขณะจิตจะเห็นได้ว่า จิตทุกขณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย เราไม่

สามารถบังคับให้จิตเป็นกุศลตลอดทั้งวันทั้งคืนได้ หรือเราไม่สามารถเลือกการเห็น

การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส เป็นต้น ตามที่เราต้องการได้ เพราะเป็นอนัตตา



ความหมายอนัตตาอรรถกถาวิภังค์ท่านอธิบายไว้ดังนี้

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 172

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้

คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง

การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูง ไปจากอาการที่เป็น

ไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ

๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็น

สิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย

คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 96



เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

อนัตตา หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ เป็น

ไปตามเหตุปัจจัย ที่เรามีความทุกข์ก็เพราะเรายึดถือสภาพธรรมะว่าเป็นสัตว์ บุคคล

ตัวตน เช่น บังคับให้เราอย่าจากสิ่งของอันเป็นที่รักก็ไม่ได้ บังคับให้อย่าแก่ อย่าเจ็บ

อย่าตายก็ไม่ได้ เราจึงต้องอบรมปัญญา เพราะถ้่ายิ่งมีปัญญาความทุกข์ก็ยิ่งลดลง
ความเข้าใจขั้นการฟังยังไม่มีกำลังพอ ที่จะทำให้เห็นสภาพความเป็นอนัตตาได้ ต้อง

อาศัยสติระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรมนั้นบ่อยๆ จนกว่าจะเป็นสัญญาที่มั่นคง

ว่าสิ่งต่างๆที่ปรากฎก็เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน

ใดๆทั้งสิ้น ก็ค่อยๆอบรมกันต่อไปเป็นกาลจีรภาวนา
การเข้าใจอนัตตานั้น ไม่ได้หมายว่าไม่ฟังธรรมเรื่องอื่นประกอบ เพราะการเข้าใจ

ความเป็นไปของ จิตเจตสิกและรูป ในเรื่องกรรมและผลของกรรม จะทำให้เรามั่นคง

ในความเป็นอนัตตาเพิ่มขึ้น เช่น กุศลวิตก อกุศลวิตก ในชีวิตประจำวัน เกิดขึ้นได้

อย่างไร ถ้าไม่ใช่ความต้องเป็นอย่างนี้ เพราะจิตวิจิตรในการสั่งสมทุก ๆ ขณะที่จิตเกิด

ขึ้น สั่งสมสันดานแล้วสืบต่อ การเข้าใจความเป็นไปของจิต ก็คือความเป็นอนัตตา

ของธรรม บังคับให้เป็นอย่างที่ต้องการไม่ได้เลย ความท้อแท้ เบื่อหน่ายก็เป็นธรรม

ที่เกิดกับจิตเรียกว่าเจตสิกเกิดกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกันและดับ

พร้อมกับจิต เหตุของอกุศลวิตก ก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ ส่วนเหตุของกุศลวิตก

คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ นี้คือคำสอนของผู้ได้ตรัสรู้ความจริง การศึกษาธรรม

เพื่อเข้าใจความเป็นไปของธรรม เข้าใจความเป็นไปของตัวเรามากขึ้น เมตตาและ

โสภณธรรมอื่นๆย่อมเจริญ ครั้งใดที่ปัญญาเกิดขึ้นย่อมนำความสุขความสงบเสมอ นี้

คืออนัตตา
ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตา


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจธรรม

อะไร ๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้และรู้ชัดว่า ข้อที่เป็นฐานะมีได้

แล คือ ปุถุชนพึงเข้าใจธรรมอะไร ๆ โดยความเป็นอัตตา นั่นเป็นฐานะที่มีได้
คำว่า “อนัตตา” นี้คล้ายเส้นผมบังภูเขา

บางคนก็รู้ว่า “อนัตตา” แปลว่าอะไร หรือ “อัตตา” แปลว่าอะไร

แต่ถามกันหลายๆ คนก็อธิบายแตกต่างกันหมด

โดยมากกล่าวว่าอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ทั้ง ๆ ที่ตัวตนก็ยังมี

อะไรเป็นตัวตน

สมมุติว่า ตัวเราเป็นตัวตนอยู่

แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีแต่เพียงขันธ์ ๕ มาประชุมกัน

เมื่อเป็นขันธ์ก็ไม่ใช่ตัวตน แต่เมื่อไม่รู้ว่าเป็นขันธ์ก็เข้าใจว่าเป็นตัวตน

ทั้ง ๆ ที่รู้อย่างนี้ เวลาเห็นทางตา ก็ว่าเราเป็นผู้เห็น

เพราะยังไม่ประจักษ์แจ้งลักษณะของขันธ์ว่า

ขันธ์ คือ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็วจริงๆ

จึงจำแนกเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน เป็นภายใน เป็นภายนอก

หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้

เมื่อประจักษ์ลักษณะของขันธ์จริงๆ

ก็รู้ว่าสภาพธรรมแต่ละลักษณะที่เกิดดับนั้นเป็น รูปขันธ์ หรือเป็นเวทนาขันธ์

หรือเป็นสัญญาขันธ์ หรือเป็นสังขารขันธ์ หรือเป็นวิญญาณขันธ์ นั่นเอง

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

อนึ่ง จักขุนั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา ด้วยอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่จักขุนั้นเป็นไปในอำนาจของใคร ๆ ในฐานะ ๓ เหล่านี้

คือ จักขุนี้เกิดขึ้นแล้วขอจงอย่าถึงการตั้งอยู่ ถึงการตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ ถึง

การแก่แล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ หามีได้ไม่ เป็นของสูญ ไปจากอาการที่เป็น

ไปในอำนาจนั้น เพราะฉะนั้น จักขุนั้น จึงชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะเหตุ

๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็น

สิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย

คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓- หน้าที่ ๓๓๑



๔. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๑๕๑]



ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ
พระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพปาปสฺส อกรณํ "
เป็นต้น.

กาลแห่งพระพุทธเจ้าต่างกัน แต่คำสอนเหมือนกัน
ได้ยินว่า พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า " พระศาสดาตรัส
บอกเหตุแห่งพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ทุกอย่าง คือ พระชนนีและพระ-
ชนก การกำหนดพระชนมายุ ไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต อัครสาวก
อุปัฏฐาก. แต่อุโบสถมิได้ตรัสบอกไว้; อุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าแม้
เหล่านั้นเหมือนอย่างนี้ หรือเป็นอย่างอื่น. " ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระ

ศาสดาแล้วทูลถามเนื้อความนั้น. ก็เพราะความแตกต่างแห่งกาลแห่ง

พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเท่านั้น ได้มีแล้ว, ความแตกต่างแห่งคาถาไม่

มี; ด้วยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงกระทำ

อุโบสถในทุกๆ ๗ ปี, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ประทานแล้วในวัน

หนึ่งเท่านั้น พอไปได้ ๗ ปี, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีและ

เวสสภู ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ ๖ ปี. (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมา

สัมพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้

๖ ปี) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะ

ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ปี, (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธ

เจ้า ๒ พระองค์นั้น ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ปีหนึ่ง ๆ);

พระกัสสปทสพล ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ๖ เดือน, เพราะพระ

โอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวันหนึ่ง พอไปได้ ๖ เดือน; ฉะนั้น

พระศาสดา จึงตรัสความแตกต่างกันเเห่งกาลนี้ของพระพุทธเจ้าเหล่า

นั้นแล้ว ตรัสว่า " ส่วนโอวาทคาถาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็น

อย่างนี้นี่แหละ." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงกระทำอุโบสถแห่งพระพุทธเจ้า

ทุกๆ พระองค์ ซึ่งเป็นอันเดียวกันทั้งนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสพระ

คาถาเหล่านี้ว่า :-
๔. สพฺพปาปสฺส อกรณ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปน เอต พุทฺธาน สาสน.
ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปร วิเหฐยนฺโต.
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสน
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอต พุทฺธาน สาสน.

" ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึงพร้อม

ความทำจิตของตนให้ผ่องใส

นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง

ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม,

ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าบรรพชิต

ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ.

ความไม่กล่าวร้าย ๑

ความไม่ทำร้าย ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑

ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑

ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑

ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑

นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. "

แก้อรรถ



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลกรรมทุก
ชนิด. การยังกุศลให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ออกบวชจนถึงพระอรหัตมรรค และ
การยังกุศลที่ตนให้เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ชื่อว่า อุปสมฺปทา. การยังจิต

ของตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปน.
บาทพระคาถาว่า เอต พุทฺธานสาสน๑ โดยอรรถว่า นี้เป็น

วาจาเครื่องพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์.
บทว่า ขนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอดทน กล่าวคือ ความอด
กลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยอดยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้.
บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมวทนฺติ พุทฺธา ความว่า พุทธ-
บุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ คือ พระพุทธะจำพวก ๑ พระปัจเจกพุทธะ

จำพวก ๑ พระอนุพุทธะจำพวก ๑ ย่อมกล่าวพระนิพพานว่า " เป็น

ธรรมชาติอันสูงสุด. "
บทว่า น หิ ปพฺพชิโต โดยความว่า บุคคลผู้ที่ล้างผลาญบีบ

คั้นสัตว์อื่นอยู่ ด้วยเครื่องประหารต่างๆ มีฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ทำ

ร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. บทว่า สมโณ ความว่า บุคคลผู้ยัง

เบียดเบียนสัตว์อื่นอยู่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ไม่ชื่อว่าเป็น

สมณะด้วยเหมือนกัน. การไม่ติเตียนเอง และการไม่ยังผู้อื่นให้

ติเตียน ชื่อว่า อนูปวาโท. การไม่ทำร้ายเอง และการไม่ใช้ผู้อื่นให้

ทำร้าย ชื่อว่า อนูปฆาโต.
บทว่า ปาติโมกฺเข ได้แก่ ศีลที่เป็นประธาน. การปิด ชื่อว่า สวโร.
ความเป็นผู้รู้จักพอดี คือความรู้จักประมาณ ชื่อว่า มตฺตญฺญุตา. บท

ว่า ปนฺติ ได้แก่ เงียบ. บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่ง

กล่าว คือ จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ ๘. การกระทำความเพียร ชื่อว่า

อาโยโค. บทว่า เอต ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ

พระองค์. ก็ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลอันเป็นไปทาง

วาจา ด้วยอนูปวาท ตรัสศีลอันเป็นไปทางกาย ด้วยอนูปฆาต. ตรัส

ปาติโมกขสีลกับอินทริยสังวรสีล ด้วยคำนี้ว่า ปาติโมกฺเข จ สวโร.

ตรัสอาชีวปาริสุทธิสีลและปัจจัยสันนิสิตสีล ด้วยมัตตัญญุตา, ตรัส

เสนาสนะอันสัปปายะ ด้วยปันตเสนาสนะ, ตรัสสมาบัติ ๘ ด้วยอธิจิต.

ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระ

คาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล.


เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

เรื่องปัญหาของพระอานนท์เถระ

-------------------------------

ท่านพระอานนท์เถระ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกถึงพระชนนี(พระมารดา)

และพระชนก(พระบิดา) การกำหนดพระชนมายุ ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต(การ

ประชุมพระสาวก) อัครสาวก และภิกษุผู้อุปัฏฐาก ของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ (พระ

พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี สีขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ กัสสปะ และ พระสมณ-

โคดม) แต่มิได้ตรัสบอกอุโบสถไว้ อุโบสถของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น

เหมือนกันหรือเป็นอย่างอื่น

ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงเรื่องดังกล่าว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า กาลเท่านั้นที่แตกต่างกัน แต่โอวาทคาถาของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน.
การยังจิตของตนให้ผ่องใส(สจิตฺตปริโยทปนํ) ด้วยการอบรมเจริญปัญญา จนปัญญา

ดับกิเลสอันเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต คือ การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ จึงชื่อว่า

จิตผ่องใสจากอกุศลทั้งปวง แต่ในขั้นต้น เริ่มจากการฟังการศึกษาสภาพธรรมที่กำลัง

ปรากฏ ให้รู้ตามเป็นจริงตามลำดับขั้น เพราะขณะที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นจิตปราศจาก

นิวรณ์ ชื่อว่าผ่องใส เช่นกัน


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑

พึงทราบในคาถาที่สอง. บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่อกุศลทุกชนิด.

บทว่า อกรณํ คือไม่ให้เกิดขึ้น. บทว่า กุสลสฺส ได้แก่กุศลอันมีในภูมิ ๔.

บทว่า อุปสมฺปทา คือได้เฉพาะ. บทว่า สจิตฺตปริโยทปนํ คือยังจิตของ

ตนให้ผ่องใส. ก็บทนั้นย่อมมีได้โดยความเป็นพระอรหันต์



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓

การยังจิตของตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปนํ.


ขณะที่เราฟังธรรมแล้วเข้าใจสติปัฏฐานเกิดขณะนั้นจิตผ่องใส
ขณะที่จิตสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นก็ผ่องใส

อย่างไร เรียกว่า การยังจิตของตนให้ผ่องใส

ขณะที่ไม่มีกิเลส ชื่อว่า จิตผ่องใส

มีหลายระดับครับ ผ่องใสชั่วขณะ ที่เป็นกุศล

ผ่องใสจนไม่มีอนุสัยกิเลสเลย(พระอรหันต์)

ขณะที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้น ผ่องใส เพราะปราศจากกิเลส

มีข้อน่าคิดที่ว่า คำว่า ยังจิตของตน จะยังจิตของตนยังไงให้ผ่องใส

ขณะที่เป็นกุศล ไม่มีใครบังคับให้เป็นกุศล(ยังจิตของตน) แต่เป็นสภาพธัมมะ

ที่ทำหน้าที่ให้เป็นกุศลเอง ไม่มีตัวตนที่จะทำให้จิตผ่องใสครับ


... สังคหวัตถุ ๔ ...





... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน

สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ ...

ทาน ๑

เปยยวัชชะ ๑

อัตถจริยา ๑

สมานัตตตา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย การแสดง

ธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการ

พูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก

สำหรับ เปยยาวัชชะ คือ การพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก ก็ย่อมทำ

ให้บุคคลที่ได้ฟังสบายใจ ...เพียงสบายใจ แต่ว่าถ้าเป็นธรรม คือ

การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่ผู้ที่ต้องการฟัง ผู้เงี่ยลงสดับ พระผู้มีพระ

ภาคตรัสว่า ..."นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก"



วันหนึ่งๆ ก็มีเรื่องที่จะคุยกันมากเหลือเกิน หลายเรื่อง แต่ว่า

เรื่องใดซึ่งเป็นการสงเคราะห์กันด้วยธรรม ...ย่อมมีประโยชน์ที่สุด

เพราะทำให้บุคคลนั้นเจริญปัญญา ไม่ใช่แต่เพียงทำให้สบายใจ

เพราะเป็นเพียงถ้อยคำอันเป็นที่รัก แต่ว่านอกจากจะเป็นถ้อยคำ

อันเป็นที่รักแล้ว ก็ยังเป็นถ้อยคำที่มีประโยชน์เกื้อกูลแก่การอบรม

เจริญปัญญายิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ...

" ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่

บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอัน

เป็นที่รัก "

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ เวลาที่จะคุยกัน เรื่องที่จะสนทนากันก็

มีมาก รวมทั้งธรรมด้วย อย่าลืม (ว่า) ธรรมก็เป็นเรื่องที่จะสนทนา

กันได้เสมอ



;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;



ประการต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสถึง อัตถจริยา การประ-

พฤติที่เป็นประโยชน์ทั้งหลายว่า ...

การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา

ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา

ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา

ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา

นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย

เป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้นเลย ที่จะชักชวนบุคคลอื่นซึ่งไม่มีศรัทธา

ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา หรือว่าใครซึ่งเป็นผู้ที่ทุศีล ถ้า

สามารถที่จะชักชวนให้ผู้นั้นดำรงตั้งมั่นอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวน

คนที่ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา หรือว่า ชักชวนให้

คนที่มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา ก็จะเป็น

การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ยิ่งกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้ง

หลาย


;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;



สำหรับ สมานัตตัตตา คือการเป็นผู้มีตนเสมอ พระผู้มีพระ

ภาคตรัสว่า ...

พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน

พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี

พระอนาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี

พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์

นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสง-

เคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ

ไม่ใช่สงเคราะห์แต่เฉพาะในเรื่องทานอย่างเดียวนะคะ ต้องคำ

พูดที่มีประโยชน์ ซึ่งเลิศกว่าถ้อยคำอันเป็นที่รัก แล้วก็การประ-

พฤติที่เป็นประโยชน์ ที่เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย

แล้ว ก็ต้องเป็น การมีตนเสมอ คือ ประพฤติธรรมจนกระทั่งมี

คุณธรรมเสมอกับพระโสดาบัน แล้วก็ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือให้

บรรลุถึงคุณธรรมที่เสมอกับพระสกทาคามี แล้วก็ให้ยิ่งขึ้นไปอีก

คือให้มีคุณธรรมบรรลุถึงความเสมอกับพระอนาคามี แล้วก็ให้มี

คุณธรรมยิ่งขึ้นจนกระทั่งบรรลุถึงความเป็นผู้เสมอกับพระอรหันต์



;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;;



ถ้ามีบุคคลซึ่งกระทำความดี ท่านผู้ฟังเห็น อนุโมทนา ยินดี

ด้วยจริงๆ ค่ะ ที่บุคคลนั้น สามารถที่จะกระทำความดีได้ถึงอย่าง

นั้น ก็ยังไม่พอ ...ต้องสำหรับตัวท่านเองด้วยที่จะเป็นผู้ที่ประพฤติ

ปฏิบัติธรรม จนเป็นผู้ที่มีคุณธรรมเสมอกับพระอริยเจ้า

ความเป็นผู้มีตนเสมอ ควรเสมอในคุณธรรม ตามลำดับยิ่ง

ขึ้น ...หรือว่าบางท่านจะคิดว่ามีตนเสมอกับผู้ที่มีอกุศลจิต ไม่ควร

ใช่ไหมคะ ถ้าใครมีอกุศลแรงเท่าไร แรงขึ้นๆ เท่าไร ก็ไม่ควรที่คน

หนึ่งคนใด จะคิดที่จะทำอกุศลให้แรงหรือให้มากเท่ากับบุคคลอื่น

แต่โดยมากท่านผู้ฟังลืมที่จะประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะให้เป็น

ผู้มีคุณธรรมเสมอกับผู้ที่มีความประพฤติดี ...อาจจะเห็นว่าคนอื่น

ทำไมร้ายได้ ตัวท่านก็ควรจะต้องร้ายเสมอกับผู้นั้น ถูกไหมคะ

อย่างนี้ เป็นผู้เสมอในทางอกุศล เป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่ควรที่จะ

ประพฤติปฏิบัติธรรม จนกระทั่งมีคุณธรรม เสมอกับผู้ที่เป็นพระ

อริยเจ้า ตามลำดับขั้น



... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ...



[๒๘๕] ๓๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ ...

คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว

ย่อมไม่ยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้

เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ

..................................................................................................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราสรรเสริญความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ ...

คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว

ย่อมยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้

เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ.



จบสูตรที่ ๙



สูตรที่ ๙

ว่าด้วยการปฏิบัติผิดไม่ยังกุศลธรรมให้สำเร็จ

การปฏิบัติชอบยังกุศลธรรมให้สำเร็จ

เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๙๗



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๑๗

๒. สังคหสูตร

ว่าด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ

[๓๒]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์)

๔ ประการนี้ สังคหวัตถุ ๔ ประการ คืออะไร คือ

ทาน (การให้ปัน) ๑

เปยยวัชชะ (เจรจาไพเราะ) ๑

อัตถจริยา (บำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ) ๑

สมานัตตตา (ความวางตนสม่ำเสมอ) ๑

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการ.


