พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 711
๑. ปฐมนิพพานสูตร ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน
[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ
ให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟัง
ธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง
ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน
น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจาย-
ตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์
และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น
ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้
มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.
จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 723
ข้อความบางตอนจาก.. ตติยนิพพานสูตรที่ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่
เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้
แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว
เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุง
แต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรม-
ชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่ง
แล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การ
สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำ
แล้วปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ.
จบตติยนิพพานสูตรที่ ๓
เบื้องต้นควรทราบว่า อายุของรูป ๑ ขณะ มีอายุเท่ากับอายุของจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
รูปที่เกิดขึ้นและกระทบทางปัญจทวารก่อนวิถีจิตทางปัญจทวารจะเกิดขึ้น ๓ ขณะจิต
จากนั้นวิถีทางปัญจทวารจึงเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ๑๔ ขณะ เมื่อรวมขณะจิตทั้งหมด
๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปเกิดดับ ๑ ขณะ จากนั้นวิถีจิตทางมโนทวารเกิดขึ้นรูปนั้น
ทันที โดยอายุของรูปชื่อว่าดับไปแล้ว แต่ด้วยความรวดเร็วของจิตที่เกิดสืบต่อนั้น
ชื่อว่ามีรูปปรมัตถ์ที่เพิ่งดับไปนั้นเป็นอารมณ์ครับ
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนนะครับว่า อารมณ์ของวิถีจิตทางปัญจทวารเป็นปรมัตถ์
เพียงอย่างเดียว ส่วนอารมณ์ทางมโทวาร มีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ มโนทวาร
วิถีที่รู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวารวาระแรกมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ ส่วนวาระ
หลังๆ มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ครับ
เมื่อวิถีจิตทางปัญจทวาร (ทวารหนึ่งทวารใด) ดับหมดแล้ว ภวังคจิต
เกิดคั่นหลายขณะแล้ว มโนทวารวิถีจิตก็เกิดสืบต่อ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกมี
อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๕ อารมณ์ที่เพิ่งดับไปทางปัญจทวารนั่นเองเป็น
อารมณ์ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถีจิตนั้น ยัง
ไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ มโนทวารวิถีจิตแต่ละวาระมีวิถีจิต ๒ หรือ ๓ วิถีจิต คือ มโนทวา-
ราวัชชนวิถีจิต ๑ ขณะ ชวนวิถีจิต ๗ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิต ๒ ขณะ (บาง
วาระก็ไม่มีตทาลัมพนวิถีจิต) เมื่อมโนทวารวิถีจิตวาระที่ ๑ ดับไปแล้ว ภวังคจิต
ก็เกิดคั่นหลายขณะ แล้วมโนทวารวิถีจิตวาระที่ ๒ ก็เกิดต่อมีบัญญัติคือ รูปร่าง
สัณฐานของอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดใน ๕ อารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ เมื่อมโนทวาร
วิถีจิตวาระที่ ๒ ดับไปแล้วภวังคจิตก็เกิดคั่น แล้วมโนทวารวิถีจิตวาระต่อๆ ไปก็
เกิดขึ้นมีอรรถ คือ ความหมาย หรือคำต่างๆ เป็นอารมณ์ทีละวาระโดยมีภวังคจิต
เกิดคั่น ขณะที่รู้ว่าเป็นคน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ ขณะนั้นจิตรู้บัญญัติ ไม่ใช่รู้
ปรมัตถอารมณ์ ปรมัตถอารมณ์ที่ปรากฏทางตาเป็นสีสัณวัณณะต่างๆ เท่านั้น แต่
ขณะที่มโนทวารวิถีจิตรู้ว่าเป็นสัตว์ บุคคล วัตถุ สิ่งต่างๆ ขณะนั้นมโนทวารวิถี
จิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์ จึงรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
ฉะนั้น พระธรรมที่ว่า ปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติ ก็เพราะปรมัตถ-
ธรรมเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แม้จะไม่ใช้คำบัญญัติใดๆ เรียกปรมัตถธรรมเลย
สภาพธรรมที่เกิดขึ้นนั้นก็มีลักษณะเป็นอย่างนั้นจริงๆ ส่วนบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถ-
ธรรม เพราะไม่ใช่สภาพธรรมที่มีจริง และที่ชื่อว่า ปญฺญตฺติ เพราะให้รู้ได้โดย
ประการนั้น ๆ
วิถีจิตทางปัญจทวาร มี ๗ วิถี คือ
.
อาวัชชนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๑
และถ้าเป็นทางปัญจทวาร คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็คือ
ทวิปัญจวิญญาณจิต
ดวงหนึ่งดวงใด ทางปัญจทวาร เป็นวิถีจิตที่ ๒
ได้แก่
จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ
แล้วแต่ว่าอารมณ์ที่ปรากฏ
ที่กระทบปสาทนั้นๆ เป็นอารมณ์อะไร.
เมื่อวิถีจิตที่ ๒ ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดวิถีจิตต่อไป คือ
สัมปฏิจฉันนจิต เป็นวิถีจิตที่ ๓
ทำกิจรับอารมณ์ต่อจากวิญญาณจิตที่ดับไป.
สันตีรณจิต เป็นวิถีจิตที่ ๔
ทำกิจพิจารณาอารมณ์นั้นๆ แล้วดับไป.
โวฏฐัพพนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๕
กระทำกิจ กำหนดอารมณ์ที่ปรากฏ
เพื่อกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ที่จะเกิดในวิถีจิตต่อไป.
(ต่อไป)...คือ ชวนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๖
.
"ชวนะ" โดยศัพท์แปลว่า "ไปอย่างเร็ว"
หรือจะใช้คำว่า "แล่นไปในอารมณ์" ก็ได้
ชววิถีจิต เป็นกุศลจิต ก็ได้ เป็นอกุศลจิต ก็ได้
สำหรับ...ผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์.
แต่ผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว
ดับกุศลจิต และ อกุศลจิตได้แล้ว
จิตที่ทำ ชวนกิจ (ทั้งทางมโทวารและทางปัญทวาร)
สำหรับพระอรหันต์ คือ กิริยาจิต
กิริยาจิต...ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้เกิด วิบากจิต คือ ผลของกรรม.
.
ตทาลัมมณวิถีจิต หรือ ตทาลัมพณวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๗
จิตดวงนี้ ทำกิจรู้อารมณ์ ต่อจาก ชวนวิถีจิต
เหตุเพราะว่า อารมณ์ของชวนวิถีจิต ยังไม่ดับไป
คือ ถ้านับอายุของรูป ๆ หนึ่ง ที่กระทบกับทวาร
รูป ซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะจิต หมายถึง
ตั้งแต่อตีตภวังค์ เป็นขณะจิตที่ ๑
ภวังคจลลนจิต เป็นขณะจิตที่ ๒
ภวังคุปัจเฉทจิต เป็นขณะจิตที่ ๓
อาวัชชนจิต เป็นขณะจิตที่ ๔
ทวิปัญจวิญญาณจิต เป็นขณะจิตที่ ๕
สัมปฏิจฉันนจิต เป็นขณะจิตที่ ๖
สันตีรณจิต เป็นขณะจิตที่ ๗
โวฏฐัพพนจิต เป็นขณะจิตที่ ๘
ชวนจิต ๗ ขณะ เป็นขณะจิตที่ ๙-๑๕
ตทาลัมพณวิถีจิต เป็นขณจิตที่ ๑๖-๑๗
( รูปที่กระทบปสาท ทางทวารใดทวารหนึ่ง ๑ ครั้ง
จึงมีอายุเท่ากับจิต ๑๗ ขณะจิต ดังนี้ )
.
วิสัยของผู้ที่เป็น "กามบุคคล"
เวลาที่ได้รับอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
แล้วรูปนั้นยังไม่ดับไป
ก็เป็นปัจจัยให้ วิบากจิต คือ ตทาลัมพณวิถีจิต
เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นๆต่ออีก ๒ ขณะจิต
แล้วจึงจบวิถีจิตทางปัญจทวาร
(ทั้งหมดนี้ คือ การเกิดขึ้นของวิถีจิต ๗ วิถีจิต ทางปัญจทวาร
และอายุของรูป ๆ หนึ่ง ที่ตั้งอยู่เท่ากับ ๑๗ ขณะจิต แล้วจึงดับไป)
.
หลังจากนั้น...ก็เป็น ภวังคจิต ต่อไป...
จนกว่า วิถีจิตต่อไปจะเกิดขึ้น.
ซึ่งอย่าลืมนะคะ ว่าขณะใดที่เป็นภวังคจิตนั้น โลกนี้จะไม่ปรากฏ
ความทรงจำ เกี่ยวกับเรื่องราวของบุคคลต่างๆ
และเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกนี้ จะไม่ปรากฏเลย
ขณะที่เป็นภวังคจิต.
เช่น ขณะที่นอนหลับสนิท...
ไม่มีความรู้ ความจำเรื่องใดๆทั้งสิ้น เกี่ยวกับโลกนี้.
แล้วถ้า จุติจิต เกิด...ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้
ปฏิสนธิจิต จะเกิดต่อทันที
และ "วิถีจิตต่อไป" ก็จะเป็น "เรื่องราวของโลกอื่น"
.
เพราะฉะนั้น ก็ให้เห็น "ความเป็นไปของขณะจิต"
ว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย.
. . .
(สำหรับทางมโนทวาร...คือ จิตที่รู้อารมณ์ทางใจ)
เมื่อ รูปใด รูปหนึ่ง
ที่กระทบกับวิญญาณจิตทางทวารใดทวารหนึ่งในปัญจทวาร ดับไปแล้ว
ภวังคจิตเกิดคั่น...ต่อจากนั้น มโนทวารวิถีจิต
คือ วิถีจิตทางมโนทวาร... ก็เกิดขึ้น
ทำกิจรู้อารมณ์เดียวกัน ของอารมณ์ที่ปรากฏทางปัญจทวารวิถีจิตที่เพิ่งดับไป.
สำหรับมโนทวารวิถีจิต
มีวิถีจิตไม่มากเท่ากับ วิถีจิตทางปัญจทวารวิถีจิต
เพราะว่า อารมณ์ที่ปรากฏนั้นๆไม่ได้กระทบกับปสาท...จึงไม่มีอตีตภวังค์
แต่ว่า ก่อนที่จิตจะมีการรำพึงถึงอารมณ์ ที่รับมาจากทางปัญจทวารวิถีจิต
ก็จะต้องมี ภวังคจลนจิต ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป
แล้ว ภวังคุปัจเฉทจิต ก็ต้องเกิดขึ้น แล้วดับไป
ต่อจากนั้น........มโนทวาราวัชชนจิต ก็เกิดขึ้น.
สำหรับจิตทางมโนทวารวิถีจิต คือ จิตที่ทำอาวัชชนกิจ มี ๑ ดวง
คือ มโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจรำพึงถึงอารมณ์ ทางมโนทวาร
โดยไม่ต้องมีอารมณ์ใดๆ มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย.
ในชีวิตประจำวัน...
เวลาที่เกิดการนึกถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ตาม
ขณะนั้นเกิดจากเหตุ คือ
มโนทวาราวัชชนจิต เกิดก่อน โดยเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร
เป็นขณะจิตที่ ๑ ทางมโนทวาร.
ทำกิจรำพึงถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
และเมื่อ "จิตขณะนี้" ดับไปแล้ว
ก็เป็น "ชวนวิถีจิต" ซึ่ง เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร
เป็นขณะจิตที่ ๒ ทางมโนทวาร.
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
จะนึกถึงอารมณ์นั้น ด้วยกุศลจิต หรือ อกุศลจิต
ถ้าเป็นอกุศลจิต เช่น โลภมูลจิต หรือ โทสมูลจิต
อกุศลจิตนั้นก็จะเกิดขึ้น และดับไป ๗ ขณะจิต.
ต่อจากนั้น...ถ้าเป็นอารมณ์ที่แรง
ตทาลัมพณจิตก็เกิดต่อ เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร ขณะจิตที่ ๓
ฉะนั้น สำหรับทางมโนทวารวิถีจิต
จะมีวิถีจิตเกิดขึ้น ๓ วิถีจิต คือ
อาวัชชนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๑
ชวนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๒
ตทาลัมพณวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๓
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน และเจริญอาโปกสิน ฟังธรรมศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค วันนี้มีงานบุญนิมนต์พระที่หมู่บ้านที่ศาลปู่ตามี ผู้คนไปทำบุญทั้งหมู้บ้าน และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญร่วมบุญแกะสลักพระนอนบนหินทราย โทร.089 8354072
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|