Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

วัตถุภายนอก

เสาร์ 27 มี.ค. 2010 10:19 am

หมายถึงว่าการปฏิบัติของแต่ละท่านนั้นมีสติปัญญาต่างกัน บางท่านปัญญาน้อยก็จะละองค์ฌานไปทีละอย่าง (โดยปัญจกนัย) ปฐมฌานมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา พอขึ้นฌานที่ ๒ ก็ละวิตกเหลือองค์ฌาน ๔ แต่สาหรับผู้ที่มีปัญญามาก (โดยจตุตกนัย) จะละทีเดียว ๒ คือเมื่อขึ้นฌานที่ ๒ ก็สามารถละวิตกวิจารได้พร้อมกัน ทาให้ฌานที่ ๒ เหลือองค์ฌานเพียง ปีติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๓ เหลือองค์ฌาน คือ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๔ ก็มีองค์ฌาน คือ อุเบกขา เอกัคคตา ฉะนั้นฌานสมาบัติ ๘ นับโดยจตุกกนัย หรือ ฌานสมาบัติ ๙ นับโดยปัญจกนัย นี้คือผลของการเจริญสมถกรรมฐาน ส่วนผลอย่างอื่นของการเจริญสมถกรรมฐานที่จะเกิดขึ้นได้ คือ อภิญญา อภิญญาเป็นความรู้พิเศษ

อธิบายองค์ฌาน ๕ เพิ่มเติม วิตกและวิจาร วิตก คือ การหมายรู้อารมณ์ การคิด ความเป็นผู้ตั้งมั่น การนึกตามและการปรารถนาถูกต้อง ลักษณะของวิตก คือ การตรึก สาหรับผู้เพ่งปฐวีกสิณและใส่ใจในปฐวีนิมิตอย่างดี อย่างสม่าเสมอ อย่างไม่มีที่สุด เหล่านี้คือลักษณะของวิตกนั่นเอง เปรียบได้กับการท่องจาบทสวดมนต์ วิจาร คือ เมื่อผู้ปฏิบัติใช้วิจาร จิตดารงอยู่ในความไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งที่วิจารนั้นกาลังใคร่ครวญ สภาวะนี้ เรียกว่า วิจาร ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานที่เพ่งปฐวีกสิณ ใส่ใจอาการหลายอย่างที่จิตของเขาหยั่งเห็นในขณะที่เพ่งปฐวีนิมิตนี้เรียกว่า วิจาร ลักษณะของวิจาร คือ การไตร่ตรองหลังการพิจารณา

ปีติ ปีติ คือ ในขณะที่จิตมีความเอิบอิ่มสบายอย่างเหลือเกินประกอบด้วยความเย็นสนิท ลักษณะของปีติ คือ ความเพียบพร้อมด้วยความเอิบอิ่ม ปีติมีหลายประการโดยนัย ๖ และโดยนัย ๕ ปีติมี ๖ ประการ คือ

๑) ปีติเกิดจากราคะ ความอิ่มใจ เพราะความชอบ หลงใหล และความอิ่มใจ

ที่ประกอบด้วยกิเลส

๒) ปีติเกิดจากศรัทธา ความอิ่มใจ ของบุคคลผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า

๓) ปีติเกิดจากความไม่ดื้อด้าน ความอิ่มใจ อย่างยิ่งของคนดี มีใจบริสุทธิ์

๔) ปีติเกิดจากวิเวก ความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เข้าปฐมฌาน

๕) ปีติเกิดจากสมาธิ ความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เข้าทุติยฌาน (ตามจตุกนัย)

๖) ปีติเกิดจากโพชฌงค์ ความอิ่มใจ ที่เกิดจากการดาเนินตามโลกุตตรมรรคในทุติยฌาน

(ตามจตุกนัย) ปีติมี ๕ ประการ คือ ๑) ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย เปรียบเหมือนการที่ขนตามร่างกายตั้งชันขึ้นเมื่อถูก ละอองน้าฝน ๒) ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ เป็นปีติที่เกิดขึ้นและดับไปทันที เปรียบเหมือนละอองน้า ในเวลากลางคืน ๓) โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก เป็นปีติที่เกิดขึ้นกระทบกายแล้วหายไป กระทบกาย แล้วหายไป เปรียบเหมือนลูกคลื่นกระทบฝั่ง ๔) อุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน เป็นปีติที่มีกาลังมาก ทากายให้ลอยขึ้นได้ ถึงขนาดทา ให้ลอยไปบนอากาศก็ได้ ๕) ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เป็นปีติที่แผ่ไปทั่วร่างกาย เหมือนก้อนเมฆหนาทึบที่ เต็มไปด้วยเม็ดฝน ฉะนั้น ขุททกาปีติและขณิกาปีติ สามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา โอกกันติกาปีติที่มีมากย่อมทาอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้น อุพเพงคาปีติที่ยึดอยู่กับดวงกสิณทาให้ทั้งกุศลและอกุศลเกิดขึ้น และขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ ผรณาปีติอันบุคคลทาให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่งอัปปนาสมาธิ สุข สุข คือ ลักษณะการประสบสิ่งน่ารักน่าชอบใจ รสของสุขก็เป็นลักษณะของสุข ภาวะที่ขึ้นอยู่กับอารมณ์อันน่าพอใจนี้เป็นรสอันพึงประสงค์ของสุข สุขมี ๕ ชนิด คือ ๑) สเหตุกสุข คือสุขตามนัยแห่งคาสอนของพระพุทธเจ้าว่า “สุขอันเกิดจากคุณความดี ย่อมยั่งยืน” หมายถึง สุขที่เกิดจากผลของบุญกุศล

๒) มูลิกสุข คือสุขตามนัยแห่งคาสอนของพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าทาให้เกิดสุขขึ้นในโลก” ๓) วิเวกสุข เป็นพัฒนาการแห่งตัตรมัชฌัตตตา และการขจัดกิเลสของฌาน ๔) นิกกิเลสสุข คือสุขตามนัยแห่งคาสอนของพระพุทธเจ้าว่า “ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ” ๕) สุขวิหาร เป็นความสุขเกิดจากการอยู่ หมายถึง สุขวิหารเป็นสุขที่ควรเสวย

เอกัคคตา เอกัคคตา คือ ความที่จิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่าย ความตั้งอยู่แห่งจิต เหมือนการตั้งอยู่แห่งเปลวประทีปทั้งหลายที่ปราศจากลม ฉะนั้น ความหมายของนิวรณ์ ๕ นิวรณ์ คือสิ่งที่ขวางกั้นจิตทาให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ นิวรณ์มี ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันทะ

กามฉันทะ คือความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น (คาว่ากามในทางธรรมนั้น ไม่ได้หมายถึงเรื่องเพศเท่านั้น) ๒. พยาปาทะ พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ ๓. ถีนมิทธะ แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และ มิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน

ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทาให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทาให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกาลังที่จะทาความเพียรต่อไป ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริงๆ เนื่องจากตรากตรามามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และ กุกกุจจะ คือ ความราคาญใจ อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทาไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทาไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่างๆ ที่ควรทาแต่ยังไม่ได้ทา ก็จะคิดกังวลไป ๕. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ คือ สงสัยในเรื่องกรรมและผลของกรรม สงสัยว่าบุญบาปมีจริงหรือไม่ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ตลอดจนสงสัยในข้อปฏิบัติ ทาให้จิตไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น นิวรณ์ทั้ง ๕ เป็นอุปสรรคสาคัญในการเจริญสมาธิ ถ้านิวรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเกิดขึ้น สมาธิก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่นิวรณ์เป็นอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาได้ ถ้านิวรณ์เกิดขึ้นกับผู้เจริญวิปัสสนาและผู้นั้นมีสติรู้เท่าทัน สติจะเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญาในการรู้เท่าทัน ธรรมชาติของนิวรณ์เหล่านั้น เพราะการเจริญวิปัสสนานั้นเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติของสรรพสิ่ง (ซึ่งนิวรณ์ทั้ง ๕ ก็จัดเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้) เพื่อให้เห็นถึงสภาวะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ในอานาจของจิต เมื่อทราบธรรมชาติตามความเป็นจริงแล้ว ปัญญาในวิปัสสนาก็เกิดขึ้นได้โดยอาศัยการโยนิโสมนสิการเพื่อให้รู้เท่าทันในสภาวะของนิวรณ์ทั้ง ๕ ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐานจนสาเร็จฌาน เป็นเพียงการทาความพ้นออก สลัดออกจากกามและอกุศลธรรมทั้งปวงให้สงบระงับ ข่มนิวรณ์ธรรมทั้งหลายให้สงบลงได้เท่านั้น แต่ยังไม่สามารถประหาณนิวรณ-ธรรม เพราะไม่ได้ทาลายรากเหง้าของกามและอกุศลธรรมเหล่านั้นลงไปได้ แต่สาหรับผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนมรรคจิตเกิดขึ้น มรรคจิตจะทาหน้าที่ตัดขาดรากเหง้าของกิเลสทั้งหลายโดยสิ้นเชิง วิธีแก้ไขนิวรณ์ ๕ ๑. กามฉันทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของกามฉันทะที่เกิดขึ้น ดังน