นิคมคาถา

การให้ปัน ๑ เจรจาไพเราะ ๑

บำเพ็ญประโยชน์ ๑ ความวางตนสม่ำเสมอ

ในธรรมนั้น ๆ ตามควร ๑ เหล่านี้แลเป็น

ธรรมเครื่องสงเคราะห์ในโลก เหมือนสลัก

(ที่หัวเพลา) คุมรถที่แล่นไปอยู่ฉะนั้น ถ้า

ธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ไม่มีไซร้ มารดา

หรือบิดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือบูชา

เพราะเหตุแห่งบุตร ก็เพราะเหตุที่บัณฑิต

ทั้งหลายยังเหลียวแลธรรม เครื่องสงเคราะห์

เหล่านี้อยู่ เพราะเหตุนั้นบัณฑิตเหล่านั้น จึง

ได้ถึงความเป็นใหญ่ และเป็นที่น่าสรรเสริญ.

จบสังคหสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๑๘

อรรถกถาสังคหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังคหสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-


บทว่า สงฺคหวตฺถูนิ คือเหตุแห่งการสงเคราะห์กัน.


ในบทว่า ทานญฺจ เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็บุคคลบางต้น

ควรรับสงเคราะห์ด้วยทานอย่างเดียว ก็พึงให้ทานอย่างเดียวแก่เขา.


บทว่า เปยฺยวชฺชํ คือพูดคำน่ารัก. จริงอยู่ บุคคลบางคนพูดว่า

ผู้นี้ให้สิ่งที่ควรให้ แต่ด้วยคำ ๆ เดียว เขาก็พูดลบหลู่หมดทำให้เสีย

หาย เขาให้ทำไม ดังนี้. บางคนพูดว่า ผู้นี้ไม่ให้ทานก็จริง ถึงดังนั้น

เขาก็พูดได้ระรื่นเหมือนเอาน้ำมันทา. ผู้เช่นนั้นจะให้ก็ตามไม่ให้ก็ตาม

แต่ถ้อยคำของเขา ย่อมมีค่านับพัน. บุคคลเห็นปานนี้ย่อมไม่หวังการ

ให้ ย่อมหวังแต่ถ้อยคำที่น่ารักอย่างเดียว ควรกล่าวแต่คำที่น่ารักแก่

เขาเท่านั้น.


บทว่า อตฺถจริยา คือพูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์และทำความเจริญ.

จริงอยู่ บางคนมิใช่หวังแต่ทานการให้ มิใช่หวังแต่ปิยวาจา ถ้อยคำที่

น่ารัก หากหวังแต่การพูดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลการพูดที่ทำความ

เจริญแก่ตนถ่ายเดียว. พึงกล่าวแต่เรื่องบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลผู้

เห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่านควรทำกิจนี้ ไม่ควรทำกิจนี้ บุคคลเช่น

นี้ควรคบ เช่นนี้ไม่ควรคบ.


บทว่า สมานตฺตตา คือ ความเป็นผู้มีสุขมีทุกข์เสมอกัน. จริงอยู่

บุคคลบางคน ย่อมไม่หวังสังคหวัตถุมีทานเป็นต้น แม้แต่อย่างหนึ่ง

หากหวังความร่วมสุขร่วมทุกข์อย่างนี้ คือ นั่งบนอาสนะเดียวกัน นอน

บนเตียงเดียวกันบริโภคร่วมกัน. ถ้าเขาเป็นคฤหัสถ์ย่อมเสมอกันโดย

ชาติ บรรพชิตย่อมเสมอกันโดยศีล ความวางตนสม่ำเสมอนี้ ควร

ทำแก่บุคคลนั้น.


บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ ความว่า ความวางตนสม่ำเสมอใน

ธรรมนั้น ๆ ตามสมควร.


บทว่า รถสฺสาณีว ยายโต ความว่า สังคหธรรมเหล่านี้ ย่อมยึด

เหนี่ยวโลกไว้ได้ เหมือนสลัก (ที่หัวเพลา) ย่อมยึดรถที่แล่นไปอยู่

คือย่อมยึดยาน (คือรถ) ไว้ได้ฉะนั้น.


บทว่า น มาตา ปุตฺตการณา ความว่า ถ้ามารดาไม่พึงทำการ

สงเคราะห์เหล่านั้นแก่บุตรไซร้ ท่านก็ไม่พึงได้รับความนับถีอ หรือบูชา

เพราะบุตรเป็นเหตุ.


บทว่า สงฺคหา เอเต เป็นปฐมาวิภัติใช้ในอรรถทุติยาวิภัติ อนึ่ง ปาฐะ

ว่าสงฺคเห เอเต ก็มี.


บทว่า สมเวกฺขนฺติ คือ ย่อมพิจารณาเห็นโดยชอบ.


บทว่า ปาสํสา จภวนฺติ คือ ย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ.



จบอรรถกถาสังคหสูตรที่ ๒



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๓๙

๘. วาจาสูตร*

ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชน

ไม่ติเตียน องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

วาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑

เป็นวาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑

เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑

เป็นวาจาที่กล่าวประกอบด้วยประโยชน์ ๑

เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

นี้แลเป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ

วิญญูชนไม่ติเตียน.

จบวาจาสูตรที่ ๘

ฏีกาสังคหสูตร


สังคหสูตรที่ ๒ มีอรรถาธิบาย ดังนี้ ฯ

ข้อความว่า พึงให้ทานนั่นแหละแก่เขา หมายความว่า พึงถวายเครื่องใช้สอยของ

บรรพชิต มีบาตรและจีวรเป็นต้น แก่บรรพชิต ฯ สำหรับคฤหัสถ์ พึงให้เครื่องใช้สอยของ

คฤหัสถ์มีผ้า อาวุธ ยาน ที่นอนเป็นต้น ฯ

ข้อความว่า ให้เสียหายหมด ได้แก่ ทำอุปการะทั้งหมด ให้เสียหายหมด ฯ

ข้อความว่า พูดลบหลู่ให้เสียหาย ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ลบหลู่ ฯ

ข้อความว่า เหมือนเอาน้ำมันทา ได้แก่ เหมือนกับทาด้วยน้ำมันร้อยทะนาน ฯ

ข้อความว่า พูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์และทำความเจริญ ได้แก่ กถานำประโยชน์

เกื้อกูลมาให้ ฯ ก็คำว่า กถา นี้ในอรรถกถานั้น เป็นเพียง นิทัสสนะ, แม้การทำทางกาย ที่นำ

ประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่คนอื่น ก็ชื่อว่า อัตถจริยา ฯ แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวอัตถจริยา

ก็ด้วยเป็นการทำทางวาจาฯ

ข้อความว่า มีตนเสมอกัน ได้แก่ ความเหมือนกันกับตน คือ การวางตนไว้ในฐานะที่เท่า

เทียมกัน, ก็การตั้งตนไว้ในฐานะที่เท่าเทียมกันต่อบุคคลนั้น นั้น ได้แก่ ความเป็นอยู่ร่วมกัน

เพราะมุ่งสร้างความเหมือนกันกับตน ฯ ความเป็นอยู่ร่วมกันกับตน ด้วยทุกข์นั้น ย่อมมี ทั้งใน

สุขที่เกิดแก่ตน และในทุกข์ที่เกิดแก่เขา เพราะฉะนั้น ในอรรถกถาจึงมีข้อความว่า ความมีสุข

และทุกข์เสมอเหมือนกัน.

เมื่อจะแสดงความข้อนี้ว่า อนึ่ง ความมีสุขและทุกข์เสมอเหมือนกัน จะเป็นอันปรากฏชัด

ด้วยการนั่งเป็นต้นด้วยกัน ท่านจึงกล่าวว่า ในที่นั่งเดียวกัน ดังนี้เป็นต้นไว้.

ในคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองพวกเหล่านั้น คนมีชาติกำเนิดต่ำแต่มีโภคะมาก เป็นผู้

สงเคราะห์ได้ยาก ฯ เพราะใคร ๆ ไม่อาจจะเป็นอยู่ร่วมกันกับเขา ได้ เพราะชาติกำเนิดต่ำ. เมื่อ

บุคคลไม่ใช้สอยกับเขาอย่างนั้น เขาจะโกรธ เพราะเป็นผู้สูงด้วยโภคะ. เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้

สงเคราะห์ได้ยาก,

แม้คนมีโภคะน้อย แม้สูงด้วยชาติ ก็สงเคราะห์ได้ยากเช่นกัน. เพราะ ย่อมประสงค์แต่จะ

เป็นอยู่ร่วมกันกับผู้มีโภคะสมบูรณ์ ด้วยคิดว่า เรามีชาติกำเนิดสูง, เมื่อไม่มีใคร ทำการเป็นอยู่

อย่างนั้นให้ จะโกรธ. คนต่ำด้วยเหตุทั้งสอง สงเคราะห์ได้ง่าย เพราะไม่ปรารถนาจะเป็นอยู่ร่วม

กันกับคนอื่น ๆ นอกนี้ เพราะมีชาติต่ำ, เขาจะไม่โกรธ หากไม่มีใครจะทำอย่างนั้น เพราะเป็นผู้

ต่ำเพราะโภคะ.

แม้ผู้ที่เสมอกันด้วยเหตุทั้งสอง ก็สงเคราะห์ง่ายเหมือนกันทีเดียว. เพราะปรารถนาการ

เป็นอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น ซึ่งมีความเท่าเทียมกันนั่นเทียวและเพราะถึงจะไม่มีใครทำให้ ไม่มีความ

โกรธแบบนั้น.

ภิกษุผู้ทุศีล ก็สงเคราะห์ยาก, เพราะไม่มีภิกษุรูปอื่นๆ จะเป็นอยู่ร่วมกันกับเธอได้. เมื่อไม่

มีใครเป็นอยู่กับเธอ ๆ ก็โกรธ.

แต่ภิกษุผู้มีศีล เป็นผู้สงเคราะห์ได้ง่าย. เพราะแม้จะไม่มีใครถวายปัจจัยอะไร ๆ หรือการ

สงเคราะห์ให้ เธอก็ไม่โกรธ, จะแลดูเพื่อนสพรหมจารีย์อื่นๆ ผู้ไม่เป็นอยู่ร่วมกับตน ด้วย

จิตอกุศล ก็หามิได้ เพราะเป็นผู้รักศีล. เพราะเหตุนั้นนั่นเอง แม้การเป็นอยู่ กับภิกษุผู้มีศีลนี้ ก็

ทำได้ง่าย, ฯ


ดังนั้น หากเขาเป็นคฤหัสถ์ ย่อมเป็นผู้เสมอกันด้วยเหตุทั้งสอง (ด้วยชาติและโภคะ) ถ้า

เป็นบรรพชิต ก็จะเป็นผู้มีศีลที่เสมอกัน. พึงสงเคราะห์ (ยึดเหนี่ยว) กันได้ด้วยความเป็นผู้สม่ำ

เสมอกันอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวว่า โส สเจ ฯปฯ กาตพฺพา ถ้าเขาเป็น

คฤหัสถ์ย่อมเสมอกันโดยชาติ บรรพชิตย่อมเสมอกันโดยศีล ความวางตนสม่ำเสมอนี้ ควร

ทำแก่บุคคลนั้น


ข้อความที่เหลือเข้าใจง่ายทั้งนั้น


จบ ฏีกาสังคหสูตร



หมายเหตุ ฏีกาสังคหสูตรนี้ แปลจากคัมภีร์สารัตถมัญชุสา อังคุตรฏีกา จตุกนิบาตวัณณนา

ทุติยภาค ฉบับมหาจฬา ฯ
เนื่องจาก วาจาสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นี้ อรรถกถาท่านไม่ได้แสดง

อรรถาธิบายไว้ แต่ในคัมภีร์อังคุตรฏีกา ซึ่งเป็นฏีกาของสูตรนี้ ได้แสดงไว้ ข้าพเจ้าจึงได้นำมา

แปลลงประกอบไว้ด้วย เพื่อเป็นแนวทางศึกษาเนื้อความของพระสูตรนี้ได้อย่างถูกต้อง สืบไป

ขออนุโมทนา ฯ

ฏีกาวาจาสูตร


วาจาสูตรที่ ๘ มีอรรถาธิบาย ดังนี้ ฯ

ข้อความว่า ด้วยองค์ทั้งหลาย ได้แก่ ด้วยเหตุ ฯ ก็ เหตุ ชื่อว่า องค์ เพราะมีความ

หมายว่า เป็นสิ่งอันเขารู้ได้โดยความเป็นเหตุ ฯ คำว่า องค์ มีความหมายว่า เป็นเหตุ ฯ (หมาย

ความว่า องค์ ๕ เหล่านี้ เป็นเหตุให้วาจาเป็นสุภาษิต - Spob)

พระบาลีว่า ปญฺจหิ องค์ ๕ ประการ เป็นปัญจมีวิภัตติ ใช้ในความหมายว่า เป็นเหตุ

(คือให้แปลว่า เพราะองค์ ๕ ประการ ดังนั้น ถ้าจะแปลข้อความในพระบาลีนี้ให้ตรงกับที่พระ-

ฏีกาจารย์แนะนำ ควรแปลว่า วาจา เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มี

โทษ วิญญูชนไม่ติเตียน ซึ่งเป็นไปแล้ว เพราะองค์ ๕ ประการ, องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ?

- spob)


ข้อความว่า สมนฺนาคตา ประกอบพร้อม แปลตรงตัวว่า มาตามพร้อม หมายความว่า

เป็นไป หรือ ประกอบ


ข้อความว่า วาจา ได้แก่ วาจาที่ใช้สนทนา ฯ อนึ่ง คำว่า วาจา ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง

วาจา, วิญญัติ ที่แสดงว่าเป็นวาจา , วิรัติ ที่แสดงว่าเป็นวาจา, เจตนาที่แสดงว่าเป็น วาจา ที่มา

ในปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ คือ

- ที่แสดงว่า วาจา ตรง ๆ ในธัมมสังคณี ว่า "วาจา คิรา พฺยปฺปโถ วาจาที่พูด

วาจาที่เปล่ง คำเป็นที่มา" และในทีฆนิกายว่า "เนลา กณฺณสุขา วาจาอันหาโทษมิได้

สบายหู"

- ที่แสดงวิญญัติว่าเป็น วาจา ในอัฏฐสาลี อรรถกถาธัมมสังคณี ว่า วาจาย เจ

กตํ กมฺมํ ถ้ากรรม อันบุคคลทำแล้ว ด้วยวาจา

- ที่แสดงวิรติว่าเป็น วาจา ในธัมมสังคณีว่า ยา จตูหิ วจีทุจฺจริเตหิ อารติ ฯปฯ เอ

วํ วุจฺจติ สมฺมาวาจาฯ ความงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ ฯลฯ ที่เรียกว่า สัมมาวาจา

- ที่แสดงเจตนาว่าเป็น วาจา ในธัมมสังคณีว่า ผรุสวาจา ภิกฺขเว อาเสวิตา ภาวิ

ตา พหุลีกตา นิรยสํวตฺตนิกา โหติ ภิกษุทั้งหลาย วาจาหยาบอันบุคคลส้องเสพ เจริญ

ทำให้มากแล้ว ย่อมยังนรกให้เป็นไปพร้อม ฯ

เพราะเหตุไร ? เพราะไม่เป็นภาษิต (วาจาที่ใช้สนทนา) ฯ เพราะตรัสไว้ว่า เป็น

สุภาษิต วาจาที่สนทนากันดี, เป็นทุพภาษิต วาจาที่สนทนากันไม่ดี

ข้อความว่า สุภาษิต ได้แก่ ภาษิตแล้วด้วยดี ด้วยคำว่า สุภาษิต นี้ แสดงความที่

สุภาษิตนั้นนำประโยชน์มาให้ ฯ

ข้อความว่า ไม่มีโทษ ได้แก่ เว้นจากโทษมีราคะเป็นต้น ฯ ด้วยคำนี้ แสดงความ

หมดจดแห่งเหตุ และความไม่มีโทษที่เป็นไปโดยนัยว่าถึงอคติ เป็นต้น แห่งวาจานั้น ฯ (หมาย

เหตุ – ในอรรถกถาสุภาษิตสูตร สคาถวรรค สังยุตตนิกาย แสดงว่า วจีสุจริต ๔ มีเจตนาเป็น

เครื่องเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น เป็นเหตุแห่งวาจาสุภาษิต) เพราะว่า เมื่อบุคคลผู้กล่าววาจา ซึ่ง

พ้นจากราคะโทสะเป็นต้น การถึงความลำเอียง ชื่อว่า ถูกยกไว้เสียไกลทีเดียว เพราะละเว้น

จากการถูกทำให้พอใจ ดังนี้แล ฯ


ข้อความว่า วิญญูชนไม่ติเตียน หมายความว่า พ้นจากคำตำหนิ ฯ ด้วยคำนี้ แสดง

อาการทั้งปวงสมบูรณ์ ฯ เพราะเมื่ออาการทั้งปวงสมบูรณ์ วาจาจึงเป็นคำที่วิญญูชนไม่ติเตียน ฯ

วิญญูชน ได้แก่ บัณฑิต ฯ ด้วยคำนี้ แสดงว่า คนพาลไม่เป็นประมาณในการตำหนิและ

สรรเสริญ ฯ

พระผู้มีพระภาค เมื่อทรงแสดงองค์เหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจา

ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล โดยประจักษ์ (โดยแยกยะให้ปรากฏ) จึงทรงย้ำวาจา

นั้น ฯ

อนึ่ง ทรงปฏิเสธ วาจามีการกล่าวคำเท็จเป็นต้น ทั้งที่ประกอบด้วยองค์ประกอบมี

ปฏิญญา (คำรับรอง) เป็นต้น, ด้วยบทต่างๆ มีคำนามเป็นต้น, ด้วยบทที่มีลิงค์, วจนะ, วิภัตติ,

กาล, และการกะ ที่ถึงพร้อม นั้น ซึ่งชนเหล่าอื่น สำคัญ ว่าเป็น สุภาษิต, ฯ

ด้วยว่า วาจา แม้ประกอบด้วยองค์ประกอบเป็นต้น เห็นปานนั้น นับเป็นวาจาที่เป็นทุ-

พภาษิตแท้ เพราะไม่นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนและผู้อื่น ฯ

แต่ หากแม้ว่าวาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการเหล่านี้ แม้นับเนื่องอยู่ในภาษาของ

ชนชาวมิลักขะ หรือแม้นับเนื่องอยู่กับเพลงขับของหญิงชาวสีหฬผู้ถือหม้อน้ำ ก็ตาม, วาจาแม้

เช่นนั้น เป็นสุภาษิตแท้ เพราะนำสุขทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระมาให้ ฯ

จริงอย่างนั้น ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา จำนวน ๖๐ รูป กำลังเดินทาง ได้ยินหญิงชาวสีหล

ซึ่งเฝ้าข้างกล้าริมทางร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาติชราและมรณะ ด้วยภาษาสีหลนั่นเทียว

แล้วบรรลุพระอรหัตต์

ถึงภิกษุ ผู้เจริญวิปัสสนา นามว่า ติสสะ ก็เช่นกัน เดินไปตามทางใกล้สระปทุม ได้ยิน

เด็กหญิงที่หักดอกปทุมในสระร้องเพลงนี้ว่า


ดอกบัวแดง บานแต่เช้าเทียว ถูกแสงอาทิตย์ทำลายไป,

สัตว์ต่างๆก็เหมือนกัน ถึงความเป็นมนุษย์แล้ว

ถูกกำลังแห่งชราย่ำยีเสียได้ ฯ


ดังนี้ แล้วบรรลุพระอรหัตต์

แม้ในกาลที่เว้นว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุรุษคนหนึ่ง กลับจากป่าพร้อมด้วย

