ในสมัยครั้งพุทธกาลพุทธบริษัทได้ทราบจากการพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า ท่าน
ใด เป็นพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน การกระทำการ
สักการะบูชา ถวายอาหารจตุปัจจัย กับพระอริยเจ้าเหล่านี้มีผลมีอานิสงส์มาก อนึ่ง
การคบหา การสมาคม การประพฤติปฏิบัติตามท่านเหล่านี้ นำมาซึ่งความสุข ความ
เจริญ ไม่มีความเสื่อม ย่อมถึงที่สุดทุกข์ตามท่านได้ แต่ในยุคนี้ ใครจะรู้ว่าใครเป็น
พระอริยบุคคลขั้นไหน ผู้นั้นต้องบรรลุความเป็นพระอริยขั้นนั้นก่อนจึงรู้ได้ ถ้ายังไม่
บรรลุย่อมรู้ไม่ได้ครับ แต่คนอื่นจะเป็นอริยะหรือไม่ใช่อริยะก็ตาม การสำรวมระวังกาย
ระวังวาจา ระวังความคิดของเราเป็นการดี ไม่ควรเบียดเบียน ไม่ควรถือเอาทรัพย์ ไม่
ควรก้าวล่วงบุตรภริยาบุคคลอื่น ไม่ควรโกหก ไม่ควรด่าว่า ไม่ควรพูดส่อเสียด ไม่ควร
พูดคำหยาบคาย ไม่ควรพูดพ้อเจ้อ ไม่ควรมีอภิชฌา ไม่ควรมีพยาบาท ไม่ควรมีความ
เห็นผิดจากความเป็นจริง..
ไม่ว่าใครจะเป็นอะไร อย่างไร ไม่สำคัญที่ตัวเรา เริ่มจากความเข้าใจพระธรรมของเรา
เป็นสำคัญ พิจารณาเหตุผลในสิ่งทีได้ฟัง เทียบเคียงกับพระธรรมวินัย ไม่เชื่อก่อนแต่
พิจารณาไตร่ตรองตามเหตุผลที่พระธรรมของพระพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งการจะรู้ว่า
บุคคลใดเป็นอย่างไร เราต้องมีความเข้าใจถูกเป็นสำคัญก่อนครับ จึงสามารถแยกแยะ
ว่าหนทางที่ถูก ถูกคืออย่างไร หนทางที่ผิด ผิดคืออย่างไร ปัญญาจึงไม่ใช่การเปรียบ
เทียบ เ ทียบเคียงหรือตรงกับจริตแล้วจะถูกต้องเป็นปัญญา แต่ต้องเป็นเรื่องของ
เหตุผล เรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ สำคัญที่ตัวเราครับ หากมีความเข้าใจ
ถูกแล้ว ไม่ต้องห่วงว่าจะทำอย่างไรกับใคร กาย วาจาและใจย่อมน้อมไปในทางที่ถูก
ต้องและสมควรมากขึ้นตามกำลังของปัญญาครับ สะสมปัญญาของตนเองสำคัญที่สุด คำว่า เถยยสังวาสก์ หรือการลักเพศ โดยทั่วไปท่านอธิบายการปลอมบวช หรือ
การสิ้นสุดของความเป็นพระภิกษุและสามเณรแล้วยังถือเพศ ยังนับพรรษา ถือ
เอาลาภของสงฆ์ หลอกลวงภิกษุสงฆ์และบุคคลทั่วไปว่าตนเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
ส่วนสามเณรในยุคนี้ที่ขาดการแนะนำฝึกฝนจากพระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์
มีความประพฤติล่วงละเมิดสิกขาบท แล้วไม่ทำให้ถูกต้องตามพระวินัย ก็มีค่า
เท่ากับเป็นผู้ทุศีล เป็นอลัชชี ไม่มีคุณธรรม มีจิตเศร้าหมอง ถ้ามรณะในระหว่าง
นั้นต้องมีอบายเป็นที่ไปแน่นอน ถ้าต้องการความถูกต้อง ตรงต่อพระธรรมวินัย
ต้องเข้าไปหาพระอาจารย์ที่ท่านชำนาญในพระวินัย ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย
อย่างถูกต้อง ให้ท่านวิสัชชนาและแก้ไขให้ครับ ตราบใดที่กำลังมีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ....แล้วก็มีการฟังเรื่องนี้
แล้วก็รู้ได้ว่า กำลังฟัง และ มีสิ่งที่กำลังปรากฏ
และ "เริ่มเข้าใจ".....แต่ ยังไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังเห็น.!
