ถ้าท่านมีศรัทธาที่จะ เจริญสติปัฎฐาน และ เข้าใจในหนทางปฎิบัติที่
ถูกต้องแล้ว ก็เจริญสติปัฎฐานได้ (ไม่ใช่ศรัทธาเพียงขั้นตรึกตรองนึกคิดเท่า
นั้น) การเจริญสติปัฎฐาน เริ่มที่สติระลึกรู้ รู้สึกตัว หรือ รู้ตามลักษณะ
ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะเดี๋ยวนี้ (ไม่ใช่อดีต หรืออนาคต) เช่น
ในขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏหลายอย่าง คือ ทางตาก็เห็น ทางหูก็ได้ยิน ทาง
จมูกก็ได้กลิ่น อย่างนี้ก็ต้องพยายามรู้สิ่งที่ปรากฏทีละอย่าง เช่น ระลึกรู้
ที่เสียงที่กำลังได้ยิน ขณะที่ได้ยินเสียงนั้น มี 2 อย่างด้วยกัน ตัวเสียง
เองอย่างหนึ่ง กับ ได้ยินเสียงอีกอย่างหนึ่ง เรารู้มาแล้วว่า ตัวเสียงเองนั้น
ไม่รู้อะไรเลย จึงเป็นรูป ได้ยินเสียงเป็นสภาพรู้ ก็เป็นนาม รู้เพียงนี้ก่อน
แล้วค่อย ๆ หัดสังเกตสำเหนียกบ่อย ๆ เนือง ๆ สติก็จะเกิดมีมากขึ้น ปัญญา
ก็จะเจริญขึ้น รู้ชัดขึ้น คมกล้าขึ้น จนสามารถละคลายการยึดมั่นว่า เป็น
ตัวตน สัตว์ บุคคล ได้
ต้องไม่ลืมว่า การเจริญสติ เป็นการเจริญปัญญา ให้รู้ชัดในสภาพที่
แท้จริงของธรรมที่กำลังปรากฏ อย่าทำอะไรให้ผิดปกติ การเจริญสติ-
ปัฎฐาน ไม่จำกัดเวลา และ สถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น สติเกิดได้ทั้งนั้น ถ้าคอย
เลือกโอกาส เลือกสถานที่ และเวลาแล้ว ก็น่าเสียดายที่วันหนึ่ง ๆ หมด
ไป โดยสติไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น กำลังเห็น กำลัง
ได้ยิน กำลังกระทบเย็น ร้อน อ่อน แข็ง พิจารณาเนือง ๆ ว่า ในขณะนี้เป็น
ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ถ้า
เกิดโกรธ หรือยินดี พอใจ ก็ช่วยไม่ได้ อย่าละเลยพิจารณาสภาพนั้นทุก
ครั้งที่เกิดขึ้น เพราะเป็นของที่มีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย พิจารณา
บ่อย ๆ เนือง ๆ เพื่อจะได้ละการยึดถือว่า ความโกรธ ยินดี พอใจ เป็นตัว
ตน ซึ่งที่แท้แล้ว ก็เป็นรูปธรรม นามธรรม เท่านั้น
ต้องเข้าใจว่า รูปนั้นไม่มีอะไรเลย นามนั้นเป็นสภาพรู้ ลักษณะรู้
ธาตุรู้ อาการรู้ ต้องเข้าใจ และ จำให้ได้ แล้วจะตัดสินได้ถูกเมื่อมีสิ่งที่
ปรากฏ และ นี่คือปัญญาขั้นต้น ถ้าไม่รู้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเจริญ
สติปัฏฐานได้
ภพในปัจจยาการ มี ๒ ความหมาย คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑
ดังข้อความจากพระบาลีดังนี้
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 436
[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ?
ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑
ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน ?
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า
กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน ?
กามภพ รูปภพ อรุปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย...
"ภูตคาม" หมายถึง ต้นไม้ ใบหญ้า พีชที่มีรากติดอยู่ที่พื้นดิน ภิกษุตัดหรือทำให้
หลุดจากลำต้นหรือทำให้พ้นจากพื้นดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์
"พีชคาม" หมายถึง พีชที่เขาตัดมาจากต้น แต่ยังงอกได้ หรือเมล็ดพีชที่งอกได้
ภิกษุทำลายต้องอาบัติทุกกฏ
ดังข้อความจากอรรถกถาพระวินัยดังนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ 276
[อธิบายพีชคามและภูตคาม]
จริงอยู่ ในภูตคามสิกขาบทนี้ มีวินิจฉัยกถา ดังต่อไปนี้
ภิกษุพรากภูตคาม เป็นปาจิตตีย์. พรากพีชคามแม้ทั้ง ๕ อย่าง อัน
นอกจากภูตคาม เป็นทุกกฏ. ชื่อว่า พีชคามและภูตคามนี้ อยู่ในน้ำก็มี อยู่
บนบกก็มี. บรรดาพีชคามและภูตคามที่อยู่ในน้ำและบนบกทั้งสองนั้น พีชคาม
และภูตคามที่อยู่ในน้ำ คือ เสวาลชาติ (สาหร่าย) ทั้งที่มีใบและไม่มีใบทั้งหมด
มีชนิดเช่นแหนและจอกเป็นต้น โดยที่สุดกระทั่งฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) บัณฑิต
พึงทราบว่า ภูตคาม. ชื่อว่าฝ้าน้ำ (ตระไคร้น้ำ) ข้างบนแข็ง มีสีกร้าน
ข้างล่างอ่อน มีสีเขียว.
บรรดาเสวาลชาตินั้น รากของสาหร่ายใดหยั่งลงไปอยู่ในแผ่นดิน
แผ่นดินเป็นฐานของสาหร่ายนั้น. น้ำเป็นฐานของสาหร่ายที่ลอยไปมาบนน้ำ
เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่อยู่ในแผ่นดินในที่ใดที่หนึ่งก็ดี ยกขึ้นย้าย
ไปสู่ที่อื่นก็ดี. เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้พรากภูตคามที่ลอยไปมาบนน้ำเหมือนกัน.
แต่จะเอามือทั้งสองแหวกไปทางโน้นทางนี้ แล้วอาบน้ำ ควรอยู่. แท้จริง
น้ำทั้งสิ้นเป็นฐานของสาหร่ายที่อยู่ในน้ำนั้น เพราะเหตุนั้น สาหร่ายนั้น ยังไม่
จัดว่าเป็นอันภิกษุย้ายไปสู่ที่อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แต่จะแกล้งยกขึ้นจากน้ำ
โดยเว้นน้ำเสียไม่ควร. ยกขึ้นพร้อมทั้งน้ำ แล้ววางลงในน้ำอีก ควรอยู่.
สาหร่ายออกมาทางช่องผ้ากรองน้ำ, ควรให้ทำกัปปิยะก่อน จึงบริโภคน้ำ.
ภิกษุถอนเถาวัลย์และหญ้าที่เกิดในน้ำ มีกออุบลและกอปทุมเป็นต้น ขึ้นจากน้ำ
ก็ดี พรากเสียในน้ำนั้นเองก็ดี เป็นปาจิตตีย์. พรากกออุบลและกอปทุมเป็นต้น
ที่คนอื่นถอนขึ้นไว้แล้ว เป็นทุกกฏ. จริงอยู่ กออุบลและปทุมเป็นต้น ที่คนอื่น
ถอนขึ้นไว้นั้น ย่อมถึงรากสงเคราะห์เข้าในพีชคาม. แม้สาหร่ายคือจอกและ
แหน ที่เขายกขึ้นจากน้ำแล้ว ยังไม่เหี่ยว ย่อมถึงซึ่งอันสงเคราะห์เข้าในพืช
ที่เกิดจากยอด. ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ว่า แหน ไม่มีราก
และหน่อและตระไคร้น้าเป็นต้น เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เหตุในคำนั้นไม่ปรากฎ.
ในอันธกอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ยังไม่เป็นภูตคามที่สมบูรณ์ เหตุนั้น
จึงเป็นทุกกฏ. แม้คำในอันธกอรรถกถานั้น ก็ไม่สมกัน (กับพระบาลี). จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับปาจิตตีย์ในเพราะภูตคาม, ปรับทุกกฏในเพราะพีชคาม.
ฯลฯ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่ อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน และเจริญอาโปกสิน ศึกษาการรักษาโรค คุณแม่และผมได้ปฏิบัติธรรม
และคุณแม่ก็ได้ฟังธรรมทั้งวัน และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ขอเชิญเป็นเจ้าภาพถวายนิลดำเพื่อใส่เป็นดวงพระเนตรขององค์พระพุทธรูป
โทร.089-9555-870
|