--------------------------------------------------------------------------------
ฟังพระธรรม....คือ การฟังเรื่องของ "สิ่งที่มีจริง"
เช่น กล่าวถึง "สิ่งที่เคยยึดถือ ว่า เป็นเรา"
เพื่อให้เข้าใจว่า "เป็นธรรมและเป็นอนัตตา"
ข้อความทั้งหมดที่แสดง
ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึง "ความเป็นธรรมและเป็นอนัตตา"
มิฉะนั้น ก็จะมัวไป "คิดถึงพยัญชนะ"
เพราะฉะนั้น ขณะที่ได้ฟัง "ข้อความใด-ในพระไตรปิฎก"
ควรทราบว่า เป็นการกล่าวถึง "สิ่งที่มีจริง" ที่ไม่เคยรู้
และ ยังหลงยึดถือ ว่า เป็นเรา อีกด้วย.!
ฟังพระธรรม....เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ว่า ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของบุคคลอื่น และ เรื่องอื่น
แต่ เป็นการกล่าวถึง "สภาพของจิต-แต่ละขณะ"
ซึ่ง "เป็นธรรมะและเป้นอนัตตา"
ฟังพระธรรม...เพื่อเข้าใจตามความเป็นจริง ว่า
ที่เคยหลงยึดถือว่า เป็นเราที่ไม่สงบ เป็นเราที่ฟุ้งซ่าน ฯ
ความจริง ก็คือ เป็นจิตประเภทใดประเภทหนึ่ง "ยกพล"
หมายความว่า...ถ้าเป็นไปในทาง "อกุศล"
ก็คือมี "พล" ที่ฟุ้งซ่าน และ ไม่สงบมากมาย-เกิดร่วมกัน.
ยกพลไปไหน......?
ก็แล้วแต่ว่า จะไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ซึ่งเป็น "อกุศล" ประเภทใด ประเภทหนึ่ง
ทางกายทุจริตบ้าง ทางวจีทุจริตบ้าง หรือ ทางมโนทุจริตบ้าง.
ทั้งหมด ก็คือ "สภาพธรรมในขณะนี้ทั้งหมด" ซึ่งไม่เคยรู้.!
ฟังพระธรรม...ไม่ใช่เพื่อเพื่อความหวังว่า จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมเมื่อไร
และถ้าไม่ใช่การฟังเพื่อความเข้าใจ "สภาพธรรม-ที่กำลังปรากฏ-ในขณะนี้"
ก็ไม่มีประโยชน์เลย.!
เพราะว่า "ข้อความทั้งหมด"
แสดงถึงแต่ละบุคคล ซึ่งหลงยึดถือสภาพธรรม ว่า "เป็นตัวตน"
จนกว่าจะมีความเข้าใจ"ธรรมะ"...จากการฟังพระธรรม-เพิ่มขึ้น
จนกระทั่ง เข้าใจจริง ๆ
ว่า แท้จริงแล้ว....ชีวิตแต่ละขณะ
ก็คือ ข้อความที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้นั่นเอง.
เช่น ข้อความจากพระไตรปิฎก ที่แสดงว่า
"โลกสันนิวาส...ถูกความกังวลเป็นอันมาก...พัวพัน"
ขณะนี้....มี "ใคร" กังวลอะไรบ้างหรือเปล่า
ขณะนี้...เป็น "โลกสันนิวาส" หรือว่า "เป็นเรา"
กังวลเรื่องอะไร.....เพราะอะไร.?
"อยากจัดการ"....หรือเปล่า
กังวล....เพราะ "คิดที่จะจัดการ" หรือเปล่า.?
ถ้าเข้าใจ ว่า เป็น "ธรรมะ" ซึ่งไม่มี "ใคร" ที่จะไปจัดการอะไรได้เลย
จะกังวลไหม
เพราะฉะนั้น
ขณะใดที่กังวล ก็เพราะเหตุว่า คิดว่ามีเรา...ที่สามารถจัดการได้.!
แต่ ถ้าเป็นผู้ที่มั่นคงในความเข้าใจ "ธรรมะ"
ว่า ทุกอย่าง เกิดขึ้น เพราะ"เหตุปัจจัย" ไม่ใช่เพราะ "คนหนึ่ง-คนใด"
เพราะเหตุว่า ตราบใด ที่มีความกังวล ก็เหมือนว่า
ลืมไป ว่า "ไม่มีใคร" ที่สามารถ"ทำอะไรขึ้นมา" ได้เลย
นอกจาก...."เหตุปัจจัย" ที่ทำให้ "ธรรมะใด"เกิด "ธรรมะนั้น" ก็ต้องเกิด.
ฉะนั้น ผู้จัดการที่แท้จริง ก็คือ "สังขารขันธ์"
"ปัญญา" ทำหน้าที่ของปัญญา
"อวิชชา" ทำหน้าที่ของอวิชชา
ทั้งหมดที่ได้ฟัง ก็เพื่อเข้าใจในความเป็น"ธรรมะ" เพิ่มขึ้น ๆ
คำเดิม ๆ เช่น "จิต" และ "เจตสิก"
ก็มีการกล่าวถึงทุกครั้งที่อ่านพระสูตร พระวินัย หรือ พระอภิธรรม
จิตและเจตสิก เป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน.
เมื่อไร....ที่หมดความสงสัยในสภาพธรรม ที่เคยยึดถือ ว่า "เป็นเรา"
เพราะ "ประจักษ์แจ้ง-ลักษณะที่แท้จริง-ของสภาพธรรม-ที่กำลังปรากฏ"
เมื่อนั้น...ก็จะไม่เป็น "ผู้ที่คิดว่ามีตัวตน" อีกต่อไป.
เข้าใจว่า ในชีวิตประจำวัน วิถีจิตทางมโนทวารเกิดมากกว่า วิถีจิตทางปัญจทวาร
เพราะวิถีทางปัญจทวารเกิดหนึ่งวาระ จะมีวิถีทางมโนทวารเกิดต่ออีกหลายวาระ
ดังนั้นวิถีทางมโนทวารจึงเกิดมากกว่า เมื่อนับตามวาระหรือจำนวนชุดของวิถีจิต
ที่เกิดขึ้นเมื่อรับรู้อารมณ์ และยังมีวิถีจิตทางมโนทวารล้วนๆอีกจำนวนมากครับ
ดังนั้นพระบรมสารีริกธาตุที่สุมนสามเณรอันเชิญมา มี 2 ส่วนคือที่ได้จากพระเจ้า
อโศกมหาราชส่วนหนึ่งและส่วนที่สองคือจากพระอินทร์ที่เป็นส่วนพระรากขวัญเบื้อง
ขวา(กระดูกไหปลาร้าด้านขวา)
ส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากพระเจ้าอโศก ซึ่งได้ประดิษฐานที่เจติยบรรพต
(มิสสกบรรพต)อันเป็นสถานที่ที่พระมหินเถระและคณะภิกษุสงฆ์ได้เหาะมาจากชมพู
ทวีปมาลงที่เกาะลังกาครั้งแรกและได้พบกับพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ซึ่งชาวศรีลังกา
ได้สร้างเจดีย์ชื่อ พระมหาเสยะเจดีย์(Mahaseya Pagoda) ซึ่งสำหรับผู้ที่จะได้เดิน
ทางไปประเทศศรีลังกา คงได้มีโอกาสไปพระมหาเสยะเจดีย์ เมื่อรู้ประวัติความเป็นไป
ของพระเจดีย์นี้ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันได้มาจากพระเจ้าอโศกย่อมทำให้ซาบซึ้ง
ระลึกถึงพระคุณได้มากชึ้นไม่มากก็น้อยครับ
พระมหาเสยะเจดีย์
อันเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระเจ้าอโศกและเป็น
สถานที่ที่พระเถระทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์อันมาจากชมพูทวีปมาประกาศ
พระศาสนาที่ศรีลังกาได้มาถึงที่นี่ครั้งแรก
ในตอนต่อไปจะกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่สองที่ได้มาจากพระอินทร์นั่นคือ
พระรากขวัญเบื้องขวา (กระดูกไหปลาร้า) ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุส่วนนี้เองที่ได้
แสดงปาฏิหารย์หลายอย่างก่อนที่จะประดิษฐานในพระสถูป อันเป็นสิ่งที่ควรเลื่อมใส
เป็นอย่างยิ่ง
การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383
ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์ชั้นไตรทศ ทรงสดับคำนี้แล้ว
เมื่อจะยังเทวดาชั้น ดาวดึงส์ให้เลื่อมใส จึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภีว่า ดูก่อน
มาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่าอัศจรรย์นี้ ไทยธรรม(ของบูชา)ที่เทพธิดา
นี้กระทำแล้ว ถึงจะน้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า
หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณา ไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตลี แม้ชาว
เราทั้งหลาย ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพราะ
การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ เมื่อพระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพ-
พานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้
ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายกระทำสักการะใน พระตถาคต
เหล่าใดแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้น ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่
ชนเป็นอันมากหนอ.
เรื่องราวจากตอนที่แล้วที่ได้กล่าวถึงการอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่
ประเทศศรีลังกา โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือพระบรมสารีริกธาตที่ได้มาจากพระเจ้าอโศก
มหาราชและพระบรมสารีริกธาตุที่อันเชิญมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งจากตอนที่แล้ว
ได้พูดถึงพระบรมสารีริกธาตุที่อันเชิญมาจากพระเจ้าอโศกและได้มาประดิษฐานที่เจติย
บรรพตหรือพระมหาเสยะเจดีย์
สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่สอง ที่อันเชิญมาจากสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ ซึ่งที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระอินทร์มีพระบรมสารีริกธาตุอยู่สองพระองค์คือ
พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาและพระรากขวัญเบื้องขวา(กระดูกไหปลาร้า) สุมนสามเณรจึง
ได้ขอส่วนที่เป็นพระรากขวัญเบื้องขวามาประดิษฐานที่ศรีลังกา
เมื่อสุมนสามเณรได้พระรากขวัญเบื้องขวามาแล้ว ก็ได้พระมหินถระเป็นประธาน
อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปยังมหานาควันอุทยาน พระราชาก็ไปต้อนรับเสด็จพระ-
บรมสารีริกธาตุที่มหานาควันอุทยานเช่นกัน ซึ่งในตอนนี้เองจะเห็นได้ถึงความวิจิตร
ของจิตของแต่ละคน เพราะบางคนเมื่อได้พระบรมสารีริกธาตุมาก็สงสัยว่าจริงหรือ
ปลอม พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะก็เช่นเดียวกัน ก็สงสัยเช่นนั้นจึงได้อธิษฐานว่า
หากนี้เป็นพระธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไซร้ เศวตฉัตรจงเบนออกไป ช้างมงคล
จงคุกเข่าลงบนพื้นและขอให้ผอบ(ที่ใส่) บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจงมาประดิษฐานบน
กระหม่อมของเรา พอพระราชาคิดจบเท่านั้น ฉัตรก็ได้เบนออกไป ช้างก็คุกเข่าลงและ
ผอบที่บรรจุพระธาตุก็มาประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมพระราชา หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
กับท่านทั้งหลายก็คงปิติอยู่ไม่น้อย พระราชาเองก็ทรงเกิดพระปิติปราโมทย์เป็นอย่าง
มาก เหมือนน้ำทิพย์สรงตัวท่าน
พระราชาได้ตรัสถามพระเถระว่าควรปฏิบัติกับพระธาตุอย่างไร พระเถระได้ทูลว่า
ให้วางไว้บนกระพองช้าง(ส่วนที่นูนเป็นปุ่มทั้ง 2 ข้างศีรษะช้าง)ไว้ก่อน พระราชาจึงยก
ผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุวางไว้บนกระพองช้าง ช้างเกิดความดีใจ ได้ร้องด้วย
เสียงอันดัง เมฆตั้งเค้า ฝนโบกขรพรรษ(ฝนที่ใครอยากเปียกก็เปียก ใครไม่อยากเปียกก็
ไม่เปียก)ก็ตกลงมา แผ่นดินได้ไหวครั้งใหญ่อันเป็นการแสดงว่า พระธาตุของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าจักประดิษฐานอยู่ที่ปัจจันตชนบทคือประเทศศรีลังกาแล้ว ซึ่งในวันนั้นตรง
กับวันเพ็ญเดือน 12 อันชาวไทยถือเป็นประเพณีลอยกระทง ดังนั้นวันลอยกระทงจึง
เป็นวันคล้ายวันที่พระสารีบุตรอัครสาวกปรินิพพานและยังเป็นวันที่พระบรมสารีริกธาตุ
รากขวัญเบื้องขวามาประดิษฐานที่กระพองช้างที่ประเทศศรีลังกาและแผ่นดินไหว
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑-หน้า 145
พระมหาวีระ(ผู้มีความเพียรใหญ่)เสด็จมาในเกาะลังกานี้ จากเทวโลก ได้ประดิษฐาน
อยู่บนกระพองช้าง ในดิถีเพ็ญเป็นที่เต็มครบ ๔ เดือน กลางเดือน ๑๒ ก่อให้เกิดปีติแก่
ทวยเทพและหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยสิริคืออานุภาพแห่งฤทธิ์ ด้วยประการฉะนี้แล.
ได้กล่าวถึงการนำพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องขวามาจาก
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อมาประดิษฐานที่ประเทศศรีลังกาโดยให้พญาช้างนำไปไว้ที่บน
กระพองช้าง
พญาช้างได้เดินมุ่งหน้าไปที่ถูปารามเพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานที่นั่น ซึ่ง
สถานที่ที่จะประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องขวา ย่อมไม่ใช่สถานที่
ธรรมดาแน่นอน แต่เป็นสถานที่ที่พิเศษอย่างยิ่ง คือ ณ ที่ถูปารามนี้ในอดีตเป็นสถานที่
ที่เป็นที่ตั้งของบริโภคเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆถึง 3 พระองค์
คำว่าบริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย ถือว่าเป็นบริโภค
เจดีย์และควรแก่การบูชา อันได้แก่ บาตร จีวร ประคดเอว ต้นโพธิ์พฤกษ์ เป็นต้น
ดังนั้นในอดีตถูปารามนี้เป็นที่ประดิษฐานบริโภคเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
อดีตถึง 3 พระองค์ ในสมัยพระพุทธเจ้ากกุสันธะ ถูปารามได้เป็นที่ประดิษฐานธัมกรก
(ผ้ากรองน้ำ) ในกาลสมัยพระพุทธเจ้าโกนาคมน์ ถูปารามได้เป็นที่ประดิษฐานประคด
เอวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโกนาคมน์ ในกาลสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ถูปาราม
แห่งนี้ได้ประดิษฐานอุทกสาฏิก(ผ้าอาบน้ำฝน)ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสปะ จะเห็น
ได้ว่าที่ถูปารามที่จะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องขวา เป็นที่
ที่พิเศษอย่างยิ่ง จึงสมควรแก่การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
ถูปาราม
เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
พญาช้างได้เดินไปที่ถูปาราม ณ ที่ถูปารามตอนนั้น รกไปด้วยพงหญ้าและหนาม
เพราะด้วยอานุภาพของเทวดาด้วยตั้งใจว่า ใครๆอย่านำของสกปรกหรือประทุษร้ายมา
ณ ที่นี้ซึ่งบุรุษทั้งหลายล่วงหน้าไปก่อนพญาช้างก็ได้ถางหญ้า และได้สร้างพระสถูปมี
ลักษณะดังกองข้าวเปลือก เทวดาและหมู่มหาชนประชุมกันแล้ว พระธาตุก็ได้แสดง
ปาฏิหารย์ ได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ แสดงยมกปาฏิหารย์ อันเกิดจากปาฏิหารย์ที่พระ-
พุทธเจ้าได้อธิษฐานไว้ ได้ทรงอธิษฐานไว้เมื่อก่อนปรินิพพานว่า ยมกปาฏิหารย์จงมีใน
วันประดิษฐานพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาของเรา
พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาศรีลังกา 4 ครั้ง คือ 3 ครั้งเสด็จมาเมื่อยังพระชนม์อยู่ และ
ครั้งที่ 4 คือพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมาประดิษฐานที่เจดีย์ถูปาราม ถูปาราม ยังเป็น
สถานที่กระทำสังคายนาครั้งที่ 4 โดยพระมหาเถระ 68 รูป และได้ยังแผ่นดินให้ไหว
ดังนั้นจะเห็นถึงความสำคัญของถูปารามและควรแก่การระลึกบูชา
ด้วยอามิสและปฏิบัติบูชาเมื่อได้ไปถึงที่ถูปารามครับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
ก็แลขึ้นชื่อว่า โอกาสน้อยหนึ่งบนพื้นเกาะตัมพปัณณิทวีป(ศรีลังกา) ทีเมล็ดน้ำ
อันพุ่งออกจากพระสรีรธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่ถูกต้องหาได้มีไม่ พระสรีรธาตุ
นั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังความเร่าร้อนของภาคพื้น เกาะตัมพปัณณิ
ทวีปให้สงบลงด้วยเมล็ดฝน แสดงปาฏิหาริย์แก่มหาชนแล้วลงประดิษฐานอยู่บ
กระหม่อมของพระราชา ด้วยประการอย่างนี้. พระราชาทรงสำคัญการได้อัตภาพเป็น
มนุษย์ซึ่งมีผลทรงทำสักการะใหญ่ ให้บรรจุพระธาตุแล้ว พร้อมด้วยการบรรจุพระธาตุ
ได้เกิดมีแผ่นดินหวั่นไหวใหญ่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149
ได้ทราบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จไปสู่เกาะนี้ (เกาะลังกา) ถึง
๓ ครั้ง แม้ในคราวยังทรงพระชนม์อยู่ คือ คราวแรกเสด็จมาพระองค์เดียว
เท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ ครั้นทรมานยักษ์แล้ว ทรงตั้งอารักขาที่เกาะตัมพ-
ปัณณิทวีป เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพานแล้ว
ศาสนาของเรา จักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้.
ครั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมาน
พญานาคผู้เป็นลุงและหลานกัน ครั้นทรมานเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จไป
ครั้งที่สาม เสด็จมามีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธ
สมาบัติ ณ ที่ตั้งมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นมหาโพธิ์
ที่ตั้งมุติงคณเจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งกัลยาณิยเจดีย์. การมา
โดยพระสรีรธาตุคราวนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
เริ่มเรื่องจตุตถสังคายนา
โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๖๘,๐๐๐ รูป ประชุมกันที่ถูปาราม. อาสนะ
ของพระมหามหินทเถระ เขาปูหันหน้าไปทางด้านทิศทักษิณ. ธรรมาสน์ของ
มหาอริฏฐเถระ เขาจัดตั้งหันหน้าไปทางด้านทิศอุดร. ครั้นนั้นแล พระ
มหาอริฏฐเถระ อันพระมหินทเถระ เชื้อเชิญแล้วก็นั่งบนธรรมาสน์ โดยลำดับ
อันถึงแก่ตน ตามสมควร. พระมหาเถระ ๖๘ รูป ซึ่งมีพระมหินทเถระเป็น
ประมุข ก็นั่งล้อมธรรมาสน์. พระกนิษฐภาดา แม้ของพระราชา พระนามว่า
มัตตาภยเถระ เป็นผู้เอาธุระการงาน (คือตั้งใจศึกษาเล่าเรียน) ร่วมกับภิกษุ
๕๐๐ รูป นั่งล้อมธรรมาสน์ของพระมหาอริฏฐเถระนั้นแล ด้วยตั้งใจว่า จัก
เรียนเอาพระวินัย. พวกภิกษุแม้ที่เหลือ และบริษัทพร้อมด้วยพระราชา ก็ได้
นั่งบนที่นั่งอันถึงแก่ตน ๆ แล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระมหาอริฏฐเถระ ได้แสดงนิทานแห่งพระวินัยว่า
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาอันนเฬรุ-
ยักษ์สิง ใกล้เมืองเวรัญชา ดังนี้เป็นต้น. ก็แลเมื่อท่านพระอริฏฐเถระ แสดง
นิทานแห่งพระวินัยแล้ว อากาศก็ร้องคำรามดังสนั่น. สายฟ้าอันมิใช่ฤดูกาลก็
แลบแปลบปลาบ. พวกเทวดาได้ถวายสาธุการแล้ว. มหาปฐพีไหวหวั่น จนถึง
ที่สุดน้ำรองแผ่นดิน.
เมื่อปาฏิหาริย์หลายอย่างเป็นไปอยู่อย่างนั้น ท่านพระอริฏฐเถระซึ่งมี
พระมหาเถระขีณาสพ เจ้าคณะแต่ละคณะ ๖๘ รูป อันมีพระมหามหินท์
เป็นประมุข และภิกษุหกหมื่นรูปนอกจากนั้นห้อมล้อมแล้ว ได้ประกาศพระวินัย
ปิฎก อันแสดงซึ่งคุณมีพระกรุณาของพระศาสดาเป็นต้น ซึ่งกำจัดความดิ้นรน
ทางกายกรรมวจีกรรม ของเหล่าชนผู้ทำตามคำพร่ำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในท่ามกลางแห่งมหาวิหารถูปาราม ในวันปวารณาเดือนกัตติกาแรก. ก็ท่าน
พระอริฏฐเถระ ครั้นประกาศแล้ว บอกสอนแก่ภิกษุเป็นอันมาก คือให้ตั้ง
อยู่ในหทัยของภิกษุมากหลาย ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ แล้วก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเส-
สนิพพานธาตุ.
พระมหาเถระ ๖๘ รูป แม้เหล่านั้นแล
อันมีพระมหามหินท์เป็นประมุข ผู้เอาธุระ
การงานมาประชุมพร้อมกันแล้ว ในสมาคม
นั้น, ทั้งหมดเป็นเจ้าคณะแต่ละคณะ เป็น
สาวกของพระธรรมราชา มีอาสวะสิ้นแล้ว
ได้บรรลุวสี มีวิชชา ๓ ฉลาดในอิทธิฤทธิ์
รู้แจ้งอุดมอรรถอนุสาสน์พระราชา พระเถระ
ผู้แสวงหาคุณใหญ่แสดงแสงสว่าง (คือ
ความสว่างแห่งญาณ) ให้เห็นชัด ยังแผ่นดิน
(คือเกาะลังกา)นี้ให้รุ่งเรืองแล้ว ก็ปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับไป ฉะนั้น.
จำเนียรกาลต่อมาแต่กาลปรินิพพานแห่งพระมหาเถระเหล่านั้นลำดับ
สืบต่อกันมาแห่งอาจารย์ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้ คือ
พระมหาเถระแม้เหล่าอื่น ผู้เป็นอันเตวาสิกของพระเถระเหล่านั้น และพระเถระ
ทั้งหลาย มีพระติสสทัตตะ พระกาฬสุมนะ และพระทีฆสุมนะเป็นต้น ผู้เป็น
อันเตวาสิกแห่งอันเตวาสิกทั้งหลาย ของพระมหาอริฏฐเถระ ได้นำพระวินัย-
ปิฎกนี้มา จนถึงทุกวันนี้.
พระพุทธโฆษาจารย์แปลภาษาสิงหลจากพระมหินเถระในส่วนของพระสูตรด้วย
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4
บุญใด สำเร็จแล้วด้วยการกราบไหว้พระรัตนตรัยของข้าพเจ้าผู้มีจิต
เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มี
อันตรายอันขจัดดีแล้ว อรรถกถาใด อันพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ ผู้ชำนาญ
แตกฉานในปฏิสัมภิทาช่วยกันร้อยกรอง แล้วตั้งแต่ปฐมสังคายนา ต่อมามีการ
ร้อยกรองอีกสองครั้ง คือในทุติย-ตติยสังคายนา เพื่อประกาศเนื้อความของ
ปกรณ์สังยุตตนิกายอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยวรรคแห่งสังยุตอันจำแนก
ญาณต่าง ๆ ที่พระพุทธะและสาวกของพระพุทธะพรรณนาไว้ดีแล้ว ก็อรรถกถา
นั้นแหละ อันพระมหินทเถระผู้ชำนาญจากประเทศอินเดียนำมายังเกาะสิงหล
(ประเทศศรีลังกา) ต่อมาได้ประดิษฐานไว้ด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์
แก่หมู่ชนชาวเกาะ ข้าพเจ้านำอรรถกถาภาษาสิงหลออกแปลเป็นภาษามคธซึ่ง
เป็นภาษาที่น่ารื่นรมย์ ถูกต้องตามระเบียบพระบาลีไม่มีภาษาอื่นปะปน ไม่
ขัดแย้งทฤษฎีของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้เป็นดังประทีปของ
เถระวงศ์ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ละเอียดรอบคอบ จักตัดข้อความที่ซ้ำ ๆ ออกแล้ว
จักประกาศเนื้อความอรรถกถาสังยุตตนิกายนี้ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชน
และเพื่อดำรงอยู่สิ้นกาลนานแห่งพระธรรม.
จะกล่าวถึงประวัติของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศรีลังกา หากได้อ่านได้
เข้าใจประวัติของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศรีลังกาอย่างแท้จริงแล้ว จะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ควร
กราบไหว้บูชาทั้งอามิสและปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ
เมื่อหมู่มหาชนได้เห็นปาฏิหารย์คือพระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหารย์ก่อนจะ
ประดิษฐาน ที่ถูปารามแล้ว ก็มีผู้คนออกบวชมากมายเพราะเห็นปาฏิหารย์ แม้พระนาง
อนุฬาเทวีก็มีพระประสงค์จะบวช แต่การจะให้ผู้หญิงบวชต้องพระเถรีให้บวชจึงจะ
เหมาะ ซึ่งที่เกาะลังกาตอนนั้นไม่มีพระเถรีมาด้วย พระมหินเถระผู้เป็นหัวหน้าในการเดิน
ทางมาประกาศพระศาสนาที่ศรีลังกา จึงได้กราบทูลพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะว่าให้
นิมนต์พระเถรีนามว่าสังฆมิตตา ผู้เป็นน้องสาวของพระถระ ที่ชมพูทวีป(อินเดีย)มาและ
อันเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์มาด้วย พระราชาจึงให้อำมาตย์ไปนิมนต์พระสังฆมิตตาผู้
เป็นลูกสาวของพระเจ้าอโศกและเป็นน้องสาวของพระมหินเถระมาและเชิญต้นพระศรี
มหาโพธิ์มาด้วย
เมื่อเรือไปถึงอินเดีย อำมาตย์ก็ได้กราบทูลเรื่องให้ทราบและไปหาพระสังฆมิตตา
พระเจ้าอโศกก็ยินยอมและได้นำต้นโพธิ์ทีได้เตรียมไว้มอบแก่อำมาตย์ และได้ให้
พระสังฆมิตตาไปศรีลังกาเพื่อบวชสตรีทั้งหลายที่ศรีลังกา ซึ่งพระเจ้าอโศกตั้งใจที่จะ
มอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ให้กับศรีลังกาก่อนหน้านี้แล้ว จึงได้เตรียมไว้ พระเจ้าอโศกมี
ความดำริว่าเราจะส่งต้นยพระศรีมหาโพธิโดยไม่ใช้ศาสตราตัดได้อย่างไร พระเจ้า
อโศกจึงถามพระภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ ท่านได้บอกว่า พระพุทธเจ้าทรงได้
อธิษฐานไว้แล้วว่า ต้นโพธิ์จะประดิษฐานที่ศรีลังกา กิ่งมหาโพธิ์ทางทิศใต้จงขาดเอง
แล้วประดิษฐานในกระถางทอง
พระราชาเมื่อทราบจึงมีพระหฤทัยเลื่อมใส จึงได้ชำระหนทางจากเมืองของพระองค์
ไปที่ต้นพระศรีมหาโพธิที่พุทธคยา และวิสสุกรรมเทพบุตรแปลงมาเป็นช่างทองรับทำ
กระถางทองเพื่อบรรจุต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระราชาไปถึงที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่
พุทธคยา ก็ได้ทรงกล่าวสัตย์ อธิษฐานว่า ถ้าต้นโพธิ์นี้จะประดิษฐานที่ศรีลังกาและ
ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา ขอให้ต้นโพธิ์จงมาประดิษฐานที่
กระถางทองเอง พร้อมกับจบคำสัตย์ อธิษฐาน กิ่งโพธิ์ก็ขาดตกลงมาที่กระถางทอง
ต้นโพธิ์นั้นสูง 5 เมตร ต้นโพธ์หนุ่มที่อยู่ในกระถางก็แสดงปาฏิหารย์มากมาย เหล่า
เทวดาทั้งหลายจนถึงพรหมโลกก็บูชาต้นโพธิ์ แม้พระเจ้าอโศกก็ยกราชสมบัติบูชาต้น
โพธิ์หนุ่มนี้ถึง 3 ครั้ง
ในตอนต่อไปข้าพเจ้าจะกล่าวถึงเรื่องของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ศรีลังกาต่อ อันเป็น
ตอนที่พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ พระราชาของศรีลังกามารับต้นพระศรีมหาโพธิ์ไป
ประดิษฐานที่ศรีลังกา
การอันเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์จากอินเดีย เพื่อที่จะไป
ประดิษฐานที่ศรีลังกา ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชได้เป็นผู้ส่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ฝั่ง
มหาสมุทรที่อินเดีย ลุยน้ำจนถึงพระศอและได้กล่าวกับอำมาตย์ของพระเจ้าเทวานัม
ปิยะติสสะว่าแม้พระราชาของท่านก็จงบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้อย่างสมเกียรติ ดังเช่น
เราบูชาเช่นกัน
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ขึ้นเรือไป พร้อมกับพระสังฆมิตตาเถรี อันเป็นพระเถรีที่จะส่ง
ไปศรีลงกาเพื่อจะบวชสตรีที่นั่น เมื่อเรือแล่นไป ทะเลก็สงบ ดอกบัวก็บาน เทวดาทั้ง
หลายที่อยู่ที่น้ำและอากาศก็ทำการบูชาอย่างมากมาย แม้เหล่านาคก็ขออันเชิญต้น
พระศรีมหาโพธิ์ไปบูชาที่ภพของตน 7 วัน จนเรือได้แล่นถึงศรีลังกา พระเจ้าเทวานัม
ปิยติสสะได้เตรียมการต้อนรับ พระองค์ทรงลุยน้ำไปจนถึงพระศอ แล้ววางไว้บนพระ-
เศียร และได้ทำการบูชา สักการะมากมาย แล้วนำไปทีเมืองอนุราธบุรี
พระราชาได้นำต้นพระศรีมหาโพธิไปที่จุดตรงกลางที่พระราชอุทยานเมฆวัน อัน
เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ทรงเข้านิโรธสมาบัติ และเป็นที่ที่ต้นไม้
ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณนั้นด้วย
พระราชาให้ตระกูลอันสมบูรณ์ด้วยชาติ 16 ตระกูลปลูกต้นโพธิ์ ซึ่งในขณะที่ต้นโพธิ์
พ้นจากมือของตระกูลทั้ง 16 ตระกูลเท่านั้น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็ลอยไปในอากาศ แล้ว
เปล่งรัศมีออกมา รัศมีนั้นได้แผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งเกาะศรีลังกา จนถึงพรหมโลก ชนหมื่น
คนเห็นปาฏิหารย์นั้น เกิดความเลื่อมใส ได้เจริญวิปัสสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
จึงบวช
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้ลอยอยู่ในอากาศ จนค่ำ จึงได้กลับมาประดิษฐานที่แผ่นดิน
พร้อมๆกับที่ต้นพระศรีมหาโพธิ์ประดิษฐานแล้ว แผ่นดินก็ไหว
พระนางอนุฬาเทวีซึ่งมีความประสงค์จะบวชพร้อมกับหญิงบริวาร 500 คน ก็ได้บวช
ในสำนักของพระนางสังฆมิตตาเถรีและไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ในตอนต่อไปข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ที่ในอนาคตเมื่อพระ-
ธาตุจะอันตรธานพระธาตุจะมารวมกันที่นี่และไปที่นาคภิภพและไปรวมที่ต้นพระศรีมหา
โพธิ์ที่พุทธคยาและก็ถึงคราวที่พระธาตุอันตรธานอันแสดงถึงพระศาสนาได้สิ้นแล้ว ผู้
มีปัญญาไม่ควรประมาทในการเจริญกุศลและอบรมปัญญา ณ เวลาที่ยังพอมีเวลาเหลือ
อยู่ในขณะนี้
พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ชาวศรีลังกาเรียกกันหลายชื่อ เช่น สุวรรณมาลิกเจดีย์
รัตนมาลี เหมปาลี รุวันเวลิสยา พระมหาเจดีย์มีขนาดใหญ่ ปูด้วยก้อนหินภูเขา โดยใช้
ช้างลากหินเหล่านั้นมา เพราะฉะนั้นเราจะเห็นการสร้างช้างล้อมไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้
กับช้างที่ได้ช่วยในการก่อสร้างพระมหาเจดีย์นี้ด้วย
พระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยา ประวัติความเป็นมานั้น พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ได้ให้
ดอกจำปากับพระมหินเถระ พระมหินเถระจึงโปรยดอกไม้ลงไปในแผ่นดินบริเวณหนึ่ง
แผ่นดินก็ไหว พระราชาจึงได้ถามพระเถระว่าเหตุใดแผ่นดินจึงไหว พระเถระทูลตอบ
พระราชาว่า ณ บริเวณนี้ จะเป็นที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ อันไม่มีใครเหมือนเลย
พระราชาจึงได้ถามพระเถระว่าใครจะเป็นผู้สร้าง พระถระทูลว่าไม่ใช่พระองค์สร้างแต่
จะเป็นพระนัดดา(หลาน)คือพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยเป็นผู้สร้างพระมหาเจดีย์นี้
สมัยต่อมาในสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย พระองค์ได้ทรงทำสงครามกับพระราชา
ชาวทมิฬและทรงได้รับชัยชนะ จึงได้สร้างพระมหาเจดีย์รุวันเวลิสยาไว้เป็นอนุสรณ์ และภายในก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย ซึ่งพระมหาเจดีย์นี้เองเมื่อถึงคราวสิ้น
พระศาสนา พระบรมสารีริกธาตุจากที่ต่างๆจะมารวมตัวกันที่พระมหาเจดีย์นี้และไปสู่
นาคเจดีย์และท้ายสุดไปรวมกันที่โพธิบัลลังค์ ปรากฏเป็นรูปพระพุทธเจ้าอีกครั้งแต่ไม่
มีมนุษย์เหล่าใดเห็นเลย และเตโชธาตุคือไฟก็ลุกโชนพระบรมสารีริกธาตุหมดไม่เหลือ
อันเป็นการอันตรธานของพระศาสนาอย่างสิ้นเชิง
คาถา หมายถึง บทประพันธ์ หรือ บทร้อยกรองในภาษาบาลี เป็นบทที่กระชับ
ไพเราะ สละสลวย มีใจความที่ครบถ้วน (ไม่ว่าจะแปลเป็นภาษาใด ๆ ก็ตาม)
พระคาถาที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัส พร้อมทั้งคาถาที่พระอริย-
สาวกทั้งหลายได้กล่าวไว้ ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่จะต้องศึกษา
เพื่อความเข้าใจในพระธรรมที่ถูกต้อง
คาถาแต่ละคาถานั้น ประกอบด้วย ๔ บาท (หรือบางแห่ง ใช้คำว่า ๔ บท) เมื่อมี ๔
บาท หรือ ๔ บท จึงเป็น ๑ คาถา เช่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้า ๓๒๙
กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
คำแปล
"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม
เป็นของยาก, การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นการยาก"
- กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ (ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก) เป็นบาทที่ ๑
-กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ (ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก) เป็นบาทที่ ๒
-กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ (การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก) เป็นบาทที่ ๓
-กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท (การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก)
เป็นบาทที่ ๔
เมื่อครบทั้ง ๔ บาท จึงเป็น ๑ คาถา นั่นเอง คำอธิบายเรื่องคาถา ๔ บาท ก็มีด้วย
ประการฉะนี้
เรื่องการอันตรธานของพระศาสนา
1. ในยุค 1000 ปีแรก เป็นการอันตรธานของอธิคม คือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ ปฏิสัมภิทา
ก่อน แล้วหมดผู้ที่มีอภิญญา ต่อมาจึงถึงการเสื่อมของ วิชชา 3 จนกระทั่งไม่มีพระ
อรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาทาคามี เหลือแต่พระโสดาบัน และเมื่อพระโสดาบัน
องค์สุดท้ายสิ้นชีวิต ท่านเรียกว่าอันตรธานแห่งอธิคม
2. ในยุค 1000 ปีที่ 2 ท่านเรียกว่า ปฏิปัตติอันตรธาน คือพระภิกษุ ไม่สามารถ
ทำให้ฌานวิปัสสนา มรรค ผล นิพพาน บังเกิดได้ จึงพากันรักษาเพียงปาริสุทธิศีล
จนในตอนท้ายๆ ของยุค รักษาได้เพียงศีลปาราชิกเท่านั้น เมื่อภิกษุองค์สุดท้าย ที่ยัง
รักษาศีล อยู่ได้เสียชีวิต ถือว่าหมดยยุคของ ปฏิปัตติอันตรธาน
3. ในยุคที่ 3 คือ ยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเวลาผ่านมาประมาณครึ่งหนึ่งแล้ว ท่านเรียก
ว่า ปริยัตติอันตรธาน คือยังมี บาลีและอรรถกถาอยู่ แต่ผู้คนศึกษาให้เข้าใจน้อยลงไม่
สงเคราะห์ พระภิกษุ ไม่เข้าใจในอรรถ จำได้แต่บาลี ต่อมาเริ่มลืมบาลี พระอภิธรรมถูก
ลืมก่อน เหลือพระสูตรน้อยลงจนเหลือแต่เรื่องราวชาดกเท่านั้น จนกระทั่งเหลือคาถา 4
บทสุดท้าย แล้วก็สิ้นสุดยุค ปริยัติติอันตรธาน
4. ในยุคที่ 4 ท่านเรียกว่า ลิงคอันตรธาน หรืออันตรธานแห่งเพศ คือ เป็น
ยุคสมัยที่ไม่มีผู้ใดเข้าใจธรรมแล้ว แต่ยังมีภิกษุที่ถือบาตรและภาขณะเที่ยวไป ไม่มีการ
นุ่งห่มจีวรให้ถูกต้อง นานๆ เข้าพระภิกษุเหล่านี้ก็ตัดจีวรให้สั้นเข้าเหมือนชาวบ้าน และ
ต่อมาก็ใช้ผ้ากาสายะผูกเข้าที่ข้อมือ หรือมัดไว้ที่ผมเป็นเครื่องหมายว่าเป็นภิกษุ พา
กันมีลูกเมียทำการงานเหมือนชาวบ้าน จนกระทั่งไม่เห็นประโยชน์ของการทำเครื่อง
หมายแห่งเพศบรรพชิต โยนผ้าทิ้งเสียเรียกว่า สิ้นยุคของ ลิงคอันตรธาน
5. ยุคสุดท้ายที่พระพุทธศาสนาจะอยู่ในโลกนี้ ท่านเรียกว่า ธาตุอันตรธาน ท่าน
อธิบายว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ที่โพธิบัลลังก์ เรียกว่า กิเลสปรินิพพาน เมื่อพระ
พุทธองค์ดับขันธ์ที่ กรุงกุสินารา ท่านเรียกว่า ขันธ์ปรินิพพาน ต่อมาเมื่อศาสนาเสื่อม
ลงจนใกล้ครบ 5000 ปีหลังจากนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับการสักการะ ด้วยกำลัง
อธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่ๆ มีการสักการะ แล้วไปรวม
อยู่ที่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว จากนั้นจะแสดงปาฏิหาริย์ เรียกว่า ธาตุปรินิพพาน มีเทวดา
ในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันหมด มีเปลวเพลิงที่ สรีรธาตุ พลุ่งไปถึงพรหมโลก หมู่
เทพยดาพากันมาสักการะ พระสรีรธาตุก็อันตรธานไป เป็นอันสิ้นยุคพระศาสนา
หลังจากสิ้นอายุพระศาสนาแล้ว เป็นเวลานานมากครับ เรียกว่าเกินกว่าเราจะ
คิดคำนวณเลยครับ จึงจะมีการกำเนิดของพระศาสดาองค์ใหม่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ ย่างคือ
อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธาน
อันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่ง
ปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตร-
ธานแห่งธาตุ ๑. ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม. อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไป
ตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐
ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็
อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำ
วิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไป ๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา
๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็น
พระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้น
ยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป
เพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุด
ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.
ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิด
ได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์
และจะประกอบความเพียรเนือง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้ง
มรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มาก
ไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน
(ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย. เมื่อกาล
ล่วงไป ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ.
เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐
รูปบ้างผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่
อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือ
สิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรธานแห่งการปฏิบัติ
ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค
ภิกขุนิกขันธกวรรณนา (เริ่มที่หน้า 498) ว่าด้วยครุธรรม 8 ประการ มีข้อความ
แสดงว่า
การบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลจะมีได้ภายในห้าพันปี คือ ในพันปีแรกสามารถ
มีพระอรหันต์ที่มีคุณวิเศษประกอบด้วยปฏิสัมภิทาพร้อมด้วยฤทธิ์ พันปีที่สองสามารถ
มีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ(ไม่สามารถแสดงอิทธิฤทธิต่างๆได้) พันปีที่สามสามารถ
มีพระอนาคามี พันปีที่สี่สามารถมีพระสกทาคามี พันปีที่ห้าสามารถมีพระโสดาบัน ดัง
นั้นในปัจจุบันจึงไม่มีผู้บรรลุคุณธรรม ถึงขั้นพระอรหันต์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 554
ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง
ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี
๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน
ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้
แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะเมื่อ
ปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธ
ธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้วเพศ (แห่งบรรพชิต)
ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.
จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 167
ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่างคือ
ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่างคือ
อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธาน
อันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่ง
ปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตร-
ธานแห่งธาตุ ๑. ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม. อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไป
ตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐
ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็
อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำ
วิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไป ๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา
๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็น
พระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้น
ยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป
เพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุด
ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.
ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิด
ได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์
และจะประกอบความเพียรเนือง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้ง
มรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มาก
ไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน
ฯลฯ
ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิด
ได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์
และจะประกอบความเพียรเนือง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้ง
มรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มาก
ไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน
(ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย. เมื่อกาล
ล่วงไป ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ.
เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐
รูปบ้างผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่
อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือ
สิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรธานแห่งการปฏิบัติ.
บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์
คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายัง
บริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไป ๆ พระราชาและพระยุพราช
ในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่
ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาว
แคว้นและชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตาม
ฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์
เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถ
จะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัย
ก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ ปริยัติ
ย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำ
ไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะ
ทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน. เมื่อเสื่อม ก็เสื่อม
ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อ
ปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา
ธัมมสังคณี ก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎก เสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎก
ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่ออังคุตตรนิกาย
เสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้น
เอกนิบาต เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกาย ก็เสื่อม
ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่มหาวรรค เสื่อมก่อนแต่นั้นสฬายตนวรรค
ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตินิกายเสื่อมไป
อย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์
เสื่อมก่อน ต่อนั้น มัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์. เมื่อ
มัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่
ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อ
ทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้
เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น. ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระ
วินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตร
ก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ
แม้แค้ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้. ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้น
เวสสันตรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดก
เสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดก
เสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก
แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ขันธกะ
ภิกษุณีวิภังค์ ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้น
ตามลำดับ. แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาท
ยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน
ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์
หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไป
ในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือ
เอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยว
ตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้
เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษ
ทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.
ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธาน
แห่งพระปริยัตติ.
เมื่อกาลล่วงไป ๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การ
เหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส.
ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์
ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายัง
ไม่อันตรธาน. เมื่อกาลล่วงไป ๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไป
ด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง
กระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด
ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้ว
ใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมา ไม่การทำ
ทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก เมื่อกาลล่วงไป
ก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้า
กาสายะชิ้นเล็ก ๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการ
เลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา
ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
ปรินิพพาน ๑ ธาตุปรินิพพาน ๑. ในปรินิพพานทั้ง ๓ อย่างนั้น การ
ดับรอบแห่งกิเลสได้มีแล้วที่โพธิบัลลังก์ การดับรอบแห่งขันธ์ได้มีที่เมือง
กุสินารา การดับแห่งธาตุจักมีในอนาคต. ได้ยินว่า ในเวลาที่ศาสนา
ทรุดลง พระธาตุทั้งหลายก็จักไปรวมกันอยู่ในมหาเจดีย์ในเกาะตามพปัณ-
ณีทวีปนี้ ต่อจากมหาเจดีย์ก็จักไปรวมกันอยู่ที่ราชายตนเจดีย์ในนาคทวีป
ต่อแต่นั้น ก็จักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์. พระธาตุทั้งหลายจากภพแห่งนาค
ก็ดี จากพรหมโลกก็ดีจักไปสู่มหาโพธิบัลลังก์ทีเดียว. พระธาตุแม้มีประมาณ
เท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาด ก็จักไม่อันตรธานไปเลย. พระธาตุทั้งหมดก็จะรวม
กันเป็นกองอยู่ในมหาโพธิบัลลังก์ รวมกันอยู่แน่นเหมือนกองทองคำฉะนั้น
เปล่งฉัพพัณณรังสีออกมา. พระธาตุเหล่านั้นจักแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ.
ต่อแต่นั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมพร้อมกันแล้ว กล่าวกันว่า
พระศาสดาย่อมปรินิพพานไปในวันนี้ ศาสนาก็ย่อมทรุดโทรมไปในวันนี้
นี้เป็นการได้เห็นครั้งสุดท้ายของเราทั้งหลายในบัดนี้ ดังนี้แล้ว จักพากัน
กระทำความกรุณาอันยิ่งใหญ่ กว่าวันที่พระทศพลปรินิพพาน. เว้นพระ
อนาคามีและพระขีณาสพเสีย ภิกษุที่เหลือก็จักไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดย
ภาวะของตน. เตโชธาตุในบรรดาธาตุทั้งหลาย ก็จักลุกพุ่งขึ้นไปจนถึง
พรหมโลก เมื่อมีพระธาตุแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ ผักกาดอยู่ ก็จักลุกเป็นเปลว
เดียวกัน เมื่อธาตุทั้งหลายถึงความหมดแล้ว เตโชธาตุก็จักดับหายไป. เมื่อ
พระธาตุทั้งหลาย ได้แสดงอานุภาพอันใหญ่หลวงอย่างนี้แล้วหายไป
ศาสนาก็เป็นอันชื่อว่าอันตรธานไป.
ภาพพระเขี้ยวแก้ว ที่วัดมัลลิกา(วัดพระเขี้ยวแก้ว)เมืองแคนดี้ ศรีลังกา
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงปรินิพพานเมื่อวันเพ็ญ เดือน ๖ วิสาขบูชา ก็ได้มีการแบ่ง
พระบรมสารีริกธาตุ โดยโทณพราหมณ์ ซึ่งในส่วนของพระทันตธาตุที่เป็นพระเขี้ยวแก้ว
อันเป็นที่ตั้งของการแสดงธรรมของพระพุทธองค์ มีอยู่ 4 องค์
องค์ที่หนึ่งอยู่ที่เมืองนาค
องค์ที่สองอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
องค์ที่สามอยูที่คันธรัฐ
องค์ที่สี่อยู่ที่ศรีลังกา
สำหรับประวัติของพระเขี้ยวแก้วที่ประเทศศรีลังกานั้น ตามประวัติที่ได้กล่าวกันมาคือ
พระเถระรูปหนึ่งได้นำพระเขี้ยวแก้วไปมอบให้กับพระเจ้าพรหมทัตต์ แห่งนคร ทันตปุระ
ต่อมาสมัยพระเจ้าคุหะสีวะ ได้มีข้าศึกมาประชิดเมือง พระองค์ทรงเป็นห่วงพระเขี้ยว-
แก้ว จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าหญิงเหมมาลา ราชธิดากับเจ้าชายทันตกุมาร
ซึ่งเป็นพระนัดดาและพระสวามีของเจ้าหญิงเหมมาลา ให้นำพระเขี้ยวแก้วไปสู่เกาะ
ลังกา ทั้งสองพระองค์ต้องปลอมตัวเป็นพราหมณ์ ซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ที่มวยผมของ
เจ้าหญิงเหมมาลาและต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายและเมื่อไปถึงก็ได้นำถวายแด่พระเจ้า
เกียรติเมฆวรรณ ที่นครอนุราธปุระ เกาะลังกา
พระเขี้ยวแก้วก็ประดิษฐานอยู่ที่ประเทศศรีลังกา ตั้งแต่บัดนั้นและเมื่อย้ายเมืองหลวง
ก็จะอันเชิญพระเขี้ยวแก้วไปประดิษฐานด้วย ซึ่งประมาณปีพ.ศ. 2228-2250 พระ-
เจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 2 ได้อันเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมัลลิกาหรือเรียก
กันว่าวัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้จนถึงปัจจุบัน
การบูชาพระพุทธเจ้าอันประเสริฐสูงสุดก็คือการศึกษาธรรมและน้อมประพฤติปฏิบัติ
ตามพระธรรมด้วยการไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ เพราะฉะนั้นแม้ว่าพระ-
พุทธองค์จะปรินิพพานไปแล้ว แต่พระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้
นั้นเห็นเรา ผู้ที่ไม่เข้าใจพระธรรม แม้จะเห็นพระพุทธองค์ เห็นพระเขี้ยวแก้วก็ไม่
สามารถเห็นพระพุทธองค์ได้ เพราะพระพุทธองค์ตรัสรู้ความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม
ด้วยปัญญา ปัญญานั้นเองจะเป็นการเห็นพระองค์ เห็นเหมือนกับพระองค์เห็น คือสัจจะ
ความจริง การได้อ่านเรื่องศรีลังกา การได้มาศรีลังกาจะเกิดประโยชน์คือเจริญด้วย
ศรัทธา ด้วยความเข้าใจอันเกิดจากการศึกษาธรรม อันเป็นไปเพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติ
ตามพระธรรรม เวลาของทุกท่านเหลือน้อยแล้ว ขออนุโมทนาในกุศลศรัทธาของทุก
ท่าน ประวัติความเจริญทางพระพุทธศาสนาของศรีลังกา จบลงด้วยความเจริญกุศล-
จิต ของทุกท่านครับ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับครอบครัวมา 2 วันแล้ว
ให้อภัยทาน ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญวิปัสสนา เมื่อวานนี้ได้เจริญกสินลม และได้ศึกษาธรรมหลายชั่วโมง ฟังธรรม ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน สักการะพระธาตุ อาราธนาศีล ศึกษษการรักษาโรค
อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
นั้งสมาธิ เดินจงกรม อาราธนาศีล รักษาศีล
และวันนี้ตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง
ศึกษาธรรม เจริญสติปัฏฐาน 4 และเจริญกสิน
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ร่วมเป็นเจ้าภาพอิฐก้อนละ 5 บาท เพื่อสร้างพระวิหารวัดป่าโนนจ่าหอม
หมู่บ้านโพนเมือง ต. โพนเมือง อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี โทร 080-167-5445
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