๑.๑ พิจารณาถึงความจริงที่ว่ากามคุณทั้งหลายนั้นมีสุขน้อยมีทุกข์มาก คือ ให้ความสุขในช่วงที่ได้มาใหม่ ๆ ซึ่งเป็นเสมือนเหยื่อล่อให้ติด ครั้นเมื่อติดในสิ่งนั้นๆ แล้ว ความทุกข์ทั้งหลายก็จะตามมา ถ้ายิ่งถูกใจมากเท่าใด ก็จะยิ่งนาความทุกข์มาให้มากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทุกข์จากการแสวงหาเพื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น ทุกข์จากการพยายามรักษาสิ่งนั้นเอาไว้ ทุกข์จากความหวงแหน ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป และเมื่อต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป ก็จะยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเราทั้งหลายล้วนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ๑.๒ พิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายมีความแปรปรวนไปตลอดเวลา สิ่งที่ให้ความสุขในวันนี้ก็อาจ จะนาความทุกข์มาให้ได้ในวันข้างหน้า เช่น คนที่ทาดีกับเราในวันนี้ ต่อไปถ้าเขาเบื่อ หรือไม่พอใจอะไรเราขึ้นมา เขาก็อาจจะร้ายกับเราอย่างมากก็ได้ ๑.๓ พิจารณาถึงความเป็นอสุภะ คือ เป็นของไม่สวยไม่งาม เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ร่างกายที่เห็นว่าสวยงามในตอนนี้ จะคงสภาพอยู่ได้นานสักเท่าใด พอแก่ตัวขึ้นก็ย่อมจะหย่อนยาน เหี่ยวย่นไม่น่าดู ถึงแม้ในตอนนี้เอง ก็เต็มไปด้วยของสกปรกไปทั้งตัว ตั้งแต่เส้นผมจรดปลายเท้า ถ้าถึงเวลาที่กลายสภาพเป็นซากศพแล้วจะมีสภาพอย่างไร ๑.๔ พิจารณาถึงคุณของการออกจากกามหรือประโยชน์ของสมาธิ เช่น เป็นความสุขที่ประณีต ละเอียดอ่อน เบาสบายไม่หนักอึ้งเหมือนกาม คนที่ได้สัมผัสกับความสุขจากสมาธิสักครั้ง ก็จะรู้ได้เองว่าเหนือกว่าความสุขจากกามมากเพียงใดเป็นความสุขที่ไม่ต้องแสวงหาจากภายนอก เพราะเกิดจากความสงบภายใน จึงไม่ต้องมีการแย่งชิง ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขัน ไม่ต้องกลัวถูกลักขโมย เป็นความสุขที่ไม่ต้องมีวัตถุใดๆ มาเป็นเครื่องล่อ จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ๒. พยาปาทะ แก้ได้หลายวิธีตามลักษณะของพยาปาทะที่เกิดขึ้น ดังนี้ ๒.๑ พิจารณาถึงคุณของการให้อภัย ว่าอภัยทานนั้นเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นการทาบุญโดยไม่ต้องเสียอะไรเลย มองโลกในแง่ดีให้เห็นว่าคนที่ทาให้เราไม่พอใจนั้นเขาคงไม่ได้ตั้งใจ เขาอาจจะทาไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด หรือถูกเหตุการณ์บังคับ ถ้าเขารู้หรือว่าเขาเลือกได้ เขาคงไม่ทาอย่างนั้น หรือคิดถึงหลักความจริงที่ว่า คนเราเมื่ออยู่ใกล้กัน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะทาในสิ่งที่ไม่ถูกใจคนอื่นได้เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว เพราะคงไม่มีใครสามารถทาให้ถูกใจคนอื่นได้ตลอดเวลา แม้ตัวเราเองก็ยังเคยทาให้คนอื่นไม่พอใจเช่นกัน เพราะฉะนั้น เมื่อคนอื่นทาไม่ถูกใจเราบ้าง ก็ย่อมจะเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ควรจะถือโทษโกรธกัน หรือคิดเสียว่าเป็นการฝึกจิตของตัวเราเองให้เข้มแข็งขึ้น โดยการพยายามเอาชนะใจตนเองเอาชนะความโกรธ และขอบคุณผู้ที่ทาให้เราโกรธที่ให้โอกาสในการฝึกจิตแก่เรา ให้เราได้สร้างและเพิ่มพูนขันติบารมี

๒.๒ พิจารณาเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆ ตน ใครสร้างกรรมอันใดไว้ ย่อมต้องรับผลกรรมนั้นๆ สืบไป การที่เราเจอเหตุการณ์ที่ไม่ดีในครั้งนี้ ก็คงเป็นเพราะกรรมเก่าที่เราได้ทำ



เอาไว้ สาหรับคนที่ทาไม่ดีกับเราในครั้งนี้นั้น เขาก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองในวันข้างหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ๒.๓ พิจารณาโทษของความโกรธ คนที่โกรธก็เหมือนกับจุดไฟเผาตัวเอง ทาให้ต้องเป็นทุกข์เร่าร้อน หน้าตาก็ไม่น่าดู แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้นก็มีแต่คนโง่ กับคนบ้าเท่านั้นที่ผูกโกรธเอาไว้ แผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธ ถ้าทาได้นอกจากจะดับทุกข์จากความโกรธได้แล้ว ยังทาให้มีความสุขจากการแผ่เมตตานั้นอีก และยังจะเป็นการพัฒนาจิตให้สูงขึ้นไปด้วย ๓. ถีนมิทธะ ๓.๑ ถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย แก้โดยพิจารณาถึงโทษของกามและคุณของสมาธิ เพื่อทาให้เกิดความเพียร ในการปฏิบัติให้พ้นจากโทษของกามเหล่านั้น คบหากับคนที่มีความเพียร ฝักใฝ่ยินดีในการทาสมาธิ หลีกเว้นจากคนที่ไม่ชอบเจริญสมาธิ หรือคนที่เบื่อหน่ายในสมาธิ ๓.๒ มิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน มีวิธีแก้หลายวิธีดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระโมคคัลลานะ สรุปได้เป็นขั้นๆ ดังนี้ - เพ่งสิ่งนั้นให้มาก หรือให้หนักแน่นขึ้นไปอีกก็จะทาให้หายง่วงได้ - พิจารณาธรรมที่ได้อ่านหรือได้ฟังโดยนึกในใจ ถ้ายังไม่หายง่วงให้สาธยายธรรมนั้นอาจ จะออกเสียงด้วย(ให้พิจารณาถึงความเหมาะสมด้วย ถ้าสถานที่ปฏิบัติใดไม่เหมาะสมที่จะสาธยายโดยการออกเสียงก็ควรงดเสีย) - ยอนช่องหูทั้งสองข้าง(เอานิ้วไชเข้าไปในรูหู) เอามือลูบตัว - เอาน้าล้างหน้าล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย - ให้ทาในใจถึงอาโลกสัญญา (นึกถึงแสงสว่าง) คิดว่ากลางคืนอย่างไรกลางวันอย่างนั้น ทาความรู้สึกเหมือนกับว่า กลางคืนนั้นสว่างราวกับเป็นกลางวัน - เดินกลับไปกลับมา สารวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก (ควรเดินเร็วๆ ให้หายง่วง)

- ให้สาเร็จสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า (เหมือนพระพุทธรูปนอน) มีสติสัมปชัญญะ โดยบอกกับตัวเองว่าทันทีที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว จะรีบลุกขึ้นทันที ด้วยตั้งใจว่าเราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ ผู้ปฏิบัติควรแก้ไขความง่วงในวิธีการนับตั้งแต่ข้อต้นๆ มาเป็นลาดับก่อน มิใช่ว่าเมื่อง่วงเมื่อไรก็เลือกวิธีแก้ง่วงในข้อสุดท้าย คือ การสาเร็จสีหไสยาสน์



๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ๔.๑ อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่านของจิต แก้ไขโดยทาใจให้สบาย อย่ามุ่งมั่นมากเกินไปจนเครียด จะทาให้ฟุ้งซ่านหนักขึ้น อย่าหวัง อย่ากาหนดกฎเกณฑ์ว่าวันนี้จะต้องได้อย่างนั้นอย่างนี้ ปล่อยวางให้มากที่สุด อย่าคิดบังคับให้สมาธิเกิด ยิ่งบีบแน่นมันจะยิ่งทะลักออกมา ยิ่งฟุ้งไปกันใหญ่ ๔.๒ กุกกุจจะ คือ ความราคาญใจ แก้ได้โดยพยายามปล่อยวางในสิ่งนั้นๆ โดยคิดว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว คิดมากไปก็เท่านั้นอนาคตก็ยังมาไม่ถึง ทาปัจจุบันให้ดีที่สุดดีกว่า ขณะนี้เป็นเวลาทากรรมฐาน เพราะฉะนั้นอย่างอื่นพักไว้ก่อน ยังไม่ถึงเวลาคิดเรื่องเหล่านั้น ถ้าแก้ไม่หายจริงๆก็ไปจัดการเรื่องเหล่านั้นให้เรียบร้อย แล้วถึงกลับมาเจริญกรรมฐานใหม่ ๕. วิจิกิจฉา แก้ไขได้โดย ๕.๑ พยายามศึกษาหาความรู้ในข้อปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้เข้าใจโดยละเอียด ๕.๒ ทดลองปฏิบัติตามที่ได้ศึกษามาอย่างดีอย่างถูกต้อง เพื่อทดสอบว่าข้อปฏิบัติใดเหมาะสมกับจริตของตน บุคคลผู้เจริญสมถกรรมฐาน เมื่อได้ปฏิบัติตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นย่อมข่มนิวรณธรรมได้บรรลุปฐมฌานที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีตี สุข เอกัคคตา ผลแห่งการบาเพ็ญปฐมฌาน ย่อมยังให้บุคคลไปเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ คือ ปฐมฌานอย่างต่าหลังจากตาย จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นปาริสัชชา มีอายุประมาณ ๑/๓ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ปฐมฌานอย่างกลางหลังจากตาย จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นปุโรหิตา มีอายุประมาณ ๑/๒ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ปฐมฌานอย่างสูง หลังจากตายจะบังเกิดในพรหมชั้นมหาพรหมา มีอายุประมาณ ๑ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป



ทุติยฌาน

ผู้ปฏิบัติเมื่อบรรลุปฐมฌานแล้ว วิธีที่จะได้ทุติยฌาน คือ ต้องเห็นโทษของปฐมฌาน และเห็นคุณหรืออานิสงส์ของทุติยฌาน จึงจะเป็นผู้ที่ดาเนินไปสู่ทุติยฌานได

ถ้าผู้ที่ยังไม่ได้ปฐมฌานเลย แต่ปรารถนาจะบรรลุทุติยฌาน ถึงแม้ว่าเขาจะทราบว่าการละวิตกและวิจารได้ก็จะเป็นผู้บรรลุทุติยฌานและพยายามที่จะละวิตกและวิจาร ผู้ที่ปฏิบัติอย่างนี้ถึงแม้ว่าทาจนตายก็ไม่มีทางสาเร็จ การเข้าทุติยฌาน ต้องฝึกฝนปฐมฌานอย่างสม่าเสมอ อย่างต่อเนื่อง อย่างคล่องแคล่ว โดยการเข้าฌาน ออกจากฌาน เมื่อฝึกจนคล่องแคล่วชานาญ ก็พึงระลึกว่า “ปฐมฌานนี้ ยังหยาบ ทุติยฌานละเอียด” และพิจารณาเห็นโทษของปฐมฌาน พิจารณาอานิสงส์ของทุติยฌานและโทษของปฐมฌาน ก็คือ นิวรณ์ที่เป็นศัตรูใกล้ชิดกับวิตกและวิจาร วิตกและวิจารนี้เป็นเหตุทาให้ร่างกายเฉื่อยชา และจิตฟุ้งซ่านราคาญ เพราะเหตุนั้นสมาธิจึงหยาบและไม่สามารถให้ความรู้ขั้นสูงเกิดขึ้นได้ เมื่อเห็นโทษของปฐมฌาน และอานิสงส์ของทุติยฌานอย่างนี้จึงจะก้าวไปสู่ความสาเร็จขั้นทุติยฌานต่อไป เมื่อจิตคิดที่จะพ้นไปจากปฐมฌาน และยึดเอากสิณนิมิตเป็นต้น ไว้เป็นอารมณ์ของทุติยฌาน เพ่งอยู่ในอารมณ์นั้น จิตที่ปราศจากวิตกและวิจาร มีความสบายเพราะปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิย่อมบรรลุทุติยฌาน ถ้าผู้ปฏิบัติพากเพียรให้มาก ก็ย่อมจะละวิตกและวิจารได้อย่างรวดเร็ว จะอยู่สบายในปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ และทาให้จิตอยู่อย่างสงบ ผลแห่งการบาเพ็ญทุติยฌาน ย่อมยังให้บุคคลไปเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ คือ ทุติยฌานอย่างต่า หลังจากตายจะบังเกิดในพรหมโลกชั้นปริตตาภา มีอายุประมาณ ๒ มหากัป ทุติยฌานอย่างกลางหลังจากตายจะบังเกิดในพรหมโลกชั้นอัปปมาณาภา มีอายุประมาณ ๔ มหากัป ทุติยฌานอย่างสูงหลังจากตายจะบังเกิดในพรหมโลกชั้นอาภัสสรา มีอายุประมาณ ๘ มหากัป



ตติยฌาน

ผู้ปฏิบัติเมื่อบรรลุทุติยฌานแล้ว วิธีที่จะได้ตติยฌาน คือ ต้องเห็นโทษของทุติยฌาน และอานิสงส์ของตติยฌาน จึงจะเป็นผู้ที่ดาเนินไปสู่ตติยฌานได้ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกฝนในทุติยฌานอย่างสม่าเสมอ อย่างต่อเนื่อง อย่างคล่องแคล่ว โดยการเข้าฌาน ออกจากฌาน เมื่อฝึกจนคล่องแคล่ว ชานาญ ก็พึงระลึกว่า “ทุติยฌานนี้ ยังหยาบ ตติยฌานละเอียด” พิจารณาเห็นโทษของทุติยฌาน อานิสงส์ของตติยฌานและโทษของทุติยฌาน ก็คือ ฌานนี้มีวิตกและวิจารเป็นเหตุใกล้ เพราะประกอบด้วยปีติจึงเป็นฌานหยาบ จิตยินดีในการเป็นเจ้าของปีติ และไม่สามารถทาองค์ฌานอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้ การยึดติดปีติยังไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดในการเจริญฌาน ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาอย่างนี้เพื่อจะทาให้ฌานจิตเลื่อนขั้น

ผลแห่งการบาเพ็ญตติยฌาน ย่อมยังให้บุคคลไปเกิดในตติยฌานภูมิ ๓ คือ ตติยฌานอย่างต่า หลังจากตาย จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นปริตตสุภา มีอายุประมาณ ๑๖ มหากัป ตติยฌานอย่างกลาง หลังจากตาย จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นอัปปมาณสุภา มีอายุประมาณ ๓๒ มหากัป ตติยฌานอย่างสูง หลังจากตายจะบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุภกิณหา มีอายุประมาณ ๖๔ มหากัป



จตุตถฌาน

ผู้ปฏิบัติเมื่อบรรลุตติยฌานแล้ว วิธีที่จะได้จตุตถฌาน คือ ต้องเห็นโทษของตติยฌาน และอานิสงส์ของจตุตถฌาน จึงจะเป็นผู้ที่ดาเนินไปสู่จตุตถฌานได้ ผู้ปฏิบัติต้องฝึกฝนในตติยฌานอย่างสม่าเสมอ อย่างต่อเนื่อง อย่างคล่องแคล่ว โดยการเข้าฌาน ออกจากฌาน เมื่อฝึกจนคล่องแคล่ว ชานาญ ก็พึงระลึกว่า “ตติยฌานนี้ ยังหยาบ จตุตถฌานละเอียด” พิจารณาเห็นโทษของตติยฌาน อานิสงส์ของจตุตถฌานและโทษของตติยฌาน ก็คือ ปีติเป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ สัมมาสมาธิพร้อมด้วยสุข ยังเป็นธรรมชาติหยาบ และเพียงตติยฌานนี้ไม่สามารถบรรลุถึงอภิญญาได้ เมื่อรู้ในโทษของตติยฌาน และอานิสงส์ของจตุตถฌานแล้ว ย่อมเจริญกสิณนิมิตและกาจัดสุข หลังจากที่กาจัดสุขแล้ว จิตจึงประกอบด้วยอุเบกขา จิตของเธอผู้บาเพ็ญอย่างนั้น ย่อมบรรลุอัปปนาสมาธิ เนื่องด้วยอุเบกขา ผลแห่งการบาเพ็ญจตุตถฌาน หลังจากตายไปย่อมเกิดในพรหมโลกชั้นเวหัปผลามีอายุประมาณ ๕๐๐ มหากัป ถ้าจิตของผู้ปฏิบัติไม่ชอบความเพียรก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นอสัญญีสัตว์มีอายุประมาณ ๕๐๐ มหากัป๑ ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นผู้สาเร็จมรรคในอนาคามีมรรคด้วยแล้วก็จะไปเกิดในสุทธาวาส ๕ เพราะเหตุไร ฌานระดับต่า กลาง สูง ในจตุตฌานนี้จึงไม่มี ? เพราะว่า มีความแตกต่างระหว่างฌานที่หยาบและละเอียดอยู่ในฌานตั้งแต่ระดับปฐมฌานถึงตติยฌาน แต่ในจตุตฌานนี้ไม่มีแล้ว



อรูปฌาน

อากาสานัญจายตนฌาน

ฌานลีภาบุคคลเมื่อได้รับสุขที่ไม่มีที่สิ้นสุดในจตุตถฌาน แล้วปรารถนาที่จะบรรลุฌานที่สูงขึ้นไปอีก คือ อากาสานัญจายตนฌาน ก้าวพ้นวิสัยแห่งรูป และพิจารณาว่า “ รูปฌานยังเป็นธรรมหยาบ อากาสานัญจายตนฌานเป็นธรรมละเอียด ” พึงพิจารณาเห็นโทษของรูปฌาน เห็นอานิสงส์ของอากาสานัญจายตนฌาน และโทษของรูปฌาน เช่น การถูกเข่นฆ่า เบียดเบียน การทะเลาะ การส่อเสียด การพูดเท็จ ความบกพร่องของอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากรูป เห็นอานิสงส์ของอากาสานัญจายตนฌานแล้วข้ามพ้นจากฌานนั้น โดยละปฐวีกสิณปฐวีนิมิต เจริญอากาสานัญจายตนะ คือ การไม่เอารูปอันมีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์ แต่กลับไปเอาอากาศที่เพิกออกจากปฏิภาคนิมิตนั้นมาเป็นอารมณ์ โดยบริกรรมว่า “ อากาโส อนนฺโต ๆ” คือ อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ๆ จนจิตแนบแน่น อากานัญจาย-ตนฌานจิตจึงเกิดขึ้น ผลแห่งการเจริญอากาสานัญจายตนฌาน เมื่อตายจะได้ไปเกิดในอากาสานัญจายตนภูมิ มีอายุประมาณ ๒๐,๐๐๐ มหากัป

วิญญาณัญจายตนฌาน

ฌานลาภีบุคคลผู้มีความชานาญในการเจริญอากาสานัญจายตนฌาน แล้วเห็นโทษของ อากาสานัญจายตนฌานว่าเป็นธรรมหยาบ โทษของอากาสานัญจายตนฌาน คือ เป็นฌานที่มีศัตรูคือรูปฌานอยู่ใกล้ อารมณ์ของอากาสานัญจายตนฌาน เป็นธรรมหยาบ ปฏิฆสัญญาและนานัตตสัญญา ยังไม่แยกจากกันเลยในฌานนี้ เนื่องจากความยึดมั่นถือมั่น ฌานลาภีบุคคลจึงไม่สามารถมีส่วนแห่งคุณ วิเสสได้ เมื่อพิจารณาถึงโทษอย่างนี้แล้ว ก็คานึงถึงอานิสงส์ของวิญญาณัญจายตนะ มองเห็นความละเอียดแห่งวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกาหนดไปที่จิตที่พิจารณาอากาศที่เพิกกสิณไปนั้นแหละเป็นอารมณ

เมื่อพิจารณาถึงคุณและโทษแล้ว ก็พึงพิจารณาวิญญาณัญจายตนะว่า “ สงบ” และใส่ใจถึงความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณที่พิจารณาในอากาศที่ว่างนั้นโดยใส่ใจวิญญาณที่แผ่ไปยังอากาศนั้นบ่อย ๆ พิจารณาอย่างนี้จนจิตมั่นคงอยู่ในวิญญาณัญจายตนะ ไม่นานนักจิตย่อมข้ามพ้นจากอากาสานัญจายตน-สัญญาและก้าวเข้าสู่วิญญาณัญจายตนะ ผลแห่งการเจริญวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อตายจะไปบังเกิดในวิญญาณัญจายตนภูมิ มีอายุประมาณ ๔๐,๐๐๐ มหากัป

อากิญจัญญายตนฌาน

ฌานลาภีบุคคลผู้มีความชานาญที่ได้ประพฤติมาแล้วในวิญญานัญจายตนฌาน เห็นโทษของวิญญาณัญจายตนฌานว่าเป็นธรรมหยาบ อากิญจัญญายตนฌานเป็นธรรมละเอียด โทษก็คือ วิญญาณัญจายตนฌานนี้ มีศัตรูคืออากาสานัญจายตนะอยู่ใกล้วิญญาณารมณ์เป็นธรรมหยาบ ในที่นี้เนื่องจากความยึดมั่นถือมั่น จึงไม่สามารถมีส่วนในคุณวิเสสโดยพิจารณาอนันตสัญญาได้ อานิสงส์ของอากิญจัญญายตนะอยู่ที่การเอาชนะโทษเหล่านี้ เมื่อข้ามพ้นวิญญาณัญจายตนะอย่างสงบ ไม่ดาเนินไปตามวิญญาณนั้นอีก จึงเป็นผู้เห็นความหลุดพ้นของอากิญจัญญายตนะ ปรารถนาที่จะบรรลุอากิญจัญญายตนะจึงข้ามพ้นวิญญาณสัญญาทันที ผลแห่งการเจริญอากิญจัญญายตนฌาน เมื่อตายจะไปบังเกิดในอากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ มหากัป

เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ฌานลาภีบุคคลผู้พิจารณาเห็นโทษของอากิญจัญญายตนะว่าเป็นธรรมหยาบ เนวสัญญานา-สัญญายตนะเป็นธรรมละเอียด โทษคือฌานนี้มีวิญญาณัญจายตนะอยู่ใกล้ ประกอบด้วยสัญญาที่หยาบ เนื่องจากความยึดมั่นถือมั่น สัญญานี้เป็นดุจโรค เป็นดุจฝี เป็นดุจหนาม เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ เป็นธรรมชอบ ธรรมละเอียด และประณีต เจริญในกรรมฐานอย่างนั้นแล้ว ก้าวล่วงอากิญจัญญายตน-สัญญา ไม่นานนักย่อมบรรลุถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ผลแห่งการเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อตายจะไปบังเกิดในเนวสัญญานาสัญญา-ยตนภูมิ มีอายุประมาณ ๘๔,๐๐๐ มหากัป

ผู้เจริญรูปฌานจนสาเร็จขั้นสุดท้ายของรูปฌานแล้ว ถ้าจะทาต่อขึ้นไปก็จะเป็นอรูปฌาน อารมณ์นั้นก็จะเพิกไปจากนิมิต จากกสิณ จากอารมณ์ที่เพ่งอยู่นั้น อรูปฌานที่ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน เพ่งอากาศที่ว่างจากกสิณนั้นเป็นอารมณ์เรียกว่ามีกสิณุฆาฏิมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์ อรูปฌานที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌาน ก็หันมาเอาจิต คือ อากาสานัญจายตนฌานจิตนั้นเป็นอารมณ์ในการเจริญวิญญาณัญจายตนะ อรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌาน เพ่งนัตถิ-ภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ คือความไม่มีอะไร ความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ความว่างเปล่า หรือ ความไม่มีอะไรนี้เป็นบัญญัติชนิดหนึ่งเหมือนกัน ตรงนี้บางครั้งผู้ที่ปฏิบัติถึงระดับนี้ บางทีหลงไปว่าเป็นพระนิพพานแล้ว เพราะได้ยินได้ฟังว่านิพพานเป็นลักษณะที่ดับที่ว่างจากตัวตน พอรับนัตถิภาวบัญญัติ คือความไม่มีอะไรทั้งหมดเป็นอารมณ์ก็เลยนึกว่า นี่คือถึงนิพพานแล้ว แต่ความจริงยังเป็นบัญญัติชนิดหนึ่ง คือ ความไม่มีอะไร

อรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็กลับมาเพ่งอากิญจัญญายตนฌานจิตเป็นอารมณ์ คือ ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ผู้เจริญฌานจนสาเร็จก็ได้สุดยอดแค่นี้ เรียกว่าได้ฌานสมาบัติ ๙ นับโดยปัญจกนัย ถ้านับโดยจตุกกนัยก็เรียกว่า ฌานสมาบัติ ๘ จตุกกนัยก็หมายถึงว่านับรูปฌานแค่ ๔ คือคนที่ได้ถึงฌานที่ ๔ ก็จะมีอุเบกขากับเอกัคคตา

การเจริญสมถกรรมฐานที่ได้รับผลโดยตรงก็คือ จิตบรรลุฌานขั้นต่าง ๆ ผู้เจริญสมถกรรม-ฐานที่ยังไม่บรรลุผลสูงสุดจนได้ฌานแต่การปฏิบัติก็ทาให้สมาธิจิตเกิดขึ้น สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นนั้นมีประโยชน์มากมายถึงแม้ว่าจะยังไม่บรรลุในฌานขั้นต่าง ๆ ก็ตาม ประโยชน์ของสมาธิ

ในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนมีความเครียด มีความวิตกกังวลกันมาก มีผู้คนจานวนไม่น้อยพยายามหาทางคลายความเครียดคลายความวิตกกังวลโดยการเจริญสมาธิ สมาธิมีประโยชน์ทาให้จิตใจสงบนิ่ง ไม่สับสน ไม่กังวล ได้อย่างแท้จริง แต่สมาธิไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อคลายความเครียด ความวิตกกังวลเท่านั้น ยังมีประโยชน์อีกมากมายหลายประการ ที่สาคัญที่สุดคือ สมาธิ หรือสัมมาสมาธิเป็นสิ่งสาคัญในการบรรลุมรรคผลนิพพาน สมาธิเป็นองค์หนึ่งในอริยมรรรคมีองค์แปด พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ว่า “สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทาให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร (การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน) สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทาให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทาให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทาให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย” สรุปประโยชน์ของสมาธิทั้งทางตรงและทางอ้อม มี ๔ ประการ คือ

ก. ประโยชน์ ที่เป็นจุดหมายทางศาสนา

ข. ประโยชน์ ในการสร้างความสามารถพิเศษเหนือสามัญวิสัย



ค. ประโยชน์ ด้านสุขภาพจิตและการพัฒนาบุคลิกภาพ

ง. ประโยชน์ ในชีวิตประจาวัน

ก. ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายทางศาสนา คือ สมาธิเป็นส่วนสาคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง

๑. ประโยชน์ที่ตรงแท้ของข้อนี้ คือ การเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นให้รู้แจ้งสภาวธรรมของความเป็นจริง (คือได้รู้ว่าชีวิตและสรรพสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ใต้บังคับบัญชา ไม่ใช่ตัวตน) เรียกว่า สมาธิเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะน้าไปสู่พระนิพพานได้ในที่สุด

๒. ประโยชน์ที่รองลงมา คือ ทาให้จิตหลุดพ้นจากอานาจของกิเลสชั่วคราว ด้วยการกด การข่มไว้ ด้วยกาลังของฌาน ด้วยอานาจของพลังจิตที่แน่วแน่ จะสามารถข่มนิวรณ์ ๕ ไว้ได้ตลอดเวลาที่ยังมีสมาธิ เรียกตามศัพท์ว่า “วิกขัมภนวิมุตติ” แต่พึงทราบว่าเมื่อถอนออกจากสมาธิแล้ว กิเลสเหล่านั้น หรือนิวรณ์ ๕ ก็มีเช่นเดิม เพราะไม่ได้ถูกกาจัด เป็นแต่ถูกกดถูกข่มไม่ให้แสดงตัวหรืองอกงามได้ในช่วงที่อยู่ในสมาธิเท่านั้น อุปมาเหมือนหินทับหญ้า ทาให้หญ้าไม่เจริญเติบโตชั่วคราว แต่เมื่อนาหินออก หญ้าได้แดดได้น้า ก็จะเจริญเติบโตตามปกติ

ข. ประโยชน์ในการสร้างความสามารถพิเศษเหนือสามัญวิสัย เป็นผลสาเร็จอย่างสูงทางจิตใจ หรือเรียกว่าประโยชน์ในด้านอภิญญา คือใช้สมาธิระดับฌานสมาบัติเป็นฐาน ทาให้เกิดฤทธิ์และอภิญญาขั้นโลกียะ อภิญญาคือความรู้ยิ่ง หรือความรู้ขั้นสูง มี ๖ อย่าง คือ

๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ เช่น เนรมิตคนๆ เดียวให้เป็นหลายคนได้

ล่องหนได้ ดาดิน เดินบนน้า เดินทะลุกาแพงได้ เป็นต้น

๒. ทิพพโสต หรือ หูทิพย์ เช่น สามารถฟังเสียงในที่ไกล ๆ ได้ ได้ยิน

สิ่งที่ต้องการได้ยินได้

๓. เจโตปริยญาณ ทายใจผู้อื่นได้ รู้ว่าผู้อื่นคิดอะไร

๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ดูเห็นสิ่งต่างๆ ได้ตามใจปรารถนา

๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทาให้อาสวะกิเลสสิ้นไป

อภิญญา ที่เกิดจากสมาธิ จนสาเร็จฌาน เป็นโลกียอภิญญา คืออภิญญาในข้อที่ ๑-๕ ส่วนอาสวักขยญาณ เป็นโลกุตตรอภิญญา

ค. ประโยชน์ด้านสุขภาพจิตและการพัฒนาบุคลิกภาพ ทาให้เป็นผู้มีจิตใจและบุคลิกลักษณะเข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง สงบ เยือกเย็น สุภาพ นิ่มนวล สดชื่น ผ่องใส กระฉับกระเฉง เบิกบาน งามสง่า มีเมตตากรุณา รู้จักตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริง (ตรงข้ามกับลักษณะของคนมีนิวรณ์ เช่น อ่อนไหว ติดใจหลงใหลง่าย หยาบกระด้าง ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด หงุดหงิด วู่วาม วุ่นวาย จุ้นจ้าน สอดแส่ ลุกลี้ลุกลน หรือ หงอยเหงา เศร้าซึม หวาดระแวง ลังเล) เตรียมจิตให้อยู่ในสภาพพร้อมและง่ายแก่การปลูกฝังคุณธรรมต่าง ๆ เสริมสร้างนิสัยที่ดี ทาให้สงบ ผ่อนเบาความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจได้ เรียกอย่างสมัยใหม่ว่ามีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความคุ้มกันทางอารมณ์ และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต

ง. ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน

๑. ช่วยทาให้จิตใจผ่อนคลาย หายเครียด เกิดความสงบ หายกระวนกระวาย ยั้งหยุดจากความกลัดกลุ้มวิตกกังวล เป็นเครื่องพักผ่อนกาย ให้ใจสบายและมีความสุข เช่นกาหนดลมหายใจเข้าออก เวลาที่รอคอยอะไร หรือตอนรถติด หรือปฏิบัติเมื่อทางานใช้ความคิดมากๆ เป็นต้น

๒. เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทางาน การเล่าเรียน และการทากิจทุกอย่าง เพราะจิตที่เป็นสมาธิ แน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กาลังกระทา ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่เลื่อนลอย ย่อมช่วยให้เรียน ให้คิด ให้ทางานได้ผลดี การงานก็เป็นไปด้วยความรอบคอบ ไม่ผิดพลาด และป้องกันอุบัติเหตุได้ดี เพราะเมื่อมีสมาธิก็ย่อมมีสติกากับอยู่ด้วย

๓. ช่วยเสริมสุขภาพกาย ร่างกายกับจิตใจอาศัยกันและมีอิทธิพลต่อกัน ปุถุชนทั่วไปเมื่อกายไม่สบาย จิตใจก็พลอยอ่อนแอเศร้าหมองขุ่นมัว ครั้นเสียใจไม่มีกาลังใจ ก็ยิ่งซ้าให้โรคทางกายนั้นทรุดหนักลงไปอีก แม้ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ พอประสบเรื่องราวให้เศร้าเสียใจรุนแรง ก็ล้มป่วยเจ็บไข้ไปได้ ส่วนผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์ (โดยเฉพาะท่านที่มีจิตหลุดพ้นแล้ว) เมื่อเจ็บป่วยกายก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้น จิตใจไม่พลอยป่วยไปด้วย ยิ่งกว่านั้นกลับใช้ใจที่สบายมีกาลังจิตเข้มแข็งนั้น หันกลับมาส่งอิทธิพลบรรเทาหรือผ่อนเบาโรคทางกายได้อีกด้วย อาจทาให้โรคหายง่ายและไวขึ้น หรือแม้แต่ใช้กาลังสมาธิระงับทุกขเวทนาทางกายไว้ก็ได้ ในด้านดีผู้มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน ย่อมช่วยให้กายเอิบอาบผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายดีเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว

ปัจจัยเกื้อหนุนและอุปสรรคในการเจริญสมาธิ

ก. ตัดปลิโพธ หรือ ความวิตกกังวลทาให้จิตขัดข้อง มี ๑๐ ประการ

ข. หากัลยาณมิตร หรือ ครูอาจารย์ผู้ที่จะสอนการเจริญสมาธิ

ค. รับกรรมฐานให้ถูกกับจริตของตน

ง. อยู่ในสถานที่ที่เหมาะกับการเจริญสมาธิ

จ. ปฏิบัติตามวิธีเจริญสมาธ

การอธิบายในเรื่องปัจจัยเกื้อหนุนและอุปสรรคในการเจริญสมาธินี้ กล่าวไว้สาหรับผู้ที่จะเจริญสมาธิทั้งที่เป็นฆราวาส และภิกษุสามเณร ทั้งผู้จะเจริญสมาธิในช่วงสั้น ๆ และผู้ที่มุ่งมั่นสละชีพเพื่อ การปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง ก. ปลิโพธ ปลิโพธ หรือ ข้อติดขัดทาให้กังวล มีความค้างคาในใจ เมื่อเกิดกังวลหรือปลิโพธ ก็ทาให้ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้า ปลิโพธมี ๑๐ ประการ คือ ๑) กังวลเรื่องที่อยู่หรือวัด ๒) เรื่องตระกูล ๓) เรื่องลาภ ๔)เรื่องหมู่คณะ ๕)เรื่องงาน ๖) เรื่องการเดินทาง ๗) เรื่องญาติ ๘) เรื่องอาพาธ ๙)เรื่องคันถะ ๑๐) เรื่องอิทธิ คือฤทธิ์ของปุถุชนกังวลเรื่องรักษาฤทธิ์ แต่กังวลเรื่องนี้เป็นความกังวลของผู้เจริญวิปัสสนาเท่านั้น เพราะผู้ที่เริ่มบาเพ็ญสมาธิยังไม่มีฤทธิ์ จึงไม่ต้องกังวล ข. แสวงหาอาจารย์หรือกัลยาณมิตร ผู้ที่จะช่วยเหลือแนะนาสั่งสอนในการปฏิบัติ กัลยาณมิตร คือ ผู้ที่ประกอบไปด้วยกัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการ คือ ๑) น่ารัก ๒) น่าเคารพ ๓) น่าเจริญใจ น่านับถือ รู้คุณค่าของการเจริญสมาธิ เป็นผู้เที่ยงธรรม ๔) สอนได้ดี ๕) ยอมให้ศิษย์แนะนาท้วงติงได้ ๖) สอนเรื่องที่ลึกซึ้งได้ ๗) ไม่แนะนา ไม่ชักชวนในเรื่องที่ไม่ถูกไม่ควร การมีกัลยาณมิตรจะช่วยเป็นขวัญเป็นกาลังใจในเวลาปฏิบัติแล้วประสบอารมณ์ที่น่ากลัว ทาให้ไม่ดื้อรั้น เพราะมีอาจารย์คอยดูแลควบคุมความประพฤติอยู่ การแสวงหากัลยาณมิตรที่ดีที่สุด แนะนาข้อปฏิบัติทั้งสมถะและวิปัสสนาได้ถูกต้องที่สุดในปัจจุบันยังหาได้อยู่คือ คาสอนในพระไตรปิฎก และอรรถ-กถา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖๘-๖๙ ชื่อว่า ปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถา ได้แก่ คัมภีร์วิสุทธิมรรค และคัมภีร์วิมุตติมรรค ทั้ง ๓ คัมภีร์นี้จัดได้ว่าเป็นคู่มือสาหรับนักปฏิบัติอย่างดี ค. รับกรรมฐานให้ถูกกับจริตของตน จริต หรือ จริยา หมายถึง พื้นเพของจิต ลักษณะนิสัยความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง คนที่มีจริตแบบใดลักษณะนิสัยจิตใจก็จะเป็นไปในทางนั้น จริตแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ มี ๖ คือ

๑. ราคจริต นิสัยหนักไปทางราคะ รักสวย รักงาม ยืน เดินเยื้องย่างละมุนละไม ไม่รีบร้อน รักสะอาด พิถีพิถันเรื่องของใช้เครื่องแต่งตัวเครื่องประดับ ชอบบริโภคอาหารรสกลมกล่อม ประณีตและหวาน ทาการใดๆ ก็ทาอย่างเรียบร้อยมีระเบียบสวยงาม

๒. โทสจริต นิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อนหงุดหงิด อารมณ์รุนแรง ทาการงานสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย ตึงตัง โครมคราม ชอบอาหารรสเปรี้ยว รสจัด รับประทานอาหารเร็ว เดินเร็ว ฝีเท้าหนัก ชอบวิวาท

๓. โมหจริต นิสัยหนักไปทางโมหะ ค่อนข้างเขลา เชื่อง่ายงมงาย เซื่องซึม ไม่กระปรี้กระเปร่า เหม่อลอย ท้อถอย ไม่เข้มแข็ง ทางานใดก็ทาอย่างหยาบๆ ไม่สะอาด ไม่เรียบร้อย ชอบเผลอสติ

๔. สัทธาจริต นิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเลื่อมใสได้ง่าย ไม่มีมารยาสาไถย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย บิดา มารดา ครู อาจารย์

๕. วิตกจริต นิสัยหนักไปทางวิตกกังวล ย้าคิด ฟุ้งซ่าน วาดวิมานในอากาศ กลัวไปล่วงหน้าทั้งที่เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น

๖. พุทธิจริต นิสัยหนักไปทางชอบใช้เหตุผล สติปัญญา ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ชอบศึกษา ครุ่นคิด

คนแต่ละคนจะมีจริตอย่างเดียว อาจมีจริตผสมกันได้ เช่น เป็นคนราคจริตและโทสจริตในคนๆเดียวกัน เป็นคนโทสจริตและโมหจริตด้วย เป็นต้น

บุคคลที่เกิดมาในโลก มีจริตนิสัยแตกต่างกันไป แม้พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน ก็มีอัธยาศัยจิตใจผิดแผกกันไป ทั้งที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูเหมือนๆ กัน พุทธศาสนาได้อธิบายสาเหตุ ของความแตกต่างกันของนิสัยนี้ว่า มาจากกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่บุคคลผู้นั้นได้สั่งสมมาในชาติปางก่อนๆ ไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในชาติปัจจุบัน หรือ การอบรมเลี้ยงดูเพียงอย่างเดียว เหตุจากชาติปางก่อนมีส่วนด้วยและการเลี้ยงดูความประพฤติการปฏิบัติตนในชาตินี้ก็มีส่วนด้วยเช่นกัน ทั้งนี้พุทธศาสนาเห็นว่าคนสามารถพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปได้ แก้ไข ปรับปรุงตนเองได้ มิใช่ยินยอม ถูกกระทาหรือยอมรับทุกสิ่ง หรือปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกระแส แต่คนมีศักยภาพ (potential) ที่จะเป็นผู้ฝ่าฟัน ชนะสิ่งไม่ดีไม่งามต่างๆ ในใจของตน และสร้างสรรค์พัฒนาสิ่งที่ดีงามให้งอกงามผลิบานได้ ในจิตใจและชีวิตของตนเอง จริตนิสัยเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ เช่น คนโมหจริต โง่เขลา ด้อยปัญญา ก็สามารถแก้ไข หรือปรับปรุงตัว โดยหมั่นไต่ถามผู้รู้ ขยันศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ สนทนาธรรม เป็นต้น การแก้ไขจริตนิสัยที่ไม่ดีไม่งามต่างๆ นั้น ถ้าบุคคลผู้นั้นเห็นโทษของมันและมุ่งมั่นจะเปลี่ยนแปลง ก็สามารถบรรเทาหรือทาให้ดีขึ้นได้ เช่น เห็นโทษของโทสะ ก็หาอุบายวิธีระงับ หรือบรรเทาไม่ให้โทสะกาเริบ หรือแสดงออกมาให้เกิดผลเสียทั้งแก่ตนเองและผู้คนรอบข้าง การเจริญเมตตาภาวนาซึ่งเป็นการเจริญสมาธิอย่างหนึ่ง เป็นวิธีที่สามารถช่วยให้จิตใจอ่อนโยนและบรรเทาโทสะลงได้ การเลือกกรรมฐานให้เหมาะกับจริต ต้องพิจารณาว่าอุปนิสัยของเราโน้มเอียงหรือหนักไปทางใด มีหลักพิจารณาดังต่อไปนี้

๑. คนราคจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อสุภะ ๑๐ (พิจารณาซากศพ)

และ กายคตาสติ (พิจารณากาย คือ พิจารณาอาการ ๓๒ ของกาย)

๒. คนโทสจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ พรหมวิหาร ๔ (อัปปมัญญา ๔)

วรรณกสิณ ๔ ได้แก่ กสิณสีแดง กสิณสีขาว กสิณสีเขียว และกสิณสีเหลือง

๓. คนโมหจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อานาปานสติ (การดูลมหายใจเข้าออก)

๔. คนสัทธาจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อนุสสติ ๖ (พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ

สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ และเทวตานุสสติ)

