Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

อาหารชรูป

อังคาร 30 มี.ค. 2010 9:25 am

อุปสมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยระลึกถึงคุณต่างๆ ของพระนิพพาน เช่น นิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ดับกิเลส ดับราคะ โทสะ โมหะ ดับกองทุกข์ คือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความโศกเศร้าต่างๆ นิพพานทาลายวัฏฏสงสาร ถอนความอาลัยรักใคร่พอใจในเบญจกามคุณ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิตที่มีคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิธีเจริญอุปสมานุสสติ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในคุณศัพท์ที่พรรณนาถึงคุณของพระนิพพาน มี ๒๙ ประการให้ดีเสียก่อน จึงจะทาการเจริญอุปสมานุสสตินี้ได้ คุณศัพท์ของพระนิพพานมี ๒๙ ประการ คือ
๑. มทนิมมทโน พระนิพพาน เป็นธรรมที่ย่ายีความมัวเมาต่างๆ คือ ความมัวเมาในรูป
รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ และบัญญัติต่างๆ
๒. ปิปาสวินโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์
๓. อาลยสมุคฆาโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์
๔. วัฏฏูปัจเฉโท พระนิพพาน เป็นธรรมตัดเสียซึ่งการเวียนไปในวัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด
๕. ตัณหักขโย พระนิพพาน เป็นธรรมที่สิ้นตัณหา
๖. วิราโค พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากราคะ
๗. นิโรโธ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ดับตัณหา
๘. ธุวัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ตั้งมั่นอยู่เสมอ
๙. อชรัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความแก่
๑๐. นิปปปัญจัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากปปัญจธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ที่ทาให้วัฏฏสงสารกว้างขวาง
๑๑. สัจจัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่มีความจริงแน่นอน
๑๒. ปารัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ข้ามพ้นฝั่งวัฏฏทุกข์
๑๓. สุทุททสัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ผู้มีปัญญาน้อยย่อมเห็นได้ยาก
๑๔. สิวัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่สบาย ปราศจากกิเลส
๑๕. อมตัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีความตาย
๑๖. เขมัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ปราศจากภัย
๑๗. อัพภุตัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่มหัศจรรย์อย่างยิ่ง
๑๘. อณีติกัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่มีภัยอย่างร้ายแรง ที่นาความเสียหายมาสู่
๑๙. ตาณัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ช่วยรักษาสัตว์ ไม่ให้ตกอยู่ในวัฏฏสงสาร
๒๐. เลณัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่หลบภัยต่างๆ
๒๑. ทีปัง พระนิพพาน เป็นเกาะที่พ้นจากการท่วมทับของโอฆะทั้ง ๔
๒๒. วิสุทธัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่บริสุทธิ์จากกิเลส
๒๓. วรัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่สัปปุรุษทั้งหลายพึงปรารถนา
๒๔. นิปุณัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุขุมละเอียด
๒๕. อสังขตัง พระนิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔
๒๖. โมกโข พระนิพพาน เป็นธรรมที่พ้นจากกิเลส
๒๗. เสฏโฐ พระนิพพาน เป็นธรรมที่ควรสรรเสริญโดยพิเศษ
๒๘. อนุตตโร พระนิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐยิ่งหาที่เปรียบมิได้
๒๙. โลกัสสันโต พระนิพพาน เป็นธรรมที่สุดสิ้นแห่งโลกทั้ง ๓
เมื่อรู้ถึงคุณของพระนิพพานด้วยใจจริงแล้ว ต่อไปก็เริ่มต้นภาวนา ระลึกเป็นภาษาบาลี ดังนี้ :- ยาวตา ภิกขเว ธัมมา สังขตา วา อสังขตา วา วิราโค เตสัง ธัมมานัง อัคคมักขายติ, ยทิทัง มทนิมมทโน , ปิปาสวินโย, อาลยสมุคฆาโต , วัฏฏูปจฺเฉโท , ตัณหักขโย , วิราโค, นิโรโธ , นิพพานัง ฯ
ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่ถูกปรุงแต่งและไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ที่ชื่อว่าสังขตะ และอสังขตะ มีอยู่ ธรรมใดเป็นสภาพที่ย่ายีความมัวเมาต่างๆ บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์ ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์ ตัดเสียซึ่งการเวียนไปในวัฏฏะทั้ง ๓ ให้ขาด ที่สิ้นไปแห่งตัณหา ปราศจากราคะ ที่ดับแห่งตัณหา และพ้นจากตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดนี้ ตถาคตพึงกล่าวว่าเป็นธรรมอันประเสริฐอย่างยอดยิ่ง ให้พิจารณาอย่างนี้อยู่เนืองๆ การปฏิบัติจะระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยตามที่ได้แปลไว้นั้นก็ได้ หรือจะระลึกในคุณพระนิพพาน ๒๙ ประการ มี มทนิมมทโน เป็นต้น ก็ได้ ความสาคัญอยู่ที่ผู้ระลึกจะต้องรู้ถึงความหมายของศัพท์นั้นๆ ไปด้วย การเจริญอุปสมานุสสติ มีคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์นั้น พระนิพพานเป็นปรมัตถธรรม โดยเฉพาะที่นอกจาก จิต เจตสิก รูป ฉะนั้น จึงไม่เกี่ยวข้องกับสังขตธรรมทั้งปวงที่เป็นรูปและนาม เมื่อว่าโดยธรรมที่เป็นภายในและภายนอกแล้ว พระนิพพานเป็นธรรมภายนอกอย่างเดียว ฉะนั้น พระนิพพาน นี้จึงมิใช่เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ภายในร่างกายของสัตว์โดยความเป็นแก่นสาร ผู้ที่จะเจริญอนุสสติ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น จนถึงอุปสมานุสสติ ให้สมบูรณ์อย่างถี่ถ้วนได้นั้น คงทาได้แต่พระอริยบุคคล สาหรับปุถุชนนั้นจะเจริญให้ได้ดีอย่างสมบูรณ์นั้นยังทาไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นผู้ที่มีสุตมยปัญญาอันสาเร็จมาจากการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างดีแล้ว ก็สามารถระลึกไปในพระคุณนั้นๆ ได้ด้วยดี จิตใจก็จะบังเกิดความเลื่อมใสในอารมณ์กรรมฐานนี้ได้เช่นกัน
อานิสงส์ของอุปสมานุสสติ ๑. หลับเป็นสุข ๒. ตื่นเป็นสุข ๓. มีความสงบ ๔. มีหิริโอตตัปปะ ๕. มีความเลื่อมใส ๖. เป็นที่นับถือของคนทั่วไป ๗. อยู่เป็นสุข ๘. มีกิริยาอ่อนน้อม ๙. จิตหยั่งในพระนิพพานเป็นคุณ
๑๐. สามารถทาความปรารถนาให้สาเร็จ หากไม่ได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ก็จะไปสู่สุคติ จบอุปสมานุสสติ

มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตาย เป็นอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหา-กุศลจิต ที่มีการระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความตาย หรือมรณะ มี ๔ ชนิด คือ
๑. สมุทเฉทมรณะ คือ การปรินิพพานของพระอรหันต์ทั้งหลาย ตายครั้ง เดียวเป็นการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ๒. ขณิกมรณะ คือ การดับของสังขาร รูปนามทุกขณะ คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (อุปาทขณะ ฐีติขณะ และภังคขณะ) เป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุปัจจัยก็ยังเกิดดับสืบต่อไป ๓. สมมุติมรณะ คือ ความตายที่ชาวโลกสมมติกัน เช่น นาฬิกาตาย รถตาย ต้นไม้ตาย เป็นต้น ๔. ชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ(อ่านว่า ชี-วิ-ติน-ทะ-ริ-ยุ-ปัจ-เฉ-ทะ-มอ-ระ-นะ) ความตายในชาติหนึ่ง เมื่อชีวิต รูปนาม ดับสิ้นลงไป แบ่งความตายโดยกาลเวลาเป็นเกณฑ์ มี ๒ อย่าง คือ ๑. อกาลมรณะ ตายก่อนเวลา คือ ตายในเวลาที่ไม่ควรจะตาย เป็นการตัดช่วงเจริญวัยของชีวิต เพราะมีกรรมมาตัดรอนให้ตายแต่เยาว์วัยหรือตายเมื่อยังหนุ่มสาว เช่น เจ็บป่วยตาย ถูกฆ่าตาย เป็นต้น ๒. กาลมรณะ ตายไปตามกาลเวลา คือตายเพราะสิ้นอายุ ตายเพราะสิ้นกรรม ทั้งกาลมรณะและอกาลมรณะ ย่อมนามาซึ่งการนึกถึงการตายได้ ดังนี้ - นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยทุกข์กังวล เช่น คิดถึงการจะสูญเสียบุตรอันเป็นที่รัก - นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยความกลัว เช่น ระลึกถึงความตายอย่างกะทันหันของบุตร - นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยอุเบกขา เช่น สัปเหร่อที่เคยชินกับความตายจนวางเฉยไม่ รู้สึกสลดหรือสังเวชใจ - นึกถึงความตาย ที่เนื่องด้วยปัญญา เช่น เมื่อระลึกถึงความตายแล้วเห็นว่าเป็นธรรมชาติ ของชีวิต ทาให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด วิธีการเจริญมรณานุสสติ ในการระลึกถึงความตาย ๔ ประการ ความตายที่ใช้การเจริญมรณานุสสติ มีเฉพาะชีวิตินทริยุปัจเฉทมรณะ เท่านั้น ส่วนสมุทเฉทมรณะ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นเราจึงไม่สามารถเห็นได้ทั่วไป ขณิกมรณะ มีการเกิดดับเป็นไปทุกขณะ เรายังไม่สามารถเห็นความจริงของการเกิดดับนั้น สมมุติมรณะ ก็ไม่ทาให้เราเกิดความสังเวชใจ และการระลึกถึงความตายต้องระลึกถึงความตายที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัญญาเท่านั้น เพราะถ้าระลึกถึงความตายด้วยความทุกข์กังวล ความกลัว หรือเห็นความตายแล้ววางเฉย ไม่ปลงธรรมสังเวช อย่างนี้ไม่สามารถกาจัดทุกข์ได้

การเจริญมรณานุสสติ ไม่ใช่พร่าบริกรรมท่องบ่นว่า “ตายๆๆๆ” โดยไม่ได้กาหนดพิจารณา แต่ต้องพิจารณาว่า ความตายเป็นสิ่งที่ต้องประสบอย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวเราก็จะต้องตาย พระมหาจักรพรรดิผู้ทรงอานาจ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ พระโมคคัลลาน์เถระผู้ทรงฤทธิ์ เป็นต้น ก็ยังไม่มีใครรอดพ้นความตายไปได้ ชีวิตนั้นไม่มีนิมิตหมายว่าจะตายเมื่อไร เป็นโรคอะไรตาย ตายเวลาใด สถานที่ใด ไม่มีใครรู้ได้ คนที่จะอายุยืนถึง ๑๐๐ ปีมีน้อยนัก จึงไม่ควรประมาทมัวเมาในชีวิต ควรขวนขวายหาทางดับทุกข์ให้สาเร็จพระนิพพาน เหมือนคนที่ไฟไหม้ศีรษะต้องหาทางดับไฟให้ได้โดยเร็ว พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญผู้ที่เจริญมรณานุสสติ ทุกลมหายใจว่าเป็นผู้ไม่ประมาทจะเป็นผู้สิ้นกิเลสอาสวะได้เร็ว การเจริญมรณานุสสติ ไม่สามารถให้ได้ฌาน ได้แต่เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น มรณานุสสติช่วยเตือนสติไม่ให้ประมาทในชีวิต ให้เร่งสร้างความดี เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลอื่นๆ ต่อไป แต่มรณานุสสติก็เป็นสิ่งทวนกระแสความรู้สึกของคนทั่วไป เพราะคนกลัวความตาย ไม่ชอบการพลัดพราก แม้เพียงเอ่ยถึงความตาย ก็รู้สึกพรั่นพรึง เห็นเป็นลางร้าย จึงเป็นกรรมฐานที่เจริญได้ยาก อานิสงส์ของผู้ที่เจริญมรณานุสสติ คือ
๑. เป็นผู้ขวนขวายในกุศลธรรม สนใจ ใฝ่ใจในธรรมชั้นสูง ๒. เป็นผู้ไม่ชอบความชั่ว หลีกเลี่ยงความชั่ว ๓. ไม่สะสมสิ่งของที่เกินความจาเป็น ๔. คลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ๕. ละความไยดีในชีวิตเสียได้ ๖. อยู่เป็นสุข ๗. ไม่กลัวตาย ๘. ไม่หลงสติในเวลาตาย ๙. หากยังไม่สาเร็จพระนิพพานก็จะไปสู่สุคติ จบมรณานุสสติ

กายคตาสติ หมายความว่า การระลึกถึงลักษณะอาการของกายส่วนต่างๆ ๓๒ ประการ หรือเรียกว่าโกฏฐาส ๓๒ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีโกฏฐาส เป็นอารมณ์ คาว่า กาย แปลว่า กอง หมายถึงกองของสิ่งประกอบ ๓๒ อย่าง มีดังนี้ ๑. ผม (เกสา) ๑๖. ไส้ใหญ่ (อันตัง) ๒. ขน (โลมา) ๑๗. ไส้น้อย (อันตคุณัง) ๓. เล็บ (นขา) ๑๘. อาหารใหม่ (อุทริยัง) ๔. ฟัน (ทันตา) ๑๙. อาหารเก่า (กรีสัง) ๕. หนัง (ตโจ) ๒๐. สมอง (มัตถเก มัตถลุงคัง)
๖. เนื้อ (มังสัง) ๒๑. น้าดี (ปิตตัง) ๗. เอ็น (นหารู) ๒๒. น้าเสลด (เสมหัง) ๘. กระดูก (อัฐิ) ๒๓. น้าหนอง (ปุพโพ) ๙. เยื่อในกระดูก (อัฐิมิญชัง) ๒๔. น้าเลือด (โลหิตัง)
๑๐. ไต (วักกัง) ๒๕. น้าเหงื่อ (เสโท) ๑๑. หัวใจ (หทยัง) ๒๖. น้ามันข้น (เมโท)
๑๒. ตับ (ยกนัง) ๒๗. น้าตา (อัสสุ) ๑๓. พังผืด (กิโลมกัง) ๒๘. น้ามันเหลว (วสา) ๑๔. ม้าม (ปิหกัง) ๒๙. น้าลาย (เขโฬ) ๑๕. ปอด (ปัปผาสัง) ๓๐. น้ามูก (สิงฆานิกา)
๓๑. น้าไขข้อ (ลสิกา) ๓๒. น้ามูตร (มุตตัง)
หมายเหตุ ข้อ ๒๐ มัตถลุงคัง(สมอง) นี้เดิมทีนั้นในพุทธภาษิตไม่มี เพราะพระพุทธองค์ทรงรวบรวมบท (มัตถลุงคัง)สมอง ไว้ในบท อัฏฐิมิญชัง(เยื่อในกระดูก) แล้ว ต่อมาปฐมสังคีติการกาจารย์ทั้งหลายได้ แยกบท มัตถลุงคัง จากบท อัฏฐิมิญชัง มาโดยเฉพาะ โดยนามาต่อจากบท กรีสัง(อาหารเก่า) เพื่อจะได้ครบจานวนปถวีฐาตุ ๒๐ การพิจารณาอาการ ๓๒ ประการนี้ ส่งผลสาเร็จได้ ๓ ทาง คือ ๑. บางบุคคลเจริญกายคตาสติแล้ว พิจารณาสังขารร่างกายโดยความเป็นปฎิกูล ปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นโดยเป็นปฏิกูลนี้ สามารถบรรลุได้ถึงปฐมฌานเท่านั้น อย่างนี้จัดเป็น สมถกรรมฐาน

๒. บางบุคคลเจริญกายคตาสติแล้ว ปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้น เป็นปฏิภาคนิมิตชนิดวัณณกสิณ เมื่อเจริญแล้วสามารถบรรลุไปถึงปัญจมฌานได้ อย่างนี้จัดเป็น สมถกรรมฐาน ๓. บางบุคคลเจริญกายคตาสติแล้ว ให้เห็นความเป็นธาตุ สมาธิก็ได้เพียงอุปจารสมาธิ หรือ อุปจารภาวนาเท่านั้น ถ้าท่านผู้เจริญกายคตาสติหาเหตุปัจจัยของความเป็นธาตุนั้น ก็จะสามารถบรรลุวิปัสสนาได้ เช่น พิจารณาธาตุใดที่แข็ง เหล่านั้นเป็นธาตุดิน สิ่งที่ไหลเอิบอาบเกาะกุม เหล่านั้นเป็นธาตุน้้า สิ่งใดคือความเย็นความร้อน เหล่านั้นเป็นธาตุไฟ สิ่งใดมีการพัดไหวไปมา เคลื่อนไปได้ เช่นลมหายใจเข้าออก เหล่านั้นเป็นธาตุลม อย่างนี้จัดเป็น วิปัสสนากรรมฐาน วิธีการเจริญกายคตาสติ ๑. การเจริญกายคตาสติ สาหรับบุคคลที่มีปัญญาระดับกลาง ต้องใช้เวลาในการเจริญ ๕ เดือน กับอีก ๑๕ วัน บุคคลมี ๓ จาพวก คือ (๑) ติกขบุคคล ใช้เวลาน้อยกว่าที่กาหนด (๒) มัชฌิมบุคคล ใช้เวลา ๕ เดือน ๑๕ วัน (๓) มันทบุคคล ใช้เวลามากกว่านั้น ๒. ผู้ที่จะเจริญกายคตาสติ ก่อนลงมือปฏิบัติต้องรู้กิจเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติให้ดีเสียก่อน กิจเบื้องต้นมีอยู่ ๒ ประการ คือ
๒.๑ อุคคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๗ อย่าง คือ ๒.๑.๑ การพิจารณาโดยการท่องด้วยวาจา ๒.๑.๒ การพิจารณาทางใจ ๒.๑.๓ การพิจารณาโดยความเป็นวรรณะ คือ สีดา ขาว หรือแดง ๒.๑.๔ การพิจารณาโดยความเป็นรูปร่างสัณฐาน ๒.๑.๕ การพิจารณาโดยความเป็นที่เกิด (คือ เกิดอยู่ส่วนบนหรือส่วนล่างของร่างกาย) ๒.๑.๖ การพิจารณาโดยที่ตั้ง ( คือ ตั้งอยู่ในร่างกายส่วนใด) ๒.๑.๗ การพิจารณาโดยกาหนดขอบเขต (เช่น เส้นผม กาหนดเขตโดยผมนั้นหยั่งลงในศีรษะประมาณปลายเม็ดข้าวเปลือก และในรูที่เส้นผมหยั่งลงนั้น ไม่มีผม ๒ เส้นอยู่ด้วยกัน กาหนดเขตปลายผมนั้น สุดความยาวของเส้นผม ๒.๒ มนสิการโกสัลละ ความฉลาดในการพิจารณา ๑๐ อย่าง คือ ๒.๒.๑ การพิจารณาไปตามลาดับ (ไม่กระโดดข้ามหมวด) ๒.๒.๒ การพิจารณาโดยไม่รีบร้อนนัก ๒.๒.๓ การพิจารณาโดยไม่เฉื่อยช้านัก ๒.๒.๔ การพิจารณาโดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น ๒.๒.๕ การพิจารณาโดยก้าวล่วงบัญญัติ

๒.๒.๖ การพิจารณาโดยทิ้งอาการ ๓๒ ที่ไม่ปรากฏโดยสี สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขตตามลาดับ ๒.๒.๗ การพิจารณาในอาการ ๓๒ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เข้าถึงอัปปนา ๒.๒.๘ การพิจารณาโดย อธิจิตตสูตร ๒.๒.๙ การพิจารณาโดย สีติภาวสูตร ๒.๒.๑๐ การพิจารณาโดย โพชฌังคโกสัลลสูตร อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติในอุคคหโกสัลละ ๗ ๒.๑ อุคคหโกสัลละ ความฉลาดในการศึกษา ๗ อย่าง คือ ๒.๑.๑ การท่องด้วยวาจา และ ๒.๑.๒ การพิจารณาทางใจ ผู้ปฏิบัติต้องเริ่มต้นด้วยการท่องด้วยวาจาทุกคนไม่มีการยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไป หรือบุคคลที่ทรงพระไตรปิฎกก็ตาม เพราะว่าการท่องด้วยวาจานั้นเป็นเหตุสาคัญที่จะให้ได้รับความสะดวก สบายในการพิจารณาด้วยใจ การเจริญกายคตาสตินี้ ผู้เจริญจะต้องบริกรรมด้วยการท่องในหมวดหนึ่งๆ โดยความเป็นอนุโลม ๕ วัน ปฏิโลม ๕ วัน และอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน

การเจริญด้วยการท่องด้วยวาจาโดยใช้คาบริกรรมเป็นภาษาบาลี หรือภาษาไทยก็ได้ ท่องไปจนครบถ้วนถูกต้องตามหลัก(ทั้ง ๑๑ ลาดับ)แล้ว ไม่หมวดใดก็หมวดหนึ่งจะต้องปรากฏชัดเจนมากทางใจ เมื่อหมวดใดหมวดหนึ่งปรากฏในเวลานั้น สัญญาความจาไว้ว่าเป็นสัตว์ เป็นชีวิต เป็นบุคคล ก็จะไม่เกิด ขึ้น (แต่ถ้าไม่ปรากฏ สัญญาความจาว่าเป็นสัตว์ เป็นชีวิต เป็นบุคคลก็ยังมีอยู่)
การท่องด้วยวาจา

ลาดับที่ ๑ หมวดที่ ๑ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๑ ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๑ ว่า หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๑ ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๑ = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๒ หมวดที่ ๒ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๒ ว่า เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๒ ว่า ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๒ ว่า เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๒ = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๓ คือ หมวดรวมกันเป็น ๑๐ อาการ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม

รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๔ หมวดที่ ๓ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๓ ว่า หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๓ ว่า ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๓ ว่า หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๓ = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๕ คือ หมวดรวมกันเป็น ๑๕ อาการ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๖ หมวดที่ ๔ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๔ ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๔ ว่า สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๔ ว่า ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๔ = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๗ หมวดรวมกันเป็น ๒๐ อาการ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกันว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า
สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด
ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๘ หมวดที่ ๕ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๕ ว่า น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๕ ว่า น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๕ ว่า น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๕ = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๙ หมวดรวมกันเป็น ๒๖ อาการ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , นามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ นาดี มันสมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ

หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม รวมเวลาการท่องหมวดรวม = ๑๕ วัน

ลาดับที่ ๑๐ หมวดที่ ๖ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๖ ว่า น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๖ ว่า น้้ามูตร น้้าไขข้อ น้้ามูก น้้าลาย น้้ามันเหลว น้้าตา - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดที่ ๖ ว่า น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร , น้้ามูตร น้้าไขข้อ น้้ามูก น้้าลาย น้้ามันเหลว น้้าตา รวมเวลาการท่องหมวดที่ ๖ = ๑๕ วัน
หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม รวมเวลาการท่องหมวดรวม = ๑๕ วัน
ลาดับที่ ๑๑ หมวดรวมกันเป็น ๓๒ อาการ - ท่องโดยอนุโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ไส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร - ท่องโดยปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า น้้ามูตร น้้าไขข้อ น้้ามูก น้้าลาย น้้ามันเหลว น้้าตา , น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี , สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ , ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ , ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ , หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม , - ท่องโดยอนุโลมปฏิโลม ๕ วัน ในหมวดรวมกัน ว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง , เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต , หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด , ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง , น้้าดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ น้้ามันข้น , น้้าตา น้้ามันเหลว น้้าลาย น้้ามูก น้้าไขข้อ น้้ามูตร, นามูตร นาไขข้อ นามูก นาลาย นามันเหลว นาตา, น้้ามันข้น เหงื่อ เลือด หนอง เสมหะ น้้าดี สมอง อาหารเก่า อาหารใหม่ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ ปอด ม้าม พังผืด ตับ หัวใจ ไต เยื่อในกระดูก กระดูก เอ็น เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม รวมเวลาการท่องหมวดรวมกัน = ๑๕ วัน


ฉะนั นต้องท่องด้วยวาจารวม ๑๑ ลาดับ = ๑๖๕ วัน หรือรวมเป็น ๕ เดือน ๑๕ วัน
๒.๑.๒ การพิจารณาทางใจ ตอนท่องด้วยวาจา เช่น การท่องในหมวดแรกว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง การเจริญท่องบ่นครั้งแรกในหมวดหนึ่งๆนั้น ผู้เจริญจะต้องท่องอย่างเดียวว่า “ผม ขน เล็บ ฟัน หนังๆๆ” ไม่ต้องพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นปฏิกูล เป็นธาตุ แต่อย่างใดทั งสิ น ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้มีความเข้าใจผิดเกิดขึ้น หมายความว่า ถ้าผู้ปฏิบัติท่องบ่นและพร้อมกับพิจารณาโดยความเป็นสีแล้ว ขณะที่ทาการท่องบ่นพิจารณาอยู่นั้นหากวัณณนิมิต คือ สีปรากฏขึ้น ผู้เจริญก็อาจจะเข้าใจเพราะนิมิตที่เกิดขึ้นตรงกับการพิจารณา แต่ถ้านิมิตที่เกิด ขึ้นกลับเป็นปฏิกูลนิมิต คือ ความเป็นปฏิกูล หรือธาตุนิมิต คือ ความเป็นธาตุ(ปถวี อาโป เตโช) เช่นนี้ ผู้เจริญก็จะเข้าใจผิดไปว่า การเจริญนี้ผิดไปเสียแล้ว เพราะนิมิตที่ปรากฏนั้นไม่ตรงกับการพิจารณา ถ้าผู้ปฏิบัติท่องบ่นด้วยวาจาอย่างเดียว แล้วนิมิตที่เกิดจะเป็นวัณณนิมิตก็ดี ปฏิกูลนิมิตก็ดี ธาตุนิมิตก็ดี ผู้เจริญก็จะไม่เข้าใจผิด ท่องด้วยวาจาแล้ววัณณนิมิตปรากฏ หรือ ปฏิกูลนิมิตปรากฏ หรือ ธาตุนิมิตปรากฏ ถ้าวัณณนิมิตปรากฏ ก็ให้เข้าใจว่า เพราะผู้ปฏิบัติมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญวัณณกสิณมาแต่ภพก่อนๆ วัณณนิมิตจึงปรากฏ ก็ให้รู้ไว้ว่าวัณณกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสาหรับผู้นั้น ดังนั้น ควรท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นสีต่อไป หรือปฏิกูลนิมิตปรากฏ ธาตุนิมิตปรากฏ ก็เป็นเพราะผู้ปฏิบัติมีบุญบารมีที่เกี่ยวกับการเคยเจริญปฏิกูล หรือ ธาตุมาแต่ภพก่อนๆ ก็ให้รู้ว่าปฏิกูลกรรมฐาน หรือ ธาตุกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เหมาะสมสาหรับผู้นั้น ดังนั้น ควรท่องบ่นพิจารณาต่อไป การที่วัณณนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดมีสีอยู่ ขณะที่กาลังท่องบ่นว่า เกสาๆ หรือ ผมๆ อยู่นั้น สีดา สีขาว สีแดง อันเป็นวัณณนิมิตก็จะปรากฏได้ (ช่วงตอนนี้ต้องพิจารณาโดยความเป็นสีในทางใจด้วย)เพราะผมมีหลายสี ส่วน ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น วัณณนิมิตก็ปรากฏได้เช่นเดียวกัน ผลจากการเพ่งวัณณนิมิต คือให้ได้รูปฌาน ๕ เมื่อได้รูปฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌาน ๕ นั้นแล้ว ก็อาศัยรูปฌานนั้นๆ เป็นบาทในการเจริญวิปัสสนาต่อไปจนสาเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล ได้ การที่ปฏิกูลนิมิตปรากฏ ก็เพราะโกฏฐาสทั้งหมดเป็นปฏิกูลอยู่แล้ว(ช่วงตอนนี้ต้องพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูลทางใจด้วย) ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นปฏิกูล คือให้ได้ถึงรูปปฐมฌาน จากนั้นก็อาศัยปฐมฌานสมาธิเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไปจนกระทั่งสาเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล ได้ การที่ธาตุนิมิตปรากฏก็เพราะโกฏฐาส ๒๐ มี ผม เป็นต้น จนถึง สมอง เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปถวีธาตุ โกฏฐาสที่เหลือ ๑๒ มี น้าดี เป็นต้น จนถึง น้ามูตร จัดเป็นอาโปธาตุ (ช่วงตอนนี้ต้องพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ในทางใจด้วย) ผลที่ได้รับจากการท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็นธาตุต่อไปนั้นได้เพียงอุปจารสมาธิไม่ถึงรูปฌาน จากนั้นก็อาศัยอุปจารสมาธินี้เป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อไป จนสาเร็จอรหัตตมรรค อรหัตตผล ได้

๒.๑.๓ – ๒.๑.๗ การพิจารณาโดยความเป็นสี รูปร่างสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และกาหนดขอบเขต การพิจารณาโดยความเป็นสี รูปร่างสัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง และขอบเขต สามารถพิจารณาในอาการหนึ่งไปพร้อมกัน ดังนี้
๑. ผม นั้นมีสีดา แดง ขาว มีสัณฐานยาวกลม เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งหุ้มกะโหลกศีรษะ สองข้างจดหมวกหู ข้างหน้าจดหน้าผาก ข้างหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของผมเบื้องต่าเส้นหนึ่งๆ หยั่งลงในหนังหุ้มศีรษะเข้าไปประมาณเท่ากับปลายข้าวเปลือก เบื้องบนมีขอบเขตแค่อากาศ ส่วนกว้างกาหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นติดกัน ๒ เส้นไม่มี ผมก็เป็นผม ไม่ใช่ขน ไม่ใช่เล็บ มิใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๒. ขน สีดาบ้าง เหลืองบ้าง มีสัณฐานดังรากตาล ปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั่วร่างกาย ขึ้นอยู่ในหนังทั่วตัว เว้นที่หนังศีรษะ และฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขอบเขตเบื้องต่ากาหนดด้วยรากของตนที่แยงเข้าในหนังหุ้มร่างกายประมาณเท่าไข่เหา เบื้องบนกาหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกาหนดด้วยส่วนของกันและกัน ขึ้นอยู่เส้นเดียว ไม่มีติดกัน ๒ เส้น มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย ขนก็เป็นขนไม่ใช่ ผม เล็บ ฟัน ไม่ใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๓. เล็บ มีสีขาว มีสัณฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้ง ๒ ส่วน คือ เล็บมือเกิดอยู่ส่วนบน เล็บเท้าเกิดอยู่ส่วนล่าง ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบเขตกาหนดด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้ง ๓ ด้าน ภายในกาหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอกและปลายกาหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกาหนดด้วยส่วนของกันและกัน เล็บ ๒ อันติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย เล็บก็คือเล็บ เล็บไม่ใช่ผม ขน ฟัน ไม่ใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๔. ฟัน ได้แก่ฟัน ๓๒ ซี่ ของผู้มีฟันเต็ม ฟันมีสีขาว มีสัณฐานต่างๆ คือ ฟันสี่ซี่ตรงกลางอยู่ด้านหน้า ข้างล่างเหมือนเม็ดน้าเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลาดับบนก้อนดินเหนียว ฟันสี่ซี่นี้มีรากเดียว มีสัณฐานเหมือนดอกมะลิตูม ถัดจากฟันหน้าเข้าไปข้างละซี่มี ๒ ราก ๒ ง่าม มีสัณฐานเหมือนไม้ค้ายัน ถัดไปฟันข้างละ ๒ ซี่ มี ๓ ราก ปลาย ๓ แง่ ถัดไปฟันข้างละ ๓ ซี่ มี ๔ ราก ปลาย ๔ แง่ นี้คือฟันแถวล่าง ส่วนฟันแถวบนก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน ฟันเกิดอยู่ส่วนบนของร่างกาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้ง ๒ ขอบเขต เบื้องต่ากาหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกาหนดด้วยส่วนของกันและกัน ฟัน ๒ ซี่ติดกันไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย ฟันก็คือฟัน ไม่ใช่โกฏฐาสอื่นๆ
๕. หนัง ที่หุ้มร่างกาย ถ้าเป็นส่วนผิวหนัง มีสีดาบ้าง เหลืองบ้าง ขาวบ้าง ส่วนหนังหนานั้นมีแต่สีขาวอย่างเดียว มีสัณฐานเท่ากับร่างกาย เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ตั้งอยู่โดยรึงรัดทั่วไปทั้งตัว ขอบเขตเบื้องต่ากาหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ เบื้องบนกาหนดด้วยอากาศ มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่น ๆ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนแต่เป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น บุคคลใดได้เห็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็ดี หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่คล้ายกันก็ดี ตกอยู่ในจานอาหารก็รังเกียจ หรือหากไม่ได้สระผมหลายวันก็จะมีกลิ่นที่น่ารังเกียจ เส้นผมเกิดบนศีรษะที่ชุ่มไปด้วยเลือดและน้าเหลือง เป็นปฏิกูลน่าขยะแขยง

เนื้อ สี แดง สัณฐาน เนื้อปลีแข้งมีสัณฐานดังข้าวสุกในห่อใบตาล เนื้อขามีสัณฐานดังลูกหินบด เนื้อตะโพกมีสัณฐานดังก้อนเส้า เนื้อหลังมีสัณฐานดังเยื่อลูกตาลสุก เนื้อสีข้างทั้ง ๒ มีสัณฐานเหมือนดินฉาบไว้บางๆ เนื้อนมมีสัณฐานดังก้อนดินที่เขาผูกแขวนไว้ เนื้อแขนทั้ง ๒ ข้างมีสัณฐานดังหนูตัวใหญ่ที่ถลก หนังวางซ้อนกันไว้ ที่เกิด ทิศเบื้องบนและล่าง ที่ตั้ง เนื้อตั้งหุ้มกระดูกไม่เกิน ๓๐๐ท่อนไว้ ขอบเขต เบื้องต่ากาหนดด้วยพื้น ที่ตั้งอยู่ที่โครงกระดูก เบื้องบนกาหนดด้วยหนัง ส่วนกว้างกาหนดด้วย ส่วนของกันและกัน
เอ็น สี ขาว สัณฐาน เอ็นรึงรัดร่าง มีสัณฐานดังต้นคล้าอ่อน เอ็นเส้นเล็ก มีสัณฐานดังเส้นด้าย เอ็นเส้นเล็กที่สุด มีสัณฐานดังเถากระพังโหม เอ็นที่หลังมือหลังเท้ามีสัณฐานดังตีนนก เอ็นที่ศีรษะมีสัณฐานดังข่ายคลุมศีรษะ เอ็นที่หลังมีสัณฐานดังอวนเปียกที่เขาผึ่งแดดไว้ เอ็นที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่นั้น ๆ ที่เหลือมี สัณฐานดังเสื้อร่างแหที่สวมร่างกายไว้ ที่เกิด ทิศเบื้องบนและล่าง ที่ตั้ง ตั้งยึดกระดูกในร่างกายทั้งหมด ขอบเขต เบื้องต่ากาหนดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่บนกระดูก ๓๐๐ ท่อน เบื้องบนกาหนดด้วยตาแหน่งที่มันตั้งจรด เนื้อและหนังอยู่ เบื้องขวางกาหนดด้วยส่วนของ กันและกัน

นี เป็นตัวอย่างของการพิจารณา ซึ่งผู้ปฏิบัติที่สนใจปฏิบัติจริง ๆ ต้องศึกษาต่อเพิ่มเติมจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ประโยชน์ของการพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็น สี สัณฐาน เป็นต้น ปกติแล้วคนทั้งหลายเมื่อเห็นกันและกันแล้ว ก็จะสาคัญผิดถือว่าเป็นคนนั้น เป็นคนนี้ เป็นชาย หญิง สวย ไม่สวย เป็นอยู่อย่างนี้เสมอไป จิตใจก็เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมี ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ เป็นต้น อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อได้พิจารณาผม ขน เล็บ เป็นต้น โดยความเป็นสี สัณฐาน ได้แล้ว ก็ทาให้ความเห็นผิดว่าเป็นหญิง ชาย สวย ไม่สวย ก็จะไม่เกิดขึ้น มีแต่สี หรือปฏิกูลนิมิต หรือ ธาตุนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งก็ปรากฏขึ้น จิตใจก็จะผ่องใสปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งก็เป็นสาเหตุสาคัญที่จะให้ได้บรรลุอรหัตตมรรค อรหัตตผล การพิจารณาอาการ ๓๒ โดยพิจารณาสี สัณฐาน เป็นการพิจารณาให้เห็นส่วนต่างๆ ของอาการ ๓๒ ยิ่งคิดยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นความแยกส่วน ตลอดจนเห็นความจริง นอกจากจะพิจารณาในอุคคหโกสัลละ ๗ แล้วยังมีขั้นตอนการพิจารณาอีก ๑๐ ข้อ ๒.๒ การพิจารณาโดยมนสิการโกสัลละ ๑๐ ขั้นตอน ๒.๒.๑ การพิจารณาไปตามลาดับ ภายหลังจากการศึกษาและปฏิบัติในอุคคหโกสัลละ ๗ ประการแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติไม่ต้องทาการท่องบ่นด้วยวาจา แต่ต้องทาการพิจารณาโกฏฐาส ๓๒ เหล่านั้นด้วยใจ โดยสี สัณฐาน ที่ตั้ง ที่เกิด ขอบเขต ให้ถูกตรงตามหลักแห่งข้อนี้ คือต้องพิจารณาไปตามลาดับ ไม่ลักลั่น ไม่กระโดดข้ามหมวด

๒.๒.๒ การพิจารณาโดยไม่รีบร้อนนัก ขณะกาลังพิจารณาไปโดยลาดับอยู่นั้น อย่าพิจารณาให้เร็วนัก เพราะจะทาให้ สี สัณฐาน เป็นต้น ของโกฏฐาสนั้นจะปรากฏไม่ชัด ๒.๒.๓ การพิจารณาโดยไม่เฉื่อยช้านัก ขณะกาลังพิจารณาไปโดยลาดับอยู่นั้น อย่าพิจารณาให้ช้านัก เพราะจะทาให้ สี สัณฐาน เป็นต้น ของโกฏฐาสนั้น จะปรากฏโดยความเป็นของสวยงาม ทาให้กรรมฐานไม่ถึงที่สุด คือไม่ให้ได้ฌาน มรรค ผล นั่นเอง ๒.๒.๔ การพิจารณาโดยบังคับจิตไม่ให้ไปที่อื่น การปฏิบัติกรรมฐานนั้น เปรียบเหมือนกับคนที่เดินไปใกล้เหวซึ่งมีช่องทางชั่วรอบเท้าเดียว จะต้องระวังอย่างที่สุดเพื่อไม่ให้พลาดตกลงไป ฉันใด ผู้ปฏิบัติต้องพยายามป้องกันความฟุ้งซ่านของจิตใจ ให้ตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์กรรมฐานเช่นเดียวกัน ๒.๒.๕ การพิจารณาโดยการก้าวล่วงบัญญัติ ในขณะที่พิจารณาไปตามลาดับอยู่นั้นได้ มีการพิจารณานามบัญญัติและสัณฐานบัญญัติอยู่ด้วยเพื่อจะให้ปฏิกูลนิมิตปรากฏ เมื่อปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้วก็ไม่จาเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงนามบัญญัติ คือ ผม ขน เป็นต้น และสัณฐานบัญญัติ คือ รูปร่างสัณฐูาน แต่อย่างใดอีก เปรียบเหมือนคนเห็นบ่อน้าในป่าเวลาหาน้ายาก จึงได้ทาเครื่องหมายเพื่อจาไว้ จะได้สะดวกแก่การที่จะมาหาน้าดื่มและอาบในครั้งต่อๆ ไป ครั้นมาบ่อยๆ เข้าก็ชานาญในทางนั้นดี ไม่จาเป็นที่จะต้องจาเครื่องหมายนั้นอีก เช่นเดียวกัน เมื่อปฏิกูลนิมิตปรากฏแล้ว ผู้เจริญก็พึงก้าวล่วงบัญญัติ ๒.๒.๖ การพิจารณาโดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏโดย สี สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต ไปตามลาดับ ในขณะที่พิจารณาไปตามลาดับโดยอนุโลมตั้งแต่ ผม จนถึง สมอง พิจารณาตามลาดับโดยปฏิโลมตั้งแต่ สมอง จนถึง ผม ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตว่า โกฏฐาสอันใด หรือ หมวดใดปรากฏไม่ชัด ก็ให้ละการพิจารณาโกฏฐาสอันนั้น หรือ หมวดนั้นไป แล้วพิจารณาโกฏฐาสอันอื่น หรือหมวดอื่นที่เหลือ ซึ่งมีการปรากฏชัดมากต่อไป และในระหว่างนั้นก็พึงสังเกตดูอีกว่าโกฏฐาสอันใด หรือ หมวดใดปรากฏชัดกว่า ก็ให้พิจารณาแต่โกฏฐาสนั้น หรือหมวดนั้น แล้วละทิ้งที่ไม่ค่อยชัดไป ให้คัดเลือกอย่างนี้เรื่อยไปจนเหลือโกฏฐาส ๒ และต่อจากนั้นก็สังเกตดูอีกว่าใน ๒ อย่างนั้น อันไหนปรากฏชัดมากกว่า ก็ให้พิจารณาอันนั้น ละอันที่ปรากฏชัดน้อยไป การพิจารณาโกฏฐาสนี้ เมื่อถึงขั้นสุดท้ายแล้ว ต้องถือเอาเพียงอันเดียว ไม่ได้ถือเอาทั้งหมด ๒.๒.๗ การพิจารณาโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งให้เข้าถึงอัปปนา เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณาโดยการละทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ชัดไปตามลาดับจนกระทั่งเหลืออันเดียว จากนั้นก็พิจารณาในโกฏฐาสอันนั้นจนถึงได้ฌาน ไม่ต้องพิจารณาโกฏฐาสที่ละทิ้งไปแล้วๆ นั้นอีก อันที่จริงแล้วการพิจารณาโกฏฐาสทั้ง ๓๒ ประการก็ยังผลให้ได้เข้าถึงอัปปนาเหมือนกัน ฉะนั้นการที่ต้องเจริญโกฏฐาสทั้ง ๓๒ ในระยะแรกนั้น ก็เพื่อจะได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ ประการ คือ ๑. ในขณะที่กาลังพิจารณาโกฏฐาสโดยความเป็นอนุโลม ปฏิโลม ในหมวดทั้ง ๖ ตามลาดับปฐมฌานอาจเกิดขึ้นก็ได้

๒. ถ้าหากว่าฌานไม่เกิด ก็จะได้พิจารณาคัดเลือกโกฏฐาสอื่นต่อไปว่า โกฏฐาสใดจะเหมาะ สมกับอัธยาสัยของตนที่สุด ตามหลักข้อที่ ๖ ๒.๒.๘ พิจารณาจิต (อธิจิตตสูตร) (ตั้งแต่ข้อ ๒.๒.๘–๒.๒.๑๐ เป็นการพิจารณาตามในพระสูตร) ผู้ปฏิบ้ติต้องพิจารณาในนิมิตทั้ง ๓ คือ สมาธินิมิต จิตใจที่สงบ ปัคคหนิมิต ความพยายาม อุเบกขานิมิต ความวางเฉย พิจารณาดูว่าอย่างใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แล้วแก้ไขเพิ่มเติมนิมิตนั้นๆ ให้เสมอกัน จนกระทั่งสมาธิของตนขึ้นสู่อธิจิต คือ สมาธิที่มีกาลังยิ่งสามารถทาจิตให้นิ่งอยู่ในอารมณ์กรรมฐานได้ ทั้งนี้เพราะว่าถ้าสมาธินิมิตมาก ความเกียจคร้านย่อมเกิดขึ้น ถ้าปัคคหนิมิตมาก ความฟุ้งซ่านย่อมเกิดขึ้น ถ้าอุเบกขานิมิตมาก ก็จะไม่ถึงฌาน มรรค ผล ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรใฝ่ใจในนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งให้มากเกินไป แต่ควรใฝ่ใจนิมิตทั้ง ๓ ให้เสมอกัน ๒.๒.๙ พิจารณาธรรมที่ปรากฏ (สีติภาวสูตร) พึงพิจารณาตามข้อธรรม ๖ ประการ คือ ๑. ย่อมข่มจิตใจในคราวที่ควรข่ม คือ จิตมีความเพียรมากไป ๒. ย่อมประคองจิตในคราวที่ควรประคอง คือ จิตมีการง่วงเหงา ท้อถอย หดหู่ ๓. ย่อมปลอบจิตในคราวที่ควรปลอบ คือ จิตไม่ยินดีในการงาน ๔. ย่อมพักผ่อนจิตในคราวที่ควรพักผ่อน คือ จิตดาเนินอยู่ด้วยดีในอารมณ์กรรมฐาน ไม่มีการ ฟุ้งซ่าน ง่วงเหงา ท้อถอย ๕. มีจิตใจน้อมไปในมรรค ผล ๖. มีความยินดีในพระนิพพาน เมื่อพิจารณาตามข้อธรรม ๖ ประการแล้ว ถ้าข้อใดปรากฏแก่เรา ก็ให้แก้ไขโดยปฏิบัติตามหลักโพชฌงค์ ในข้อ ๒.๒.๑๐ ต่อไป ๒.๒.๑๐ ปฏิบัติโดยหลักโพชฌงค์ (โพชฌังคโกสัลลสูตร) การปฏิบัติ คือ คราวใดจิตใจมีการง่วงเหงา ท้อถอย ไม่มีความเพียร ในคราวนั้นต้องอบรมธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัม-โพชฌงค์ทั้ง ๓ นี้ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น และคราวใดจิตใจมีความเพียรมากจนฟุ้งซ่านในคราวนั้นต้องอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๓ นี้ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น (เรื่องโพชฌงค์มีรายละเอียดในบทเรียนชุดที่ ๘ ตอนที่ ๔ แล้ว) ความลาบากในการเจริญกายคตาสติกรรมฐาน
ในบรรดากรรมฐาน ๔๐ นั้น อนุสสติ ๑๐ และ พรหมวิหาร ๔ เป็นกรรมฐานที่ปฏิบัติได้ยากกว่ากรรมฐานอื่นๆ เพราะเหตุว่าผู้ปฏิบัติจะต้องทาการศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อนจึงจะลงมือปฏิบัติได้ มิฉะนั้นจะปฏิบัติไม่ถูก แต่การเจริญกายคตาสตินี้ยิ่งลาบากมาก เพราะว่าผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาวิธีเจริญกายคตาสติกรรมฐาน ตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ ประการ เมื่อศึกษาและปฏิบัติตามแล้วก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่นิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้น หลังจากนั้นก็ได้ฌาน มรรค ผล ต่อไป สาหรับบุคคลที่ปฏิบัติตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ แล้วนิมิตไม่ปรากฏ ก็ต้องศึกษาและปฏิบัติตามนัย

มนสิการโกสัลละ ๑๐ ประการต่อไป แล้วจึงจะได้นิมิตทั้ง ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง และได้ฌาน มรรค ผล ตามความปรารถนา ถึงแม้ว่าการปฏิบัติจะลาบากสักเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าได้นึกถึงอานิสงส์และคายกย่อง ชมเชย ของท่านอรรถกถาจารย์ที่แสดงไว้ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาแล้ว ชาวพุทธก็ควรยินดีพอใจในการปฏิบัตินี้โดยไม่ย่อท้อ อานิสงส์และคายกย่องชมเชยนั้นมีดังนี้ อานิสงส์ของการเจริญกายคตาสติ คือ ๑. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ได้สาเร็จเป็นพระอรหันต์ โดยอาศัยการเจริญกายคตาสติกรรมฐานนี้มีมากมาย นับจานวนมิได้ ๒. บุคคลใดทาการปฏิบัติกายคตาสติกรรมฐาน บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นภิกษุ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ ก็นับสงเคราะห์ว่าเป็นภิกษุด้วยกันทั้งสิ้น ๓. ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคอรรถกถาได้แสดงว่า การเจริญกายคตาสตินี้จะมีได้เฉพาะในสมัยพุทธ กาลเท่านั้น(หมายถึงในเวลาที่พุทธศาสนายังตั้งอยู่) ถ้าสิ้นพุทธศาสนาแล้วจะมีไม่ได้เลย แม้ว่าพวกเดียรถีย์ที่ตั้งตัวเป็นศาสดาทาการปฏิบัติเผยแผ่ลัทธิแก่ชนทั่วไปในสมัยใดๆก็ตาม ก็มิอาจรู้ถึงวิธีเจริญกายคตาสติกรรมฐานนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมิใช่เป็นวิสัยของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น หากแต่เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น และพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญกายคตาสติกรรมฐานนี้ว่า :- ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อภิกษุได้เจริญแล้ว และเจริญติดต่อกันให้เพิ่มพูนทวีมากยิ่งขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไปแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชสลดใจอย่างใหญ่หลวงในกาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ใหญ่ในปัจจุบันภพนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความโปร่งใจอย่างใหญ่หลวงจากโยคะ ย่อมเป็นไปเพื่อมีสติสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า ย่อมเป็นไปเพื่อความเห็นในกายเป็น อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ อสุภะ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในภพนี้ทันตาเห็น ย่อมเป็นไปเพื่อท้าให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ พระนิพพาน และผลสมาบัติธรรมอย่างหนึ่ง คืออะไร ? คือ กายคตาสตินี้เอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดประพฤติปฏิบัติกายคตาสติ บุคคลเหล่านั้นย่อมได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน บุคคลเหล่าใดมิได้ ประพฤติปฏิบัติกายคตาสติ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดพยายามปฏิบัติกายคตาสติจนส้าเร็จ บุคคลเหล่านั้นย่อมได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน ไม่เสื่อมจากพระนิพพาน ไม่ผิดทางพระนิพพาน บุคคลเหล่าใดไม่พยายามปฏิบัติกายคตาสติให้ส้าเร็จ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยอมตรส คือ พระนิพพาน เสื่อมจากพระนิพพาน ผิดทางพระนิพพาน

หมายเหตุ กายคตาสติที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องชมเชย และท่านอรรถกถาจารย์ก็ยกย่องไว้ มิได้มุ่งหมายเฉพาะแต่ ๓๒ โกฏฐาสอย่างเดียว แม้อสุภะ ๑๐ อานาปานสติ การกาหนดอิริยาบถใหญ่น้อย การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้ล้วนแต่จัดเข้าเป็นกายคตาสติด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่แจ้งไว้ใน กายานุปัสสนาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร สาหรับกายคตาสติในอนุสสติ ๑๐ นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ ๓๒ โกฏฐาสเท่านั้น จบ กายคตาสติ

อานาปานสติ หมายความว่า สติที่เกิดขึ้นโดยมีการระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก อานะ คือ ลมหายใจเข้า อปานะ คือลมหายใจออก สติ คือความระลึก ดังนั้น อานาปานสติ หรือ อานาปานัสสติ คือ การมีสติระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ อานาปานสติ เป็นกรรมฐานหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ และเป็นสติปัฏฐานด้วย การเจริญอานาปานสติจึงเป็นไปได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า :- “ ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าท้าสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เธอชื่อว่าท้าโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ ๗ เธอชื่อว่าท้าวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์ ” “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธินี้แล อันพระโยคีเจริญแล้ว ท้าให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบ ประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน เปรียบเสมือนฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ยังฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อนให้อันตรธานไปสงบโดยพลัน ฉะนั้น” นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอานาปานสติว่าเป็นอริยวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ) พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม) และตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า) นับว่าอานาปานสติเป็นกรรมฐานที่สาคัญยิ่ง พระพุทธองค์ทรงสนับสนุนให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ
การเจริญอานาปานสติหากจะให้จิตสงบถึงระดับฌานต้องหาสถานที่ที่สงบสงัด เช่น เรือนว่าง ในถ้า โคนต้นไม้หรือในป่าที่ไม่มีผู้ใดหรือเสียงรบกวน เพราะเสียงเป็นปฏิปักษ์กับฌาน เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้วให้นั่งคู้บัลลังก์หรือนั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรงอย่าค้อมมาข้างหน้าหรือแอ่นไปข้างหลัง เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วหัวแม่มือจรดกัน การนั่งในท่านี้มีผลดีคือทาให้ตัวตรง เลือดไหลเวียนได้

สะดวก ลมหายใจเดินสะดวก นั่งได้นาน สาหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ทาให้ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้ จะนั่งห้อยเท้า นั่งบนเก้าอี้ก็ได้ ให้เลือกเอาอิริยาบถที่นั่งได้สบายพอดี ผ่อนคลาย ไม่ฝืนเกินไป และเป็นท่านั่งที่ทาให้นั่งได้นาน เมื่อนั่งไปเรียบร้อยแล้วให้หลับตาลงเบาๆ อย่าเกร็ง ในการเริ่มแรกให้หายใจ ยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ ที่เรียกว่าหายใจเข้าให้เต็มปอด ให้จิตใจโปร่งสบาย ต่อไปก็ให้หายใจตามปกติธรรมดา คอยกาหนดลมหายใจเข้าออกให้รู้ชัด รู้สึกตัวตลอดไม่หลงลืมหรือเผลอสติ เมื่อหายใจออกก็ให้รู้ชัดว่าหายใจออก หายใจเข้าก็ให้รู้ชัดว่าหายใจเข้า หายใจออกยาวก็ให้รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หายใจเข้ายาวก็ให้รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว หายใจออกสั้นก็ให้รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น การก้าหนดลมหายใจเข้าออกนี้ให้นับไปด้วย จะได้ไม่เผลอสติหรือลืมกาหนด วิธีเจริญอานาปานสติ ผู้ปฏิบัติพึงกาหนดสติหายใจออก กาหนดสติหายใจเข้า
๑. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
๒. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น
๓. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า
๔. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า
๕. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า
๖. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุข หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้า
๗. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจเข้า
๘. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
๙. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจเข้า
๑๐. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักทาจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักทาจิตให้บันเทิง หายใจเข้า
๑๑. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
๑๒. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

๑๓. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า
๑๔. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกาหนัด หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกาหนัด หายใจเข้า
๑๕. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า
๑๖. ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจออก
ย่อมสาเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจเข้า ในที่นี้ คาว่า สาเหนียก หมายความว่า มีสติกาหนดที่จุดลมหายใจกระทบ สาหรับคนจมูกยาวลมจะกระทบที่กระพุ้งจมูก สาหรับคนจมูกสั้นลมจะกระทบที่เหนือริมฝีปากบน เพราะส่วนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับลมหายใจเข้าออก ถ้ารู้การกระทบก็แสดงว่ามีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ไม่ต้องพิจารณาลมที่เข้าไปแล้วหรือลมที่ออกไปแล้ว มีสติกาหนดรู้อยู่ ณ บริเวณจุดที่ลมกระทบเท่านั้น เพราะการที่พิจารณาตามลมที่เข้ามาหรือออกไปนั้นจะเป็นเหตุทาให้จิตฟุ้งซ่าน กายและจิตก็จะกระสับ- กระส่าย ภาวะอย่างนี้เป็นโทษ การหายใจก็ไม่ควรหายใจแบบตั้งใจทา เช่น หายใจยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป เพราะจะทาให้จิตฟุ้งซ่าน กายและจิตจะกระสับกระส่าย สิ่งเหล่านี้เป็นโทษไม่ควรปฏิบัติ ควรปฏิบัติไปตามสมควร คือ ไม่พากเพียรหนักหรือหย่อนเกินไป ถ้าหย่อนเกินไป ความหดหู่และเซื่องซึม(ถีนมิทธะ) ก็จะครอบงา ถ้าพากเพียรมากเกินไป ก็จะฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ) การเตรียมตัวขั้นพื้นฐานก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติควรศึกษาข้อปฏิบัติขั้นพื้นฐาน ๔ ประการ ดังนี้ ๑. การนับลม การนับลมแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ ๑.๑ การนับลมหายใจเข้าออกด้วยวิธีนับช้าๆ ดุจคนตวงข้าวเปลือก การนับช้าๆ นั้นหมาย ความว่า ต้องนับแต่ลมหายใจเข้าหรือหายใจออกที่รู้สึกชัดเจนทางใจเท่านั้น ส่วนลมหายใจที่ไม่รู้สึกชัดเจนทางใจให้ทิ้งเสีย ไม่ต้องนับ สาหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆ ก็ควรกาหนดการหายใจเข้าออกอย่างช้าพอประมาณ เพื่อจะได้กาหนดรู้ทันและนับถูก ลมออกนับ ๑ ลมเข้านับ ๑ ลมออกนับ ๒ ลมเข้านับ ๒ ลมออกนับ ๓ ลมเข้านับ ๓ ให้นับเช่นนี้ จนถึง ๕,๕ แล้วเริ่มใหม่นับ ๑,๑ จนถึง ๖,๖ แล้วเริ่มใหม่นับ ๑,๑ ถึง ๗,๗ ..... เริ่มใหม่นับ ๑,๑ ถึง ๑๐, ๑๐ เมื่อถึง ๑๐ ,๑๐ แล้วย้อนกลับมานับที่ ๑,๑ ถึง ๕,๕ ใหม่ ดังนี้ ๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖
๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๖,๖ ๗,๗ ๘,๘ ๙,๙ ๑๐,๑๐ ๑,๑ ๒,๒ ๓,๓ ๔,๔ ๕,๕ ๑.๒ นับลมเข้าออกด้วยวิธีนับเร็ว ไม่ต้องเอาสติตามลมเข้าลมออก ให้เอาสติกาหนดการกระทบของลมที่กระพุ้งจมูก หรือที่เหนือริมฝีปากบน แล้วแต่ว่าจะรู้สึกชัดเจนที่ไหน การนับไม่ต้องนับเป็นคู่ ให้นับ ๑ ถึง ๕ แล้วเพิ่ม ๑ ถึง ๖ จนกระทั่งนับ ๑ ถึง ๑๐ และย้อนกลับมานับ ๑ ถึง ๕ ใหม่ จนสติแน่วแน่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๒. การติดตาม เมื่อนับลมแล้ว ผู้ปฏิบัติมีสติกาหนดลมหายใจเข้าออกอย่างต่อเนื่อง อย่างนี้เรียกว่าการติดตาม (หมายถึงการมีสติติดตามรู้การกระทบของลมอยู่อย่างต่อเนื่อง เรียกว่าการติดตาม มิได้หมายถึงตามลมที่หายใจเข้าไปในท้องแล้ว หรือ ลมหายใจออก) ๓. การกระทบ เมื่อรู้แล้วว่าลมหายใจของเรานั้นกระทบ ณ จุดใด ก็ให้ทาสัญญาจาไว้ว่าลมหายใจของเราจะกระทบ ณ จุดนี้ อย่างนี้เรียกว่า รู้การกระทบ การปฏิบัติในอานาปานสติจะทิ้งการรู้การกระทบไม่ได้เลย เพราะว่าเมื่อนับลมหายใจตามวิธีการในข้อที่ ๑ แล้ว จนชานาญก็ให้ทิ้งการนับลมหายใจได้ แต่ก็ต้องกาหนดรู้ลมหายใจโดยการกระทบอยู่ตลอด ๔. การตั้งมั่น เมื่อมีความชานาญในการกระทบแล้ว ผู้ปฏิบัติก็ทาให้มากให้มั่นคง และควรทาให้ปีติ สุข และธรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในที่นี้ตั้งมั่นด้วย เช่น เมื่อกาหนดลมหายใจแล้วจิตใจมีความเบิกบาน ก็พยายามทาความเบิกบานให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในขณะปฏิบัติ ประโยชน์ในการปฏิบัติตามเป็นขั้นตอน การนับลมทาให้ระงับวิจิกิจฉา การติดตามทาให้ระงับวิตกที่หยาบ และทาให้อานาปานสติเกิดขึ้นไม่ขาดตอน การกระทบทาให้กาจัดความฟุ้งซ่าน และทาให้สัญญามั่นคง การตั้งมั่น ทาให้ปีติและสุขเกิดขึ้น
อานาปานสติ เป็นกรรมฐานที่ต่างจากกรรมฐานอื่นๆ คือ กรรมฐานอื่นๆ ยิ่งปฏิบัติอารมณ์ยิ่งปรากฏชัด แต่อานาปานสติเมื่อเจริญไปแล้ว ลมหายใจยิ่งละเอียดจนเหมือนกับว่าไม่มีลมหายใจ ฉะนั้นผู้

ปฏิบัติต้องมีความรู้ในการปฏิบัติว่า บุคคลทั้งหลายที่ยังไม่ตายก็ต้องมีลมหายใจ แล้วใส่ใจในการกระทบของลมให้มากขึ้นลมหายใจก็จะกลับคืนมา วิธีฝึกอานาปานสติ ๑๖ ประการ ประการที่ ๑ และประการที่ ๒ เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น การมีสติระลึกรู้ในลมหายใจที่เข้าออกว่ายาว ว่าสั้นนั้น ก็รู้ได้ตอนที่มีสติรู้ว่าลมหายใจกระทบนานหรือไม่ ถ้าลมหายใจกระทบนานก็แสดงว่าลมหายใจยาว ถ้ากระทบไม่นานก็แสดงว่าลมหายใจสั้น การกาหนดรู้อย่างนี้จะทาให้ไม่หลงลืมสติ ไม่หลงลืมการกาหนดลม ประการที่ ๓ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจออก เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวง หายใจเข้า รู้กายทั้งปวงมีวิธีการ ๒ อย่าง คือ โดยความไม่หลง และโดยอารมณ์ ๓.๑ ผู้ปฏิบัติอานาปานสติ และเจริญสมาธิโดยการกาหนดรู้การกระทบของลมหายใจ พร้อมด้วยปีติและสุขอย่างนี้ จะมีผลทาให้ไม่หลงลืมการกาหนดลมหายใจ ๓.๒ ลมหายใจเข้าและออกนี้ เมื่อกาหนดโดยเป็นอารมณ์แล้ว ก็ต้องให้รู้ว่าลมหายใจนี้เป็นรูป ส่วนจิตและสติที่กาหนดรู้การกระทบนี้เป็นนาม การกาหนดอย่างนี้เป็นวิปัสสนา คือรู้ทั้งสิ่งที่ถูกรู้ (ลมหายใจที่กระทบ) และรู้สิ่งที่รู้การกระทบ (จิตและเจตสิกนั่นเอง) ประการที่ ๔ เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า ถ้าถามว่า อะไรคือกายสังขาร ? ตอบว่า ลมหายใจนั่นเอง คือ เป็นกายสังขาร ลมหายใจแรก ๆ เป็นลมหายใจหยาบระคนด้วยความเร้าร้อนเพราะจิตเร้าร้อน แต่ถ้ากาหนดรู้ลมหายใจที่หยาบนั้น ได้เท่าทัน ต่อไปลมหายใจก็ละเอียด ลมหายใจละเอียดนั้นจัดว่าเป็นกายสังขารที่สงบระงับ ผู้ปฏิบัติสามารถปฏิบัติต่อไปจนปฐมฌานเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยกายสังขารที่สงบระงับ ประการที่ ๕ เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจออก เราจักรู้แจ้งปีติ หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าออกทาปีติให้เกิดขึ้นในฌาน ๒ ปีตินี้สามารถรู้ได้โดยวิธีการ ๒ อย่าง คือ (๑) โดยความไม่หลง (๒) โดยอารมณ์ ในที่นี้ ผู้ปฏิบัติเข้าฌานและรู้ปีติโดยไม่หลง โดยการตรวจสอบ โดยการครอบงา และโดยอารมณ์ - รู้โดยอารมณ์ คือ เมื่อผู้ปฏิบัติอานาปานสติจนได้ฌานที่ ๒ เข้าฌาน ๒ ที่มีปีติ สุข เอกัคคตา ปีติย่อมเป็นธรรมชาติที่ผู้ปฏิบัตินั้นรู้แจ้งในอารมณ์นั้น เมื่อออกจากฌานแล้วก็พิจารณาปีติที่เคยได้แล้ว

- รู้โดยไม่หลงลืม ? คือ ครั้นเข้าฌาน ๒ ที่มีปีติ ออกจากฌาน ๒ แล้ว ผู้ปฏิบัติพิจารณาปีติที่ประกอบในฌานที่ ๒ นั้นโดยความสิ้นไปเสื่อมไป ปีติก็เป็นอันได้ชื่อว่ารู้แจ้งแล้วโดยไม่หลงลืม การรู้ลักษณะของปีติโดยความสิ้นไปเสื่อมไปนี้ เป็นการรู้ด้วยวิปัสสนาปัญญา ประการที่ ๖ เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้าออก เราจักรู้แจ้งสุข หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจ ถึงลมหายใจเข้าออก ทาสุขให้เกิดขึ้น ในฌาน ๓ สุขนี้สามารถรู้ได้โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕ ประการที่ ๗ เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจออก เราจักรู้แจ้งจิตตสังขาร หายใจเข้า “จิตตสังขาร” หมายถึง “สัญญาและเวทนา” ผู้ปฏิบัติทาจิตตสังขารเหล่านี้เกิดขึ้นในฌาน ๔ รู้โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕ ประการที่ ๘ เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจออก เราจักเป็นผู้ระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า จิตตสังขารนี้ คือ “สัญญาและเวทนา” ผู้ปฏิบัติระงับจิตตสังขาร โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕ ประการที่ ๙ เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจออก เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิต หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจในลมหายเข้าออก จิตรู้การเข้ามาและออกไปของอารมณ์ โดยวิธีการ ๒ อย่าง เหมือนกับประการที่ ๕ ประการที่ ๑๐ เราจักทาจิตให้บันเทิง หายใจออก เราจักทาจิตให้บันเทิง หายใจเข้า “ปีติ” หมายถึงความรื่นเริง บันเทิง ปลื้ม เบิกบาน ในฌาน ๒ ผู้ปฏิบัติทาจิตให้บันเทิง ประการที่ ๑๑ เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก เราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจในลมหายใจเข้าออก ตั้งจิตอยู่กับอารมณ์ด้วยสติ และด้วยฌาน เมื่อทาให้จิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมทาให้อานาปานสติสาเร็จ ประการที่ ๑๒ เราจักเปลื้องจิต หายใจออก เราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจในลมหายใจเข้าออก ถ้าจิตเฉื่อยชา หดหู่ จงทาจิตให้หลุดพ้นจากความหดหู่ ถ้าจิตมีความขวนขวายมากเกินไป จงทาจิตให้พ้นจากความฟุ้งซ่าน ถ้าจิตฟูขึ้น จงทาจิตให้พ้นจากราคะ ถ้าจิตคับแค้น จงทาจิตให้พ้นจากโทสะ ถ้าจิตเศร้าหมอง จงทาจิตให้พ้นจากอุปกิเลส ถ้าจิตไม่มุ่งหน้าต่ออารมณ์ และไม่พอใจอยู่กับอารมณ์นั้น จงทาจิตของตนให้มุ่งหน้าต่ออารมณ์นั้น เปลื้องจิตจากนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา เปลื้องจิตจากสุข-สัญญาด้วยทุกขานุปัสสนา เปลื้องจิตจากอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา จงพยายามฝึกตนอย่างนี้
ประการที่ ๑๓ เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าและออก พิจารณา

เห็นโดยความไม่เที่ยง คือ ขณะหายใจเข้าออกพิจารณาตามเห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่สามารถคงสภาพอยู่ได้ ประการที่ ๑๔ เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกาหนัด หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกาหนัด หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึงใส่ใจถึงลมหายใจเข้าและลมหายใจออก คิดอย่างนี้ว่า “นี้คือความไม่เที่ยง นี้คือความไม่กาหนัด นี้คือความดับ นี้เป็นนิพพาน” จงพยายามฝึกตนอย่างนี้ ประการที่ ๑๕ เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับ หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติเมื่อรู้ชัดนิวรณ์ทั้งหลายตามความเป็นจริงแล้วพิจารณาว่า นิวรณ์เหล่านี้ไม่เที่ยง ความดับของนิวรณ์เหล่านี้คือนิพพาน จงมีทัศนะที่สงบ และจงพยายามฝึกตนอย่างนี้ ประการที่ ๑๖ เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจออก เราจักพิจารณาเห็นโดยสละคืน หายใจเข้า ผู้ปฏิบัติพึ่งรู้ชัดทุกข์โทษตามความเป็นจริง พิจารณาสิ่งเหล่านี้ โดยความไม่เที่ยง เธอทาให้ตัวเองพ้นจากทุกข์โทษ อยู่ในความดับ คือนิพพาน จงศึกษาและพยายามฝึกตน บัณฑิตพึงเข้าใจดังนี้ สังขารทุกอย่างถูกนาไปสู่ความระงับ กิเลสทุกอย่างถูกละทิ้งไป ตัณหาถูกทาลาย ราคะสิ้นไป เป็นความสงบที่เกิดจากนิพพาน หมายเหตุ วิธีฝึกอานาปานสติ ๑๖ ประการนี้ ๑๒ ประการแรกทาให้ได้ทั งสมถะและวิปัสสนาส่วน ๔ สุดท้าย ทาให้ได้วิปัสสนาอย่างเดียว นิมิตของอานาปานสติ ผู้เจริญอานาปานสติจนนิมิตเกิดขึ้น นิมิตจะมีหลายลักษณะ บางท่านนิมิตปรากฏเหมือนกับ ปุยนุ่น เหมือนกับปุยฝ้าย เหมือนกับสายลม บางท่านปรากฏเหมือนดวงดาว เหมือนเม็ดมณี เหมือนเม็ดไข่มุกดา บางท่านนิมิตปรากฏเป็นสิ่งมีสัมผัสหยาบเหมือนเม็ดฝ้าย และเหมือนเสี้ยนไม้แก่น บางท่านเหมือนสายสังวาลยาวเหมือนพวงดอกไม้ เป็นต้น การปฏิบัติอานาปานสติจะบรรลุธรรมในสติปัฏฐาน ๔ ได้หรือไม่ ? สติปัฏฐานที่เริ่มกาหนดลมหายใจออกยาวและเข้ายาว คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปัฏฐานที่เริ่มจากรู้ปีติ คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปัฏฐานที่เริ่มจากการรู้จิต คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สติปัฏฐานที่เริ่มจากการเห็นความไม่เที่ยง คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้ปฏิบัติพึงบาเพ็ญอานาปานสติ อย่างนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ทาสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

ศึกษาข้อปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว ท่านก็ต้องเลือกเอาระหว่างขั้นตอนการปฏิบัติที่ได้แสดงไว้ในคัมภีร์ หรือจะเลือกข้อปฏิบัติที่ท่านคุ้นเคย ยังมีสิ่งที่จะต้องคานึงถึง คือ สิ่งที่เกื้อกูลและไม่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติของบุคคล ที่เรียกว่าสัปปา-ยะหรือ อสัปปายะ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ คือ สัปปายะ คือ สิ่งที่สบายมี ๗ ประการ ๑. อาวาส ที่อยู่เป็นที่สบาย ๒. โคจร ที่บิณฑบาต หรือแหล่งอาหารไม่อดอยาก ๓. ภัสสะ พูดคุยแต่เรื่องที่เสริมการปฏิบัติ ๔. บุคคล ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทาให้จิตใจผ่องใส มั่นคง ๕. โภชนะ อาหารให้พอเหมาะ และถูกกับธาตุ ๖. อุตุ สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิเหมาะกับร่างกาย ๗. อิริยาบถ อิริยาบถเป็นที่สบาย อสัปปายะ คือ สิ่งที่ไม่สบายมี ๗ ประการ ตรงข้ามกับสัปปายะ เช่น อาวาส หรือที่พักที่อยู่ไม่สบาย หรืออุตุ ไม่สัปปายะ คืออากาศไม่สบายแก่ผู้ปฏิบัติ เช่น ร้อนเกินไป หรือหนาวเกินไป เป็นต้น และควรจะปฏิบัติในอัปปนาโกศล ๑๐ อัปปนาโกศล ๑๐ ได้แก่
๑. ทาความสะอาดเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย ที่อยู่ และชาระกายให้สะอาด
๒. ต้องเข้าใจในการกาหนดลมหายใจ
๓. ต้องข่มจิตในคราวที่จิตมีความพยายามมาก
๔. ต้องยกจิตในคราวที่จิตง่วงเหงา หรือเกียจคร้านในการเจริญภาวนา
๕. ทาจิตที่เหี่ยวแห้งให้เบิกบานปีติโสมนัส
๖. วางเฉยต่อจิตที่กาลังดาเนินงานสม่าเสมออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
๗. เว้นการคลุกคลีกับคนที่ไม่มีสมาธิ
๘. คบหากับบุคคลที่มีสมาธิ
๙. อบรมอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้มีกาลังเสมอกัน)
๑๐. มีจิตน้อมที่จะได้อัปปนาฌาน
หากปฏิบัติดังนี้ ปฏิภาคนิมิตก็จะไม่เสื่อมหายไปและได้รูปฌานตามลาดับถึงขั้นสูงสุด คือ ปัญจมฌานได้ หรือถึงแม้ว่าผู้เจริญอานาปานสติเพียรปฏิบัติแล้วนิมิตไม่เกิดก็อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ เพราะถึงแม้นิมิตไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีสติกาหนดรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างสม่าเสมอนั้น เป็นการ

ปฏิบัติที่ทาให้จิตกุศล ทาให้กุศลเจริญขึ้นอยู่เนื่อง ๆ เช่นนี้เป็นการเจริญกุศลขั้นสูง ก็ขอให้เพียรสั่งสมกุศลนี้ให้ต่อเนื่องไป อานิสงส์ของอานาปานสติ คือ ๑. ทาให้ได้ถึงรูปปัญจมฌาน ๒. เป็นบาทของมรรค ผล ๓. ป้องกันไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่าน ๔. ผู้ที่สาเร็จอรหัตตผลโดยใช้อานาปานสติเป็นบาทฐาน ย่อมสามารถกาหนดรู้อายุสังขารของตนว่าจะอยู่ได้เท่าใด อานาปานสติเป็นกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญและทรงปฏิบัติอยู่เสมอ เป็นบาทฐานไปสู่วิปัสสนา เป็นกรรมฐานที่ไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์มาปฏิบัติ ต่างจากกรรมฐานอื่นๆ เช่น กสิณ อสุภะ ที่ต้องหาอุปกรณ์ ต้องจัดเตรียมการ แต่อานาปานสติใช้เพียงลมหายใจที่มีอยู่แล้วกับตัวเรา และเป็นกรรมฐานที่ปฏิบัติแล้วเบาสบายปลอดโปร่ง ในอนุสสติ ๑๐ คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อุปสมานุสสติ มรณานุสสติ ๘ ประการแรกนี้ เมื่อปฏิบัติแล้วสามารถยังสมาธิเพียงขั้นอุปจารสมาธิเท่านั้น เพราะการเจริญในอารมณ์กรรมฐานแต่ละอย่างนั้นมีความหลากหลาย เช่น พุทธานุสสติ ต้องพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้าถึง ๙ ประการ ทาให้จิตไม่สามารถตั้งมั่นได้ ฉะนั้นจึงมีผลสาเร็จเพียงขั้นอุปจารสมาธิ
ส่วนอนุสสติที่เหลืออีก ๒ คือ กายคตาสติ และ อานาปานสติ เมื่อเจริญแล้วยังสมาธิได้ขั้นสูงถึงอัปปนาสมาธิ ผู้เจริญกายคตาสติจนบรรลุถึงอัปปนาสมาธิแล้วย่อมยังผลให้สาเร็จฌานในขั้นปฐมฌานเท่านั้น แต่อานาปานสติยังผลให้ได้ถึงขั้นรูปปัญจมาฌาน

ส่วนวิธีฝึกกรรมฐานที่เหลือจะอธิบายโอกาสหน้าครับ

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทานรักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรมเป็นเวลานานได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน และรักษาอาการป่วยของแม่ และศึกษษการรักษาโรค
และสร้างบารมีทั้ง 10 อย่างให้ครบขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญสร้างองค์สมเด็จพระจกรพรรดิ์หน้าตัก 26 นิ้ว จำนวน 3 องค์ ถวาย 9 วัด
เขที่บัญชี 2984788550 ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาสารคาม ประเภทเงินฝากสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี Oatcharaporrn Pudindan

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรผลนิพพานเทอญ

Re: อาหารชรูป

อังคาร 30 มี.ค. 2010 11:18 am

รสมน เขียน:ขอเชิญสร้างองค์สมเด็จพระจกรพรรดิ์หน้าตัก 26 นิ้ว จำนวน 3 องค์ ถวาย 9 วัด
เขที่บัญชี 2984788550 ธนาคารกรุงเทพ สาขามหาสารคาม ประเภทเงินฝากสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี Oatcharaporrn Pudindan


เรียนถามนิดนึงครับ สร้างพระหน้าตัก 26 นิ้ว 3 องค์ เราจะถวายวัด 9 วัดได้อย่างไรครับ

ขอบคุณครับ

Re: อาหารชรูป

พุธ 31 มี.ค. 2010 7:38 pm

เพื่อถวายวัดป่ากุง จ.ร้อยอ็ด และวัดอื่นๆอีก 8 วัดในประเทศไทย ได้แก่วัดท่าขนุน วัดป่าขันติธรรม วัดทาซุง วัดป่ากุลาเฉลิมราช อีก 2 วัดเปิดรับทางวัดที่ประสงค์
ตอบกระทู้