Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

พระธรรมที่ทรงแสดง

พฤหัสฯ. 22 เม.ย. 2010 9:29 am

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 622

[๙๗๘] คำว่า พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกิน

ขอบเขต ความว่า พึงเปล่งวาจาอันเกิดขึ้นแต่ญาณ คือ พึงเปล่ง

เปล่งออก เปล่งออกดี ซึ่งวาจาอันประกอบด้วยอรรถ อันประกอบด้วย

ธรรม ซึ่งเป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ มีที่อ้างอิง มีที่สุด ตามกาล

อันควร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาที่อันเป็นกุศล. ชื่อว่า ขอบ

เขต ในคำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต ๒ อย่าง

คือขอบเขตกาล ๑ ขอบเขตศีล ๑.

ขอบเขตกาลเป็นไฉน ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาล ไม่พึง

กล่าววาจาล่วงเกินเวลา ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาลและเวลา ไม่พึง

กล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงเวลา ไม่พึงกล่าววาจา

ที่ยังไม่ถึงกาลและเวลา.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ก็ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร ย่อมกล่าววาจาเกิน

เวลา ผู้นั้นย่อมถูกฆ่านอนอยู่ เหมือนลูกของนางนก

ดุเหว่าที่นางกาเลี้ยงไว้ฉะนั้น ดังนี้.

นี้ชื่อว่า ขอบเขตกาล.

ขอบเขตศีลเป็นไฉน บุคคลผู้กำหนัดไม่ควรกล่าววาจา ผู้โกรธ

เคืองไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลงไม่ควรกล่าววาจา แลไม่ควรกล่าว บอก

พูด แสดง แถลง ซึ่งมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ

นี้ชื่อว่า ขอบเขตศีล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่

พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต...

อรรถกถาขยายความ

...บทว่า วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล คือเปล่ง

วาจาอันตั้งขึ้นด้วยญาณ. บทว่า นาติเวลํ ไม่เกินขอบเขต คือ ไม่พึง

เปล่งวาจาเกินขอบเขต คือ เกินขอบเขตของกาล และขอบเขตของศีล...




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 623

ไม่ควรคิดที่จะว่าเขาด้วยศีลวิบัติ

[๙๗๙] ชื่อว่า ชน ในคำว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าว

ซึ่งชน คือ บุคคลที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร

เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ

ไม่พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น ไม่พึงยังความดำริแห่งจิตให้เกิดขึ้น ไม่พึง

ยังมนสิการให้เกิดขึ้นเพื่อการกล่าว การค่อนว่า การนินทา การติเตียน

การไม่สรรเสริญ การไม่พรรณนาคุณแห่งชน ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาจาร-

วิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือด้วยอาชีววิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง

คิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า

ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง

ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง

เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่

พึงคิดเพื่อธรรม คือการกล่าวว่าซึ่งชน.

ข้อความจากอรรถกถา

..บทว่า ชนวาทธมฺมาย คือ เนื้อธรรม คือ การว่ากล่าวชน.

บทว่า นเจตเยยฺย คือ ไม่พึงยังความคิดให้เกิด.

บทว่า อิทํ เต อปฺปตฺตํ คือ กรรมนี้ไม่ถึงแก่ท่าน. บทว่า อสารุปฺปํ

คือ กรรมนี้ไม่สมควรที่ท่านจะประกอบ. บทว่า อสีลฏฐํ ไม่ดังอยู่ในศีล

คือ ชื่อว่า อสีลฏฐํ เพราะไม่ตั้งอยู่ในศีลอันเป็นความขวนขวายของ

ท่าน. อธิบายว่า กรรมนี้ไม่เป็นประโยคสมบัติของท่านผู้ตั้งอยู่ในศีล...





เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
รักษาอาการป่วยของแม่
ศึกษาการรักษาโรค
เมื่อวานนี้ได้ลองใช้เพนดูลัมประเมิณสุขภาพของคุณพ่อและคุณแม่
ซึ่งประเมิณแม่นมากและอนาคตจะต้องรักษาผู้ป่วย
อีกหลายท่านได้เยอะเลยและจะไม่คิดเงินกับผู้ป่วยจะรักษาฟรี
เมื่อวานนี้ได้ชวนคุณแม่สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
ซึ่งแม่บอกว่าจิตของแม่สงบมากผมก็ปลื้มปิติในบุญของแม่
และเช้านี้คุณแม่ก็สวดมนต์ เจริญภาวนา อาราธนาศีล
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญสร้างศาลาปฏิบัติธรรมบนยอดเขา
087-9662219

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
ตอบกระทู้