เพราะฉะนั้น
ถ้าใช้ชื่อ...ก็มีชื่อ ตั้งแต่ปัญญา (ความเข้าใจ) ที่เกิดจากการฟัง
ซึ่งเรียกว่า "สุตมยญาณ"
หมายความว่า สำเร็จเพราะได้ฟัง...ปัญญา (ขั้น) นี้ จึงมีได้
คือ มีความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ว่า เป็นธรรมะ
และ เป็นเพียงปัญญาขั้นรู้เรื่องของสิ่งที่มีจริง ๆ ในขณะนี้
ขณะจิตที่เป็นปัญญาขั้นรู้เรื่องของสิ่งที่มีจริง ๆ ไม่ใช่ อกุศล
ไม่ใช่ความไม่ดี ไม่ใช่ความไม่เข้าใจ ไม่ใช่ความอยากได้
ไม่ใช่ความโกรธ ไม่ใช่ความสำคัญตน ฯลฯ
เพราะ ขณะจิตนั้น...กำลังมีความเข้าใจถูกในสิ่งที่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่า "กุศล" หรือ "กุศะละ" ซึ่งเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง.
สภาพธรรมที่เป็นกุศล เกิดบ่อยไหมคะ.?
ถ้าไม่มี "ปัจจัย" คือ "เจตสิก" ถึง ๑๙ ประเภท
ซึ่งต้องมี "สติเจตสิก"เกิดร่วมด้วย.
เพราะฉะนั้น
การฟังพระธรรมทั้งหมดนี้นะคะ....ไม่ใช่ฟังเพื่อหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใด
แต่ ฟังเพื่อเข้าใจในสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟัง
ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ๆ
จนกระทั่งค่อย ๆ รู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ...ตามระดับขั้น
คือ ตั้งแต่..."อุปนิสสยโคจร" - "อารักขโคจร"- "อุปนิพันธโคจร"
สังเกตได้นะคะ ว่า มีสิ่งที่ปรากฏทางตา
มีเสียงที่ปรากฏทางหู มีสภาพแข็งปรากฏทางกาย ฯ
...........รู้ ตรง "ลักษณะที่กำลังปรากฏ" นั้น ๆ ทีละอย่าง ๆ
ไม่ต้องใช้คำว่าสติ....แต่เป็นความเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริง ๆ
ซึ่งปรากฏพร้อมกันไม่ได้เลย.
เช่น ขณะที่สภาพแข็งกำลังปรากฏ
สภาพแข็ง ไม่ใช่สีสันวัณณะที่ปรากฏให้เห็นทางตา
ฉะนั้น สภาพแข็ง เป็น "ธาตุ" หรือ "ธรรมะ" ชนิดหนึ่ง
ซึ่ง "แสดงความจริง" ว่า ธาตุชนิดนี้ มีจริงแน่นอน.
มีเมื่อไร.?
เมื่อมี "ธาตุ" อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถรู้-ตรง-เฉพาะ-ลักษณะของสภาพแข็ง
เพราะเหตุนี้สภาพแข็งจึงปรากฏ คือ (จิต) สามารถรู้ลักษณะของสภาพแข็งได้.
ความเข้าใจอย่างนี้ จะต้องคิดถึง "สติ" -"สติปัฏฐาน" ไหมคะ.?
ไม่ต้องเลย.!
แต่บุคคลนั้นเอง ควรรู้ ว่า มีความเข้าใจอย่างนั้นจริง ๆ
และความเข้าใจในขณะนั้น เป็น อกุศล ไม่ได้เลย......ต้องเป็น กุศล.
เพราะฉะนั้น
การฟังพระธรรมที่ละเอียดขึ้น ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น.
.
ความหมายของ "โคจร ๓"
จากความเห็นที่ ๘ โดย คุณเมตตา
(กระทู้ที่ ๑๕๑๔๗ - โคจร ๓ )
โคจร ๓ คือ
๑. อุปนิสสยโคจร ๒. อารักขโคจร ๓. อุปนิพันธโคจร
วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์อธิบายให้เห็นถึงความเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
เมื่อก่อนไม่ได้ฟังพระธรรม มีความไม่รู้ในความจริงของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ
ขณะนี้ได้มีโอกาสฟังพระธรรม สิ่งสำคัญก็คือฟังให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง
การฟังพระธรรมบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย เป็นเหตุให้มีความเข้าใจในพระธรรมเป็นอารมณ์
เป็น อุปนิสสยโคจร (อุป = มีกำลัง, นิสสย = เป็นที่อาศัย, โคจร = อารมณ์)
เมื่อมีความเข้าใจในธรรมที่ได้ฟัง ค่อย ๆ มีความเข้าใจธรรมเพื่มขึ้น
ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้น อกุศลจิต ย่อมไม่เกิด
จึงเป็น อารักขโคจร (อารักข =รักษา, โคจร = อารมณ์)
จนกว่ามีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น สติ และปัญญามีกำลัง ค่อย ๆ ใกล้ที่จะรู้ความจริง
ต้องใช้เวลาในการอบรมยาวนานมาก เป็นจิรกาลภาวนา ไม่ใช่รู้ความจริงได้โดยรวดเร็ว
เพราะเราสะสมความไม่รู้มานานในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมา
พระธรรมนั้นลึกซึ้ง ละเอียด รู้ตามได้ยาก
เมื่อสติปัญญามีกำลังรู้ตรงลักษณะสภาพธรรม เป็น อุปนิพันธโคจร
ซึ่งหมายถึงขณะนั้น สติปัฏฐานเกิด
โดยมาก....มักจะเป็นการคิดถึงเรื่องของสภาพธรรม...หรือเปล่า.?
ขณะที่ลักษณะของสภาพธรรมเกิดขึ้น เช่น "โทสะ" เกิดขึ้น...ก็เรียกชื่อ.?
หรืออาจจะพรรณนาท้าวความว่า มีปัจจัยเกิดขึ้น ไม่ใช่ตัวตน
ก็แล้วแต่ว่า ขณะนั้นจะคิดอะไร....ซึ่งยังไม่ใช่การรู้ลักษณะที่เป็นธรรมะ
แต่....ขณะที่กำลังคิด ก็เป็นธรรมะ.!
และ โทสะที่เกิดขึ้น-ปรากฏ-แล้วก็ดับไปนั้น ก็เป็นธรรมะ
แต่เป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน.!
เพราะฉะนั้น
การที่จะรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เพียงนึกคิดถึงเรื่องราว
การรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นกุศล ไม่ใช่ความขุ่นใจ
เพราะว่า ระลึก-เป็นไปในความจริง ที่ว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา....แต่เป็นธรรมะ
คือ ขณะใดก็ตามที่กุศลจิตเกิดขึ้น ขณะนั้น เป็น "อารักขโคจร"
ซึ่งป้องกันไม่ให้ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต
เพราะว่า มีการฟัง และ มีการรู้ถึงโทษของอกุศลจิต ในขณะนั้น
คือ รู้ว่าขณะที่เกิดความโกรธ....ใครเป็นผู้ที่ได้รับโทษ (จากโทสะ)
ผู้ที่ถูกโกรธ....สบายมาก.?
แต่ผู้ที่โกรธ....ได้รับโทษตั้งแต่เริ่มขุ่นใจ
ถ้าโกรธมาก ๆ ก็อาจจะประทุษร้ายตัวเอง
แล้วอาจจะถึงกับกระทำอกุศลกรรมทางกาย หรือ ทางวาจา ก็ได้
แล้วเป็นโทษกับใคร.?.....เมื่ออกุศลกรรมนั้น ๆ สำเร็จแล้ว.
จิตขณะหนึ่ง เกิดแล้วดับ...เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น
เจตนาที่ประทุษร้าย เป็นอกุศล....ซึ่งเกิดขึ้นและสะสมอยู่ในจิต
และเป็นปัจจัยให้เกิดผล คือ จิตเห็น หรือ จิตได้ยิน เกิดขึ้น รู้สิ่งที่ไม่ดี
ความมุ่งหวังจะให้คนที่เราคิดจะประทุษร้าย-ต้องเป็นไปอย่างนั้น ก็เกิดขึ้นแล้ว
ตามเหตุที่ได้กระทำไว้....ซึ่งสะสมอยู่ในจิต และ เป็นปัจจัยให้ผลนั้นเกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้ ก็ไม่ใช่ของใคร....แต่เป็นธรรมะ.
การฟังพระธรรม เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริง ๆ ที่กำลังปรากฏ
ส่วนใครจะรู้แจ้งสภาพธรรม-ดับกิเลส-บรรลุเป็นพระโสดาบัน....จะเร็วไหม เข้าใจเห็น...ที่กำลังเห็น บ้างไหม.?
เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏให้เห็น บ้างไหม.?
เข้าใจว่าเป็น "ธาตุ" ที่มีจริง ซึ่งสามารถกระทบเพียงจักขุปสาทรูป
และเมื่อจิตเห็นเกิดขึ้น....ธาตุนี้ (รูปารมณ์) จึงปรากฏว่าเป็นธาตุ-ซึ่งมีจริง
ซึ่งคนตาบอด (ไม่มีจักขุปสาทรูป) ก็ไม่มีโอกาสเห็นธาตุนี้ได้
ภาษาบาลีใช้คำว่า "รูปารมณ์" ,"รูปารัมมณะ"
เมื่อมีจักขุวิญญาณ (จิตเห็น) ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็น (รูปารมณ์)
ความเข้าใจ ก็คือ ขณะนี้เอง...ที่กำลังปรากฏว่า ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์
ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย....เป็นเพียงธาตุอย่างหนึ่งซึ่งสามารถปรากฏให้เห็นได้
ปรากฏแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว-สั้น-เล็กน้อยมาก
เมื่อเข้าใจอย่างนี้....ต้องใช้คำว่า "สติปัฏฐาน" หรือเปล่า.? ขณะนี้....ที่กำลังเห็น กำลังคิด กำลังได้ยิน ฯ เป็นธาตุรู้ หรือ สภาพรู้
"เสียง" ปรากฏ เมื่อมี "ธาตุ-ที่ได้ยินเสียง"
เพราะฉะนั้น
ถ้ากำลังเริ่มเข้าใจ "ลักษณะของธาตุ" ซึ่งไม่มีรูปร่างเลย (เช่น เสียง)
คือ เสียงเกิดแล้ว...ปรากฏให้รู้ว่า มีธาตุ (ได้ยิน) ที่กำลังรู้-สิ่งที่ปรากฏ (เสียง)
ถ้าเข้าใจขึ้น ๆ ๆ ขณะนี้ เช่น ขณะที่กำลังได้ยิน
(พิสูจน์ได้จริง) ว่า มี "ธาตุได้ยิน" แน่นอน......?
ขณะที่เริ่มเข้าใจความเป็นธาตุรู้-ที่กำลังได้ยิน
จะต้องใช้คำว่า "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ไหม ไม่จำเป็นต้องใช้คำเลยค่ะ เพราะว่า คำที่ใช้ในยุคนั้น เป็นภาษามคธี
เราอาจจะเคยได้ยินได้ฟัง อาจจะเคยพูด แต่ขณะนี้ก็ไม่ได้ใช้ภาษามคธี
เพราะฉะนั้น
ถ้าเข้าใจ "ลักษณะของสภาพธรรม" ที่ได้ยินได้ฟัง....จากภาษาไหน
ก็สามารถที่จะเข้าใจ "ลักษณะของสภาพธรรม" ในภาษานั้น ๆ ได้.
ขณะที่กำลังเริ่มรู้ "ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ"
เช่น กำลังเห็น...ยังไม่จำเป็นต้องคิดอะไรเลย ก็กำลังเผชิญหน้ากับสิ่งที่มีจริง
หรือ ขณะที่กำลังฟัง....ก็ยังไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังเผชิญหน้า ซึ่งมีจริง ๆ
จนกว่าจะฟังแล้วฟังอีก จนกระทั่งค่อย ๆ เข้าใจความจริง
แม้ขณะนี้ไม่ได้ยิน ก็ระลึกรู้สภาพธรรมอื่น "ที่กำลังปรากฏ" ให้รู้ได้
และเริ่มเข้าใจ "ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ" นั้น ๆ
โดยไม่ต้องใช้ชื่อ หรือ ใช้คำ.
ขณะที่กำลังเริ่มเข้าใจ"ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ"
ขณะนั้น ก็คือ "สติปัฏฐาน"
ขณะนั้น...ไม่ต้องเรียกว่า "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
หรือ "ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
แต่ขณะนั้น....สามารถที่จะ"เข้าถึงความจริงของสภาพธรรมนั้น ๆ"
และเมื่อผ่านพยัญชนะใด
ก็เพื่อส่องให้เห็นความจริง(ของสภาพธรรม) ไม่ว่าจะกล่าวโดยนัยใด.
ไม่ใช่รู้ชื่อ....แล้วสงสัย.!
ขณะที่กำลังสงสัย เช่น สงสัยว่า สติเป็นอย่างไร....ใช่สติหรือเปล่า
ขณะนั้น กำลังไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ.
เพราะฉะนั้น....ต้องฟังอีกมากนะ
ถ้าคิดว่าฟังพอแล้ว...มีตาก็เห็นไป มีหูก็ได้ยินไป ฯ
แม้แต่ฟังอยู่...ก็ยังไม่รู้ (ว่าเป็นธรรมะ)
แล้วถ้าไม่ฟัง....เมื่อไรจะรู้ได้.!
นี่คือ "พื้นฐาน" เพื่อที่จะเข้าใจพระธรรมที่ลึกซึ้ง
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่กับแม่ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผูใส่บาตรตามถนนหนทาง อาราธนาศีล รักษาศีล ศึกษษการรักษาโรค รักษาอาการป่วยของแม่ ช่วมพ่อแม่ทำงานบ้าน กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจว่าจะสร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง
ขอเชิญสร้างพระ 9 เมตร 086-3381477
ขอใหสรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|