สิ่งที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป ขันธ์ ๕ อายตนะ๑๒ ธาตุ ๑๘
ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ สังสารวัฏฏ์ ๓๑ ภพภูมิฯ ทั้งหมดนี้สรุปรวมลง
ใน นามและรูป ส่วนพระนิพพาน เป็นสภาพที่พ้นจากสภาพเหล่านั้น
เพราะมีนามรูปจึงมีวัฏฏสงสาร เมื่อพ้นจากวัฏฏสังสารจึงเรียกว่านิพพาน
แต่จะการพ้นจากนามรูปต้องอาศัยการรอบรู้นามรูป แทงตลอด และเบื่อหน่าย
ในนามรูปจึงหลุดพ้นจากนามรูป.. ข้อความในพระวินัยมีว่า ภิกษุลาสิกขากับเทวดาหรือสัตว์เดรัจฉาน ไม่ได้
คือการลาสิกขานั้นใช้ไม่ได้ หรือแม้จะลาสิกขากับชาวต่างชาติที่เขาฟังไม่รู้
ความหมายก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน ไม่ต้องพูดถึงการลาสิกขากับต้นไม้ แต่
ถ้าจะตะโกนลาสิกขา จะใช้ได้ต่อเมื่อมีคนได้ยินและเข้าใจภาษาและความหมาย พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424
.....ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักเทวดา สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติ
อริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติ
มิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน....
ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ข้อความในอรรถกถาตอนหนึ่งมีว่า
อนึ่ง ถ้าว่าภิกษุผู้ถูกความไม่เพลินใจบีบคั้น ระแวงสงสัยภิกษุทั้งหลาย
ผู้คุ้นเคยกันกล่าวว่า พุทฺธํ ปจฺจกฺขามิ ตะโกนเสียงดังด้วยหวังว่า ใคร ๆ
จงรู้, ถ้าว่า มีคนทำงานอยู่ในป่า หรือบุรุษคนอื่นผู้รู้ลัทธิศาสนา ยืนอยู่ใน
ที่ไม่ไกล ได้ยินเสียงของภิกษุนั้น ก็เข้าใจว่า สมณะผู้กระสันรูปนี้ ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์เคลื่อนจากศาสนาแล้ว ดังนี้, สิกขาย่อมเป็นอันบอกลาแท้...
บทภาชนีย์ มาติกา [๑๘๗] ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา พรรณนาด้วยกายและวาจา พรรณนาด้วยทูต พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง วัตถุที่พิง การลอบวาง เภสัช การนำรูปเข้าไป การนำเสียงเข้าไป การนำกลิ่นเข้าไป การนำรสเข้าไป การนำโผฏฐัพพะเข้าไป การนำธรรมารมณ์เข้าไป กิริยาที่บอก การแนะนำ การนัดหมาย การทำนิมิต.
มาติกาวิภังค์ สาหัตถิกประโยค ทำเอง [๑๘๘] คำว่า ทำเอง คือฆ่าเองด้วยกาย ด้วยเครื่องประหาร ที่เนื่องด้วยกาย หรือ- *ด้วยเครื่องที่ประหารซัดไป ยืนอยู่ใกล้ คำว่า ยืนอยู่ใกล้ คือยืนสั่งอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า จงยิงอย่างนี้ จงประหารอย่างนี้ จงฆ่า- *อย่างนี้. อาณัตติกประโยค สั่งทูต [๑๘๙] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงชีวิตบุคคลนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจ ว่าบุคคลนั้นแน่ แต่ปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้า ใจว่าบุคคลอื่น แต่ปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง เข้าใจ ว่าบุคคลอื่น และปลงชีวิตบุคคลอื่น ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก. สั่งทูตต่อ [๑๙๐] ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง บอกแก่ภิกษุนอกนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่ารับคำ ภิกษุผู้สั่งเดิม ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคล นั้นสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อ นี้จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง สั่งภิกษุรูปอื่นต่อ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้มารับคำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ฆ่า ปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้รับคำสั่ง และภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก. ทูตไม่สามารถ [๑๙๑] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่ง ไปแล้วกลับมาบอกอีกว่า ผมไม่สามารถปลงชีวิตเขาได้ ภิกษุผู้สั่ง สั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด จงปลงชีวิตเขาเสียเมื่อนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้นสำเร็จ ต้อง- *อาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป. ทูตไปแล้วกลับมา [๑๙๒] ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้น สั่งภิกษุนั้นแล้ว มีความร้อนใจ แต่พูดไม่ให้ได้ยินว่า อย่าฆ่า ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตบุคคลนั้น สำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้นสั่งภิกษุ- *นั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้รับคำสั่งกลับพูดว่า ท่านสั่งผมแล้ว จึงปลงชีวิตบุคคลชื่อนั้นเสีย ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ครั้นภิกษุนั้น สั่งภิกษุ นั้นแล้ว มีความร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่า อย่าฆ่าเลย ภิกษุผู้รับคำสั่ง รับคำว่าดีแล้ว งดเสีย ไม่ต้องอาบัติทั้ง ๒ รูป ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ [๑๙๓] ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ที่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ไม่ลับ ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ไม่ลับ พูดขึ้นว่าทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้ พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ที่ลับ สำคัญว่าที่ลับ ที่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดขึ้นว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลชื่อนี้พึงถูกฆ่า ดังนี้ ต้อง อาบัติทุกกฏ พรรณนาด้วยกาย [๑๙๔] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกาย ได้แก่ภิกษุทำกายวิการว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้น จะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก พรรณนาด้วยวาจา ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยวาจา ได้แก่ ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะ- *ได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนานั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิด- *ว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนาต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก พรรณนาด้วยกายและวาจา ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยกายและวาจา อธิบายว่าภิกษุทำวิการด้วยกายก็ดี กล่าวด้วยวาจาก็ดีว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการพรรณนา นั้น ผู้ใดผู้หนึ่งคิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก. พรรณนาด้วยทูต [๑๙๕] ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยทูต ได้แก่ภิกษุสั่งทูตไปว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้ใดผู้หนึ่งผู้ได้ทราบคำบอกของทูตแล้ว- *คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้พรรณนา ต้องอาบัติถัลลัจจัย เขาตาย ภิกษุพรรณนา ต้องอาบัติปาราชิก พรรณนาด้วยหนังสือ ที่ชื่อว่า พรรณนาด้วยหนังสือ ได้แก่ภิกษุเขียนหนังสือไว้ว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ตัวอักษร ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นหนังสือแล้ว คิดว่า เราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุผู้เขียน ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุ- *ผู้เขียน ต้องอาบัติปาราชิกฯ หลุมพราง [๑๙๖] ที่ชื่อว่า หลุมพราง ได้แก่ภิกษุขุดหลุมพรางเจาะจงมนุษย์ไว้ว่า เขาจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งตกลงไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ภิกษุผู้ขุด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุผู้ขุดต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุขุดหลุมพรางไว้มิได้เจาะจงว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจักตกตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ มนุษย์ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาตกลงไป แล้วได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานแปลงเพศเป็นมนุษย์ก็ดี ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับความทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉานตกลงไปในหลุมพรางนั้น ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อมันตกลงไปแล้วได้รับ ทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ มันตาย ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์. วัตถุที่พิง [๑๙๗] ที่ชื่อว่า วัตถุที่พิง ได้แก่ภิกษุวางศัสตราไว้ในที่สำหรับพิงก็ดี ทายาพิษไว้ก็ดี ทำให้ชำรุดก็ดี วางไว้ริมบ่อ เหวหรือที่ชัน ด้วยหมายใจว่า บุคคลจักตกตายด้วยวิธีนี้ ดังนี้ก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้รับทุกขเวทนา เพราะต้องศัสตรา ถูกยาพิษ หรือตกลงไป ภิกษุต้อง อาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. การลอบวาง [๑๙๘] ที่ชื่อว่า การลอบวาง ได้แก่ภิกษุวางดาบ หอก ฉมวก หลาว ไม้ฆ้อน หิน มีด ยาพิษ หรือเชือกไว้ใกล้ๆ ด้วยตั้งใจว่า บุคคลจักตายด้วยของสิ่งนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาคิดว่า เราจักตายด้วยของสิ่งนั้น แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. เภสัช [๑๙๙] ที่ชื่อว่า เภสัช ได้แก่ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ด้วยตั้ง ใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มเภสัชนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. การนำรูปเข้าไป [๒๐๐] ที่ชื่อว่า การนำรูปเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำรูปซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่า- *หวาดเสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เข้าเห็นรูป นั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้ว จักซูบ ผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปนั้นแล้ว ซูปผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก การนำเสียงเข้าไป ที่ชื่อว่า การนำเสียงเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำเสียงซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาด เสียวเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขา ได้ยินเสียงนั้นแล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำเสียงซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาได้ยินเสียงนี้ แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาได้ยินเสียงนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก การนำกลิ่นเข้าไป ที่ชื่อว่า การนำกลิ่นเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำกลิ่นซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูล เข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้ว จักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติ ทุกกฏ เมื่อเขาสูดกลิ่นนั้นแล้ว ได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำกลิ่นซึ่งเป็นที่ชูใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาสูดกลิ่นนี้แล้วจะซูบผอมตาย เพราะ หาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาสูบกลิ่นนั้นแล้วซูบผอมเพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก การนำรสเข้าไป ที่ชื่อว่า การนำรสเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำรสซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่าเกลียด น่าปฏิกูล เข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจักตาย เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเขาลิ้มรสนั้นแล้วได้รับทุกขเวทนา เพราะเกลียด เพราะปฏิกูล ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำรสซึ่งเป็นที่ชอบใจเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มรสนี้แล้วจะซูบผอม เพราะหา ไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาลิ้มรสนั้นแล้วซูบผอม เพราะหาไม่ได้อีกแล้ว ภิกษุต้องอาบัติ ถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก การนำโผฏฐัพพะเข้าไป ที่ชื่อว่า การนำโผฏฐัพพะเข้าไป ได้แก่ภิกษุนำโผฏฐัพพะ ซึ่งไม่เป็นที่พอใจ มีสัมผัส ไม่สบายและกระด้างเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขาถูกต้องสิ่งนี้เข้าแล้วจักตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อ เขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้า ได้รับทุกขเวทนา ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนำโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่ชอบใจ มีสัมผัสสบาย และอ่อนนุ่มเข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขา ถูกสิ่งนี้แล้ว จักซูบผอมตาย เพราะหาไม่ได้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาถูกต้องสิ่งนั้นเข้าแล้ว ซูบผอม เพราะหาไม่ได้ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. การนำธรรมารมณ์เข้าไป ที่ชื่อว่า การนำธรรมารมณ์เข้าไป ได้แก่ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้ควรเกิดในนรก ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกนี้แล้ว จักตกใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องนรกนั้น แล้วตกใจ ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดีด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องสวรรค์นี้แล้ว จักน้อม ใจตาย ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาฟังเรื่องสวรรค์นั้นแล้วคิดว่าเราจักน้อมใจตาย แล้วยังทุกข- *เวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก. กิริยาที่บอก [๒๐๑] ที่ชื่อว่า กิริยาที่บอก ได้แก่ภิกษุถูกเขาถาม แล้วบอกว่าจงตายอย่างนี้ ผู้ใด ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการบอก นั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้อง อาบัติปาราชิก การแนะนำ ที่ชื่อว่า การแนะนำ ได้แก่ภิกษุอันเขาไม่ได้ถาม แต่แนะนำว่า จงตายอย่างนี้ ผู้ใด ตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ได้ยศ หรือไปสวรรค์ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการแนะนำนั้น เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย ภิกษุต้องอาบัติ ปาราชิก. การนัดหมาย [๒๐๒] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย ได้แก่ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงปลงชีวิตเขาเสียตาม คำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือในเวลาเย็น ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะการนัดหมายนั้น ภิกษุผู้รับคำสั่งปลงชีวิตเขาสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิต เขาได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก การทำนิมิต ที่ชื่อว่า การทำนิมิต ได้แก่ภิกษุทำนิมิตว่า ผมจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะ ท่าน จงปลงชีวิตเขาตามนิมิตนั้น ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับสั่ง ปลงชีวิตเขาสำเร็จตามนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ปลงชีวิตเขาก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ภิกษุผู้สั่งเดิม ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ฆ่า ต้องอาบัติปาราชิก. อนาปัตติวาร [๒๐๓] ภิกษุไม่จงใจ ๑ ภิกษุไม่รู้ ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะให้ตาย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน ๑ ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ เหล่านี้ ไม่ต้อง อาบัติ ดังนี้แล. ปฐมภาณวาร ในมนุสสวิคคหปาราชิก จบ วินีตวัตถุ อุทานคาถา [๒๐๔] เรื่องพรรณนา ๑ เรื่อง เรื่องนั่ง ๑ เรื่อง เรื่องสาก ๑ เรื่อง เรื่องครก ๑ เรื่อง เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง เรื่องมีด ๓ เรื่อง เรื่องไม้กลอน ๓ เรื่อง เรื่องร่างร้าน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลง ๓ เรื่อง เรื่องตก ๒ เรื่อง เรื่องนึ่งตัว ๓ เรื่อง เรื่องนัตถุ์ยา ๓ เรื่อง เรื่องนวด ๓ เรื่อง เรื่องให้อาบน้ำ ๓ เรื่อง เรื่องให้ทาน้ำมัน ๓ เรื่อง เรื่องให้ลุกขึ้น ๓ เรื่อง เรื่องให้ล้มลง ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยข้าว ๓ เรื่อง เรื่องให้ตายด้วยน้ำฉัน ๓ เรื่อง เรื่องมีครรค์กับชู้ ๑ เรื่อง เรื่องหญิงร่วมสามี ๒ เรื่อง เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรตาย ๑ เรื่อง เรื่องฆ่าสองมารดาบุตรไม่ตาย ๑ เรื่อง เรื่องให้รีด ๑ เรื่อง เรื่องให้ร้อน ๑ เรื่อง เรื่องหญิงหมัน ๑ เรื่อง เรื่องหญิงมีปกติคลอด ๑ เรื่อง เรื่องจี้ ๑ เรื่อง เรื่องทับ ๑ เรื่อง เรื่องฆ่ายักษ์ ๑ เรื่อง เรื่องส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ ๙ เรื่อง เรื่องสำคัญแน่ ๔ เรื่อง เรื่องประหาร ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนาสวรรค์ ๓ เรื่อง เรื่องพรรณนานรก ๓ เรื่อง เรื่องตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี ๓ เรื่อง เรื่องเผาป่า ๓ เรื่อง เรื่องอย่าให้ลำบาก ๑ เรื่อง เรื่องไม่ทำตามคำของท่าน ๑ เรื่อง เรื่องให้ดื่มเปรียง ๑ เรื่อง เรื่องให้ดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ ๑ เรื่อง. วินีตวัตถุ เรื่องพรรณนา [๒๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่งความ ตายแก่ภิกษุนั้น ด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว. เรื่องนั่ง [๒๐๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง นั่งทับเด็กชายที่ ที่เขาเอาผ้าเก่าคลุมไว้บนตั่งให้ตายแล้ว มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอไม่พิจารณาก่อนแล้วอย่านั่งบนอาสนะ รูปใดนั่ง ต้องอาบัติทุกกฏ. เรื่องสาก [๒๐๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหารในละแวกบ้าน ได้ หยิบสากอันหนึ่งในสากที่เขาพิงรวมกันไว้ สากอันที่สองได้ล้มฟาดลงที่ศีรษะเด็กชายคนหนึ่ง เด็กชายนั้นตายแล้ว เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ เรื่องครก ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งปูลาดอาสนะอยู่ที่โรงอาหารในละแวกบ้าน ได้เหยียบขอน- *ไม้ที่เขานำมาเพื่อทำครก เซไปทับเด็กคนหนึ่งตาย แล้วมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ เรื่องพระผู้เฒ่า ๓ เรื่อง [๒๐๘] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขาบอก ภัตตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่าน อยู่ แล้วดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลงถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรนั้นมีความรังเกียจว่า เรา ต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร ภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขาบอกภัตตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ พระสงฆ์ กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุ ผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึงดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลงถึงมรณภาพ ภิกษุ ผู้บุตรมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขาบอกภัตตกาลแล้ว ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดาว่า นิมนต์ไปเถิด ขอรับ พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่ ภิกษุผู้บุตร มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ จึงดุนหลังผลักไป ภิกษุผู้บิดาได้ล้มลง แต่ไม่ถึงมรณภาพ ภิกษุผู้บุตรมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ผู้มีพระ พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าข้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง [๒๐๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ ประหารมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ภิกษุ นั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับโลหิต แต่ภิกษุ นั้นไม่ถึงกับมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหารมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย เรื่องยาพิษ ๒ เรื่อง [๒๑๐] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตเจือ ยาพิษมาแล้วนำไปสู่โรงฉัน ได้ถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายให้ฉันก่อน ภิกษุเหล่านั้นถึง มรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่ทราบเกล้า พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่รู้ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะทดลอง ได้ให้ยาพิษแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ฉัน ภิกษุนั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะทดลอง พระพุทธเจ้าข้า ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย. เรื่องสร้างที่อยู่ ๓ เรื่อง [๒๑๑] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ศิลาที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตกทับกระหม่อม ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบน มีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบน กระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่าง ยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยศิลาลงบนกระหม่อม ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิก แล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย เรื่องอิฐ ๓ เรื่อง ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนังวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป อิฐที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้หล่นทับกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึง มรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนังวิหาร ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยอิฐลงบนกระหม่อม ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างนั้นถึงมรณภาพแล้ว เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนังวิหาร ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยอิฐลงบนกระหม่อม ภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติ ปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย เรื่องมีด ๓ เรื่อง ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป มีดที่ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ได้ตกลงบนกระหม่อมภิกษุผู้อยู่ข้างล่าง ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มิได้จงใจ พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ ๒. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุ ผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิดอย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ๓. ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนมีความประสงค์จะให้ตาย จึงปล่อยมีดลงบนกระหม่อมภิกษุ ผู้อยู่ข้างล่าง แต่ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ เธอมีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอคิด อย่างไร? ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะให้ตาย พระพุทธเจ้าข้า ภ. ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย เรื่องไม้กลอน
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน กับคุณแม่ ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน และเจริญอาโปกสิน ฟังธรรมศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค ได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน เมื่อคืนนี้ได้สวดมนต์ และเดินจงกรม นั่งสมาธิ และเมื่อคืนคุณแม่ได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ที่ผ่านมาได้มีการร่วมงานถวายปัจจัยบวชพระ 99 รูปที่จะบวช เนื่องในวันวิสาขบูชา และจะได้มีการ ถวายกรศจำนวน 99 ชุด เพื่อจะได้ไปธุดงค์ปฏิบัติธรรม และสร้างสถานโรงเรียนคนตาบอด และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญสร้างวัดไตรรงค์วิสุทธิธรรม ชื่อบัญชี รัตนาภรณ์ สินภัทรางกูร เลขที่บัญชี 1112103211 ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
|