นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 1:30 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: บุญกับความโลภ
โพสต์โพสต์แล้ว: ศุกร์ 07 พ.ค. 2010 1:45 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
บารมี ๑๐ ประการ แสดงโดยนัยของพระสูตร บางบารมีไม่มี

องค์ธรรมที่เป็นเจตสิกปรมัตถ์เฉพาะเจาะจง แต่เป็นโสภณธรรมหลายประเภท

ที่เกิดร่วมกัน แต่บางบารมีก็มีตัวสภาพธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่า

จะไม่มีโสภณธรรมอื่นเกิดร่วมด้วย ดังนั้นคงไม่ต้องไปหาองค์ธรรมโดยเฉพาะ

ของแต่ละบารมี เพราะมิได้แสดงเจาะจงไว้ครับ
ขณะที่กุศลจิตเกิด ไม่ว่าจะเป็นไปในทาน ในศีล ในภาวนา ต้องโสภณเจตสิก

คือเจตสิกฝ่ายดีเกิดร่วมด้วยเสมอ
ตามหลักคำสอนแสดงว่า วิญญาณมีเพราะมีสังขารเป็นปัจจัยครับ
ตามหลักคำสอนแสดงว่า การกระทำใดๆที่เป็นบุญนั้น จะมีผลมากมีอานิสงส์มาก

ขึ้นอยู่สภาพของจิตเป็นสำคัญ ถ้ากระทำด้วยจิตที่ผ่องใสมีศรัทธาแรงกล้า มีปัญญา

เข้าใจในพระธรรมคำสอนอย่างถูกต้อง การกระทำนั้นย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก

ถ้าการกระทำใดทำไปโดยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มีปัญญา ทำตามที่ผู้อื่นบอก การ

กระทำนั้นมีผลน้อย มีอานิสงส์น้อยกว่าข้างต้น แม้จะหล่อจะสร้างพระใหญ่โตสัก

เพียงใด ก็ไม่มีผลมากเหมือนผู้ที่มีปัญญาและประพฤติธรรมกระทำ อนึ่งการสร้าง

การสร้างพระปฏิมา พระพุทธรูป มีประวัติมานานแล้ว คือ ตั้งแต่หลังพระพุทธองค์

ปรินิพพานล่วงไปประมาณสี่ห้าร้อยปี ก็เริ่มมีการสร้างขึ้น แต่สิ่งสำคัญในพระพุทธ

ศาสนาไม่ได้อยู่ที่รูปวัตถุ สิ่งสำคัญอยู่ที่พระธรรมคำสอน ถ้าขาดการศึกษาขาดความ

รู้ความเข้าใจขาดการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน รูปวัตถุต่างๆ ก็ไม่มีความ

