Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ชวนจิต

อาทิตย์ 04 เม.ย. 2010 9:55 am

หลักการใช้สติพิจารณาอาการ ๓๒
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรพิจารณาร่างกายนี้ ซึ่งมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นปฏิกูลชนิดต่างๆ ตั้งแต่ปลายผมจรดฝุาเท้าดังนี้ว่า :- “ในกายนี้ มีแต่สิ่งที่เป็นปฏิกูล เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลาไส้ใหญ่ สาไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้าตา เปลวมัน น้าลาย น้ามูก ไขข้อ มูตร” ภิกษุทั้งหลาย อุปมาดุจถุงมีปาก ๒ ข้าง บรรจุธัญพืชชนิดต่างๆ คือข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร ไว้เต็มถุง คนตาดีเปิดถุงนั้นออก พิจารณาแยกประเภทได้ว่า “นี้เป็นข้าวสาลี นี้เป็นข้าวเปลือก นี้เป็นถั่วเขียว นี้เป็นถั่วเหลือง นี้เป็นเมล็ดงา นี้เป็นข้าวสาร” ฉันใด ภิกษุก็ควรพิจารณาร่างกายนี้ซึ่งมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นปฏิกูลชนิดต่างๆ ตั้งแต่ปลายผมจรดฝุา
ในกายนี้ มีแต่สิ่งที่เป็นปฏิกูล เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เป็นสิ่งปฏิกูล ที่เราหลงว่าสวยว่างามนั้นที่แท้จริงแล้วกายนี้เป็นของปฏิกูลทั้งนั้น ผม เป็นต้น ถ้าดูโดยลักษณะของเส้นผมอาจไม่เห็นถึงความน่ารังเกียจ แต่เมื่อเอาไปเผาไฟ กลิ่นของเส้นผมนั้นเป็นสิ่งน่าน่ารังเกียจยิ่ง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ถ้าเปรียบเหมือนกับผักสาหรับแกงที่เกิดในน้าคร่าที่ไหลออกจากบ้านขังอยู่ในที่ไม่สะอาดย่อมเป็นสิ่งน่าเกลียดไม่น่าบริโภคฉันใด แม้เส้นผมทั้งหลายก็น่ารังเกียจฉันนั้น เพราะถูกหล่อเลี้ยงด้วยน้าที่ซึมออกมาจากแต่ละส่วนต่างๆ มีน้าเหลือง เลือด มูตร กรีส น้าดี และเสมหะ เป็นต้น เพราะเกิดในที่ไม่สะอาดดุจผักเกิดที่กองคูถ อาการทั้ง ๓๒ นั้นล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล น่ารังเกียจ แล้วที่เรามีชีวิตอย่างดิ้นรนเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อหล่อเลี้ยงร่างปฏิกูลนี้หรือ และที่เรายึดว่าบุคคลนี้เป็นของเรานั้น เรากาลังยึดสิ่งปฏิกูลมิใช่หรือ ถ้าผู้


พิจารณาเห็นความจริงอย่างนี้ได้ก็จะไม่หลงยึดในอัตตาตัวตนว่าเป็นเรา เขา ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา มีวิธีการปฏิบัติโดยสรุปเหมือนกับอิริยาบถ แต่เปลี่ยนคาว่ากายให้เป็นไปตามอาการ ๓๒
จบหลักการใช้สติพิจารณาอาการ ๓๒ (โดยสังเขป)
๑.๕ หลักการใช้สติพิจารณากายเป็นธาตุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรใช้สติพิจารณากายนี้ไปตามส่วนต่างๆ ให้เห็นเป็นเพียงธาตุ (โดยปราศจากสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา) ว่า “กายนี้มีสภาพเป็นธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุไฟ ธาตุลม” ภิกษุทั้งหลาย อุปมาดุจคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้มีความชานาญ ครั้นฆ่าโคแล้ว แบ่งเนื้อโคออกเป็นส่วนๆ นั่งเฝูาดูอยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ควรพิจารณากายนี้ไปตามส่วนต่างๆ ให้เห็นเป็นเพียงธาตุว่า “กายนี้มีสภาพเป็นธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุไฟ ธาตุลม” อธิบาย การปฏิบัติในหมวดนี้ เป็นการปฏิบัติที่ต่อเนื่องมาจากหมวดการพิจารณาอาการ ๓๒ นั่นเอง การพิจารณาในอาการ ๓๒ เริ่มต้นที่การพิจารณาอาการ ๓๒ แต่ถ้าผลปรากฏว่าผู้พิจารณาได้สภาวะของความเป็นปฏิกูล การพิจารณานั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นการพิจารณาในหมวดปฏิกูล แต่ถ้าได้สภาวะของความเป็นธาตุ ๔ ปรากฏ คือ ดิน น้า ไฟ ลม ได้ชื่อว่าเป็นการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ธาตุ มี ๔๒ คือ จาก ๓๒ ให้เพิ่มธาตุไฟ ๔ คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น, ไฟที่ยังกายให้ปุวยไข้, ไฟที่ยังกายให้แก่ ทาให้ทรุดโทรม, ไฟที่เผาหรือย่อยอาหาร ที่กิน ที่ดื่ม ธาตุลม ๖ คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน, ลมที่พัดลงเบื้องล่าง, ลมในท้อง, ลมในไส้, ลมในอวัยวะน้อยใหญ่ , ลมหายใจออก-เข้า

ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา มีวิธีการปฏิบัติโดยสรุปเหมือนกับอิริยาบถ แต่เปลี่ยนคาว่ากายให้เป็นธาตุ
จบหลักการใช้สติพิจารณากายโดยความเป็นธาตุ (โดยสังเขป)
การเจริญวิปัสสนาในหมวดปุาช้า ๙ ข้อ

ควรจะศึกษาให้เห็นความต่างกันด้วยจะเป็นประโยชน์ในการน้อมนาไปปฏิบัติ ความต่างกันตัวอย่างเช่น การพิจารณาอสุภะก็เพียงหาซากศพอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ อย่าง แล้วปฏิบัติโดยการท่องบริกรรมว่า วินีลกอสุภะ ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ จนสมาธิตั้งมั่นนิมิตก็จะเกิดขึ้นไปตามลาดับเมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วฌานจิตก็เกิดขึ้นได้ แต่การพิจารณาอสุภะโดยการเจริญวิปัสสนาไม่ต้องบริกรรมจนสมาธิจิตแนบแน่น แต่พิจารณาให้เห็นสภาพของความจริงว่า กายของเราหรือของบุคคลอื่นก็ตามย่อมมีสภาพเช่นเดียวกับศพ ไม่ล่วงพ้นไปจากสภาพเช่นนี้ได้ จุดประสงค์ก็เพื่อให้คลายจากความยึดมั่นในอัตตาตัวตน ทาให้ฆนบัญญัติว่าเป็น บุคคล ตัวตน เราเขา แตกลงได้ เมื่อก้าวพ้นความเป็นฆนะแล้วสภาพของปรมัตถ์แท้ๆ คือรูปนามจึงจะปรากฏได้ จุดประสงค์เดียวของการเจริญวิปัสสนาคือ ต้องทาลายอัตตาตัวตนให้ได้ก่อน แล้วรูปนามอันเป็นสภาวะปรมัตถ์แท้ๆ ก็จะปรากฏชัด
๑.๖ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจอสุภะในปุาช้า ที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจศพซึ่งตายมาแล้ว ๑ วันบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ซึ่งถูกนามาทิ้งไว้ในปุาช้า จนขึ้นอืด เขียวคล้า มีน้าเหลืองเยิ้ม ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพดุจศพ และมีลักษณะดุจศพ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”
๑.๗ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจอสุภะในปุาช้า ที่ ๒
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้าปล่อยให้กา เหยี่ยว จิกกินแร้งทึ้งกิน สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์เล็กๆ กัดกิน ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพและมีลักษณะดุจศพ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”
๑.๘ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูก ในปุาช้า ที่ ๓
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งยังมีเนื้อและเลือด มีเอ็นรึงรัดอยู่ ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพ และมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”


๑.๙ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูก ในปุาช้า ที่ ๔
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งปราศจากเนื้อหนังแต่ยังมีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพ และมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”
๑.๑๐ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูก ในปุาช้า ที่ ๕
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งปราศจากเนื้อและเลือดแต่ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพ และมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”
๑.๑๑ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูก ในปุาช้า ที่ ๖
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจโครงกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งปราศจากเอ็นรึงรัด กระจุยกระจายไปตามทิศต่างๆ เช่น กระดูกมืออยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางทิศหนึ่ง กระดูกแข้ง กระดูกขา กระดูกสะเอว กระดูกหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกหน้าอก กระดูกแขน กระดูกไหล่ กระดูกคอ กระดูกคาง กระดูกฟัน กะโหลกศีรษะ อยู่ทิศหนึ่ง ๆ ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพ และมีลักษณะดุจโครงกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”
๑.๑๒ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจท่อนกระดูก ในปุาช้า ที่ ๗
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจท่อนกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งเป็นท่อนกระดูกสีขาวเหมือนสีสังข์ ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพและมีลักษณะดุจท่อนกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”
๑.๑๓ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจกองกระดูก ในปุาช้า ที่ ๘
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจกองกระดูกของศพซึ่งถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งกองอยู่ด้วยกันเกินกว่า ๑ ปี ดังนี้ว่า “กายนี้มีสภาพและมีลักษณะดุจกองกระดูกนี้ ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้”

๑.๑๔ หลักการใช้สติพิจารณากายให้เห็นดุจผงกระดูก ในปุาช้า ที่ ๙
ภิกษุควรพิจารณากายให้เห็นดุจผงกระดูกของศพที่ถูกทิ้งไว้ในปุาช้า ซึ่งแหลกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ดังนี้ว่า “กายนี้ก็มีสภาพและมีลักษณะดุจผงกระดูกนี้แล ไม่ล่วงพ้นสภาพเช่นนี้ไปได้” ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา มีวิธีการปฏิบัติเหมือนกับอิริยาบถ แต่เปลี่ยนคาว่ากายเป็นอสุภะในแต่ละข้อ จบ ป่าช้า ๙ ข้อ จบ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานี้มีสภาพของความเป็นนาม นามจะรู้ได้ยากกว่ารูป แต่เวทนาก็ยังเป็นสิ่งถูกรู้ได้ง่ายกว่าสภาพของจิตตานุปัสสนา เพราะความรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากผัสสะ คือ การกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย แม้แต่ความคิดซึ่งเข้ากระทบใจอยู่ตลอดก็มีผัสสะที่ให้ความรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์ได้ หากพิจารณาข้อปฏิบัติอันเป็นที่สุดของเวทนาก็คือให้รู้จักเวทนาทุกชนิด ทุกเงื่อนไข โดยเริ่มจากง่ายๆ คือให้รู้ว่า อย่างนี้สุข อย่างนี้ทุกข์ อย่างนี้เฉยๆ เวทนาเป็นนามธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่สังเกตเห็นได้ เช่น สุขใจ กับ ทุกข์ใจ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเห็นลักษณะของเวทนา ซึ่งเวทนาแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การพิจารณาจะต้องเป็นไปเพื่อเข้าใจสภาพความเป็นจริง เพื่อปล่อยวาง ฉะนั้นการปฏิบัติในหมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตจะเข้าไปรู้ธรรมชาติในระดับที่ละเอียดขึ้นกว่ากายานุปัสสนาแล้ว ยังเป็นการปฏิบัติที่เข้าใกล้สัจจะที่เกี่ยวกับอนิจจังของสภาวะแห่งรูปและนามได้ดีอีกด้วย
หลักการใช้สติพิจารณาเวทนา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ควรพิจารณาเวทนา ดังต่อไปนี้ คือ ถ้ารู้สึกเป็นสุข ก็ให้กาหนดรู้ว่า “สุข” ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “ทุกข์” ถ้ารู้สึกไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “ไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์(เฉยๆ)” ถ้ารู้สึกเป็นสุขที่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “สุขนี้อิงอามิส”

ถ้ารู้สึกเป็นสุขที่ไม่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “สุขนี้ไม่อิงอามิส” ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์ที่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “ทุกข์นี้อิงอามิส” ถ้ารู้สึกเป็นทุกข์ที่ไม่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “ทุกข์นี้ไม่อิงอามิส” ถ้ารู้สึกไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) ที่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “ความไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) นี้อิงอามิส” ถ้ารู้สึกไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) ที่ไม่อิงอาศัยอามิส (กามคุณ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “ความไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ (เฉยๆ) นี้ไม่อิงอามิส การรู้สุขเวทนาแบบชาวโลกที่รู้กันทั่วๆไป เช่น เด็กอ่อนที่ยังนอนแบเบาะอยู่เมื่อได้กินนมก็ย่อมรู้ชัดว่าเรากาลังสุขอยู่ การรู้แบบนี้ไม่เป็นไปเพื่อละทิฏฐิ ตัณหา มานะ ฉะนั้น การเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานไม่ได้มุ่งหมายความรู้สุขเวทนาเป็นต้น เหมือนอย่างที่เด็กอ่อนรู้นั้น แต่ต้องกาหนดรู้สุขเวทนานั้นที่สภาวะลักษณะว่ามีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นเพราะมีอะไรเป็นเหตุ เช่น สุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะมีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดี เกิดขึ้นแล้วมีความสุขทางกาย ซึ่งไม่ใช่เป็นการรับรู้อารมณ์โดยใคร เวทนาที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่สัตว์บุคคล แต่ที่เป็นไปได้ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ จึงมีการรับรู้(เสวย)อารมณ์นั้นๆ แต่เพราะไม่เข้าใจความเป็นจริงอย่างนี้ บุคคลทั้งหลายจึงยึดถือเอาความเป็นไปแห่งเวทนานั้นว่าเราเสวยเวทนา ฉะนั้น คาว่าเราสุข เราทุกข์ จึงเป็นเพียงแค่โวหารเรียกขานกันเท่านั้น ความเป็นจริงหามีเราสุข เราทุกข์ไม่ มีแต่อารมณ์กับการรับรู้อารมณ์เท่านั้น
ดังตัวอย่างจากอรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ แสดงไว้ว่า พระเถระรูปหนึ่งท่านไม่สบาย ถอนหายใจพลาง นอนกลิ้งไปมาอยู่ ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งถามท่านว่า ท่านขอรับ ที่ตรงไหนของท่านที่โรคเสียดแทง พระเถระตอบว่า ชื่อว่าที่ซึ่งโรคเสียดเฉพาะแห่งไม่มี เวทนาต่างหากเสวย เพราะกระทาวัตถุให้เป็นอารมณ์ ภิกษุหนุ่มเรียนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านควรจะยับยั้งไว้ตั้งแต่เวลาที่รู้ มิใช่หรือ พระเถระตอบว่า ผมกาลังยับยั้ง ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ การยับยั้งไว้เป็นของประเสริฐ พระเถระได้ยับยั้งไว้แล้ว ลาดับนั้นลมเสียดแทงถึงหัวใจ ใส้ใหญ่ได้ออกมากองอยู่บนเตียง พระเถระได้ชี้ให้ภิกษุหนุ่มดูว่า ยับยั้งไว้ขนาดนี้สมควรหรือยัง ภิกษุหนุ่มนิ่ง พระเถระประกอบความเพียรสม่าเสมอ แล้วได้บรรลุเป็นพระ

อรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วปรินิพพานทันที (เป็นพระอรหันต์ประเภทชีวิตสมสีสี) การกาหนดเวทนา เวทนาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการรับกระทบกับอารมณ์ คือมี ผัสสะ เวทนา วิญญาณ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นก็ไม่ใช่เกิดแต่เฉพาะผัสสะเท่านั้น แต่เวทนาที่รับรู้อารมณ์ก็เกิดขึ้นพร้อมกันกับผัสสะตลอดจนกระทั่งธรรมอื่นอันได้แก่ สัญญา ความจาได้หมายรู้ในอารมณ์ เจตนา คือความจงใจ ตลอดจนวิญญาณที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฉะนั้นผู้ปฏิบัติจะกาหนดเวทนาก็ย่อมจะต้องกาหนดเจตสิกธรรม คือ ผัสสะนั้นด้วย เมื่อการกระทบอารมณ์เกิดขึ้นแล้วเวทนา สัญญา และธรรมอื่นๆ ก็เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้วก็จะทราบชัดว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกรชกาย(รูปร่างกาย)นี้ เมื่อพิจารณากรชกายก็จะเห็นแต่เพียงมหาภูตรูปและอุปาทายรูปนั้นเอง ธรรม(อันได้แก่ ผัสสะ เวทนา)ที่อาศัยมหาภูตรูปและอุปาทายรูปเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นเพียงนาม ฉะนั้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นขันธ์ ๕ คือ รูปเป็นรูปขันธ์ ธรรมที่เหลือเป็นนามขันธ์ ๔ เมื่อพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้แล้วก็จะมีแต่เพียงรูปกับนามเท่านั้น มีแต่ขันธ์ ๕ เท่านั้น สิ่งที่จะพ้นไปจากรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมไม่มี เมื่อพิจารณาโดยขันธ์ ๕ ได้แล้วก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า ขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น ก็จะพบว่าเพราะอวิชชา(ความไม่รู้)เป็นต้นเหตุ เพราะความไม่รู้จึงไปทาบุญบ้างทาบาปบ้าง เมื่อเหตุบุญเหตุบาปมีแล้วผลย่อมปรากฏโดยการนาเกิดขึ้นมาในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อสาวหาเหตุได้ถูกต้องแล้วว่า เพราะอวิชชาเป็นเหตุนี้เองจึงทาให้มาเกิดและได้รับเวทนาเหล่านี้อยู่ในขณะนี้ ต่อจากนั้นก็ยกขันธ์ ๕ นั้นขึ้นสู่การพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งทั้งมวลไม่มีอย่างอื่นที่เป็นสัตว์หรือบุคคล มีเพียงกองสังขารล้วนๆ เท่านั้น แล้วพิจารณาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไปตามลาดับแห่งวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณา โดยมีวิธีการปฏิบัติสรุป ดังนี้
๑. นาวิธีข้างต้นมาพิจารณาเวทนา คือเวทนาที่เป็นความรู้สึกของตนให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเวทนา
๒. หรือพิจารณาเปรียบเทียบเวทนาภายในกับภายนอก โดยการเปรียบเทียบเวทนาของตนกับของบุคคลอื่น ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเวทนา
๓. หรือจะใช้สติพิจารณารู้สลับกันไปมาระหว่างเวทนาภายในกับเวทนาภายนอก ให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นเวทนา
๔. ใช้สติพิจารณาการเกิดและธรรมอันเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งเวทนา หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด-ดับและธรรมเป็นเหตุเกิด-ดับแห่งเวทนา สลับกันไปก็ได้
๕. ต้องมีสติอยู่เสมอว่า สภาวะที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียงเวทนาคือความรู้สึกเท่านั้น (ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา) และควรตระหนักด้วยว่าการที่นาเอาเวทนาคือความรู้สึกมาพิจารณาตามนัยข้างต้นนั้น มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น และเพียงเพื่อความสมบูรณ์แห่งการเจริญสติยิ่งๆ ขึ้นเท่านั้น จึงไม่ควรที่จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขารใดๆ ที่กาลังเกิดดับอยู่
จบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (โดยสังเขป)

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตเป็นสิ่งถูกรู้ได้ยากกว่าเวทนา เพราะปกติคนเราจะถูกความรู้สึกนึกคิดห่อหุ้มไว้ เป็นเปลือกหนาชั้นแรกสุด หากขาดการรองรับจากการรู้ระดับต้นๆ เช่น การมีสติกาหนดรู้กายในกายานุปัสสนา และการกาหนดรู้เวทนาในเวทนานุปัสสนา ก็จะเข้าถึงการรู้สภาพจริงๆ ของจิตในปัจจุบันขณะได้ยากมาก เมื่อพิจารณาข้อปฏิบัติการดูจิตก็คือให้รู้จักจิตทุกแบบ ไม่ยกเว้นแม้แต่จิตที่นิ่ง หรือจิตที่หลุดพ้น พระพุทธองค์ทรงมีอุบายวิธีให้รู้จักจิตอย่างเหมาะสมในขั้นต้น คือให้ดูที่เปลือกหยาบของจิตก่อน คือให้รู้ตามจริงว่าจิตมีราคะเป็นอย่างไร จิตมีโทสะเป็นอย่างไร จิตมีโมหะเป็นอย่างไร พอเห็นบ่อยๆ ก็ค่อยๆ เข้าใจสภาวะของจิตแบบหยาบได้เองว่ามีลักษณะอย่างไร เมื่อเห็นสภาวจิตแบบหยาบได้ ต่อไปก็ค่อยพัฒนาไปเห็นสภาวจิตแบบละเอียดได้เช่นกัน และสรุปสุดท้ายก็ให้รู้ว่าจิตทุกสภาวะนั้นมีลักษณะ

เหมือนกันหมด คือ มีความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาเหมือนกัน
หลักการใช้สติพิจารณาจิต
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ควรพิจารณาจิตดังต่อไปนี้ คือ ถ้าจิตมีราคะ (โลภ กาหนัด) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้มีราคะ”
ถ้าจิตปราศจากราคะ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ปราศจากราคะ” ถ้าจิตมีโทสะ (โกรธ) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้มีโทสะ” ถ้าจิตปราศจากโทสะ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ปราศจากโทสะ” ถ้าจิตมีโมหะ (หลง) ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้มีโมหะ” ถ้าจิตปราศจากโมหะ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ปราศจากโมหะ” ถ้าจิตหดหู่ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้หดหู่” ถ้าจิตฟุูงซ่าน ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ฟุูงซ่าน” ถ้าจิตบรรลุฌาน ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้บรรลุฌาน” ถ้าจิตยังไม่บรรลุฌาน ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ยังไม่บรรลุฌาน” ถ้าจิตยังมีจิตอื่นสูงกว่า ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ยังมีจิตอื่นสูงกว่า

ถ้าจิตไม่มีจิตอื่นสูงกว่า ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ไม่มีจิตอื่นสูงกว่า” ถ้าจิตเป็นสมาธิ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้เป็นสมาธิ” ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ไม่เป็นสมาธิ” ถ้าจิตหลุดพ้นจากกิเลส ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้หลุดพ้นจากกิเลส” ถ้าจิตยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส ก็ให้กาหนดรู้ว่า “จิตดวงนี้ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลส” ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีการข้างต้นนี้มาพิจารณาโดยมีวิธีการปฏิบัติโดยสรุป คือ
๑. ผู้ปฏิบัติควรนาวิธีข้างต้นนี้มาพิจารณาจิตภายในคือจิตของตนให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นจิต
๒. หรือจะนาจิตภายในมาพิจารณาเปรียบเทียบกับจิตภายนอกคือจิตของผู้อื่นให้เห็นว่าจิตของผู้อื่นก็เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นจิต เหมือนกับจิตของเรานั่นเอง
๓. หรือจะใช้สติพิจารณาทั้งจิตภายในและจิตภายนอกให้เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นจิต สลับกันไปก็ได้
๔. ใช้สติพิจารณาการเกิดและธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งจิต หรือใช้สติพิจารณาการดับและธรรมเป็นเหตุดับแห่งจิต หรือใช้สติพิจารณาทั้งการเกิด-ดับและธรรมเป็นเหตุเกิด-ดับแห่งจิต สลับกันไปก็ได้
๕. ต้องมีสติอยู่เสมอว่า สภาวะที่ปรากฏอยู่นี้เป็นแต่เพียงจิตเท่านั้น (ไม่ใช่บุคคลอัตตาตัวตนเราเขา) และควรตระหนักด้วยว่าการที่นาเอาจิตมาพิจารณาตามนัยข้างต้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพียงต้องการให้ญาณปัญญาแก่กล้ายิ่งๆ ขึ้น และเพียงเพื่อความ
สมบูรณ์แห่งการเจริญสติเท่านั้น จึงไม่ควรที่จะหลงผิดยึดติดอยู่ในสังขาร (จิต) ใดๆ ที่กาลังเกิดดับอยู่
จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เดี๋ยวคราวหน้าจะการพิจารณาการปฏิบัติอย่างอื่นมาให้อ่านครับ

เอาบุญมาฝากได้เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน เมื่อวานนี้ได้รักษาอาการป่วยของแม่
ศึกษษธรรม ทุกวันและสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง
ได้อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมบุญสร้างห้องน้ำห้องสุขา ณ วัดเขาผึ้ง
โทร. 087-0155124

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้