๕. คนวิตกจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ อานาปานสติ

๖. คนพุทธิจริต กรรมฐานที่ถูกกับอุปนิสัย คือ มรณานุสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน และอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ส่วนอรูปฌาน ๔ และมหาภูตกสิณทั้ง ๔ คือ ปฐวีกสิณ (กสิณดิน) อาโปกสิณ (กสิณน้า) เตโชกสิณ (กสิณไฟ) และวาโยกสิณ (กสิณลม) เหมาะกับคนทุกจริต เมื่อเจริญสมาธิแบบใดแล้วเห็นว่าเหมาะกับจริตของตนเอง ก็ไม่ควรโลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทาวิธีโน้นบ้าง ทาวิธีนี้บ้าง จนท้ายที่สุดสมาธิก็ไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นเรื่องเป็นราว เมื่อได้สมาธิที่เหมาะกับจริตก็ควรตั้งใจปฏิบัติไปจนถึงที่สุดแห่งวิธีการหรือสมาธินั้นๆ ง. อาวาสหรือที่อยู่ หรือวัดที่ไม่เหมาะกับการเจริญสมาธิ ควรหลีกเลี่ยงวัดที่มีลักษณะ ๑๘ ประการนี้ คือ (ในที่นี้จะกล่าวถึงวัด แต่อันที่จริงแล้วจะเป็นสถานที่ใดก็ได้ที่สามารถจัดเป็นที่ปฏิบัติ เช่น บ้าน สานัก ฯลฯ)

๑. วัดใหญ่ เพราะมีพระเณร มีคนมาก ต่างจิตต่างใจเรื่องก็มาก หาความสงบไม่ได้

๒. วัดเก่า มีเรื่องที่ต้องดูแลมาก ต้องซ่อมแซมรักษาโบราณวัตถุ

๓. วัดใหม่ มีเรื่องต้องก่อสร้าง มีเรื่องต้องทาให้วัดสมบูรณ์

๔. วัดใกล้ทางเดินทางสัญจร อาจหมายถึงวัดที่ติดถนนทางสัญจรจะมีคนมาบ่อย ทาให้ไม่สงบ

๕. วัดใกล้สระน้า ท่าน้า คนจะพากันมาใช้น้า ทาให้พลุกพล่าน ไม่สงบ

๖. วัดที่มีผัก หรือใบไม้ที่บริโภคได้

๗. วัดที่มีดอกไม้

๘. วัดที่มีไม้ผล หรือผลไม้ต่างๆ

(วัดในข้อ ๖-๘ จะทาให้คนมาเก็บผัก ขอดอกไม้ ขอผลไม้คนจะพากันมาเสมอทาให้ไม่สงบ วัดที่สร้างไว้เพื่อจะให้เป็นวัดสาหรับปฏิบัติสมาธิภาวนาจริงๆ จะไม่ตกแต่งทาสวนดอกไม้ เพราะผู้คนจะพากันมาเก็บดอกไม้ มาเที่ยวอยู่ไม่ขาด)

๙. วัดที่ใครๆ อยากไปมา วัดที่มีชื่อเสียงในด้านวัตถุมงคล เป็นต้น

๑๐. วัดที่อยู่ใกล้เมือง

๑๑. วัดที่อยู่ใกล้ที่ไม้ที่ฟืน หมายถึง วัดที่อยู่ใกล้ป่าที่มีคนมาหาฟืนหาของป่ากันมาก

๑๒. วัดอยู่ใกล้นา ชาวนาก็จะนวดข้าว ทานา เสียงจะอื้ออึง

๑๓. วัดที่มีคนไม่ถูกกัน ทะเลาะวิวาทกัน

๑๔. วัดติดท่าน้า ผู้คนจะใช้สัญจรไปมามาก และมาอาบน้าตักน้ากัน

๑๕. วัดในถิ่นห่างไกลที่คนไม่นับถือพุทธศาสนา

๑๖. วัดติดพรมแดน อยู่ระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐ อาจเกิดสงคราม รบพุ่งไม่สงบ เป็น



การเสี่ยงภัยและมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องได้

๑๗. วัดที่ไม่สัปปายะ อยู่ไม่สบายมีอารมณ์ต่างๆ มารบกวน

๑๘. วัดที่ไม่มีกัลยาณมิตร หรือไม่มีอาจารย์คอยแนะนาดูแล

จ. ปฏิบัติตามวิธีเจริญสมาธิ จะกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติต่างๆ ๔๐ วิธี ในบทต่อๆ ไป ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการต่างๆ เหล่านั้นจึงจะได้ผลแห่งสมาธิวิธีนั้นๆ ยังมีสิ่งที่ควรคานึงถึงอีกหลายประการ ที่จะช่วยในการปฏิบัติสมาธิให้ก้าวหน้า ช่วยให้กรรรมฐานเจริญ นอกจากปัจจัยทั้ง ๔ ประการที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีข้อธรรมที่มีผลโดยตรงกับการอบรมจิต อันได้แก่ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นักศึกษาอ่านทบทวนได้ในบทเรียนชุดที่ ๘ ตอนที่ ๓ ในที่นี้จะกล่าวถึง ธุดงควัตร ๑๓ ข้อ ธุดงควัตร ๑๓ ธุดงค์ หมายถึง องค์คุณเครื่องกาจัดกิเลส เป็นชื่อของข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ เป็นต้น การปฏิบัติ ธุดงควัตรไม่ใช่สิ่งที่บังคับ แต่เป็นความสมัครใจ ผู้ใดจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ จะปฏิบัติเป็นครั้งคราว หรือตลอดไปก็ได้ จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอุกฤษฎ์ก็ได้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงธุดงควัตรว่า เป็นข้อปฏิบัติที่ช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อม (ความดีเพิ่มพูน ความไม่ดีลดลง) ธุดงควัตร ๑๓ ข้อนั้น ได้แก่

๑. ใช้แต่ผ้าบังสุกุล คือผ้าห่อศพ หรือผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาตัดเย็บจีวร

๒. ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ

๓. บิณฑบาตเป็นวัตร (บิณฑบาตเป็นประจา)

๔. บิณฑบาตตามลาดับเรือน (บ้าน)

๕. ฉันมื้อเดียว

๖. ฉันในบาตร

๗. เมื่อลงมือฉันแล้วไม่รับเพิ่ม (ไม่รับอาหารที่เขาถวายภายหลัง)

๘. อยู่ป่า

๙. อยู่โคนไม้

๑๐. อยู่ป่าช้า

๑๑. อยู่กลางแจ้ง

๑๒. อยู่ในที่แล้วแต่เขาจะจัดให้ (ไม่จู้จี้เลือกที่พักที่ตนพอใจ)

๑๓. ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน

ธุดงควัตรนั้นพระภิกษุ สามเณร สามารถปฏิบัติได้ทุกข้อ ในสมัยพุทธกาลนั้น ภิกษุณีก็มี การปฏิบัติธุดงควัตรเพื่อช่วยให้กรรมฐานเจริญเร็วเช่นกัน แต่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปฏิบัต

ธุดงควัตรเพียง ๘ ข้อ คือ ใช้แต่ผ้าบังสุกุล ใช้เพียง ๓ ผืน ถือการบิณฑบาต บิณฑบาตไปตามลาดับเรือน ฉันมื้อเดียว ฉันเฉพาะในบาตร ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน และอยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้ ส่วนธุดงควัตรอีก ๕ ข้อ คือ อยู่ป่า อยู่ป่าช้า อยู่โคนไม้ ไม่รับอาหารที่เขาถวายภายหลัง และอยู่กลางแจ้งนั้น ทรงห้ามเพื่อสวัสดิภาพของภิกษุณีเอง เพราะความเป็นหญิงถึงแม้จะบวชปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ต้องระวังเรื่องสวัสดิภาพเป็นสาคัญ แม้แต่พระอุบลวรรณาเถรี พระภิกษุณีผู้บรรลุอรหัตตผล ก็ยังถูกย่ายีข่มเหงได้ ผู้ปฏิบัติธรรม ที่เป็นฆราวาส สามารถปฏิบัติธุดงควัตรที่เหมาะสมกับตนและอยู่ในวิสัยที่ฆราวาสจะปฏิบัติได้ในบางข้อเช่น รับประทานอาหารมื้อเดียว รับประทานอาหารในภาชนะใบเดียว (เพราะอุบาสก อุบาสิกา ฆราวาสไม่ใช้บาตร) อยู่ในที่แล้วแต่เขาจะจัดให้ ถือการนั่งไม่นอน ดังที่ผู้ปฏิบัติมักจะไม่นอนตลอดคืนวันพระ หรือวันสาคัญทางศาสนา เพื่อเจริญสมาธิ หรือฟังธรรม บูชาพระพุทธองค์ เป็นต้น

มารู้จักกับอารมณ์สมถกรรมฐาน ๔๐

ธรรมชาติของผู้เริ่มปฏิบัติ จิตของคนทั่วๆ ไปที่ไม่เคยทาสมาธินั้น ก็มักจะมีสภาพเหมือนม้าป่าพยศที่ยังไม่เคยถูกจับมาฝึกให้เชื่อง มีการซัดส่ายอยู่เป็นประจา การทาสมาธินั้นก็เหมือนการจับม้าป่านั้นมาล่ามเชือก หรือใส่ไว้ในคอกเล็กๆ ไม่ยอมให้มีอิสระตามความเคยชิน เมื่อตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ม้านั้นก็ย่อมจะแสดงอาการพยศออกมา มีอาการดิ้นรน กวัดแกว่ง ไม่สามารถอยู่อย่างนิ่งสงบได้ ถ้ายิ่งพยายามบังคับ ควบคุมมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งดิ้นรนมากขึ้นเท่านั้น การจะฝึกม้าป่าให้เชื่องโดยไม่เหนื่อยมากนั้นต้องใจเย็นๆ โดยเริ่มจากการใส่ไว้ในคอกใหญ่ๆ แล้วปล่อยให้เคยชินกับคอกขนาดนั้นก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ ลดขนาดของคอกลงเรื่อยๆ ม้านั้นก็จะเชื่องขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่แสดงอาการพยศอย่างรุนแรงเหมือนการพยายามบีบบังคับอย่างรีบร้อน เมื่อม้าเชื่องมากพอแล้ว ก็จะสามารถใส่บังเหียนแล้วนาไปฝึกได้โดยง่าย การฝึกจิตก็เช่นกัน ถ้าใจร้อนคิดจะให้เกิดสมาธิอย่างรวดเร็วทั้งที่จิตยังไม่เชื่อง จิตจะดิ้นรนมาก และเมื่อพยายามบีบจิตให้นิ่งมากขึ้นเท่าไร จิตจะยิ่งเกิดอาการเกร็งมากขึ้นเท่านั้น นั่นจะหมายถึงความกระด้างของจิตที่เพิ่มขึ้น(จิตที่เกร็งจะเป็นจิตที่กระด้าง ซึ่งต่างจากจิตที่ผ่อนคลายจะเป็นจิตที่ประณีต) แล้วยังจะทาให้เหนื่อยอีกด้วย ถึงแม้บางครั้งอาจจะบังคับจิตไม่ให้ซัดส่ายได้ แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าจิตมีอาการสั่น กระเพื่อมอยู่ภายใน สิ่งที่ใช้ในการยึดจิตในการทาสมาธิ ที่เรียกว่าอารมณ์ของสมาธินั้น ในทางพระพุทธศาสนา รวบรวมไว้ ๔๐ วิธี

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วนักปฏิบัติก็เริ่มต้นศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับอารมณ์กรรมฐานเพื่อจะใช้ในการปฏิบัติให้เข้าใจ สมถกรรมฐานมี ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อาหาเรปฏิกูล-สัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ อัปปมัญญา ๔ อรูปกรรมฐาน ๔

อากาศ

๑. ปฐวีกสิณ (กสิณดิน)

ต้องเตรียมดินที่จะใช้เป็นองค์กสิณ โดยเลือกดินสีอรุณ หรือสีพระอาทิตย์แรกขึ้น มี ความเหนียวพอประมาณ เก็บสิ่งสกปรกที่ติดอยู่กับดินนั้นออกให้หมด ผสมกับน้านวดจนดินหมด

ฝุ่นละออง คลึงแผ่เป็นแผ่นวงกลมกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว ทาหน้าดินให้เรียบเหมือนหน้ากลอง แต่งวงขอบของดินด้วยอีกสีหนึ่ง จะเป็นสีเขียวหรือสีขาวก็ได้ให้มีขนาดประมาณ ¼ นิ้ว ดวงกสิณนี้จะสร้างอยู่บนกระดาน บนผ้า บนกาแพง หรือบนดินก็ได้ แต่ต้องรักษาให้สะอาดเรียบร้อย และเรียบอยู่เสมอ เมื่อทาองค์กสิณเสร็จแล้วให้หาสถานที่สงบห่างไกลผู้คน เพื่อเพ่งปฐวีกสิณ โดยตั้งองค์กสิณไว้เบื้องหน้าในระดับสายตาไม่สูงหรือต่าเกินไป นั่งห่างจากองค์กสิณประมาณ ๒ ศอก ๑ คืบ หรือไม่ใกล้ –ไกล เกินไปนัก โดยนั่งขัดสมาธิ ทาจิตให้ระลึกถึงโทษของกามคุณว่า กามเป็นสิ่งน่ายินดีน้อย มีทุกข์มาก ให้โทษต่างๆ เปรียบดังหัวงูมีพิษ เพราะเป็นของน่ากลัว จึงควรทาตนให้พ้น จากกามคุณอารมณ์ต่างๆ ตั้งจิตให้ยินดีในฌาน ระลึกพระคุณของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วจึงลืมตาดูดวงกสิณนั้น บริกรรมว่า ปฐวีๆๆ (ดินๆๆ) เป็นร้อยครั้งพันครั้ง เมื่อลืมตาดูดวงกสิณแล้วหน่อยหนึ่งก็หลับตาลง แล้วจึงลืมตาขึ้นดูอีก ปฏิบัติจนได้อุคคหนิมิต คือหลับตาเห็น ลืมตาเห็นดวงกสิณ จนคล่องแคล่ว ปฏิภาคนิมิตก็จะเกิดขึ้นเป็นสภาพที่สะอาด ไม่ด่างพร้อย จะใสเป็นกระจก งามกว่าอุคคหนิมิต จิตจะตั้งมั่น นิวรณ์ ๕ จะสงบระงับ พากเพียรต่อไปก็จะได้อัปปนาสมาธิ หากรักษาปฏิภาค-นิมิตให้ดี พากเพียรปฏิบัติต่อไปก็จะได้ฌานเป็นลาดับขึ้นไป แต่หากรักษาปฏิภาคนิมิตไม่ดี สมาธิหรือฌานที่ได้ก็จะเสื่อมหายไป ๒. อาโปกสิณ (กสิณน้้า) คือ การเพ่งน้า ผู้ที่เคยปฏิบัติอาโปกสิณในชาติก่อนๆ เมื่อเพ่งน้าที่ใดที่หนึ่ง เช่น ในสระหรือในบ่อ ก็สามารถสาเร็จอุคคหนิมิตโดยง่าย หรือนาผ้าขาวขึงกลางแจ้งรองน้าฝนบริสุทธิ์มาใส่ภาชนะเช่น ขัน ใส่เต็มขอบปากภาชนะ เพ่งดูน้านั้นในที่สงบ บริกรรมว่า อาโปๆๆ (น้าๆๆ) จนเกิดอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตตามลาดับ เช่นเดียวกับปฐวีกสิณ ๓. เตโชกสิณ (กสิณไฟ) คือการเตรียมเปลวเพลิง ผู้ที่เคยปฏิบัติเตโชกสิณในชาติก่อนๆ อาจเพ่งเปลวไฟในเตา หรือ ที่ใดๆ จนได้อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ตามลาดับ โดยทั่วไปการจะเพ่งเตโชกสิณต้องเตรียมการโดย ก่อไฟให้ลุกโพลง นาเสื่อ หรือ แผ่นหนังกั้นไว้หน้ากองไฟ เจาะช่องกลมโตประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้วเพ่งดูเปลวไฟ อย่าพิจารณาสีของเปลวไฟ หรือเถ้าถ่าน หรือควันไฟ เพราะจะกลายเป็นวรรณกสิณไป ขณะเพ่งเปลวไฟให้บริกรรมว่า เตโชๆๆ (ไฟๆๆ) จนอุคคหนิมิตปรากฏขึ้น และได้ปฏิภาคนิมิต ได้ ฌานตามลาดับ อุคคหนิมิตของเตโชกสิณจะปรากฏภาพของเปลวไฟที่คุแต่อาจมีการพัดไหว ส่วน ปฏิภาคนิมิตเปลวไฟจะนิ่ง มีสีทองหรือแดง ๔. วาโยกสิณ (กสิณลม) คือ กสิณลม เจริญได้โดยต้องอาศัยการมองดู ยอดไม้ ใบไม้ เส้นผม เป็นต้น ที่สั่นไหวเพราะลมพัด หรือจะเจริญเมื่อลมพัดสัมผัสกายเราก็ได้ พร้อมบริกรรมว่า วาโยๆๆ (ลมๆๆ) จนเกิด อุคคหนิมิต เป็นลักษณะไอน้า น้าตกหรือควันที่ไหวหวั่น แต่เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตจะไม่หวั่นไหวจะมี สภาพเป็นกลุ่มกอง เป็นเกลียวที่แน่นิ่ง

๕. นีลกสิณ (กสิณสีเขียว)

๖. ปีตกสิณ (กสิณสีเหลือง)

๗. โลหิตกสิณ (กสิณสีแดง)

๘. โอทาตกสิณ (กสิณสีขาว)

จะกล่าวรวมถึงวรรณกสิณ ทั้ง ๔ เพราะมีการปฏิบัติและลักษณะใกล้เคียงกัน นีลกสิณ คือ กสิณสีเขียว ผู้ที่มีวาสนาบารมีเคยเจริญกสิณนั้นมาก่อน เมื่อเห็นสีของใบไม้ ผ้าหรือวัตถุอื่นก็สามารถเพ่งดู และบริกรรมได้ทันที แต่ถ้าจะทาองค์นีลกสิณ ต้องใช้ดอกไม้ ใบไม้ วัตถุใดๆ ก็ตามที่มีสีเขียว ถ้าใช้ดอกไม้ เช่น ดอกบัว ก็ต้องนามาใส่พาน หรือขันให้เต็มขอบภาชนะ หรือ ถ้าจะใช้ผ้า, กระดาษ, ก็ต้องใช้ผ้า กระดาษ สีเขียว มาตัดเป็นวงกลมกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว เอาสีเขียวทาบน แผ่นวงกลมให้เรียบร้อย ตัดขอบด้วยสีขาว แดง เพื่อเน้นให้สีเขียวเด่นชัดขึ้น เมื่อเพ่งก็บริกรรมว่า นีละ นีละ(เขียวๆๆ) ส่วนกสิณสีอื่นๆ เช่น ปีตกสิณ กสิณสีเหลืองก็จัดทาเช่นเดียวกันโดยใช้ดอกไม้ หรือผ้า, กระดาษ บริกรรมว่า ปีตะ ปีตะ (เหลืองๆๆ) โลหิตกสิณ คือกสิณสีแดง ให้บริกรรมว่า โลหิตะ โลหิตะ (แดงๆๆ) โอทาตกสิณ คือ กสิณสีขาว ก็บริกรรมว่า โอทาตะ โอทาตะ (ขาวๆ) ทาไปจนเกิดอุคคหนิมิต ก็ไม่จาเป็นต้องเพ่งองค์กสิณอีก ให้เพ่งแต่อุคคหนิมิตที่ได้มา จนเกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น และได้ฌานไปตามลาดับ

๙. อาโลกกสิณ (กสิณแสงสว่าง)

คือ กสิณแสงสว่าง เป็นแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงไฟเป็นต้น แต่เมื่อมิอาจเพ่งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือดวงไฟต่างๆโดยตรง ก็ต้องทาองค์กสิณ โดยการหารอยแตกของฝาเรือน หลังคาที่พักอาศัย หรือเจาะให้แสงสว่างลอดเข้ามาปรากฏที่ฝาหรือพื้นเรือน หรือจุดตะเกียง หรือเปิดไฟไว้ เอาม่านกั้นให้มิดชิด เจาะรูม่านให้แสงลอดออกมาเป็นดวงที่ฝา แล้วเพ่งดูแสงสว่างนั้น บริกรรมว่า โอภาโส โอภาโส (แสงๆๆ) หรือ อาโลโก อาโลโก (สว่างๆๆ) จนอุคคหนิมิตเกิดขึ้นเป็นแสงสว่างไม่ต่างจากบริกรรมนิมิต ส่วนปฏิภาคนิมิตแสงสว่างจะเป็นกลุ่มก้อนคล้ายดวงไฟในโป๊ะไฟสีขาวสว่างรุ่งโรจน์กว่าอุคคหนิมิตหลายเท่า ๑๐. อากาสกสิณ หรือปริจฉินนากาสกสิณ (กสิณที่ว่างหรืออากาศ) คือ การเพ่งอากาศว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ทาองค์กสิณโดยเจาะฝาให้เป็นช่องว่างประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว หรือใช้ช่องหน้าต่าง ประตู เพ่งดูอากาศที่ปรากฏตามช่องนั้นๆ แล้วบริกรรมว่า อากาโสๆๆ (แจ้งๆๆ) เกิดอุคคหนิมิตเห็นอากาศที่ปรากฏตามช่อง มีขอบเขต เหมือนกับบริกรรมนิมิตทุกประการ แต่เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้ว จะปรากฏแต่อากาศอย่างเดียวไม่ปรากฏขอบเขต ทั้งยังสามารถขยายขอบเขตให้ กว้างใหญ่เพียงไรก็ได้ คุณลักษณะพิเศษของกสิณ ๑๐

กสิณมีลักษณะพิเศษหลายประการ เช่น เมื่อได้รูปฌาน ๔ การเพ่งกสิณอย่างหนึ่งแล้ว ถ้าต้องการอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตจากกสิณอีก ๙ อย่างที่เหลือ ก็ไม่ต้องจัดทาองค์กสิณขึ้นใหม่ให้มองดูสิ่งอื่นๆตามธรรมชาติ เช่นมองดูดิน (ปฐวีกสิณ) แล้วบริกรรมปฐวีๆๆ(ดินๆๆ) หรือ ดูแม่น้า ไฟ ลม สีต่างๆ แสงสว่าง อากาศ แล้วบริกรรมตามคาบริกรรมตรงกับสิ่งที่เราเพ่งนั้นๆ อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ก็จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ กสิณยังเป็นกรรมฐานที่ทาให้ถึงฌานเร็วกว่ากรรมฐานอื่นๆ เพราะการเพ่งกสิณนั้น อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต เกิดขึ้นง่าย ได้ฌานเร็ว โดยเฉพาะกสิณที่เกี่ยวกับสีทั้ง ๔ แล้วจะยิ่งเกิดอุคคห-นิมิต ปฏิภาคนิมิต และฌานได้เร็วยิ่งกว่ามหาภูตกสิณ พระพุทธองค์ทรงยกย่องโอทาตกสิณ (กสิณสีขาว) ว่าเลิศกว่ากสิณสีอื่นๆ เพราะทาให้จิตใจของผู้ที่เจริญกสิณนั้นผ่องใส ไม่เซื่องซึมง่วงเหงา ทั้งยังทาให้ผู้เจริญกสิณนี้ทราบเหตุการณ์ต่างๆคล้ายผู้ทรงอภิญญาทั้งที่ยังไม่ได้อุคคหนิมิต อานุภาพแห่งกสิณ ๑๐ ท้าให้เกิดฤทธิ์ต่างๆ

๑. ปฐวีกสิณ มีอานุภาพ คือ

๑.๑ เนรมิตคน ๆ เดียวให้กลายเป็นหลายร้อยหลายพันคน ๑.๒ เนรมิตตนเองให้เป็นพญานาค พญาครุฑ ๑.๓ ทาท้องอากาศ แม่น้า มหาสมุทร ให้เป็นพื้นแผ่นดิน ให้ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ ๑.๔ เนรมิต วิมาน วัดวาอาราม บ้านเรือน วัตถุสิ่งของต่างๆ ตามความประสงค์ของตน ๑.๕ ทาสิ่งที่เบาให้หนัก ๑.๖ ทาให้วัตถุติดแน่นตั้งมั่นอยู่ มิให้โยกย้ายเคลื่อนที่ไป ๑.๗ ได้ อภิภายตนะ คือ สามารถข่มทาลายธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อจิตใจ และสามารถข่มอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา อยากได้ อยากพบ) และอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่อยากได้ ไม่อยากพบ) มิให้มาปรากฏภายในจิตใจของตนได้

๒. อาโปกสิณ มีอานุภาพ คือ

๒.๑ แทรกแผ่นดินไปแล้ว ผุดขึ้นมาได้ ๒.๒ ทาให้ฝนตก ๒.๓ ทาพื้นแผ่นดินให้เป็นแม่น้า และมหาสมุทร ๒.๔ ทาน้าธรรมดาให้เป็น น้ามัน น้านม น้าผึ้ง ๒.๕ ทาให้กระแสน้าพุ่งออกมาจากร่างกาย ๒.๖ ทาให้ภูเขา ปราสาท วิมาน สะเทือนหวั่นไหว

๓. เตโชกสิณ มีอานุภาพ คือ

๓.๑ เกิดควันกาบังตน และทาให้เปลวไฟโชติช่วงขึ้นจากร่างกาย หรือวัตถุอื่นๆ ๓.๒ ทาให้ฝนถ่านเพลิงตกลงมา ๓.๓ ใช้ไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของตนดับไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของผู้อื่นให้ดับลง ๓.๔ สามารถเผาผลาญบ้านเมือง วัตถุสิ่งของต่างๆได้

๓.๕ ทาให้แสงสว่างเกิดขึ้น เพื่อจะได้แลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา ๓.๖ ทาให้เตโชธาตุ หรือไฟลุกไหม้สรีระในสมัยที่ปรินิพพาน ๓.๗ ทาให้ความมืดหายไป

๔. วาโยกสิณ มีอานุภาพ คือ

๔.๑ เหาะไปได้ ๔.๒ สามารถไปถึงสถานที่ที่ตนต้องการจะไปได้อย่างรวดเร็ว ๔.๓ ทาสิ่งที่หนักให้เบา ๔.๔ ทาให้พายุใหญ่เกิดขึ้น

๕. นีลกสิณ มีอานุภาพ คือ

๕.๑ ทาวัตถุสิ่งของให้เป็นสีเขียว ๕.๒ ทาเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นมรกต ๕.๓ ทาความมืดให้เกิดขึ้นไม่ว่าเวลาใด ๕.๔ ได้อภิภายตนะ ๕.๕ ได้สุภวิโมกข์ คือ บรรลุ มรรค ผล นิพพานโดยง่ายและสะดวกสบาย

๖. ปีตกสิณ มีอานุภาพ คือ

๑.๑ ทาให้วัตถุสิ่งของเป็นสีเหลือง

๑.๑ ทาเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นทอง

๑.๑ ได้อภิภายตนะ

๑.๑ ได้สุภวิโมกข์

๗. โลหิตกสิณ มีอานุภาพ คือ

๑.๑ ทาให้วัตถุสิ่งของเป็นสีแดง

๑.๑ ทาเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นแก้วทับทิม

๑.๑ ได้อภิภายตนะ

๑.๑ ได้สุภวิโมกข์

๘. โอทาตกสิณ มีอานุภาพ คือ

๑.๑ ทาให้วัตถุสิ่งของเป็นสีขาว

๑.๑ ทาเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นเงิน

๑.๑ ทาให้หายจากความง่วงเหงาหาวนอน

๑.๑ ทาให้ความมืดหายไป แล้วทาแสงสว่างให้เกิดขึ้น เพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา

๙. อาโลกกสิณ มีอานุภาพ คือ

๑.๑ ทาให้วัตถุสิ่งของเกิดแสงสว่าง หรือทาให้ร่างกายเกิดแสงสว่างเป็นรัศมีพวยพุ่งขึ้นมา

๑.๑ เนรมิตเป็นรูปต่างๆประกอบด้วยแสงสว่างอย่างรุ่งโรจน์

๑.๑ ทาให้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน

๑.๑ ทาความมืดให้หายไป ทาความสว่างให้เกิดขึ้น เพื่อเห็นรูปด้วยทิพพจักขุอภิญญา

๑๐. อากาสกสิณ มีอานุภาพ คือ

๑.๑ เปิดเผย สิ่งที่หลบซ่อนลี้ลับให้ปรากฏให้เห็นได้

๑.๑ ทาให้มีอากาศเป็นอุโมงค์ช่องว่างเกิดขึ้นภายในพื้นแผ่นดิน ภูเขา มหาสมุทร แล้วยืน เดิน นั่ง นอนได้

๑.๑ เข้าออกทางฝา หรือกาแพงได้

กสิณทั้ง ๑๐ อย่าง มีอานุภาพท้าให้เกิดฤทธิ์ที่เหมือนๆ กัน คือ

ก. สามารถกาบังสิ่งต่างๆไม่ให้ผู้ใดแลเห็น

ข. ทาวัตถุสิ่งของเล็กให้กลับใหญ่ หรือที่ใหญ่ให้กลับเล็ก

ค. ทาระยะทางใกล้ให้ไกล และย่นระยะทางที่ไกลให้กลับเป็นใกล้

ง. กสิณ เมื่อเจริญแล้วทาให้สาเร็จรูปฌานและอรูปฌานได้



เอาไว้แค่นี้ก่อนครับเดี๋ยววันต่อไปจะเอาวิธีฝึกอสุภะกรรมฐาน 10

มาแสดงต่อไปเป็นธรรมทานอย่าพลาดนะครับเพราะเป็นวิธีการปฏิบัติผู้ใดต้องการวิธีฝึกสมาธิสามาถามได้ตลอดครับ

ใครจะก็อปปี้เอาไปฝึกปฏิบัติปฏิบัติก็ได้ครับ



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทานรักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา คุณแม่ละผมนั้ได้ปฏิบัติธรรมเป็นเวลานาน

ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ มีการถวายพระพุทธรูป 1 องค์ หนังสือธรรมะ และซีดีธรรมะหลายแผ่นเป็นธรรมทาน

ไถ่ชีวิตโคกระบือ และวันนี้เพื่อนบ้านได้บวชพระ 2 รูปมี

และวันนี้คนทั้งหมู่บ้านถวายอาหารพระทั้ง วัดเป็นเวลา 2 วัน

ที่ผ่านมาได้สอนหนังสือแก่เด็ก และได้ให้อาหารเป็นทาน

และทุกวันได้ให้อาหารเป็นานแก่สัตว์ทุกวัน รักษาอาการป่วยของแม่ทุกวัน ศึกษาธรรม ฟังธรรมทุกวัน ศึกษษการรักษาโรคทุกวัน

ช่วยงานพ่อแม่ทุกวัน สวดมนต์ทุกวัน เจริญอาโปกสินทุกวัน

จนเกิดนิมิต เจริญพุทธานุสติ 8 อย่าง เจริญวิปัสสนา ทุกวัน

กรวดน้ำอุทิศบุญ และสร้างบารมีให้ครบ 10 อย่าง

ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญซื้อที่ดินถวายหลวงปู่มั่น โทร 024122752หรือ 0898275013



ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้