หมาย ศาสนาก็ชื่อว่าเสื่อมและอันตรธานไปในที่สุดครับ

ตติยปาราชิกสิกขาบท
นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป
[๑๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นพระองค์ทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอุสภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนก
ปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีก
ออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว
ภิกษุเหล่านั้นรับ รับสั่งแล้ว ไม่มีใครกล้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเลย นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต
เข้าไปถวายรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนา
คุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภ-
*สมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายดังนี้ แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
หลายอย่างหลายกระบวนอยู่ ภิกษุเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรี
รุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการตกแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัข
หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่ที่คอ พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิต
ตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ๑- กล่าว
อย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ครั้งนั้นมิคลัณฑิก
สมณกุตตก์ อันภิกษุทั้งหลายจ้างด้วยบาตรจีวร จึงปลงชีวิตภิกษุเป็นอันมากแล้ว ถือดาบเปื้อน
เลือดเดินไปทางแม่น้ำวัคคุมุทา ขณะเมื่อมิคลัณฑิกสมณกุตตต์ กำลังล้างดาบที่เปื้อนเลือดนั้นอยู่
ได้มีความรำคาญ ความเดือดร้อนว่า ไม่ใช่ลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้ว
หนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ เราสร้างบาปไว้มากจริงหนอ เพราะเราได้ปลงชีวิตภิกษุทั้งหลาย
ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ขณะนั้นเทพดาตนหนึ่งผู้นับเนื่องในหมู่มาร เดินมาบนน้ำมิได้แตก
ได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภท่าน ท่านได้ดีแล้ว ท่านได้สร้างสม
บุญไว้มาก เพราะท่านได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้นให้ข้ามพ้นได้ ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์
ได้ทราบว่าเป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว เราได้สร้างสมบุญไว้มาก เพราะเราได้ช่วยส่งคนที่ยัง
ข้ามไม่พ้นให้ข้ามพ้นได้ ดังนี้ จึงถือดาบอันคม จากวิหารเข้าไปสู่วิหาร จากบริเวณเข้าไปสู่
@๑ คนโกนผมไว้จุกนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ทำนองเป็นตาเถน ฯ
บริเวณ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ใครยังข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุ
เหล่านั้นในเวลานั้น ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑
รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง
๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง.
รับสั่งให้เผดียงสงฆ์
[๑๗๗] ครั้นล่วงกึ่งเดือนนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับเร้นแล้ว รับสั่ง
ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เหตุไฉนหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนน้อยไป
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า เพราะพระองค์ทรงแสดง
อสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน
ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนกปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า และ
ภิกษุเหล่านั้นก็พากันพูดว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภกถา ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกัมมัฏฐาน
ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนืองๆ โดยอเนก
ปริยาย จึงพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่
เธอเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจ
ในการตกแต่งกาย อาบน้ำ สระเกล้า มีซากศพงู ซากศพสุนัข หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่
ที่คอ จะพึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชัง ฉะนั้น จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกัน
ให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้
ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จะเป็นของท่าน พระพุทธเจ้าข้า ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์
ได้บาตรจีวรเป็นค่าจ้างแล้ว จึงปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูป
บ้าง ๕ รูปบ้าง ๖ รูปบ้าง ๗ รูปบ้าง ๘ รูปบ้าง ๙ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูป
บ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสงฆ์นี้
จะพึงดำรงอยู่ในพระอรหัตตผลด้วยปริยายใด ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกปริยายอื่นนั้นเถิด
พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเผดียงภิกษุที่อาศัยพระนคร
เวสาลีอยู่ทั้งหมด ให้ประชุมกันที่อุปัฏฐานศาลา
เป็นดังรับสั่งพระพุทธเจ้าข้า ท่านพระอานนท์รับสนองพระพุทธพจน์แล้ว จึงเผดียง
ภิกษุสงฆ์ที่อาศัยพระนครเวสาลีอยู่ทั้งสิ้น ให้ประชุมที่อุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบ
กาลอันควร ในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง
จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๑๗๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวก
ภิกษุปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็ไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์
กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้
จริงหรือ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุเหล่านั้นจึงได้
ปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์
พูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ ขอท่านได้ช่วยปลงชีวิตพวกฉันที บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน ดังนี้เล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุเหล่า
นั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคน
บางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายแล้ว จึงทรง
ติโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่
สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ทรงสรรเสริญคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น
คนบำรุงง่าย ความเป็นคนมักน้อย ความเป็นคนสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย แล้วทรงแสดงธรรมีกถาที่สมควร
แก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะ
บังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง
ไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัท-
*ธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระปฐมบัญญัติ
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะ
ปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ
ฉะนี้ ฯ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๐] ก็โดยสมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งเป็นไข้ ภริยาของเขาเป็นคนสวย น่าเอ็นดู
น่าชม พวกพระฉัพพัคคีย์มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงนั้นจึงดำริขึ้นว่า ถ้าอุบาสกสามียังมีชีวิตอยู่ พวก
เราจักไม่ได้นาง ผิฉะนั้น พวกเราจักพรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น ครั้นดำริฉะนี้แล้ว
จึงเข้าไปหาอุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอุบาสก ท่านเป็นผู้ทำความดีไว้แล้ว ทำกุศลไว้แล้ว
ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป มิได้ทำความชั่ว มิได้ทำความเสียหาย ทำแต่
ความดี ไม่ได้ทำบาป จะประโยชน์อะไรแก่ท่านด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตาย
เสียดีกว่าเป็นอยู่ ตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ท่านจักเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นเห็นจริงว่า ท่านพูดจริง เพราะเราทำความดีไว้แล้ว ทำกุศลไว้แล้ว
ทำความต้านทานต่อความขลาดไว้แล้ว มิได้ทำบาป มิได้ทำความชั่ว มิได้ทำความเสียหาย เรา-
*ทำแต่ความดี เรามิได้ทำความชั่ว จะประโยชน์อะไรแก่เรา ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้
เราตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ตายจากโลกนี้ แล้วเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราจักเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ในสุคติโลก-
*สวรรค์นั้น ดังนี้แล้ว เขาจึงประทานโภชนะที่แสลง เคี้ยวขาทนียะที่แสลง ลิ้มสายนียะที่แสลง
และดื่มปานะที่แสลง เมื่อเป็นเช่นนั้น ความป่วยหนักก็เกิดขึ้น เขาถึงแก่กรรมเพราะป่วยไข้นั้น-
*เอง ภริยาของเขาจึงเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย ทุศีล
พูดเท็จ แท้จริงพระสมณะเหล่านี้ ยังปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประ-
*พฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่
พระสมณะเหล่านี้ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะเหล่านี้ หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความ
เป็นพราหมณ์ของสมณะเหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะ
เหล่านี้ จะมีแต่ไหน และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความเป็นสมณะ ปราศจาก
ความเป็นพราหมณ์เสียแล้ว เพราะสมณะเหล่านี้ ได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่สามีของเรา
สามีของเราถูกพระสมณะเหล่านี้ทำให้ตายแล้ว
แม้คนเหล่าอื่นก็เพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ไม่ละอาย
ทุศีลพูดเท็จ แท้จริง พระสมณะเหล่านี้ ยังปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ
ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะ ความเป็น
พราหมณ์ ของสมณะเหล่านี้ หามีไม่ ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะ-
*เหล่านี้ พินาศแล้ว ความเป็นสมณะ ความเป็นพราหมณ์ ของพระสมณะเหล่านี้ จะมีแต่ไหน
และโพนทะนาว่า พระสมณะเหล่านี้ ปราศจากความเป็นสมณะ ปราศจากความเป็นพราหมณ์-
*เสียแล้ว เพราะพระสมณะเหล่านี้ พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกๆ ถูกพระสมณะเหล่า
นี้ทำให้ตายแล้ว ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ จำพวกที่มีความมักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ เป็นผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ
ผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน-
*เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า
พวกเธอพรรณนาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกจริงหรือ?
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง ข้าพระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้พรรณนา
คุณแห่งความตายแก่อุบาสกเล่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดย
ที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อ-
*ความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความ
เป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็น
คนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรงแสดงธรรมีกถาที่
สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือเพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคล
ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้;-
อนุบัญญัติ
๓. อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัสตราอันจะ
ปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย
ด้วยคำว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบาก
ยากแค้นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ดังนี้ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมาย
หลายอย่าง อย่างนี้ พรรณนาคุณในความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย
แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด
เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ-
*อรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า
ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุป-
*สมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาผู้ที่ชื่อว่าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด
ที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อุปสมบทแล้วด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ ภิกษุนี้
พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุ ในอรรถนี้
บทว่า จงใจ ความว่า ภิกษุใดรู้อยู่ รู้ดีอยู่ พรากกายมนุษย์จากชีวิต การกระทำของ
ภิกษุนั้น เป็นความตั้งใจ พยายาม ละเมิด
ที่ชื่อว่า กายมนุษย์ ได้แก่จิตแรกเกิดขึ้น คือ ปฐมวิญญาณปรากฏขึ้นในท้องแห่งมารดา
ตราบเท่าถึงกาลเป็นที่ตาย อัตภาพในระหว่างนี้ ชื่อว่า กายมนุษย์
บทว่า พรากจากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นรอน ซึ่งอินทรีย์ คือชีวิต ทำความสืบต่อ
ให้กำเริบ
บทว่า หรือแสวงหาศัสตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น ได้แก่ ดาบ หอก
ฉมวก หลาว ฆ้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือก.
[๑๘๒] บทว่า หรือพรรณนาคุณแห่งความตาย ได้แก่แสดงโทษในความเป็นอยู่
พรรณนาคุณในความตาย.
[๑๘๓] บทว่า หรือชักชวนเพื่ออันตาย คือชักชวนว่า จงนำมีดมา จงกินยาพิษ
หรือจงแขวนคอตายด้วยเชือก.
[๑๘๔] บทว่า แน่ะนายผู้เป็นชาย นี้เป็นคำสำหรับเรียก คือคำทักทาย
คำว่า จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้ ท่านตาย
เสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้ นั้น อธิบายว่า ชีวิตที่ชื่อว่ายากแค้น คือเทียบชีวิตของคนมั่งคั่ง
ชีวิตของคนเข็ญใจ ก็ชื่อว่ายากแค้น เทียบชีวิตของคนมีทรัพย์ ชีวิตของคนไร้ทรัพย์ ก็ชื่อว่ายาก
แค้น เทียบชีวิตของเหล่าเทพเจ้า ชีวิตของพวกมนุษย์ ก็ชื่อว่ายากแค้น ชีวิตของคนมีมือขาด
มีเท้าขาด มีทั้งมือทั้งเท้าขาด มีหูขาด มีจมูกขาด มีทั้งหูทั้งจมูกขาด ชื่อว่าชีวิตอันแสนลำบาก
จะประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันแสนลำบากและยากแค้นเช่นนี้ ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ ดังนี้
บทว่า มีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ ความว่า ธรรมชาติอันใดเป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น
ชื่อว่าใจ ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรมชาติอันนั้นชื่อว่าจิต
บทว่า มีความมุ่งหมายหลายอย่าง อย่างนี้ คือมีความหมายในอันตาย มีความ
จงใจในอันตาย มีความประสงค์ในอันตาย
บทว่า โดยหลายนัย คือ โดยอาการมากมาย
บทว่า พรรณนาคุณในความตายก็ดี ได้แก่แสดงโทษในความเป็นอยู่ พรรณนาคุณ
ในความตายว่า ท่านตายจากโลกนี้แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
จักได้รับบำเรอเพรียบพร้อมอิ่มเอิบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ ในสุคติโลกสวรรค์นั้น.
[๑๘๕] บทว่า ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี คือชักชวนว่า จงนำมีดมา จงกินยาพิษ
จงแขวนคอตายด้วยเชือก หรือจงโจนลงในบ่อ ในเหว หรือในที่ชัน ฯ
[๑๘๖] คำว่า แม้ภิกษุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุ ๒ รูปแรก
คำว่า เป็นปาราชิก มีอธิบายว่า ศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้วเป็นของกลับต่อให้ติด-
*สนิทอีกไม่ได้แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ย่อมไม่เป็น
สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก
บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาสนั้น ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศ
ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นั่นชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับภิกษุนั้น
เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน
เมื่อคืนนี้ได้สวดมนต์ และเดินจงกรม นั่งสมาธิ
และเมื่อคืนคุณแม่ได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม
ที่ผ่านมาได้มีการแจกหนังสือและซีดีธรรมะหลายชุด
และมีการไถ่ชีวิตโคกระบือ สร้างทางเดินทางขึ้นเขาปฏิบติธรรม
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญสร้างศาลาหอธรรมร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระประธานที่แกะจากไม้ขนุน 200 ปี
โทร.089-9555870


ขอให้สรรพสัตวืทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO