พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อังคาร 01 มิ.ย. 2010 2:38 pm
มือที่มองไม่เห็นของคนอื่น ก็เป็นของคนอื่น มือที่มองไม่เห็นของเราก็เป็นของเรา เห็น
คนอื่นทำกรรมใด ย่อมรู้ว่ามีมือที่มองไม่เห็นของเขาเองตามไปจัดสรรผลของเขาเอง
ที่สำคัญคือใส่ใจในการกระทำของเราเองจะดีกว่า ด้วยรู้ว่ามีมือที่มองไม่เห็นของเรา
ติดตามคอยจัดสรรผลของเราอยู่เช่นกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒-หน้าที่ 350
อรรถกถาสูตรที่ ๖
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีการกระทำอันเป็นบาป.เพราะคนทั้งหลาย
ย่อมทำบาปโดยอาการปกปิด แม้หากทำโดยอาการไม่ปกปิด บาปกรรมก็ได้ชื่อว่า
กรรมอันปกปิดอยู่นั่นเอง.
มีแต่สภาพธรรมและสภาพธรรมทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีใครไปจัดการ
ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งไป มือที่มองไม่เห็น อันมีสภาพปกปิดคือ
กรรมที่ทำไว้จะคอยติดตามไป เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นไปตามเหตุที่ทำไว้ ไม่มีใครรู้
ว่าจะมาเมื่อไหร่ อย่างไรเพราะเป็นอนัตตา ปกปิดไม่ให้รู้ว่าจะให้ผลในขณะไหน แต่
กรรมย่อมติดตามไปเหมือนล้อเกวียนย่อมหมุนไปตามรอยเท้าโค ดังนั้นเมื่อเข้าใจความ
จริงในเรื่องมือที่มองไม่เห็นคือกรรมที่ทำไว้ ก็จะไม่โทษใครหรือมีใครจะมาจัดการใน
สิ่งใดเพราะเข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นว่าทุกอย่างเป็นธรรมและเป็นอนัตตา ประโยชน์
ของการศึกษาธรรมคือการเข้าใจความจริง ขัดเกลากิเลสของตนเองเพราะทุกท่านก็มี
มือที่มองไม่เห็นติดตามไปตลอดเช่นกัน ขออนุโมทนาบุญครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 34
"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
สำเร็จแล้วด้วยใจ, ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี
ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น
ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น."
มือที่มองไม่เห็นย่อมติดตามไป
ดุจล้อเกวียนย่อมหมุนไปตามรอยเท้าโคฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๓๗๓
๗. โรคสูตร
ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง
[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉน
คือโรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนยันว่าไม่มีโรคทาง
กายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี ๓ ปีก็มี
๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี
๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียง
เวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต ๔ อย่างนี้ โรคของบรรพชิต ๔
อย่างเป็นไฉน คือ
๑. ภิกษุเป็นผู้ มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้
๒. ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วย
จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความ
ปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความยกย่อง เพื่อจะได้ลาภสักการะ และความ
สรรเสริญ
๓. ภิกษุนั้นวิ่งเต้นขวนขวายพยายาม เพื่อจะได้ความยกย่อง เพื่อจะ
ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ
๔. ภิกษุนั้น เข้าสู่ตระกูลเพื่อให้เขานับถือ นั่งอยู่ (ในตระกูล) เพื่อ
ให้เขานับถือ กล่าวธรรม (ในตระกูล) เพื่อให้เขานับถือ กลั้นอุจจาระ
ปัสสาวะอยู่(ในตระกูล) ก็เพื่อให้เขานับถือ
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล โรคของบรรพชิต ๔ อย่าง.
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก
ไม่เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความ
ยกย่อง เพื่อจะได้ลาภสักการะ และความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวาย
พยายามเพื่อให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะ และความสรรเสริญ
จักเป็นผู้อดทนต่อ หนาว ร้อน หิว กระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง
ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ
เป็นผู้อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่น ไม่
เจริญใจพอจะปล้นชีวิตเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก
อย่างนี้แล.
จบโรคสูตรที่ ๗
--------------------------------------------------------------------------------
อรรถกถาโรคสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโรคสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ ประกอบด้วยความร้อนใจคือทุกข์ มีความมัก
มากเป็นปัจจัย. บทว่า อสนฺตุฏโฐ ได้แก่ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยสันโดษ ๓ ใน
ปัจจัย ๔. บทว่า อนวญฺญปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ความยกย่องจากผู้
อื่น. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ลาภสักการะอันได้แก่
ปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้เป็นอย่างดี และความสรรเสริญ อันได้แก่การกล่าว
ยกย่อง. บทว่า สงฺขาย กุลานิ อุปสงฺกมติ ได้แก่เข้าไปสู่ตระกูลเพื่อรู้ว่า ชน
เหล่านี้รู้จักเราไหม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาโรคสูตรที่ ๗
สิ่งที่ไม่ควรคิดมีมากครับ โดยย่อคือ ไม่ควรคิดเป็นไปกับอกุศล ควรคิดเป็นไปกับกุศล
ตัวอย่างความคิดอกุศล เช่น ความคิดตระหนี่หวงแหนไม่เอื้อเฟื้อไม่แบ่งสิ่งของให้ใครๆ
ไม่ควรคิดฆ่าหรือเบียดเบียนทำร้ายสัตว์อื่น ไม่ควรคิดลักทรัพย์ของผู้อื่นแม้เพียงเล็ก
น้อย ไม่ควรคิดก้าวล่วงบุตรภรรยาของผู้อื่น ไม่ควรคิดพูดไม่จริง ไม่ควรคิดดื่มสุราของ
มึนเมาไม่ควรคิด พูดคำหยาบ พูดส่อเสียดให้ผู้อื่นแตกกัน พูดเพ้อเจ้อ ไม่ควรคิดเพ่ง
เล็งอยากได้สิ่งของผู้อื่น ไม่ควรคิดโกรธแคนพยาบาทผู้อื่น ไม่ควรคิดมิจฉาทิฏฐิ เช่น
บุญบาปไม่มีผล โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ตายแล้วสูญ เป็นต้น ควรคิดในทางกุศล เช่น
คิดให้ทาน รักษาศีลฟังธรรม เจริญภาวนา ฯลฯ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ศึกษาการรักษาโรค
ฟังธรรมศึกษาธรรม
และคุณแม่กับผมได้ปฏิบัติธรรมทุกวัน
ที่ผ่านมาเป็นวันวิสาขบูชาคุณลุงกับคุณป้าได้ไปเวียนเทียนรอบเจดีย์พระธาตุ
และร่วมงานบุญวันวิสาขอีกหลายงาน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
เชิญร่วมบูรณะองค์พระประธานวัดหนองบัว
โทร.089-2651369
ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.