บุตร ๗ คน ได้ยินสตรีคนหนึ่ง กำลังใช้สากตำข้าวไปพลางร้องเพลงนี้ว่า


สรีระนี้ อาศัยหนังอันเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยี,

สรีระนี้ เป็นเหยื่อของมัจจุ ย่อมแตกไปเพราะความตาย ฯ

สรีระนี้เป็นที่ที่อยู่ของหมู่หนอน, เต็มไปด้วยซากศพต่างๆ

สรีระนี้เป็นที่เก็บของสกปรก, สรีระนี้เสมอด้วยท่อนแห่งไม้นั้น ฯ


ดังนี้แล้ว พิจารณาอยู่ ก็บรรลุพระปัจเจกพุทธเจ้าพร้อมกับบุตรทั้งหลาย ฯ


วาจาที่ประกอบด้วยองค์ห้าประการ ถึงแม้จะเป็นวาจาที่นับเนื่องในภาษามิลักขุ์ หรือแม้

ที่นับเนื่องอยู่กับเพลงขับของนางเด็กหญิงผู้นำหม้อ , พึงทราบว่า วาจาแม้เช่นนั้น ก็เป็นสุภาษิต

ฯ สุภาษิตเท่านั้น ไม่มีโทษ และไม่เป็นที่ติเตียนแห่งกุลบุตร ผู้วิญญูชน ประสงค์แต่ประโยชน์

มุ่งหวังแต่เนื้อความ, มิใช่แก่ผู้มุ่งหวังพยัญชนะ ฯ

จบ ฏีกาวาจาสูตร

ข้าพเจ้าได้ยินคำกล่าวว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาอันตราย วันที่นี้เป็นวันอันตราย

จึงเป็นประเด็นที่ควรสนทนาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ขณะเห็น

และคิด ได้ยินแล้วก็คิด คิดเป็นเรื่องราวในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหูด้วยความเป็น

เรื่องราวว่าวันนี้ ช่วงเวลานี้อันตราย ขณะที่เป็นผลของกรรมคือขณะที่เห็น ได้ยิน

ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

ความมั่นคงในเรื่องของกรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ใครจะได้รับสิ่งดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับ

กรรมของแต่ละคน วันนี้ขณะนี้ บางท่านได้รับสิ่งที่ดีบ้าง บางท่านได้รับสิ่งที่ไม่ดีบ้าง

ไม่ได้เกี่ยวกับวัน ไม่ได้เกี่ยวกับช่วงเวลาเฉพาะเจาะจง หากอกุศลกรรมให้ผลแล้วก็ย่อม

ได้รับสิ่งที่ไม่ดีเพราะอกุศลกรรมให้ผลในขณะนั้น
การพิจารณาความเป็นจริงจึงต้องพิจารณาตัวสภาพธรรมทีละขณะ ไม่ใช่เรื่อราวตาม

สมมติ ตามสถานการณ์ที่เป็นเรื่อราวที่ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง ขณะนี้กำลังมีคนที่เกิด

ทุกขเวทนาทางกาย ไม่ต้องรอวันหรือช่วงเวลาอันตราย ขณะนี้กำลังมีคนตาย ไม่ต้อง

รอวันหรือช่วงเวลาอันตรายเพราะฉะนั้นจึงควรเป็นผู้มั่นคงในเรื่องของกรรม เมื่อกรรม

ให้ผลก็ไม่พ้นไปจากผลของกรรมได้ ปราสาท ซอกเขาหรือบ้านที่เราอยู่นั่นคือความ

เข้าใจว่าเป็นสถานที่ปลอดภัย แต่ไม่มีสถานที่ใดที่ความตายหรือผลของกรรมจะไม่ให้

ผลไม่มี สถานที่ที่สมมติว่าอันตราย หากอกุกรรมไม่ให้ผลก็ไม่มีทางได้รับสิ่งที่ไม่ดี

ดังนั้นความอันตรายอยู่ที่ไหน หากพิจารณาเป็นเรื่อราว ไม่ใช่พิจารณาสภาพธรรมทีละ

ขณะ ก็จะหลงไปตามโลกสมมติว่ามีวันอันตราย มีช่วงเวลาอันตราย

การที่บุคคลได้รับสิ่งที่ไม่ดีเพราะอกุศลกรรมนั้นให้ผล เพราะทำเหตุคืออกุศลกรรม

ผลที่ไม่ดีจึงมี ช่วงเวลาอันตรายที่แท้จริงคือขณะที่ทำอกุศลกรรมเพราะกำลังสร้างเหตุ

ที่ไม่ดีเพื่อได้รับผลที่ไม่ดีครับ ช่วงเวลาที่ดีคือเวลาที่ทำกุศลกรรม นั่นเป็นช่วงเวลาที่ดี

และที่สำคัญคงไม่มีอะไรประเสริฐกว่าช่วงเวลาที่เข้าใจสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

เพราะขณะนั้นจะทำให้เข้าใจความจริง และไม่หลงไปตามโลกสมมติ ประโยชน์ของ

พระธรรมคือทำให้เป็นผู้มีความเห็นถูกตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อละความไม่รู้ และ

ขัดเกลากิเลสครับ ความเห็นถูกก็จะทำให้เราดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 59

คนจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ไม่พ้นจากกรรมชั่ว

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ทูลพระศาสดาว่า " ความพ้นย่อมไม่มีแก่

สัตว์ที่ทำกรรมเป็นบาปแล้ว ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี แล่นไปสู่สมุทร

ก็ดี เข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขาก็ดี หรือ ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา ตรัสบอกว่า " อย่างนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย แม้ใน

ที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น ประเทศแม้สักส่วนหนึ่งที่บุคคลอยู่แล้ว

พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ไม่มี " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัส

พระคาถานี้ว่า

" บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็

ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหา-

สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอก

แห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, (เพราะ) เขา

อยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรม

ชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่."

แก้อรรถ

ความแห่งพระคาถานั้นว่า " ก็หากว่า คนบางคนคิดว่า 'เราจัก

พ้นจากกรรมชั่วด้วยอุบายนี้ พึงนั่งในอากาศก็ดี. พึงเข้าไปสู่มหาสมุทร

อันลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ก็ดี พึงนั่งในซอกแห่งภูเขาก็ดี. เข้าไม่พึงพ้น

จากกรรมชั่วได้เลย. ' ด้วยว่า ในส่วนแห่งแผ่นดินคือภาคแห่งปฐพีมี

ปุรัตถิมทิศเป็นต้น โอกาสแม้ประมาณเท่าปลายขนทรายที่บุคคลอยู่แล้ว

พึงอาจพ้นจากกรรมชั่วได้ หามีไม่. "

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591

๑๐. สุปุพพัณหสูตร

ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี

[๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น

สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลากลางวัน เวลา

กลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดพระพฤติสุจริตด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.

(นิคมคาถา)

กายกรรม วาจากรรม มโนกรรม

ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ

เป็นฤกษ์ดี มงคลดี แจ้งดี รุ่งดี

ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีใน

พรหมจารีทั้งหลาย คนทำกรรมอันเป็น

ประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อันเป็น

ประทักษิณ ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มี

ประโยชน์อันได้แล้ว ถึงซึ่งความสุข งอก

งามในพระพุทธศาสนา เป็นผู้หาโรคมิได้

สำราญกายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งปวง เทอญ.

จบสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐

บุคคลใดก็ตามที่เป็นผู้ประพฤติทุจริตทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ขณะนั้น

เป็นการกระทำเหตุที่ไม่ดี เป็นอันตรายแล้วในขณะที่เป็นอกุศลกรรม ซึ่งจะเป็นเหตุทำ

ให้ตนเองได้รับผลที่ไม่ดีในภายหน้า โดยที่ไม่มีใครทำให้เลย นอกจากกรรมของตน

เองเท่านั้น เพราะเหตุว่าเวลาที่อกุศลกรรมให้ผลนั้น ถึงแม้ว่าจะมีบุคคลอื่นคอยคุ้ม

ครองป้องกันรักษาเพื่อให้รอดพ้นจากอันตรายต่าง ๆ แต่ อกุศลวิบากซึ่งเป็นการที่จะ

ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อน เพราะผลของอกุศลกรรมที่ตนเองได้กระทำแล้ว ก็

ย่อมเกิดขึ้น บุคคลประเภทนี้ ไม่รักษาตัวเอง ไม่รักตนเองเลย

ในทางตรงกันข้ามบุคคลผู้ที่ประพฤติสุจริตทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ ไม่ได้-

กระทำสิ่งที่เป็นอันตราย กล่าวคือ อกุศลกรรมทั้งหลายให้กับตัวเอง บุคคลประเภทนี้

เป็นผู้รักษาตนอย่างแท้จริง คือ รักษาด้วยการประพฤติสุจริต ไม่ใช่อยู่ที่การมีบุคคล

มากมายมาแวดล้อมป้องกันรักษา เพราะถึงแม้ว่าจะไม่มีใครมาแวดล้อม ปกป้องรักษา

เลย แต่เมื่อกรรมดียังให้ผลอยู่ ก็ย่อมไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดสามารถที่จะไปประทุษร้ายเบียด

เบียนให้ได้รับความเดือดร้อนได้เลย

ชนเหล่าไหนหนอแล ชื่อว่ารักตน...ชื่อว่าไม่รักตน [ปิยสูตรที่ ๔]

ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะรักษาตัวเอง ด้วยการประพฤติในสิ่งที่ดีงามในชีวิตประจำ

วัน พร้อมทั้งฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็น

ถูกไปตามลำดับ การเดินทางในสังสารวัฏฏ์ยังอีกยาวไกล ยังมีเหตุปัจจัยให้ประสบ

กับอันตรายประการ ๆ ได้ แต่เมื่อใดที่ปัญญาเจริญขึ้น คมกล้าขึ้น ถึงขั้นที่จะดับกิเลส

ทั้งหลายทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาด เมื่อนั้นเป็นอันสิ้นทุกข์ทั้งปวง ไม่มีการเกิดการตาย

อีก ย่อมไม่มีทางที่จะประสบกับอันตรายประการต่าง ๆ ได้เลย ครับ


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง รักษาศีล และได้รักษาศีล และได้ไปไหว้หลวงพ่อโสธร แต่คราวนี้
เมื่ออยู่ต่อหน้าหลวงพ่อโสธร ก็เจริญพุทธานุสติกรรมฐาน เพื่อเป็นพุทธานุสติ และได้อุทิศ
บุญให้แก่เทวดาและพระพรหมประมาณ 16 องค์ที่ปกป้องรักษาองค์หลวงพ่อโสธร
และก็เดินอนุโมทนาบุญกับคนเป็นพันเป็นหมื่นที่มาทำบุญที่วัดหลวงพ่อโสธร และก็มีการถวายสังฆทาน
ประมาณ 5000 ชุดก็ออนุโมทนาบุญกับผู้ที่มาถวายสังฆทาน และเห็นตู้บริจาคทุกตู้ก็อนุโมทนาอีก
เสร็จแล้วก็อนุโมทนากับผู้ที่มาร่วมบุญ และได้ไปสักการะสังเวชนียสถาน 4 ตำบลจำลอง
และได้อนุโมทนาบุญกับป้านบอกบุญตามถนนหนทาง ขนาดเสาไฟฟ้าหรือสะพานข้ามถนน
หรือศาลาริมทาง ธงชาติ และธงธรรมจักร แม้แต่กำแพงวัด อุโบสถ กุฐิวัด ทุกวัดที่นั่งรถผ่าน
ป้ายบอกทางสัญญาณไฟแดง ก็อนุโมทนากับผู้สร้างสาธารณูปโภคนั้น และเมื่อเห็น
เจ้าที่ หรือศาลเจ้า ศาลพระพรหมตามบ้านก็อุทิศบุญที่ได้ทำมา ได้สลับกับการอนุโมทนาบุญ
กับอุทิศบุญให้ศาลพระภูมิตามบ้านเรือนเป็นระยะทาง 3 จังหวัด ตั้งแต่ชลบุรี แปดริ้ว ปราจีนบุรี
ซึ่งอนุโมทนาบุญกับ อุทิศบุญ นับไม่ถ้วน และวันนี้คุณแม่และพี่สาวก็ได้ปฏิบัติวิปัสสนา เป็นเวลา
8 วัน 7 คืน แล้วซึ่งจะได้กลับบ้านวันนี้ เดี๋ยวนี้เราเองไม่จำเป็นต้องบริกรรมโดยกำหนดอิริยาบทย่อย
ก็สามารถที่จะมีสติอยู่ได้เป็นการเจริญวิปัสสนาอย่างหนึ่งขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมบุญทอดผ้าป่าสามัคคี
ณ วัดหนองประชุม ต.วังด้ง อ.เมือง กาญจนบุรี
ในวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓



กำหนดการมีดังต่อไปนี้


วันเสาร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓ ( แรม ๖ ค่ำ เดือน ๔ )
เวลา๙.๐๐ น. ตั้งองค์ผ้าป่าศาลาการเปรียญวัดหนองประชุม
๙.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
๑๐.๑๙ น. นำองค์ผ้าป่าแห่รอบอุโบสถ และพิธีทอดถวาย พระสงฆ์อนุโมทนา เสร็จพิธี
๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ เสร็จแล้วพระสงฆ์เจริญมนต์ให้พร


โทรศัพท์หลวงปู่ทิม อิสริโก (ในเวลา๑๐.๐๐-๑๖.๐๐น. )
โทร ๐-๒๕๑๑-๔๙๑๘ , ๐-๒๙๓๙-๐๘๙๑


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: อิทธิบาท
โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ 27 ก.พ. 2010 4:41 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 12:00 pm
โพสต์: 488
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO