นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 2:27 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: พระธรรมที่ทรงแสดง
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 12 มี.ค. 2010 7:47 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

คำว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ได้แก่ ความเห็นไม่มีตามความเป็นจริง อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นคลาดเคลื่อนโดยถือเอาผิด.

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิอันบัณฑิตเกลียด เพราะนำมา

แต่ความฉิบหายบ้าง. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้คนเห็นผิด หรือเห็นผิดเอง

หรือทิฏฐินี้ เพียงเห็นผิดเท่านั้น.

มิจฉาทิฏฐินั้นมีการยึดถือมั่นโดยอุบายไม่แยบคายเป็นลักษณะ (อโย-

นิโส อภินิเวส ลกฺขณา) มีความยึดมั่นผิดสภาวะเป็นรส (ปรามาสรสา)

มีความยึดถือผิดเป็นปัจจุปัฏฐาน (มิจฺฉาภินิเวสนปจฺจุฏฺฐานา) มีความ

ไม่ต้องการเห็นพระอริยะทั้งหลายเป็นต้นเป็นปทัฏฐาน (อริยานํ อทสฺสน-

กามตาทิปทฏฺฐานา) พึงเห็นว่าเป็นโทษอย่างยิ่ง.
นิยตมิจฉาทิฏฐิ

นิยต ( เที่ยง , แน่นอน , ดิ่งลง ) + มิจฉา ( ผิด ) + ทิฏฐิ ( ความเห็น )

ความเห็นผิดที่ดิ่ง หมายถึง ความเห็นผิดที่มีโทษมาก แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ช่วย

ไม่ได้ เป็นเครื่องกั้นทั้งสวรรค์ และมรรคผลนิพพาน เป็นตอของวัฏฏะ คือไม่สามารถออก

จากสังสารวัฏฏ์ได้ มี ๓ ประเภท คือ ๑. อเหตุกทิฏฐิ ๒. อกิริยทิฏฐิ ๓. นัตถิกทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

ครูปูรณกัสสปได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร เมื่อบุคคล

ทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น

เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขา

ให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน

ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้น ไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลัง

เดียว ดักปล้นในทางเปลี่ยว ทำชู้ภริยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป

ฯลฯ


เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูมักขลิโคสาลได้กล่าว

คำนี้กะหม่อมฉันว่า มหาบพิตร ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง

ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมอง

ย่อมไม่มีเหตุ ย่อมไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์

ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเอง

ไม่มีการกระทำของผู้อื่น ไม่มีการกระทำของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความ

เพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง

ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี

ความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความ

เป็นเอง

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

บรรดาครูทั้ง ๖ นั้น ปูรณะชี้แจงว่า เมื่อทำบาปก็ไม่เป็นอันทำ

ชื่อว่า ย่อมปฏิเสธกรรม.

อชิตะชี้แจงว่า เพราะกายแตก สัตว์ย่อมขาดสูญ ชื่อว่า ปฏิเสธวิบาก.

มักขลิชี้แจงว่า ไม่มีเหตุ ชื่อว่า ปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากทั้ง ๒.

ในข้อนั้น แม้เมื่อปฏิเสธกรรม ก็ชื่อว่าปฏิเสธวิบากด้วย. แม้เมื่อ

ปฏิเสธวิบาก ก็ชื่อว่าปฏิเสธกรรมด้วย. ดังนั้นเจ้าลัทธิแม้ทั้งหมดนั้น ว่า

โดยอรรถ ก็คือปฏิเสธทั้งกรรมและวิบากของกรรมทั้ง ๒ ย่อมเป็น

อเหตุกวาทะด้วย เป็นอกิริยวาทะด้วย เป็นนัตถิกวาทะด้วย.

อภิธรรมต่อ

๑. โทสเจตสิก คือธรรมชาติที่เป็นเหตุให้ประทุษร้าย คับแค้นใจ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีมีเงิน คนยากจนเข็ญใจ เทวดา หรือสัตว์เดรัจฉาน เมื่อถูกความโกรธเข้าครอบงาจิตใจแล้ว ย่อมเป็นคนหยาบช้ากักขฬะ ขาดความเมตตาปรานี มีความดุร้ายเหมือนอสรพิษ ผู้ใดสะสมความโกรธบ่อยจะทาให้ขาดความสุขในชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และความโกรธนั้นย่อมส่งผล เมื่อตายลงย่อมไปเสวยผลของความโกรธในนรก

๒. อิสสาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความริษยา ความเกลียดกัน เกลียดในลาภ สักการะ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น เกลียดในการทาความเคารพ ความนับถือ การกราบไหว้ การบูชา ที่บุคคลกระทากับคนอื่นๆ แต่ไม่กระทากับตนเอง ความอิสสาหรืออิจฉานี้เกิดขึ้นได้แม้เพียงได้ทราบว่าบุคคลอื่นได้ดีมีสุขก็ทาให้เกิดอิจฉาได้ อิสสานี้เป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ไม่ให้พ้นไปจากสังสารวัฏ ที่เรียกว่า อิสสาสังโยชน์ ทาให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในภพน้อยภพใหญ่ในวัฏสงสารอันยาวนาน
๓. มัจฉริยเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ตระหนี่ หวงแหน ความเห็นแก่ตัว ความมีใจแคบ ความไม่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคคลที่มีความตระหนี่หวงแหน

นอกจากตนเองไม่ทานแล้วยังห้ามไม่ผู้อื่นให้ทาน มัจฉริยะเมื่อเกิดประกอบกับจิต จะทาให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตใจคับแคบ ไม่มีใจที่จะอนุเคราะห์กับใครๆ บุคคลที่มีความตระหนี่จะไม่อยากให้ของๆตนกับใครๆ อยากแต่จะรับของๆ คนอื่น มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่มี ๕ อย่าง คือ ๓.๑ ความตระหนี่ที่อยู่ เช่น มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดขอพักอาศัยสัก ๒- ๓ วันก็ ไม่ให้อาศัย แต่การไม่ให้บุคคลที่ทุศีล ผู้มักทาความเดือดร้อน มาอยู่อาศัย ไม่ใช่อาวาสมัจฉริยะ ๓.๒ ความตระหนี่ตระกูล เป็นการหวงสกุล เช่น ไม่ยอมให้คนอื่นร่วมใช้กลัวคนอื่นจะมา ทาให้ตระกูลตกต่าไป ๓.๓ ความตระหนี่ลาภ เช่น การที่บุคคลใดได้รับลาภสักการะ รับรางวัล เมื่อเราทราบข่าวก็ไม่ยินดีในลาภของเขา และยังคิดว่าขอให้เขาไม่ได้ลาภนั้นๆ ๓.๔ ความตระหนี่วรรณะ วรรณะ มี ๒ อย่าง ๑) ตระหนี่ผิวพรรณ ๒)ตระหนี่ในคุณความดี ๓.๔.๑ บุคคลใดมีผิวพรรณงาม มีสรีระงาม ผู้ที่ตระหนี่ใน ผิวพรรณก็จะไม่ชื่นชม ๓.๔.๒ บุคคลใดมีคุณความดี ผู้ที่ตระหนี่ในคุณความดีก็ไม่ ปรารถนาที่จะสรรเสริญคุณความดีของคนอื่น ๓.๕ ความตระหนี่ธรรม ธรรม หมายถึงปริยัติธรรม และปฏิเวธธรรม บุคคลที่ตระหนี่ใน ธรรมจะไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ธรรมที่ตนได้รู้แล้วมีความหวงแหนไว้เฉพาะตน แต่การที่ไม่ให้ธรรมะกับบุคคลที่จักทาลายธรรม

จักทาธรรมให้เสื่อมเสีย อย่างนี้ไม่จัดเป็นผู้ตระหนี่ธรรม ผลแห่งมัจฉริยะมี ๕ ดังนี้ ๑. ตระหนี่ที่อยู่อาศัย จะต้องถูกเผาอยู่ในเรือนเหล็กแดง ๒. ตระหนี่ตระกูล จะเป็นผู้มีลาภน้อย ๓. ตระหนี่ลาภ จะบังเกิดในนรกคูถ ๔. ตระหนี่วรรณะ เมื่อเกิดมาทุกภพทุกชาติจะไม่มีความสวยงามและไม่ได้รับการสรรเสริญ ๕. ตระหนี่ธรรม จะบังเกิดในนรกถ่านเพลิง
๔. กุกกุจจเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความเดือดร้อนใจในบาปที่ตนได้ทาไว้ และความดีที่คิดว่าจะทาแต่ยังไม่ได้ทา รวมทั้งการคิดว่าสิ่งนี้ควรทาแต่ไม่ทา สิ่งนี้ไม่ควรทาแต่ได้ทาไปแล้ว เช่น ต้องการจะถือศีลทุกวันพระ แต่ก็ละเลยไม่ทาตามที่ตั้งใจ ก็จะหวนคิดถึงแล้วเกิดความวิตกกังวลใจ มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง มีความเศร้าโศกถึงกรรมชั่วที่ได้ทาแล้ว และกรรมดีที่ยังไม่ได้ทา สรุป โทจตุกเจตสิก ๔ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก กุกกุจจเจตสิก ทั้ง ๔ นี้ เฉพาะโทสเจตสิกจะเข้าประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวงเสมอ ส่วนเจตสิกที่เหลืออีก ๓ จะเกิดประกอบกับจิตได้บางครั้งบางคราวตามลักษณะของเจตสิก เช่น นายกรีฑา กับนายถอยทัพ ทางานที่เดียวกัน เมื่อนาย กรีฑา ได้เลื่อนตาแหน่ง เป็นเหตุทาให้ นายถอยทัพ เกิดความอิจฉาและคิดวางแผนกลั่นแกล้งนายกรีฑา กรณีนี้ จิตของนายถอยทัพมีโทสเจตสิกและอิสสาเจตสิกเกิดประกอบในโทสมูลจิต (แต่ไม่มีมัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ)

ง. ถีทุกเจตสิก กลุ่มของความหดหู่ท้อถอย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๒ ดวง คือ ๑. ถีนเจตสิก คือ ธรรมชาติที่หดหู่ท้อถอยไม่อยากจะทาคุณงามความดี หรือเพียรพยายาม ในการงานต่างๆ เช่น การอ่านหนังสือหรือปฏิบัติธรรมจะเกิดความเบื่อหน่าย บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร บางครั้งตั้งใจเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑ สัปดาห์ แต่เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายจนทนไม่ไหวต้องออกจากกรรมฐาน เป็นเพราะมีความท้อถอยไม่อยากทาคุณงามความดี เป็นต้น ๒. มิทธเจตสิก คือ ธรรมชาติที่เซื่องซึม ง่วงเหงา หาวนอน ความรู้สึกง่วงซึมนี้ทาให้หลับได้ไม่ว่าจะทาอะไรอยู่ที่ไหน ความง่วงเหงานี้ทาให้เกียจคร้าน ทาอะไรก็ไม่สาเร็จ ฉะนั้น เมื่อมิทธเจตสิกเกิดขึ้นประกอบกับจิตแล้ว จึงขวางกั้นกุศลธรรมทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้นในจิตใจ เหมือนกับทานบกั้นน้าไว้นอกนา ทาให้ต้นข้าวไม่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้า สรุป เจตสิก ๒ ดวงนี้ รวมเรียกว่า ถีนมิทธนิวรณ์ก็ได้ เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี เป็นเจตสิกที่ขัดขวางต่อความเจริญก้าวหน้าในด้านความคิดและการกระทาทั้งปวง เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ จะเกิดพร้อมกันเข้าประกอบในจิตของบุคคลที่มีจิตใจไม่เข้มแข็ง จ. วิจิกิจฉาเจตสิก กลุ่มของความลังเลสงสัย เจตสิกกลุ่มนี้มี ๑ ดวง คือ วิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติของความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ เป็นเจตสิกที่เมื่อเกิดขึ้นกับจิตของบุคคลแล้ว ทาให้จิตใจเกิดความลังเลสงสัยในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในชาติอดีต สงสัยในชาติอนาคต สงสัยทั้งอดีตและอนาคตชาติ สงสัยในเหตุและผลของกรรม ความสงสัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการทาความดีทั้งหลาย ทาให้ความดีที่ทาอยู่เกิดความชะงักงันไม่ก้าวหน้าต่อไป จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่เราควรจะมีความรู้ความเข้าใจในสภาพธรรมที่กาลังเกิดขึ้นนี้ให้ดีว่า สิ่งนี้คือมารของความดี มารของมรรคผลนิพพาน

เจตสิกกลุ่มที่ ๓ เรียกว่า โสภณเจตสิก เจตสิกฝุายดี
แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม คือ ก. โสภณสาธารณเจตสิก มี ๑๙ ดวง
ข. วิรตีเจตสิก มี ๓ ดวง ง. ปัญญินทรีย
ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ ดวง

โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง เป็นเจตสิกฝุายดีงาม จะเข้าประกอบจิตปรุงแต่งจิตเฉพาะจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น หรือเกิดขึ้นในขณะที่จิตใจของคนที่ทาดี พูดดี คิดดี มีการทาทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น มีรายละเอียดดังนี้
ก. โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
โสภณสาธารณเจตสิกทั้ง ๑๙ ดวงนี้ จะเข้าประกอบกับจิตที่เป็นกุศล เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โสภณสาธารณเจตสิกจะเกิดประกอบกับโสภณจิต โสภณจิตได้แก่ มหากุศลจิต ๘ มหาวิปากจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวง โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

๑. ศรัทธา เป็นธรรมชาติที่มีความเชื่อ มีความเลื่อมใส เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นแล้วย่อมเสมือนเป็นหัวหน้านาไปสามารถให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้ ทาให้จิตใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว ศรัทธาเป็นธรรมชาติที่เป็นฝุายกุศลธรรมฝุายเดียวเท่านั้น
๒. สติ เป็นธรรมชาติที่มีความระลึกได้ สติจะระลึกและใคร่ครวญธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูล (กุศลธรรม) สิ่งใดเป็นธรรมที่ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล (อกุศลธรรม) แล้วสามารถเลือกสิ่งที่เป็นกุศลธรรม ละทิ้งอกุศลธรรมได้ สติที่เป็นสัมมาสติเป็นส่วนหนึ่งแห่งองค์มรรคด้วย ดังนั้น สัมมาสติคือความระลึกชอบ จะสามารถนาให้ออกไปจากทุกข์ได้ สติเปรียบเหมือนเสาเขื่อนเพราะตั่งมั่นในอารมณ์ และเหมือนนายประตูเพราะคอยรักษาจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ เป็นต้น ไว้ได้ กล่าวคือเมื่อสติเกิดขึ้นได้ขณะดู ฟัง เป็นต้น ก็จะไม่ทาให้อกุศลธรรมทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีการเห็น การได้ยินนั้นเองเป็นเหตุ เพราะมีสตินั้นเองเป็นผู้รักษาเหมือนนายประตูที่คอยตรวจตราผู้ที่จะผ่านไปมา
๓. หิริ เป็นธรรมชาติที่มีความละอายต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าละอาย ละอายต่อการประกอบอกุศลกรรมทั้งปวง ละอายต่อการทาความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ๔. โอตตัปปะ (อ่านว่า โอต-ตัป-ปะ) เป็นธรรมชาติที่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว สะดุ้งกลัว หวั่นเกรงต่อบาป เมื่อคิดจะกระทาความชั่วไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก เมื่อเกิดความเกรงกลัวต่อผลของบาปนั้น ก็จะหยุดการทาชั่ว หิริ และ โอตตัปปะ มีสภาพที่คล้ายกัน จะเปรียบเทียบธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ดังนี้

๑. ศรัทธา เป็นธรรมชาติที่มีความเชื่อ มีความเลื่อมใส เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นแล้วย่อมเสมือนเป็นหัวหน้านาไปสามารถให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาได้ ทาให้จิตใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว ศรัทธาเป็นธรรมชาติที่เป็นฝุายกุศลธรรมฝุายเดียวเท่านั้น
๒. สติ เป็นธรรมชาติที่มีความระลึกได้ สติจะระลึกและใคร่ครวญธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูล (กุศลธรรม) สิ่งใดเป็นธรรมที่ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล (อกุศลธรรม) แล้วสามารถเลือกสิ่งที่เป็นกุศลธรรม ละทิ้งอกุศลธรรมได้ สติที่เป็นสัมมาสติเป็นส่วนหนึ่งแห่งองค์มรรคด้วย ดังนั้น สัมมาสติคือความระลึกชอบ จะสามารถนาให้ออกไปจากทุกข์ได้ สติเปรียบเหมือนเสาเขื่อนเพราะตั่งมั่นในอารมณ์ และเหมือนนายประตูเพราะคอยรักษาจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ เป็นต้น ไว้ได้ กล่าวคือเมื่อสติเกิดขึ้นได้ขณะดู ฟัง เป็นต้น ก็จะไม่ทาให้อกุศลธรรมทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะมีการเห็น การได้ยินนั้นเองเป็นเหตุ เพราะมีสตินั้นเองเป็นผู้รักษาเหมือนนายประตูที่คอยตรวจตราผู้ที่จะผ่านไปมา
๓. หิริ เป็นธรรมชาติที่มีความละอายต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าละอาย ละอายต่อการประกอบอกุศลกรรมทั้งปวง ละอายต่อการทาความชั่วทั้งทางกาย วาจา ใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ๔. โอตตัปปะ (อ่านว่า โอต-ตัป-ปะ) เป็นธรรมชาติที่มีความเกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว สะดุ้งกลัว หวั่นเกรงต่อบาป เมื่อคิดจะกระทาความชั่วไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก เมื่อเกิดความเกรงกลัวต่อผลของบาปนั้น ก็จะหยุดการทาชั่ว หิริ และ โอตตัปปะ มีสภาพที่คล้ายกัน จะเปรียบเทียบธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ดังนี้

เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะ คือ การทาให้จิตและเจตสิกนี้บรรเทาจากความหนัก เมื่อเจตสิกนี้เกิดขึ้นมีหน้าที่กาจัดความหนักของจิตและเจตสิก ฉะนั้น กายลหุตาและจิตตลหุตาเจตสิกนี้ จึงหมายถึงอาการแห่งภาวะที่เบา ความเบานี้มีความหมายว่า ธรรมเหล่านี้เปลี่ยนไปได้เร็ว คือ สามารถเปลี่ยนโดยฉับพลันจากภาวะที่จิตยังหนักอยู่ด้วยเพราะมีกิเลส ไปเป็นสภาพจิตที่เป็นกุศลได้ทันที เช่น ในขณะที่จิตมีถีนมิทธะ (หดหู่ท้อถอย) เข้าครอบงา เมื่อกายลหุตาจิตตลหุตาเข้าประกอบกับจิตที่เป็นมหากุศลแล้ว ก็สามารถขับไล่ความหดหู่ความง่วงนอนนั้นให้หมดไปได้ในขณะนั้น ๑๒.-๑๓. กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายมุทุตา เป็นธรรมชาติที่ทาความอ่อนให้เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตมุทุตา คือ ธรรมชาติที่ทาความอ่อนให้จิต ในการงานอันเป็นกุศล ทาให้จิตอ่อนโยนรับอารมณ์อันเป็นกุศลได้ง่าย เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะคือ ทาให้จิตและเจตสิกสงบจากความกระด้าง มีหน้าที่ยับยั้งทาให้ความกระด้างของจิตและเจตสิกไม่ให้เกิดขึ้น ๑๔.-๑๕. กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา (อ่านว่า กา-ยะ-กัม-มัน-ยะ-ตา) กายกัมมัญญตา เป็นธรรมชาติที่ทาความเหมาะควรแก่การงานทาให้เจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล จิตตกัมมัญญตา เป็นธรรมชาติที่ทาความเหมาะควรแก่การงานอันเป็นกุศลให้จิต เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะ คือ มีการทาให้จิตและเจตสิกเข้าสู่สภาวะที่สงบจากความที่ไม่ควรแก่การงาน มีหน้าที่คือ กาจัดความไม่ควรแก่การงานของจิตและเจตสิก
๑๖.-๑๗. กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา (อ่านว่า กา-ยะ-ปา-คุน-ยะ-ตา) กายปาคุญญตา เป็นธรรมชาติที่ทาให้เจตสิกขันธ์ ๓ คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล จิตตปาคุณญตา เป็นธรรมชาติที่ทาให้จิตคล่องแคล่วในการงานอันเป็นกุศล เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีสภาพทาให้จิตเข้าถึงสภาวะที่คล่องแคล่ว มีหน้าที่คือ กาจัดความไม่คล่องแคล่วต่อการงานอันเป็นกุศล
๑๘.-๑๙. กายุชุกตา จิตตุชุกตา (อ่านว่า กา-ยุ-ชุ-กะ-ตา) กายุชุกตา เป็นธรรมชาติที่ทาให้เจตสิกขันธ์ ๓ มีความชื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล จิตตุชุกตา เป็นธรรมชาติที่ทาให้จิต มีความซื่อตรงในการงานอันเป็นกุศล

เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ มีลักษณะคือ มีความซื่อตรงของจิตและเจตสิก มีหน้าที่กาจัดความไม่ซื่อตรงของจิตและเจตสิก
สรุป โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตกลุ่มที่เป็นโสภณจิต คือประกอบกับจิตที่ดีงาม ซึ่งเป็นจิตฝุายดีที่ควรอบรมสั่งสมให้เกิดมีขึ้นในตนเองหรือในจิตใจอย่างสม่าเสมอ

วิรตีเจตสิก คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้งดเว้นจากการทาบาปอกุศลทั้งหลาย การงดเว้นมี ๓ ลักษณะ คือ ๑. เว้นจากการทาบาป โดยอัธยาศัยเพราะมีจิตเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลาย ๒. เว้นจากการทาบาป ตามกาหนดเวลาเช่น การสมาทานศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ในวันพระจึงงดเว้น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น
๓. เว้นจากการทาบาปโดยเด็ดขาด ได้แก่ จิตของพระอริยบุคคล
วิรตีเจตสิกมี ๓ ดวง คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมัตตะ สัมมาอาชีวะ มีรายละเอียดดังนี้
๑. สัมมาวาจา คือธรรมชาติที่ทาให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จากการทาอกุศลทางวาจา คืองดเว้นจากการพูดเท็จ ส่อเสียด คาหยาบ เพ้อเจ้อ เป็นการงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ในชีวิตประจาวันทั่วไปก็ไม่พูดโกหก หรือส่อเสียดใครๆ ไม่พูดคาหยาบ ไม่กล่าวคาเพ้อเจ้อ ๒. สัมมากัมมันตะ คือธรรมชาติที่ทาให้เกิดการงดเว้น การเลิกละ จากการทาอกุศลทางกาย คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เป็นการงดเว้นจากกายทุจริตทั้ง ๓ ที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เช่น ไม่พักผ่อนหย่อนใจด้วยการตกปลา เพราะเป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น ๓. สัมมาอาชีวะ คือธรรมชาติที่ทาให้เกิดการงดเว้นจากกายทุจริต ๓ และวจีทุจริต ๔ ที่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ เป็นการงดเว้นการทาบาปทางกาย ทางวาจา ในการประกอบอาชีพ เช่น ไม่ประกอบอาชีพฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ค้ากาม ทาการงานอาชีพอย่างสุจริตไม่โกหก หลอกลวง เป็นต้น สรุป วิรตีเจตสิกจะเข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกามาวจรกุศล ในกุศลทั่วไปนั้นวิรตีเจตสิกทั้ง ๓ จะเข้าประกอบกับจิตได้ครั้งละดวงเท่านั้น ไม่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้พร้อมกันทีเดียว ๓ ดวง กล่าวคือ ขณะที่งดเว้นการพูดปดที่ไม่เกี่ยวกับการงานที่เป็นอาชีพ ในขณะนั้นจะมีสัมมาวาจาเจตสิกเข้าประกอบกับกามาวจรกุศลจิต แต่จะไม่มีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เข้าประกอบ เป็นต้น วิรตีเจตสิกที่ประกอบในจิตของปุถุชน จะเกิดได้ทีละดวงเท่านั้นและไม่แน่นอน แต่ถ้าประกอบกับจิตของพระอริยบุคคล จะเกิดประกอบกับจิตพร้อมกันทั้ง ๓ ดวงและแน่นอนด้วย เพราะวิรตี ๓ เป็นองค์มรรคด้วย ค. อัปปมัญญาเจตสิก มี ๒ คือ กรุณาเจตสิก มุทิตาเจตสิก ๑. กรุณา คือธรรมชาติที่เป็นความสงสาร เป็นธรรมชาติที่ทาให้เกิดความสงสารในสัตว์โลกทั้งหลาย หวั่นไหว นิ่งอยู่ไม่ได้เมื่อเห็นบุคคลอื่นได้รับความทุกข์จากภัยต่างๆ หรือได้รับทุกข์จากการสูญเสียทรัพย์สมบัติ ทนไม่ได้กับความทุกข์ที่ผู้อื่นกาลังได้รับ หรือจะได้รับความทุกข์ในกาลข้างหน้า มีความต้องการให้เขาพ้นไปจากความทุกข์

๒. มุทิตา คือธรรมชาติที่เป็นความยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นกาลังได้รับความสุข ปรารถนาให้เขาเหล่านั้นมีความสุขยิ่งขึ้น อย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ในชีวิตประจาวันถ้าเห็นคนยากจนหรือคนขอทาน กาลังได้รับความทุกข์หรือได้รับความอดอยาก ถ้าใจเกิดความกรุณา ก็อาจจะสละทรัพย์ หรือสิ่งของ เพื่อทาให้เขาบรรเทาจากทุกข์นั้น ขณะนั้นกุศลจิตมีกรุณาเจตสิกเกิดประกอบ หรือในชีวิตประจาวันถ้าได้พบบุคคลที่ประสบกับความสุขความสมหวัง ถ้าใจเกิดมุทิตาก็จะพลอยยินดีในความสุขสมหวังนั้น ปรารถนาให้เขาได้รับความสุขยิ่งขึ้น อย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขณะนั้นกุศลจิตมีมุทิตาเจตสิกเกิดประกอบ บุคคลทั้งหลายถ้าทาให้กรุณาและมุทิตาเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญพรหมวิหารธรรม จิตใจจะมีความอ่อนโยนเป็นสมาธิ ผู้เจริญอยู่ในพรหมวิหารธรรม จะทาให้มีความสุขปราศจากทุกข์และศัตรู มีความสุขทั้งหลับและตื่น มีเทวดารักษา เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ ไฟ ยาพิษ และอาวุธไม่กล้ากรายมาถึง ทาให้สีหน้าผ่องใสเมื่อใกล้ตายก็มีจิตผ่องใส เข้าถึงสุคติภพ ง. ปัญญาเจตสิก มี ๑ ดวง คือ ปัญญาเจตสิก ๑. ปัญญาเจตสิก คือธรรมชาติที่รู้ชัด รู้แจ่มแจ้ง ใคร่ครวญ ปัญญานี้จัดเป็นอินทรีย์ด้วย จัดเป็นพละด้วย มีบทเปรียบเทียบปัญญาไว้หลายประการ คือ ปัญญาเหมือนอาวุธ เหมือนแสงสว่าง เหมือนแผ่นดิน เหมือนดวงแก้ว เป็นต้น

ปัญญา ๒ คือ ๑. โลกียปัญญา ปัญญาที่ยังข้องอยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก และอรูปโลก
๒. โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจ ๔
ปัญญา ๓ (ก.) คือ ๑. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย หรือพระไตรปิฎก ๒. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการนาเอาสิ่งที่ศึกษามาแล้ว มาคิดพิจารณาเหตุผลตาม ความเป็นจริง ๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

ปัญญา ๓ (ข.) คือ ๑. กัมมัสสกตาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นกาเนิด บุคคลทั้งหลายทากรรมดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนทั้งนั้น เช่น บุคคลใดลักขโมยทาลายทรัพย์เขา ผลของอกุศลนั้นย่อมทาให้ทรัพย์ของเขาพินาศไป ถ้าเข้าใจเรื่องกรรมก็จะเข้าใจความเป็นไปของชีวิตตนและบุคคลทั้งหลายได้

๒. วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่รู้ว่ารูปนามขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน จะเกิดกับผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ จะมีความเข้าใจชัดในรูปนาม ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาท เข้าใจว่ามีลักษณะเปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคง และบังคับบัญชาไม่ได้ ตกอยู่ในกฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๓. โลกุตตรปัญญา ปัญญารู้ในอริยสัจ ๔ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทาให้รู้แจ้งแทงตลอดในความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ๓.๑ ทุกขสัจ รู้แจ้งว่ารูปนามเป็นทุกข์มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่สามารถจะทนอยู่ในสภาพเดิมได้ การเกิดนั้นเป็นทุกข์ การแก่เจ็บตายก็เป็นทุกข์ เป็นต้น ๓.๒ สมุทัยสัจ รู้แจ้งในเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัวโลภเจตสิก หรือ ตัณหาคือความยินดีพอใจ ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ทาให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายอีกหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ๓.๓ นิโรธสัจ ปัญญาที่เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์ คือนิพพาน เป็นการดับสนิทของตัณหาอันเป็นเหตุทาให้เกิดทุกข์และการเวียนเกิดเวียนตาย ๓.๔ มรรคสัจ การรู้แจ้งทางให้ถึงซึ่งนิพพาน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น
ปัญญานั้นมีการส่องสว่างเป็นลักษณะ เหมือนกับการตามประทีปไว้ในที่มืด ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏ ธรรมดาแสงสว่างที่เสมอด้วยแสงสว่างแห่งปัญญาไม่มี ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ทั้งที่ควรทาและไม่ควรทา ทั้งเลวและประณีต ทั้งดาและขาว ทั้งที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ เช่นเดียวกับหมอผู้ฉลาดย่อมรู้จักเภสัชอันเป็นที่สบายและไม่สบายแห่งคนไข้ทั้งหลาย ฉะนั้น

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน อาราธนาศีล รักษาศีล สวดมนต์ กรวดน้ำอุทิศบุญ
ช่วยพ่อแม่ทำงาน บำเพ็ญประโยชน์ และรักษษอาการป่วยของแม่
ศึกษษการรักษาโรค ฟังธรรม ศึกษาธรรม และทำบุญอีกหลายอย่าง
นับไม่ถ้วน และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อยาง ตั้งแต่ ทานบารมีถึงอุเบกขาบารมี
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

เชิญร่วมทอดผ้าป่าสามัคคี
สำนักสงฆ์ อัครวัฒน์วินัย ณ บ้านโสกลึกพัฒนา
ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทร. ๐๘ - ๖๑๕๗ - ๔๐๓๔


ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
:lol:


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: พระธรรมที่ทรงแสดง
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 12 มี.ค. 2010 9:10 pm 
ออฟไลน์
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 12:00 pm
โพสต์: 488
ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO