มงคลตื่นข่าว คื่อ ความเห็น หรือความเชื่อ ที่ตื่นกันไปเองว่า สิ่งนั้น
สิ่งนี้ เป็นมงคล จะนำโชคดีมาให้ ซึ่งไม่มีเหตุผล เป็นความงมงาย
มากกว่า ไม่เป็นไปตามหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้
ดังนั้น ความเชื่อเรื่องโชคลาง ดวงดาว ฤกษ์ยาม หรือมงคล นอกหลัก
พระธรรมคำสอน เรียกว่า มงคลตื่นข่าวทั้งสิ้น ส่วนมงคลจริงๆ ต้อง
เป็นมงคลที่ทรงแสดงไว้ ๓๘ ประการ มีการไม่คบคนพาล การคบ
บัณฑิต เป็นต้น 1. มงคลตื่นข่าว คือ การเชื่อในเรื่องที่ตื่นกันไปเองว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือการกระทำ
อย่างหนึ่งอย่างใดเป็นมงคลโดยไม่มีเหตุผล ซึ่งตามสภาพธรรมก็คือทิฏฐิ (ความเห็น
ผิด) ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการกระทำ หรือข้อวัตรปฏิบัติ ที่เป็นไปด้วยความ
เห็นผิดนั้น (สีลพตปรามาส) ดังนั้น การกระทำตามๆ กันไป โดยไม่มีเหตุผลและยึดถือ
ด้วยความเห็นผิดว่าเป็นมงคล นั่นก็คือมงคลตื่นข่าว
2. แม้ว่าศาสตร์การทำนายบางอย่าง จะเป็นจริงก็ตาม เช่น การทำนายของอสิตดาบส
ที่ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะ แต่ที่เป็นจริงอย่างนั้นไม่ใช่เพราะคำทำนาย แต่เป็นเพราะ
การสะสมพระบารมีของพระองค์ ที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า ดังนั้น ต้องมั่นคงในเหตุและผล คือ กรรมและผลของกรรม
3. ตัวอย่างในเรื่องของมงคลตื่นข่าวก็มากมายหลากหลายไปตามยุคสมัย ในสมัย
พุทธกาล บางบุคคลเชื่อว่า การได้เห็นบางสิ่งบางอย่างในตอนเช้านั้นเป็นมงคล
เช่น การเห็นนกนางแอ่นลม มะตูมอ่อน ปลาตะเพียน ในสมัยปัจจุบันบางบุคคลก็เชื่อว่า
การได้เห็นหรือได้กราบไหว้ต้นไม้ หรือสัตว์ที่มีลักษณะประหลาด นั้นเป็นมงคล ชนชาติ
ต่างๆ ก็มีการยึดถือในมงคลตื่นข่าวแตกต่างกันไป
4. ดังนั้น มงคลตื่นข่าวไม่ใช่มงคล มงคลจริงๆ ก็คือ มงคล 38 ประการที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในมงคลสูตร ( ขุททกนิกายขุททกปาฐะ ) ตั้งแต่การไม่คบคนพาล
การคบบัณฑิต การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ 946
ข้อความบางตอนจาก มหามังคลชาดก
[๑๔๘๒] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญแล้ว มีสุข
เป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญาพึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ใน
โลกนี้ ก็ในมงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคลและ
มุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคลจริง ๆ ไม่มีเลย จะได้ศึกษาในหมวดที่ ๒ ชื่อว่า มิสสกสังคหะ ซึ่งเป็นการรวบรวมธรรมที่คละปนกันทั้งกุศล อกุศล และอพยากฤต เช่น เหตุ ๖ มีทั้งเหตุที่ทาให้บุคคลทาบุญ และทาบาป ซึ่งจะได้ศึกษารายละเอียดกันต่อไป หมวดที่ ๒ มิสสกสังคหะ จาแนกเป็น ๗ คือ ๑. เหตุ เป็นธรรมที่ทาให้ผลเกิดขึ้น ๒. ฌานังคะ เป็นธรรมที่กระทาให้จิตจดจ่อต่ออารมณ์ หรือการเพ่งอารมณ์ ๓. มัคคังคะ เป็นหนทางที่นาไปสู่ที่หมาย คือ สุคติภูมิ ทุคติภูมิ และนิพพาน ๔. อินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองธรรมอื่น ๆ ที่ทาหน้าที่ร่วมกันกับตน ๕. พละ ธรรมที่ทาให้ไม่หวั่นไหวต่อปฏิปักษ์ธรรม ๖. อธิบดี ธรรมที่เป็นใหญ่เป็นผู้นาให้สาเร็จ ๗. อาหาร ธรรมที่เป็นเหตุธรรมที่อุดหนุนให้ผลเกิดขึ้นและช่วยให้ธรรมอื่นเกิดขึ้น
เหตุ เป็นธรรมที่ทาให้ผลเกิดขึ้น ธรรมทั้งหลายที่ได้อุปการะจากเหตุ คือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นปัจจัยแล้ว ย่อมทาให้มีสภาพมั่นคงในอารมณ์ เช่นมั่นคงในความอยากได้ในรูปารมณ์ เป็นต้น เหมือนต้นไม้ที่มีรากงอกงามแผ่ขยายกว้างขวางออกไป เหตุ มี ๖ ประการ ได้แก่ ๑) โลภเหตุ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใจให้เกิดความอยากได้ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ตลอดจนความคิดนึกติดใจในเรื่องราวต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าเมื่อมีความอยากเกิดขึ้นคราวใด ก็จะเกิดความร้อนใจเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ และจะกระทาไปตามความอยากที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้วก็เป็นทุกข์กับการดูแลรักษา ห่วงแหน หรือถ้าไม่ได้อย่างที่ต้องการก็เป็นทุกข์อีก องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘ ๒) โทสเหตุ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใจทาให้เกิดความไม่พอใจ ไม่ปรารถนาที่จะได้พบเรื่องราวต่าง ๆ เหมือนกับการเห็นศัตรูหรืออสรพิษ ย่อมเกิดความไม่พอใจ หรือหวาดกลัวขึ้นมาทันที องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒ ๓) โมหเหตุ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตใจให้โง่ หลง งมงาย ไม่รู้ในสัจจะตามที่เป็นจริง เมื่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือความคิดนึกในเรื่องราวต่าง ๆ ปรากฏขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ก็ไม่เข้าใจสภาวะความเป็นจริง ว่าเป็นเพียงนาม เป็นเพียงรูป แต่กลับไปคิดยึดติดว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเขาเป็นเรา องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ที่ในอกุศลจิต ๑๒ ๔) อโลภเหตุ มีความหมายตรงกันข้ามกับโลภเหตุ คือความไม่อยากได้ใน รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มาสัมผัสทางกาย และความคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ทางใจ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ๕) อโทสเหตุ มีความหมายตรงกันข้ามกับโทสเหตุ คือเมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่พอใจ (อิฏฐารมณ์) หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ (อนิฏฐารมณ์) จิตใจก็จะไม่เกิดความโกรธ หรือความไม่พอใจในอารมณ์นั้น ๆ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ๖) อโมหเหตุ มีความหมายตรงกันข้ามกับโมหเหตุ คือมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กาลังปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ ว่าเป็นแต่เพียงรูปธรรมนามธรรมเท่านั้น มิใช่เป็นสัตว์บุคคลตัวตน เราเขา เป็นเพียงสภาวะที่ปรากฏเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในญาณสัมปยุตตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ สรุปความได้ว่า ** โลภเจตสิก โทสเจตสิก และ โมหเจตสิก เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของบุคคลใดแล้ว ก็เป็นเหตุให้บุคคลนั้นทาบาปอกุศล เจตสิกทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า เหตุบาป ๓ คือเป็นต้นเหตุให้บุคคลทาอกุศล
** อโลภเจตสิก, อโทสเจตสิก และ อโมหเจตสิก เมื่อเกิดขึ้นกับจิตใจของบุคคลใดแล้ว ก็เป็นเหตุให้บุคคลนั้นทาบุญกุศล เจตสิกทั้ง ๓ นี้ เรียกว่า เหตุบุญ ๓ คือ เป็นต้นเหตุให้บุคคลทากุศล โดยที่กุศลขั้นกามาวจรนั้น เมื่อตายลงบุญจะนาไปสู่สุคติภูมิ คือ มนุษยภูมิและเทวภูมิ ถ้าเป็นกุศลขั้นรูปาวจรและอรูปาวจร เมื่อตายลงบุญจะนาไปสู่รูปภูมิและอรูปภูมิ แต่ถ้าเป็นมรรคกุศล ก็จะส่งผลให้สาเร็จเป็นพระอริยบุคคล หมดสิ้นจากกิเลสทั้งปวง และพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้ในที่สุด ฌานังคะ เป็นธรรมชาติที่ทาให้จิตจดจ่อต่ออารมณ์ หรือเพ่งอารมณ์ มีกสิณ เป็นต้น ในฌานังคะมีองค์ฌาน ๗ ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา โสมนัส โทมนัส และอุเบกขา แต่เรามักคุ้นเคยกับองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ทั้งนี้เพราะเนื้อหาที่ศึกษาในหมวดมิสสกะนี้ มุ่งแสดงธรรมที่คละเคล้ากันไปทั้งที่เป็นอกุศล กุศล และอพยากฤต จึงนับเอาเวทนา ๓ คือ โสมนัส โทมนัส และ อุเบกขา รวมเข้ากับ สุข นั่นเอง
** ในฌานังคะทั้ง ๗ นี้ โทมนัส* เกิดได้เฉพาะในอกุศลจิตอย่างเดียว ทาหน้าที่เผาหทยวัตถุให้เหือดแห้งไป ส่วนที่เหลืออีก ๖ นั้นเกิดได้ทั้งในจิตที่เป็นอกุศล กุศล และอพยากฤต คาว่า ฌาน หมายถึง การเพ่งอารมณ์ทั้งหลาย (มีรูปารมณ์เป็นต้น) อย่างแน่วแน่ โดยมีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา และเอกัคคตา เป็นหัวหน้า ชักจูงให้จิตและเจตสิกทาหน้าที่เพ่งอารมณ์นั้น ๆ ตามไปด้วย ที่เรียกว่า ฌาน นั้นก็ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ซึ่งทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นองค์ธรรมของฌานนั่นเอง องค์ฌานทั้ง ๕ นี้ กระทาหน้าที่ต่างกัน แต่เป็นไปในกิจการงานอันเดียวกัน คือการเพ่งจับจ้องอยู่ในอารมณ์อันเดียวกันนั่นเอง ว่าโดยเป็นองค์ธรรม ก็ได้แก่องค์ฌานทั้ง ๕ ดังกล่าวมานี้ แต่หากจาแนกออกไปโดยประเภทแล้ว มีด้วยกัน ๗ ประการ เรียกว่า ฌานังคะ ๗ คือ วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา โสมนัส โทมนัส อุเบกขา คาว่า ฌาน หมายถึงการเข้าไปเพ่งซึ่งอารมณ์นั้น มีด้วยกัน ๒ อย่าง คือ - การเข้าไปเพ่งอารมณ์ที่เป็นการเจริญสมถภาวนา มีการเพ่งกสิณเป็นต้น เรียกว่า อารัมมณุปนิชฌาน - การเข้าไปเพ่งอารมณ์ที่เป็นการเจริญวิปัสสนา คือ เพ่งอารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน การที่ฌานจิตจะเกิดขึ้นได้ ต้องกาจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน ซึ่งเป็นเครื่องขวางกั้นการทาความดี ที่เรียกว่า นิวรณ์ธรรม โดยทาหน้าที่กาจัดนิวรณ์ทั้ง ๕ ดังนี้
** ในการเจริญสมถกรรมฐาน หรือการทาสมาธิ องค์ฌานจะเกิดขึ้นเพื่อกาจัดนิวรณ์ธรรม ๕ เช่นในขณะที่เพ่ง กสิณ อยู่นั้น - ถ้าง่วงเหงาหาวนอน (ถีนมิทธะ) เกิดขึ้น สมาธิก็เกิดไม่ได้ ต้องยกจิต (วิตก) ขึ้นสู่การเพ่ง กสิณ อยู่เรื่อย ๆ - ถ้าเกิดความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา) ,, ,, ต้องพินิจพิจารณาคาสอนของพระพุทธเจ้า (วิจาร) - ถ้ามีโทสะ พยาบาท (พยาปาทะ) ,, ,, ต้องแผ่เมตตาทาจิตใจให้อิ่มเอิบอยู่ในอารมณ์ (ปีติ) - ถ้าจิตฟุ้งซ่าน (อุทธัจจกุกกุจจะ) ,, ,, ต้องทาจิตให้ยึดเหนี่ยวอยู่ในอารมณ์ที่ดีงาม (สุข) - ถ้าจิตปรารถนากามคุณ (กามฉันทะ),, ,, ต้องทาจิตให้ตั้งมั่นอยู่เฉพาะในกสิณ (เอกัคคตา) โดย ไม่ส่งจิตไปในเรื่องอื่น ๆ
มัคคังคะ (มรรค) แปลว่า ทาง หมายถึงเครื่องนาไปสู่ที่หมาย อันได้แก่ กุศลและอกุศล ซึ่งเป็นทางนาไปสู่ ทุคติภูมิ สุคติภูมิ และนิพพาน
มรรค หรือ ทาง แบ่งออกเป็น ๒ สาย คือ ๑.) สัมมามรรค คือ หนทางที่ประกอบด้วยองค์มรรค ๘ ประการ มี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น ๒.) มิจฉามรรค คือ หนทางที่ประกอบด้วยองค์มรรคที่เหลืออีก ๔ ประการ มี มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ๑.) สัมมามรรค มี ๘ ประการ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก อันประกอบด้วยความรู้ที่ถูกต้องในอริยสัจจ์ ๔ การมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องของกุศลและอกุศล หรือมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทาดีทาชั่ว ว่าย่อมมีผล เป็นทางให้เข้าถึงสุคติ และนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ ในเรื่องการทาดีทาชั่วนี้ มีบุคคลเป็นจานวนมากอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปว่า ทาดีได้ดีมี ที่ไหน ทาชั่วได้ดีมีถมไป ทั้งนี้เป็นเพราะว่ายังไม่เข้าใจความหมายของคาว่า ทาดี ได้ดี จึงพากันตีความในเรื่องการทาดีไปในรูปของการได้มาซึ่งวัตถุ ถ้าหากทาสิ่งใดแล้ว ได้ผลมาก ก็เรียกการกระทานั้น
ว่า ได้ดี อันเป็นความหมายที่ทางโลก (โลกียธรรม) เข้าใจกันเอาเอง แต่แท้จริงแล้ว ทาดี ได้ดี ในความหมายที่ถูกทางธรรมะ คือ การได้มาซึ่งความสงบเย็นภายในจิตใจ จากการกระทาที่มิได้หวังผลใด ๆ ตอบแทน โดยกระทาไปเพราะเป็นสิ่งที่ถูกต้องอันควร และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ถือเป็นหน้าที่ที่มนุษย์จะพึงปฏิบัติต่อกัน เช่น การให้ทาน การให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่นตามกาลังสามารถ โดยมิได้มีจิตมุ่งหวังผลตอบแทนทั้งในทางวัตถุและทางจิตใจ ดังที่กล่าวมานี้ ผู้ที่ได้รับการอบรมจนมีความเข้าใจถูกต้องในเรื่องการทาดีทาชั่วตามที่เป็นจริง จึงไม่ปรารถนาทาความชั่วใด ๆ เลย เพราะละอายต่อการทาบาปทั้งปวง และจะกระทาความดีอย่างบริสุทธิ์ โดยไม่มุ่งหวังผลตอบแทน นอกจากความรู้ที่ถูกต้องดังที่กล่าวมานี้แล้ว ยังรวมถึงการมีความรู้ที่ถูกต้องหรือเห็นแจ้งในหลักไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาทด้วย โดยสรุปแล้ว ความคิดที่ถูกต้องก็คือการเห็นที่ตรงตามสภาวะ เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามความ เป็นจริง ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทาให้เราเป็นผู้มีความคิดเป็นระเบียบระบบ ไม่มองสิ่งต่าง ๆ อย่างผิวเผิน แต่จะมองอย่างวิเคราะห์แยกแยะ ตลอดจนสนใจในการค้นหาต้นเค้าของเหตุปัจจัยของสิ่งหรือเรื่องนั้น ๆ ทาให้ไม่ถูกหลอกลวงหรือถูกปลุกปั่นได้โดยง่าย เพราะเป็นผู้มีอิสระในการคิดที่เป็นตัวของตัวเอง มีสติสัมปชัญญะในการตัดสินใจ ทั้งนี้โดยมีสัมมาทิฏฐิ หรือการมีความคิดถูกต้องเป็นรากฐาน สัมมาทิฎฐิจึงเป็นองค์ประกอบสาคัญของมรรคในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม และเป็นธรรมะที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ เป็นอิสระมากขึ้นตามลาดับจนถึงการตรัสรู้ได้ในที่สุด ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดาริถูก หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นทางให้เข้าถึงสุคติ และนิพพาน องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามาวจรโสภณจิต ๒๔ และปฐมฌานจิต ๑๑ โดยทั่วไปแล้ว บุคคลทั้งหลายก็มีความดาริที่เป็นไปตามกามกิเลสเป็นปกติ กล่าวคือเมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะโดยการเห็น ได้ยิน ได้สัมผัส เป็นต้น ย่อมจะเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ ถ้าถูกใจในอารมณ์นั้นก็ชอบ ติดใจ อยากได้ พัวพัน คล้อยตาม แต่ถ้าไม่ถูกใจก็ไม่ชอบ ขัดเคืองใจ เกลียดชัง ผลักออก เป็นปฏิปักษ์ จากนั้นความดาริคิดนึกต่าง ๆ ก็จะดาเนินไปตามแนวทางหรือแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยเหตุนี้ ความนึกคิดของปุถุชนโดยปกติ จึงมักเอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งเสมอ โดยมีความพอใจและไม่พอใจของตนเข้าไปเคลือบแฝงและคอยชักจูงให้เป็นไป ทาให้ไม่เข้าใจถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เพราะถูกความชอบใจ จนเกิดความติดใคร่ พัวพัน จึงเอียงเข้าหาความนึกคิดนั้น ซึ่งเป็นทัศนคติ (หรือเจตคติ) ต่อสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่ถูกต้อง ความดาริหรือความนึกคิดที่เอนเอียง ทัศนคติที่บิดเบือนและถูกเคลือบแฝงเช่นนี้ เกิดขึ้นก็เพราะการขาดโยนิโสมนสิการ คือการมอง พิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยแยบคาย จึงมองสิ่งต่าง ๆ อย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้นโดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้วปล่อยใจให้นึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มี
ความชอบใจ ไม่ชอบใจเป็นตัวนา ไม่ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบและความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ ในทางตรงข้าม การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายถูกต้องตามที่มันเป็นของมันเองได้ โยนิโสมนสิการเป็นธรรมะที่ขาดไม่ได้เลย การมีโยนิโสมนสิการ ทาให้ผู้นั้นมีสัมมาทิฏฐิ คือมองเห็นและเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เมื่อมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง จึงมีสัมมาสังกัปปะ คือดาริ นึกคิด และตั้งทัศนคติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึดติด ขัดเคือง ผลักใส หรือเป็นปฏิปักษ์ เมื่อมีความดารินึกคิดที่เป็นอิสระจากความชอบใจ ไม่ชอบใจ จึงทาให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เสริมสร้างสัมมาทิฏฐิให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น จากนั้นองค์ประกอบทั้งสองก็สนับสนุนซึ่งกันและกันหมุนเวียนต่อไป ๓. สัมมาวาจา คือ การกล่าววาจาถูก หมายถึง การมีคาพูดที่ถูกต้อง เว้นจากวจีทุจริต ๔ คือ มุสาวาท การกล่าวคาเท็จ, ปิสุณาวาจา การส่อเสียดนินทาผู้อื่น, ผรุสวาจา การพูดคาหยาบ และ สัมผัปปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ตลอดจนการพูดที่ไม่ก่อให้เกิดการปรุงแต่งกามกิเลสขึ้นมาด้วย องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ๘ โลกุตตรกุศลจิต ๘ หรือ ๔๐ สัมมาวาจา หรือคาพูดที่ดีนั้นต้องมีประโยชน์ พูดถูกกาลเทศะ ไม่ทาร้ายจิตใจผู้อื่น ไม่ทาให้ผู้อื่นเข้าใจผิด และพูดในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การงานถูก หมายถึง การกระทาในด้านร่างกายที่ถูกต้อง ซึ่งในที่นี้หมายถึง การเว้นจากกายทุจริต ๓ คือ ปาณาติปาต การฆ่าสัตว์, อทินนาทาน การขโมย ฉ้อฉลของผู้อื่น หรือทาลายของสาธารณประโยชน์ และ กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม องค์ธรรมได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ๘ โลกุตตรกุศลจิต ๘ หรือ ๔๐ ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพถูก หมายถึง การมีสัมมาอาชีวะหรือการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้ใดจนทาให้เขาได้รับความเดือดร้อนหรือเสียประโยชน์ องค์ธรรมได้แก่ สัมมาอาชีวเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ๘ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ การประกอบอาชีพที่ไม่ควรประกอบที่เรียกว่ามิจฉาวณิชชา ๕ มีดังนี้ คือ ๑) ค้าขายอาวุธ ๒) ค้าขายมนุษย์ ๓) ค้าขายเนื้อสัตว์ ๔) ค้าขายน้าเมา ๕) ค้าขายยาพิษ ๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรถูก หมายถึง ความพยายามในทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเห็นแจ้งชัดในความจริง และจะได้พบกับความสงบเย็นภายในจิตใจอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตที่สมบูรณ์ เช่น ความเพียรพยายามในการฝึกฝนอบรมทางกาย วาจา และเพียรอบรมจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ ไม่หวั่นไหวไปกับความยั่วยวนของกิเลสและความอยาก องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ๗. สัมมาสติ คือ การระลึกถูก หมายถึง ความราลึกประจาใจที่ถูกต้อง คือ มีการตื่นตัวอยู่เสมอ เราต้องรู้ตัวในทุก ๆ อิริยาบถอยู่เสมอ มีความตื่นตัวต่อหน้าที่ พร้อมเสมอที่จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้อง เมื่อดีใจ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานเจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผูใส่บาตรตามถนนหนทาง อาราธนาศีล รักษาศีล ได้รักษษอาการป่วยของแม่ ศึกษษการรักษาโรค ช่วมพ่อแม่ทำงานบ้าน กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป สร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง เมื่อวานนี้และวันนี้มีการเลี้ยงอาหารพระ ทั้งวัด และมีการถวายสังฆทานหลายชุด คนเยอะมาก และอีกวัดหนึ่งมีการบวชสามเณร 56 รูป ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญหล่อพระประธานปางมารวิชัยขนาดหน้าตัก 69 นิ้ว โทร 02 4492234
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|