Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

รู้ทุกข์

ศุกร์ 19 มี.ค. 2010 2:35 pm

ที่มาเอามาจากเนื้อหาพระอภิธรรมในการแสดงปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่ ธรรมใดที่เข้ากันได้ก็จัดไว้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งมีทั้งหมด ๗๒ประการ สภาวธรรม ๗๒ ประการ คือ จิต ๑ จิตทั้งหมดมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ แต่นับเป็นหนึ่ง โดยนับตามสภาวลักษณะ เพราะจิตทุกดวงมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะเหมือนกันหมด ฉะนั้นจึงนับเพียง ๑ เจตสิก ๕๒ เจตสิกมีสภาวลักษณะเฉพาะๆ ของตน เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ รูป ๑๘ นับตามสภาวลักษณะ ที่มีอยู่ในรูปธรรมโดยเฉพาะๆ ได้แก่ นิปผันนรูป ๑๘ รูปทั้งหมดมี ๒๘ แบ่งเป็นนิปผันนรูป ๑๘ อนิปผันนรูป ๑๐ อนิปผันนรูป ไม่มีสภาวลักษณะของตนโดยเฉพาะ (เรื่องนี้ให้อ่านทบทวนในบทเรียนชุดที่ ๕) ฉะนั้น รูปที่มีสภาวลักษณะเฉพาะของตนจึงมีเพียงนิปผันนรูป ๑๘ เท่านั้น นิพพาน ๑ นับตามสภาวลักษณะ คือ สนฺติลกฺขณํ

อกุศลสังคหะ

ธรรมที่เป็นอกุศลนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นความเป็นไปของอกุศลเหล่านั้นไว้เป็นหมวดหมู่ จึงจำแนกไว้เป็น ๙ กอง คือ
๑. อาสวะ ธรรมที่เป็นเครื่องหมักดองสัตว์
๒. โอฆะ ธรรมที่เปรียบเหมือนห้วงน้ำ
๓. โยคะ ธรรมที่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดแน่น
๔. คันถะ ธรรมที่เป็นเครื่องคล้องสัตว์
๕. อุปาทาน ธรรมที่ทำให้ยึดมั่นในอารมณ์
๖. นีวรณะ ธรรมที่เป็นเครื่องขวางกั้นความดี
๗. อนุสัย ธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
๘. สังโยชน์ ธรรมที่เป็นเครื่องผูกสัตว์
๙. กิเลส ธรรมที่ทำให้เศร้าหมองและเร่าร้อน

อกุศล กองที่ ๑
อาสวะ แปลว่า เครื่องหมักดอง หมายความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลที่อยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย หรือ หมักดองสัตว์ทั้งหลายผู้ทำบาปอกุศล ให้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน ธรรมที่เป็นอาสวะมี ๔ คือ
๑. กามาสวะ ได้แก่ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความพอใจ อยู่ในกามคุณอารมณ์ คือ ติดอยู่กับความสวยงามต่าง ๆ เพลิดเพลินอยู่ในเสียงเพราะ ๆ กลิ่นหอม ๆ รสอร่อย ๆ สัมผัสที่นิ่มนวลพึงพอใจ ทำให้จิตใจเคลิบเคลิ้มอยู่ในความสุขด้วยอำนาจของ โลภเจตสิก ซึ่งถูกหมักดองอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเวลาช้านานนับจำนวนภพชาติไม่ได้ เมื่อตายไปก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิเป็นเวลายาวนาน คือ ถูกหมักดองอยู่ในอบายสัตว์ และทำให้วัฏฏทุกข์อันยาวนานไม่มีกำหนดนั้นเจริญรุ่งเรืองไม่มีที่สิ้นสุด
๒. ภวาสวะ ได้แก่ ความยินดีติดใจในรูปฌาน อรูปฌาน รูปภูมิ อรูปภูมิ คือ ติดใจในความสุขสงบของฌานจิต และการได้เกิดเป็นพรหมบุคคล ด้วยอำนาจของโลภเจตสิก ที่หมักดองอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทำให้มีการเวียนเกิดเวียนตายในภพภูมิเหล่านี้ ถือว่าเป็นการหมักดองอีกเช่นเดียวกัน ๓. ทิฎฐาสวะ ได้แก่ การหมักดองด้วยความเห็นผิดของตนเอง คือ มีความเห็นว่าบุญไม่มีผล บาปไม่มีผล คุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี ชาติก่อน ชาติหน้าไม่มี เมื่อมีความเห็นผิดเช่นนี้อยู่ในใจ ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตนทำลงไปนั้นเป็นบุญหรือบาป จึงทำอกุศลกรรมเพราะความเห็นผิดเช่นนี้ อกุศลกรรมนี้จึงทำให้สัตว์ทั้งหลายถูกหมักดองให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนในอบายภูมิ เมื่อพ้นจากอบายภูมิแล้ว ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ยากที่จะได้พบแสงสว่างแห่งพระสัทธรรมได้เพราะความเห็นผิดนั้นฝั่งลึกอยู่ในขันธสันดานเกิดมาครั้งใดความเห็นผิดก็ติดตัวมาอยู่เสมอยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ๔. อวิชชาสวะ คือ ความไม่เข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริง ไม่เข้าใจ จิต เจตสิก และรูป ถ้าสรุปรวมก็เป็นเพียง รูป กับ นาม ว่าเป็นเพียงสภาวธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เป็นสัตว์ บุคคล เป็นเราเป็นเขา ดังที่เข้าใจกัน ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจในความเป็นจริงเพราะมีอวิชชา ปกปิดไว้ อวิชชานั้นจะรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ แต่ไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้

สิ่งที่อวิชชาไม่รู้ มี ๘ ประการ คือ ๑. ทุกข์ ๒. สมุทัย ๓. นิโรธ ๔. มรรค ๕. ขันธ์ ๖. อายตนะ ๗. ธาตุ ๘. ปฏิจจสมุปบาท ความไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกันหาที่สุดมิได้ การประหาณ อาสวะ อาสวะธรรมจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทำการประหาณกิเลสต่าง ๆ ได้ การประหาณกิเลสในหมวดของอาสวะนั้นมีดังนี้ กามาสวะ ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต ภวาสวะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต ทิฏฐาสวะ ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต อวิชชาสวะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต

อกุศล กองที่ ๒
โอฆธรรม เป็นธรรมเปรียบเสมือนห้วงน้้า เมื่อใครตกลงไปในห้วงน้ำแห่งโอฆะแล้ว จะทำให้จมดิ่งลงไป ยากที่จะโผล่ขึ้นมาได้ โอฆะ ได้แก่ ความโลภ หรือโลภเจตสิก , ความเห็นผิด หรือทิฏฐิเจตสิก , ความโง่ หรือโมหเจตสิก เมื่อมีโลภะเป็นเหตุทำให้ทำทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ เป็นเหตุให้ต้องตกอยู่ในอบายภูมิ และวนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์อย่างหาที่สุดได้ยากยิ่ง ทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเกิดปัญญาในการเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นไปด้วยอำนาจของทุจริตกรรมนั่นเอง
โอฆะ มี ๔ ประการ คือ
๑. กาโมฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง กามคุณอารมณ์
๒. ภโวฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง การเกิดใน รูปฌาน อรูปฌาน หรือ รูปภพ อรูปภพ
๓. ทิฏโฐฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง ความเห็นผิด ๔. อวิชโชฆะ การจมอยู่ในห้วงแห่ง ความไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง อาสวะ โอฆะ มีสภาวธรรมหรือองค์ธรรมเหมือนกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และโมหเจตสิก แต่ต่างกันที่ชื่อ เท่านั้น (การประหาณโอฆะเป็นไปในทานองเดียวกันกับการประหาณอาสวะ)

อกุศล กองที่ ๓
โยคะ เป็นธรรมที่เปรียบเสมือนเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดแน่น อยู่ในกามคุณอารมณ์ เป็นต้น ยากที่จะถอนให้หลุดออกมาได้ เหมือนกับตะปูที่ตอกตรึงเครื่องประกอบบ้านเรือนไว้ โยคะ มี ๔ ประการ คือ ๑. กามโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์ทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๒. ภวโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพ หรือ รูปฌาน อรูปฌาน ๓. ทิฏฐิโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในความเห็นผิด ๔. อวิชชาโยคะ ตรึงให้ติดอยู่ในความหลง เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิดความ โลภ ความโกรธ ความหลง อาสวะ โอฆะ โยคะ อกุศลทั้ง ๓ กองที่ศึกษามานี้มีสภาวธรรม หรือองค์ธรรมเหมือนกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และโมหเจตสิก ต่างกันที่ชื่อเท่านั้น(การประหาณโยคะเป็นไปในทำนองเดียวกันกับการประหาณอาสวะ)


อกุศล กองที่ ๔
คันถะ เป็นธรรมเปรียบเสมือนเครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ เพราะว่าธรรมเหล่านี้จะเป็นเครื่องเกี่ยวคล้องระหว่างรูปกายนามกายในปัจจุบันภพ กับรูปกายนามกายในอนาคตภพให้ติดต่อกันประดุจโซ่เหล็ก ถ้าจะกล่าวโดยนัยแห่งจิตแล้วก็เป็นเครื่องร้อยรัดระหว่างปฏิสนธิจิต - จุติจิต ให้เกิดต่อเนื่องกันไม่สามารถจะพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ คันถะ มี ๔ ประการ คือ
๑. อภิชฌากายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้อยสัตว์ให้ติดอยู่กับความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ดี) อภิชฌากายคันถะ ต่างกับ อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต ตรงที่ อภิชฌากายคันถะ เป็นโลภะอย่างหยาบและอย่างละเอียดทั้งหมด เป็นความต้องการหรือความพอใจในทรัพย์สมบัติทั้งของตนเองและของผู้อื่น ไม่ว่าจะโดยชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมก็ตาม แต่อภิชฌาที่เป็นมโนทุจริต เป็นโลภะอย่างหยาบ คือความยินดีพอใจในเฉพาะของ ๆ บุคคลอื่น เพื่อให้ได้มาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม
๒. พยาปาทกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องให้สัตว์ติดอยู่ในความโกรธ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับคนที่มีโทสจริต ที่มีอัธยาศัยเป็นคนชอบโกรธอยู่เสมอ ๆ ส่วนพยาบาทที่เป็นมโนทุจริต จะเป็นโทสะอย่างหยาบ ที่คิดปองร้ายผู้อื่น ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ให้ติดอยู่ในความยึดถือในการปฏิบัติผิด เช่น ปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัข โดยเห็นว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นทางหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์ ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องเกี่ยวคล้องสัตว์ให้ติดอยู่ในความยึดมั่นในความเห็นผิดของตน ว่าถูกส่วนความเห็นของคนอื่นผิด เช่น สัญชัยปริพาชก กล่าวกับลูกศิษย์ของตนว่า “คนโง่อยู่กับเรา คนฉลาดให้ไปหาพระสมณโคดม” การประหาณ คันถะ คันถธรรมจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทำการประหาณกิเลสต่าง ๆ ได้ การประหาณกิเลสในหมวดของคันถะนั้นมีดังนี้ อภิชฌากายคันถะ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต


พยาปาทกายคันถะ ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
สีลัพพตปรามาสกายคันถะ และอิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ
อกุศล กองที่ ๕
อุปาทาน การยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ คือ ยึดมั่นถือมั่นในรูป (รูปารมณ์) ในเสียง (สัททารมณ์) ในกลิ่น (คันธารมณ์) ในรส (รสารมณ์) ในสัมผัส (โผฏฐัพพารมณ์) ในเรื่องราวต่าง ๆ (ธัมมารมณ์) อย่างเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อย หรือ ยึดมั่นในความเห็นผิดไม่ยอมคลาย หรือ ในการปฏิบัติผิด คิดว่าเป็นทางหลุดพ้น หรือเห็นว่า อารมณ์ต่าง ๆ ที่ตนกำลังได้รับอยู่นั้นเป็นตัวเป็นตน เป็นเขาเป็นเรา อย่างแรงกล้า ความยึดมั่นอย่างนี้ชื่อว่า อุปาทาน ความยินดีติดใจในอารมณ์ต่าง ๆ ในครั้งแรก ๆ ที่เกิดความยินดีพอใจ ความยินดีนี้ยังเป็น ตัณหา แต่เมื่อมีความยินดีพอใจ ติดใจ ยึดมั่นในอารมณ์นั้น ๆ อย่างเหนียวแน่น ความยินดีในครั้งหลัง ๆ นี้เป็น อุปาทาน ตัณหาเปรียบเหมือนต้นไม้เล็กที่เริ่มปลูกใหม่ ๆ ย่อมถอนได้ง่าย ส่วนอุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ปลูกไว้ใหญ่โตแล้วถอนได้ยากเพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว อุปาทาน จึงเป็นความยึดมั่นไว้ในอารมณ์อย่างเหนียวแน่นกว่า ตัณหา อุปาทาน มี ๔ ประการ คือ ๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นใน อารมณ์ ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘ ๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นใน ความเห็นผิด ที่นอกจากสีลัพพตปรามาสทิฏฐิและอัตตวาททิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นใน การปฏิบัติผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค เยี่ยงสุนัข โดยคิดว่าเป็นการปฏิบัติที่จะนำตนให้พ้นทุกข์ได้ (ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่นอกไปจากมัชฌิมาปฏิปทา) ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวเป็นตน หรือมีตัวมีตนอยู่ในขันธ์ ๕ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ คือ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ การประหาณ อุปาทาน อุปาทานจะถูกประหาณได้โดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล เมื่อมัคคจิตเกิดขึ้น จะทำการประหาณกิเลสต่างๆได้ การประหาณกิเลสในหมวดของอุปาทานนั้นมีดังนี้
ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต



กามุปาทาน ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน ถูกประหาณโดย โสดาาปัตติมัคคจิต อัตตวาทุปาทาน
อกุศล กองที่ ๖
นีวรณ์ ์์์์เป็นธรรมที่เป็นเครื่องกั้นความดี์เครื่องขัดขวางในการทาความดี์์์มิให้กุศลต่าง์ๆ์คือ์ทาน์์ศีล์์ภาวนา ์ฌาน ์์มรรค์ ์ผล์์์อภิญญา์ ์สมาบัติ์์์เกิดขึ้น์์์์์์และทาให้กุศลบางอย่าง์เช่น์ฌานที่เกิดอยู่แล้วทาให้เสื่อมสิ้นไปได้์์์์์์์บุคคลทั่วไป์พอคิดจะทากุศลสูงขึ้นก็มักจะถูกนีวรณธรรมที่เรียกว่า์กิเลสมาร์เกิดขึ้นขัดขวางมิให้กุศลธรรมเจริญก้าวหน้า ์เช่น์์์์เกิดความเบื่อหน่าย์์์ง่วงซึมไม่อยากจะทาความดีต่อไป
นีวรณ ์์มี์์๖์์ประการ์์คือ ๑. กามฉันทนีวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ ์์์เมื่อชอบใจและ ต้องการในกามคุณอารมณ แล้ว์์ก็ย่อมขาดกาลังในอันที่จะทาความดี์์มีฌาน และมัคคผล์หรือ์ขาดศรัทธา์สติ์ปัญญา์ในการบาเพ็ญทาน์ศีล์ภาวนา เป็นต้น์์์์องค ธรรมได้แก่โลภเจตสิก์์ที่ในโลภมูลจิต ๘ ๒. พยาปาทนีวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ ์์์เมื่อจิตใจมีแต่ความขุ่นเคืองไม่ชอบใจแล้ว์์์ก็ย่อมขาดปีติความอิ่มใจในการทาความดี์คือการบาเพ็ญทาน์ศีล์ภาวนา์์เป็นต้น์์องค ธรรม ได้แก่์โทสเจตสิก์์ที่ในโทสมูลจิต์๒
๓. ถีนมิทธนีวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอย์เป็นเหตุให้เกิดความเกียจคร้านไม่อยากที่จะทำความดี เมื่อจิตใจหดหู่ท้อถอยเสียแล้วก็ย่อม ขาดวิตก คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จะกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ที่ในอกุศลสสังขาริกจิต ๕
๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ อันเนื่องมาจากการสูญเสีย (พยสนะ ๕) คือ ๑. สูญเสียญาติ ๒. ทรัพย์สมบัติ ๓. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ๔. ทำบาป (ทุศีล) ๕. เห็นผิดใฝ่ใจไปในทางที่เป็นบาป เมื่อจิตใจเป็นดังนี้ก็ย่อมขาดความสุข ในอันที่จะกระทำความดี องค์ธรรม

ได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒ และ กุกกุจจเจตสิก ในโทสมูลจิต ๒ ๕. วิจิกิจฉานีวรณ์ ขัดขวางเพราะความสงสัย ลังเลใจ เมื่อจิตใจเกิดคามลังเลสงสัยแล้ว ย่อมขาดวิจารในอันที่จะพินิจพิจารณาในการกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑ ๖. อวิชชานีวรณ์ ขัดขวางเพราะความไม่รู้ มีการทำให้หลงลืมขาดสติ เช่น ไม่รู้แจ้งในอารมณ์ของสติปัฏฐานที่ตนกำหนดอยู่ เป็นการกั้นต่อมรรค ผล นิพพาน มิให้เกิดขึ้น องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒ นีวรณ์ ๑ - ๕ (เว้น อวิชชา) ได้ชื่อว่า เป็นเครื่องกั้น ฌาน ในการเจริญสมถภาวนา นีวรณ์ที่ ๖ คือ อวิชชานีวรณ์ ได้ชื่อว่า เป็นเครื่องกั้น มรรค ผล นิพพาน
การประหาณ นีวรณ์ วิจิกิจฉานีวรณ์
กามฉันทนีวรณ์ พยาปาทนีวรณ์ กุกกุจจนีวรณ์
ถีนมิทธนีวรณ์ อุทธัจจนีวรรณ์ อวิชชานีวรณ์
อกุศล กองที่ ๗
อนุสัย เป็นกิเลสอย่างละเอียด ซ่อนเร้นนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อได้เหตุอันสมควรแล้ว ก็ปรากฏขึ้นเมื่อนั้น อุปมาเสมือนตะกอนที่นอนก้นภาชนะ เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบกับภาชนะ ตะกอนหรือกิเลสก็จะฟุ้งขึ้นมาทันที ทำให้จิตใจเร่าร้อนเศร้าหมอง
ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต
ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมรรค

การประหาณ อนุสัย
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
อกุศล กองที่ ๘
ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังโยชน์ เป็นการผูกเหล่าสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ เหมือนเชือก ๑๐ เส้น ที่ล่ามสัตว์ไว้กับหลักไม่ให้หลุดออกไปได้ กามคุณทั้ง ๕ นี้แหละเป็นเรือนที่สัตว์ถูกผูกไว้ ไม่ให้หนีออกไปได้ สังโยชน์ธรรม ๑๐ ประการ มีโดยสองนัย คือ
๑. กามราคสังโยชน์ ๑. กามราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘ ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ใน โลภมูลจิต ๘ ๒. ภวราคสังโยชน์ ๒. รูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต
ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต


๓. ปฏิฆสังโยชน์ ๓. อรูปราคสังโยชน์ ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒ ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ๔. มานสังโยชน์ ๔. ปฏิฆสังโยชน์ ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒ ๕. ทิฏฐิสังโยชน์ ๕. มานสังโยชน์ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ๖. ทิฏฐิสังโยชน์ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ๗. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ๘. อิสสาสังโยชน์ ๘. วิจิกิจฉาสังโยชน์ อิสสาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒ ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ ๙. มัจฉริยสังโยชน์ ๙. อุทธัจจสังโยชน์ ได้แก่ มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒ ได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ ได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒ ได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒



การประหาณสังโยชน์
ทิฏฐิสังโยชน์
วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
กามราคะและปฏิฆะอย่างหยาบ
กามราคะและปฏิฆะอย่างละเอียด
รูปราคสังโยชน์
อรูปราคสังโยชน์ มานสังโยชน์ อุทธัจจสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์
โอรัมภาคียสังโยชน์
คือ
สังโยชน์เบื้องต่้า ๕
ถูกประหาณโดย โสดาปัตติมัคคจิต
ถูกประหาณโดย สกทาคามิมัคคจิต
ถูกประหาณโดย อนาคามิมัคคจิต
อุทธัมภาคียสังโยชน์
คือ
สังโยชน์เบื้องสูง ๕
ทั้ง ๕ ประการนี้ ถูกประหาณโดย อรหัตตมัคคจิต



อกุศล กองที่ ๙
กิเลส เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายเกิดขึ้นเมื่อใดก็จะทำให้ผู้นั้นรู้สึกเดือดร้อนรำคาญใจ กิเลสเป็นเจตสิก ชนิดหนึ่ง เมื่อประกอบกับจิต จะทำให้จิตนั้นเศร้าหมองเร่าร้อน โดยปกติชีวิตประจำวันของบุคคลตั้งแต่เช้าตื่นขึ้น จนเข้านอนหลับไป กิเลสทั้งหลายก็เข้าครอบงำจิตใจได้เกือบตลอดเวลาอยู่แล้วทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น และถ้ากิเลสเกิดขึ้นในเวลาขณะใกล้ตายก็เป็นเครื่องบอกได้ว่าผู้นั้นจะไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ถ้าบุคคลทั้งหลายระมัดระวังมิให้กิเลสเข้าครอบงำจิตใจได้ จิตใจก็จะสบาย ปลอดโปร่ง หน้าตาผ่องใส เป็นที่สบายตาสบายใจแก่ผู้พบเห็น เมื่อตายลงก็จะไปสู่สุคติภพ กิเลส มี ๑๐ อย่าง คือ
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา โลภะ คือ ความยินดี ติดใจ ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ แล้วทำบาปอกุศลลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดเป็น เปรต อสุรกาย ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา โทสะ คือความโกรธความไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ที่ประสบ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ แล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดเป็น สัตว์นรก ได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา โมหะ คือ ความโง่ ความ หลง ความมัวเมาใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ แล้วทำบาปอกุศล กรรม ลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดเป็น สัตว์เดรัจฉาน ได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา มานะ คือ ความเย่อหยิ่ง ถือตนว่าดีกว่าเขา ต่ำกว่า หรือ เสมอเขาแล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะ
๑.โลภะ
๔.มานะ
๓.โมหะ
๕.ทิฏฐิ
๘.อุทธัจจะ
๖.วิจิกิจฉา
๙.อหิริกะ
๑. โลภกิเลส
๒. โทสกิเลส
๓. โมหกิเลส
๔. มานกิเลส
๑.โทสะ
๗. ถีนะ
๑๐.อโนตตัปปะ

นำไปเกิดในทุคติภูมิ ได้แก่ มานเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา ทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดจาก เหตุผลตามความเป็นจริง แล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดในทุคติ ภูมิ ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา เพราะความลังเลสงสัยใน สิ่งที่ควรเชื่อ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น แล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป
เมื่อตายลงจะนำไปเกิดในทุคติภูมิ ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต ๑ เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา ถีนะ คือ ความหดหู่ท้อ
ถอยจากอารมณ์ ทำให้ไม่มีความเพียรพยายามในการทำความดี แล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดในทุคติภูมิ ได้แก่ ถีนเจตสิก ที่ในอกุศลสสังขาริกจิต ๕ เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ แล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดใน ทุคติภูมิ ได้แก่ อุทธัจจเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒
คือความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา เพราะความไม่ละอายต่อ ตนเองในการที่จะทำบาป แล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดใน ทุคติภูมิ ได้แก่ อหิรีกเจตสิก ที่ให้อกุศลจิต ๑๒
เป็นความเศร้าหมองเร่าร้อนที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของคนเรา อโนตตัปปะ คือความไม่เกรงกลัวต่อบาปและผลของบาป ไม่เกรงกลัวต่ออาญาแผ่นดินแล้วทำบาปอกุศลกรรมลงไป เมื่อตายลงจะนำไปเกิดในทุคติภูมิ ได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒

กิเลส ทั้ง ๑๐ ประการเราได้ศึกษาไปแล้ว แต่เราคงได้ยินเรื่องกิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ กันมาบ้าง ต่อไปจะศึกษาเรื่องนี้ ดังนี้ ท้าไม ? กิเลส มีถึง ๑,๕๐๐ ที่เรียกว่า กิเลส ๑,๕๐๐ เพราะมีวิธีคิดได้ดังนี้ สิ่งที่ทำให้เกิดกิเลส หรือ อารมณ์ของกิเลส ที่เกิดจากภายใน คือ ตัวเรา มี ๗๕ และ กิเลสที่เกิดจากภายนอก คือ คนอื่น มี ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐


ตัวเรา ก็คือ รูป - นาม (รูป ๒๒ – นาม ๕๓) = ๗๕
คนอื่น ก็คือ รูป - นาม (รูป ๒๒ - นาม ๕๓) = ๗๕

กิเลสภายในคือ ตัวเรา มี ๗๕ เป็นอารมณ์ให้ คนอื่น เกิดกิเลสได้ เช่น มีคนมารัก เรา หรือ เกลียด เรา กิเลสภายนอก คือ คนอื่น มี ๗๕ เป็นอารมณ์ให้ เรา เกิดกิเลสได้ เช่น ทำให้เรารัก หรือทำให้เรา เกลียด กิเลส มี ๑๐ (คือ โลภะ… อโนตตัปปะ) อารมณ์ของกิเลสมี ๑๕๐ (๑๕๐ x ๑๐ = กิเลส ๑,๕๐๐)
อาการของกิเลส
กิเลสทั้งหลายไม่ว่าจะนับว่ามี์๑๐์์หรือ์มี์๑,๕๐๐์์ก็ตาม์์์เมื่อพิจารณาถึงอาการของกิเลสแล้ว์์์กิเลสทั้งหลายก็มีอาการ์๓์ประการ์์์์คือ์(กิเลส์๓์ระดับดังที่ได้แสดงไปแล้วในหมวดอนุสัยกิเลส)
เรียกว่า์์อนุสัยกิเลส์์์์เป็นกิเลสที่นอนเนื่องสงบนิ่งอยู่ในขันธสันดาน์ยังไม่ ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ์์ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ได้์์และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
๑. กิเลสที่นอนสงบนิ่ง
๒. กิเลสที่กลุ้มรุมอยู่ภายใน

เรียกว่า์์ปริยุฏฐานกิเลส ์เป็นกิเลสที่คุกรุ่นอยู่ในใจ์์เกิดขึ้นแผลงฤทธิ์์ อยู่เพียงในใจ์ทาให้หงุดหงิดใจ์ ยังไม่แสดงออกทางกาย์ทางวาจา์ ซึ่งตัวเองรู้์์์ส่วนคนอื่นบางทีรู้์ บางทีก็ไม่รู้์์
์เรียกว่า์์วีติกกมกิเลส เป็นกิเลสที่แผลงฤทธิ์ออกมาอย่างโจ่งแจ้ง์์ล่วง์์์์์์์ ออกมาทางกาย์์์ทางวาจา์ ตัวเองรู้ชัด์์คนอื่นก็รู้ชัดอย่างโจ่งแจ้ง์์์์ ์เช่น์์ ์ความอยากได้ ์การด่า ์การทาร้ายร่างกาย
อุปกิเลส ๑๖
ความเศร้าหมองอีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า อุปกิเลส มีจำนวน ๑๖ ประการ คือ
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๒. โทสะ ความร้ายกาจ การทำลาย ,, โทสเจตสิก
๓. โกธะ ความโกรธ ,, ,,
๔. อุปนาหะ การผูกโกรธไว้ ,, ,,
๕. มักขะ การลบหลู่คุณท่าน ,, ทิฏฐิเจตสิก
๖. ปลาสะ การตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน ,, มานเจตสิก
๗. อิสสา การริษยา ,, อิสสาเจตสิก
๘. มัจฉริยะ ความตระหนี่ ,, มัจฉริยเจตสิก
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์ ,, โลภเจตสิก
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด ,, มานเจตสิก
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ ,, มานเจตสิก
๑๒. สารัมภะ แข่งดี ,, ,,
๑๓. มานะ ถือตัว ,, ,,
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน ,, ,,
๑๕. มทะ มัวเมา ,, โมหเจตสิก
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ โมหะเจสิก



ตัณหา คือ ความปรารถนา ความอยากได้ ความต้องการ เป็นตัว สมุทัย เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์โทษต่าง ๆ ติดตามมามากมาย ตราบเมื่อคนเรายังมีตัณหาอยู่ ก็จะต้องเวียนว่ายในสังสารทุกข์ต่อไปอีกช้านาน ตัณหา ๑๐๘ เขาคิดกันอย่างไร ? ชนิดของตัณหา มี ๓ (คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา )
อารมณ์ของตัณหา มี ๖ (คือ รูปรมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์) การเกิดของตัณหามี ๒ ทาง
- ตัณหาที่เกิดภายในมี ๑๘ - ตัณหาที่เกิดภายนอกมี ๑๘
ตัณหา ๓๖ เกิดได้ทั้ง ๓ กาล (คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต)
การศึกษาเรื่องของอกุศลทั้ง ๙ กอง คือ อาสวะ โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน นีวรณ์ อนุสัย สังโยชน์ และ กิเลส ซึ่งอกุศลทั้งหลายที่มีอยู่ในตนนั้น มีทั้งที่เป็นแบบที่เกิดขึ้นและเรารู้ได้ และมีทั้งอย่างที่ติดแน่นเป็นยางเหนียวขัดออกได้ยากล้างออกได้ยาก กิเลสทั้งหลายจะถูกประหาณได้เด็ดขาดราบคาบก็ต้องเจริญวิปัสสนาจนมัคคจิตเกิดขึ้น แต่ในขณะปัจจุบันที่เราสาธุชนทั้งหลายยังเป็นปุถุชนที่หนาแน่นด้วยกิเลส ถึงแม้นว่าจะชำระขัดล้างกิเลสทั้งหลายได้ไม่เด็ดขาดก็จริงอยู่ แต่ถ้าได้ศึกษาได้รู้จัก และหมั่นพิจารณา หมั่นสังเกตกิเลสที่เกิดขึ้นแก่ตนเองบ่อย ๆ แล้วพยายามทำให้กิเลสทั้งหลายลดลงเบาบางลง ก็จะเป็นอุปนิสัยที่ดีในปัจจุบัน และเป็นการเพาะบ่มสั่งสมอุปนิสัยเพื่อการบรรลุมรรคผลในกาลข้างหน้า
ฉะนั้น (๓ x ๖) = ๑๘
ฉะนั้น (๑๘ x ๒) = ๓๖
ฉะนั้น (๓๖ x ๓) = ๑๐๘

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานเจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผูใส่บาตรตามถนนหนทาง
อาราธนาศีล รักษาศีล ได้รักษษอาการป่วยของแม่ ศึกษษการรักษาโรค
ช่วมพ่อแม่ทำงานบ้าน กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป
สร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง และตั้งใจว่าจะฟังธรรม ศึกษาธรรม
สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เจริญอาโปกสิน สักการะพะธาตุ
ที่ผ่านมาได้มีการแจกนมแก่เด็กหลายพันคนเป็นหลายคันรถ
แก่เด็กนักเรียนหลายกล่องหายถุง
และได้บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อฐิษฐานจิต ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญสมัครฝึกกลินสีขาว ณ พุทธวัจจนะสถาน
ตรงข้าม ม.เกษตรศาสตร บางเขน
สอนโดยอาจารย์ ยุพา อร่ามกุล
เรียนในช่วงเดือนเมษายน
รับจำนวนจำกัดสมัครได้ที่พุทธวัจจนะสถาน

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
:hpy:
ตอบกระทู้