ในสมัยครั้งพุทธกาล ใครจะบวชหรือไม่บวชขึ้นอยู่ที่อัธยาศัย และการสะสม ถ้าบวช
แล้วเป็นพระภิกษุ แต่ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชื่อว่า เป็น
ภิกษุอลัชชี ภิกษุทุศีล เป็นผู้หลีกเลี่ยงคำสอน เป็นคนว่ายาก เป็นคนเลี้ยงยาก มัก
มาก ไม่สันโดษ ฯลฯ อย่างนี้เป็นคฤหัสถ์ที่ดีย่อมดีกว่า การเป็นคฤหัสถ์ที่ดี ประพฤติ
ตามพระธรรมคำสอนยังเป็นยาก การเป็นพระภิกษุที่ดี มีศีลมีความเห็นถูก ไม่ติดในลาภ
สักการะ ฯลฯ ยิ่งยากกว่ามาก คือ อย่างน้อยก่อนบวชควรหาพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์
เพื่อนพรหมจรรย์ ที่ดี มีศีล มีกัลยาณธรรม มีความเห็นถูก เป็นพหูสูตร ทรงธรรม ทรง
วินัย ฯลฯ เพื่อเป็นตัวอย่างในความประพฤติที่ตรงต่อพระธรรมวินัย ถ้าหาบุคคลดัง
กล่าวไม่ได้ก็เท่ากับการบวชของเรา ไปอยู่กับคนทุศีลอลัชชี ไม่มีคุณธรรม แล้วเราจะ
เป็นภิกษุเช่นไร...
สรุปคือ เป็นคนดีดีกว่า ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหน
การถือนิสัย คือ การเข้าไปอาศัยอุปัชฌาย์หรืออาจารย์อยู่ อธิบายว่า เข้าไปมอบตนเป็น
ศิษย์ อยู่รับใช้ท่าน อยู่ในโอวาทและการดูแลของท่าน อยู่ประพฤติวัตรที่สมควร มี
อุปัชฌายวัตร เป็นต้น ควรถือนิสัยกับพระภิกษุที่มีคุณธรรม มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป มีศีล
งาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร เป็นลัชชี มีความละอาย
ต่อบาป มีความเห็นถูกตรงตามพระธรรมวินัย มีปัญญาสามารถสอนแนะนำให้ศิษย์เห็น
แจ้งในธรรมได้ เป็นผู้ศึกษามามากเป็นพหูสูต เป็นต้น
การถือนิสัย คือ การเข้าไปอาศัยอุปัชฌาย์หรืออาจารย์อยู่ อธิบายว่า เข้าไปมอบตนเป็น
ศิษย์ อยู่รับใช้ท่าน อยู่ในโอวาทและการดูแลของท่าน อยู่ประพฤติวัตรที่สมควร มี
อุปัชฌายวัตร เป็นต้น ควรถือนิสัยกับพระภิกษุที่มีคุณธรรม มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป มีศีล
งาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร เป็นลัชชี มีความละอาย
ต่อบาป มีความเห็นถูกตรงตามพระธรรมวินัย มีปัญญาสามารถสอนแนะนำให้ศิษย์เห็น
แจ้งในธรรมได้ เป็นผู้ศึกษามามากเป็นพหูสูต เป็นต้น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 140
อุปัชฌายะวัตร
[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบในอุปัชฌายะ
วิธีประพฤติชอบในอุปัชฌายะนั้น มีดังต่อไปนี้:-
สัทธิวิหาริกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวาย
ไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌายะดื่ม
ยาคู แล้วพึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาด
แล้วเก็บไว้ เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ.
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา
พึงถวายประคดเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิเป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้ว ถวายพร้อม
ทั้งน้ำด้วย.
ถ้าอุปัชฌายะปรารถนาจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑล ๓ นุ่ง
ให้เป็นปริมณฑล แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิ ทำเป็นชั้น กลัดดุม
ล้างบาตรแล้ว ถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอุปัชฌายะ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก
ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร
เมื่ออุปัชฌายะกำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌายะกล่าว
ถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย.
เมื่อกลับ พึงมาก่อน แล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่ง
ผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อพึงผึ่งแดไว้ตระหนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิ
ให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌายะประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำ แล้วน้อม
บิณฑบาตเข้าไปถวาย พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน เมื่ออุปัชฌายะฉันแล้ว
พึงถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็คให้แห้ง
แล้ว ผึ่งไว้ที่แดดตระหนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เทียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึ่งเก็บบาตรไว้บน
พื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ
สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.
เมื่ออุปัชฌายะลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ทั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั่นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอุปัชฌายะใคร่จะสรงน้ำ พึ่งจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.
ถ้าอุปัชฌายะประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟแล้วเดินตามหลังอุปัชฌายะไป ถวายาดังสำหรับเรือนไฟแล้ว รับจีวร
มาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณถวายดิน.
ถ้าอุทสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเช้าเรือนไฟพึงเอาดินทาหน้า ปิด
ทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกขุผู้เถระ ไม่พึงห้าม
กันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรม แก่อุปัชฌายะในเรือนไฟ.
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือทั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างน้ำ
ทั้งช้างหลังออกจากเรือนไฟ.
พึงทำบริกรรมแก่อุปัชฌายะแม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน
ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของอุปัชฌายะ พึงถวาย
ผ้านุ่งพึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียม
น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอุปัชฌายะด้วยน้ำฉัน.
ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อุปัชฌายะแสดงบาลีขึ้น.
ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม.
อุปัชฌายะอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึง
ปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อน แล้ววางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูกหมอนออกวางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เตียงตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทก
บานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องปูฟื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง...
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 142
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง
และมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา
พึงเอาผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด
เสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ่งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทั้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม
เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดดขัดเช็คแล้วขนกลับตั้งไว้ที่เติม เทียงตั่ง พึงผึ่งแดด
ขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู
ขนกลับไปให้ดี ๆ แล้วทั้งไว้ตามเติม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดด
ทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึง
ผึ่งแดดเช็ดถูเสียแล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม.
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่งแล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรบนพื้นที่
ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ
สายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร.
ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวัน-
ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่
ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน กลางคืนพึงปิด ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้า
ต่างกลางวัน กลางคืนพึงเปิด.
ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้า
น้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ.
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือ
พึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าความ
รำคาญบังเกิดแก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิด
แก่อุปัชฌายะ สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึง
ทำธรรมกถาแก่อุปัชฌายะนั้น ถ้าอุปัชฌายะต้องอาบัติหนักควรปริวาส สัทธิ-
วิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่
อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะควรชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำความขวน
ขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌายะเข้าหาอาบัติเดิม ถ้า
อุปัชฌายะควรมานัต สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌายะ ถ้าอุปัชฌายะควรอัพภาน สัทธิวิหาริก
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌายะ.
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อุปัชฌายะ คือ ตัชชนียกรรม นิยส-
กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม สัทธิวิหาริก
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌายะ
หรือสงฆ์พึงนอัมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออุปัชฌายะนั้นถูกสงฆ์ลงตัชชนีย-
กรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม
แล้ว สัทธิวิหาริกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌายะ
พึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.
ถ้าจีวรของอุปัชฌายะจะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำความ
ขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌายะ ถ้า
จีวรของอุปัชฌายะจะต้องทำ สัทธิวิหาริกพึงทำ หรือพึงทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงทำจีวรของอุปัชฌายะ ถ้าน้ำย้อมของ
อุปัชฌายะจะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ. ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌายะ ถ้าจีวรของอุปัชฌายะ
จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌายะ เมื่อย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับ
มาให้ดี ๆ เมื่อหยดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.
สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌายะก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่
พึงรับบาตรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป
ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรม
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป ทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุ
บางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปนำบิณฑบาตมาให้ ไม่ลาอุปัชฌายะก่อน
ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ ถ้าอุปัชฌายะอาพาธ พึง
พยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
อุปัชฌาวัตร จบ
ตัวอย่างคุณธรรมของผู้ที่เป็นพระอุปชฌาย
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 198
ศุกลปักษ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง
ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-
๑. ประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.
๒. ประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.
๓. ประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.
๔. ประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
๕. ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ นี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
ศุกลปักษ์ ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ พึงให้อุปสมบท พึง
ให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก คือ:-
๑. ตนเองประกอบด้วยกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ และชักชวน
ผู้อื่นในกองศีล อันเป็นของพระอเสขะ.
๒. ตนเองประกอบด้วยกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ และชัก
ชวนผู้อื่นในกองสมาธิ อันเป็นของพระอเสขะ.
๓. ตนเองประกอบด้วยกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ และชัก
ชวนผู้อื่นในกองปัญญา อันเป็นของพระอเสขะ.
๔. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และชัก
ชวนผู้อื่นในกองวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ และ
๕. ตนเองประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ
และชักชวนผู้อื่นในกองวิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นของพระอเสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก. คือ
๑. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยศีล ในอธิศีล.
๒. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยอาจาระ ในอัธยาจาระ.
๓. เป็นผู้ไม่วิบัติด้วยทิฏฐิ ในทิฏฐิยิ่ง.
๔. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก และ
๕. เป็นผู้มีปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงให้อุปสมบท
พึงให้นิสัย พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก.
อภิธรรมต่อ
ธรรมชาติที่ชื่อว่าเจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง (หรือ ๕๒ ลักษณะ) ถ้าจะกล่าวโดยความเป็นขันธ์แล้วก็มี ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ บุคคลทั้งหลายเมื่อศึกษาเจตสิกธรรม ๕๒ ดวงนี้แล้ว ก็จะเข้าใจถึงสภาพตามความเป็นจริงที่จิตเป็นกุศลจิตบ้างอกุศลจิตบ้าง เพราะว่ามีเจตสิกธรรมปรุงแต่งจิตนั่นเอง เมื่อเข้าใจได้ถูกต้องก็จะสามารถเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้ขันธ์ทั้งหลายได้ และพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นบุคคลเมื่อจะเจริญวิปัสสนา ควรศึกษาพระอภิธรรม เพราะพระอภิธรรมศึกษาเรื่องปรมัตถ์ธรรม และปรมัตถ์ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาก็จะต้องเกิดขึ้นตามลาดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อปัญญาในขั้นปริยัติยังไม่มี ปัญญาขั้นปฏิบัติและปฏิเวธย่อมมีไม่ได้เป็นธรรมดา
เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ เทวดา พรหม เปรต หรือ สัตว์เดรัจฉาน เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง คือมีลักษณะเฉพาะๆ ตนถึง ๕๒ ลักษณะ แต่ทั้ง ๕๒ ดวงนี้ จะมีลักษณะพิเศษเหมือนกันอยู่ ๔ ประการ
เจตสิกมีลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต
๔. อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต
การทางานของเจตสิก
จิตกับเจตสิก ทั้ง ๒ นี้ เป็นนามธรรมเหมือนกันจึงเข้าประกอบกันได้สนิท จิตอุปมาเหมือนน้าที่ใสบริสุทธิ์ไม่มีสี เจตสิกอุปมาเหมือนสีต่าง ๆ เมื่อเอาสีเขียวใส่ลงไปในน้าแล้ว น้านั้นก็จะกลายเป็นสีเขียวไป เมื่อเอาสีแดงใส่
ลงไปในน้าแล้ว น้านั้นก็จะกลายเป็นสีแดง ทาให้เรียกชื่อว่า น้าเขียว น้าแดง เป็นต้น เมื่ออกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝุายไม่ดี เข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็จะทาให้จิตนั้นกลายเป็นจิตที่ชั่วหยาบ เป็นจิตที่เป็นบาป เป็นจิตที่ไม่ดีไปด้วย ถ้าเป็นกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝุายดี เข้าประกอบกับจิต ก็จะทาให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดี มีเมตตา กรุณา มีศรัทธา เป็นต้น จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น เห็นพระกาลังบิณฑบาต(จักขุวิญญาณจิตทาหน้าที่เห็น) เจตสิกปรุงแต่งจิตให้อยากทาบุญใส่บาตร เป็นต้น ในการนี้นับว่าการเห็นเป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตก็ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลมีการใส่บาตร เป็นต้น
เจตสิก มีจานวน ๕๒ ดวง แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล เรียกว่า อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง ๒. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นอกุศล เรียกว่า อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง ๓. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกุศล เรียกว่า โสภณเจตสิก มี ๒๕ดวง
ควรรู้จักชื่อของเจตสิกทั้ง ๕๒ นี้ โดยกาหนดรู้และจาเป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มที่ ๑ มี ๑๓ ดวง คืออะไรบ้าง เป็นต้น จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป เมื่อรู้จักชื่อแล้ว จึงจะมาศึกษาความหมายต่อไปเจตสิกกลุ่มที่ ๑
อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มี ๗ ดวง
ข. ปกิณณกเจตสิก มี ๖ ดวง
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง
ได้แก่ ๑. ผัสสเจตสิก ๒. เวทนาเจตสิก ๓. สัญญาเจตสิก ๔. เจตนาเจตสิก ๕. เอกัคคตาเจตสิก ๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก ๗. มนสิการเจตสิก สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง จะเข้าปรุงแต่งกับจิตทุกๆ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกแต่ละดวงมีลักษณะดังนี้ ๑. ผัสสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับการกระทบ คือรับกระทบสิ่งที่มาปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ กล่าวคือ รับภาพที่มากระทบกับตา รับเสียงที่มากระทบกับหู รับกลิ่นที่มากระทบกับจมูก รับรสที่มากระทบกับลิ้น รับความเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึงที่มากระทบกับกาย และรับเรื่องราวต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้นแล้วทาให้มีการประชุมพร้อมกันของปัจจัยธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ อารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ผัสสเจตสิกจึงมีหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ดังนี้ ๑. ประสาน อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรื่องราวต่าง ๆ ๒. ประสาน วัตถุ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๓. ประสาน วิญญาณ ๖ ได้แก่ ธรรมชาติที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และความรู้สึกนึกคิด ในมิลินทปัญหาได้เปรียบเทียบหน้าที่ของผัสสะไว้ว่า อุปมาเช่นแพะ ๒ ตัวชนกัน จักษุเหมือนแพะตัวที่หนึ่ง รูปเหมือนแพะตัวที่สอง ผัสสะเหมือนการชนกันของแพะทั้ง ๒ ตัว ผัสสะจึงมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประสานเป็นหน้าที่ ผัสสเจตสิกเมื่อเกิดขึ้นย่อมทาให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น เป็นธรรมดาว่าเมื่อผัสสะไม่เกิดขึ้นการรับอารมณ์ก็ไม่มีตามไปด้วย เช่น มีภาพมากมายที่มีอยู่ด้านหลังของเรา แต่การรับอารมณ์คือภาพที่ตั้งอยู่ด้านหลังของเรานั้นย่อมไม่ปรากฏเลยเพราะผัสสะยังไม่เกิด ต่อเมื่อเราหันหน้าไปยังภาพนั้นและเห็นภาพนั้น ผัสสะย่อมเกิดขึ้นและนาอารมณ์คือภาพนั้นมาสู่การรับรู้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าผัสสเจตสิกเมื่อเกิดย่อมทาให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น
๒. เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับรู้รสแห่งอารมณ์ คือรับรู้ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง(อุเบกขา) คือไม่สุข ไม่ทุกข์
เวทนาที่จัดไว้ ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา และเวทนาที่จัดไว้เป็น ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา อธิบายเวทนา ๕ ดังนี้ สุขเวทนา คือ ความสบายทางกาย การได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง) ที่ดีพอเหมาะทาให้กายเป็นสุข มีความสบายทางกาย เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิพอเหมาะสุขเวทนาทางกายก็เกิดขึ้นได้ ทุกขเวทนา คือ ความไม่สบายทางกาย ได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่พอดีไม่เหมาะทาให้กายเป็นทุกข์ โสมนัสเวทนา คือ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ โทมนัสเวทนา คือ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ
อุเบกขาเวทนา คือ ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ เป็นการรับรสอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกลางๆ มีความสงบ ความสงบทางใจนี้ไม่มีปีติประกอบ พึงสังเกตว่าเมื่อรู้สึกเฉยๆ โดยที่ใจไม่มีปีติ ขณะนั้นใจเป็นอุเบกขา เกิดได้ทั้งกาลังทากุศลและอกุศล เช่น รับประทานอาหารด้วยโลภะ รสชาติอาหารก็ไม่ได้ทาให้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขณะนั้นจิตเป็นโลภะมีเวทนาเป็นอุเบกขา หรือการทากุศล เช่น การใส่บาตรที่หน้าบ้านทุกวัน ซึ่งเป็นอารมณ์เดิมทุกๆ วัน บางครั้งจิตเป็นกุศลที่มีเวทนาเป็นอุเบกขา สรุปว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ดี ทุกขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ไม่ดี อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่เป็นกลางๆ
๓. สัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จา เช่น เด็กเล็กจา ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก ผู้ใหญ่จาเรื่องราวต่างๆ ได้ เป็นต้น ทั้งคนและสัตว์จะจาใน ๖ สิ่ง คือ จารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และจาเรื่องราวที่คิดนึกทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
๔. เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือการประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมเอาไว้แล้วกระทาออกมาทางกาย วาจา ใจ สาเร็จเป็นบุญบาป เจตนาที่ได้กระทาสาเร็จแล้วในกุศลและอกุศล จะส่งผลให้เมื่อตายไปก็จะต้องไปเสวยผลของกรรมที่ได้ทาไว้ คือ เจตนาในกุศลกรรมนาให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เจตนาในอกุศลกรรมนาให้เกิดในอบายภูมิ เจตนาเจตสิกจึงได้ชื่อว่าเป็น กรรม คือ การกระทาดี หรือไม่ดี นั่นเอง ๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์มี ๖ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น เอกัคคตาเจตสิกจะทาให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่ายไปในภาวะต่างๆ เปรียบเหมือนการดารงอยู่แห่งเปลวไฟของดวงประทีปในที่สงัดลม ๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก เป็นธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงรักษานามธรรม คือจิตและเจตสิกให้มีชีวิตอยู่ได้ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง ประดุจน้าหล่อเลี้ยงดอกบัว คาว่า “ชีวิต” มี ๒ อย่าง คือ ชีวิตนาม และ ชีวิตรูป ชีวิตนาม ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิกนี้เอง ส่วนชีวิตรูปจะได้ศึกษาต่อไปในบทเรียนชุดที่ ๕ เรื่องรูปปรมัตถ์ ๗. มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่น้อมจิตใจไปสู่อารมณ์ มนสิการ มี ๓ อย่าง คือ ๗.๑ การน้อมไปในอารมณ์ ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ ปัญจทวารวิถี เรียกว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการ ๗.๒ การน้อมไปในอารมณ์ที่เกิดทางใจ ซึ่งเรียกว่า ธัมมารมณ์ เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางใจ คือ มโนทวารวิถี เรียกว่า ชวนปฏิปาทกมนสิการ ๗.๓ ทาให้อารมณ์เป็นไป หมายความว่า ทาให้เกิดกระแสจิตเป็นไปต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิด คือ เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนกว่ามาปรากฏ ก็ทาให้เกิดกระแสจิตในอารมณ์เก่าได้ เรียกว่า อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ
สรุป สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
เจตสิกทั้ง ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ทุกดวง จึงได้ชื่อว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ข. ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทั่วไป ได้แก่ ๑. วิตกเจตสิก ๒. วิจารเจตสิก ๓. อธิโมกข์เจตสิก ๔. วิริยเจตสิก ๕. ปีติเจตสิก ๖. ฉันทเจตสิก ปกิณณกเจตสิก แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. วิตกเจตสิก คือ ความตรึก ลักษณะของวิตกนั้นเกิดขึ้นทาให้มีการยกธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันขึ้นสู่อารมณ์
แสดงข้อเปรียบเทียบลักษณะของวิตกไว้ว่า บุรุษชาวบ้านบางคน เพราะอาศัยมิตรผู้เป็นราชวัลลภหรือมิตรผู้มีความสัมพันธ์กับพระราชา จึงตามเข้าไปสู่พระราชวังได้ฉันใด จิตเพราะอาศัยวิตกเจตสิก จึงย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ฉันนั้น วิตก ถ้าประกอบกับอกุศลจิต จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ จะตรึกในอกุศล เป็นเหตุให้อกุศลธรรมนั้นเจริญ ตั้งมั่น เพราะว่าการตรึกนึกนั้นเป็นเหตุให้อกุศลนั้นมีกาลังมาก
วิตก ถ้าประกอบกับกุศลจิต จัดเป็นสัมมาสังกัปปะ จะตรึกในกุศล ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความที่เป็นกุศล โดยที่เป็นการดาริ(ตรึก)ที่ตรงกับความจริง และเป็นความดาริ(ตรึก)ที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏ ๒. วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตรอง พิจารณา อารมณ์ โดยสภาวธรรมของวิตกและวิจารมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่วิตกจะมีสภาพหยาบและเกิดขึ้นก่อน และทาให้จิตเข้าไปสู่อารมณ์ก่อน เปรียบเทียบดังนี้ วิตกเหมือนเสียงตีระฆัง วิจารมีสภาวะละเอียด เกิดตามหลังและเป็นสภาวะที่จิตติดตามอารมณ์ วิจารจึงเหมือนเสียงครวญของระฆัง หรืออุปมา เช่นบุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะที่เป็นสนิม เอามืออีกข้างหนึ่งขัดด้วยแปรง วิตกเปรียบเหมือนมือที่จับไว้ วิจารเปรียบเหมือนมือที่ขัด ความแตกต่างของวิตกและวิจาร จะปรากฏชัดในฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ นักศึกษาจะได้ศึกษาในชุดบทเรียนที่ ๙ เรื่องสมถกรรมฐาน ๓. อธิโมกข์เจตสิก เป็นธรรมชาติของความตัดสินใจ เป็นภาวะที่จิตตัดความสงสัยในอารมณ์ว่าเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ แล้วก็ดาเนินไปตามที่ตัดสินใจโดย ๔. วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เพียรพยายาม มีความอาจหาญในการงาน บุคคลที่มีวิริยะจะเป็นผู้ที่สามารถทาการงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ไม่ว่าจะยากหรือง่าย จะไม่คานึงถึงความลาบากของตน จะประคับประคองกายกับจิตอยู่เสมอเพื่อให้งานสาเร็จลุล่วงไปได้
ในบางครั้งจิตของคนเราเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยในการทาความดี วิธีที่จะปลุกใจให้ทาความดีต่อไปนั้นให้พิจารณาถึง สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ที่จะต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ถ้านึกถึงความทุกข์ที่รออยู่ข้างหน้ามากมาย จะเกิดวิริยะเพียรพยายามที่จะกระทากุศลให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา ใจ กุศลทางกาย ทางวาจา ทาให้เราพ้นทุกข์โดยไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น ไม่สามารถให้พ้นไปจากทุกข์ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ แต่การทากุศลทางใจ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทาให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้
วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นมิจฉาวายามะ เพราะเพียรผิด เมื่อเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาวายามะ เพราะเพียรถูก
๕. ปีติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทาให้กายและจิตเกิดความเอิบอิ่ม มีความปลื้มใจ มีความปราโมทย์ ปีติเจตสิกเกิดขึ้นในขณะที่ทาบุญทากุศล เจริญสมาธิ หรือในขณะที่ยินดีพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ปีติก็เกิดขึ้นได้
ลักษณะของปีติมี ๕ ประการ คือ
๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ทาให้ขนลุก
๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะเกิดขึ้นเหมือนสายฟูาแลบเป็นขณะๆ
๓. โอกกันติกาปีติ ปีติซึมซาบเกิดขึ้นในร่างกายแล้วแผ่กระจายเหมือนคลื่นกระทบฝั่งสมุทร
๔. อุพเพงคาปีติ ปีติมีกาลัง สามารถยังกายให้ฟูแล้วลอยไปในอากาศได้
๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านทั่วร่างกาย เหมือนสาลีที่ชุ่มด้วยน้า
ข้อเปรียบเทียบระหว่าง ปีติกับสุข ปีติ มีลักษณะ คือ มีความแช่มชื่นในอารมณ์ สุข มีลักษณะ คือ มีการได้รสแห่งอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนคนที่เดินทางไกลเหนื่อยล้า เมื่อพบเห็นน้า ปีติก็เกิดขึ้นมีความแช่มชื่นยินดีเพราะได้เห็นน้า ถ้าเขาได้ดื่มน้าก็จะเกิดสุข ๖. ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความปรารถนา คือปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ มี รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ฉันทะถึงแม้จะมีความปรารถนาในอารมณ์ ก็ไม่ได้ปรารถนาด้วยความเพลิดเพลินกาหนัดและผูกพัน แต่ปรารถนาด้วยความต้องการจะให้สาเร็จประโยชน์นั้นๆ อุปมาเหมือนนายขมังธนูของพระราชาผู้ต้องการทรัพย์หรือเกียรติยศ ย่อมปรารถนาลูกศรจานวนมาก ถึงแม้นลูกศรที่ได้มาก็เพื่อการยิงออกไป ไม่ได้เก็บยึดรักษาลูกศรไว้เป็นของตน ข้อแตกต่างระหว่างฉันทะกับโลภะ
ฉันทะ มีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์ แต่ไม่ยึดมั่นไม่ติดข้องใน อารมณ์ โลภะ มีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วย ทั้งยึดมั่นและติดข้อง ในอารมณ์ด้วย การเข้าใจฉันทะและโลภะให้ถูกต้อง เป็นการฝึกให้เข้าใจถูกต้องในนามธรรม ย่อมเป็นประโยชน์เมื่อไปเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้นามและรูป การรู้จักนามก็ต้องรู้จักลักษณะของนาม การรู้จักรูปก็ต้องรู้จักลักษณะของรูป ฉะนั้นเมื่อศึกษาแล้วควรน้อมพิจารณาจิตใจของตนว่าขณะนี้เรามีนามธรรมชนิดใดเกิดขึ้น เช่น ในขณะที่กาลังนั่งเจริญวิปัสสนา เรามีฉันทะที่จะเจริญวิปัสสนา หรือมีโลภะที่จะเจริญวิปัสสนา ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเรามีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์(แสวงหาอารมณ์เพื่อการปฏิบัติธรรม) และสังเกตดูว่าเรายึดมั่นติดข้องในอารมณ์นั้นหรือไม่ ถ้าไม่ติดในอารมณ์นั้น นั่นก็แสดงว่าเรามีฉันทะในการเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าแสวงหาอารมณ์แล้วก็ชอบอารมณ์นั้น ชอบที่จะนั่งตรงที่เราเลือกแล้ว ไปนั่งที่อื่นไม่ได้ หรือใครๆ จะมานั่งตรงที่ๆ เราคิดว่าเป็นของเราไม่ได้ ไม่พอใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าสภาวธรรมเป็นโลภะแล้ว เพราะโลภะมีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วย ทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วย
สรุป ปกิณณกเจตสิก ๖
ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทุกดวง
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนาให้ธรรมะเป็นทาน
อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำ ให้อภัยทาน
นั่งสมาธิ เดินจงกรม สวดมนต์ เมื่อวานนี้ได้เจริญอาโปกสิน
และสวดมน๖ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ศึกษษการรักษาโรคมาหลายวันแล้ว
ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล อาราธนาศีล เมื่อวานนี้ได้นำพระธาตุ
ไปบรรจุที่องค์พระ และวันนี้ตั้งใจว่าจะสร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง
และได้สักการะพระธาตุ และถวายข้าวพระพุทธรูป ให้อาหารสัตว์เป็นทาน
มาหลายวันแล้ว และเมื่อวานนี้ได้ไปสนทนาธรรมศึกษาธรม ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมมุงหลังคากุฏิ แผ่นละ 48 บาท
โทร 083-7348224
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