พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 438
๑. ปฐมวัชชีสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกฏิคาม ใน
แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เรา
ด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฎนี้ตลอดกาลนาน
อย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกข-
อริยสัจ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
อริยสัจ ๑ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้
ตลอดกาลนานอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้ง
หลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้
แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ
ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๖๙๙ ] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง
เราและเธอทั้งหลาย ได้ท่องเที่ยวไปในชาติ
นั้น ๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้
เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะ
นำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูลแห่งทุกข์
ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
จบปฐมวัชชีสูตรที่ ๑ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 452
๓. ทัณฑสูตร ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ
[๑๗๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้าง
ขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอาตอนกลาง
ตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์
คือ อวิชชา มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้น
เหมือนกัน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน
คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงการทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบทัณฑสูตรที่ ๓
อรรถกถาทัณฑสูตร
พึงทราบอธิบายในทัณฑสูตรที่ ๓.
คำว่า จากโลกนี้ไป สู่ปรโลก ความว่า จากโลกนี้ไปโลกอื่น คือ
นรกบ้าง กำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง มนุษยโลกบ้าง เทวโลก
บ้าง. อธิบายว่า เกิดในวัฏฏะนั่นแหล่ะบ่อย ๆ.
จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ ๓ พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามว่า
ดูก่อน พระนาคเสน....สังสารวัฏฏ์ ได้แก่อะไร.?
พระนาคเสน ทูลตอบว่า
ขอถวายพระพร.....ได้แก่ การเวียนว่ายตายเกิด.
ม.
พระคุณเจ้าจงหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบ.
น.
เปรียบเหมือนชาวสวน ปลูกมะม่วงไว้
ครั้นมะม่วงออกผล ก็เก็บมารับประทาน
แล้วก็นำเอาเมล็ดมะม่วงนั้น ไปเพาะปลูกใหม่
เมื่อถึงคราวเกิดผล ก็นำมารับประทาน แล้วปลูกใหม่ ต่อ ๆ ไปอีก.
สังสารวัฏฏ์ ก็มีอาการหมุนเวียน เช่นนั้น
คือ นับตั้งแต่เกิดมา...เป็น นาม และ รูป
ก็มีการบ่มเพาะ (สั่งสม) ความดี และ ความชั่ว หรือ บุญ และ บาป
ซึ่งเป็นตัว "เหตุ"
แล้วก็ต้องรับผลของบุญ และ บาป นั้น
ซึ่งการให้ผลของบุญ และ บาป....จะช้า หรือ เร็ว
ก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้บุญ และ บาป นั้น ให้ผล.
ทั้งนี้.....ผลที่เราได้รับจากบุญ และ บาป นั้น
อาจจูงใจให้เกิดการบ่มเพาะ (สั่งสม) "เหตุ"
ซึ่งจะทำให้เกิด "ผล" ต่อ ๆ ไปอีก.
เปรียบเหมือนคนที่รับประทานผลมะม่วง
แล้วนำเมล็ดมะม่วง ไปเพาะ ให้เป็นต้นมะม่วง
หมุนเวียนต่อไป...ไม่รู้จบ.
(สังสารวัฏปัญหา) ม.
อะไร เป็นเหตุให้ นาม-รูป ต้องเกิดต่อไปอีกนาน.?
น.
เหตุ ที่ทำให้ นาม-รูป เกิดต่อไปอีกนาน.....
ก็คือ ความไม่รู้แจ้งเห็นจริง ในอริยสัจจ์ ๔.
กล่าวคือ..................
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นทุกข์
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นความดับทุกข์
ไม่รู้ ว่าอะไร เป็นทางให้ถึงความดับทุกข์.
แม้จะรู้ถึงสิ่งเหล่านี้...........โดยการพิจารณา
ก็รู้ เพียงชั่วขณะหนึ่ง ๆ ยังไม่เรียกว่า รู้จริง
เพราะความรู้นั้น มิได้ประจำจิตอยู่ตลอดเวลา.
เมื่อยังไม่รู้แจ้ง ในอริยสัจจ์ ๔
คนทั้งหลายจึงกระทำบุญ และ บาป
อันเป็นเหตุ นำมาซึ่งการเกิด คือ ปฏิสนธิวิญญาณ.
เปรียบเหมือนรากแก้วของต้นไม้
ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิด นาม-รูป...ซึ่งแตกกิ่งก้าน
เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ทำหน้าที่เป็นประตู เปิดรับอารมณ์ทั้ง ๖.
นอกจากนี้....เมื่อยังไม่รู้แจ้ง ในอริยสัจจ์ ๔
ก็เป็นเหตุให้เกิดการยึดถือสิ่งต่าง ๆ ว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา
เมื่อประสบกับสิ่งที่ชอบใจ....รู้สึกยินดี ก็เกิดความติดใจ
เมื่อประสบกับสิ่งที่แสลงใจ...รู้สึกทุกข์ใจ
ก็เกิดความปรารถนาที่จะหลีกหนีให้พ้นไป...ซึ่งสภาพธรรมเหล่านี้
และเป็น "เหตุ" ให้เกิดการ "ดิ้นรน-แสวงหา"
รวมทั้ง "ยึดถือ" ในอุบายที่จะช่วยให้ตนสมประสงค์ในการได้มา
และ การหลีกหนีไป
ซึ่งจะเป็น "เหตุ" อันก่อให้เกิด กุศลธรรม และ อกุศลธรรม
หนุนเนื่องให้เกิด นาม-รูป ต่อ ๆ ไปอีก.
ขอถวายพระพร
ตราบเท่าที่ยังไม่รู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔
ตราบนั้น นาม-รูป ก็ยังคงปรากฏ มีอยู่เช่นนี้
โดยการเกิดดับ-สืบต่อ ของนาม-รูปที่ล่วง ๆ มาแล้ว นั่นเอง.
นาน....จนเบื้องต้น ไม่ปรากฏ.!
ม.
ความยาวนาน ของการเวียนว่ายตายเกิด........
เท่ากันหมด ในหมู่คนและสัตว์ทั้งหลายหรือ.?
น.
บางพวกก็นาน บางพวกก็ไม่นาน.
ม.
พวกไหนนาน พวกไหนไม่นาน.?
น.
ผู้มีกิเลส คือ เครื่องเศร้าหมองใจอยู่
ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกนาน.
ส่วนท่านที่บั่นทอนกิเลส ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้สังสารวัฏฏ์ยืดยาวลงได้บ้าง นั้น
ก็ย่นเวลาของการเกิดและการตายในภายหน้า ให้สั้นเข้า.
ม.
ช่างล้ำลึกจริง.
(อัทธานปัญหา-ปุริมโกฏิปัญหา-ทีฆมัทธานปัญหา) พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 506
๑. ติณกัฏฐสูตร ว่าด้วยที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร
[๔๒๑] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้
มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมา
อยู่ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.
[๔๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดทอนหญ้า
ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำ
ให้เป็นมัด ๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็นมารดาของเรา นี้
เป็นมารดาของมารดาของเรา โดยลำดับ มารดาของมารดาแห่ง
บุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่า หญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้
พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่
สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มี
ตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อม
ไม่ปรากฏ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 508
๒. ปฐวีสูตร ว่าด้วยการกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร
[๔๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา
เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด
เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.
[๔๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพี
นี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเมล็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดา
ของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่ง
บุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่
ได้ ฯลฯ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ด
ร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน เหมือน
ฉะนั้น พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้าที่ 509
๓. อัสสุสูตร ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร
[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไป
มา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพราก
จากสิ่งที่พอใจโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหนจะ
มากกว่ากัน.
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อม
ทราบธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหล
ออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
การประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาล
นานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย.
[๔๒๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรม
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ
ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯ โดยกาลนานนี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำใน
มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของ
มารดาตลอดกาลนาน น้ำตาที่หลั่งไหลออกของเธอเหล่านั้น ผู้
ประสบมรณกรรมของมารดา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่
พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจนั่นแหละมากกว่า ส่วนน้ำใน
มหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลยพวกเธอได้ประสบมรณกรรมของบิดา.. .
ของพี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว. . . ของบุตร.. . . ของธิดา. . .
ความเสื่อมแห่งญาติ. .. ความเสื่อมแห่งโภคะ. . . ได้ประสบความ
เสื่อมเพราะโรค ตลอดกาลนานน้ำตาที่หลั่งออกของพวกเธอเหล่า
นั้น ผู้ประสบความเสื่อมเพราะโรคคร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะ
ประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจาก พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
จัดเป็นองค์ ๙ คือ
สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่าง ๆ มี
มงคลสูตรเป็นต้น
เคยยะ คือ พระสูตรที่ประกอบไปด้วยคาถาทั้งหมด
เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธ-
วจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ ๘ ได้ชื่อว่าเวยยากรณะทั้งหมด
คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่า
สูตรในสุตตนิบาต
อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ
อิติวุตตกะ คือ พระสูตร 100 สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอปัณณกชาดก
เป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐
อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด
เวทัลละ คือ ระเบียบคำที่ผู้ถามได้ความรู้แจ้ง และความยินดี แล้วถาม
ต่อ ๆ ขึ้นไป ดังจูฬเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และสักกปัญหสูตร เป็นต้น
พระพุทธวจนะเหล่านี้ โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรง
แสดงว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบประณีต ไม่อาจ
จะรู้ได้ด้วยการตรึก
ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาพ และพยัญชนะ เพื่อให้
สามารถหยั่งรู้ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ เนื่องจากพื้นเพอัธยาศัยของคนแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งทรงอุปมา
ไว้เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า พระพุทธเจ้าจึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรม ตามอาการสอน
ธรรมของพระองค์
๓ ประการ คือ
๑. ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การ
ประพฤติปฏิบัติ แต่เพราะพระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ทรงฉลาดในโวหาร
เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งธรรม ก่อนจะทรงแสดงธรรมแก่ใคร ทรงตรวจสอบภูมิหลัง
ด้านต่าง ๆ ของคนเหล่านั้นด้วยพระญาณแล้ว ผลจากการฟังในพุทธสำนึกจึงไม่มี
ปัญหาว่า คนฟังจะไม่เข้าใจ ผลจากการฟังธรรมสมัยพุทธกาลจึงมีความอัศจรรย์
หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็น
พระศาสดาแทนพระองค์ ธรรมที่ทรงแสดงไว้ยังเป็นเช่นเดิม แต่ระดับสติปัญญา
บารมี ความสนใจในธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การตีความพระธรรมวินัยตาม
ความเข้าใจของตนเองเกิดขึ้น จนทำให้สูญเสียความเสมอกันในด้านศีล และทิฐิครั้ง
แล้วครั้งเล่า บางสมัยเกิดแตกแยกกันเป็นนิกายต่างๆ ถึง ๑๘ นิกาย พระอรรถกถาจารย์ผู้ทราบพุทธาธิบาย ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะ
แห่งพระพุทธวจนะ เพราะการศึกษาจำต้องสืบต่อกันมาตามลำดับ มีฉันทะอุตสาหะ
อย่างสูงมาก ได้อรรถาธิบายพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก ส่วนที่ยากแก่การเข้าใจ ให้
เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ศึกษา และปฏิบัติ ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธ
ศาสนาจึงมีลดหลั่นกันลงมา คือ
๑ . พระสูตร คือพระพุทธวจนะที่เรียกว่า พระไตรปิฎก ทั้งพระวินัยปิฎก พระ
สุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก
๒. สุตตานุโลม คือพระคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์รจนาขึ้น อธิบายข้อความที่ยากใน
พระไตรปิฎก
๓. อาจริยวาท วาทะของอาจารย์ต่าง ๆ ตั้งแต่ชั้นฎีกาอนุฎีกา และบุรพาจารย์ในรุ่น
หลัง
๔ อัตโนมติ ความคิดเห็นของผู้พูด ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา
ในกาลต่อมา มีการอธิบายธรรมประเภทอาจริยวาท คือ ถือตามที่อาจารย์
ของตนสอนไว้ กับอัตโนมติ ว่าไปตามมติของตนกันมากขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะพระ
คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เป็นหลักสำคัญ คือ พระไตรปิฎก และอรรถกถามีไม่แพร่หลาย
อรรถกถาส่วนมากยังเป็นภาษาบาลี คนมีฉันทะในภาษาบาลีน้อยลง สำนวนภาษาบาลี
ที่แปลออกมาแล้วยากต่อการทำความเข้าใจของคนที่ไม่ได้ศึกษามาก่อน ขาดกัลยา-
ณมิตรที่เป็นสัตบุรุษในพระพุทธศาสนาเป็นต้น การได้มาเยี่ยมชม ได้เห็นความกว้างใหญ่ของสถานที่ ได้เห็นสิ่งก่อสร้าง
ทั้งในส่วนของพระราชวัง และในส่วนที่เป็นศาสนสถานของพระพุทธศานา
ทำให้ได้ระลึกถึง ความศรัทธาของคนในอดีต ความรุ่งเรือง ความแตกทำลาย
การเห็นในสิ่งเดียวกัน แต่คิดต่างๆกันไป ตามการสะสมของแต่ละบุคคล
"...ชีวิต คือ อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตไม่เที่ยง
เกิดมาแล้วก็ ตายจากโลกนี้ไป ชีวิตแล้วชีวิตเล่า
ไม่ว่าจะเป็น สัตว์เดียรัจฉาน คน หรือภพภูมิอื่น ๆ ก็ตาม
วนเวียนอยู่ใน สังสารวัฏฏ์อันยาวนานนี้ไม่รู้อีกเท่าไร?
ดังนั้น หากเราไม่เริ่มศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ
เราก็จะไม่มี วันรู้ความจริงของชีวิต ก็ตายไปด้วยความไม่รู้
สะสมความไม่รู้ อีก ชาติแล้วชาติเล่า
ไม่รู้ว่า จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้ฟังธรรมอีกหรือไม่ ?..."
"...จงเริ่มพยายามขวนขวายในพระพุทธศาสนา
จงกำจัดเสนาของมัจจุมาร
เหมือนกุญชรช้างประเสริฐ ย่ำยีเรือนไม้อ้อฉะนั้น
ผู้ใดไม่ประมาท เห็นแจ้งในพระธรรมวินัยนี้
ผู้นั้นจักละชาติสงสาร จักทำที่สุดทุกข์ได้..."
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานชุดใหญ่กับแม่ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผูใส่บาตรตามถนนหนทาง อาราธนาศีล รักษาศีล ศึกษษการรักษาโรค รักษาอาการป่วยของแม่ ช่วมพ่อแม่ทำงานบ้าน กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป และตั้งใจว่าจะสร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เจริญอาโปกสิน สักการะพะธาตุ เจริญอาโปกสิน เจริญอนุสติอีก 8 อย่าง ตั้งแต่ พุทธานุสติ ถึงมรณานุสติ
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบวชเณร และชีพราหม 500 รูปที่กัมพูชา โทร.0851362866
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|