Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ควรรู้พร้อมสติ

พฤหัสฯ. 11 มี.ค. 2010 7:43 pm

นิมิต

นิมิตฺต ( การกำหนด , เครื่องหมาย )

เครื่องหมายให้เกิดกิเลส หมายถึง ส่วนหยาบที่เป็นรูปร่าง สัณฐาน ความหมาย

ที่จิตคิดถึงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

เช่น เห็นเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เป็นโต๊ะเก้าอี้ ได้ยินเสียงผู้หญิงหรือผู้ชาย ได้

กลิ่นดอกไม้ ลิ้มรสเป็ดไก่ ถูกต้องสัมผัสสำลี คิดนึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเป็นไปด้วย

อกุศลจิต เป็นการยึดนิมิต


ขณะที่รู้รูปร่างสัณฐาน ความหมายต่างๆ ด้วยกุศลจิต ขณะนั้นไม่ใช่เป็นการ

ยึดนิมิต แต่เป็นบัญญัติอารมณ์ของกุศลจิตเท่านั้น

คำว่า สังขารนิมิต มีความหมายหลายนัย คือ โดยนัยที่เป็นสภาพที่เป็นสังขาร

ธรรมกับวิสังขารธรรม พระนิพพานเป็นวิสังขารธรรม ออกจากสังขารธรรม หรือออก

จากสังขารนิมิต ผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนปัญญาแก่กล้า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

(โคตรภูญาณ)ขณะนั้นออกจากสังขารนิมิต อีกอย่างหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของเราเรา

อยู่กับสังขารธรรมที่เรียกว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เกิดดับ แต่เราไม่ประจักษ์แจ้งความ

เกิดดับของสังขารธรรมเหมือนกับว่าต่อเนื่องกันตลอด เป็นสังขารนิมิต คือ นิมิต

ของสังขาร ไม่ใช่ลักษณะของสังขารจริงๆ บางนัยท่านกล่าวถึงนิมิตของขันธ์ทั้งห้า

คือ รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต ซึ่งหมายถึง

ขันธ์ห้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 57

.................................. บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ รูปนิมิต เวทนา-

นิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต และวิญญาณนิมิต. พระโยคาวจรไม่

มนสิการรวมกันซึ่งนิมิตเหล่านั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น

ด้วยการรวมนิมิตทั้งปวง. เพราะฉะนั้น อารมณ์ของภวังคจิตอันใดมีอยู่

การออกจากผลสมาบัติย่อมมีโดยมนสิการถึงอารมณ์นั้น พึงทราบการออก

จากผลสมาบัตินั้นด้วยประการอย่างนี้ . ท่านกล่าวว่า วิมุตติสุขํ ปฏิสํเวที

ดังนี้ หมายเอาการเข้า การตั้งอยู่ และการออกจากผลสมาบัติ ดังกล่าวมานี้

และละการกำหนดสังขารนิมิต อันตรงกันข้ามกับพระนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณ

นี้ ชื่อว่าตทังคปหาน.

สุญญตวิโมกข์ เพราะว่างและพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้นเหล่านั้น อนึ่ง พระ-

นิพพาน ชื่อว่า หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีนิมิตมีราคะเป็นต้น และเพราะไม่มี

สังขารนิมิต ท่านเรียกว่า อนิมิตตวิโมกข์ เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้นเป็นนิมิต

และว่างจากกิเลสเหล่านั้น พระนิพพานชื่อว่า หาที่ตั้งมิได้ เพราะไม่มีที่ตั้งมี
๑๐. อรรถกถาโคตรภูญาณุทเทส

ว่าด้วย โคตรภูญาณ

ในคำว่า พหิทฺธา วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญา โคตฺรภูญาณํ

แปลว่า ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอกเป็น

โคตรภูญาณ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า พหิทฺธา ได้แก่สังขารนิมิต. เพราะว่า สังขารนิมิตนั้น

ท่านกล่าวว่า พหิทฺธา - ภายนอก เพราะอาศัยอกุศลขันธ์ในจิตสันดาน

ในภายใน. เพราะฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นย่อมออก คือตั้งอยู่ในเบื้องบน

ปราศจากสังขารนิมิตภายนอก ฉะนั้นโคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานะ,

โคตรภูญาณนั้นย่อมหลีกออก ย่อมหมุนกลับ คือหันหลังให้ ฉะนั้น

โคตรภูญาณนั้นจึงชื่อว่าวิวัฏฏนะ วุฏฐานะนั้นด้วย วิวัฏฏนะนั้นด้วย

ฉะนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวิวัฏฏนะ. เพราะเหตุนั้นท่านพุทธโฆสาจารย์

จึงกล่าวว่า

โคตรภูญาณ ยังไม่ออกจากปวัตตขันธ์

เพราะตัดสมุทัยยังไม่ขาด แต่ออกจากนิมิตได้

เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ฉะนั้นจึงชื่อว่า

เอกโตวุฏฐานะ คือออกจากสังขารนิมิตโดยส่วน

เดียว ดังนี้.

แม้ที่กล่าวแล้วในก่อนว่า ทุภโต วุฏฺฐานวิวฏฺฏเน ปญฺญฺา - ปัญญา

ในการออกและหลีกจากกิเลสขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้ง ๒
นิมิต แปลว่า ความกำหนด , ลาง , รูปเปรียบ , เหตุ , มูลเค้า , เครื่องหมาย เป็นต้น

ในแต่ละแห่งมีความหมายแตกต่างกัน เช่น นิมิตอนุพยัญชนะอย่างหนึ่ง นิมิตของสม

ถภาวนาอย่างหนึ่ง นิมิตของสังขารอย่างหนึ่ง กรรมนิมิต คตินิมิต เป็นต้น สำหรับ

ผู้เจริญสมถภาวนาบางอารมณ์จะมีนิมิตของอารมณ์นั้นเมื่อจิตสงบถึงระดับขั้นต่าง ๆ มี

อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตตามลำดับซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้ในวิสุทธิมรรค

สมาธินิเทศ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรคเล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘

บทว่า อนุพฺยญฺชโส นิมิตฺตคฺคาโห ความว่า ถือเอาโดยนิมิต

โดยแยกถือเป็นส่วน ๆ อย่างนี้ว่า มืองาม เท้างาม ดังนี้.

บทว่า นิมิตฺตคฺคาโห ได้แก่ รวมถือเอา เช่น สตรี บุรุษ.

บทว่า อนุพฺยญฺชคฺคาโห ได้แก่ แยกถือเอา เช่น มืองาม เท้างาม

การยิ้ม.

การถือเอาโดยนิมิต ก็เช่นเดียวกับร่างจระเข้ ย่อมถือเอาทั้งหมด

ทีเดียว.

การถือเอาโดยอนุพยัญชนะ แยกถือเอาส่วนนั้น ๆ บรรดาส่วน

ทั้งหลาย มีมือและเท้าเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

บทว่า นิมิตฺตคฺคาหี เป็นผู้ถือนิมิต คือ ถือนิมิตหญิงและชาย

หรือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส มีสุภนิมิตเป็นต้นด้วยอำนาจฉันทราคะ.

เพียงเห็นเท่านั้นนิมิตไม่ปรากฏ.

บทว่า อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือถืออาการหัน ต่าง

ด้วยมือ เท้า หัวเราะ ขบขัน พูด ชำเลืองดู และการเหลียวดู เป็นต้น

เรียกว่าอนุพยัญชนะ เพราะทำให้ปรากฏ โดยเป็นเหตุให้กิเลสทั้งหลาย

ปรากฏ.

ตามหลักฐาน แสดงว่า นิมิต อนุพยัญชนะ เป็นชื่อและรูปร่าง

สันฐาน ไม่ใช่ปรมัตถธรรม


การที่บุคคลใดจะประกอบอาชีพหรือการงานประเภทใด ย่อมขึ้น

อยู่ที่อัธยาศัยและการสะสม แม้การดำรงเพศก็มี ๒ อย่างคือ คฤหัสถ์ และบรรพ-

ชิต ก็เป็นไปตามอัธยาศัย ผู้ที่เป็นบรรพชิต ย่อมมีมรรยาทและความประพฤติ

การดำรงชีวิตต่างจากคฤหัสถ์โดยสิ้นเชิง ราวฟัากับดิน คือ เว้นจากกิจที่ชาวบ้าน

เขากระทำกัน ดังนั้น เรื่องของการละเล่น ดนตรี มหรสพต่างๆ เป็นกิจที่ชาวบ้าน

ผู้ครองเรีอน เขาทำกัน ไม่เป็นเบียดเบียนใคร ไม่ผิดศีล ของคฤหัสถ์ จึงไม่ใช่สิ่ง

ต้องห้ามสำหรับคฤหัสถ์ ส่วนผู้ที่เป็นบรรพชิตทั้งหลายย่อมเว้นจากการละเล่น

ถ้าไม่เว้นย่อมมีโทษ ผิดพระวินัย ส่วนคฤหัสถ์ผู้แสดงการละเล่น ถ้าเข้าใจผิดว่า

การแสดงทำให้คนอื่นหัวเราะมีความสุข ตนเองจะได้บุญ เพราะการเล่นนั้น ความ

เห็นนั้น เป็นความเห็นผิด มีโทษ อนึ่งถ้าพิจารณาโดยนัยอกุศลกรรมบถ ๑๐

การละเล่นบางประเภทอาจจะเข้าข่ายทุจริตทางวาจา คือ สัมผัปปลาปะ การ

พูดเพ้อเจ้อ ก็ได้ ซึ่งเป็นอกุศลกรรมซึ่งมีโทษ ทำให้เกิดในอบายได้ครับ
ธรรมะเป็นเรื่องละเอียด ควรศึกษาโดยละเอียดจึงจะได้รับความถูกต้อง โดยเฉพาะ

เรื่องกรรม ทรงแสดงว่าอกุศลกรรมบถ ทำให้เกิดในอบายภูมิ กุศลกรรมบถทำให้

เกิดในสุคติภูมิ สำหรับปุถุชน เป็นผู้มีคติไม่แน่นอน จะประกอบอาชีพใดก็ตามย่อม

มีโอกาสเกิดในสุคติหรืออบายภูมิก็ย่อมได้ทั้งสิ้น คือ ในขณะใกล้ตาย กรรมประเภท

ใดจะทำกิจนำเกิด คือ ถ้ากุศลกรรมนำเกิดย่อมเกิดในสุคติภูมิ ถ้าอกุศลกรรมนำเกิด

ย่อมเกิดในอบายภูมิ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร แต่ขึ้นอยู่ที่กรรมนำเกิด เพราะทุก

อาชีพมีการกระทำทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม

ส่วนข้อความในตาลปุตตสูตร กล่าวถึงนักฟ้อนที่มาทูลถามปัญหาเรื่องอาชีพนักเต้น

รำที่มีความประมาทและความเห็นผิดและที่สำคัญต้องประกอบพระธรรมในส่วนอื่นด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

๒. ตาลปุตตสูตร

ว่าด้วยปัญหาของนักเต้นรำชื่อว่าตาลบุตร

[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น พ่อบ้านนักเต้นรำ

นามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ

นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใด

ทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง กลางสถานเต้นรำ

กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย

แห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้

กะเราเลย.

[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ . . . . แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า

ตาลบุตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

องค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อนๆ กล่าวว่า

นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง

ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสอย่างไร.

[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี เราห้าม

ท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถาม

ข้อนี้กะเราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูก่อนนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์

ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำ

รวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถาน

เต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น. เมื่อก่อน

สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นัก-

เต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ

ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น. เมื่อก่อนสัตว์

ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ

ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ

ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น

ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

บังเกิดในนรกชื่อปหาสะ. อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำ

คนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลาง

สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ. ความเห็นของเขานั้นเป็น

ความเห็นผิด. ดูก่อนนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่าง คือ นรกหรือ

กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด

ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282


โสณนันทชาดก

ฯลฯ

"มารดาเมื่อหวังผลคือบุตร ย่อมนอบน้อม

เทพดา ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย. เมื่อ

มารดาอาบแล้ว ในเพราะฤดู, สัตว์เกิดในครรภ์

ย่อมก้าวลง, ด้วยเหตุนั้น มารดา ท่านจึงเรียก

ว่า 'โทหฬินี (หญิงแพ้ท้อง),' ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงเรียกว่า 'สุหทา (หญิงมีใจดี).' มารดา

นั้น ถนอม (ครรภ์) ปีหนึ่งหรือหย่อนปีหนึ่ง

แล้ว จึงคลอด ด้วยเหตุนั้น ๆ ท่านจึงเรียกว่า

'ชนยนฺตี ชเนตฺตี (ผู้ยังบุตรให้เกิด).' มารดา

ปลอบโยนบุตรผู้ร้องไห้ด้วยน้ำนม ด้วยเพลง

ขับ และด้วยเครื่องกกคืออวัยวะ, ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงเรียกว่า 'โตเสนฺตี (ผู้ยังบุตรให้ยินดีหรือ

ปลอบโยน).' แต่นั้น เมื่อลมและแดดแรงกล้า

มารดาทำความหวั่นใจ คอยแลดูบุตรผู้ยังเป็นทารก

ไม่เดียงสา, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า โปเสนฺตี

(ผู้เลี้ยง). ทรัพย์ของมารดาอันใดมีอยู่ และทรัพย์

ของบิดาอันใดมีอยู่, มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์

แม้ทั้ง ๒ นั้นไว้เพื่อบุตรนั่น ด้วยหวังว่า เออก็

ทรัพย์ทั้งหมดนี้ ควรเป็นของบุตรเรา.' มารดา

เมื่อให้บุตรสำเหนียกว่า 'อย่างนี้ลูก อย่างโน้นลูก

เป็นต้น ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้, เมื่อ

บุตรถึงความเป็นหนุ่มแล้ว มารดารู้ว่า บุตรมัวเมา

ในภริยาของผู้อื่น ในเวลาค่ำคืน ไม่กลับมาใน

เวลาเย็น ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้.

บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบาก

อย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดใน

มารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วย

ความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประ-

พฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่า

เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้

ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึง

ความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา

แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อม

ฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความ

รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก

เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความ

รื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุก

เมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคห-

วัตถุ ๔ ประการนี้ คือทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจา

คำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑

สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย

ตามสมควรในที่นั้น ๆ ๑

ฯลฯ


เจตสิกกลุ่มที่ ๒ เจตสิกฝุายไม่ดี เรียกว่า อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ
ก. โมจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง ข. โลติกเจตสิก มี ๓ ดวง ค. โทจตุกเจตสิก มี ๔ ดวง ง. ถีทุกเจตสิก มี ๒ ดวง
จ. วิจิกิจฉาเจตสิก มี ๑ ดวง
อกุศลเจตสิก เป็นเจตสิกที่ชั่ว บาป หยาบ ไม่งาม ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้เมื่อเข้าประกอบกับจิต จะทาให้จิตนั้นเป็นจิตชั่ว หยาบ เป็นบาป เป็นจิตที่ไม่ดี เศร้าหมอง เร่าร้อน ในบทเรียนชุดที่ ๒ และ ๓ ได้ศึกษาเรื่องจิตประเภทต่างๆ มีอกุศลจิต ๑๒ เป็นต้น เมื่อท่านได้ศึกษาเรื่องเจตสิกจากบทเรียนชุดนี้แล้วท่านจะทราบเหตุผลว่าทาไมจิตจึงเป็นอกุศลบ้าง กุศลบ้าง
ก. โมจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความหลง ได้แก่ ๑. โมหเจตสิก ๒. อหิริกเจตสิก ๓. อโนตตัปปเจตสิก ๔. อุทธัจจเจตสิก ๑. โมหเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เป็นความหลง ความไม่รู้ความจริง ไม่รู้เรื่องทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ โมหะเมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมทาให้ลุ่มหลง โมหะจัดเป็นอวิชชาเพราะเป็นศัตรูกับวิชชา หรือเพราะรู้แต่ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เมื่อโมหะเกิดขึ้นย่อมปล้นกุศลจิต ปิดกั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและปิดกั้นพระนิพพาน โมหะจัดเป็นมูลเป็นรากเหง้าแห่งอกุศลทั้งปวง ๒. อหิริกเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่น่าละอาย จึงเป็นเหตุให้กระทาบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อหิริกะนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายใน ๔ ประการ คือ
๒.๑ ไม่พิจารณาถึงชาติ เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีชาติสมบูรณ์ การประพฤติทุจริตต่างๆ นี้เป็นการกระทาของพวกคนเลวคนต่าทราม บุคคลเมื่อไม่พิจารณา จึงทาอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สาเร็จได้ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ได้แก่ ทางกาย ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดทางกาม ทางวาจา ๔ คือ โกหก ส่อเสียด คาหยาบ เพ้อเจ้อ ทางใจ ๓ คือ เพ็งเล็งอยากได้ พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
๒.๒ ไม่พิจารณาถึงวัย เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้อยู่ในวัยกลางคน , วัยสูงอายุ การทาความชั่วทั้งหลายไม่ควรเกิดขึ้นกับคนวัยเช่นเรานี้ เมื่อไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทาอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สาเร็จได้ ๒.๓ ไม่พิจารณาถึงความแกล้วกล้า เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้ที่แกล้วกล้า , มีความสามารถ การประพฤติความชั่วเป็นการกระทาของคนที่ไม่มีความสามารถ เมื่อไม่พิจารณาเช่นนี้จึงทาอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สาเร็จได้ ๒.๔ ไม่พิจารณาถึงความคงแก่เรียน เช่น ไม่พิจารณาว่าเราเป็นผู้มีการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม การกระทาความชั่วนี้เป็นการกระทาของคนอันธพาล ไม่ใช่การกระทาของคนฉลาด เมื่อไม่พิจารณาว่าการกระทาความชั่วเช่นนี้ไม่สมควรแก่ผู้คงแก่เรียนผู้ฉลาดเช่นเรา จึงทาอกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่งให้สาเร็จได้ ๓. อโนตตัปปเจตสิก คือธรรมชาติที่ความไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว จึงเป็นเหตุให้กระทาบาปอกุศลธรรมทั้งปวงได้ทั้งทางกาย วาจา ใจ อโนตตัปปะเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุที่เป็นเหตุภายนอก ๒ ประการ คือ
๓.๑ ไม่เกรงกลัวต่อการติเตียนของผู้อื่นจึงทาอกุศลกรรมบถต่างๆ ให้ประจักษ์ แก่สายตาของผู้อื่นได้ ๓.๒ ไม่เกรงกลัวต่ออบาย มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัชฉาน บุคคลเมื่อไม่กลัว ภัยในอบาย จึงทาอกุศลกรรมบถต่างๆ ให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นได้
ข้อเปรียบเทียบระหว่างอหิริกะ และอโนตตัปปะ
อหิริกะ คือ ความไม่ละอายต่อบาป
อโนตตัปปะ คือ ความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาป
ผู้ไม่มีหิริย่อมไม่เกลียดบาป เหมือนสุกรไม่เกลียดอุจจาระ ผู้ไม่มีโอตตัปปะย่อมไม่กลัวบาป เหมือนตั๊กแตนไม่กลัวไฟจึงพากันบินเข้าหากองไฟ ๔. อุทธัจจเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความฟุูงซ่าน ความไม่สงบใจ มีความพลุ่งพล่านไปในอารมณ์ จิตที่มีอุทธัจจเจตสิกปรุงแต่งจะมีสภาพเหมือนกับขี้เถ้าที่ฟุูงกระจายเพราะถูกลมพัด สภาวธรรมของโมจตุกกะเจตสิก ๔ ที่ปรากฏ มีข้อสังเกตได้ดังนี้ ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล พึงทราบว่าขณะนั้น มีโมหะ(อวิชชา) คือ ความไม่รู้เกิดขึ้น และมีอหิริกะคือความไม่ละอายเกิดขึ้น และมีอโนตตัปปะคือความไม่เกรงกลัวต่อบาปเกิดขึ้น และมีอุทธัจจะคือความฟุูงซ่านกระวนกระวายใจ เกิดขึ้นร่วมกันทั้งหมดแล้ว
เมื่อศึกษาลักษณะต่างๆ ของเจตสิกฝุายอกุศลนี้แล้ว จึงควรฝึกพิจารณา ฝึกสังเกต ก็จะพบความจริงของสภาวธรรมได้ด้วยตนเอง ถ้าพิจารณาได้ถูก สังเกตได้ชัดแจ้งตรงกับความจริงที่กาลังปรากฏ ก็นับว่าท่านกาลังเจริญวิปัสสนา ถ้าปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ปรากฏเกิดขึ้นกับท่านอยู่เนืองๆ เสมอๆ วันหนึ่งท่านก็จะหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นใน
รูปนาม เพราะท่านได้เห็นความจริงของรูปนามได้ด้วยตัวท่านเองแล้ว สรุป โมจตุกเจตสิก ๔ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ เป็นเจตสิกที่เป็นสาธารณะแก่อกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด และโมจตุกเจตสิกทั้ง ๔ นี้ ก็เกิดรวมได้ในคราวเดียวกันพร้อมกันทั้งหมด ๔ ดวง
ข. โลติกเจตสิก ๓ กลุ่มของความโลภ ได้แก่ ๑. โลภเจตสิก ๒. ทิฏฐิเจตสิก ๓. มานเจตสิก ๑. โลภเจตสิก เป็นธรรมชาติที่โลภ อยากได้ ในอารมณ์ ๖ และมีความติดข้องในอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่น ความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ความพอใจในความสวยงามของเรือนร่าง ในน้าเสียง อุปมาแม่น้าที่มีกระแสเชี่ยวย่อมไหลไปสู่มหาสมุทร ฉันใด อกุศลธรรมคือโลภะก็ฉันนั้น ย่อมนาพาไปสู่อบายอย่างเดียว โลภะนั้นมีลักษณะที่ละเอียดอ่อนจนบางครั้งไม่ทราบเลยว่าโลภะกาลังเกิดขึ้น เช่น ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน ความหวัง ความกระหยิ่มใจ เหล่านี้ถ้าพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีโลภะเป็นเหตุอยู่ด้วย ฉะนั้น โลภะ จึงเป็นส่วนของโอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน นิวรณ์ อนุสัย (รายละเอียดจะศึกษาในบทเรียนชุดที่ ๘) ๒. ทิฏฐิเจตสิก ในฝุายอกุศลนี้มุ่งหมายถึง มิจฉาทิฏฐิ คือ ภาวะของจิตใจที่เห็นผิดไปจากความจริง มีความเห็นที่แย้งต่อความสัมมาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี ทาบุญทาบาป ไม่มีผลไม่ต้องรับผล บุคคลที่มีมิจฉาทิฏฐิ จะมีความยึดมั่นในความเห็นผิดนั้นว่าถูก เหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ
๑. การได้ฟังอสัทธรรม
๒. การมีมิตรชั่ว
๓. ไม่อยากฟังธรรมของพระอริยะเจ้า
(หรือไม่อยากฟังธรรมที่เป็นคาสั่งสอนของพระพุทธองค์)
๔. มีอโยนิโสมนสิการ
๓. มานเจตสิก คือ ความถือตน ความทะนงตน มักจะเอาตนเองเข้าไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอว่า ตนมีชาติ โคตร สกุล ทรัพย์ สมบัติ ศิลปวิทยา การงานหรือความฉลาดที่เหนือกว่าคนอื่นบ้าง เสมอกับคนอื่นบ้าง หรือต่ากว่าคนอื่นบ้าง ความคิดเช่นนี้ทาให้จิตใจว้าวุ่นขาดความสงบ ไม่เป็นที่ตั้งของกุศล เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่จะเกิดในตระกูลที่ต่าต้อย เช่น ขอทาน สรุป โลติกเจตสิก ๓ โลติกเจตสิก ๓ คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก มานเจตสิก ทั้ง ๓ ดวงนี้ จะประกอบกับจิตดังนี้ โลภเจตสิกจะประกอบในโลภมูลจิต ๘ คือ ในขณะใดที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส ขณะนั้นโลภเจตสิกก็เกิดประกอบในจิตแล้ว ส่วนทิฏฐิเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ คือ ในขณะที่บุคคลมีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ด้วยตนเอง ก็จะมีโลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิกประกอบกับจิต เช่น นึกอยากทานอาหารที่มีรสอร่อยถูกใจ มานเจตสิกจะประกอบกับโลภทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ เป็นบางคราว
ค. โทจตุกเจตสิก ๔ กลุ่มของความโกรธ เจตสิกกลุ่มนี้จะเข้าประกอบกับจิตที่มีความดุร้าย ประทุษร้าย ทาให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นทุกข์ โทษ ภัย ทั้งใน
ปัจจุบัน และอนาคต โทจตุกเจตสิกมี ๔ คือ ๑. โทสเจตสิก ๒. อิสสาเจตสิก ๓. มัจฉริยเจตสิก ๔. กุกกุจจเจตสิก

เดียวต่อฉบับหน้า

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับหลาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ได้ไปบำเพ็ญประโยชน์ ชึ่งเหนื่อยมาก
ท่านผ่านมาพวกเพื่อนได้ไปทัวร์ทำบุญที่ ภาคเหนือได้สักการะ
พระธาตุ และงานบุญอีกมากมาย และวันนี้ได้สวดมนต์
กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้า สักการะพระธาตุ
ถวาข้าวพระพุทธรูป ให้อภัยทาน รักษาศีล สมาทานศีล
และสร้างบารมี ครบ 10 อย่าง เจริญอาโปกสิน ฟังธรรม
ศึกษาธรรมเมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของแม่ ศึกษาการรักษาโรค
เจริญเมตตา อฐิษฐานจิต ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี
ณ ที่พักสงฆ์วิสุทธาวาส หมู่ 4 บ้านหนองแต้ ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ในวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2553
โทร 084-7196964

ขอให้สรรพัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้