พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
พุธ 31 มี.ค. 2010 7:25 pm
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน เช่น กาแฟ เป็นต้น ไม่ผิดข้อ
สุราเมรัย เพราะเครื่องดื่มดังกล่าวเมื่อดื่มแล้วไม่ถึงความมึนเมาขาดสติ เป็น
เพียงติดในกลิ่น ติดในรส เท่านั้นครับ
การอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องของการสะสมอบรมความรู้ความ
เข้าใจในความจริงมากยิ่งขึ้น เพราะเมื่อมีการสะสมความเข้าใจเริ่มตั้งแต่การฟัง
การพิจารณาจนเข้าใจความจริงมากขึ้น สติและสัมปชัญญะจึงเกิดขึ้นได้ ถ้าขาด
การฟัง การศึกษาแล้ว สติสัมปชัญญะก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะสติเป็นเจตสิกฝ่ายดี
สติจะเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยการปรุงแต่ง คือ สังขารขันธ์ฝ่ายดี มีศรัทธา เป็นต้น
ดังนั้นการอบรมเจริญสติปัฏฐานจึงไม่ใช่การทำสติ เพราะสติเป็นอนัตตา ไม่มีใคร
ทำให้เกิดขึ้นได้ แต่ถ้ามีการสะสมอบรมด้วยอุบายที่ถูกต้อง สติสัมปชัญญะจึง
เกิดขึ้นได้ อนึ่งขณะที่อกุศลเกิดขึ้นขณะนั้นชื่อว่าหลงลืมสติ สติไม่เกิดขึ้นกระทำ
กิจของสติ แต่อกุศลเกิดขึ้นทำกิจของอกุศล จึงชื่อว่าหลงลืมสติ ส่วนความก้าวหน้า
จะมีได้ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนาน มีการสะสมของสังขารขันธ์ที่เพียงพอ และไม่ใช่
เรื่องหวังที่จะให้สติเกิดมากๆ หรือก้าวหน้ามากๆ โดยขาดการอบรมที่ตรงและถูกต้อง
เพราะถ้ายังมีปัจจัยให้อกุศลเกิด อกุศลก็เกิดเป็นธรรมดาครับ
พระพุทธศาสนา เกิดมานานถึง ๒๕๙๗ ปีแล้ว
(พ.ศ. ๒๕๕๒ +๔๕ ปี)
แต่ผู้ที่สงสัยว่า
พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์จริงหรือ...ยังมีอยู่ไม่น้อย.!
ทั้ง ๆ ที่ชาวพุทธยอมรับว่า คำสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ ปิฎก
คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก
นับเป็น พระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
สมดังที่ท่านพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า
และ เป็นขุนคลังพระธรรม ได้กล่าวไว้ใน
อานันทเถรคาถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ข้อ ๓๙๗ ว่า
พระอานนท์เถระ
ได้เรียนธรรมจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ได้เรียนจากสำนักภิกษุ มีพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เป็นต้น
๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.
ซึ่งใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น แบ่งเป็น
พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระอภิธรรมปิฎก
มีจำนวนเท่ากับพระวินัยปิฎก และ พระสุตตันตปิฎก รวมกัน
ฉะนั้น ถ้าพระอภิธรรมปิฎกไม่ใช่พระพุทธพจน์
คำสอนของพระพุทธเจ้า ๓ ปิฎก ก็จะเหลือเพียง ๒ ปิฎก ฯ
พระธรรมขันธ์ ก็ไม่ครบ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ตามที่ท่านพระอานนท์เถระ กล่าวไว้.
นอกจากนั้น ในพระวินัยและพระสูตร
ก็ยังมีข้อความที่กล่าวถึงพระอภิธรรมไว้หลายแห่ง
ขอยกมาอ้างอิงดังต่อไปนี้
ในพระวินัยปิฎก อุททานคาถา วินัยปิฎก มหาวรรค ข้อ ๑๔๖
ในตอนหนึ่ง มีข้อความว่า
ชนใดไม่รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ ฉันใด
ภิกษุ ก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึงสังวรได้
เมื่อพระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรม เลอะเลือน (สูญ) ไปก่อน
แต่พระวินัยยังไม่เสื่อมสูญ (เมื่อนั้น) พระศาสนา ชื่อว่ายังตั้งอยู่ต่อไป
(คือ ยังดำรงอยู่ต่อไป ยังไม่สูญไป)
ในพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๘ ข้อ ๕๔๓ กล่าวว่า
ก็แล ท่านพระทัพพมัลลบุตร อันสงฆ์สมมติแล้ว
ย่อมแต่งตั้งเสนาสนะรวมไว้เป็นพวก ๆ สำหรับหมู่สงฆ์ ผู้สม่ำเสมอกัน
คือ ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ทรงพระสูตร
ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะ รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง
ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอ จักซักซ้อมพระสูตรกัน
ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระวินัย
ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะ รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง
ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักวินิจฉัยพระวินัยกัน
ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ทรงพระอภิธรรม
ท่านก็แต่งตั้งเสนาสนะ รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง
ด้วยประสงค์ว่า พวกเธอจักสนทนาพระอภิธรรมกันฯ
ดังนี้ เป็นต้น.
ในพระสุตตันตปิฎก กล่าวถึง "พระอภิธรรม" ไว้ด้วย
ดังข้อความบางตอนใน มหาโคสิงคสาลสูตร ม. มู. ข้อ ๓๗๔
ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า
ท่านโมคคัลลานะ เราจะขอถามท่านว่า
ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง
ไม้สาละ มีดอกบานสะพรั่งทั้งต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป
ท่านโมคคัลลานะ
ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร.?
ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า
ท่านพระสารีบุตร
ภิกษุสองรูป ในพระศาสนานี้ กล่าว อภิธรรมกถา
เธอทั้งสองนั้น ถามกันและกันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย
และธรรมกถาของเธอทั้งสองนั้น ย่อมเป็นไปด้วย
ท่านสารีบุตร
ป่าโคสิงคสาลวัน...พึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานนี้แล.
ใน ปุณณมัตตานีปุตตเถราปทาน ขุ. อปทาน ข้อ ๗
ท่านพระปุณณมัตตานีบุตร กล่าวคาถา ใจความว่า
เราเป็นผู้ฉลาดใน "นัยแห่งพระอภิธรรม"
เป็นผู้ฉลาดด้วยความหมดจดในกถาวัตถุ
ยังประชาชนให้รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ฯ
ใน อุปาลีเถราปทาน ขุ. อปทาน ข้อ ๘
ท่านพระอุบาลีเถระ ผู้เลิศฝ่ายทรงพระวินัย ได้กล่าวคาถาไว้ตอนหนึ่งว่า
"ธรรมวิถี"...พระองค์ทรงสร้างไว้ สวยงาม
พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม
และ พระพุทธพจน์ อันมีองค์ ๙ ทั้งสิ้นนี้
เป็นดัง "ธรรมสภา"....ในพระธรรมของพระองค์.
ใน จิตตหัตถิสารีปุตตสูตร อัง. ฉักกนิบาต ข้อ ๓๓๑ มีข้อความว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น ภิกษุเถระหลายรูป กลับจากบิณฑบาต
ภายหลังภัต ได้นั่งประชุมสนทนา อภิธรรมกถา กันอยู่ในโรงกลม ฯ
ดังนี้ เป็นต้น.
ใน สารีปุตตสูตร ขุ. สุตตนิบาต ข้อ ๔๒๓
ท่านพระสารีบุตร กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า
หลังเสด็จกลับจากทรงเทศนา พระอภิธรรม ณ ดาวดึงส์ ด้วยคาถาว่า
พระศาสดา..........ผู้มีวาจาไพเราะ อย่างนี้
เสด็จมาแต่ชั้นดุสิต สู่ความเป็นคณาจารย์
ข้าพระองค์ ยังไม่ได้เห็น
หรือไม่ได้ยินจากใคร ๆ ในกาลก่อนแต่นี้เลย
พระองค์ ผู้มีพระจักษุ
ย่อมปรากฏแก่มนุษย์ทั้งหลาย เหมือนปรากฏแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก
ฉะนั้น พระองค์ผู้เดียว บรรเทาความมืดได้ทั้งหมด
ทรงถึงความยินดีในเนกขัมมะ
ศิษย์ทั้งหลาย มีกษัตริย์ เป็นต้น เป็นอันมาก
มาเฝ้าพระองค์ ผู้เป็นพุทธะ.....ผู้อันตัณหา ทิฏฐิ ไม่อาศัยแล้ว
ผู้คงที่ ไม่หลอกลวง........เสด็จมาแล้ว สู่ความเป็นคณาจารย์
ณ เมืองสังกัสสะ นี้...ด้วยปัญหา มีอยู่ ฯ
ข้อความในคาถาเหล่านี้ แสดงให้ทราบว่า
ท่านพระสารีบุตร พร้อมด้วยพุทธบริษัทเป็นจำนวนมาก
ได้มาคอยต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จจากดาวดึงส์พิภพ
มาลง ณ ที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะ ด้วยพุทธลีลาอันงดงาม
อันใคร ๆ รวมทั้งท่านพระสารีบุตร ก็ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย.
สำหรับท่านที่เคยเดินทางไปที่ประเทศอินเดีย และได้ไปที่สังกัสสนคร
ก็คงจะได้เห็นเสาหินของพระเจ้าอโศก ฯ ประดิษฐานอยู่
ณ ที่ ๆ เชื่อกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลงจากดาวดึงส์
และทรงประทับยืนอยู่ ณ จุดนี้ หลังจากจำพรรษา ๓ เดือน ณ ดาวดึงส์
หลังจากทรงแสดง พระอภิธรรม โปรดเทพบุตร นามว่า "ท้าวสันดุสิต"
ผู้เคยเป็นพระพุทธมารดา ให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน.
นี่คือความจริงที่พิสูจน์ได้
ว่า พระอภิธรรม มีจริง....เป็นพระพุทธพจน์จริง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง พระอภิธรรม แก่เทพบุตร
ผู้เคยเป็นพระพุทธมารดา ณ ดาวดึงส์พิภพ ตลอดพรรษา ๓ เดือน
ทำให้เทวดาเป็นจำนวนมากบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น
แม้เทวดาผู้เคยเป็นพระพุทธมารดา
ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน.
อนึ่ง ใน "พุทธธรรมดาของพระพุทธเจ้า" ๓๐ ข้อ
ใน ขุททกนิกาย พุทธวงค์ ข้อที่ ๑๙ แสดงว่า
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงแสดงพระอภิธรรม ณ ภพดาวดึงค์
และข้อที่ ๒๐ แสดงว่า
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูนครสังกัสสะ.
จากหลักฐานทั้งในพระวินัย พระสูตร ที่ยกมาอ้างอิงนี้
คงจะพอยืนยันได้ ว่า พระอภิธรรมต้องเป็นพระพุทธพจน์ แน่นอน.
"ธรรม" อันละเอียด สุขุม ลุ่มลึก ที่เรียกว่า "พระอภิธรรม" นี้
ผู้ที่ (ทรงตรัสรู้) และทรงแสดงได้
ต้องเป็น "พระสัพพัญญูพุทธเจ้า" เท่านั้น.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
บัญญัติ ชื่อว่า กาล เพราะอาศัยธรรม
นั้น ๆ ก็กาลนั้น เป็นเพียงโวหาร (มิใช่
ปรมัตถ์) กองแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น พึง
ทราบว่าเป็นการพร้อมเพรียง (สมูหะ).
คำว่า "กาล" ในที่นี้หมายถึง กาล เวลา เช่น วินาที นาที ชั่วโมง
เช้า สาย บ่าย เย็น วัน เดือน ปี ปีใหม่ ปีเก่า เป็นต้น ทั้งหมดนี้
เป็นเพียงสมมุติ บัญญัติ เรียกกันเท่านั้น ไม่ใช่ปรมัตถธรรมครับ
เวลาที่ต่างกัน จิตที่เป็นอดีตก็มี อนาคตก็มี ขณะปัจจุบันก็มี
แม้รูปก็เช่นเดียวกัน ส่วนกาลแห่งพืชทั้งหลายก็เช่นเดียวกันกับคำที่
ชาวโลกใช้กันทั่วไปว่า เวลานี้พืชกำลังงอก เวลาปลูก เวลาออกดอกออกผล
เวลาเก็บเกี่ยว เป็นต้นครับ
ศึกษาพระธรรมเพื่อการเพิ่มพูน ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ให้มากขึ้น
เพื่อความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ทุกขณะเป็นเพียงสภาพธรรม
อย่างหนึ่งเท่านั้น
คำว่า "ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม"
ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น
อันข้อปฏิบัติอันชอบยิ่ง.
สำหรับ พระภิกษุ
ได้แก่ การสมาทานธุดงค์ อันเป็นข้อปฏิบัติชอบ จนถึง โคตรภูญาณ
นี้ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
ภิกษุใด ไม่ละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้
ไม่ตั้งอยู่ ใน "อคารวะ ๖"
คือ
ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระศาสดา ๑
ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระธรรม ๑
ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระสงฆ์ ๑
ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในสิกขา ๑
(สิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา)
ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในความไม่ประมาท ๑
ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับ ๑
(ปฏิสัถารมี ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และ ธัมมปฏิสันถาร)
และ เป็นภิกษุผู้เลี้ยงชีวิต ด้วยการแสวงหาที่สมควร
ภิกษุนี้ ชื่อว่า "ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"
สำหรับอุบาสก อุบาสิกา ที่ปฏิบัติให้สมบูรณ์ใน สรณะ ๓
สมาทานรักษาศีล ๕ , ศีล ๘ , ศีล ๑๐ ,
รักษาอุโบสถศีล , ถวายทาน , บูชาด้วยของหอม , บูชาด้วยดอกไม้ ,
บำรุงบิดามารดา , บำรุงสมณพราหมณ์ ,
อุบาสก-อุบาสิกานี้ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
อันเป็นข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น.
ถ้าเป็นการปฏิบัติส่วนเบื้องปลาย
คือ ปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันสมควรแก่ มรรค-ผล
นี้ชื่อว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อันเป็นส่วนเบื้องปลาย.
สรุปว่า
"การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" นั้น
มีทั้งการปฏิบัติให้สมควรทั้งในตอนต้น และการปฏิบัติให้สมควรในตอนปลาย
และ การปฏิบัติธรรมจนถึง มรรค ผล นิพพาน
ก็ต้องปฏิบัติให้ถึงตอนปลาย.
(จาก อรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร ที. มหาวรรค)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 422
ชอบยิ่ง เพราะเป็นปฏิปทาอันสมควร. ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติ
ธรรมอันชอบยิ่ง. ชื่อว่า อนุธมฺมจารีอนุธมฺมจารี เพราะประพฤติบำเพ็ญธรรมอันสมควร
กล่าวคือ บุพพภาคปฏิปทานั้นนั่นแล. ก็ศีล อาจารบัญญัติการสมาทานธุดงค์
สัมมาปทาถึงโคตรภูญาณ พึงทราบว่า ปุพพภาคปฏิปทา. เพราะฉะนั้น ภิกษุ
ตั้งอยู่ในอคารวะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยอเนสนา ภิกษุนี้ชื่อว่า
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ส่วนภิกษุใดไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้วแก่ตน
ทั้งหมดที่ขีดคั่นเขตแดนและเส้นบรรทัดของพระชินเจ้าแม้มีประมาณน้อย
ภิกษุนี้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. แม้ในภิกษุณี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็อุบาสกใดยึดเวร ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประพฤติไว้แนบแน่น อุบาสกนี้ชื่อว่า
ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ส่วนอุบาสกปฏิบัติให้สมบูรณ์ในสรณะ ๓
ศีล ๕ ศีล ๑๐ รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง ถวายทาน บูชาด้วยของหอม
บูชาด้วยมาลา บำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ อุบาสกผู้นี้ ชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แม้ในอุบาสิกา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในธรรมกถิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. เล่ม 26
บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย. บทว่า วิราคาย
ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.
ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีล
จนถึงอรหัตมรรค. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติ
ปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ. บทว่า อนุธมฺมภูตํ
ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร. บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่
เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป. บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต
ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า
เล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
ข้อว่า โสตาปตฺติยงฺคานิ ความว่า องค์แห่งการบรรลุกระแส.
อธิบายว่า เหตุแห่งการได้โสดาปัตติมรรค. ข้อว่า สปฺปุริสสํเสโว ความว่า
การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ข้อว่า สทฺธมฺมสฺสวนํ
ความว่า การฟังธรรมคือ พระไตรปิฏกอันเป็นที่สบาย. ข้อว่า โยนิโสมน-
สิกาโร ความว่า การทำไว้ในใจด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น.
ข้อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วน
เบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม.
เล่ม 27 ในอนุธรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ปฏิบัติปุพพภาค-
ปฏิปทาอันเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙. บทว่า อยมนุธมฺโม
ความว่า ธรรมนี้เป็นอนุโลมธรรม. บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ได้แก่เป็น
เล่มที่ 30 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
และเป็นพหูสูตทางปฏิเวธ จึงชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม เพราะจำทรงธรรมคือ
ปริยัติและปฏิเวธนั่นเอง. คำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติ
ธรรม คือวิปัสสนาอันเป็นธรรมที่ไปตามธรรมของพระอริยเจ้า. คำว่าสามี-
จิปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร. คำว่า อนุธมฺมจาริโน
คือ เป็นผู้ประพฤติตามธรรมเป็นปกติ.
เล่มที่ 34 พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 103
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่
โลกุตรธรรม ๙ คือบ่ฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล. บทว่า ทุกฺขสฺส
ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด
คือพึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์).
จบอรรถกภาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐
ตามหลักคำสอนที่กล่าวถึงนิมิตของการเจริญสมถภาวนาที่ถูกต้อง มี ๒ ประเภท
คือ อุคคหนิมิตก็ดี ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ นิมิตทั้งสองจะมีได้ต้องอาศัยการอบรม
เจริญด้วยความเข้าใจถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อจิตสงบมากขึ้นตามลำดับ นิมิต
จึงปรากฏ แต่อารมณ์กรรมฐานบางประเภท เช่น พุทธานุสติ พรหมวิหาร เป็นต้น
ไม่มีนิมิต อนึ่งการเจริญสมาธิในยุคปัจจุบัน ไม่เป็นไปตามลำดับที่ตำราแสดงไว้
คือผิดตั้งแต่เริ่มต้น คือไม่มีความรู้ความเข้าใจอะไรเลย ไม่ได้ศึกษาตามลำดับที่
ถูกต้อง ไม่มีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องว่า คืออะไร รู้อะไร ทำเพื่ออะไร ผลคือ
อะไร เพียงแต่ทำตามคำบอกของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งสมาธิอย่างนี้ไม่เป็นไปตามหลัก
พระธรรมคำสอนเลย ดังนั้นนิมิตที่ถูกต้องที่จะเกิดเพราะการอบรมเจริญที่ถูกต้อง
ย่อมมีไม่ได้ จะมีเพียงแต่นิมิตที่จินตนาการ คิดไปเองว่าเห็นอย่างนั้นเห็นอย่างนี้
ขอแนะนำว่าควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าถูกต้องดีกว่าไปนั่ง
ทำอะไรก็ไม่รู้ เป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิก็ไม่รู้ เพราะนิมิตที่ถูกต้องเป็นผล
จากการเจริญที่ถูกต้อง และไม่ใช่แค่หยุดแค่นิมิตเท่านั้น ยังมีลำดับที่ต้องอบรม
เจริญอีกมากครับ
ในอุทยชาดก เอกาทสกนิบาตชาดก ข้อ ๑๕๒๖-๑๕๔๑
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่งที่ปรารถนาจะลาสิกขา
กลับไปสู่เพศฆราวาสอีก จึงรับสังให้เรียกภิกษุนั้นให้มาเฝ้า ฯ
และ ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาตรัสเล่าให้พระภิกษุนั้นฟัง
ฯลฯ
ท้าวสักกะ เมื่อจะทรงพร่ำสอนพระนางอุทัยภัทรา จึงตรัสคาถา ว่า
วัยล่วงไปเร็วยิ่งนัก ขณะก็เช่นนั้นเหมือนกัน
ความตั้งอยู่ยั่งยืน ไม่มี
สัตว์ทั้งหลายย่อมจุติไปแน่แท้
สรีระ ไม่ยั่งยืน ย่อมเสื่อมถอย
ดูก่อน พระนางอุทัยภัทรา
เธออย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด
พื้นแผ่นดินทั้งหมด เต็มไปด้วยทรัพย์
ถ้าจะพึงเป็นของพระราชาแต่เพียงพระองค์เดียว ไม่มีผู้อื่นครอบครอง
ถึงกระนั้น.......ผู้ที่ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ก็ต้องทิ้งสมบัตินั้นไป
ดูก่อน พระนางอุทัยภัทรา
เธอจงอย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว ภริยาและสามี พร้อมทั้งทรัพย์
แม้เขาเหล่านั้น ต่างก็จะต้องละทิ้งกันไป
ดูก่อน พระนางอุทัยภัทรา
เธอจงอย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด
ดูก่อน พระนางอุทัยภัทรา
เธอพึงทราบว่าสุคติและทุคติในสงสาร เป็น "ที่พักพิงชั่วคราว"
ขอเธอจงอย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด.
พระนางอุทัยภัทรา ทรงสดับธรรมกถาของท้าวสักกะแล้ว ทรงเลื่อมใส
เมื่อจะตรัสชมเชย จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
เทพบุตร ท่านช่างพูดดีจริง
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยนัก
ทั้งลำเค็ญ ทั้งนิดหน่อย ประกอบไปด้วยความทุกข์
หม่อมฉันจักสละสุรุนธรนคร แคว้นกาสี ออกบวช
อยู่ลำพังแต่ผู้เดียว.
ฯลฯ
จากเรื่องอุทยชาดกนี้ สอนเราว่า คนสมัยโน้นอายุยืนเป็นหมื่นปี
ท่านยังสอนกันว่า จงอย่าประมาท.
ก็ชีวิตของมนุษย์เราในสมัยนี้
(โดยประมาณ) เพียง ๗๐ ปี ถึงร้อยปีเท่านั้น
เป็นเด็กอยู่ไม่นาน ก็เป็นหนุ่มสาว
เป็นหนุ่มสาวอยู่ไม่นาน ก็เป็นคนแก่ไปเสียแล้ว
ชีวิตนี้น้อยนิดเดียว ไม่ช้าก็ต้องพากันละโลกนี้ไปแล้ว.
มนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดี (พรหมโลกก็ดี) อบายโลกก็ดี
ล้วนเป็นที่พักอาศัยเพียงชั่วคราวทั้งสิ้น
ไม่นานเลย ก็ต้องจากไป.
อะไรจะเป็น "ที่พำนักอันถาวรของสัตว์ทั้งหลาย"
ยิ่งกว่า "พระธรรม" เป็นไม่มี
เพราะฉะนั้น
เราทั้งหลาย จงอย่าประมาท จงประพฤติธรรมเถิด.
เหมือนดังที่เทพบุตรท่านสอนพระนางอุทัยภัทรา ฯ
ฯลฯ
เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากการประพฤติธรรม...ไม่มี.!
พระพุทธพจน์ ที่ว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"
เป็นความจริงแท้ ไม่แปรผัน
นั่นคือ ถ้าทำกรรมดี ผลก็ดี คือ ได้รับความสุข
ถ้าทำกรรมชั่ว ผลก็ชั่ว คือ ได้รับความทุกข์
ไม่ว่ากรรมดีนั้น จะใหญ่หรือเล็ก หนักหรือเบา
ก็ย่อมก่อให้เกิดผลดี คือ ความสุขเสมอ
และไม่ว่ากรรมชั่วนั้น จะใหญ่หรือเล็ก หนักหรือเบา
ก็ย่อมก่อให้เกิดผลชั่ว คือ ความทุกข์เสมอ
ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น.
เพราะฉะนั้น
ทุกคน จึงควรระมัดระวังในการกระทำของตน
โดยเฉพาะ ถ้าการกระทำนั้น เป็นการกระทำชั่ว.
เพราะเมื่อกระทำกรรมชั่วลงไปแล้ว ก็ไม่อาจที่จะแก้ไขให้กลับเป็นดีได้
นอกจากจะกระทำกรรมใหม่ให้ดี
แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจลบล้างผลของกรรมชั่วได้
เพราะกรรมดีและกรรมชั่ว ให้ผลต่างกัน
คือ กรรมดีก็ยังให้ผลดี กรรมชั่วก็ยังให้ผลชั่ว ไม่ปะปนกัน.
ดังเช่นเรื่องของพระเถระรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล
พระเถระรูปนั้น คือ "พระอุตตรเถระ"
เรื่องราวของท่าน มีกล่าวไว้ในขุททกนิกาย อุตตรเถราปทาน ข้อ ๑๔๖
และ อรรถกถา.
ฯลฯ
กรรมดีและกรรมชั่ว ให้ผลต่างกัน และไม่ปะปนกัน
เพราะฉะนั้น
ควรทำสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง.......แม้จะไม่ถูกใจ
ไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง.....แม้จะถูกใจ.
แนวทางเพื่อการบรรลุโลกุตตรธรรม คือ พระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงไว้ตลอด ๔๕ พรรษา ซึ่งเมื่อย่อแล้วย่อมรวมลงในความ
ไม่ประมาท โดยสิกขา คำสอนทั้งหมดรวมลงในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตต
สิกขา อธิปัญญาสิกขา บางนัยยะ ทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือจะกล่าวโดยนัยบารมี คุณธรรมเพื่อ
ให้ถึงฝั่ง บารมี ๑๐ มีทานบารมีเป็นต้น ก็เป็นไปเพื่อบรรลุโลกุตตระเช่นเดียวกัน
แม้นัยยะโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ก็เป็นคำสอนเพื่อการตรัสรู้ธรรม ถึงโลกุตตรเช่นเดียวกัน
หรือแม้จะกล่าวโดยนัยยะอื่นๆ ก็ได้ครับ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทานรักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรมเป็นเวลานานได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน และรักษาอาการป่วยของแม่
รักษาอาการป่วยของหมู่บ้านโดยไม่คิดเงิน เมื่อวานนี้ได้มีงานทำบุญเลี้ยงพระป่าทั้ง วัด
และวันนี้ได้มีงานบุญเลี้ยงพระอีกหนึ่งวัดรมเป็น 2 วัด
และบำเพ็ญบารมีครบ 10 อย่างตั้งแต่ทานบารมี ถึงอุเบกขาบารมีขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญรวมงานบุญ 25 งานบุญ ภาคใต้ เดินทาง 4 วัน ตั้งแต่ 13- 17 เม.ย. 53
หรือร่วมบุญได้ที่ 029146517
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