นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 3:38 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: บุคคล
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 02 มี.ค. 2010 8:49 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
บุคคลผู้เข้าใจในเรื่อง "เหตุและผลของกรรม"

ย่อมมี "ความเมตตา"


เมื่อได้ทรัพย์สมบัติมาจากการประกอบ "สุจริตกรรม" ก็ควรใช้ทรัพย์นั้น

และส่วนที่เหลือ ก็สละให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น "ตามสมควร"


ไม่ได้หมายความว่า "คฤหัสถ์-ผู้สันโดษ" จะต้องเป็นผู้ที่อยู่เฉย ๆ

และไม่ใช้ความรู้-ความสามารถของตนเองที่มี ไปในทางที่เป็นประโยชน์

อันเป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ผู้อื่น.


ฉะนั้น ความสันโดษ ของชีวิตคฤหัสถ์

จึงเป็นเรื่องของ"ความเข้าใจและรู้จักตนเองตามความเป็นจริง"

โดยทราบว่า ควรยินดีพอใจ "เท่าที่มี"

ไม่ใช่ "เกินไป" จนกระทั่งอยากได้ของ ๆ บุคคลอื่นมาเป็นของตน

โดย "กระทำทุจริตกรรม"


บุคคลที่มีความสามารถทางใดทางหนึ่ง

ก็ควรที่จะใช้ความสามารถนั้น อย่างเต็มที่ ในทางสุจริต

เพื่อ "ประโยชน์" ทั้งต่อตนเอง และบุคคลอื่น.


หมายความว่า

ถ้าเป็น"ผลของกุศลกรรม" ที่เป็นเหตุให้ได้ทรัพย์สินมามาเท่าไร

ก็ "พอใจ-เท่าที่มี"

และ "ควรสะสมความเมตตา" ต่อบุคคลอื่น

โดยการสละทรัพย์ที่ได้มาบางส่วน เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วย.


แต่สำหรับบางคน อยากทำบุญ

แต่ ไม่มีทรัพย์มากพอที่จะทำได้....แล้ว "เกิดความเดือดร้อนใจ"

และ มีการกระทำต่าง ๆ เพื่อที่จะทำในสิ่งที่ต้องการให้ได้

อย่างนี้ สันโดษหรือเปล่า
แต่ ถ้าเป็นทรัพย์ของตนเอง

และสละให้บุคคลได้ "โดยไม่ต้องรบกวนใคร"

เป็นความสันโดษในทรัพย์ของตน.


และถ้าเป็นการใช้ทรัพย์ของตนไปในทางกุศล

"ผู้มีปัญญา"

ย่อมสามารถที่จะสละทรัพย์ช่วยเหลือบุคคลอื่นได้อีกมาก.


ด้วยเหตุนี้

จึงเป็นเรื่องของ "ปัญญา" และ "ความเป็นผู้ตรงต่อสภาพธรรม"

มีความเข้าใจในสภาพธรรมที่เป็น "โลภะ" ความยินดีพอใจ-ซึ่งมีหลายระดับ.


ดังนั้น "ความสันโดษ" คือ ความยินดีพอใจในสิ่งที่ตนมี

ก็จะต้องเป็นไป "ตามกำลังของแต่ละบุคคล" ด้วย.


ผู้ที่ยังมี "โลภะ" ก็ควร "รู้จักตนเอง-ตามความเป็นจริง" ด้วย ว่า

มีความสันโดษ หรือไม่.!


ควรพิจารณาว่า

ชอบในสิ่งที่เป็นของบุคคลอื่น หรือเปล่า.......?

สิ่งที่น่าพอใจ เป็นอารมณ์ของ"โลภะ"แล้ว....?


เมื่อมีปัจจัยให้เกิด "โลภะ" โลภะก็เกิด

"โลภะ" เกิดแล้ว ดับแล้ว.!

และถ้าหากไม่มี "โลภะ" หรือ ความปรารถนาต่อไป ที่จะไปขอ ไปซื้อ

หรือ พยายามให้ได้มาเป็นของ ๆ ตน ด้วยประการต่าง ๆ

และถ้าแม้ "โลภะ" ความปรารถนานั้น มีกำลังมาก

แต่ "ไม่กระทำทุจริตกรรม" เพราะความปรารถนานั้น

หมายความว่า

มีความเข้าใจ และมีความมั่นคงในกรรมและผลของกรรม

ว่า การที่จะได้ หรือไม่ได้ สิ่งที่น่าพอใจนั้น ต้องเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย

ไม่ใช่ด้วย การกระทำทุจริตกรรม.!


เพราะฉะนั้น

เป็นเรื่องของ"ปัญญา" คือ ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง

เข้าใจตามความเป็นจริงว่า บุคคลที่มีกิเลส ย่อมมีกิเลสตามที่สะสมมา

และ การละคลายกิเลส โดยเฉพาะ "โลภะ"

ต้องเป็นการละคลาย ด้วย "กำลังของปัญญา"


และ ควรเป็นผู้ตรงต่อสภาพธรรม

คือ เป็นผู้ตรงต่อสภาพจิตของตนเอง ตามความเป็นจริง

เมื่อมีทรัพย์สินมาก เพราะ "ผลของกุศลกรรม"

สามารถที่จะสละทรัพย์บางส่วน ที่เหลือจากการใช้สอย

โดยไม่เดือดร้อน ทั้งต่อตนเอง และบุคคลอื่น

คือ ทราบว่า ทรัพย์นั้น เพียงพอสำหรับตนเองและบุคคลอื่น

และ ควรที่ละความติดข้องในทรัพย์ของตน

โดยการสละทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น

โดยคำนึงถึง "กำลังความสามารถของตน" เท่าที่จะกระทำได้.


คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหมด

เป็น "เรื่องของปัญญา"

ถ้าเป็น "ปัญญา"

คือ ความเห็นถูกต้อง ตรงต่อสภาพธรรม ตามความเป็นจริง

จะไม่ผิดเลย!

แต่ถ้าเป็น ความเห็นที่ผิด ไม่ตรงต่อสภาพธรม ตามความเป็นจริง

ก็ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 80

อามคันธสูตรที่ ๒

ว่าด้วยมีกลิ่นดิบไม่มีกลิ่นดิบ

ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถา

ความว่า

[๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภค

ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบไม้ เหง้ามัน

และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา

กาม กล่าวคำเหลาะแหละไม่.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้

อื่นทำสำเร็จดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประ-

ณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า

ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.

แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง

พรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อม

ไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี

กับเนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะ

พระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการ

อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การ

จองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำ

ด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียน

คัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยา

ผู้อื่น นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่

ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมใน

กามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปน

ด้วยของไม่สะอาด มีความเห็นว่าทานที่

บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ

บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

ของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า

หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มี

ความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ

ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

ของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็น

คนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา

ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และ

ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่า

กลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ

เลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

พฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี

พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทราม

กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของ

ชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น-

ดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

สัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการ

เบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่

เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น

เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.


ถ้าเราจะมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยกำลังของเราเอง

และยังสามารถเป็นที่พึ่งพาอาศัย หรือช่วยหลือบุคคลอื่นได้ด้วยตามสมควร

ควรจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
และถ้าเรามีความสามารถในการงาน มีความฉลาดในการบริหารทรัพย์

และ สามารถที่จะเพิ่มพูนทรัพย์ได้ "ในทางสุจริต"

เป็นสิ่งที่ควรหรือเปล่า
ปัญหาที่ควรพิจารณา คือ ถ้าเราจะต้องลำบาก

แต่ เราสามารถที่จะใช้ทรัพย์นั้น "เพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น"

ฉลาดพอหรือไม่...ที่คิดว่าทรัพย์ของตนจะเพิ่มขึ้นได้ "ในทางสุจริต"


ถ้ามีทรัพย์สินมาก และไม่ติดข้องมากจนเกินไป มีความพอใจเท่าที่มี

และ ยังสามารถที่จะสละทรัพย์ของตนให้เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นด้วย

ก็เป็นสิ่งที่สมควร.?


ถ้ามีทรัพย์ พอที่จะสละให้ผู้อื่นได้

โดยพิจารณาว่า "มีเหตุผล-สมควรที่จะให้"

ก็สามารถให้ด้วยความสบายใจ โดย ไม่ต้องเดือดร้อนในภายหลัง.!

ในการดำรงชีวิตของคฤหัสถ์ นั้น เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจด้วย

ว่า เมื่อยังมีโลภะอยู่...ก็ควรเป็นผู้ฉลาด.


ฉลาด คือ เข้าใจตามความเป็นจริง

ว่า ชีวิตของคฤหัสถ์นั้น มีความแตกต่างกันไป

ถ้าเรามีความสามารถที่จะช่วยเหลือใครได้

ก็ควรกระทำ "ด้วยความพอดี"


คือ ไม่ใช่เป็นผู้ที่ "ไม่สละ" อะไรเลยจนถึงกับ "ตระหนี่"

หรือ "ไม่สันโดษ" พอใจในสิ่งที่ตนมีจนถึงกับ "มีเท่าไรก็ไม่พอ"

และควรเป็น "ปัญญา" ที่เข้าใจตามความเป็นจริง ว่า

"ความติดข้องยิ่งน้อยลงเท่าไร...ก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น"


และ "ปัญญา" ที่เข้าใจอย่างนี้

ที่ทำให้ชีวิตของคฤหัสถ์-ที่ยังต้องเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน

เป็นผู้ที่ฉลาดในการใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์

ทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่น.


แต่ ถึงแม้จะมีทรัพย์สินมากมาย

"ผู้มีปัญญา"

ย่อมเป็นผู้ที่ลด-ละ-โลภะ ในตนเอง...ด้วย "การเห็นโทษของโลภะ"

บางครั้ง การที่จะสละสิ่งที่เราพอใจให้บุคคลอื่นนั้น....ดูเหมือนยาก

แต่ ถ้าสามารถ "สละได้"....ก็คือ "ชนะโลภะ"


มีหลายเหตุการณ์ ในชีวิตคฤหัสถ์

ที่ "ปัญญา" จะทำให้มีชีวิตอยู่

โดยเป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเอง และ บุคคลอื่น.


จริง ๆ แล้ว "การให้"

เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ตามกาล-เทศะ ในแต่ละสถานการณ์

ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นในขณะนั้น-อันเป็นปัจจัย-ที่จะให้หรือไม่ให้.!


เพราะในชีวิตจริง ๆ นั้น

มีคนยากไร้มากมาย ที่ช่วยเท่าไร ก็ช่วยได้ไม่หมด

เพราะ "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"


แต่การช่วยเหลือที่ดีทีสุด

คือ การช่วยให้บุคคลอื่น "เข้าใจพระธรรม" คำสอนของพระผู้มีพระภาคฯ

และบำเพ็ญกุศลกรรม ละคลายอกุศลกรรม ตามกำลังปัญญาของบุคคลนั้น

ซึ่งเป็นหนทางเดียว ที่เป็นการดับทุกข์ได้ อย่างแท้จริง

และเป็นประโยชน์อย่างสูงสุดด้วย.


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
ตั้งใจว่าจะสร้างบารมีใครบเหมือนวันก่อนๆขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญให้อาหารปลา
อุทยานมัจฉา
บริเวณหน้าวัดนี้จะติดกับคลองดำเนินสะดวก มีฝูงปลามาอยู่ศัยอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมากนับหมื่นตัว ส่วนมากจะเป็นปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทองมากที่สุด เมื่อนักท่องเที่ยวให้อาหารฝูงปลาจะขึ้นมา ให้เห็นเต็มไปหมด เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ และบริเวณดังกล่าวยังมีบริการเรือถีบให้นักท่องเที่ยวได้ถีบเรือเที่ยวเล่นไปตามลำคลองด้วย

การเดินทาง

ทางรถยนต์
จากอำเภออัมพวา ไปตามถนนสายอัมพวา-บางนกแขวก ระยะทางประมาณ 7 กม. ผ่านอุทยาน ร.2 - อาสนวิหารฯ ข้ามสะพานบางนกแขวก เลยไปประมาณ 500 เมตร ทางเข้าวัดอยู่ขวามือ

รถประจำทาง
ที่ท่ารถ บขส. สมุทรสงคราม นั่งรถสาย 333 (แม่กลอง-บางนกแขวก) ปลายทางจังหวัดราชบุรี แต่รถจะแวะจอดที่วัดแห่งนี้ บริการตั้งแต่เวลา 06.00-17.30 น. รถออกทุก 30 นาที

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 128 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO