พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อังคาร 16 มี.ค. 2010 7:36 pm
สภาพธรรมมีอยู่แล้วทุกขณะ แต่ขาดสติสัมปชัญญะที่เข้าไปศึกษา เพื่อการ
รู้ทั่ว รู้ชัด ตามความเป็นจริง เพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงยึดมั่นถือมั่น
หลงติด และไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งสติสัมปชัญญะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการ
อบรมตามลำดับ
ความร่าเริงในธรรม เริ่มตั้งแต่เวลาฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ เกิดปีติ ปราโมทย์
หรือขณะที่ปัญญาเกิดเห็นแจ้งในธรรม แล้วเกิดปีติโสมนัส หรือผู้ที่มีปัญญา
ขั้นอริยมรรคเกิดขึ้นดับกิเลส แล้วเกิดโสมนัส ลักษณะนี้ชื่อว่า ร่าเริงในธรรมครับ
คำว่า “ร่าเริง” คือ ให้ผ่องใส ให้รุ่งเรือง ด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว
ไม่ทราบว่าท่านสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง บ้างหรือยัง แต่ให้ทราบว่า ท่าน
สามารถที่จะร่าเริงได้ในขณะที่กุศลจิตเกิด บางท่านเป็นทุกข์เพราะเป็นห่วงเป็น
กังวลว่าอายุมากแล้ว สติปัฏฐานก็ยังเกิดน้อยเหลือเกิน ขณะนั้นเป็นอกุศล
พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงพระธรรมให้บุคคลใดมีอกุศลมากๆ หรือ
เป็นห่วงมากๆ แต่ทรงแสดงธรรมเพื่อให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง อกุศล
ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยยับยั้งไม่ได้ เมื่อกุศลจิตประเภทหนึ่งประเภทใด
เกิดขึ้น อกุศลนั้นก็เกิดขึ้นแล้ว แต่ร่าเริงได้ ในขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของ
อกุศลที่ปรากฏ และศึกษาพิจารณาลักษณะของอกุศลธรรมที่ปรากฏ เพื่อจะได้รู้
ว่าแม้อกุศลธรรมนั้นก็ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เมื่อสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของ
อกุศลที่กำลังปรากฏ ย่อมจะเห็นได้ชัดจริงๆ ว่าขณะที่สติกำลังระลึกนั้น ไม่เศร้า
หมองเลย เพราะเมื่อไม่ยึดถืออกุศลธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนั้นเป็นตัวตน
เป็นเรา ก็ไม่กังวลเดือดร้อน
หนทางเดียวที่จะบรรเทาละคลายอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ให้เพิ่ม
ความเป็นห่วงกังวลขึ้นนั้น ก็โดยสติระลึกและสังเกตพิจารณารู้ว่า สภาพธรรมที่
เป็นอกุศลต่างๆ นั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคลใดๆ เลย
ฉะนั้น เมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็จะเข้าใจถึงความหมายของคำว่า
ให้ร่าเริง คือ ให้ผ่องใสและให้รุ่งเรื่องด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว คือ สามารถที่
จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ฉะนั้น เมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็จะเข้าใจถึงความหมายของคำว่า
ให้ร่าเริง คือ ให้ผ่องใสและให้รุ่งเรื่องด้วยคุณที่ตนแทงตลอดแล้ว คือ สามารถที่
จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ข้อความในอรรถกถาเวรัญชกัณ อธิบายว่า
อาจหาญ คือ ทำให้มีอุตสาหในกุศลธรรม ตามที่ตนสมาทานแล้ว
ร่าเริง คือ ยินดีในกุศลนั้น ด้วยธรรมกถานั้น ภาษาบาลีว่า สมุตฺเตธิตา สมฺปหํสตา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
ทรงให้เขาอาจหาญในธรรมที่เป็นกุศลนั้น คือกระทำเขาให้มีความอุตสาหะ
ทำให้เขาร่าเริง ด้วยความเป็นผู้มีอุตสาหะนั้น และคุณที่มีอยู่อย่างอื่น
ทรงให้ฝน คือ พระธรรมรัตนะ ตกลงแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
บทว่า ให้อาจหาญ ทำให้จิตใจของพระราชานั้นผ่องใส ด้วยการบรรเทา
ความวิปฏิสาร. บทว่า ให้ร่าเริง คือกล่าวสรรเสริญว่า ข้าแต่มหาราช
พระองค์เมื่อถวายทานอยู่ทรงกระทำดีแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 660
บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ทำจิตของบุคคลทั้งหลาย ผู้ดำรงอยู่ในกุศลธรรม
อย่างนี้ ให้อาจหาญด้วยดี ด้วยการแนะนำในการบำเพ็ญอธิจิตขั้นสูงขึ้นไป คือ
ทำจิตของเขาให้ผ่องใสด้วยการพิจารณา โดยประการที่เขาจะบรรลุคุณวิเศษได้.
บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ทำจิตของบุคคลเหล่าอื่นนั้นให้ร่าเริงด้วยดี ด้วย
คุณวิเศษตามที่ได้แล้ว และที่จะพึงได้ในขั้นสูงคือ ทำจิตของเขาให้ยินดีด้วย
ดี ด้วยอำนาจความพอใจที่ได้แล้ว.
อีกประการหนึ่ง.
บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ผ่องใสหรือรุ่งเรื่องด้วยดีทีเดียว ด้วย
การให้เกิดอุตสาหะในการรับเอาเนื้อความนั้น.
บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ร่าเริง คือ ให้ยินดีด้วยดีทีเดียวซึ่งเนื้อความ
นั้นด้วยการแสดงอานิสงส์ในการปฏิบัติ
ตามข้อความในอรรถกถาพระวินัยมหาวรรค ที่ท่านยกมา ความเป็นสามเณรขาดแล้ว
และเป็นเถยยสังวาสก์ และคนเถยยสังวาสก์ จะบรรพชา หรืออุปสมบทอีกไม่ได้
แต่ในยุคนี้สามเณรไม่มีผู้แนะนำ และไม่มีเจตนาลักเพศ คือไม่รู้ว่าขาดจากความเป็น
สามเณรแล้ว สำคัญว่ายังเป็นสามเณรอยู่ การขอสรณะและศีลใหม่ก็ควรจะใช้ได้
ทั้งนี้ควรปรึกษาพระวินัยธรผู้ทรงพระวินัยและมีประสบการณ์ครับ
ขอเพิ่มเติมในส่วนของพระวินัย ในเรื่องการทำกรรมของคณะสงฆ์ คือ
ทรงแนะนำพระสาวกให้เคารพที่ประชุม เคารพมติที่ประชุม เมื่อที่ประชุม
ปรึกษากันด้วยเรื่องใด ที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน ก็เป็นมติที่ประชุม ถ้า
กรรมที่ที่ประชุมนั้นกระทำถูกต้องเป็นธรรม จะไปพูดคัดค้านภายหลังไม่ได้
เพราะมติส่วนใหญ่เห็นชอบแล้วครับ
ขอเพิ่มเติมในส่วนของพระวินัย ในเรื่องการทำกรรมของคณะสงฆ์ คือ
ทรงแนะนำพระสาวกให้เคารพที่ประชุม เคารพมติที่ประชุม เมื่อที่ประชุม
ปรึกษากันด้วยเรื่องใด ที่ประชุมไม่มีใครคัดค้าน ก็เป็นมติที่ประชุม ถ้า
กรรมที่ที่ประชุมนั้นกระทำถูกต้องเป็นธรรม จะไปพูดคัดค้านภายหลังไม่ได้
เพราะมติส่วนใหญ่เห็นชอบแล้วครับ
สุคติภูมิ หมายถึง ภูมิที่เป็นที่อยู่ที่เป็นสุข มีทั้งหมด ๒๗ ภูมิ คือ กามสุคติภูมิ มี ๗ ภูมิ รูปภูมิ มี ๑๖ ภูมิ อรูปภูมิ มี ๔ ภูมิ มีรายละเอียดดังนี้ กามสุคติภูมิ กามสุคติภูมิ มี ๗ ภูมิ คือ มนุษยภูมิ ๑ และ เทวภูมิ ๖ คือ ๑. จาตุมหาราชิกาภูมิ ๒.ตาวติงสาภูมิ ๓. ยามาภูมิ ๔. ดุสิตาภูมิ ๕. นิมมานรตีภูมิ ๖. ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ มนุษยภูมิ สัตว์ทั้งหลายที่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะว่ามีใจสูงด้วยคุณทั้งหลาย คือ มีสติ มีความเป็นผู้กล้าและความเป็นผู้สมควรแก่พรหมจรรย์ เป็นต้น ที่อยู่ของมนุษย์มีอยู่ในทวีปใหญ่ ๔ ทวีป คือ ๑. อุตตรกุรุทวีป (อ่านว่า อุด-ตะ-ระ-กุ-รุ-ทวีป) ๒. ปุพพวิเทหทวีป (อ่านว่า ปุบ-พะ-วิ-เท-หะ-ทวีป) ๓. อปรโคยานทวีป (อ่านว่า อะ-ปะ-ระ-โค-ยาน-ทวีป) ๔. ชมพูทวีป (อ่านว่า ชม-พู-ทวีป) ทวีปทั้ง ๔ นี้ ตั้งอยู่รอบภูเขาสิเนรุตามทิศทั้ง ๔ ทวีปหนึ่งๆ มีทวีปใหญ่น้อยเป็นบริวาร ทวีปละ ๕๐๐ ทวีป (ทวีปใหญ่ ๔ ทวีป คูณ ทวีปบริวาร ๕๐๐ เท่ากับ ๒,๐๐๐ ทวีป) (ดูภาพสมมติประกอบ) อธิบายลักษณะของภูเขาสิเนรุ
ภูเขาสิเนรุ เป็นศูนย์กลางของมงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะอุบัติขึ้นเฉพาะในมงคลจักรวาลนี้เท่านั้น ยอดเขาสิเนรุเป็นผืนแผ่นดินแห่งแรกที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุถูกทาลายลง
ด้วยน้า แผ่นดินที่โผล่ครั้งแรกเป็นที่ตั้งของเทวดาชั้นตาวติงสาภูมิ และภูมิที่อยู่สูงขึ้นไปในอากาศ คือ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของรูปพรหม ๑๖ ชั้น และอรูปพรหม ๔ ตามลาดับ ภูเขาสิเนรุ มีความสูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ จมอยู่ในมหาสมุทรสีทันดรครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งอยู่เหนือพื้นมหาสมุทร วัดโดยรอบได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ ยอดเขามีลักษณะกลมมีความกว้างและความยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ พื้นแผ่นดินยอดเขาประกอบด้วยรัตนะเจ็ด ตามไหล่เขา ๔ ด้าน ทิศตะวันออกเป็นเงิน ทิศตะวันตกเป็นแก้วผลึก ทิศใต้เป็นแก้วมรกต ทิศเหนือเป็นทอง น้าในมหาสมุทรตลอดจนอากาศ ต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ทิศนั้นๆ จะเป็น สีเงิน สีแก้วผลึก สีเขียว สีทอง ตามสีของรัตนะที่อยู่ตามไหล่เขาด้วย ตอนกลางภูเขาสิเนรุลงมาจนถึงใต้พื้นน้ามหาสมุทร มีชานบันไดเวียนห้ารอบ คือ ชั้นที่ ๑ที่อยู่ใต้พื้นน้า เป็นที่อยู่ของพญานาค ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑเทวดา ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักขเทวดา ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์ พื้นรากฐานของภูเขาสิเนรุ มีภูเขา ๓ ลูกตั้งรับอยู่ ๓ ด้าน พื้นฐานของภูเขาสิเนรุหยั่งลงตั้งอยู่ในช่องระหว่างกลางของภูเขาทั้ง ๓ ใต้พื้นฐานของภูเขาสิเนรุลงไปมีช่องว่างเป็นอุโมงค์ มีความกว้างหนึ่งหมื่นโยชน์ เป็นที่อยู่ของเหล่าอสูร ในระหว่างโลกธาตุหนึ่งๆ มีภูเขากั้นไว้เรียกว่าภูเขาจักรวาล มีขนาดต่ากว่าภูเขาสิเนรุ รอบภูเขาสิเนรุ มีภูเขาสัตตบรรพ์ ๗ ชั้นล้อมรอบ ชั้นที่ ๑ ชื่อยุคันธร ชั้นที่ ๒ ชื่ออิสินธร ชั้นที่ ๓ ชื่อกรวิกะ ชั้นที่ ๔ ชื่อสุทัสสนะ ชั้นที่ ๕ ชื่อเนมินธร ชั้นที่ ๖ ชื่อวินตกะ ชั้นที่ ๗ ชื่ออัสสกัณณะ คัมภีร์สารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่ามหานรก ๘ ขุม และอุสสทนรก นรกบริวารของมหานรก ตั้งอยู่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับชมพูทวีป รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม
อธิบายลักษณะของพื้นแผ่นดิน ดังนี้คือ พื้นแผ่นดินตั้งอยู่บนน้า น้าตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ โลกตามพุทธภาษิตได้อธิบายว่า พื้นดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ชั้นบนครึ่งหนึ่งเป็นดินธรรมดาเรียกว่า ปํสุปถวี หนา ๑๒๐,๐๐๐ โยชน์ ชั้นล่างครึ่งหนึ่งเป็นหินเรียกว่า สิลาปถวี หนา ๑๒๐,๐๐๐ โยชน์ พื้นแผ่นดินตั้งอยู่บนพื้นน้า น้าที่รองรับแผ่นดินนี้เป็นน้าแข็ง มีความหนา ๔๘๐,๐๐๐ โยชน์ น้าแข็งนี้ตั้งอยู่บนพื้นลม มีความหนา ๙๖๐,๐๐๐
โยชน์ ต่อจากพื้นลมไปเป็นอากาศว่างเปล่ามีแต่ความมืด ไม่มีน้า ไม่มีลม มีความหนาหาประมาณมิได้ มนุษย์ที่อยู่ในทวีปต่าง ๆ รอบเขาสิเนรุ ๑. มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีป อายุ ๑,๐๐๐ ปี
อธิบายลักษณะของมนุษย์ที่อยู่ในทวีปทั้ง ๔ ๑. อุตตรกุรุทวีป อยู่ทิศเหนือของเขาสิเนรุ มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีเสมอ มีการรักษาศีล ๕ เป็นนิจ ฉะนั้น เมื่อตายจะได้ไปเกิดในเทวโลกแน่นอน เมื่อถึงเวลาตายจากเทวโลกแล้วอาจไปเกิดในอบายภูมิ ๔ หรือเกิดในทวีปอื่น หรือเกิดในภูมิใดภูมิหนึ่งได้แล้วแต่บุญกรรมที่ทาในขณะที่เกิดในเทวโลก ฉะนั้นการที่คนอุตตรกุรุไม่ไปสู่อบายภูมิ ก็จะเป็นเพียงชาติเดียวจากภพที่เขากาลังเป็นอยู่เท่านั้น มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีป มีความประเสริฐกว่าคนในชมพูทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ดังนี้
๑. ไม่ยึดถือเอาทรัพย์สินเงินทองว่าเป็นของตน
๒. ไม่ยึดถือในบุตร ภริยา สามี ว่าเป็นของตน
๓. มีอายุยืนถึง ๑,๐๐๐ ปีเสมอ
๒. ปุพพวิเทหทวีป ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้าคล้าย พระจันทร์ครึ่งซีก มีอายุ ๗๐๐ ปี ๓. อปรโคยานทวีป ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์วันเพ็ญ มีอายุ ๕๐๐ ปี ๔. ชมพูทวีป ตั้งอยู่ทิศใต้ของเขาสิเนรุ มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้ารูปไข่ มีอายุขัยไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับคุณธรรม สมัยใดคนในชมพูทวีปมีกาย วาจา ใจ สูงด้วยคุณธรรม สมัยนั้นอายุยืนถึง อสงไขยปี สมัยใดมีกาย วาจา ใจ หย่อนในคุณธรรมต่าสุด สมัยนั้นอายุจะลดลงมาเหลือเพียง ๑๐ ปี คุณสมบัติของมนุษย์ในชมพูทวีป ๑. มีจิตใจรุ่งเรืองและกล้าแข็ง กล้าหาญที่จะทาดีและไม่ดีได้อย่างสุดๆ ทางดีทาได้จนสาเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า อัครสาวก มหาสาวก ปกติสาวก อภิญญา ทางไม่ดีทาได้ถึงฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทาโลหิตุปบาท สังฆเภท หรือเรียกว่าทาอนันตริยกรรม ๕ ๒. มีความเข้าใจในเหตุอันควรและไม่ควร เข้าในเหตุผลและปฏิบัติให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง ๓. เข้าใจสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ รู้และเข้าใจว่าการทา พูด คิด อย่างไรจึงจะให้ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า หรือประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ทาให้พ้นจากทุกข์โดยเด็ดขาด ๔. เข้าใจในกุศลและอกุศล การทา พูด คิด ที่เป็นไปด้วยอานาจของความโลภ เป็นไปด้วยอานาจของความโกรธ เป็นไปด้วยอานาจของความลุ่มหลง ก็จะหลีกเลี่ยงไม่กระทา เพราะเข้าใจผลกรรมที่จะตามมาจากการทา พูด คิด แล้วมาทาในสิ่งที่เป็นบุญกุศล ๕. เชื่อว่าพวกตนนั้นมีเชื้อสายมาจากพระเจ้ามนุ ซึ่งมีตานานเล่าว่า พระเจ้ามนุนี้เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ปกครองชาวชมพูทวีปมาด้วยความเที่ยงธรรม ทาให้ชมพูทวีปมีความรุ่งเรืองสืบทอดกันมา มนุษย์ในชมพูทวีปจึงมีลักษณะพิเศษกว่าทวีปอื่นทั้งหมด ๓ ประการ คือ
๑. เป็นผู้มีจิตใจกล้าแข็งแน่วแน่ในการทาทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา
๒. มีสติตั้งมั่นในคุณพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๓. ประพฤติพรหมจรรย์ คือ มีการอุปสมบท
จบ มนุษยภูมิ เทวภูมิ เทวภูมิ เป็นภูมิที่มีความสุข แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ กามาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในกาม ได้แก่ สวรรค์ ๖ ชั้น รูปาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปฌาน ได้แก่อรูปพรหม ๔ ชั้น ฉะนั้นในสวรรค์กามาวจร ๖ ชั้น จึงยังเกี่ยวข้องกับกามคุณ ท่านแสดงว่า ชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์มีเหมือนมนุษย์ ชั้นยามามีแต่กายสังสัคคะ ชั้นดุสิตมีเพียงจับมือกัน ชั้นนิมมานรตีมีเพียงยิ้มรับกัน ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีมีแต่มองดูกันเท่านั้น ส่วนในรูปาวจรและอรูปาวจร ที่เรียกว่า พรหมโลก ทุกชั้นไม่เกี่ยวข้องกับกาม ในอรรถกถาวิภังค์กล่าวว่าไม่มีเพศสตรีเพศบุรุษในพรหมโลก คาว่า เทวะ ในคัมภีร์สัททนีติ แปลไว้ ๘ อย่าง ต่อนี้
๑. ผู้ที่เล่น หมายถึง ผู้ที่เล่นด้วยกามคุณทั้ง ๕ คือ มีสุขสนุกสบายอยู่ด้วยทิพยสมบัติทุกเวลา ๒. ผู้ที่ปรารถนา หมายถึง ปรารถนาจะชนะปฏิปักษ์ คือต้องการชนะข้าศึก ไม่ยอมแพ้ ๓. ผู้ที่กล่าว หมายถึง มีวาจาที่โลกนับถือ บอกว่าควรหรือไม่ควรอย่างไรก็เชื่อฟัง ๔. ผู้ที่รุ่งเรืองสว่าง หมายถึง รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ สรีระมีความสว่างรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ๕. ผู้ที่ได้รับความชมเชย ๖. ผู้ที่มีผู้ใคร่ หมายถึง ใคร่จะเห็นจะได้ยิน เป็นต้น ล้วนประกอบด้วยความงามเป็นพิเศษ ๗. ผู้ที่ไปได้ หมายถึง ผู้ที่ไปได้โดยไม่ขัดข้องในทุกที่ตามปรารถนา ๘. ผู้ที่สามารถ หมายถึง ผู้ที่สามารถยังกิจนั้นๆ ให้สาเร็จด้วยอานุภาพสมบัติ สวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ เทพหรือเทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ มีกายทิพย์ เป็นกายสว่าง ละเอียด ไม่ปฏิกูล เกิดเป็นโอปปาติกะกาเนิด คือผุดเกิดขึ้นโตทันที แต่เป็นกายที่ไม่ปรากฏแก่ตาคน ส่วนเทพในรูปภูมิและอรูปภูมิก็มีกายทิพย์เช่นเดียวกันแต่มีความละเอียดประณีตกว่า เทพบุตรเทพธิดามีแต่ความหนุ่มสาว เทพธิดาจะมีรูปลักษณะอยู่ในวัยอายุราว ๑๖ ปี เทพบุตรจะมีรูปลักษณะอยู่ในวัยอายุราว ๒๐ ปี เหมือนกันหมด มีความบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุยืนยาว ความแก่ เจ็บ ตาย ไม่ปรากฏ ตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก เทวดาจะมีแต่ความสุขเพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา เทวดาชั้นกามาวจรภูมิ เมื่อหมดบุญจะตายจากเทวภูมิ จะมีสิ่งปรากฏให้ทราบ ๕ อย่าง คือ มรณนิมิตของเทวดา ๕ อย่าง ได้แก่ ๑.ผิวกายเศร้าหมอง ๒.พวงดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง ๓.ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง ๔.เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง ๕.อาสนะแข็ง ทากุศลอย่างไรจึงเกิดเป็นเทวดา ๑. สร้างบุญกุศลไว้มากจะเกิดในวิมานของตนเอง เหมือนคนรวยย่อมมีบ้านของตนเอง ไม่ต้องเช่าหรืออาศัยคนอื่นอยู่
๒. สร้างบุญกุศลไว้น้อย ไม่มีวิมานของตนเอง เกิดในวิมานเทวดาอื่นๆ โดย - ผุดปรากฏขึ้นที่ตักของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบุตร ธิดา ของเทวดาองค์นั้น - ผุดปรากฏขึ้นที่แท่นบรรทมของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบาทบริจาริกาหรือภรรยาของ เทวดาองค์นั้น - ผุดปรากฏขึ้นใกล้แท่นบรรทมของเทวดาองค์ใด ก็เป็น ผู้รับใช้ของเทวดาองค์นั้น - ผุดปรากฏขึ้นภายในวิมานของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบริวาร ของเทวดาองค์นั้น - ผุดปรากฏขึ้นนอกวิมาน ใกล้วิมานของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบริวาร ของเทวดาใน วิมานนั้น - ผุดปรากฏขึ้นระหว่างวิมานพอดี ก็ดูว่าเวลาผุดเกิดหันหน้าไปทางวิมานใด ก็ต้อง เป็นบริวาร ของเทวดาในวิมานนั้น - ผุดปรากฏขึ้นระหว่างวิมานพอดี แต่ไม่หันหน้าไปทางวิมานใด ก็ตกเป็นบริวารของ เทวดาที่เป็นใหญ่ปกครองสวรรค์ชั้นนั้นๆ หรือจะยกให้เป็นบริวารของเทวดาองค์ใด องค์หนึ่งก็ได้ เทวะ หรือ เทวดา มี ๓ ประเภท คือ ๑. อุปปัตติเทวะ เทวดาโดยกาเนิด ได้แก่ เทวดาและพรหม ๒. สมมติเทวะ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา ๓. วิสุทธิเทวะ เทวดาที่บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง หมายถึง พระอรหันต์
จาตุมหาราชิกาภูมิ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ มีท้าวมหาราช ๔ องค์ แบ่งกันปกครองดังนี้ ๑. ท้าวธตรฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองคันธัพพเทวดา ๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดา ๔. ท้าวกุเวระ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขเทวดา
ในอาฏานาฏิยสูตร ได้กล่าวถึงหน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ และบริวาร คือ เป็นผู้รักษาด่านหน้าของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูรซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะยกทัพขึ้นมาตีเอาถิ่นสวรรค์คืน แต่ใน สุตตันตปิฎกติกนิบาต ได้แสดงหน้าที่ว่า เป็นผู้ตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์ในวัน ๘ ค่าแห่งปักษ์ อมาตย์บริษัทของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๔ ค่าแห่งปักษ์ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๕ ค่าแห่งปักษ์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกเองว่าพวกมนุษย์พากันบารุงมารดาบิดา บารุงสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ทาบุญกุศล เป็นต้น มีจานวนมากอยู่หรือ เมื่อตรวจดูแล้วถ้าเห็นว่ามีจานวนน้อย ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่งประชุมกันในสุธรรมสภา พวกเทพชั้นดาวดึงส์เมื่อได้ฟังดั่งนั้นก็มีใจหดหู่
ทิพยกายจักลดถอย อสุรกายจักเพิ่มพูน แต่ถ้าเห็นว่าพวกมนุษย์พากันทาดี มีบารุงมารดาบิดาเป็นต้น เป็นจานวนมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ก็จะพากันชื่นบาน ทิพยกายจักเพิ่มพูน อสุรกายจักลดถอย ดังกล่าวมานี้เป็นหน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทาหน้าที่คุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ ในเรื่องความคุ้มครองโลกนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมที่เป็นธรรมคุ้มครองโลก(โลกบาล)ไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ ความละอายใจที่จะทาชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว บุคคลทั้งหลายเมื่อมีธรรมคุ้มครองโลกรักษาไว้แล้วก็จะไม่ทาความชั่วเพราะความละอาย ไม่ทาความชั่วเพราะมีความเกรงกลัว เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงจะมีท้าวมหาราชทั้ง ๔ มาตรวจตราที่จิตใจหรือไม่มีก็ตาม บุคคลทั้งหลายก็เป็นผู้ที่ละเว้นความชั่วได้แล้วด้วยความมีหิริ และโอตตัปปะ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา อยู่ตั้งแต่กลางภูเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินมนุษย์ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้ ๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน ๒. รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนต้นไม้ ๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่) ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้า มหาสมุทร ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา ใต้พื้นดิน เป็นต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จาพวก คือ มีวิมาน และไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานวิมานจะตั้งอยู่บนยอดไม้ เทวดาที่ไม่มีวิมานก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ กิ่งไม้ อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานของตนเองตั้งอยู่ในอากาศ ภายในภายนอกวิมานประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง ได้แก่ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง บางวิมานมี ๒ รัตนะ ๓ รัตนะ ขึ้นอยู่กับกุศลที่ตนเคยสร้างไว้ วิมานเหล่านี้จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ ภูเขาสิเนรุ เทวดาใจร้าย ๔ จาพวก
เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ บางพวกขาดเมตตาธรรม เป็นเทวดาใจร้าย มี ๔ จาพวก คือ ๑. คันธัพโพ คันธัพพี คือ เทวดาชาย หญิง ที่ถือกาเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรียกว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรือทาอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นาไม้นั้นมาใช้สอย เทวดาจาพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทาเรือ แพ บ้าน เรือน เครื่องใช้สอย ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัด ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น ๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี คือ เทวดาชาย หญิง ที่เรียกว่ารากษส (อ่านว่า ราก-สด) เทวดารักษาสมบัติต่างๆ รักษาป่า ภูเขา แม่น้า เทวดาจาพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรุฬหกะ ๓. นาโค นาคี คือ นาคเทวดาชาย หญิง มีวิชาเวทมนต์คาถา ขณะท่องเที่ยวในโลกมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคน สัตว์ นาคเทวดาบางพวกมีอัธยาศัยชอบลงโทษพวกสัตว์นรก จะเนรมิตตัวไปเป็นนายนิรยบาลคอยลงโทษสัตว์นรก เทวดาจาพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ ๔. ยักโข ยักขี คือ เทวดายักษ์ชาย หญิง พอใจการเบียดเบียนสัตว์นรกเช่นเดียวกับนาคเทวดา เทวดาพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ มนุษย์จะไปเกิดเป็นเทพยดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ เช่น การทาบุญใส่บาตร ทาทาน รักษาศีล ไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดจะต้องทราบวิธีการวางใจในการทาบุญว่าทาเพื่ออะไร ทาอย่างไรบุญนั้นจึงมีผลมีอานิสงส์มาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความสรุปว่า “ผู้ใดให้ทานโดยหวังผลบุญจากการให้ทานเมื่อตายไปจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา” เช่นใส่บาตรแล้วอธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ ให้มีอาหารกินในชาติหน้า ขอให้ได้เลื่อนยศตาแหน่งเร็วๆ เป็นต้น จัดเป็นการให้ทานแล้วหวังผลบุญจากการให้ทาน จบจาตุมหาราชิกาภูมิ
ตาวติงสา หรือ ดาวดึงส์ เป็นที่เกิดของบุคคล ๓๓ คน เหตุแห่งชื่อ ตาวตึงสะ มีเหตุพอเป็นสังเขป ดังนี้ ในอดีตกาลมีหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า มจลคาม หมู่บ้านนี้มีคนอยู่กลุ่มหนึ่ง ชื่อว่า คณะสหบุญญการี แปลว่า คณะทาบุญร่วมกัน มี ๓๓ คนเป็นผู้ชายทั้งหมด หัวหน้าชื่อว่า มาฆมานพ ชายทั้ง ๓๓ คนนี้ช่วยกันทาความสะอาดถนนหนทาง ถนนแห่งใดชารุดทรุดโทรมก็ช่วยกันซ่อมแซม เพื่อให้เป็นที่สะดวกสบายแก่บุคคลทั่วไป ทาที่สาหรับเก็บน้าเพื่อให้คนที่ผ่านไปมาได้อาศัยดื่มกิน สร้างศาลาที่ทาง ๔ แพร่ง เพื่อให้คนเดินทางได้มีที่นั่งพัก เมื่อชายทั้ง ๓๓ คนนี้สิ้นชีวิต ได้บังเกิดในเทวภูมินี้ มาฆมานพที่เป็นหัวหน้ากลุ่มได้เกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยเหตุนี้เทวภูมิชั้นที่สองนี้จึงชื่อว่า ตาวติงสะ แปลว่า ๓๓ เทวดาชั้นดาวดึงส์มี ๒ จาพวก คือ ๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน ได้แก่ พระอินทร์และเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร และ เทวอสุรา ๕ จาพวก ที่อยู่ใต้เขาสิเนรุ ๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานลอยไปในกลางอากาศตั้งแต่เหนือพื้นดินยอดภูเขาสิเนรุ ไปจดขอบจักรวาล บางวิมานก็มีเทวดาอยู่ บางวิมานก็ไม่มีเทวดาอยู่ ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แผ่นดินชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่บนยอดภูเขาสิเนรุ ลักษณะกลม กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีสุทัสสนนคร กลางสุทัสสนนครมีปราสาทเวชยันต์เป็นที่อยู่ของพระอินทร์ สุทัสสนะนคร เป็นที่ตั้งของสิ่งบันเทิงใจ ดังนี้ ทิศตะวันออก มีสวนนันทวัน กว้าง ๑,๐๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ สระ ชื่อ มหานันทา และ จูฬนันทา ทิศตะวันตก มีสวนจิตรลดากว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อวิจิตรา และ จูฬจิตรา ทิศเหนือ มีสวนมิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อธัมมา และ สุธัมมา ทิศใต้ มีสวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อภัทรา และ สุภัทรา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสวน ๒ แห่ง ชื่อปุณฑริกะ และมหาวัน มีความพิเศษ คือ ๑. สวนปุณฑริกะ มีต้นปาริชาติ สูง ๑๐๐ โยชน์ แผ่กิ่งก้านออกไป ๕๐ โยชน์ เมื่อคราวออกดอกกลิ่นหอมไปไกลได้ ๑๐๐ โยชน์ ใต้ต้นปาริชาติมีแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์(เป็นแท่นศิลาที่มีสีแดงเหมือนดอกชบา) กว้าง ๕๐ โยชน์ ยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีความอ่อนนุ่ม เมื่อพระอินทร์ประทับพักผ่อนอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลาอาสน์แล้ว แท่นทิพย์นี้ก็จะอ่อนยุบลงไป เมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้นแท่นศิลาก็จะฟูขึ้นตามเดิม สวนนี้มีศาลาฟังธรรมชื่อ ศาลาสุธัมมา มีเจดีย์มรกต คือ จุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์ ๒. สวนมหาวัน เป็นที่ประทับสาราญพระราชอิริยาบถของท้าวสักกเทวราช มีสระโบกขรณีชื่อ สุนันทา กว้าง ๑ โยชน์ และมีวิมานรายล้อมอยู่ ๑,๐๐๐ วิมาน ต้นปาริชาติ หรือต้นกัลปพฤกษ์ ในสวนปุณฑริกะ กลางสวนมีต้นไม้ใหญ่แผ่สาขาอยู่ต้นหนึ่ง ชื่อปาริชาติ เป็นต้นไม้ทิพย์ ๑๐๐ ปี จะออกดอกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงคราวนั้นดอกไม้ในสวรรค์นี้ก็จะบานสะพรั่ง เหล่าเทพบุตรเทพธิดาก็จะพากันมารื่นเริง ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเฝ้าจนกว่าดอกไม้จะบาน ครั้นดอกไม้สวรรค์บานก็จะปรากฏแสงรุ่งเรืองไปไกลหลายหมื่นวา เมื่อลมราเพยพัดไปทิศใดย่อมส่งกลิ่นหอมไปทิศนั้น เป็นระยะไกล ดอกจะบานสะพรั่งไปทุกกิ่งก้านทั่วทั้งต้น เทพบุตรเทพธิดาองค์ใดปรารถนาจะได้ดอกปาริชาต ก็จะตกลงมาในมือดั่งรู้ใจ ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นนี้มีความเป็นอยู่โดยเสวยผลบุญที่ได้ทาไว้ จึงได้ทิพยสมบัติ เทพบุตรเทพธิดามีแต่ความสวยงามเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดไปไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ปรากฏให้เห็น เทพบุตรองค์หนึ่งๆ อาจมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา ๕๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ องค์
เทวดาในชั้นนี้ มีการไปมาหาสู่กันและกัน เทพบุตร เทพธิดา มีความรักใคร่ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน หากขาดคู่ครองก็จะเกิดความเบื่อหน่ายใน
ความเป็นอยู่ของตน ไม่เบิกบานรื่นเริงเหมือนเทวดาที่มีคู่ครอง เทวดาในชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายต่างหาความสุขสาราญพร้อมด้วยบริวารของตน ในสวนทั้ง ๔ ทิศ ความสุขที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้มีมากมายโดยเฉพาะสวนนันทวัน เป็นที่ให้ความสุขได้อย่างดีเลิศกว่าสถานที่ใดๆ เทพบุตรเทพธิดาองค์ใดเกิดความทุกข์โศกเศร้าใจเพราะกลัวความตาย ถ้าได้เข้าไปยังสวนนันทวันแล้วความเศร้าโศกก็จะหายไปสิ้น เทวดาองค์ใดถ้ายังไม่เคยเข้าไปในสวนนันทวัน จัดว่าเขายังไม่รู้ถึงความสุขที่ดีเลิศในสวรรค์ สวนนันทวันอย่างในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ มีอยู่ในสวรรค์ทุกๆ ชั้น สิ่งสาคัญๆ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๑. พระเจดีย์จุฬามณี
พระเจดีย์จุฬามณีเป็นสถานที่สาคัญที่สุดเป็นที่บรรจุ จุฬา คือ ส่วนของพระเกศาบนกระหม่อม พร้อมกับ โมฬี คือ มุ่นหรือมวยผมทั้งหมด และ มณี คือ ปิ่นมณี หรือ ปิ่นแก้ว สาหรับปักมวยผม กับ เวฐนะ คือ เครื่องรัดมวยผม หรือที่เรียกว่า รัดเกล้า ของพระโพธิสัตว์ คาว่า จุฬา แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ปิ่น
เพราะฉะนั้น พระเจดีย์นี้จึงเป็นที่บรรจุ พระเกศา ปิ่นมณี และเครื่องรัดมวยผม ในตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ มีกล่าวไว้ใน อวิทูเรนิทาน ในอรรถกถาชาดก มีใจความสรุปว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงม้ากัณฐกะ เสด็จข้ามแม่น้าอโนมา เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนบนลานทราย ทรงเปลื้องอาภรณ์ประทานแก่นายฉันนะ และประทานม้ากัณฐกะแก่เขา แล้วทรงจับพระขรรค์แสงดาบด้วยพระหัตถ์ขวา จับพระจุฬา(ยอดพระเกศา) กับพระโมฬี(มุ่นพระเกศาทั้งหมด) ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบ พระเกศายังเหลือแนบพระเศียรประมาณสององคุลีม้วนกลับมาทางเบื้องขวา คงอยู่ขนาดนั้นตลอดพระชนม์ชีพ พระมัสสุ(หนวด)ก็มีสมควรแก่พระเกศา ไม่ต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีก พระโพธิสัตว์ทรงโยนพระจุฬากับพระโมฬีขึ้นไปในอากาศ ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรเห็นด้วยทิพยจักษุ ทรงรับด้วยผอบ
รัตนะ ทรงนาขึ้นไปประดิษฐานไว้ในที่เทวสถูป ชื่อจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมกับอีกสองสิ่ง คือ ปิ่นมณีและเครื่องรัดเกล้า รวมเป็น ๓ สิ่ง คือ ๑.พระจุฬาและพระโมฬี ๒.ปิ่นมณี ๓.เครื่องรัดเกล้า นอกจากนี้ยังเป็นที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาในคราวแบ่งพระธาตุ พระจุฬามณีเจดีย์จึงบรรจุของสาคัญรวมไว้ ๔ สิ่ง การแบ่งพระธาตุ มีใจความสรุป ดังนี้ เมื่อโทณพราหณ์แบ่งพระธาตุ แอบหยิบเอาพระทาฐธาตุ คือเขี้ยวแก้วเบื้องขวา ขึ้นซ่อนไว้ ณ ภายใต้ผ้าโพกศีรษะ พระอินทร์ทอดพระเนตรเห็นด้วยทิพยจักษุ ทรงดาริว่า โทณพราหมณ์ไม่อาจทาสักการะให้สมควรแก่พระทาฐธาตุ ควรจะนามาบูชาในเทวโลก จึงทรงอัญเชิญพระทาฐธาตุนั้นจากผ้าโพกของโทณพราหมณ์ ประดิษฐานในสุวรรณโกศ ทรงนาขึ้นไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์จุฬามณี ในดาวดึงส์ ๒. เทวสภาสุธัมมา เทวสภาสุธัมมา หรือ สุธรรมสภา หรือ ศาลาสุธัมมา เป็นสถานที่ฟังธรรมในเทวโลก ศาลานี้ประดับด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีความสูง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นของศาลาเป็นแก้วผลึก เสาเป็นทอง เครื่องบนมี ขื่อ คาน ระแนง หลังคา เพดาน เป็นต้น เป็นแก้ว หลังคามุงด้วยแก้วอินทนิล เพดานและเสา สลักเป็นลวดลายต่างๆ ประดับด้วยแก้วประพาฬ ช่อฟ้า ใบระกา ทาด้วยเงิน กลางศาลาตั้งธรรมาสน์สูง ๑ โยชน์ ทาด้วยรัตนะทั้ง ๗ กั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างธรรมาสน์เป็นที่ประทับของท้าวสักกเทวราช ถัดไปเป็นที่ประทับของเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ และถัดไปเป็นที่นั่งของเทวดาผู้ใหญ่องค์อื่นๆ และเทวดาผู้น้อยทั่วไป ศาลาสุธัมมาตั้งอยู่ข้างต้นปาริชาติ ซึ่งออกดอกปีละครั้ง เมื่อใกล้จะผลิดอก ใบจะมีสีนวล เหล่าเทวดาจะมีความยินดีปรีดาว่าอีกไม่ช้าจะได้เห็นดอกออกสะพรั่งฉายสีแดง รัศมีแผ่ไปในปริมณฑลประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไปตามลมไกล ๑๐๐ โยชน์ ลมชื่อ กันตนะ ทาหน้าที่พัดให้ดอกหล่นลงมาเอง ลมชื่อ สัมปฏิจฉนะ ทาหน้าที่รองรับดอกไม้ไม่ให้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน ลมชื่อ ปเวสนะ ทาหน้าที่พัดเอาดอกไม้นั้นเข้าไปในศาลาสุธัมมา ลมชื่อ สัมมิชชนะ ทาหน้าที่ พัดเอาดอกเก่าออกไป ลมชื่อ ลมสันถกะ ทาหน้าที่พัดจัดระเบียบดอกไม้นั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ให้รวมกันเป็นกอง
เมื่อถึงเวลาประชุมธรรม ท้าวสักกเทวราชจะทรงเป่าสังข์วิชยุตตระ ยาว ๑๒๐ ศอก เสียงสังข์ดังก้องกังวานทั่วทั้งภายในภายนอกพระนครสุทัสสนะ เป่าครั้งหนึ่งจะดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนมนุษย์ เทพบุตรเทพธิดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ต่างพากันมาสู่ศาลาสุธัมมา รัศมีกายและแสงจากเครื่องประดับของเทวดาทั้งหลาย สว่างไสวไปทั่วศาลา ท้าวสักกเทวราชเมื่อทรงเป่าสังข์แล้วก็เสด็จจากปราสาทเวชยันต์ พร้อมด้วยมเหสีทั้ง ๔ องค์ ทรงขึ้นช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จไปสู่ศาลาสุธัมมา ประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์ ผู้แสดงธรรมได้แก่พรหมชื่อว่า สุนังกุมาระ ได้เสด็จลงมาแสดงธรรมเสมอ บางครั้งท้าวสักกเทวราชก็ทรงแสดงเอง หรือเทพบุตรองค์ใดที่มีความรู้ธรรมะดีก็จะเป็นผู้แสดง เทวภูมิเบื้องบนอีก ๔ คือ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีศาลาสุธัมมา เช่นกัน ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ ทรงบาเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา ในระหว่างที่พระศาสนาของพระสมณโคดมยังไม่อุบัติขึ้น ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีรัศมีกาย รัศมีวิมานด้อยกว่าเทพยดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์ เมื่อศาสนาของพระสมณ- โคดมอุบัติขึ้นแล้ว ความสวยงามของวิมานและรัศมีกายจึงมีบริบูรณ์เต็มที่ ทั้งนี้เป็นเพราะกาลังของกุศลกรรมที่ท้าวเธอได้ลงมาถวายทานแด่พระมหากัสสปะที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ เรื่องมีอยู่ว่า :-
พระมหากัสสปะเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติต้องการโปรดคนยากจนที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พระอินทร์ทรงทราบก็ชวนพระมเหสี เสด็จสู่โลกมนุษย์และแปลงกายเป็นคนยากจน เมื่อพระมหากัสสปะอุ้มบาตรเดินเข้าไปในหมู่บ้านและหยุดยืนอยู่ที่หน้าบ้านแรกที่ถึง ท้าวสักกะแปลงเห็นพระมหากัสสปะหยุดอยู่ที่หน้าบ้านตน จึงรีบออกมาแล้วบอกพระมเหสีแปลงให้ยกอาหารมาใส่บาตร พระเถระไม่ได้พิจารณาจึงไม่รู้ว่าสองสามีภรรยานี้เป็นท้าวสักกะและพระมเหสี แต่พอได้กลิ่นอาหารก็รู้ว่านี่เป็นอาหารทิพย์ พระมหาเถระรู้ดังนั้นก็ต่อว่าพระอินทร์ว่า “อาตมาตั้งใจมาโปรดคนยากจน มิได้ตั้งใจจะมาโปรดผู้ที่มีบุญอยู่แล้วเช่นองค์อมรินทร์ เหตุไฉนท่านจึงมาทาเช่นนี้” พระอินทร์ตรัสว่า “ข้าพระองค์ก็เป็นคนยากจนเหมือนกัน เพราะถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะเป็นใหญ่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ แต่ว่ารัศมี
กายก็ดี วิมานก็ดี ของข้าพระองค์ยังด้อยกว่าเทวดาบางองค์มากนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้าพระองค์ไม่ได้ทากุศลในเวลาที่มีพระพุทธศาสนา มาบัดนี้ข้าพระองค์ได้มาพบกับพระผู้เป็นเจ้าแล้วจึงต้องการสร้างกุศลในศาสนา เพื่อให้รัศมีกายและวิมานของข้าพระองค์ได้มีความสว่างรุ่งโรจน์ จึงแปลงตนมากระทาดังนี้ ” อาศัยการถวายทานนี้ พระอินทร์จึงมีรัศมีกาย และวิมานสว่างรุ่งโรจน์สวยงามบริบูรณ์อย่างเต็มที่ ท้าวสักกเทวราชเป็นพระโสดาบัน ท้าวสักกเทวราชพระองค์นี้สาเร็จเป็นพระโสดาบัน และจะอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จนสิ้นอายุขัย เมื่อจุติ(ตาย)จากชั้นดาวดึงส์จะเกิดในมนุษยโลกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และสาเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วก็กลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีกและได้สาเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุขัยจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จะไปบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่ชั้นอวิหา เป็นต้นไป จนถึงชั้น อกนิฏฐาภูมิและปรินิพพานในภูมินี้ คุณธรรมที่ทาให้เป็นท้าวสักกะ(พระอินทร์) ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อเป็นมนุษย์ในกาลก่อน ได้สมาทานประพฤติปฏิบัติวัตตบท ๗ ประการ จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ คือ ๑. เลี้ยงบิดามารดาตลอดชีวิต ๒. ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต ๓. มีวาจานุ่มนวลสุภาพตลอดชีวิต ๔. มีวาจาไม่ส่อเสียดตลอดชีวิต ๕. มีใจปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ครอบครองเรือนตลอดชีวิต ๖. มีวาจาสัตย์จริงตลอดชีวิต ๗. ไม่โกรธ แม้ว่าถ้าเกิดโกรธขึ้นก็ระงับได้ทันทีตลอดชีวิต
พระอภิธรรม เกิดขึ้นครั้งแรกที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในทานสูตรกล่าวไว้โดยสรุปว่า “ผู้ใดทาทานโดยคิดว่าการทาทานนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม ตายลงย่อมไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์”
ยามาภูมิ สวรรค์ชั้นที่ ๓ ชื่อว่า ยามา หรือ ยามะ แปลว่า สิ้นไปจากทุกข์ หรือ บรรลุทิพยสุขพร้อมพรั่ง สวรรค์ชั้นยามามีความสวยงามและประณีตกว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรั่งพร้อมด้วยความสุขที่เป็นทิพย์ มีผู้เป็นใหญ่ คือพระสุยามเทวาธิราช หรือเรียกว่า พระสุยามะ หรือ ยามะ มีที่ตั้งอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดภูเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ไม่มีเทวดาประเภทที่อาศัยบนพื้นดิน มีแต่พวกอากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามและประณีตกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
ทางไปสวรรค์ชั้นยามา
ทานสูตรกล่าวว่า “ถ้าผู้ใดทาทานโดยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทาบุญทาทานมา โดยตลอด เราก็ควรจะได้ทาตามประเพณีที่ท่านเคยทามา” ถ้าผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทากาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นยามา
ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในชั้นยามาภูมิ คือ อุบาสกผู้หนึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อุทิศถวายอาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูป
ทุกวัน เขาได้จ้างบุรุษผู้หนึ่งให้คอยเปิดปิดประตูเวลาพระจะมารับสังฆทาน บุรุษนั้นต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ที่มารับสังฆทานด้วยความนอบน้อมเลื่อมใสศรัทธา เมื่ออุบาสกผู้นั้นดับชีพลงได้ ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ส่วนบุรุษผู้ต้อนรับเฝ้าประตูไปบังเกิดในดาวดึงส์
ดุสิตาภูมิ สวรรค์ชั้นที่ ๔ ชื่อว่า ตุสิตา หรือ ตุสิตะ มักเรียกว่า ชั้นดุสิต แปลว่า ยินดีชื่นบาน คือ มีปีติอยู่ด้วยสิริสมบัติของตน เป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลก เทวดาในชั้นดุสิต นับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่นๆ มีท้าวสันตุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง มีร่างกาย วิมาน ทิพยสมบัติ สวยงามประณีตกว่าเทวดาในชั้นยามา ดุสิตาภูมิตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากชั้นยามาขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ บริเวณแผ่กว้างออกไปจนจดขอบจักรวาล เทวดาเป็นอากาสัฎฐเทวดาเท่านั้น ความโกลาหลในสวรรค์
ความโกลาหลอย่างขนานใหญ่ของพวกเทวดาทั้งปวงมีอยู่สามสมัย คือ สมัยเมื่อโลกจะวินาศ สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น สมัยเมื่อพระเจ้า
จักรพรรดิจะเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้ ก่อนที่จะลงมาเกิดในโลกนี้ ได้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อกาลใกล้กาหนดที่จะตายจากเทวดา ลงมาตรัสรู้ในมนุษยโลก เทวดาทั้งปวงก็เกิดโกลาหล พากันไปเผ้าทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์ลงไปตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ได้ทรงตรวจดู สถานะ ๕ อย่าง คือ ๑. กาล ๒. ทวีป ๓. ประเทศ ๔. ตระกูล ๕. มารดาและกาหนดอายุของมารดา กาล คือ กาลแห่งอายุขัยของมนุษย์ ถ้ามนุษย์มีอายุขัยมากเกินแสนปีขึ้นไป หรือ ต่ากว่าร้อยปีลงมา ก็ไม่ใช่กาลที่จะลงมาตรัสรู้ เพราะยุคสมัยที่มนุษย์อายุขัยมากไปก็ไม่อาจเห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา น้อยไปก็มีกิเลสหนามากไม่อาจเห็นธรรม แต่ในปัจจุบันนั้นเป็นยุคที่มนุษย์มีอายุร้อยปี จึงเป็นกาลที่จะลงมาตรัสรู้ได้ ทวีป คือทรงเห็นชมพูทวีปเหมาะที่จะลงมาตรัสรู้ ประเทศ คือ ทรงเห็นมัชฌิมประเทศคือท้องถิ่นของชมพูทวีปเป็นที่เหมาะ เช่น สถานที่ประสูติปัจจุบันอยู่ในเนปาล ตระกูล ทรงเห็นศักยราชตระกูล และพระเจ้าสุทโธทนะจะเป็นพระบิดาได้ พระมารดา ทรงเห็นพระนางสิริมหามายามีศีลและบารมีธรรมสมควรเป็นพระมารดาได้ ทั้งจะมีพระชนม์สืบไปจากเวลาที่พระโอรสประสูติเพียงเจ็ดวัน สัตว์อื่นไม่อาจอาศัยคัพโภทร(ครรภ์)บังเกิดได้อีก ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงเห็นสถานะทั้ง ๕ มีครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงรับอาราธนาของเทพทั้งปวง ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต ทานสูตรกล่าวว่า “ผู้ใดให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทานก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อเขาตายลงแล้วกุศลนั้นส่งผล ย่อมทาให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต”
ตัวอย่างผู้ไปเกิดในชั้นดุสิต ได้แก่ พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ครั้นประสูติพระโพธิสัตว์แล้ว ๗ วัน สวรรคตแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร อาจมีคาถามว่า ทาไมต้องเกิดเป็นเทพบุตร
ซึ่งเป็นชาย เกิดเป็นเทพธิดาไม่ได้หรือ? เหตุผลคือ เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธชนนีซึ่งมีบุญญาธิการ ถ้าเกิดเป็นเทพธิดาหากเทพบุตรเกิดความปฏิพัทธ์มีจิตรักใคร่เสน่หา จะเกิดเป็นโทษอย่างยิ่งแก่เทพบุตรองค์นั้น
นิมมานรตีภูมิ สวรรค์ชั้นที่ ๕ ชื่อว่า นิมมานรตี หรือ นิมมานรดี แปลว่า อภิรมย์ยินดีในสิ่งที่นิรมิตขึ้น คือนอกจากทิพอารมณ์ที่ได้รับอยู่โดยปรกติแล้ว ในเวลาที่ต้องการสิ่งใด ก็นิรมิตสิ่งนั้นขึ้นได้อีกตามความต้องการ เทวดาที่เกิดในชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึง ดุสิต ทั้ง ๔ ภูมินี้ ย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจาอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ตามบุญญาธิการของตน แต่ในชั้นนิมมานรตี และปรนิมมิตวสวัตตี ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจา เวลาใดที่ปรารถนาใคร่จะเสพกามคุณก็จะเนรมิตขึ้นมาตามที่ใจปรารถนา เมื่อได้เพลิดเพลินกับการเสพกามคุณแล้ว เทพเนรมิตจะอันตรธานไป มีความเพลิดเพลินเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป
เมื่อพิจารณาแล้วก็เป็นภูมิที่น่ารื่นรมย์ แต่ถ้าจะพิจารณาโดยสภาวธรรมแล้ว เห็นว่าเป็นการไปใช้บุญเก่า พร้อมกับสะสมกิเลสใหม่ไปด้วย เมื่อหมดบุญเก่าก็ต้องไปรับผลของกิเลสที่สะสมใหม่ เมื่อตายจากเทวภูมิแล้ว
อาจจะไปเกิดในอบายภูมิด้วยกาลังแห่งอกุศลที่ได้กระทาไว้ในเทวภูมินั้น เมื่อท่านทราบเช่นนี้แล้วก็ไม่ควรยินดี แต่ให้มองเห็นวัฏฏะของชีวิตว่าถึงจะเกิดมาได้รับความสุขอย่างล้นเหลือใน เทวภูมิใดๆ ก็ตาม ตราบใดเมื่อยังมีการเกิดอีก ความทุกข์ความโทมนัสไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แน่นอน นิมมานรตีภูมิ อยู่กลางอากาศห่างจากดุสิตาภูมิขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีแต่อากาสัฏฐเทวดา อย่างเดียว ที่มีความสวยงามประณีต มีอายุยืนกว่า เทวดาในชั้นดุสิต ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรตี ในทานสูตรกล่าวว่า “ผู้ใดทาทานโดยคิดว่าเราจะให้ทานเหมือนอย่างฤาษีทั้งหลายที่ได้กระทามาในอดีต เมื่อตายและกุศลนั้นจะส่งผล ย่อมทาให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรตี” ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ คือ หญิงชราอนาถาผู้หนึ่งได้ใส่บาตรด้วยน้าผักดอง แด่พระมหากัสสปเถระเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ พอตกกลางคืนเข้านอนเกิดเป็นโรคลมฉับพลัน ถึงแก่ความตาย ก่อนที่จะตายนางยังชื่มชมปีติโสมนัสอยู่ในใจที่พระมหากัสสปเถระเจ้าได้กรุณามาโปรดถึงหน้าบ้านเพื่ออนุเคราะห์ให้นางได้ทาทาน กุศลนี้เองที่นาให้นางไปเกิดเป็นเทพนารี มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากในสวรรค์ชั้นนิมมานรตี เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมาน
สวรรค์ชั้นที่ ๖ ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี แปลว่า ทาอานาจของตนให้เป็นไปในโภคะทั้งหลายที่ผู้อื่นรู้ความคิดของจิตแล้วนิรมิตให้ เทวดาในสวรรค์ชั้นนี้เพียงแต่คิด ก็จะมีผู้เนรมิตสิ่งปรารถนานั้นให้ ไม่ต้องเนรมิตเอง ผู้ที่มาคอยนิรมิตให้นั้นไม่มีกล่าวว่าเป็นเทพพวกไหนชั้นไหน ทาให้เทวดาชั้นนี้มีความสุขความสาราญยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นที่ ๕ เมื่อปรารถนาเสวยกามคุณก็มีผู้นิรมิตให้ เมื่อได้เสวยกามคุณสมความปรารถนาแล้ว เทพเนรมิตจะอันตรธานไป ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิตั้งอยู่ในอากาศ ห่างจากนิมมานรตีภูมิ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีแต่อากาสัฏฐ-เทวดาอย่างเดียว มีท้าวปรนิมมิตตเทวราช หรือ ท้าววสวัตตีเทวราช เป็นผู้ปกครองเทวดาทั้ง ๖ ชั้น เทวดาในชั้นนี้มีร่างกาย วิมาน ทิพยสมบัติ สวยงามประณีตมากกว่าเทวดาในชั้นนิมมานรตี ภูมินี้ถือว่าเป็นยอดภูมิ คือ ภูมิที่สูงสุดของเทวดา ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดทาทานโดยคิดว่า ทาทานเพื่อให้จิตเกิดความปลื้มปีติในบุญที่ทา เมื่อตายลงและกุศลนั้นจะส่งผล จะทาให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี” จบปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ ในมนุษยโลกและเทวโลก ภูมิไหนจะมีพระอริยบุคคลมากกว่า ในเทวภูมิมีพระอริยบุคคลมากกว่ามนุษยภูมิ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงธรรมแต่ละครั้งมีเทวดาฟังธรรมและบรรลุเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะเทวดาที่ฟังธรรมแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามี มีเป็นจานวนมาก ส่วนที่บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคลเมื่อหมดอายุขัยจากเทวดาแล้วก็จะไปบังเกิดในพรหมภูมิ ส่วนที่บรรลุเป็นพระอรหันต์เมื่อหมดอายุขัยแล้วก็ปรินิพพานไม่มีการเกิดอีก
การที่พระอริยบุคคลในมนุษยโลกมีน้อยกว่าในเทวโลก เพราะบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาในมนุษยโลกนี้ มีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาน้อย และยิ่งในปัจจุบันมนุษยโลกเข้าสู่กลียุค คือ มีสัปบุรุษ (คนดี)อยู่เพียง ๑
ใน ๔ ส่วน นอกนั้นเป็นอสัปบุรุษ (คนพาล) ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่สนใจเรื่องปริยัติและปฏิบัติจึงขาดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ไม่อาจนาตนให้พ้นจากปุถุชนไปสู่อริยบุคคลได้ ฉะนั้น การจะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคล ต้องมีคุณธรรม ๗ ประการ คือ
๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล(อ่านว่า ติ-เห-ตุ-กะ-บุค-คล) คือ บุคคลที่เกิดมาประกอบด้วยเหตุ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยปัญญา
๒. เคยสร้างปัญญาบารมีในการเจริญวิปัสสนามาแต่ชาติก่อน
๓. ขวนขวายในการเจริญวิปัสสนาในปัจจุบันชาติ
๔. วิธีการเจริญวิปัสสนาถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
๕. สถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
๖. ไม่มีความกังวลใดๆ ในปลิโพธิ ๑๐ ประการ คือ กังวลเรื่องที่อยู่ กังวลเรื่อง ตระกูล กังวลเรื่อง ลาภสักการะ กังวลเรื่องหมู่คณะ กังวลเรื่องนวกรรม(งานก่อสร้าง) กังวลเรื่องการเดินทาง กังวลเรื่องญาติ กังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ กังวลเรื่องการเล่าเรียน กังวลเรื่อง การแสดงอิทธิฤทธิ์
๗. มีเวลาในการปฏิบัติอันสมควร
รูปาวจรภูมิ จากสวรรค์ ๖ ชั้นแล้ว ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไปอีก คือพรหมภูมิ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ ผู้ที่ทาสมาธิจนบรรลุถึงรูปฌาน คือ ฌานที่มีรูปนิมิตเป็นอารมณ์ รูปฌานนั้นย่อมมีวิบากให้ไปเกิดเป็นรูปพรหม ผู้ที่ทาสมาธิสูงขึ้นไปกว่ารูปฌาน คือทิ้งรูปนิมิต กาหนดอรูปนิมิตคือนิมิตที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จนได้บรรลุอรูปฌานคือฌานที่มีอรูปนิมิตเป็นอารมณ์ ฌานนั้นก็มีวิบากให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม คาว่า พรหม แปลว่า เจริญ รุ่งเรือง หมายความว่า เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้น ในพรหมภูมิ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๒.๑ รูปาวจรภูมิ มี ๑๖ ๒.๒ อรูปาวจรภูมิ มี ๔
รูปาวจรภูมิ ๑๖ ชั้น รูปาวจรภูมิ มี ๑๖ ภูมิ คือ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ จตุตถฌานภูมิ ๗ ปฐมฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา โดยแบ่งการเจริญปฐมฌานออกเป็น ๓ ระดับ คือ อย่างอ่อน อย่างกลาง อย่างแก่กล้า ผู้ที่เจริญปฐมฌานอย่างใดๆ แล้ว ถ้าตายไปโดยที่ฌานยังไม่เสื่อม ฌานนั้นจะส่งผลให้ไปเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ ตามกาลังฌานที่ได้ ดังนี้ ๑. ปาริสัชชาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมปาริสัชชา แปลว่า เป็นบริษัทของท่านมหาพรหม เป็นผู้บารุงมหาพรหม ที่จะได้กล่าวในชั้นที่ ๓ พรหมในภูมินี้เกิดด้วยปฐมฌานที่มีกาลังอ่อน ๒. ปุโรหิตาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมปุโรหิตา แปลว่า เป็นปุโรหิตของมหาพรหม พรหมในภูมินี้เกิดด้วยปฐมฌานที่มีกาลังปานกลาง ๓. มหาพรหมาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า มหาพรหม แปลว่า พรหมผู้ใหญ่ เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของพรหมทั้ง ๒ ที่กล่าวมา เป็นพรหมที่มีวรรณะยิ่งกว่า มีอายุยืนกว่า เป็นต้น พรหมในภูมินี้เกิดด้วยปฐมฌานที่มีกาลังแก่กล้า
ที่ตั้งของปฐมฌาน
ที่ตั้งของปฐมฌานภูมิ ๓ ตั้งอยู่ในอากาศอยู่ในชั้นเสมอกัน แต่มีความรุ่งเรืองกว่ากัน ตั้งห่างจากเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ และสระโบกขรณี อันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีแวววาวสวยงามยิ่ง จบปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ มี๓ ภูมิ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา หรือบรรลุตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา โดยแบ่งการเจริญออกเป็น ๓ ระดับ คือ อย่างอ่อน อย่างกลาง อย่างแก่กล้า ผู้ที่เจริญทุติยฌานหรือตติยฌานอย่างใดๆ แล้ว ถ้าตายไปโดยที่ฌานยังไม่เสื่อม ฌานนั้นจะส่งผลให้ไปเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ ตามกาลังฌานที่ได้ ผู้ที่ได้ทุติยฌานและผู้ที่ได้ ตติยฌาน จะไปเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ เช่นเดียวกัน เพราะอานาจของวิตกและวิจารนั้นใกล้เคียงกันมาก ทุติยฌาน มี ๓ ภูมิ คือ ๑. ปริตตาภาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ได้ชื่อว่า พรหมปริตตาภา แปลว่า มีรัศมีน้อย คือ มีแสงสว่างน้อยกว่าพรหมชั้นทุติยฌานด้วยกัน พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของทุติยฌาน หรือ ตติยฌานที่มีกาลังอ่อน เป็นบริวารคอยรับใช้อาภัสสาพรหม ซึ่งเป็นหัวหน้า ๒. อัปปมาณาภาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมอัปปมาณาภา แปลว่า มีรัศมีไม่มีประมาณ คือมีแสงสว่างมากเกินที่จะประมาณได้ พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของทุติยฌานหรือ ตติยฌานที่มีกาลังปานกลาง เป็นผู้ให้คาปรึกษาในกิจการงานของอาภัสสาพรหม ๓. อาภัสสราภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมอาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีซ่านไป คือแผ่ออกไปแต่ที่นั้นที่นี้ดุจสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เพราะมีขันธสันดานเกิดจากฌานที่มีปีติ หรืออีกนัยหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีพวยพุ่ง คือหยดย้อยออกเหมือนย้อยหยดออกมาจากสรีระ หรือดุจเปลวไฟแห่งโคมประทีป อีกอย่างหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีปกติสว่างไสวด้วยรัศมี พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของทุติยฌาน หรือตติยฌานที่มีกาลังแก่กล้า พรหมอาภัสสราเป็นหัวหน้าในชั้นทุติยฌานภูมิทั้ง ๓
ที่ตั้งของทุติยฌานภูมิ
ที่ตั้งของทุติยฌานภูมิ ๓ ตั้งอยู่ในอากาศอยู่ในชั้นเสมอกัน แต่มีความรุ่งเรืองกว่ากัน ห่างจากปฐมฌานภูมิขึ้นมาประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณี อันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีแวววาวสวยงามยิ่ง มีต้นกัลปพฤกษ์ ทุกสิ่งสวยงามประณีตยิ่งกว่าปฐมฌานภูมิ ๓ จบทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุจตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา โดยแบ่งการเจริญทุติยฌานออกเป็น ๓ ระดับ คือ อย่างอ่อน อย่างกลาง อย่างแก่กล้า ผู้ที่เจริญจตุตถยฌานอย่างใดๆ แล้ว ถ้าตายไปโดยที่ฌานยังไม่เสื่อม ฌานนั้นจะส่งผลนาเกิดในตติยฌานภูมิ ๓ ตามกาลังฌานที่ได้ ตติยฌานภูมิ มี ๓ ภูมิ คือ ๑. ปริตตสุภาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมปริตตสุภา แปลว่า มีรัศมีแห่งสรีระสวยงามน้อย คือ น้อยกว่าพวกพรหมชั้นตติยฌานด้วยกัน พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของจตุตถฌานที่มีกาลังอ่อน เป็นบริวารคอยรับใช้สุภกิณหาพรหม ซึ่งเป็นหัวหน้า ๒. อัปปมาณสุภาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมอัปปมาณสุภา แปลว่า มีรัศมีแห่งสรีระสวยงามอย่างไม่มีประมาณ คือ มากเกินที่จะประมาณได้ พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของจตุตถ-ฌานที่มีกาลังปานกลาง เป็นพรหมให้คาปรึกษาในกิจการงานของสุภกิณหาพรหม ซึ่งเป็นหัวหน้า ๓. สุภกิณหาภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้ก็ได้ชื่อว่า พรหมสุภกิณหา แปลว่า มากมายไปด้วยรัศมีที่สวยงาม คือ มีรัศมีผุดสว่างทั่วไป แผ่ซ่านออกจากสรีระเป็นอันเดียวกัน มีสิริเหมือนอย่างแท่งทองที่โรจน์รุ่งอยู่ในหีบทอง หรืออีกนัยหนึ่ง รัศมีสวยงามของพรหมเช่นกับรัศมีของดวงจันทร์ มีแสงสว่างของรัศมีรวมกันอยู่เป็นวงกลม ไม่กระจัดกระจายออกจากกัน พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของจตุตถฌานที่มีกาลังแก่กล้า เป็นหัวหน้าปกครองพรหมในชั้นตติยฌานภูมิทั้ง ๓ ที่ตั้งของตติยฌานภูมิ
ที่ตั้งของตติยฌานภูมิ ๓ ตั้งอยู่ในอากาศอยู่ในชั้นเสมอกัน แต่มีความรุ่งเรืองกว่ากัน ห่างจากทุติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณี อันล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีแวววาวสวยงามยิ่ง มีต้นกัลปพฤกษ์ ทุกสิ่งสวยงามประณีตยิ่งกว่าทุติยฌานภูมิ ๓ คราวที่โลกถูกทาลาย โลกจะถูกทาลายด้วย ไฟ น้า ลม ในคราวที่โลกถูกทาลายด้วยไฟ ไฟจะลุกไหม้ตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ จนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ ถูกทาลายทั้งหมด คราวที่โลกถูกทาลายด้วยน้า น้าจะท่วมตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ถูกทาลายทั้งหมด คราวที่โลกถูกทาลายด้วยลม ลมจะพัดทาลายตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ จะถูกทาลายทั้งหมด ภูมิที่พ้นจากการถูกทาลายด้วยไฟ น้า ลม คือ จตุตถฌานภูมิ และ อรูปภูมิ จบตติยฌานภูมิ ๓ จตุตถฌานภูมิ มี ๗ ภูมิ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนบรรลุปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา มี ๗ ภูมิ คือ ๑.เวหัปผลาภูมิ ๒.อสัญญสัตตภูมิ ๓.อวิหาภูมิ ๔.อตัปปาภูมิ ๕.สุทัสสาภูมิ ๖.สุทัสสีภูมิ ๗.อกนิฎฐาภูมิ
๑. เวหัปผลาภูมิ ๓. อวิหาภูมิ ๒. อสัญญสัตตภูมิ ๔. อตัปปาภูมิ ๕. สุทัสสาภูมิ ๖. สุทัสสีภูมิ ๗. อกนิฎฐาภูมิ
เวหัปผลาภูมิ และ อสัญญสัตตภูมิ ๑. เวหัปผลา แปลว่า มีผลไพบูลย์ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอานาจของฌาน พ้นจากการถูกทาลายทั้งปวง ผู้ที่เกิดในภูมินี้ได้ชื่อว่า พรหมเวหัปผลา พรหมในภูมินี้เกิดด้วยกาลังของปัญจมฌาน พรหมชั้นนี้ไม่ได้แบ่งเป็น ๓ ชื่อสาหรับผู้ได้อย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีตแต่อย่างใด กล่าวไว้ชื่อเดียวรวมๆ กันไป ๒. อสัญญี แปลว่า ไม่มีสัญญาเสียเลย พรหมชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ปัญจมฌานแบบเพ่งอยู่เป็นนิตย์ว่าจิตไม่มี เห็นโทษของจิตว่าจิตเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ ได้รับอารมณ์แล้วก็เป็นทุกข์ก็เพราะมีจิต ราคะ โทสะ โมหะ ล้วนอาศัยจิตเกิดขึ้น มีความเห็นว่าไม่มีจิตเป็นของดีเป็นนิพพานในปัจจุบัน จึงเพ่งอยู่เป็นนิตย์ว่าจิตไม่มีๆ สารอก ดับนามขันธ์ และเวลาตายจากมนุษย์ ถ้ายืนตายก็ไปเกิดเป็นพรหมในท่ายืน ถ้านั่งก็ไปเกิดเป็นพรหมในท่านั่ง และก็อยู่ในอิริยาบถนั้นจนถึงจุติ หรือเรียกว่า พรหมลูกฟัก ซึ่งมีเพียงรูปขันธ์อย่างเดียวไม่มีนามขันธ์ เมื่อหมดอายุขัยนามขันธ์ก็จะเกิดขึ้นเพื่อนาไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป เป็นพรหมภายนอกพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ปฏิบัติเพื่อไปเกิดเป็นพรหมพวกนี้ ที่ตั้งของเวหัปผลาภูมิ และอสัญญสัตตภูมิ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ ทั้ง ๒ ภูมิ อยู่ในระนาบเดียวกัน ห่างจากตติยฌานภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณี ล้วนด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีรัศมีแวววาวสวยงามยิ่ง มีต้นกัลปพฤกษ์ ทุกสิ่งสวยงามประณีตยิ่งกว่าพรหมชั้นตติยฌาน จบเวหัปผลาภูมิ และ อสัญญสัตตภูมิ
สุทธาวาสภูมิ มี ๕ ภูมิ สุทธาวาส แปลว่า อาวาส คือที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่อันบริสุทธิ์ หมายถึงภูมิอันเป็นที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ กล่าวคือ เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๒ จาพวก คือ พระอนาคามี และพระอรหันต์ และมีคุณสมบัติพิเศษอีก ๒ ประการคือ ต้องเป็นพระอนาคามีที่มีอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่กล้าด้วยและเจริญสมถะจนได้ปัญจมฌานด้วย เมื่อสิ้นชีวิตจะไปเกิดอยู่ในชั้นสุทธาวาสภูมิ และจะสาเร็จเป็นพระอรหันต์ นิพพานในชั้นสุทธาวาสภูมินั้น ไม่กลับมาเกิดอีก สุทธาวาสภูมิ มี ๕ ภูมิ คือ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ และอกนิฏฐาภูมิ ผู้ที่เกิดในสุทธาวาสภูมิ ภูมิใดภูมิหนึ่งแล้วจะไม่เกิดซ้าภูมิ ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จะเกิดในภูมิที่สูงขึ้นไปตามลาดับ และจะต้องสาเร็จเป็นพระอรหันต์ในอกนิฏฐาภูมิและนิพพานในอกนิฏฐาภูมินี้ ๑. อวิหา แปลว่า ไม่ละฐานของตนโดยกาลอันน้อย หรือ ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน ผู้ที่เกิดในภูมินี้ต้องเป็นพระอนาคามีที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อินทรีย์มี ๕ คือ ๑.สัทธินทรีย์ ๒.วิริยินทรีย์ ๓.สตินทรีย์ ๔.สมาธินทรีย์ ๕.ปัญญินทรีย์ พรหมที่จะได้เกิดในภูมินี้ต้องสาเร็จพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามีผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้าและสาเร็จฌานขั้นปัญจมฌานด้วย เมื่อมาเกิดในชั้นอวิหาภูมิแล้วถ้าสาเร็จเป็นพระอรหันต์ก็จะดารงขันธ์อยู่จนสิ้นอายุขัยและนิพพานในภูมินี้ แต่ถ้ายังไม่สาเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะไปอุบัติขึ้นในสุทธาวาสภูมิชั้นที่สูงขึ้น ๒. อตัปปา แปลว่า ไม่สะดุ้งกลัวอะไร หรือไม่เดือดร้อน พรหมในภูมินี้เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน ย่อมจะเข้าฌานสมาบัติหรือผลสมาบัติอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้จิตเร่าร้อนจากนิวรณธรรม ผู้ที่จะเกิดในภูมินี้ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามีด้วยกาลังของวิริยินทรีย์อย่างแก่กล้า และสาเร็จฌานขั้นปัญจมฌานด้วย เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะไปอุบัติขึ้นในสุทธาวาสภูมิชั้นที่สูงขึ้นไป หรือบาเพ็ญเพียรจนสาเร็จเป็นพระอรหันต์ และอยู่จนสิ้นอายุขัย ก็จะดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน ในภูมินี้
๓. สุทัสสา แปลว่า ดูงาม เป็นพรหมที่มีการเห็นชัดเจนแจ่มใสบริบูรณ์ด้วยประสาทจักขุ ทิพพจักขุ ธัมมจักขุ ผู้ที่จะเกิดในภูมินี้ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามีด้วยกาลังของสตินทรีย์อย่างแก่กล้า และสาเร็จฌานขั้นจตุตถฌานด้วยปัญญาจักขุ เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะไปอุบัติขึ้นใน
สุทธาวาสภูมิชั้นสูงขึ้น หรือบาเพ็ญเพียรจนสาเร็จเป็นพระอรหันต์และอยู่จนสิ้นอายุขัย จะดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานในภูมินี้ ๔. สุทัสสี แปลว่า มีทัสนะคือความเห็นดีบริสุทธิ์ เป็นผู้ที่มีการเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งกว่าพรหมสุทัสสา ด้วยประสาทจักขุ ทิพพจักขุ และปัญญาจักขุ ส่วนธัมมจักขุนั้นมีกาลังเสมอกันกับพรหมสุทัสสา ผู้ที่จะเกิดในภูมินี้ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามีด้วยกาลังของสมาธินทรีย์อย่างแก่กล้า และสาเร็จฌานขั้นปัญจมฌานด้วย เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะไปอุบัติขึ้นในสุทธาวาสภูมิชั้นสูงขึ้น หรือบาเพ็ญเพียรจนสาเร็จเป็นพระอรหันต์ และอยู่จนสิ้นอายุขัย ก็จะดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน ในภูมินี้ ๕. อกนิฏฐา แปลว่า ไม่มีเป็นรอง เพราะมีสมบัติอันอุกฤษฏ์ เสวยอริยผลจนกว่าจะสิ้นอายุขัย ผู้ที่จะเกิดในภูมินี้ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอนาคามีด้วยกาลังของปัญญินทรีย์แก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น อกนิฏฐาภูมิเป็นยอดภูมิของพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลที่อยู่ในภูมินี้จะต้องสาเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้แล้วจึงเข้าสู่นิพพาน ที่ตั้งสุทธาวาสภูมิ ตั้งอยู่ในอากาศ ทั้ง ๕ ภูมิ จะไม่อยู่ในแนวระนาบเดียวกันเหมือนกับภูมิที่ผ่านมา แต่จะตั้งสูงขึ้นไป อวิหาภูมิจะตั้งห่างจากเวหัปผลาภูมิ และอสัญญสัตตาภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ อกนิฏฐาภูมิ มีความสูงห่างจากกันระหว่างภูมิ ชั้นละ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ สิ่งสาคัญในอกนิฏฐาภูมิ ในอกนิฏฐาภูมิมีพระเจดีย์ชื่อ ทุสสเจดีย์ หรือพระเจดีย์ผ้าขาว ที่เจดีย์บรรจุเครื่องแต่งกายของพระโพธิสัตว์ในคราวที่ทรงออกผนวช(ก่อนตรัสรู้เรียกว่าพระโพธิสัตว์) โดยฆฏิการพรหมนาบริขาร ๘ จากพรหมโลกมาถวายพระโพธิสัตว์ และรับพระภูษาขึ้นไปบรรจุไว้ในทุสสเจดีย์ในพรหมโลก และในคราวที่ปรินิพพาน พรหมก็ได้นาพระอุณหิส(พระบรมสารีริกธาตุส่วนหน้าผาก) ไปบรรจุไว้ที่ทุสสเจดีย์
ในคราวออกบวชพระอินทร์ได้พระจุฬา โมฬี ปิ่น และเครื่องรัดเกล้า ไปบรรจุไว้ที่จุฬามณีเจดีย์ พระพรหมคือฆฏิการพรหมได้ถวายบริขาร ๘ และนาพระภูษาคฤหัสถ์ขึ้นไปบรรจุไว้ในทุสสเจดีย์ เรื่องบาตรที่เป็นส่วนหนึ่งในบริขาร ๘ มีเรื่องพิเศษอีกว่า เมื่อนางสุชาดาน้อมถาดทองข้าวมธุปายาส เข้า
ไปถวายพระโพธิสัตว์ในเช้าวันที่จะตรัสรู้ บาตรดินที่ฆฏิการพรหมถวายมีเหตุทาให้อันตรธานหายไป ไม่ทรงเห็นบาตรจึงทรงรับทั้งถาด ครั้นตรัสรู้แล้ว เมื่อพาณิชสองพี่น้องชื่อ ตปุสสะ ภัลลิกะ ได้น้อมข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงถวาย พระองค์ไม่มีบาตรที่จะทรงรับ ท้าวจตุโลกบาตรทั้งสี่จึงได้นาบาตรศิลาจากทิศทั้งสี่มาถวาย รวมเป็นสี่บาตร พระองค์ทรงรับแล้วอธิษฐานให้เป็นบาตรใบเดียวกัน แล้วทรงรับข้าวสัตตุจากพาณิชทั้งสองคน จบรูปาวจรภูมิ ๑๖
อรูปาวจรภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีรูปมีแต่นาม เพราะเห็นโทษของการมีอัตภาพร่างกายว่าเป็นไปด้วยทุกข์โทษนานาประการ จากการถูกทาร้าย ถูกประหาร มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เป็นต้น จึงขวนขวายในการเจริญสมถภาวนาเพื่อปรารถนาที่จะไม่มีรูปร่างกาย เมื่อบรรลุถึงอรูปฌานและสิ้นชีพแล้วจึงได้มาบังเกิดในอรูปภูมิ ผู้ที่จะเจริญอรูปฌานได้ต้องผ่านการเจริญรูปฌานมาจนถึงฌานสุดท้าย คือ ปัญจมฌาน (หรือถ้ากล่าวตามสุตตันตนัย คือ จตุตถฌาน) จึงจะเจริญอรูปฌานต่อไปได้ อรูปาวจรภูมิ มี ๔ ภูมิ คือ ๑. อากาสานัญจายตนภูมิ ผู้ที่เกิดในภูมินี้จะต้องเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปัญจมฌานมาก่อน แล้วมาเจริญอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌาน กาหนดอากาศที่อยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ ภาวนาว่า “อากาศไม่มีสิ้นสุดๆๆ” จนสาเร็จอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนฌาน เมื่อสิ้นชีวิตและฌานยังไม่เสื่อมจะมาเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุ ๒๐,๐๐๐ มหากัป ๒. วิญญาณัญจายนตนภูมิ
เป็นภูมิที่อยู่ของวิญญาณัญจายตนพรหมผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยการพิจารณาจิตที่เข้าไปรู้อากาศไม่มีที่สิ้นสุดในอากาสานัญจายตนฌาน ตั้งอยู่ห่างจากอากาสา- นัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่าอากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุ ๔๐,๐๐๐ มหากัป ๓. อากิญจัญญายตนภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของอากิญจัญญายตนพรหมผู้ซึ่งได้อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยการพิจารณาความไม่มีอะไร คือไม่มีทั้งอากาศและวิญญาณ ซึ่งเป็นอารมณ์ของอรูปฌานที่ ๑ และอรูปฌานที่ ๒ ตั้งอยู่ห่างจากวิญญาณัญจายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิที่มีความสุขประณีตละเอียดกว่าวิญญาณัญจายตนภูมิ มีอายุ ๖๐,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่ไปเกิดอยู่ในภูมินี้ ได้แก่ อาฬารดาบส (อ่านว่า อา-ลา-ระ-ดา-บด) เป็นครูที่สอนการทาฌานสมาบัติให้แก่พระโพธิสัตว์ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วก็จะเสด็จไปโปรดอาจารย์ผู้นี้ แต่รู้ด้วยทิพยจักขุว่าอาฬารดาบสตายไปแล้วเมื่อ ๗ วันก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ อาฬารดาบสได้เข้าสู่ความเป็นอรูปพรหมในอากิญจัญญายตนภูมิ ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ได้อรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญา- ยตนฌาน ด้วยการพิจารณาสัญญาที่เข้าไปรู้ในบัญญัติอารมณ์ว่า “มีก็ใช่ ไม่มีก็ใช่” อุปมาเสมือนกับน้ามันที่ทาบาตร จะว่าบาตรนั้นมีน้ามันอยู่ก็ไม่ใช่ หรือไม่มีน้ามันอยู่ก็ไม่ใช่เพราะเทออกมาไม่ได้ ภูมินี้เป็นภูมิที่สูงสุด ตั้งอยู่ห่างจากอากิญจัญญายตนภูมิ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ มีความสุขประณีตละเอียดกว่าอากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุ ๘๔,๐๐๐ มหากัป ผู้ที่ไปเกิดอยู่ในภูมินี้ ได้แก่ อุทกดาบส (อุ-ทะ-กะ-ดา-บด) เป็นครูสอนฌานสมาบัติให้แก่พระโพธิสัตว์ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเดียวกับอาฬา-รดาบส เมื่อพระองค์จะเสด็จไปโปรด ก็ทราบด้วยทิพยจักขุว่าได้สิ้นชีพไปแล้วเมื่อพลบค่านี้เอง ได้เข้าสู่ความเป็นอรูปพรหมในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
อายุของสัตว์ในภูมิ ๓๑ ต่อไปจะได้พรรณนาถึงอายุของเทวดาพรหมทั้งหลาย จะได้เห็นว่าการได้ไปเสวยสุขที่โลกสวรรค์นั้นมีอายุเท่าไรบ้าง และอายุของสัตว์นรกว่ามีอายุเสวยผลอกุศลกรรมเท่าไรบ้าง ทาบุญแล้วอธิษฐานให้เกิดในสวรรค์ ในอรรถกถาธรรมบท กล่าวเรื่องเวลาของสวรรค์เทียบกับมนุษย์ไว้ดังนี้:-
ในดาวดึงส์เทวโลกเทวบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า มาลาภารี ไปเที่ยวชมอุทยานพร้อมกับหมู่เทพอัปสร เทพธิดาองค์หนึ่งจุติในขณะที่กาลังนั่งอยู่บนกิ่งต้นไม้ให้ดอกไม้หล่นจากต้น สรีระของนางดับหายไปเหมือนอย่างเปลวประทีปดับ นางถือปฏิสนธิในตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถีและระลึกชาติได้ว่า เป็นภรรยาของมาลาภารีเทวบุตร นางตั้งความปรารถนาจะไปเกิดในสานักของเทพสามีอีก ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี นางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทาการบูชาพระรัตนตรัย ทาบุญกุศลต่างๆ และตั้งความปรารถนาอย่างเดียวนั้นตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนถึงได้นามว่า ปติปูชิกา แปลว่า บูชาเพื่อสามี เมื่อเจริญวัยก็มีสามี คนทั้งหลายก็เข้าใจว่าเป็นที่สมปรารถนาแล้ว นางมีบุตรหลายคนโดยลาดับ ได้ตั้งหน้าทาบุญกุศลต่างๆ อยูเป็นนิตย์ ในวันสุดท้ายของชีวิต เมื่อฟังธรรมรักษาสิกขาบทแล้ว ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคปัจจุบัน บังเกิดในสานักเทพสามีในสวนสวรรค์นั้นแหละ ขณะนั้น มาลาภารีเทวบุตรก็กาลังอยู่ในอุทยานหมู่เทพอัปสรกาลังเก็บร้อยดอกไม้กันอยู่ เทวบุตรได้ทักถามว่านางหายไปไหนแต่เช้า นางได้ตอบว่าจุติแล้วไปเกิดในมนุษย์ ได้เล่าเรื่องของนางในมนุษย์โดยตลอด และได้เล่าถึงความตั้งใจของนางเพื่อที่จะมาเกิดอีกในสานักของเทพสามี บัดนี้ก็ได้มาเกิดสมปรารถนาด้วยอานาจบุญกุศลและความตั้งใจ เทวบุตรถามถึงกาหนดอายุมนุษย์ เมื่อได้รับตอบว่าประมาณร้อยปีเกินไปมีน้อย ได้ถามต่อไปว่าหมู่มนุษย์มีอายุ
เพียงเท่านี้ พากันประมาทเหมือนอย่างหลับ หรือพากันทาบุญกุศลต่างๆ เทพธิดาตอบว่า พวกมนุษย์โดยมากพากันประมาทเหมือนอย่างมีอายุตั้งอสงไขย เหมือนอย่างไม่แก่ ไม่ตาย เทวบุตรได้เกิดความสังเวชใจ
ความจากพระธรรมบท มุ่งเตือนใจให้ไม่ประมาท เพราะทุกๆ คนจะต้องตาย ขณะที่ยังไม่อิ่มยังเพลิดเพลินอยู่ในกาม เหมือนอย่างนางเทพธิดาเพลินเก็บดอกไม้ต้องจุติ(ตาย)ทันทีในสวนสวรรค์นั้น
ใน ติกนิบาต แสดงอายุสวรรค์เทียบอายุมนุษย์ไว้ว่า ห้าสิบปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ๓๐คืนวันเป็นหนึ่งเดือนสวรรค์นั้น ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปีสวรรค์ ห้าร้อยปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทพชั้นจาตุมหาราชิกา เท่ากับเก้าล้านปีมนุษย์ (50x360x500 = 9,000,000) หนึ่งร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นับเดือนปีเช่นเดียวกัน พันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นดาวดึงส์ เท่ากับสามโกฏิหกล้านปีมนุษย์ (4x9,000,000 = 36,000,000) สองร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นยามา นับเดือนปีเช่นเดียวกัน สองพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นยามา เท่ากับสิบสี่โกฏิสี่ล้านปีมนุษย์ (4x36,000,000 = 144,000,000)
สี่ร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นดุสิต นับเดือนปีเช่นเดียวกัน สี่พันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นดุสิต เท่ากับห้าสิบเจ็ดโกฏิหกล้านปีมนุษย์ (4x144,000,000 = 576,000,000) แปดร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นนิมมานรตี นับเดือนปีเช่นเดียวกัน แปดพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นนิมมานรตี เท่ากับสองร้อยสามสิบโกฏิกับสี่ล้านปีของมนุษย์ (4x576,000,000 = 2,304,000,000) หนึ่งพันหกร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นับเดือนปีเช่นเดียวกัน หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เท่ากับเก้าร้อยยี่สิบเอ็ดโกฏิกับหกล้านปีมนุษย์ (4x2,304,000,000 = 9,216,000,000) ส่วนเทพชั้นพรหมโลกยิ่งมีอายุมากขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้ ๑. พรหมปาริสัชชา มีอายุเท่าส่วนที่สามของกัป คือหนึ่งในสามของกัป ๒. พรหมปุโรหิต มีอายุกึ่งกัป ๓. มหาพรหม มีอายุหนึ่งกัป ๔. ปริตตาภาพรหม มีอายุสองกัป ๕. อัปปมาณาภาพรหม มีอายุสี่กัป ๖. อาภัสสราพรหม มีอายุแปดกัป ๗. ปริตตสุภาพรหม มีอายุสิบหกกัป ๘. อัปปมาณสุภาพรหม มีอายุสามสิบสองกัป ๙. สุภกิณหาพรหม มีอายุหกสิบสี่กัป ๑๐. เวหัปผลาพรหม และ อสัญญสัตพรหม มีอายุห้าร้อยกัป ๑๑. อวิหาพรหม มีอายุพันกัป ๑๒. อตัปปาพรหม มีอายุสองพันกัป ๑๓. สุทัสสาพรหม มีอายุสี่พันกัป ๑๔. สุทัสสีพรหม มีอายุแปดพันกัป ๑๕. อกนิฏฐาพรหม มีอายุหนึ่งหมื่นหกพันกัป
ส่วนอรูปพรหมอีก ๔ ชั้นยิ่งมีอายุมากขึ้นไปอีก อรูปที่หนึ่งมีอายุสองหมื่นกัป อรูปที่สองมีอายุสี่หมื่นกัป อรูปที่สามมีอายุหกหมื่นกัป อรูปที่สี่มีอายุแปดหมื่นสี่พันกัป อายุของสัตว์ในนรก อนึ่ง มีแสดงถึงอายุสัตว์ในนรกเทียบกับอายุในสวรรค์ไว้ว่า ห้าร้อยปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นคืนวันหนึ่งใน สัญชีวนรก สัตว์นรกขุมนี้มีอายุห้าร้อยปีนรกนั้น พันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นคืนวันหนึ่งใน กาฬสุตตนรก สัตว์นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งพันปีนรกนั้น สองพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นยามา เป็นคืนวันหนึ่งใน สังฆาตนรก สัตว์นรกขุมนี้มีอายุสองพันปีนรกนั้น สี่พันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นคืนวันหนึ่งใน โรรุวนรก สัตว์นรกขุมนี้มีอายุสี่พันปีนรกนั้น แปดพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เป็นคืนวันหนึ่งในมหาโรรุวนรก สัตว์นรกขุมนี้มีอายุแปดพันปีนรกนั้น หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เป็นคืนวันหนึ่ง ใน ตาปนนรก สัตว์นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งหมื่นหกพันปีนรกนั้น มหาตาปนนรก มีอายุกึ่งอันตรากัป อเวจีนรก มีอายุหนึ่งอันตรกัป เทียบกาลเวลา เรื่องกัป (หรือกัลป์) การนับจานวนเรื่องกาลเวลาจากคัมภีร์ต่างๆ สรุปได้เป็น ๒ วิธี คือ ๑. นับด้วยจานวนสังขยา คือ นับจานวนด้วยตัวเลข เช่น ๑,๒,๓,..... เป็นต้น ๒. กาหนดด้วยอุปมา คือ กาหนดด้วยเครื่องกาหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อมากเกินไปที่จะนับด้วยจานวนตัวเลข การกาหนดในวิธีที่ ๒ นี้ เป็นที่มาของคาว่า กัป กัปมี ๔ อย่าง คือ ๑. อายุกัป
๒. อันตรกัป ๓. อสงไขยกัป ๔. มหากัป ๑. อายุกัป หมายถึง กาลเวลาแห่งอายุขัยตามยุคตามสมัย เช่น อายุขัยของคนในยุคปัจจุบัน มีอายุขัยประมาณ ๗๕ ปี หรืออย่างเช่น ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารว่าอีกสามเดือนจะเสด็จปรินิพพาน หลังจากที่พระอานนท์ทราบแล้วจึงกราบทูลอาราธนาขอให้เสด็จอยู่กัปหนึ่ง เพราะได้เคยสดับพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ถ้าตั้งใจจะดารงรูปกายอยู่ก็จะอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเหลือกว่ากัปหนึ่ง ในช่วงนั้นมนุษย์ก็มีอายุขัยประมาณร้อยปี ๒. อันตรกัป การนับอายุ คือ ในสมัยต้นกัปมนุษย์มีอายุขัยยืนยาวมากถึงอสงไขยปี (มากจนนับจานวนปีไม่ได้) ต่อมาอายุขัยของมนุษย์ค่อยๆ ลดลงตามลาดับจนเหลือแค่ ๑๐ ปี เมื่อลดลงถึงสิบปีแล้วก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปอีกจนถึงอสงไขยปีอย่างเก่าอีก เป็นอย่างนี้เท่ากับ ๑ รอบ เรียกว่า อันตรกัป ๓. อสงไขยกัป จานวนอันตรกัปดังที่กล่าวไว้ในข้อที่ ๒ เป็นอย่างนั้นไปอีกจนครบ ๖๔ อันตรกัป เท่ากับ ๑ อสงไขยกัป (การนับจานวนอสงไขยกัป มีการกล่าวไว้หลายนัย บ้างก็กล่าวว่า ๒๐ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป บ้างก็ว่า ๘๐ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป) ๔. มหากัป มีวิธีนับคือ ๔ อสงไขยกัป = ๑ มหากัป มหากัปหนึ่งๆ มีเวลายาวนานมาก จนไม่สามารถประมาณได้ว่าเป็นเวลานานสักเท่าใด มีอุปมาว่า มีภูเขาหินใหญ่ยาวโยชน์หนึ่งกว้างโยชน์หนึ่ง (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) ไมมีช่องไม่มีโพรง เป็นก้อนหินแท่งทึบ ถึงร้อยปีหนหนึ่ง มีบุรุษใช้ผ้าทอที่แคว้นกาสี (ผ้าเนื้อดี) ร้อยปีมาลูบครึ่งหนึ่ง ภูเขาหินนั้นก็จะพึงราบเรียบไปก่อน แต่กัปยังไม่สิ้น อีกอุปมาหนึ่งว่า มีพื้นที่กว้างและยาวร้อยโยชน์ มีกาแพงสูงร้อยโยชน์ ภายในเต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดแน่นขนัด มีบุรุษมาหยิบพันธุ์ผักกาดไปเมล็ดหนึ่งทุกๆ ร้อยปี กองเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นก็จะหมดไปก่อน ส่วนกัปยังไม่สิ้น กัปที่ยาวมากดั่งนี้ เรียกว่า มหากัป อธิบายคาว่ากัปเสื่อม หมายความว่าระยะเวลาที่ โลกวินาศ คือสลายหรือดับ ความวินาศของโลกมี ๓ อย่างคือ วินาศเพราะไฟ วินาศเพราะน้า วินาศเพราะลม
โลกวินาศเพราะไฟ จะเกิด มหาเมฆกัปวินาศ คือเกิดฝนตกใหญ่ทั่วโลกก่อน ครั้นฝนนั้นหยุดแล้วจะไม่มีฝนตกอีก จะเกิดความแห้งแล้งไปโดยลาดับ จะมีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏขึ้น จนถึงดวงที่ ๗ จึงจะเกิดไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้น อากาศเบื้องบนจะเป็นอันเดียวกับอากาศเบื้องล่างหมายความว่าเหลือแต่อากาศว่างเปล่า มีความมืดมิดทั่วไป ครั้นแล้ว มหาเมฆกัปสมบัติ (ก่อเกิดกัป) จะตั้งขึ้น ฝนจะตกทั่วบริเวณที่ถูกไฟไหม้ ลมจะประคองรวมน้าฝนให้รวมกันเป็นก้อนกลมเหมือนหยาดน้าบนใบบัว แล้วก็แห้งขอดลงไป เป็นไปเช่นนั้นจนปรากฏโลกขึ้นใหม่ จึงถึงวาระที่เรียกว่ากัปเจริญ สัตว์ที่บังเกิดขึ้นเป็นพวกแรกนั้น เป็นพวกพรหมในพรหมโลกชั้นที่ไฟไหม้ขึ้นไปไม่ถึง ลงมาเกิดเป็นพวก โอปปาติกะ เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา เกิดโตปรากฏขึ้นทีเดียว แล้วพากันบริโภคง้วนดิน (ปฐวิรส คือเมื่อน้าแห้งขอด ก็เกิดเป็นแผ่นฝ้าขึ้นในเบื้องบน มีสีงาม มีรสหอมหวาน) สะเก็ดดิน (ปฐวีปัปปฏก) เครือดิน (ปทาลตา) หมดไปโดยลาดับ จากนั้นจึงบริโภคธัญชาติ เช่น ข้าวสาลีสืบต่อมา สัตว์โลกจาพวกแรกเหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้นโดยลาดับ จนปรากฏเป็นบุรุษสตรีสร้างบ้านเรือนสืบพันธุ์กันมา ในตอนต้นมีอายุยืนยาวเป็นอสงไขย (นับปีไม่ถ้วน) ต่อมาพากันประพฤติอกุศลกรรมด้วยอานาจของราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มากขึ้น อายุก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด มีอายุขัย ๑๐ ปี ก็จะถึงความพินาศเป็นส่วนมาก เพราะภัย ๓ อย่าง คือ ศัสตราวุธ โรค ทุพภิกขภัย คือความขาดแคลนอาหาร หรือเรียกว่าถึงสมัย มิคสัญญี แปลว่า มีความสาคัญในกันและกันว่าเหมือนอย่างเนื้อ คือ เห็นกันฆ่ากันเหมือนอย่างเนื้อถึก แต่ก็ยังไม่พินาศกันหมดทั้งโลก ยังมีสัตว์ที่เหลือตายหลบหลีกไป และกลับได้ความสังเวชสลดจิต พากันประพฤติกุศลกรรมมากขึ้น ก็พากันเจริญอายุมากขึ้นด้วยอานาจกุศลโดยลาดับจนถึงอสงไขย แล้วกลับอายุถอยลงมาด้วยอานาจอกุศลกรรมจนถึงอายุขัย ๑๐ ปี แล้วก็กลับเจริญอายุขึ้นใหม่อีก วนขึ้นวนลงอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะถึงคราวโลกวินาศอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาทั้งหมดนี้จัดเป็นกัปย่อยทั้ง ๔ ดังนี้ คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป แปลว่า กัปเสื่อม ตั้งแต่เกิดมหาเมฆกัปวินาศฝนตกใหญ่จนถึง ไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้นดับลงแล้ว ๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป แปลว่า กัปถึงความพินาศแล้ว และความพินาศนั้นยังอยู่ ตั้งแต่ไฟไหม้โลกดับ จนถึงมหาเมฆกัปสมบัติฝนตกใหญ่ เริ่มก่อกาเนิดโลกขึ้นใหม่ ๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป แปลว่า กัปเจริญ คือ กัปที่กาลังเจริญขึ้นไปตามลาดับ ตั้งแต่มหาเมฆกัปสมบัติ จนถึงปรากฏดวงจันทร์ดวง อาทิตย์ ๔. วิวัฎฏฐายีอสงไขยกัป แปลว่า กัปที่เจริญแล้ว และความเจริญนั้นยังอยู่ ตั้งแต่บัด นั้นจนถึงมหาเมฆกัปวินาศบังเกิดขึ้นอีก โลกวินาศด้วยน้า เกิดมหาเมฆกัปวินาศขึ้นเช่นเดียวกันก่อน แล้วจึงเกิดมหาเมฆ ทาให้ฝนตก ฝนนั้นเป็นน้าด่างตกลงมาเป็นน้าประลัยกัลป์ ย่อยโลกให้วินาศไปเช่นเดียวกับไฟไหม้โลก โลกวินาศด้วยลม เกิดมหาเมฆกัปวินาศขึ้นก่อน แล้วเกิดลมกัปวินาศเป็นลมประลัยกัลป์ พัดผันโลกให้ย่อยยับเป็นจุณวิจุณไปเช่นเดียวกับไฟไหม้โลก ความวินาศของโลก จะวินาศด้วยไฟ ๗ ครั้ง แล้ววินาศด้วยน้า ๑ ครั้ง เป็นไปอย่างนี้ ๗ รอบ พอถึงรอบที่ ๘ ก็จะถูกทาลายด้วยลม
ที่กล่าวมาในเรื่องของเวลาแห่งชีวิตของสัตว์บุคคลทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ มีอายุขัยแตกต่างกันไปตามภูมิ บางภูมิมีอายุขัยนานมากนับเป็น ๘๔,๐๐๐ กัป ยังมีพระพุทธภาษิตที่แสดงเรื่องกาลเวลาไว้ว่า :- กาลคือเวลาย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง ฉะนั้นจะเกิดเป็นเทพชั้นไหนก็ต้องถูกเวลากลืนกินคือต้องดับ ไม่มีที่จะสถิตอยู่เป็นนิรันดร แต่อาจจะมีอายุนานนักหนาได้โดยเทียบกับเวลาของมนุษย์นี้ ซึ่งความจริงหาใช่เร็วหรือช้าไม่ เป็นเวลาที่พอเหมาะตามกาหนดสาหรับชั้นนั้นๆ พระพุทธศาสนาได้แสดงถึงที่ซึ่งไม่มีกาลเวลาไว้ด้วยว่า คือ ที่ซึ่งไม่มีตัณหา(ความดิ้นรนทะยานอยาก) เปรียบไว้เหมือนลูกศรที่เสียบจิตใจ “ใครก็ตามอยู่ในโลกหรือภูมิไหนก็ตาม เมื่อถอนลูกศรที่เสียบใจนี้ออกเสียได้ ก็ย่อมบรรลุถึงที่ซึ่งไม่มีกาลเวลา ที่ซึ่งจะพึงบรรลุด้วยจิตใจเท่านั้น ส่วนร่างกายเป็นของโลกต้องตกอยู่ในอานาจของเวลา” การระงับได้ซึ่งตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก จิตใจที่ไม่ดิ้นรน ย่อมไม่เกี่ยวกับเวลาแต่อย่างใดเลย คือไม่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน อนาคต อะไรทั้งสิ้น จิตที่อบรมแล้วย่อมพ้นจากอานาจของเวลา จิตที่อบรมจนข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้แล้วขณะนั้นย่อมไม่มีกาลไม่มีเวลา เป็นอกาลิโก ทั้งหมดคือเรื่องราวของสังสารวัฏ หรือ ภูมิทั้ง ๓๑ ที่เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นสุด บางภูมิก็มีแต่ทุกข์แสนสาหัส บางภูมิก็เสวยสุขอย่างเหลือล้น แต่ก็ไม่สามารถทาให้เราพ้นจากทุกข์ไปได้ หนทางเดียวที่จะพ้นไปจากทุกข์ได้ต้องทาให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการเจริญวิปัสสนาขจัดขัดเกลากิเลสโดยสิ้นเชิงบรรลุพระอรหันต์ จบการเวียนว่ายตายเกิดปิดสังสารวัฏได้
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน อาราธนาศีล รักษาศีล อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
สักการะพระธาตุ ถวายข้าวพระพุทธรูป ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
และให้อาหารแก่สัตว์เป็นทาน และได้สร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง
เมื่อวันก่อนญาติของเราได้ไปงานบวช วันนี้ได้เดินจงกรมนั่งสมาธิเป็นเวลานาน
กรวดน้ำอุทิศบุญ อฐิษฐานจิตศึกษษการรักษาโรค รักษาอาการป่วยของแม่มาหลายวันแล้ว
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญชวนร่วมสร้างฉัตรทองคำ วัดพระธาตุลำปางหลวง
โทร. ๐๕๔-๒๘๑-๓๕๙
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรุมรรคผลนิพานเทอญ