นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พุธ 15 ม.ค. 2025 10:23 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: กามวิถี
โพสต์โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. 08 เม.ย. 2010 7:26 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
การพิจารณาในปรมัตถ์ธรรมคือ รูปและนาม ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจในเรื่องของเครื่องหมายคือลักษณะของรูปขันธ์และนามขันธ์ เพื่อจะได้เข้าใจลักษณะของรูปนามได้อย่างถูกต้อง เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องแล้วจะตัดสินได้ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสังขารธรรมทั้งสิ้น คือ ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ลักษณะ ๓ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๑. อนิจจัง อนิจจัง คือ เครื่องหมายของธรรมที่ไม่เที่ยง คือความสิ้นไป ดับไป สภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ จิตและเจตสิกที่ปรุงแต่งจิต ตลอดจนรูปทั้งหมด จะมีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้เห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้นเราจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาพธรรมเหล่านี้ก็มีอาการที่เป็นเครื่องหมายของความเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว อาการที่เป็นเครื่องหมายนี้นั่นเอง เรียกว่า อนิจจัง ๒. ทุกขัง ทุกขัง คือ เครื่องหมายของธรรมที่เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไป สภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘
จิตและเจตสิกที่ปรุงแต่งจิตและรูปทั้งหมด จะมีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้เห็นได้ถึงความที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ต้องดับไป อาการที่เป็นเครื่องหมายของความทนอยู่ไม่ต้องดับไปสิ้นไป อาการที่เป็นเครื่องหมายนี้นั่นเอง เรียกว่า ทุกขัง ๓. อนัตตา อนัตตา คือ เครื่องหมายของธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่ตัวตน ได้แก่ ความไม่มีแก่นสาร ปราศจาก เรา-เขา ที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ สภาพธรรมนี้ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพานและบัญญัติ จิตเจตสิกและรูปที่เรารู้จักลักษณะโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์แล้ว ก็ยังต้องศึกษาต้องไปอีกว่าทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็มีอาการที่เป็นเครื่องหมายให้เห็นได้ถึงความไม่มีแก่นสารสาระบังคับบัญชาไม่ได้ เรียกว่า อนัตตา อาการที่เป็นเครื่องหมายของความเป็นอนัตตา มีอยู่ในสภาพธรรมทั้งหมด รวมถึงพระนิพพานและบัญญัติด้วย

อนุปัสสนา หมายความว่า การรู้เห็นเนืองๆ อนุปัสสนา ๓ ได้แก่
๑. อนิจจานุปัสสนา
๒. ทุกขานุปัสสนา
๓. อนัตตานุปัสสนา
๑. อนิจจานุปัสสนา อนิจจานุปัสสนา คือปัญญาที่เกิดจากการรู้เห็นเนืองๆ ในความไม่เที่ยงของรูปนาม เป็นการเห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม ปัญญาที่เห็นแจ้งรูปนามเช่นนี้ ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา
การพิจารณารูปนามนั้นควรทราบถึงศัพท์บัญญัติที่สื่อความหมายถึงตัวของรูปนาม คือ อนิจจะลักษณะของรูปนาม คือ อนิจจลักษณะ และปัญญาที่เกิดขึ้นในการพิจาณารูปนาม คือ อนิจจานุปัสสนา ความหมายศัพท์ อนิจจะ คือ ธรรมที่ไม่เที่ยง มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป อันได้แก่ รูปนาม อนิจจลักขณะ คือ เครื่องหมายที่รู้ว่าไม่เที่ยง อนิจจานุปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงอยู่เนืองๆ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ต้องกาหนดระลึกรู้อยู่กับรูปนาม ต้องใส่ใจในรูปนามนั้นเป็นอารมณ์ รูปนาม ได้ชื่อว่า “อนิจจัง” เพราะมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ทั้งรูปและนามนั้นมีอาการหรือเครื่องหมายให้รู้ว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับ อาการเช่นนี้เรียกว่า “อนิจจลักขณะ” เมื่อผู้เจริญวิปัสสนาแล้วรู้เห็นความเป็นของจริงโดยเห็นแจ้งในอาการของรูปนามว่าไม่เที่ยง มีการเกิดดับ ปัญญาที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา (เปรียบเหมือนกับการขับรถ รถเป็นเพียงอุปกรณ์อย่างหนึ่งให้คนขับ ถ้าจะเปรียบเทียบกับการปฏิบัติแล้วอุปกรณ์การปฏิบัติก็คือรูปและนามเพราะ เป็นเพียงอุปกรณ์เครื่องอาศัยในการกาหนดรู้ การเคลื่อนไปของรถเป็นลักษณะอาการธรรมดาของรถยนต์ที่เคลื่อนที่ไปตามกาลังขับเคลื่อน เปรียบเหมือนลักษณะอาการของรูปนามที่มีการเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่านี่เองเป็นธรรมชาติของรูปและนาม คนขับเมื่อมีความเชี่ยวชาญในการขับ ความเชี่ยวชาญนั้นเปรียบเหมือนปัญญาที่ผู้ปฏิบัติเกิดขึ้นเพราะรู้ถึงลักษณะของรูปนามนั่นเอง) เมื่อปัญญาได้รู้เห็นอนิจจลักษณะ สัญญาความจาหมายว่ารูปนามเที่ยง คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง ก็หายไป หรือเรียกว่าสัญญาวิปัลลาส เมื่อสัญญาวิปัลลาสหายไป ทิฏฐิวิปัสลาส จิตตวิปัลลาส ทั้ง ๒ ก็จะบรรเทาลงไปได้ ทาให้ความหลง ความไม่รู้ในสภาวะที่กาลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า และตัณหาความยินดีพอใจรักใคร่อยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย ด้วยความมีอุปาทานความยึดมั่นในอารมณ์ ด้วยอานาจของ โลภะและทิฏฐิ ก็บรรเทาเบาบางลดลงได้

การปรากฏขึ้นของ “อนิจจานุปัสสนา” ถ้าว่าตามวิปัสสนาญาณแล้วจะปรากฏต่อเมื่อ สัมมสน-ญาณและอุทยัพพยญาณเกิดแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์แท้เท่านั้นเอง ๒. ทุกขานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา คือปัญญาที่เกิดจากการรู้เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ของรูปนามขันธ์ ๕ จนทุกขลักษณะปรากฏ ปัญญานี้ได้ชื่อว่า “ทุกขานุปัสสนา”

ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทนอยู่ไม่ได้ของรูปนาม ที่เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งการเบียดเบียน โดยอาการเกิดขึ้นแล้วดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กาหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่นั้นแหละ ปัญญานี้ชื่อว่า “ทุกขานุปัสสนา” ความหมายศัพท์ ๒.๑ ทุกขะ คือ ธรรมที่เป็นทุกข์ ได้แก่ รูปนาม ๒.๒ ทุกขลักษณะ คือ เครื่องหมายที่กาหนดว่าเป็นทุกข์ของรูปนาม ได้แก่การ เกิดดับติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ๒.๓ ทุกขานุปัสสนา คือ ปัญญาที่มีการพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์อยู่เนืองๆ ในรูป
นาม หรือขณะที่เห็นความเกิดดับของรูปนามอยู่นั้น ความรู้สึกในขณะนั้นก็เกิดขึ้นว่า กายใจนี้เป็นของน่ากลัวเป็นภัย จะหาความสุขสบายใจจากกายใจอย่างแท้จริง

นั้นหาไม่ได้เลย ความรู้อย่างนี้เกิด ขึ้นจากปัญญาที่กาหนด รู้รูปนาม ตามธรรมดาคนทั้งหลายย่อมเข้าใจในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายว่า พรหมมีความสุข เทวดาชั้นสูงมีความสุขแต่เทวดาชั้นต่ามีความทุกข์ มนุษย์ที่มีร่างกายสมบูรณ์มีอนามัยดีมั่งมีศรีสุข มีความสุข ร่างกายไม่สมบูรณ์ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน อนามัยไม่ดียากจนเข็ญใจเหล่านี้เป็นทุกข์ หรือสัตว์ดิรัจฉานบางจาพวกเป็นสุข บางพวกเป็นทุกข์ เหล่านี้ก็เป็นความเข้าใจถูกต้องเหมือนกันเพราะมองไปในด้านการเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ของสัตว์ทั้งหลาย แต่ความจริงแล้วสุขกายสุขใจ ทุกข์กายทุกข์ใจ ล้วนแต่มีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่คงที่ ดับแล้วก็กลับเกิดขึ้นอีกเป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไปโดยไม่ว่างเว้น ดังนั้นรูปนามที่มีสุขหรือไม่มีสุขก็ตาม ทั้งหมดจึงล้วนแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้นเพราะไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ ทุกข์มีอยู่มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน แต่คาว่า ทุกข์ โดยตามธรรมแล้วมี ๓ คือ ๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะทนได้ยากเป็นทุกข์จริง ได้แก่ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปโดยไม่หยุดยั้ง ได้แก่ สุข กาย สุขใจ ๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับได้แก่ รูป นาม หรือกาย ใจ ทั่วไป ทุกขทุกข์ คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ เพราะกายมีอาการเป็นไปต่างๆ เช่น จุกเสียด เจ็บปวด เป็นต้น ส่วนใจเป็นทุกข์ก็เพราะเสียใจ โกรธ กลัว เนื่องจากได้รับภัยต่างๆ ทุกข์ทั้ง ๒ นี้ล้วนแต่ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น
วิปริณามทุกข์ คือ ความสุขกาย สุขใจ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงปรวนแปรไปไม่คงที่นั้นเอง เช่น เมื่อลมพัดมากระทบกายความสุขกาย สุขใจย่อมเกิดขึ้น ครั้นลมหยุดพัดความสุขกายสุขใจก็หายไป หรือขณะที่เดินจนเมื่อยล้ามากเมื่อนั่งก็จะเป็นสุข แต่นั่งไปนานๆ ก็เมื่อยล้าเป็นทุกข์อีก ต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปอีกจึงจะสุข ความสุขใจจะมีอยู่ก็

ต้องคอยปรับปรุงเพิ่มเติมอยู่มิได้ขาด ความสุขกายสุขใจนี้จึงเป็น วิปริณามทุกข์ สังขารทุกข์ รูปนามเป็นไปได้ก็เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยการเกิดดับ การเป็นไปของรูปนามในแต่ละช่วงแต่ละตอนนั้นถ้าพิจารณาดีๆ จะเห็นว่าเป็นไปได้เพราะการสืบต่อ เช่นเดียวกันกับภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ ภาพที่ปรากฏนั้นก็เพราะเนื่องมาจากการลาดับติดต่อกันของฟิล์มที่ถ่ายมาเป็นภาพๆ เมื่อตัดต่อเชื่อมกันไว้เป็นอย่างดี ทาการฉายออกมาให้เห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพียงชั่ว ๑ นาที ภาพที่เป็นแต่ละภาพๆ นั้นก็ผ่านไปหลายร้อยแต่ผู้ดูบางคนก็หาได้รู้ไม่ ฉันใด การเกิดดับติดต่อกันของรูปนาม อย่างไม่ขาดสายก็ฉันนั้น ดังนั้นจึงกล่าวว่ารูปนามทั้งหมดเป็นสังขารทุกข์ ในทุกข์ทั้ง ๓ อย่างนี้ สังขารทุกข์อย่างเดียวที่มีอยู่ในสังขารธรรมทั่วไปทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ความต่างกันระหว่างผู้ไม่มีสติกับผู้มีสติ ผู้ไม่มีสติในการกาหนดรู้รูปนาม ไม่อาจรู้ได้ถึงการถูกเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปของรูปนามอยู่ตลอดเวลาซึ่งเป็นไปอยู่ในทวาร ๖ ฉะนั้นเมื่อมีอาการเจ็บปวด เป็นต้น ที่เป็นทุกข์กายเกิดขึ้น ในขณะนั้นก็ไม่รู้เห็นความทุกข์ที่มีอยู่ในกายโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามแต่อย่างใดเลย คงเห็นเป็นบัญญัติที่เนื่องมาจากสักกายทิฏฐิว่า เราปวด เราเจ็บ เราทุกข์ เราทรมาน ดังนั้นทุกข์กายที่เป็นทุกขทุกข์ และสภาพทนได้ยากที่เป็นทุกขทุกขลักษณะจึงไม่อาจปรากฏแก่ผู้นั้นโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์ได้เลย เนื่องมาจากการเปลี่ยนอิริยาบถได้ปกปิดความทุกข์กายและสภาพทนได้ยากไว้ โดยที่ไม่มีการรู้ตัวเมื่อประสบทุกขทุกข์และทุกขทุกขลักษณะ จึงมิอาจจะปรากฏโดยความเป็นสภาวปรมัตถ์แก่เราได้ การปรากฏแห่งวิปริณามทุกข์และวิปริณามทุกขลักษณะ สังขารทุกข์และสังขารทุกขลักษณะ เหล่านั้นก็ยิ่งเกิดขึ้นไม่ได้
ผู้มีสติกาหนดรู้รูปนาม ผู้ที่มีการกาหนดรู้ในรูปนามนั้น ย่อมรู้เห็นการเบียดเบียนด้วยอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนามโดยไม่ขาด

ในทวารทั้ง ๖ ดังนั้นเมื่อวิปริณามทุกขลักษณะปรากฏ คือความสุขกายที่เกิดขึ้น ในขณะแรกแห่งอิริยาบถ สมมุติว่าเมื่อนั่งใหม่ๆ ก็สุขกายแต่มาภายหลังความสุขนั้นได้หายไป ผู้นั้นก็สามารถรู้เห็นวิปริณามทุกขลักษณะนี้ได้ ตลอดจนสามารถรู้เห็นในการปวด เมื่อย เจ็บ ปวด ร้อน หนาว หิว กระหาย เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยความเป็นสังขารธรรมรูปนามล้วนๆ มิได้เกี่ยวกับความรู้สึกว่าเป็นเราปวด เมื่อย เป็นต้นนั้นอยู่เป็นเวลานานจนกระทั่งทนไม่ไหว มีจิตคิดจะเปลี่ยนก็รู้ถึงวาระจิตที่ต้องการจะเปลี่ยนนั้นด้วย ตลอดจนถึงกาลังทาการเปลี่ยนอิริยาบถ ครั้นเปลี่ยนแล้วความสุขกายเกิดขึ้นก็สามารถรู้ในความสุขกายนี้ได้อีก เมื่อความสุขกายหมดไปก็รู้เห็นได้อีก เพราะการมีสติกาหนดรู้อยู่ในสังขารทุกข์และสังขารทุกขลักษณะ วิปริณามทุกข์และ วิปริณามทุกขลักษณะ ทุกขทุกข์ และทุกขทุกขลักษณะ ที่เกิดขึ้นในอิริยาบถต่างๆ ได้โดยลาดับต่อเนื่องกันไม่ขาดระยะ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติรู้ในอิริยาบถ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กล่าวนี้ การปฏิบัติเช่นนี้ได้ชื่อว่าไม่ใส่ใจในอิริยาบถ เป็นอันว่าปัญญารู้ในความเป็นจริงเกิดขึ้น ชื่อว่าทุกขานุปัสสนา ๓. อนัตตานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่มีแก่นสารปราศจากการบังคับบัญชาของรูปนามที่เนื่องมาจากการพบเห็นเป็นประจักษ์แห่งความไม่ใช่ตัวตน เรา เขา โดยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กาหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่ ปัญญานี้ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
การพิจารณาอัตตาและอนัตตา ดังตัวอย่างการเจริญกายคตาสติ เฉพาะที่กล่าวไว้ในหมวดความเป็นธาตุ ๒๐ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังพืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ธาตุทั้ง ๒๐ นี้ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในสุตตันตปิฏกและอภิธรรมปิฎกว่าเป็น ปถวีธาตุ ตราบใดที่ผู้ปฏิบัติยังพิจารณาเส้นผมโดยความยึดไว้ว่านี้เป็นเส้นผมของเราที่สวยงาม ขณะนั้นความเป็นจริงของสภาวะของปถวีธาตุก็ไม่ปรากฏ เพราะขณะนั้นฆนะ คือ ความเป็นกลุ่มเป็นกองปิดบังความจริงไว้ ถ้าความเป็นกลุ่มกองแตกไป อนัตตลักษณะก็เห็นชัดแจ้ง คือ เห็นว่าเส้นผมนั้นเป็นเพียงปถวีธาตุ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นเพียงธาตุที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงสลายไป ผู้ปฏิบัติไม่สามารถเห็นความจริงของสภาวธรรมได้ก็เพราะอนัตตลักษณะไม่ปรากฏ อันเนื่องจากฆนะคือความเป็นกลุ่มเป็นกองได้ปกปิดไว้ คาว่า ฆนะ หมายความว่าเกิดขึ้นเป็นกลุ่มก้อน ฆนะเป็นเหตุให้บุคคลทั้งหลายเข้าใจผิดถือว่าบุคคลสัตว์เราเขา เรียกกันว่ามีความยึดถือแบบเป็นอัตตา แต่เมื่อฆนะแตกแล้วอัตตาก็หายไป อนัตตาก็จะปรากฏชัดเจนแทนที่ เมื่อไม่พิจาณารูปและนามแล้วจึงทาบัญญัติปรากฏชัด แต่กลับทาให้สภาพของปรมัตถ์กลับหายไป เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ในอาการ ๓๒ นั้น เส้นผมเป็นปถวีธาตุ แต่มีสัณฐานบัญญัติได้ปกปิดไว้ทาให้มองเห็นเป็นสิ่งกลมๆ ยาวๆ คนทั้งหลายเรียกกันว่าเส้นผม ส่วนความจริงอันได้แก่ปถวีธาตุที่มีสภาพสุขุมละเอียดนั้นไม่ปรากฏ แต่เมื่อพิจารณารูปและนามตามสภาพความเป็นจริงแล้วจะทาให้สภาวะของปรมัตถ์ปรากฏชัดและความเป็นบัญญัติก็หมดไป เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าใจสถาวะความเป็นจริงของเส้นผมว่า สิ่งที่สมมุติเรียกว่าเส้นผมนี้ แท้จริงแล้วไม่ใช่เส้นผม เป็นเพียงปถวีธาตุ ความหนาแน่นของปถวีธาตุนี้เอง ที่เรียงติดต่ออัดแน่นอยู่ภายในเส้นที่เรียวๆ ยาวๆ นี้ เมื่อรู้ถูก พิจารณาถูก ก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่น ความพิเศษแห่งบัญญัติและปรมัตถ์

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้มีกล่าวถึงเรื่องบัญญัติและปรมัตถ์ไว้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้ คือ ถามว่า : ท่านถือเอาสภาวธรรมโดยอานาจบัญญัติที่เกิดขึ้นจากการกระทานั้นๆ มิใช่หรือ ? ตอบว่า : ใช่ ถือเอาแต่ตอนต้นๆ เท่านั้น แต่เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนานานเข้าๆ จิตจะก้าวล่วงบัญญัติเสียและตั้งอยู่ในสภาวธรรมล้วนๆ อธิบายได้ว่าในการเจริญวิปัสสนานั้นขั้นต้นๆ เมื่อตั้งสติกาหนดรูปนาม โดยการเดินจงกรม เป็นต้น คนทั้งหลายก็อาจสงสัยในวิธีการว่า การกาหนดอย่างนี้เป็นการกาหนดบัญญัติ เมื่อกาหนดบัญญัติอยู่จะจัดเป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร ? ความสงสัยเช่นนี้ก็ถูกต้อง แต่ว่าถูกไม่หมด เพราะในขั้นต้นนั้นก็พึงให้ผู้ปฏิบัติกาหนดอารมณ์บัญญัติไปก่อน มิฉะนั้นจิตจะไม่มีที่กาหนด เพราะปรมัตถ์เป็นสภาวะที่เห็นได้ยาก เมื่อกาลังภาวนา ตั้งมั่นอารมณ์บัญญัติเหล่านี้จะหายไป เหลือแต่สภาวปรมัตถ์ความเป็นรูปนามขันธ์ ๕ ล้วนๆ ตอนแรกเริ่มปฏิบัติการกาหนดอารมณ์ยังเป็นบัญญัติอยู่ อัตตาจึงยังปรากฏอยู่ อนัตตาก็ไม่ปรากฏ แต่เมื่อปัญญาภาวนาแก่กล้าขึ้น อารมณ์บัญญัติก็หายไป อารมณ์ปรมัตถ์ก็เกิดขึ้นแทน ในช่วงที่อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นนี้เอง อนัตตาก็ปรากฏ อัตตาก็หายไป เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดพิจารณาในสังขารธรรม รูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและฆนบัญญัติที่ปกปิดการเกิดดับของสังขตธรรมในรูปนามขันธ์ ๕ ก็ขาดแตกไป ความเห็นที่บริสุทธิ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเวลาใด เวลานั้นวิปัสสนาญาณของผู้ปฏิบัติก็เข้าถึงความเป็นอนัตตานุปัสสนา ก็ปรากฏขึ้นได้
ผู้ที่ไม่มีการกาหนดในสังขตธรรมคือรูปนามขันธ์ ๕ แล้ว อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังขตธรรมคือรูปนามขันธ์ ๕ เลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้ว คงรู้เห็นแต่บัญญัติ เช่น เมื่อเห็นสีก็รับรู้และเข้าใจไปแต่ในเรื่องต่างๆ ว่า เป็นหญิง ชาย เป็นต้น นี้ก็เป็นไป

เพราะสันตติบัญญัติและฆนบัญญัติได้ปกปิดอารมณ์ไว้ ผู้รับรู้อารมณ์ก็ไม่มีสติไปกาหนดพิจารณา สาหรับท่านที่กาหนดสังขตธรรมรูปนามขันธ์ ๕ ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ก็จะสามารถรู้ทะลุปรุโปร่งในฆนบัญญัติที่ปกปิด การเกิดดับของสังขตธรรมรูปนามขันธ์ ๕ ในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน รู้รส ได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ คิดนึกต่างๆ เหล่านี้ ขาดลงเป็นตอนๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและไม่มีแก่นสาร ปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ญาณปัญญาก็เกิดขึ้นเข้าถึงความเป็นอนัตตานุปัสสนาได้

ผู้ปฏิบัติที่ใคร่ครวญพิจารณารูปนามอยู่เนืองๆ ด้วยวิธีการโดยแง่มุมต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วใน บทก่อน เมื่อปัญญาญาณเกิดขึ้นก็จะเกิดขึ้นไปตามลาดับ ปัญญาความรู้ที่เกิดขึ้นจะเป็นเครื่องชี้วัดระดับปัญญาในขั้นการปฏิบัตินั้น ซึ่งญาณปัญญามีถึง ๑๖ ระดับ แบ่งได้ดังนี้
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญาที่กาหนดรู้เห็นรูปนามขันธ์ ๕ ตามสภาวะที่แท้จริง เมื่อผู้ปฏิบัติดาเนินการปฏิบัติตามวิธีต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ผลของการปฏิบัติจะทาให้วิปัสสนาญาณต่างๆ ปรากฏเกิดขึ้นตามลาดับ เริ่มตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นไป การกาหนดรูปนาม ทางขันธ์ ๕ สาหรับผู้เริ่มปฏิบัติขอให้กาหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ โดยกาหนดดังนี้ (เรื่องรูปขอให้ท่านนักศึกษาอ่านทบทวนในบทเรียนชุดที่ ๕) ในสรีระร่างกายนั้นประกอบด้วย รูป ๒๘ รูป คือ นิปผันนรูป ๑๘ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ ปสาทรูป ๕ วิสยรูป ๔ ภาวะรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ อาหารรูป ๑ และอนิปผันรูป ๑๐ ได้แก่ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณะรูป ๔ การกาหนดรูปขันธ์ต้องกาหนดที่นิปผันนรูป ๑๘ (ส่วนอนิปผันรูป ๑๐ ไม่ต้องกาหนดรู้เพราะไม่สามารถนามาพิจารณาโดยความเป็นไตรลักษณ์ได้)

เจตสิก ๕๒ กาหนดเวทนาเจตสิกที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกที่ประกอบในโลกียจิต ๘๑ กาหนดเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ๕๐(เว้นเวทนาและสัญญา) ที่ประกอบกับโลกียจิต ๘๑ กาหนดเป็นสังขารขันธ์ ส่วนโลกียจิต ๘๑ กาหนดเป็นวิญญาณขันธ์ ในลาดับต่อมาผู้ปฏิบัติจะพิจารณารูปขันธ์ว่าเป็นรูปธรรม และพิจารณานามขันธ์ ๔ ว่าเป็นนามธรรม นี่คือการกาหนดรูปนามทางขันธ์ ๕ เป็นหลัก อธิบายเพิ่มเติมเรื่องการกาหนดรูปขันธ์ โดยกาหนดที่นิปผันนรูป ๑๘ ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ จนถึงอาหารรูป เมื่อศึกษาแล้วอาจจะท้อแท้และคิดว่านิปผันนรูป๑๘ นั้นกาหนดยากเหลือเกิน ใครเล่าจะไปกาหนดรู้ได้ทั้งหมด ขอชี้แจงว่าผู้ปฏิบัติก็เพียรระลึกรู้อยู่ในรูปอย่างใดอย่างหนึ่งให้ปรากฏชัดเช่น มหาภูตรูป๔ เป็นรูปใหญ่เป็นประธานเป็นที่อาศัยของรูปอื่นๆ สามารถรู้ได้ง่ายกว่า ก็พยายามระลึกรู้มหาภูตรูป ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เนืองๆ รูปใดไม่ปรากฏชัดก็ไม่ต้องไประลึกรู้ เพราะสติปัญญาอาจจะยังไม่มากพอที่จะไปกาหนดรู้ได้ และต้องประกอบกับการต้องศึกษารายละเอียดของรูปที่เหลือว่ามีลักษณะเช่นไร แล้วก็หมั่นสังเกต หมั่นระลึกรู้ไป โดยไม่เร่งรัด โดยไม่ทอดธุระ สักวันหนึ่งเมื่อกาลังของสติปัญญามากพอ การปฏิบัติก็จะเกิดผลสามารถที่จะรู้จักรูปขันธ์ได้ เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดรูปธรรมแล้ว ก็ย้อนมากาหนดนามธรรม แต่ถ้านามธรรมนั้นยังไม่ปรากฏก็อย่าท้อถอยเลิกละการกาหนดเสีย ควรใส่ใจใคร่ครวญในรูปธรรมเหล่านั้นซ้าไปเรื่อยๆ เพราะว่ารูปธรรมเหล่านั้นที่พิจารณาดีแล้ว สะสางชาระออกแล้ว บริสุทธิ์และเห็นจนชัดแจ้งดีแล้ว นามธรรมซึ่งมีรูปธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นมาเอง อุปมาได้กับบุคคลดูเงาหน้าในกระจกที่มัวๆ เงาหน้าก็ไม่ปรากฏหรือปรากฏไม่ชัด แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่ทิ้งกระจกไป กลับเช็ดกระจกนั้นซ้าแล้วซ้าเล่าจนใสสะอาด เงาหน้าของบุคคลนั้นก็จะปรากฏขึ้นเอง ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อบุคคลยังไม่สามารถพิจารณานามรูปได้ชัดเจนก็อย่าทอดทิ้งละทิ้งการปฏิบัติ เมื่อมีข้อปฏิบัติที่ถูกต้องและกระทาให้มากเจริญให้มาก นามรูปก็จะปรากฏเอง เช่นเดียวกับเงาหน้าที่ปรากฏชัดบนกระจกที่เช็ดอย่างดีแล้ว การปรากฏของรูปนาม

การพิจารณารูปธรรมซ้าแล้วซ้าเล่าจนหมดจดชัดแจ้งดีแล้วเท่านั้น บรรดากิเลสทั้งหลายที่เป็นข้าศึกต่อการกาหนดรู้นามธรรมนั้นก็สงบลง นามธรรมก็จะปรากฏขึ้นได้ การกาหนดรูปต้องกาหนดรู้ วิเสสลักษณะของรูป ได้แก่ ลักษณะ และกิจ เป็นต้น ของรูปทั้งหลายเสียก่อน จนกิเลสไม่เข้าไปยึดถือได้ อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่ากาหนดรูปได้อย่างหมดจดดีแล้ว เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดสภาวะของรูปธรรมจนปรากฏชัดเจนดีแล้ว เช่น พิจารณาว่าธาตุดินในลมหายใจเข้าออกมีลักษณะอ่อนแข็งอย่างไร ธาตุดินในเส้นผมมีลักษณะอ่อนแข็งอย่างไร เป็นต้น ในขณะที่มีการกระทบ ขณะนั้นก็มีผัสสะคือการรับกระทบ มีเวทนาคือการรับรู้อารมณ์ก็เป็นไปด้วย พร้อมกันนั้นเจตสิกธรรมอื่นๆ ที่เข้าประกอบกับจิตก็เป็นไป ธรรมทั้งหมดที่ประกอบกับจิตก็จะปรากฏชัดให้เห็นธรรมชาติของนามธรรมทั้งหลายที่ประกอบกับจิตนั้นได้ด้วย ในการปฏิบัติถ้าจะพิจารณาผัสสะไม่ต้องพิจารณาเวทนา หรือถ้าจะพิจารณาเวทนาก็ไม่ต้องพิจารณาธรรมอื่นที่เหลือ ต่อเมื่อปัญญากล้าแล้วก็อาจจะสามารถรู้ถึงธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้โดยพร้อมกันก็ได้ เจตสิกธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้นประกอบกับจิตพร้อมกันแต่การพิจารณารับรู้ของผู้ปฏิบัติก็สามารถพิจารณาไปได้ที่ละอย่างๆ จุดประสงค์ของการกาหนดรูปนาม คือ
๑. เพื่อละชื่อสมมุติทางโลก
๒. เพื่อให้พ้นความเข้าใจผิดว่ามี สัตว์ บุคคล
๓. เพื่อให้จิตประกอบด้วยปัญญา คือ การรู้จริง
คาสอนในพระสูตรต่างๆ มีอยู่มากมายที่ต้องการให้ก้าวพ้นความลุ่มหลงว่า มีสัตว์ มีบุคคล ตัวตน เรา เขา ดังเช่น คากล่าวของนางวชิราภิกษุณีกล่าวไว้ว่า ความจริง เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมุติเรียกกันว่า สัตว์ ก็มีขึ้น เหมือนเสียงที่เรียกว่า “รถ” มีขึ้น ก็เพราะเอาส่วนต่างๆ ประกอบกันเข้า
แม้ท่านพระสารีบุตรก็กล่าวไว้อีกว่า อาวุโส เพราะอาศัยไม้ เถาวัลย์ ดิน และหญ้า ล้อมเอาอากาศเข้าไว้ จึงเรียกว่า “อาคาร” ฉันใดก็ดี อาวุโส เพราะอาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และเพราะอาศัยหนัง ล้อมเอาอากาศเข้าไว้ จึงถึงการนับว่า “รูป”(ที่เรียกกันว่าสัตว์ บุคคล) ฉันนั้น
เช่นกัน ทั้งนางวชิราภิกษุณีก็กล่าวไว้อีกว่า ที่จริง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และดับไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ รูปนามอาศัยกัน รูปและนามในภพที่มีขันธ์ ๕ ต่างอาศัยกันและกัน สิ่งหนึ่งเป็นผู้ค้าจุนอีกสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อสิ่งหนึ่งล้มลงไปด้วยการแตกทาลาย อีกสิ่งหนึ่งก็ล้มลงด้วยการแตกทาลายเช่นกัน เปรียบเหมือนไม้ ๓ อันที่พิงกันไว้ ถ้าไม้ท่อนหนึ่งล้มลง ไม้ที่เหลือก็ล้มลงด้วย หรือเปรียบให้เห็นด้วยเสียงกลอง เสียงเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยกลองที่ถูกตีด้วยไม้ตีกลอง เสียงก็เป็นอย่างหนึ่ง กลองก็เป็นอย่างหนึ่ง เสียงและกลองไม่ปะปนกันไม่เป็นสิ่งเดียวกัน ในกลองก็ไม่มีเสียงในเสียงก็ไม่มีกลองฉันใด นามเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยรูป คือ วัตถุ ทวาร และอารมณ์ รูปก็เป็นอย่างหนึ่ง รูปและนามไม่ปนกันไม่เป็นสิ่งเดียวกัน ในนามก็ไม่มีรูป ในรูปก็ไม่มีนามฉันนั้น นามอาศัยรูปจึงเกิดขึ้นเหมือนเสียงอาศัยกลองจึงดังขึ้นนั่นเอง รูปและนามไร้อานาจในตัวเอง รูปและนามนี้ นามไม่มีอานาจไม่มีความสามารถในตัวเองไม่สามารถกิน ดื่ม พูด หรือสาเร็จอิริยาบถใดๆ ได้ รูปก็เช่นเดียวกันไม่มีความปรารถนาหรือต้องการที่จะกิน ดื่ม พูด หรือสาเร็จอิริยาบถใดๆ รูปเป็นไปได้ก็อาศัยนาม นามเป็นไปได้ก็อาศัยรูป เมื่อนามปรารถนาอย่างไร รูปก็เป็นไปอย่างนั้น เพื่อต้องการให้เข้าใจชัดเจนดีขึ้นพระอาจารย์ทั้งหลายจึงได้อุปมาไว้ดังนี้ ชายตาบอดแต่กาเนิดไม่สามารถเห็นได้ด้วยตนเอง กับชายเป็นง่อยไม่สามารถเดินไปมาได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าชายทั้งสองคนอาศัยซึ่งกันและกัน คือ ชายตาบอดแบกชายเป็นง่อยไว้บนบ่า โดยมีชาย เป็นง่อยคอยบอกทางเดินให้ ชายทั้งสองก็สามารถไปในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย แต่ถ้า ชายสองคนนี้แยกจากกัน มิได้อาศัยซึ่งกันและกัน ชายทั้งสองคนก็ไม่สามารถไปในที่ต่างๆ ได้ เพราะต่างก็เป็นคนทุพพลภาพด้วยกัน เช่นเดียวกับรูปและนาม นามก็ไม่มีอานาจให้สาเร็จกิริยาต่างๆ ได้ รูปก็ไม่มีอานาจในการทากิริยาต่างๆ แต่การเกิดขึ้นของกิริยาต่างๆ นั้น สาเร็จได้ด้วยการอาศัยซึ่งกันและกันของรูปและนาม

การที่ผู้ปฏิบัติตั้งสติกาหนดรูปนามเป็นอารมณ์ จนสามารถแยกนามแยกรูปจนเห็นได้ชัดเจน และรู้เข้าใจว่ามีแต่รูปกับนามเท่านั้นนอกจากรูปกับนามแล้วไม่มีอะไร ที่เป็นเช่นนี้เพราะตั้งใจกาหนดด้วยดีจึงเห็นได้ ถ้าไม่ตั้งใจกาหนดไม่มีสมาธิก็ไม่สามารถจะรู้เห็นได้เลย เพราะรูปนามนี้ถ้าจิตสงบปราศจากนิวรณ์แล้วย่อมปรากฏได้ และเมื่อจะปรากฏนั้นรูปปรากฏดีแล้ว นามก็จะปรากฏตามมา การบาเพ็ญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุถึงญาณที่ ๑ คือนามรูปปริจเฉทญาณนี้แล้ว เพื่อปูองกัน การเข้าใจผิดในภายหลัง จึงขอชี้แจงไว้ดังนี้ว่า ที่เรียกว่าได้บรรลุถึงนามรูปปริจเฉทญาน คือ มีปรีชากาหนดรูปนามได้อย่างชัดเจนดังที่กล่าวมานั้น พึงเข้าใจว่าต้องเป็นการรู้เห็นโดยปัญญา อันเกิดจากการเจริญภาวนาของตนจริงๆ ไม่ใช่รู้ได้จากการศึกษาพระธรรม การเรียนรู้และนึกคิดเอาเองอย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
เมื่อผู้ปฏิบัติมีความรู้ว่า มีรูปกับนามเพียง ๒ อย่างเท่านั้น ไม่มีตัวตน เรา เขา ความเข้าใจถูกต้องอย่างนี้จะประหาณสักกายทิฏฐิ ทาให้เป็นผู้มีความเห็นตรง เห็นถูกต้องบริสุทธิ์ คือทิฏฐิวิสุทธิ การกาหนดรู้รูปและนามโดยความเป็นสังขารทั้งหมดนี้คือ ปัญญาที่ปรากฏเกิดขึ้นจากการเห็นแจ้งรูปนามตามความเป็นจริง คือ นามรูปปริจเฉทญาณ จบนามรูปปริจเฉทญาณ


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
ฟังธรรมศึกษาธรรมทั้งวัน
วันนี้ได้มีงานบวชแถวบ้านมีผู้คนมาร่วมงานมาก
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมสร้างวิหาร
เพื่อประดิษฐานรูปหล่อเหมือนสมเด็จโต พรหมรังสี
โทร 083-7348224

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 141 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO