นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 1:37 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: สะสมบารมี
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 21 เม.ย. 2010 9:09 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ความเห็นชอบ คือ ปัญญา เจตสิกนั่นเอง สัมมาทิฏฐิ หรือ

ปัญญา เป็นสังขารขันธ์ เพราะมีเหตุจึงเกิดขึ้น เมื่อไม่มีเหตุย่อมไม่เกิดขึ้น ในพระ

ไตรปิฎกและอรรถกถา แสดงเหตุเกิดของปัญญา ไว้หลาย นัยยะ เช่น การฟังด้วยดี

ย่อมได้ปัญญา บางแห่งแสดง ๒ ประการ คือ การฟังพระสัทธรรม(ปรโตโฆสะ) ๑

โยนิโมนสิการ ๑ บางแห่งแสดง ๕ บางแห่งแสดง ๘ ก็มี ซึ่งธรรมทั้งหมดย่อมเกื้อกูล

สนับสนุนให้ปัญญาเกิดขึ้น

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. ความสอบถาม (ปริปุจฺฉกตา)

๒. การทำวัตถุภายในและภายนอกให้สะอาด (วตฺถุวิสทกิริยา)

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน (อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา)

๔. การเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา (ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนตา)

๕. การคบผู้มีปัญญา (ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนตา)

๖. การพิจารณาจริยาด้วยญาณอันลึกซึ้ง (คมฺภิรญาณจริยปจฺจเวกฺขณตา)

๗. ความน้อมจิตเพื่อให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น (ตทธิมุตฺตตา).





--------------------------------------------------------------------------------




พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การสอบถาม

๒. การทำวัตถุให้สะอาด

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

๔. การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม

๕. การเสพบุคคลผู้มีปัญญาดี

๖. การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง

๗. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น



บรรดาธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การสอบถาม ได้แก่ ความเป็นผู้มากด้วยการ

สอบถามอันอาศัยอรรถ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์แห่งมรรค

ฌาน สมถะ และวิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 298

๒. ปัญญาสูตร

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ประการนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์

เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้วแล้ว ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ใน

ฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพ

ไว้อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไป

เพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาได้แล้ว.



เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็น

ที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้น

แล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิต

นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยัง

ไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอัน

เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่

ได้แล้ว.



เธอฟังธรรมนี้แล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกาย และความสงบ

จิต ให้ถึงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ

เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา.. ฯลฯ เพื่อ

ความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ทรงจำไว้ คล่อง

ปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งาม

ในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม

เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา... ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์

แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อม

แสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระ-

อริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้

ปัญญา... ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



อนึ่ง เมื่อเธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า

รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดัง

นี้... สัญญาเป็นดังนี้...สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิด

ขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้

เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

ฯลฯ



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 585

ข้อความบางตอนจาก สรภังคชาดก

[๒๔๖๙] (ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า) ข้าพเจ้าขออนุ-

โมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะ

ท่าน ขอเชิญท่านกล่าวแก้ปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้

ทำอย่างไร ทำด้วยอุบายอย่างไร ประพฤติอะไร เสพ

อะไรจึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอกปฏิปทาแห่ง

ปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้มี

ปัญญา.

[๒๔๗๐] (สรภังคดาบส ทูลว่า) บุคคลควรคบ

หาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดลออ เป็นพหูสูต ควร

เป็นนักเรียน นักสอบถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดย

เคารพ นรชนทำอย่างนี้ จึงจะเป็นผู้มีปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๗ - หน้าที่ 542

ข้อความบางตอนจาก เตสกุณชาดก

กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังประเสริฐ

ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่า บัณฑิตอันกำลัง

ปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.

ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสม-

บูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็

ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคล

แม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่

มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่.

ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญา

เป็นเครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คน

ในโลกนี้ ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิด

ขึ้น ก็ย่อมได้รับความสุข.

ก็คนบางคนไม่ได้ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็น

พหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่

ได้บรรลุปัญญา.
เหตุที่ทำให้ฟังธรรมะไม่เข้าใจ ในพระไตรมีปิฏกมีแสดงไว้ว่า เป็นผู้ชอบคุยในขณะที่

ฟังธรรม ๑ ชอบนอน ๑ ชอบทำการงาน ๑ ชอบคลุกคลี่ด้วยหมู่คณะ ไม่พิจารณา

ธรรมะที่ได้ยินได้ฟัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 315

๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบนอน ๑

ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ภิกษุนั้นไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้ว

อย่างไร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย
เรื่อง เหตุให้เกิด สติ และ ปัญญา (สัมปชัญญะ) คือ การพิจารณา

โดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 203

ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร

แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร

เป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่าการทำไว้ในใจโดยแยบคาย

แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี

อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า

ศรัทธา แม้ศรัทธาก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น

อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่าการฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็

กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟัง

สัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ

พระพุทธองค์ทรงเป็นแบบอย่างแบบแผนและทรงสั่งสอนให้หมู่สัตว์เจริญในกุศล ละ

อกุศลเห็นโทษโดยความเป็นโทษของอกุศล แม้แต่ในการใช้ชีวิตประจำวัน การพูดคุย

สนทนา รวมทั้งการประชุมพบปะกัน

ในสมัยพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายก็มีการประชุมกัน พบปะกัน พระพุทธองค์ก็จะทรงเข้า

มาตรัสถามว่า บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาด้วยเรื่องอะไร หากเป็นเรื่องที่ไม่

เป็นประโยชน์ เรื่องที่เพิ่มอกุศล ไมได้ให้เจริญกุศลมีเดรัจฉานกถา(คำพูด)มีเรื่องพระ-

ราชา เรื่องผู้นำ เป็นต้น พระพุทธองค์ก็จะทรงแสดงโทษและความไม่เป็นประโยชน์

ทรงแสดงเรื่องที่เมื่อมีการประชุมกันควรพูดเรื่องอะไร คือเรื่องเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส

เรื่องการอบรมปัญญา เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 220

๑๐. ทุติยวัตถุกถาสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็

แหละกถาอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนาค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต

นั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือ สนทนาเรื่องพระราชา

เรื่องโจร ฯลฯเรื่องความเจริญและความเสื่อม พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายสนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมากคือสนทนา

เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อมนี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้ง

หลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่าง

เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยและ

กล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

มีความปรารถนาน้อย และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนา

น้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ตนเองเป็นผู้สันโดษ

และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สันโดษ

และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควร

สรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สงัดและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้ง-

หลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ

แก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะการสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ปรารภความ

เพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปรารภ

ความเพียร และกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะ

ที่ควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถาปรารภความ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล และกล่าวกถา

ปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรร-

เสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์สมาธิ และกล่าวกถาปรารภความเป็น

ผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ และกล่าว

กถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควร

สรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวกถาปรารภความ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและ

กล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

ฐานะควรสรรเสริญ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าวกถาปรารภ

ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ

และกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

ฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และ

กล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวกถาปรารภความเป็น

ผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรร-

เสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้แล.

จบทุติยวัตถุกถาสูตรที่ ๑๐
อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์

ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่าง

พระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้

ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

การดำเนินชีวิตประจำวันจึงเป็นเครื่องวัดกำลังของปัญญาที่ได้สะสมมา แม้การจะไป

สถานที่ใด สถานที่หนึ่ง พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงว่าหากนิคมหรือสถานที่นั้นเมื่อ

เสพคุ้นแล้วอกุศลเจริญ กุศลธรรมเสื่อมไป เธอก็ไม่ควรไปสถานที่ นิคมนั้น จึงเป็นเรื่อง

ของปัญญาจริงๆที่จะพิจารณาในสิ่งที่ควรหรือไม่ควร แต่มั่นคงว่าทุกอย่างเป็นธรรมและ

เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไมได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

นิคมที่ไม่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น

แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง นิคมแบบนี้ ไม่ควรเสพ.

นิคมที่ควรเสพ (อาศัยอยู่)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพนิคมแบบไร อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อม

ลง แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น นิคมแบบนี้ ควรเสพ.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

มหาสุตโสมชาดก

ในที่ประชุมใดไม่มีสัตบุรุษ ที่ประชุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา ชนเหล่าใดไม่พูดเป็นธรรม

ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ คนผู้ละราคะ โทสะ โมหะได้แล้วพูดเป็นธรรมนั้น

แล ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษบัณฑิตผู้อยู่ปะปนกับคนพาล เมื่อไม่พูดใคร ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็น

บัณฑิต แต่ว่าบัณฑิตเมื่อพูดแสดงอมตธรรม ใคร ๆจึงจะรู้ว่าเป็นบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 163

๑๐. ภัณฑนสูตร

บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่องอะไรอันเธอ

ทั้งหลายพักค้างไว้ในระหว่างภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต

นั่งประชุมกันที่หอฉัน เกิดหมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกัน

ด้วยหอกคือปากอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเกิดความ

หมายมั่นก่อความทะเลาะวิวาทกันขึ้น ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ นี้เป็น

กรรมไม่สมควรแก่เธอทั้งหลาย
เราคงลืมไปว่าทุกท่านเหมือนนักโทษที่ถูกตัดสินประหารชีวิตแล้ว และเวลาก็เหลือ

น้อยเต็มที โอกาสที่ได้พบพระพุทธศาสนาและได้เกิดเป็นมนษย์เป็นช่วงเวลาที่หาได้

ยาก อย่าให้ขณะนั้นอย่าล่วงเลยทุกท่านไปเสีย เรากำลังถูกเรื่องราวหลอกว่ามีจริงและ

เห็นว่าสำคัญมากมาย แต่ก็เป็นเพียงแค่คิดนึกเท่านั้น เรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่

ไม่มีวันจบ แต่การรู้ความเข้าใจและการดับกิเลสนั้นมีวันจบครับ ไม่ประมาทกับชีวิต

เจริญกุศลทุกประการและอบรมปัญญา เวลาเหลือน้อยแล้ว ขออนุโมทนาครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 553

ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และเห็นความไม่วิวาทโดยเป็น

ทางเกษม แล้วจงกล่าววาจา อ่อนหวานอันสมัครสมานกันเถิด นี้เป็นคำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่และหลาน
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน เดินจงกรม นั่งสมาธิ
ฟังธรรมศึกษาธรรม
รักษาอาการป่วยของแม่
ศึกษาการรักษาโรค
วันนี้ได้อนุโมทนากัผู้มากวาดลานวัด
และวันนี้มีการถวายสลากภัตรคือประเพณีของหมู่บ้าน(เทศกาลมะม่วง)
และวันนี้คุณแม่ได้สวดมนต์และนั่งสมาธิ เดินจงกรมตั้งแต่เช้าด้วย
และทุกวันคุณแม่และคุณพ่อได้ดูและศึกษาเรื่องกฏแห่งกรรม
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย




ขอเชิญร่วมสร้างพระพุทธสิริสัตตราช
ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๓
โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี “หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์”
บัญชีเลขที่ ๑๔๓-๐-๐๘๙๗๖-๘
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
สาขาย่อย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO