Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ระงับ

อาทิตย์ 14 มี.ค. 2010 8:09 pm

ต่อ
รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป
อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทาให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคา ๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา) รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คาว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐


อนิปผันนรูป ๑๐ อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็น รูป ๆ หนึ่ง ทาหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทาให้นับเป็นชิ้นเป็นอัน ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณะรูป ๔

รูปประเภทที่แปด ปริจเฉทรูป ๑
ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทาหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่ง ๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทาให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด


รูปประเภทที่เก้า วิญญัติรูป ๒
๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย
รูปประเภทที่สิบ วิการรูป ๓
๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย ๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย ๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย
วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของ
ปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคาว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น
รูปประเภทที่สิบเอ็ด ลักขณะรูป ๔
๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทาให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้า น้าย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูป เปรียบเหมือนน้าที่เต็ม ความสืบต่อ เปรียบเหมือนน้าที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทาให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย
ทาให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทาให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ ๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทาลายไปของรูป ความแตกดับของรูป จบรูปนัยที่ ๑ รูปสมุทเทสนัย ต่อไปจะศึกษารูปนัยที่ ๒ รูปวิภาคนัย

นัยที่ ๒
รูปวิภาคนัย
แสดงการจาแนกรูปโดยมาติกา คาว่า มาติกา หมายถึงแม่บท ในนัยที่ ๒ นี้ มีการจาแนกรูป ๒๘ ออกเป็น ๒ มาติกาด้วยกัน คือ ๑. เอกมาติกา การจาแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน ๒. ทุกมาติกา การจาแนกรูปทั้งหมดเป็นสองอย่าง
๑. เอกมาติกา การจาแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นการกล่าวรูป ๒๘ โดยการสรุปให้ทราบถึงความเป็นจริงของรูปอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบในนัยที่ ๑ กล่าวคือในนัยที่ ๑ แสดงให้เห็นรูป ๒๘ ที่ละหมวดและแสดงในทราบว่าในหมวดนั้นๆประกอบด้วยรูปเท่าไหร่อะไรบ้าง และก็ยังแสดงให้ทราบอีกว่า รูปแต่ละรูปนั้นมีสภาวลักษณะของตน ๆ เป็นอย่างไร เช่น ในหมวดมหาภูตรูป ๔ ประกอบด้วย ปฐวี อาโป เตโช วาโย และปฐวีมีลักษณะที่แข็ง เป็นต้น ส่วนในการจาแนกรูป ๒๘ โดยนัยวิภาคนัยนี้จะมุ่งหมายกล่าวว่ารูปทั้ง ๒๘ นั้นมีสภาวะทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะศึกษากันต่อไป รูปทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยเอกมาติกาแล้วมีชื่อเรียกตามสภาวะได้ ๘ คือ
อเหตุกะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นโดย ไม่ต้องอาศัยเหตุ ๖ เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
” ” สปัจจยะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
” สาสวะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ก่อให้เกิดอาสวะกิเลส
อาสวะกิเลส คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ” สังขตะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นผู้ปรุงแต่ง
” โลกียะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ต้องมีการแตกดับ อยู่เสมอ ๆ
” กามาวจระ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เป็นเหตุให้เกิดความยินดียินร้าย ซึ่งเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิตชื่อว่า อนารัมมณะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใด ๆ ได้ การที่เรายังรับรู้อารมณ์ได้ก็เพราะว่ามีจิต
” อัปปหาตัพพะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรฆ่าหรือทาลาย แต่สิ่งควรฆ่าทาลายนั้น ได้แก่ กิเลสและตัณหา
สรุปได้ว่ารูป ๒๘ นี้จะเรียกชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ ชื่อนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะมีความหมายตามลักษณะของชื่อนั้น ๆ


รูปสมุฏฐานนัย
แสดงเหตุเกิดแห่งรูป
รูปร่างกายของคน สัตว์ เทวดา หรือ รูปพรหม นั้นล้วนแต่เกิดและยังมีชีวิตดารงอยู่ได้ก็มาจากเหตุ ๔ ประการ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร หรือที่เรียกว่า เกิดมาจากสมุฏฐาน ๔
กรรม คือ เจตนาในการทากุศล และ อกุศลต่างๆ ที่ได้สั่งสมไว้แล้ว เมื่อกรรมทั้งหลายสาเร็จลง เจตนาในการกระทากรรมนั้นจะทาหน้าที่ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ เป็นคน สัตว์ เทวดา พรหม ได้ ดังนั้น กรรมที่เป็นสมุฎฐานในเกิดรูป ก็ได้แก่เจตนา ๒๕ คือ
- เจตนาในอกุศลจิต ๑๒
- เจตนาในมหากุศลจิต ๘
- เจตนาในรูปาวจรกุศลจิต ๕

เจตนาทั้ง ๒๕ นี้ ย่อมทาให้รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่อุปปาทขณะของปฏิสนธิจิตเป็นต้นไป (หนึ่งขณะจิตมี ๓ อนุขณะเล็ก คืออุปปาทะ(เกิด) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ(ดับ) รูปที่เกิดจากกรรมเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อนุขณะแรกของปฏิสนธิจิต (ส่วนเจตนาในอรูปวจรกุศลจิต จะส่งผลโดยนามปฏิสนธิในอรูปภูมิ ๔) รูปที่เกิดจากกรรม เรียกว่า กรรมชรูป (อ่านว่า กัม-มะ-ชะ-รูป) มี ๑๘ รูป คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘
จิต
การที่รูปจะแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ได้ก็เพราะมีจิต เช่น จิตคิดจะทากุศล จิตนี้ก็ทาให้วาโยธาตุนั้นมีกาลังทาให้ร่างนี้เคลื่อนไป เดินไปทากุศลได้ หรือที่เป็นอกุศล คิดจะฆ่าสัตว์ วาโยธาตุที่เกิดจากจิตก็จะทาให้กายนี้ไปทาอกุศล จิตที่ทาให้รูปทาการงานต่าง ๆ มี ๗๕ ดวง คือ จิต ๗๕ ดวง (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔) นักศึกษาควรอ่านบทเรียนเพิ่มเติมในชุดที่ ๓ เรื่องจิต และนาภาพจิตจากชุดที่ ๓ ประกอบ รูปที่เกิดจากจิต เรียกว่า จิตตชรูป มี ๑๕ คือ วิญญัติรูป ๒ สัททรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘
อุตุหมายถึง อุณหภูมิ คือ ความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายและในสิ่งไม่มีชีวิต แม้ตอนตาย อุตุก็ยังคงอยู่ในซากศพต่อไปจนกว่าจะสลายหมดไปเองตามธรรมชาติ รูปที่เกิดจากอุตุ เรียกว่า อุตุชรูป มี ๑๓ คือ สัททรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘
อาหารหมายถึง โอชาในอาหาร (หรือปัจจุบันเรียกว่าสารอาหาร) อาหารที่ได้รับประทานแล้วเมื่อไฟธาตุทาการย่อยแล้ว จะเป็นโอชาหรือสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย อาหารที่บริโภคไปคราวหนึ่งสามารถจะอุดหนุนให้รูปกายนี้อยู่ได้ถึง ๗ วัน แต่ถ้าเป็นโอชาที่เป็นทิพย์ย่อมอุดหนุนรูปกายได้ ๑ หรือ ๒ เดือน และในอาหารที่แม่บริโภคแล้วก็ยังส่งไปให้ถึงทารกในครรภ์ให้รูปของทารกนั้นดารงอยู่ได้ รูปที่เกิดจากอาหาร เรียกว่า อาหารชรูป มี ๑๒ คือ ปริจเฉทรูป ๑ วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘
เฉพาะรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ รูปที่เกิดจากจิตยังมีอีก ๗ อย่าง คือ ๑. จิตตชรูปสามัญ ๒. จิตตชรูปหัวเราะ ๓. จิตตชรูปร้องไห้ ๔. จิตตชรูปเคลื่อนไหว ๕. จิตตชรูปในการพูด ๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถน้อยใหญ่ ๗. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น ๑. จิตตชรูปสามัญ หมายถึง รูปที่เป็นไปตามปกติธรรมดาของร่างกาย เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น จิตตรูปสามัญนี้เกิดได้จากจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ เกิดจากกามาวจรโสภณจิต เกิดจากอเหตุกจิต เกิดจากมหัคคตจิต เกิดจากโลกุตตรจิตก็ได้ เช่น ลมหายใจเข้าออกตามปกติที่ไม่ได้มีการเจริญวิปัสสนาก็อาจจะเป็นจิตตรูปที่เกิดจากอกุศล แต่ถ้าพิจารณาลมหายใจเข้าออกโดยความเป็นวิปัสสนาจิตตชรูปนี้ก็เกิดจากกุศลได้ จิตชรูปสามัญเกิดจากจิต ๗๕ ดวงคือ ๑. อกุศลจิต ๑๒ ๒. อเหตุกจิต ๘(เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐) ๓. กามาวจรโสภณจิต ๒๔ ๔. มหัคคตจิต ๒๓(เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔) ๕. โลกุตตรจิต ๘ ๒. จิตตชรูปหัวเราะ หมายถึง จิตตชรูปที่ทาให้เกิดการยิ้ม เกิดการหัวเราะ จิตที่ทาให้เกิดการหัวเราะได้มี ๑๓ ดวง ๑. โลภโสมนัสจิต ๔ ๒. โสมนัสหสิตุปปาทจิต ๑ (เกิดได้กับพระอรหันต์เท่านั้น) ๓. มหากุศลโสมนัส ๔ ๔. มหากิริยาโสมนัส ๔ (เกิดได้กับพระอรหันต์เท่านั้น) ๓. จิตตชรูปที่ทาให้เกิดการร้องไห้ ความเศร้าโศกเสียใจจนเกิดการร้องไห้ของคนเรานั้น เกิดจากความโกรธนั่นเอง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒ ดวง ๔. จิตที่ทาให้เกิดการเคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อย ได้แก่ จิตที่ทาให้เกิดการเหยียด ก้ม เงย เหลียวซ้ายแลขวา กระพริบตา อ้าปาก หาว เป็นต้น เกิดจากจิต ๓๒ ดวง คือ อกุศล ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ และอภิญญาจิต ๒ ๕. จิตตชรูปที่ทาให้เกิดการพูด คือ การเปล่งวาจาต่าง ๆ ได้แก่ จิต ๓๒ ดวง

๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ คือ จิตที่ทาให้เกิด การยืน เดิน นั่ง นอน ได้แก่จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔) ๗. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น คือ จิตที่ทาให้เกิดการยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่) ที่เกิดขึ้นตามปกติขณะที่สบายดี ไม่มีอาการเจ็บไข้ ได้แก่จิต ๕๘ ดวง คือ มโนทวาราวัชชจิต ๑ กามชวน ๒๙ (คืออกุศล ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ ) อภิญญาจิต ๒ อัปปนาชวนจิต ๒๖ (คือ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๘ )
บุคคลที่ไม่ได้ศึกษาเรื่องรูปปรมัตถ์ อาจจะเข้าใจว่า สิ่งที่ทาให้รูปร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์เจริญเติบโตและดารงอยู่ได้เพราะอาหารอย่างเดียว แท้จริงแล้วยังต้องอาศัยปัจจัยอีก ๓ อย่าง คือ กรรม จิต และอุตุ ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายบ้างครั้งก็เจ็บไข้ ความเจ็บไข้นั้นก็เกิดจากสมุฏฐาน ๔ อย่างเหมือนกัน บางครั้งเจ็บไข้เพราะกรรม ได้เพียรพยายามรักษาเท่าไรก็ไม่หาย แต่เมื่อหมดกรรมก็ทาให้พบหมอดี ยาดี รักษาหายได้ เป็นต้น


รูปกลาปนัย
แสดงการเกิดขึ้นเป็นกลุ่มของรูป
คาว่ากลาป (อ่านว่า กะ-หลาบ หรือ กะ-ลา-ปะ ) แปลว่า กลุ่ม หรือ หมวด,หมู่,คณะ,กลุ่มดังนั้นรูปที่ชื่อว่า กลาป ก็คือกลุ่มของรูปที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย เกิดมาจากสมุฏฐาน ๔ คือ เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร รูปกลาปมีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกัน
๒. ดับพร้อมกัน
๓. มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยเกิด
รูปกลาป มีทั้งหมด ๒๑ กลาป และเกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีดังนี้
แบ่งรูปกลาปตามสมุฏฐานของการเกิด
๑. รูปกลาปที่เกิดจาก กรรม เรียกว่า กรรมชกลาป มี ๙ กลาป
๒. รูปกลาปที่เกิดจาก จิต ” จิตตชกลาป มี ๖ ”
๓. รูปกลาปที่เกิดจาก อุตุ ” อุตุชกลาป มี๔ ”
๔. รูปกลาปที่เกิดจาก อาหาร ” อาหารชกลาป มี๒ ”

การศึกษาเรื่องรูปกลาป จะทาให้เราทราบถึงกลุ่มรูปที่เกิดมาล้วนมีเหตุหรือสมุฏฐานแห่งการเกิดทั้งสิ้น จะได้ทาลายความสงสัยว่า คนหรือสัตว์ทั้งหลายเกิดมาได้อย่างไร ? พรหมสร้างให้เกิดมาหรือ ? ตลอดจนเป็นความรู้ให้เข้าถึงวิปัสสนาได้ รูปทั้ง ๒๘ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วโดยนัยต่าง ๆ เป็นความรู้ที่จะทาให้นักศึกษารู้จักคาว่า “รูป” ได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดระหว่างรูปกับอิริยาบถ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีการเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่รูปเพราะเป็นเพียงกิริยา อาการ ท่าทาง เท่านั้น การเจริญวิปัสสนาเพื่อให้รู้จักนามและรูป ต้องรู้เหตุแห่งการเกิดอิริยาบถ ซึ่งเหตุแห่งการเกิดอิริยาบถก็คือ วาโยธาตุ หรือธาตุลมนั้นเอง ถ้านักศึกษาพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้ก็เป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องแท้จริง
รูปปวัตติกมนัย แสดงการเกิดดับของรูป ๒๘ รูปปวัตติกมนัย เป็นการแสดงการเกิด-ดับของรูป ๒๘ ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งธรรมดาของรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมมีความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้คงสภาพเดิมอยู่ได้ คือ ตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ดังนั้นรูปร่างกายของคน สัตว์ ย่อมจะต้องมีการเกิด-ดับ ในหมวดนี้ท่านจึงแสดงความเกิดดับของรูปไว้ ๓ นัย คือ
๑. ตามนัยแห่งภูมิ แสดงการเกิด-ดับของรูปที่เกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ
๒. ตามนัยแห่งกาล แสดงการเกิด-ดับของรูปที่เกิดขึ้นในกาลต่าง ๆ
๓. ตามนัยแห่งกาเนิด การเกิด-ดับของรูปตามประเภทแห่งการเกิด


๑. ตามนัยแห่งภูมิ
รูป ๒๘ มี ดิน น้า ไฟ ลม จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ เป็นต้นนั้น ในแต่ละภูมิก็มีรูปเกิดได้จานวนไม่เท่ากัน ต่อไปจะศึกษาเรื่องภูมิใดจะมีรูปเกิดได้เท่าไร อะไรบ้าง ๑.๑ ใน ๓๑ ภูมิ มีรูปเกิดได้อย่างไร ภูมิอันเป็นที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายมีทั้งหมด ๓๑ ภูมิ แบ่งเป็น ๑. กามภูมิ ๒. รูปภูมิ ๓. อรูปภูมิ ๑.๑.๑ กามภูมิ มี ๑๑ ภูมิ กามภูมิเป็นภูมิที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา สัตว์ดิรัจฉาน ตลอดจนสัตว์นรก (เรื่องภูมิจะศึกษาโดยละเอียในบทเรียนชุดที่ ๖) มีรูปทั้ง ๒๘ เกิดได้ แต่ถ้าเกิดเป็นหญิงก็เว้นปุริสภาวะรูป ถ้าเกิดเป็นชายก็เว้นอิตถีภาวะรูป ส่วนในคนที่พิการแต่กาเนิด เช่น ตาบอด ฯลฯ ก็จะไม่มีจักขุปสาทรูปเกิด ๑.๑.๒ รูปภูมิ มี ๑๖ ภูมิ แบ่งเป็นภูมิที่รูปขันธ์และนามขันธ์ มี ๑๕ ภูมิ ภูมิที่มีแต่รูปอย่างเดียวมี ๑ คือ อสัญญสัตวพรหมภูมิ ในรูปภูมินั้นจะมีรูปเกิดได้ ๒๓ รูป (เว้น ฆานะ ชิวหา กายะ และภาวรูปทั้ง ๒ ) ในอสัญญสัตพรหมภูมิ ๑ จะมีรูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป (เว้นปสาทรูปทั้ง ๕ สัททรูป ๑ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ วิญญัติรูป ๒)
๑.๑.๓ อรูปภูมิ มี ๔ ภูมิ เป็นภูมิที่ไม่มีรูปมีแต่นามเท่านั้น ด้วยอานาจของปัญจมฌานที่ไม่ปรารถนาจะมีรูป รูปจึงเกิดขึ้นไม่ได้
๒. ตามนัยแห่งกาล
โดยนัยแห่งกาล เป็นการแสดงการเกิด-ดับของรูป ๒๘ ตามกาลว่ากาลใดมีรูปเกิดได้ และกาลใดรูปเกิดไม่ได้ คาว่า “กาล” มี ๓ กาล คือ
๑. ปฏิสนธิกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่
๒. ปวัตติกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป มีชีวิตดาเนินไปในชาตินั้น ๆ
๓. จุติกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป ตายจากภพชาตินั้น ๆ
๓. ตามนัยแห่งกาเนิด
ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิ จะมีลักษณะการเกิดได้ ๔ อย่าง คือ ๑) อัณฑชะกาเนิด ๒)ชลาพุชะกาเนิด ๓) สังเสทชะกาเนิด ๔) โอปปาติกกาเนิด ในกาเนิดทั้ง ๔ ยังสามารถจัดกลุ่มการเกิดได้อีก ๒ แบบ คือ เอาแบบที่ ๑ และ ๒ รวมกัน เรียกว่า คัพภไสยยกกาเนิด (อ่านว่า คับ-พะ-ไส-ยะ-กะ-กา-เนิด) หมายถึงสัตว์ที่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด ส่วนสังเสทชะกาเนิดและโอปปาติกกาเนิด ทั้งสองนี้ ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด
๑. เกิดจากไข่ เรียกว่า อัณฑชะกาเนิด ได้แก่ ไก่ นก จิ้งจก ตุ๊กแก และงู เป็นต้น ๒. เกิดจากครรภ์ เรียกว่า ชลาพุชะกาเนิด ได้แก่ พวกที่อาศัยเกิดจากครรภ์มารดาและคลอดออกมาเป็นตัวหรือทารกเล็ก ๆ แล้วค่อยเจริญเติบโตมาตามลาดับได้แก่ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เทวดาชั้นต่าบางพวก เป็นต้น ๓. เกิดจากเถ้าไคล เรียกว่า สังเสทชะกาเนิด การเกิดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา คือ จะอาศัยเถ้าไคล หรือยางเหนียวที่ชุ่มชื้นมีอุณหภูมิเหมาะสมเป็นที่อาศัยเกิดของสัตว์ชนิดนี้ เช่น หนอนในปลาเน่า มอดในข้าวสาร เป็นต้น มนุษย์ที่เกิดจากดอกไม้ ต้นไม้ ผลไม้ เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากดอกบัว เป็นต้น ๔. เกิดขึ้นมาโตทันที เรียกว่า โอปปาติกกาเนิด คือ เกิดแล้วโตทันที ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา หรือที่ชื้นแฉะแต่อย่างใด แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว โดยการผุดเกิดขึ้นมีรูปร่างใหญ่โตทันที ได้แก่ เทวดา เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัป เป็นต้น
ปฏิสนธิวิญญาณจะเกิดในครรภ์มารดาได้นั้นต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
๒. มารดาอยู่ในวัยมีประจาเดือน
๓. มีปฏิสนธิวิญญาณมาเกิด
เมื่อวิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดาแล้ว รูปต่าง ๆ จะเกิดขึ้นเจริญตามลาดับดังนี้ คือ สัปดาห์แรก เป็นกลละ มีลักษณะ เป็นหยาดน้าใสเหมือนน้ามันงา มีปริมาณเท่ากับ หยาดน้ามันที่ติดอยู่ที่ปลายขนจามรีที่สลัดแล้ว ๗ ครั้ง สัปดาห์ที่ ๒ เป็นอัพพุทะ ” เป็นฟอง มีสีเหมือนน้าล้างเนื้อ สัปดาห์ที่ ๓ เป็นเปสิ ” เป็นชิ้นเนื้อ ชิ้นเนื้อมีลักษณะเหลวคล้ายกับดีบุก สัปดาห์ที่ ๔ เป็นฆนะ ” เป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่ไก่ สัปดาห์ที่ ๕ เป็นปัญจสาขา ” เกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นศีรษะ ๑ มือและเท้าอย่างละ ๒ สัปดาห์ที่๖-๔๒ จะเกิดอวัยวะต่าง ๆ และในสัปดาห์ที่ ๑๑ เป็นสัปดาห์ที่จะเกิด จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานะปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา จะมีสายสะดือของทารกติดกับแผ่นท้องของมารดา สายสะดือจะมีลักษณะเป็นรูเหมือนก้านบัว เมื่อมารดาบริโภคอาหารเข้าไปแล้ว สารอาหารจะไปเลี้ยงทารกทางสายสะดือ จนกระทั่งทารกมีอายุ ๑๐ เดือน จึงคลอดออกมา หมายเหตุ ๑ เดือน นับตามปีจันทรคติ มี ๒๘ วัน ทารกอายุ ๑๐ เดือน เท่ากับ ๒๘๐ วัน แต่ในปัจจุบัน ๑ เดือน นับตามปีสุริยคติ มี๓๐ วัน ในปัจจุบันจึงนับว่าทารกจะอยู่ในครรภ์มารดาประมาณ ๙ เดือนหรือกว่านั้น โดยทางแพทย์จะนับจานวนวันเท่ากับจานวนวันทางจันทรคติ คือ ๒๘๐ วันเช่นกัน
สรุป เรื่องรูปปรมัตถ์ที่ได้แสดงมาแล้วโดยนัยทั้ง ๕ นั้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณารูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับสัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม เป็นอย่างไร ? มีอะไรบ้าง ? ความรู้ที่ละเอียดลึกซื้ง อย่างนี้มีได้ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ทรงแสดงความจริงอย่างนี้แก่สาวก สาวกจึงนามาสั่งสอนต่อไป
เมื่อได้ศึกษาเรื่องจิต เจตสิก และรูป มาแล้ว ก็ควรนาประโยชน์จากการศึกษาไปพิจารณา เพื่อหยั่งลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ โดยการพิจารณาตามความเป็นจริงของนาม (คือจิตและเจตสิก) และพิจารณาตามความเป็นจริงของรูป คือ รูปทั้ง ๒๘ ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม
เมื่อพิจารณาลักษณะของนาม และรูปโดยความเป็นจริงได้บ่อย ๆ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น โดยพึงพิจารณาถึงรูปอย่างถูกต้อง พิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปนั้นว่า เป็นเพียงนาม เป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้ การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้ จึงจะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุเป็นพระอรหันต์ในภายหลังได้

๑๘
นิพพานปรมัตถ์ นิพพานเป็นโลกุตตรธรรม เป็นธรรมที่เหนือโลก เป็นธรรมที่ออกจากตัณหา ที่เป็นเครื่องร้อยรัดสัตว์ทั้งหลายให้วนเวียนเกิดตายอยู่ในสังสารวัฏไม่จบไม่สิ้น นิพพานเมื่อว่าโดยสภาวลักษณะแล้ว มีอย่างเดียวได้แก่ สันติลักษณะ คือ ความสงบจากกิเลสและขันธ์ทั้งหลาย นอกจากนี้นิพพานยังมีอีกหลายนัย กล่าวคือ นิพพาน มี ๒ นัยก็มี นิพพานมี ๓ นัยก็มี นิพพานเมื่อกล่าวโดย ๒ นัย คือ
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังมีขันธ์เหลืออยู่ (ได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุพระ
นิพพานแล้ว แต่ยังมีชีวิตอยู่) ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่มีขันธ์เหลืออยู่ (ได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุพระ นิพพานแล้ว และดับขันธ์ทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว) นิพพานเมื่อกล่าวโดย ๓ นัย คือ ๑. สุญญตนิพพาน ๒. อนิมิตตนิพพาน ๓. อัปปณิหิตนิพพาน
๑. สุญญตนิพพาน
คือพระนิพพานของบุคคลที่เจริญวิปัสสนาโดยเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตา แล้วมรรคจิตเกิดขึ้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้ชื่อว่า สุญญตนิพพาน สุญญตนิพพาน คือ ธรรมที่ว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
๒. อนิมิตตนิพพาน
คือพระนิพพานของบุคคลที่เจริญวิปัสสนาโดยเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง แล้วมรรคจิตเกิดขึ้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน อนิมิตตนิพพาน คือ การไม่มีนิมิตเครื่องหมายแห่งกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
๓. อัปปณิหิตนิพพาน
คือพระนิพพานของบุคคลที่เจริญวิปัสสนาโดยเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นทุกข์แล้วมรรคจิตเกิดขึ้นมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การเข้าถึงพระนิพพานอย่างนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน อัปปณิหิตนิพพาน คือ การไม่มีที่ตั้งแห่งกิเลส มี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น พระนิพพานเป็นปรมัตถสัจจะ คือ เป็นธรรมชาติที่มีความจริง ส่วนบัญญัติธรรมนั้นเป็นเพียงสมมุติสัจจะเท่านั้น สมมุติว่าเป็นนาย ก. นางสาว ข. สมมุติว่า นก หนู หมู แมว ซึ่งโดยปรมัตถ์แล้ว สัตว์ บุคคลไม่มี มีเพียงนามธรรม คือ จิตและเจตสิก มีแต่เพียงรูปธรรม คือ รูป ๒๘ เท่านั้น ซึ่งทั้งนามและรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแตกดับ ปรวนแปรไป แต่นิพพานเป็นธรรมที่เที่ยงมั่นคง ไม่แตกดับ นิพพานเป็นที่สิ้นสุดแห่งการเวียนตายเวียนเกิด ปุถุชนจะรู้จักนิพพานได้อย่างไร ? กัลยาณปุถุชนจะรู้พระนิพพานได้ก็โดยการอนุมาน หรือ การคาดคะเนเอาตามหลักเหตุผลว่า ปัญญาที่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์สามารถมีอยู่ได้ ปัญญาที่มีบัญญัติธรรมเป็นอารมณ์ก็สามารถมีอยู่ได้ แต่ปัญญาเหล่านั้นที่มีอยู่ยังไม่สามารถตัดกิเลสทั้งหลายให้เด็ดขาดราบคาบได้ (โดยสมุจเฉท) ฉะนั้นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับสังขตธรรมและบัญญัติธรรม อันเป็นอารมณ์แห่งมรรคญาณและผลญาณ ชื่อว่า นิพพานคงมีอยู่ เราเหล่ากัลยาณปุถุชน คงจะรู้จักพระนิพพานได้โดยการอนุมานเอาอย่างนี้ ยังไม่สามารถรู้จักของจริงได้ ต่อเมื่อวิปัสสนาแก่กล้าจนเกิดมรรคและผลแล้วนั้นแหละจึงจะรู้จักพระนิพพานจริงๆ

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน อาราธนาศีล รักษาศีล ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน วันนี้เหนื่อยมาก
และได้สวดมนต์ อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้า วันน้มีการถวายสังฆทาน
ที่วัดจำนวน 100 กว่าชุด เมื่อวานได้ช่วยเหลือเพื่อนที่ได้ความลำบาก
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญซ่อมแซมพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีนครน่าน
ติดต่อ 081-0343987

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ :lol:
ตอบกระทู้